อิสลามผู้พิชิต : อิสลามในพม่า (เบอร์มาเนีย) และคาบสมุทรอินโดจีน
(อาลี เสือสมิง)ส่วนหนึ่งจากเขตชายแดนของอินเดียซึ่งอิสลามได้หยั่งรากลึกที่นั่นและผลิดอกออกผลสะพรั่งและสุกงอมในพื้นดินอันอุดมสมบูรณ์ก็คือปากแม่น้ำคงคาและพรหมบุตร
ซึ่งถือเป็นปากแม่น้ำขนาดใหญ่ที่มีสามเหลี่ยมปากแม่น้ำและสันดอนตลอดจนแม่น้ำสายเล็ก ๆ แยกออกเป็นสาขามากมายอันมีความคล้ายคลึงกับสามเหลี่ยมปากแม่น้ำไนล์ ณ ที่นั่นใกล้ ๆ กับเมืองพัฒนาเราก็จะพบแคว้นเบงกอลและจังหวัดบีฮาร (Bihar) (พิหาร)
ซึ่งทั้งสองเขตนี้นับได้ว่าเป็นเขตที่ยากจนที่สุดของชมพูทวีป เนื่องจากมีประชากรหนาแน่น และเกิดอุทกภัยอยู่บ่อยครั้ง และทุกครั้งที่เกิดอุทกภัยเส้นทางการไหลของแม่น้ำลำคลองก็จะเปลี่ยนไปในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำและไหลเอ่อเข้าท่วมหมู่บ้านของประชาชน ผลพวงจากความยากจนดังกล่าวได้ทำให้มาตรฐานการดำเนินชีวิตของผู้คนในเขตนี้ตกต่ำลงในบางช่วงเวลาของประวัติศาสตร์ เพื่อนบ้านใกล้เคียงที่มีดินแดนต่อกันก็ได้รุกรานเข้ายึดครอง ชนพื้นเมืองเดิมจึงตกอยู่ในสภาพของความเป็นทาส
ในช่วงก่อนหน้าที่อิสลามจะมาถึงดินแดนแห่งนี้นั้นสถานภาพของผู้คนในแถบนี้ได้ตกต่ำลงจนถึงระดับชนชั้นของจัณฑาล ซึ่งหมายถึงพวกที่สังคมรังเกียจและเป็นวรรณะที่ต่ำสุด พวกพราหมณ์และฮินดู ก็ครอบงำและมีอำนาจเหนือชนพื้นเมืองเหล่านี้ แต่เมื่ออิสลามได้มาถึงดินแดนแห่งนี้ พร้อมกับความเอื้ออารีและความเสมอภาคมหาชนชาวเบงกอลและบีฮารก็พากันมุ่งสู่การยอมรับในศาสนาอิสลาม พวกเขาได้พบว่าในอิสลามมีความสูงส่งและการรับรู้ได้ถึงความเป็นมนุษย์
พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงยกฐานะของพวกเขาให้สูงขึ้นด้วยน้ำมือของเหล่ากษัตริย์มุสลิมในช่วงที่พวกคัลญีย์มีอำนาจและกษัตริย์กาฟูร ซึ่งเป็นอดีตข้าทาสรับใช้พวกคัลญีย์ปกครอง (ค.ศ.1290-1370) บางส่วนของอินเดียและแผ่ขยายอำนาจสู่ดินแดนแถบนี้ สถานภาพของผู้คนสูงขึ้น สภาพความเป็นอยู่ดีขึ้น และในที่สุดประชาชนพลเมืองที่ได้เข้ารับอิสลามก็เกิดความตื่นตัวในการประกอบสัมมาอาชีพ ความยากจนแร้นแค้นจึงได้บรรเทาลง
นอกจากนี้พวกเขายังได้มุ่งทำการแก้ไขปัญหาอุทกภัยด้วยการขุดคลองการชลประทาน การสร้างเขื่อน อันเป็นศาสตร์หรือวิทยาการที่พวกเขาได้ถ่ายทอดมาจากชาวอาหรับและเปอร์เซียที่เดินทางมาสู่ดินแดนของพวกเขา บ้านเมืองของพวกเขาก็เกิดความเจริญรุ่งเรือง และพลเมืองก็รู้สึกได้ถึงความผาสุกแห่งอิสลามที่มีเหนือพวกเขา
ผู้มีศรัทธาและกำลังทรัพย์จึงได้สร้างมัสยิดหลายต่อหลายแห่ง จนกลายเป็นดินแดนที่มีมัสยิดมากที่สุดในโลกก็ว่าได้ ถ้าชาวอาหรับพูดว่า กรุงไคโรคือนครแห่งพันมินาเร็ท (หออะซาน) ผู้คนในดินแดนนี้ก็จะกล่าวว่า ดักกา คือ นครแห่งสองพันมินาเร็ท ดินแดนส่วนนี้ก็คือส่วนที่แยกตัวออกจากประเทศปากีสถานและสถาปนาประเทศขึ้นใหม่ว่า บังคลาเทศ ซึ่งหมายถึง ดินแดนแห่งเบงกอล
และในขณะที่ความเจริญของชุมชนเพิ่มมากขี้นอย่างต่อเนื่องจนครอบคลุมดินแดนของบังคลาเทศ บรรดาพ่อค้าในดินแดนแห่งนี้ก็เกิดความตื่นตัวและขยายกิจการค้าขายออกไปยังส่วนอื่น ๆ ของอินเดียและส่วนทางทิศตะวันออกที่ติดกับประเทศพม่า ซึ่งพม่ามีแม่น้ำสายใหญ่อยู่หลายสายที่สำคัญคือ แม่น้ำอิระวดีและแม่โขง พม่ามีประเทศที่เป็นป่าดงดิบ อุดมสมบูรณ์ เส้นทางคมนาคมหลักก็คือแม่น้ำลำคลองสายต่าง ๆ โดยอาศัยเรือหรือเดินเท้าตลอดจนสัตว์พาหนะไปตามฝั่งริมแม่น้ำและลำคลอง
ประเทศพม่าในช่วงศตวรรษที่ 14 ขณะที่อิสลามได้เข้าสู่ดินแดนบีฮ๊ารและเบงกอลนั้น เรียกกันว่า บัรมาเนีย (ดินแดนแห่งชาวพม่า) แบ่งออกเป็นสองแคว้นใหญ่ คือบัรมาเนียเหนือมีอาบา (อังวะ) เป็นเมืองหลวงบนฝั่งแม่น้ำอิระวดี และบัรมาเนียใต้มีเมืองพะโค เป็นราชธานีบนปากแม่น้ำแม่โขง ดินแดนบัรมาเนียที่มีพื้นที่ติดต่อกับแคว้นเบงกอลในบังคลาเทศมีชื่อว่า แคว้นอาระกัน ซึ่งเป็นอาณาจักรอิสระที่ปกครองตนเอง อิสลามได้แผ่เข้าครอบคลุมอาระกันทั้งหมดและแผ่เข้าสู่บัรมาเนียในเวลาต่อมา บรรดาพ่อค้ามุสลิมได้สร้างศูนย์กลางความเจริญและบรรดามัสยิดขึ้นท่ามกลางป่าดงดิบบนฝั่งแม่น้ำอิระวดีและแม่โขง
และดินแดนที่ถัดจากพม่าทางทิศตะวันออกอันเป็นที่รู้จักกันในนาม “อินโดจีน” ราวศตวรรษที่ 19 ก็คือ สยามประเทศ ในทุกวันนี้ก็คือ ประเทศไทย ซึ่งหมายถึงดินแดนแห่งชนชาติไทยหรือชาวไต (หรือดินแดนแห่งใบชา) มีราชธานีคือ อยุธยา ถัดจากสยามไปทางตะวันออกก็คือกัมพูชา ทางเหนือคือลาวและอันนัม (ญวน) ซึ่งปัจจุบันก็คือ เวียดนามเหนือและใต้ ประชาชนในดินแดนเหล่านี้ทั้งหมด คือ ชนเชื้อชาติจีนและสยาม (เชื้อชาติไทยกลุ่มต่าง ๆ )
และในดินแดนที่เป็นอาณาเขตของสยามนั้นได้แผ่ยื่นลงไปถึงคาบสมุทรมลายูจนถึงเส้นรุ้งที่ 7 ทางตอนใต้ของ แหลมมลายูก็คือ ประเทศมลายูที่รวมถึงมะลักกา มีชนชาติอีกกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่โดยแตกต่างจากชนชาติจีนโดยสิ้นเชิง นั่นคือชนชาติโพลีนีเชี่ยน ซึ่งกระจายหลักแหล่งไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมดโดยรวมถึงฟิลิปปินส์และหมู่เกาะทางตอนเหนือจรดหมู่เกาะฮาวายในแปซิฟิก
จากดินแดนของแคว้นอาระกัน อิสลามได้แพร่หลายสู่บัรมาเนีย (พม่า) โดยบรรดาพ่อค้าซึ่งสามารถดึงผู้คนหลายพันคนให้เข้ารับอิสลามถึงแม้ว่าจะมีการสู้รบอย่างรุนแรงที่ชาวพุทธได้ประกาศสงครามต่อต้านอิสลามก็ตามที พระสงฆ์ในพุทธศาสนาเป็นกลุ่มชนที่ปกป้องลัทธิความเชื่อของตนอย่างเหนียวแน่น ทั้งนี้เพราะพระสงฆ์เหล่านี้มีอำนาจในสังคมของชาวพุทธและเป็นแนวร่วมก็เหล่ากษัตริย์ที่มีอำนาจปกครองในความอุดมสมบูรณ์ของดินแดนแถบนี้
และนี่ก็คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้จีนและเวียดนามและส่วนอื่น ๆ ที่เป็นศูนย์กลางของชาวพุทธเปลี่ยนไปเป็นคอมมิวนิสต์หรือสังคมนิยม การเปลี่ยนแนวความคิดเช่นนี้มิได้เกิดจากความเลื่อมใสต่อลัทธิสังคมนิยม หากแต่เป็นเพราะว่าพระสงฆ์ในพุทธศาสนาได้สร้างความหนักอึ้งแก่ผู้คนตลอดช่วงระยะเวลาอันยาวนาน
อิสลามได้แพร่หลายในดินแดนพม่าไปตามเส้นทางของแม่น้ำสายหลักต่าง ๆ และได้มีการจัดตั้งชุมชนมุสลิมและมัสยิดขึ้นหลายต่อหลายแห่ง ตามรายทางสายหลักทั้งทางน้ำและทางบก ชุมชนมุสลิมได้มีศูนย์กลางอยู่ตามหมู่บ้านขนาดใหญ่เท่านั้น ทั้งนี้เป็นเพราะว่าพระสงฆ์ในศาสนาพุทธและชาวฮินดูได้ทำการต่อต้านการสร้างมัสยิดในดินแดนของพวกเขา ตลอดจนขอความช่วยเหลือจากบรรดากษัตริย์และผู้เป็นคหบดีทั้งหลายให้ช่วยทำสงครามต่อสู้กับอิสลาม ซึ่งบุคคลเหล่านี้มองอิสลามว่าคุกคามต่อศูนย์กลางทางการปกครองและสังคมของพวกตน
เมื่อบรรดาพ่อค้าวาณิชย์จากดินแดนชมพูทวีปส่วนอื่น ๆ และจากอิหร่านได้มาถึงบริเวณดินแดนแถบนี้ พวกพ่อค้ามุสลิมเหล่านี้ก็ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามหัวเมืองชายฝั่งและสร้างสถานีทางการค้าขึ้น พวกเขาก็ได้เผยแผ่อิสลามควบคู่กันไป แต่ทว่าอิสลามในดินแดนแห่งนี้มิค่อยได้รับการตอบรับมากนักด้วยเหตุที่พระสงฆ์ในศาสนาพุทธได้ทำการต่อต้านอย่างหนัก
และที่โชคร้ายก็คือว่า ดินแดนพม่าถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธในสายวิปัสสนา (หรือการเข้าญาน) พวกโยคี (นักพรต) หรือพระสงฆ์ถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในตำบลหรือหมู่บ้าน และวัดก็คือศูนย์กลางในการดำเนินชีวิตของผู้คนในหมู่บ้านนั้น ๆ
ศาสนาพุทธนั้นมีอยู่หลายนิกาย แต่นิกายที่ยึดแนวทางวิปัสสนาหรือการเข้าญานซึ่งเป็นแนวทางของเถรวาทหรือหินยานมีความคล้ายคลึงอย่างมากกับคำสอนของอิสลาม ชาวพุทธมีความเชื่อต่อการเกิดใหม่และชาติภพหน้าที่ดีกว่า หากผู้นั้นเป็นคนดีและย่อมตกอยู่ในความทุกข์ถ้าหากว่าผู้นั้นเป็นคนชั่ว
ส่วนหนึ่งจากการปฏิบัติดีของชาวพุทธก็คือทำทานให้อาหารแก่คนยากจน คนเดินทางหลงถิ่น และการสร้างเจดีย์ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิทางพุทธศาสนา ชาวพุทธจะบริจาคทานที่คล้ายคลึงกับการจ่ายซะกาตโดยนำไปซื้ออาหารและนำมาถวายที่วัด ตลอดจนทำบุญเลี้ยงผู้คน (ตั้งโรงทาน) บางทีสิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นอุปสรรคที่ทำให้อิสลามไม่สามารถแพร่หลายออกไปยังกว้างขวางในพม่า ทั้งนี้เพราะชาวพม่าอาจจะมองไม่เห็นถึงข้อแตกต่างระหว่างศาสนาพุทธกับอิสลาม
อย่างไรก็ตามอิสลามได้สถาปนาชุมชนมุสลิมขึ้นในหัวเมืองต่าง ๆ ที่สำคัญแต่ก็ไม่มีความเจริญรุ่งเรืองเหมือนกับชุมชนมุสลิมต่าง ๆ ในมะลักกาหรือดินแดนแห่งกาลาบ๊ารในแหลมมลายู ดินแดนอินโดจีนนั้นถึงแม้ว่าลักษณะทางภูมิศาสตร์จะไม่ใช่ดินแดนที่ป่าดงดิบทั้งหมดแต่ก็ถือว่ามีการคมนาคมที่ยากลำบากแห่งหนึ่ง เพราะมีเทือกเขาที่ราบสูง ดินแดนทุรกันดาร และป่าเขามาขวางกั้นและเป็นอุปสรรคในการคมนาคมและการติดต่อของผู้คน
ด้วยเหตุนี้คาบสมุทรอินโดจีนจึงแบ่งออกเป็นเขตแดนทางการปกครองที่หลากหลาย ประชาชนที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรแห่งนี้ก็มีหลายเชื้อชาติที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุที่มีความลำบากในการคมนาคมติดต่อซึ่งกันและกัน ข้อแตกต่างในจุดใหญ่ของชนชาติเหล่านี้ก็คือ ชนชาติไทยหรือสยามที่มีสีผิวน้ำตาลหรือดำแดง ชาวญวนมีร่างกายที่ไม่ใหญ่โตมีผิวสีขาว ชาวกัมพูชาซึ่งไม่มีข้อเหมือนทางสรีระกับชนชาติเพื่อนบ้านนอกจากลักษณะผิวเหลืองเท่านั้นแต่ก็ดูเหมือนว่าไม่มีข้อแตกต่างที่เด่นชัดนัก
ชาวจีนเป็นชนชาติที่รู้จักกันดีในการอพยพโยกย้ายถิ่นฐาน ความเจริญทางวิชาการ และการประกอบอาชีพทางการค้า ด้วยเหตุนี้จำนวนของชนชาติจีนจึงมีเป็นจำนวนมากในทุกประเทศของเอเชียตะวันออกนอกจากในส่วนของอินโดจีน ซึ่งชาวจีนมีอัตราส่วนเพียง 1 ใน 50 ของประชากร ประชาคมส่วนใหญ่เป็นชาวญวน ซึ่งมีหลักแหล่งในพื้นที่ 1 ใน 3 ทางตะวันตกของคาบสมุทรอินโดจีน และทางตอนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนมีชนชาติจามอาศัยอยู่ ซึ่งเดิมทีมีรากเหง้ามาจากชนชาติญวนและตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณชายฝั่ง
อิสลามได้แพร่หลายในหมู่ชนชาติจาม และครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่ อันก่อให้เกิดความไม่พอใจของคณะสงฆ์ในศาสนาพุทธและถือว่าพวกจามเป็นศัตรูที่สำคัญ คณะสงฆ์ในพุทธศาสนาจึงได้ทุ่มเทความพยายามในการที่จะดึงเอาชาวจามให้หวนกลับคืนสู่ศาสนาพุทธอีกครั้ง แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งได้ อิสลามก็หยั่งรากฝังลึกในหมู่ชนชาติจาม ซึ่งได้สร้างมัสยิดขึ้นในชุมชนของพวกเขาเป็นอันมาก
สิ่งที่ปรากฏชัดก็คือ อิสลามได้ไปถึงชนชาติเหล่านี้ในคาบสมุทรอินโดจีนจากทางเส้นทางการค้า และพ่อค้าวาณิชย์ส่วนใหญ่ที่อยู่ที่นั่นก็มิใช่ชนชาติอาหรับหรือเปอร์เซีย หากแต่เป็นชนชาติอินเดีย ดังนั้นจึงทำให้คำจำกัดความของอิสลามในดินแดนนั้นมีการบิดเบือนเป็นอันมากถึงแม้ว่าหลักการศรัทธาและการประกอบศาสนกิจเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
ข้อยืนยันในเรื่องนี้ก็คือว่ามีประชากรกลุ่มเล็ก ๆ ของคาบสมุทรที่เป็นชนชาติทมิฬ ซึ่งเป็นชาวอินเดีย (หรือชมพูทวีป) ได้อพยพสู่ดินแดนทางตอนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีน และตั้งหลักแหล่งอยู่ที่นั่นและผสมผสานกับประชากรท้องถิ่น เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ในการที่จะกล่าวว่า ชนชาติทมิฬนั้นได้มีบทบาทอย่างใหญ่หลวงในการเผยแผ่อิสลามในอินโดจีน ชาวทมิฬเป็นชนชาติอินเดียที่ถือศาสนาอิสลามในฝ่ายซุนนีย์ เป็นพวกที่รักการเดินทางและประกอบอาชีพการค้าและดูเหมือนว่านี่คือ
สาเหตุในการเข้ารับอิสลามของชนชาติทมิฬ เนื่องจากมีการติดต่อกับชนชาติอาหรับซึ่งเป็นนักเดินทางและพ่อค้าวาณิชย์ ซึ่งต่อมาชาวทมิฬก็ได้ทำหน้าที่ในการเผยแผ่ศาสนาอิสลามระหว่างกลุ่มชนชาติจามในอินโดจีนราวคริสศตวรรษที่ 14 อันเป็นช่วงเวลาที่อาณาจักรอัลคอลญีย์ในอินเดียได้หมดอำนาจลง (ค.ศ.1320)
อาณาจักรคอลญีย์ได้ทำการขยายขอบเขตของศาสนาอิสลามทางตะวันออกเฉียงเหนือในอินเดีย ต่อมาในภายหลังชนชาติจามก็ได้สถาปนาอาณาจักรอันเกรียงไกรขึ้นในแคว้นอันนัม อันเป็นที่รู้จักกันในนามอาณาจักรจามปา บนชายฝั่งทางตะวันออกของคาบสมุทรอินโดจีนแต่ทว่าอาณาจักรจามปามีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงเวลาอันสั้น
จวบจนกระทั่งทุกวันนี้ ยังคงมีชนชาติอันนัมที่เป็นมุสลิมที่หลงเหลืออยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนเพียงจำนวนเล็กน้อย พวกคอมมิวนิสต์ซึ่งแพร่หลายที่นั่นก็รุกรานชนชาติเหล่านี้ จนทำให้ประชากรส่วนใหญ่จำต้องอพยพเข้าสู่กัมพูชา แต่ก็ถูกพวกคอมมิวนิสต์ทำการรุกรานอีกเช่นกันในกัมพูชา
จริงอยู่ที่จำนวนของมุสลิมเชื้อชาติจาม มีอยู่ไม่มากในปัจจุบัน แต่พวกเขามีความอดทนและทุ่มเท และเป็นหมู่ชนที่ท่านศาสดา (ซ.ล.) ได้ทรงกล่าวถึงว่า ผู้ที่กำมั่นต่อศาสนาของเขา ก็เฉกเช่นกับผู้ที่กำถ่านแดง และกลุ่มอิสลามิกชนที่ถูกกดขี่เช่นนี้สมควรในการที่เราจะต้องให้ความช่วยเหลือและให้ความสำคัญ
ชาวมุสลิมในกัมพูชาและเวียดนาม ได้ตั้งชุมชนเป็นประชาคมในเขตต่าง ๆ แน่นอนทางตอนใต้ ซึ่งมิใช่เพียงแต่ชนชาติจามเท่านั้น แต่ยังมีผู้อพยพเชื้อชาติมลายูอีกเป็นจำนวนมากที่โยกย้ายถิ่นฐานมาสู่อินโดจีนจุดใหญ่ ๆ ที่มุสลิมเหล่านี้รวมตัวกันอยู่ค่อนข้างมากก็เช่น ไซ่ง่อน, เฉาลุน, โฉวดุก, โกชิน และพนมเปญ, กำปงโลเดงและจังหวัดกำปงจาม, โลพัก, กัมโพธพุสารท และเมืองเล็ก ๆ อีกบางแห่ง
มุสลิมในอินโดจีนได้ประกอบศาสนกิจเหมือนกับพี่น้องมุสลิมในคาบสมุทรมลายูและดำรงชีวิตกันเป็นกลุ่มก้อนที่ยึดมั่นรวมตัวกันอย่างแข็งแกร่งและประสบความสำเร็จตลอดจนเป็นที่ครั่นคร้ามในเวลาเดียวกัน โดยรวม ๆ แล้วมุสลิมเหล่านี้นับเป็นชาวอินโดจีนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในด้านการประกอบอาชีพค้าขายและการเงิน เป็นผู้มีความชำนาญในเรื่องการกสิกรรมและการประมง ซึ่งการประสบความสำเร็จของพวกเขาเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความโกรธแค้นและชิงชัง พวกพระสงฆ์ในศาสนาพุทธจึงปลุกระดมให้ประชาชนทั่วไปเกิดความไม่พอใจต่อพวกเขา
มุสลิมอินโดจีนส่วนใหญ่เป็นมุสลิมซุนนีย์ จะมีชีอะห์อยู่บ้างแต่ไม่มาก มุสลิมเหล่านี้อ่านอัลกุรอานได้อย่างถูกต้องโดยเฉพาะบทที่จำเป็นต้องอ่านในการนมัสการ นอกจากนี้ยังพบว่ามีถ้อยคำในภาษาอาหรับที่ผิดเพี้ยนในการออกเสียงปรากฏอยู่ในภาษาของพวกเขา ซึ่งบางคำไม่ทราบต้นตอที่มา
พวกเขาจะดำรงการนมัสการอย่างเป็นระเบียบ ไม่รับประทานเนื้อสุกร สุนัข เต่า จระเข้ ช้าง นกยูง นกอินทรีย์ และอีแร้งหรือเหยี่ยว มีผู้คนเป็นจำนวนมากจากชาวมุสลิมในอินโดจีนที่ใช้ชื่อนำว่า “ฮัจยี” มัสยิดของพวกเขามีเป็นจำนวนมิใช่น้อยแต่มีขนาดไม่ใหญ่นัก ส่วนใหญ่จะถูกสร้างจากไม้และปูด้วยเสื่อ ทางเข้าของมัสยิดจะมีบ่อน้ำที่ใช้ในการอาบน้ำละหมาด และมัสยิดจะถูกใช้เป็นโรงเรียนสอนอัลกุรอานแก่บรรดาเด็กมุสลิมในชุมชมเหมือนกับมัสยิดส่วนใหญ่ในประเทศมุสลิม
ชาวมุสลิมอินโดจีนจะเคร่งครัดในการถือศีลอดและเอ่ยพระนามของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ในสำเนียง “อุปลอ” หมายถึง “อัลลอฮฺ” บรรดาบุตรหลานของพวกเขาจะมีชี่อในภาษามลายูหรือภาษากัมพูชา (เขมร) เคียงคู่กับชื่ออิสลามโดยนิยมใช้ชื่ออับดุลลอฮฺ หรือ มุฮำหมัด ส่วนเด็กผู้หญิงจะนิยมชื่อ ฟาติมะห์ โดยออกเสียงว่า “ปะวัตเมาะห์” พวกเขาจะใช้คำศัพท์ทางศาสนาที่เพี้ยนมาจากคำในภาษาอาหรับ โดยนำเอาคำเหล่านี้มาจากครูชาวมลายูของพวกเขา
เราจะพบว่าพวกเขาเรียก “มุฟตี” (ผู้ตอบปัญหาศาสนา) ในสำเนียงว่า “มุปาตี” เรียกคำว่า (กอฎี) (ผู้ชี้ขาดกรณีพิพาท) ว่า “กุวะฮ์กาลิล” เรียก “ฟากิฮ์” (ผู้สันทัดในด้านนิติศาสตร์) ว่า “กุวาน ปากีฮ์” เรียกหมอหรือแพทย์ว่า “ฮ่ากีม” เรียก ค่อตีบ (ผู้แสดงธรรมวันศุกร์ว่า “กะตีบ” เรียกมุอัซซิน ว่า “บิหลั่น” ไม่ว่ามุอัซซิน (ผู้ประกาศเวลานมัสการ) ผู้นั้นจะมีชื่อจริงว่าอะไรก็ตาม
บุคคลส่วนใหญ่ที่รับผิดชอบกิจการทางศาสนาในหมู่มุสลิมอินโดจีนนั้นโดยมากจะเป็นบรรดาฮุจญ๊าจซึ่งเคยผ่านการประกอบพิธีฮัจญ์มาแล้วตลอดจนเคยศึกษาเรียนรู้หลักการของศาสนาบางส่วนในอัลฮิญาซ ต่อมาในภายหลังพวกเขาก็เดินทางกลับสู่มาตุภูมิของพวกเขาเพื่อเป็นผู้นำในการนมัสการและนักแสดงธรรมในมัสยิดต่าง ๆ
เช่นนี้เองศาสนาอิสลามก็ได้แพร่หลายในส่วนต่าง ๆ ของคาบสมุทรอินโดจีนทั้งนี้ด้วยการทุ่มเทและมุ่งมั่นของมุสลิมเบงกอลและพ่อค้าอินเดีย ตลอดจนนักเผยแผ่อื่น ๆ จากอิสลามิกชน พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้ทรงปลูกฝังให้มุสลิมอินโดจีนมีความรักมีความปรารถนาในการเดินทางสู่บัยติลลาฮฺเพื่อประกอบพิธีฮัจญ์ บางคนต้องพบกับความยากลำบากในการเดินทางหรือเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากเพื่อให้ได้มีโอกาสไปเยือนแหล่งกำเนิดแห่งอิสลามและประกอบพิธีฮัจญ์
หลังจากนั้นก็เดินทางกลับสู่บ้านเกิดเมืองนอนพร้อมกับฉายาว่า “ฮัจยี” ซึ่งฉายาดังกล่าวมีความสำคัญอย่างมากสำหรับพวกเขา และมีผู้คนเป็นจำนวนมากจากบุคคลเหล่านี้ได้บ่ายหน้าสู่การเผยแผ่เรียกร้องสู่อิสลาม โดยออกเดินทางไปยังดินแดนทางตะวันออกพร้อมกับบรรดาพ่อค้าวาณิชย์และกองคาราวานของพวกเขา
ซึ่งบ่อยครั้งมักจะมีกลุ่มคนที่เป็นนักปฏิบัติศาสนกิจที่ได้ยึดเอาการเผยแผ่อิสลามเป็นแนวทางได้ร่วมไปกับกองคาราวานเหล่านั้น บุคคลเหล่านี้จะสร้างสถานประกอบการภักดี (อิบาดะห์) ณ สถานที่ต่าง ๆ ที่พวกเขาได้ลงพักหรือตั้งหลักแหล่ง บุคคลเหล่านี้เป็นจำนวนมิใช่น้อยได้ประสบความสำเร็จในการเผยแผ่ศาสนาอิสลามในสยาม, พม่า และญวน (อันนัม) ซึ่งกล่าวกันว่า มีบางคนจากนักเผยแผ่เหล่านี้สามารถเรียกร้องผู้คนราว ๆ 100-300 คน ให้เข้ารับอิสลามทั้งหมดภายในวันเดียว
บุคคลที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดจากกลุ่มนักเผยแผ่เหล่านี้คือ ซัยยิด ยูซุฟุดดีน ท่านชัยค์ผู้นี้ได้เดินทางออกจากกรุงแบกแดดอันเป็นมาตุภูมิของท่านมุ่งสู่แคว้นสินธุเพื่อทำการเผยแผ่ศาสนาอิสลามในหมู่ชาวสินธุและได้รับการเอื้ออำนวยจากองค์พระผู้เป็นเจ้าอย่างใหญ่หลวง ต่อมาท่านก็ย้ายไปสู่แคว้นเบงกอล และสืบสานการเผยแผ่อย่างต่อเนื่องด้วยความสำเร็จ จากแคว้นเบงกอลนี่เองท่านชัยค์ได้ร่วมไปกับกองคาราวานสินค้ามุ่งสู่ดินแดนพม่าและสยาม
ในพม่านั้นท่านชัยค์ยูซุฟุดดีนได้สร้างสถานประกอบอิบาดะห์ตามแนวทางของซูฟีย์ และยังได้สร้างมัสยิดขึ้นหลายต่อหลายแห่ง ท่านชัยค์ได้วางระบบแบบแผนอย่างสมบูรณ์แก่กลุ่มชนมุสลิมในพม่าก่อนหน้าที่ท่านจะเสียชีวิต จวบจนทุกวันนี้ถือกันว่าท่านชัยค์ ยูซุฟุดดีน นับเป็นผู้ที่รู้จักกันมากที่สุดผู้หนึ่งในอินโดจีน
เป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่ว่า การแพร่หลายของลัทธิสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในดินแดนต่าง ๆ ของพม่าและประเทศไทย (ในเขตชายแดน) ในปัจจุบันได้เป็นต้นเหตุของความยากลำบากของมุสลิมในดินแดนดังกล่าว พวกแรกที่ประกาศสงครามกับอิสลามในดินแดนดังกล่าวและพยายามหยุดยั้งการเผยแผ่รุดหน้าของอิสลามก็คือ พวกล่าอาณานิคมเมืองขึ้นระหว่างพวกอังกฤษกับฝรั่งเศส
พวกยุโรปในขณะที่สามารถแผ่อิทธิพลสู่เอเชียได้ราวศตวรรษที่ 19 ได้พบว่าอิสลามเป็นอุปสรรคสำคัญในการแผ่อำนาจของพวกเขาและปรากฏว่า กลุ่มคณะมิชชันนารี นั้นมีความตื่นตัวอย่างมาก ทั้งนี้พวกมิชชันนารี่เหล่านี้มีความหวังอย่างมากในการที่ใช้อำนาจทางการเมืองจากฝรั่งด้วยกันในการทำให้พลเมืองในดินแดนเหล่านี้ ทั้งมุสลิมและไม่ใช่มุสลิมเข้ารีตในศาสนาของพวกเขา
ดังนั้นพวกเขาจึงทุ่มค่าใช้จ่ายเป็นอันมากเพื่อทำให้เป้าหมายดังกล่าวสมหวังแต่ก็ไร้ผล อย่างไรก็ตามพวกคณะมิชชันนารี่เหล่านี้ก็ได้พยายามเผยแพร่สิ่งที่บิดเบือนจากข้อเท็จจริงของอิสลามและสร้างความเสื่อมเสียแก่อิสลามิกชนและปลุกระดมผู้คนให้จงเกลียดจงชังบรรดามุสลิม นอกจากนี้พวกล่าอาณานิคมยังเข้าใจเอาว่าพวกเขาสามารถเล่นงานอิสลามได้เมื่อพวกเขาฟื้นฟูศาสนาพุทธให้การอุปถัมภ์สนับสนุนตลอดจนสร้างความเป็นมิตรกับพระสงฆ์ในพุทธศาสนา ซึ่งผลของการกระทำดังกล่าวไม่เป็นผลดีสำหรับอิสลามและชนมุสลิม
จากจุดนี้การกดขี่ทารุณต่อชาวมุสลิมในเอเชียใต้ส่วนใหญ่โดยเฉพาะทางตะวันออกของอินเดียจึงเริ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในพม่าหรือประเทศไทยหรือกัมพูชา, ลาว และเวียดนามทั้งเหนือและใต้จะพบว่าอิสลามในดินแดนเหล่านี้กำลังต่อสู้เพื่อการคงอยู่และเราจะพบว่ามุสลิมส่วนใหญ่ต้องทนทุกข์กับการกดขี่และการรุกไล่ซึ่งสภาพดังกล่าวเป็นปัญหาหนึ่งของอิสลามในปัจจุบัน
แหล่งที่มา : http://alisuasaming.org/
#เรื่องเล่าคติเตือนใจ_Islamic_Society_Online
#ประวัติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online
ซึ่งทั้งสองเขตนี้นับได้ว่าเป็นเขตที่ยากจนที่สุดของชมพูทวีป เนื่องจากมีประชากรหนาแน่น และเกิดอุทกภัยอยู่บ่อยครั้ง และทุกครั้งที่เกิดอุทกภัยเส้นทางการไหลของแม่น้ำลำคลองก็จะเปลี่ยนไปในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำและไหลเอ่อเข้าท่วมหมู่บ้านของประชาชน ผลพวงจากความยากจนดังกล่าวได้ทำให้มาตรฐานการดำเนินชีวิตของผู้คนในเขตนี้ตกต่ำลงในบางช่วงเวลาของประวัติศาสตร์ เพื่อนบ้านใกล้เคียงที่มีดินแดนต่อกันก็ได้รุกรานเข้ายึดครอง ชนพื้นเมืองเดิมจึงตกอยู่ในสภาพของความเป็นทาส
ในช่วงก่อนหน้าที่อิสลามจะมาถึงดินแดนแห่งนี้นั้นสถานภาพของผู้คนในแถบนี้ได้ตกต่ำลงจนถึงระดับชนชั้นของจัณฑาล ซึ่งหมายถึงพวกที่สังคมรังเกียจและเป็นวรรณะที่ต่ำสุด พวกพราหมณ์และฮินดู ก็ครอบงำและมีอำนาจเหนือชนพื้นเมืองเหล่านี้ แต่เมื่ออิสลามได้มาถึงดินแดนแห่งนี้ พร้อมกับความเอื้ออารีและความเสมอภาคมหาชนชาวเบงกอลและบีฮารก็พากันมุ่งสู่การยอมรับในศาสนาอิสลาม พวกเขาได้พบว่าในอิสลามมีความสูงส่งและการรับรู้ได้ถึงความเป็นมนุษย์
พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงยกฐานะของพวกเขาให้สูงขึ้นด้วยน้ำมือของเหล่ากษัตริย์มุสลิมในช่วงที่พวกคัลญีย์มีอำนาจและกษัตริย์กาฟูร ซึ่งเป็นอดีตข้าทาสรับใช้พวกคัลญีย์ปกครอง (ค.ศ.1290-1370) บางส่วนของอินเดียและแผ่ขยายอำนาจสู่ดินแดนแถบนี้ สถานภาพของผู้คนสูงขึ้น สภาพความเป็นอยู่ดีขึ้น และในที่สุดประชาชนพลเมืองที่ได้เข้ารับอิสลามก็เกิดความตื่นตัวในการประกอบสัมมาอาชีพ ความยากจนแร้นแค้นจึงได้บรรเทาลง
นอกจากนี้พวกเขายังได้มุ่งทำการแก้ไขปัญหาอุทกภัยด้วยการขุดคลองการชลประทาน การสร้างเขื่อน อันเป็นศาสตร์หรือวิทยาการที่พวกเขาได้ถ่ายทอดมาจากชาวอาหรับและเปอร์เซียที่เดินทางมาสู่ดินแดนของพวกเขา บ้านเมืองของพวกเขาก็เกิดความเจริญรุ่งเรือง และพลเมืองก็รู้สึกได้ถึงความผาสุกแห่งอิสลามที่มีเหนือพวกเขา
ผู้มีศรัทธาและกำลังทรัพย์จึงได้สร้างมัสยิดหลายต่อหลายแห่ง จนกลายเป็นดินแดนที่มีมัสยิดมากที่สุดในโลกก็ว่าได้ ถ้าชาวอาหรับพูดว่า กรุงไคโรคือนครแห่งพันมินาเร็ท (หออะซาน) ผู้คนในดินแดนนี้ก็จะกล่าวว่า ดักกา คือ นครแห่งสองพันมินาเร็ท ดินแดนส่วนนี้ก็คือส่วนที่แยกตัวออกจากประเทศปากีสถานและสถาปนาประเทศขึ้นใหม่ว่า บังคลาเทศ ซึ่งหมายถึง ดินแดนแห่งเบงกอล
และในขณะที่ความเจริญของชุมชนเพิ่มมากขี้นอย่างต่อเนื่องจนครอบคลุมดินแดนของบังคลาเทศ บรรดาพ่อค้าในดินแดนแห่งนี้ก็เกิดความตื่นตัวและขยายกิจการค้าขายออกไปยังส่วนอื่น ๆ ของอินเดียและส่วนทางทิศตะวันออกที่ติดกับประเทศพม่า ซึ่งพม่ามีแม่น้ำสายใหญ่อยู่หลายสายที่สำคัญคือ แม่น้ำอิระวดีและแม่โขง พม่ามีประเทศที่เป็นป่าดงดิบ อุดมสมบูรณ์ เส้นทางคมนาคมหลักก็คือแม่น้ำลำคลองสายต่าง ๆ โดยอาศัยเรือหรือเดินเท้าตลอดจนสัตว์พาหนะไปตามฝั่งริมแม่น้ำและลำคลอง
ประเทศพม่าในช่วงศตวรรษที่ 14 ขณะที่อิสลามได้เข้าสู่ดินแดนบีฮ๊ารและเบงกอลนั้น เรียกกันว่า บัรมาเนีย (ดินแดนแห่งชาวพม่า) แบ่งออกเป็นสองแคว้นใหญ่ คือบัรมาเนียเหนือมีอาบา (อังวะ) เป็นเมืองหลวงบนฝั่งแม่น้ำอิระวดี และบัรมาเนียใต้มีเมืองพะโค เป็นราชธานีบนปากแม่น้ำแม่โขง ดินแดนบัรมาเนียที่มีพื้นที่ติดต่อกับแคว้นเบงกอลในบังคลาเทศมีชื่อว่า แคว้นอาระกัน ซึ่งเป็นอาณาจักรอิสระที่ปกครองตนเอง อิสลามได้แผ่เข้าครอบคลุมอาระกันทั้งหมดและแผ่เข้าสู่บัรมาเนียในเวลาต่อมา บรรดาพ่อค้ามุสลิมได้สร้างศูนย์กลางความเจริญและบรรดามัสยิดขึ้นท่ามกลางป่าดงดิบบนฝั่งแม่น้ำอิระวดีและแม่โขง
และดินแดนที่ถัดจากพม่าทางทิศตะวันออกอันเป็นที่รู้จักกันในนาม “อินโดจีน” ราวศตวรรษที่ 19 ก็คือ สยามประเทศ ในทุกวันนี้ก็คือ ประเทศไทย ซึ่งหมายถึงดินแดนแห่งชนชาติไทยหรือชาวไต (หรือดินแดนแห่งใบชา) มีราชธานีคือ อยุธยา ถัดจากสยามไปทางตะวันออกก็คือกัมพูชา ทางเหนือคือลาวและอันนัม (ญวน) ซึ่งปัจจุบันก็คือ เวียดนามเหนือและใต้ ประชาชนในดินแดนเหล่านี้ทั้งหมด คือ ชนเชื้อชาติจีนและสยาม (เชื้อชาติไทยกลุ่มต่าง ๆ )
และในดินแดนที่เป็นอาณาเขตของสยามนั้นได้แผ่ยื่นลงไปถึงคาบสมุทรมลายูจนถึงเส้นรุ้งที่ 7 ทางตอนใต้ของ แหลมมลายูก็คือ ประเทศมลายูที่รวมถึงมะลักกา มีชนชาติอีกกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่โดยแตกต่างจากชนชาติจีนโดยสิ้นเชิง นั่นคือชนชาติโพลีนีเชี่ยน ซึ่งกระจายหลักแหล่งไปทั่วเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้งหมดโดยรวมถึงฟิลิปปินส์และหมู่เกาะทางตอนเหนือจรดหมู่เกาะฮาวายในแปซิฟิก
จากดินแดนของแคว้นอาระกัน อิสลามได้แพร่หลายสู่บัรมาเนีย (พม่า) โดยบรรดาพ่อค้าซึ่งสามารถดึงผู้คนหลายพันคนให้เข้ารับอิสลามถึงแม้ว่าจะมีการสู้รบอย่างรุนแรงที่ชาวพุทธได้ประกาศสงครามต่อต้านอิสลามก็ตามที พระสงฆ์ในพุทธศาสนาเป็นกลุ่มชนที่ปกป้องลัทธิความเชื่อของตนอย่างเหนียวแน่น ทั้งนี้เพราะพระสงฆ์เหล่านี้มีอำนาจในสังคมของชาวพุทธและเป็นแนวร่วมก็เหล่ากษัตริย์ที่มีอำนาจปกครองในความอุดมสมบูรณ์ของดินแดนแถบนี้
และนี่ก็คือสาเหตุหนึ่งที่ทำให้จีนและเวียดนามและส่วนอื่น ๆ ที่เป็นศูนย์กลางของชาวพุทธเปลี่ยนไปเป็นคอมมิวนิสต์หรือสังคมนิยม การเปลี่ยนแนวความคิดเช่นนี้มิได้เกิดจากความเลื่อมใสต่อลัทธิสังคมนิยม หากแต่เป็นเพราะว่าพระสงฆ์ในพุทธศาสนาได้สร้างความหนักอึ้งแก่ผู้คนตลอดช่วงระยะเวลาอันยาวนาน
อิสลามได้แพร่หลายในดินแดนพม่าไปตามเส้นทางของแม่น้ำสายหลักต่าง ๆ และได้มีการจัดตั้งชุมชนมุสลิมและมัสยิดขึ้นหลายต่อหลายแห่ง ตามรายทางสายหลักทั้งทางน้ำและทางบก ชุมชนมุสลิมได้มีศูนย์กลางอยู่ตามหมู่บ้านขนาดใหญ่เท่านั้น ทั้งนี้เป็นเพราะว่าพระสงฆ์ในศาสนาพุทธและชาวฮินดูได้ทำการต่อต้านการสร้างมัสยิดในดินแดนของพวกเขา ตลอดจนขอความช่วยเหลือจากบรรดากษัตริย์และผู้เป็นคหบดีทั้งหลายให้ช่วยทำสงครามต่อสู้กับอิสลาม ซึ่งบุคคลเหล่านี้มองอิสลามว่าคุกคามต่อศูนย์กลางทางการปกครองและสังคมของพวกตน
เมื่อบรรดาพ่อค้าวาณิชย์จากดินแดนชมพูทวีปส่วนอื่น ๆ และจากอิหร่านได้มาถึงบริเวณดินแดนแถบนี้ พวกพ่อค้ามุสลิมเหล่านี้ก็ได้ตั้งถิ่นฐานอยู่ตามหัวเมืองชายฝั่งและสร้างสถานีทางการค้าขึ้น พวกเขาก็ได้เผยแผ่อิสลามควบคู่กันไป แต่ทว่าอิสลามในดินแดนแห่งนี้มิค่อยได้รับการตอบรับมากนักด้วยเหตุที่พระสงฆ์ในศาสนาพุทธได้ทำการต่อต้านอย่างหนัก
และที่โชคร้ายก็คือว่า ดินแดนพม่าถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางของศาสนาพุทธในสายวิปัสสนา (หรือการเข้าญาน) พวกโยคี (นักพรต) หรือพระสงฆ์ถือเป็นผู้มีบทบาทสำคัญในตำบลหรือหมู่บ้าน และวัดก็คือศูนย์กลางในการดำเนินชีวิตของผู้คนในหมู่บ้านนั้น ๆ
ศาสนาพุทธนั้นมีอยู่หลายนิกาย แต่นิกายที่ยึดแนวทางวิปัสสนาหรือการเข้าญานซึ่งเป็นแนวทางของเถรวาทหรือหินยานมีความคล้ายคลึงอย่างมากกับคำสอนของอิสลาม ชาวพุทธมีความเชื่อต่อการเกิดใหม่และชาติภพหน้าที่ดีกว่า หากผู้นั้นเป็นคนดีและย่อมตกอยู่ในความทุกข์ถ้าหากว่าผู้นั้นเป็นคนชั่ว
ส่วนหนึ่งจากการปฏิบัติดีของชาวพุทธก็คือทำทานให้อาหารแก่คนยากจน คนเดินทางหลงถิ่น และการสร้างเจดีย์ซึ่งเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิทางพุทธศาสนา ชาวพุทธจะบริจาคทานที่คล้ายคลึงกับการจ่ายซะกาตโดยนำไปซื้ออาหารและนำมาถวายที่วัด ตลอดจนทำบุญเลี้ยงผู้คน (ตั้งโรงทาน) บางทีสิ่งเหล่านี้อาจจะเป็นอุปสรรคที่ทำให้อิสลามไม่สามารถแพร่หลายออกไปยังกว้างขวางในพม่า ทั้งนี้เพราะชาวพม่าอาจจะมองไม่เห็นถึงข้อแตกต่างระหว่างศาสนาพุทธกับอิสลาม
อย่างไรก็ตามอิสลามได้สถาปนาชุมชนมุสลิมขึ้นในหัวเมืองต่าง ๆ ที่สำคัญแต่ก็ไม่มีความเจริญรุ่งเรืองเหมือนกับชุมชนมุสลิมต่าง ๆ ในมะลักกาหรือดินแดนแห่งกาลาบ๊ารในแหลมมลายู ดินแดนอินโดจีนนั้นถึงแม้ว่าลักษณะทางภูมิศาสตร์จะไม่ใช่ดินแดนที่ป่าดงดิบทั้งหมดแต่ก็ถือว่ามีการคมนาคมที่ยากลำบากแห่งหนึ่ง เพราะมีเทือกเขาที่ราบสูง ดินแดนทุรกันดาร และป่าเขามาขวางกั้นและเป็นอุปสรรคในการคมนาคมและการติดต่อของผู้คน
ด้วยเหตุนี้คาบสมุทรอินโดจีนจึงแบ่งออกเป็นเขตแดนทางการปกครองที่หลากหลาย ประชาชนที่อาศัยอยู่ในคาบสมุทรแห่งนี้ก็มีหลายเชื้อชาติที่แตกต่างกันไป ทั้งนี้ก็ด้วยเหตุที่มีความลำบากในการคมนาคมติดต่อซึ่งกันและกัน ข้อแตกต่างในจุดใหญ่ของชนชาติเหล่านี้ก็คือ ชนชาติไทยหรือสยามที่มีสีผิวน้ำตาลหรือดำแดง ชาวญวนมีร่างกายที่ไม่ใหญ่โตมีผิวสีขาว ชาวกัมพูชาซึ่งไม่มีข้อเหมือนทางสรีระกับชนชาติเพื่อนบ้านนอกจากลักษณะผิวเหลืองเท่านั้นแต่ก็ดูเหมือนว่าไม่มีข้อแตกต่างที่เด่นชัดนัก
ชาวจีนเป็นชนชาติที่รู้จักกันดีในการอพยพโยกย้ายถิ่นฐาน ความเจริญทางวิชาการ และการประกอบอาชีพทางการค้า ด้วยเหตุนี้จำนวนของชนชาติจีนจึงมีเป็นจำนวนมากในทุกประเทศของเอเชียตะวันออกนอกจากในส่วนของอินโดจีน ซึ่งชาวจีนมีอัตราส่วนเพียง 1 ใน 50 ของประชากร ประชาคมส่วนใหญ่เป็นชาวญวน ซึ่งมีหลักแหล่งในพื้นที่ 1 ใน 3 ทางตะวันตกของคาบสมุทรอินโดจีน และทางตอนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนมีชนชาติจามอาศัยอยู่ ซึ่งเดิมทีมีรากเหง้ามาจากชนชาติญวนและตั้งถิ่นฐานอยู่บริเวณชายฝั่ง
อิสลามได้แพร่หลายในหมู่ชนชาติจาม และครอบคลุมประชากรส่วนใหญ่ อันก่อให้เกิดความไม่พอใจของคณะสงฆ์ในศาสนาพุทธและถือว่าพวกจามเป็นศัตรูที่สำคัญ คณะสงฆ์ในพุทธศาสนาจึงได้ทุ่มเทความพยายามในการที่จะดึงเอาชาวจามให้หวนกลับคืนสู่ศาสนาพุทธอีกครั้ง แต่ก็ไม่สามารถหยุดยั้งได้ อิสลามก็หยั่งรากฝังลึกในหมู่ชนชาติจาม ซึ่งได้สร้างมัสยิดขึ้นในชุมชนของพวกเขาเป็นอันมาก
สิ่งที่ปรากฏชัดก็คือ อิสลามได้ไปถึงชนชาติเหล่านี้ในคาบสมุทรอินโดจีนจากทางเส้นทางการค้า และพ่อค้าวาณิชย์ส่วนใหญ่ที่อยู่ที่นั่นก็มิใช่ชนชาติอาหรับหรือเปอร์เซีย หากแต่เป็นชนชาติอินเดีย ดังนั้นจึงทำให้คำจำกัดความของอิสลามในดินแดนนั้นมีการบิดเบือนเป็นอันมากถึงแม้ว่าหลักการศรัทธาและการประกอบศาสนกิจเป็นสิ่งที่ถูกต้อง
ข้อยืนยันในเรื่องนี้ก็คือว่ามีประชากรกลุ่มเล็ก ๆ ของคาบสมุทรที่เป็นชนชาติทมิฬ ซึ่งเป็นชาวอินเดีย (หรือชมพูทวีป) ได้อพยพสู่ดินแดนทางตอนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีน และตั้งหลักแหล่งอยู่ที่นั่นและผสมผสานกับประชากรท้องถิ่น เป็นเรื่องที่เป็นไปได้ในการที่จะกล่าวว่า ชนชาติทมิฬนั้นได้มีบทบาทอย่างใหญ่หลวงในการเผยแผ่อิสลามในอินโดจีน ชาวทมิฬเป็นชนชาติอินเดียที่ถือศาสนาอิสลามในฝ่ายซุนนีย์ เป็นพวกที่รักการเดินทางและประกอบอาชีพการค้าและดูเหมือนว่านี่คือ
สาเหตุในการเข้ารับอิสลามของชนชาติทมิฬ เนื่องจากมีการติดต่อกับชนชาติอาหรับซึ่งเป็นนักเดินทางและพ่อค้าวาณิชย์ ซึ่งต่อมาชาวทมิฬก็ได้ทำหน้าที่ในการเผยแผ่ศาสนาอิสลามระหว่างกลุ่มชนชาติจามในอินโดจีนราวคริสศตวรรษที่ 14 อันเป็นช่วงเวลาที่อาณาจักรอัลคอลญีย์ในอินเดียได้หมดอำนาจลง (ค.ศ.1320)
อาณาจักรคอลญีย์ได้ทำการขยายขอบเขตของศาสนาอิสลามทางตะวันออกเฉียงเหนือในอินเดีย ต่อมาในภายหลังชนชาติจามก็ได้สถาปนาอาณาจักรอันเกรียงไกรขึ้นในแคว้นอันนัม อันเป็นที่รู้จักกันในนามอาณาจักรจามปา บนชายฝั่งทางตะวันออกของคาบสมุทรอินโดจีนแต่ทว่าอาณาจักรจามปามีความเจริญรุ่งเรืองในช่วงเวลาอันสั้น
จวบจนกระทั่งทุกวันนี้ ยังคงมีชนชาติอันนัมที่เป็นมุสลิมที่หลงเหลืออยู่ทางตอนใต้ของคาบสมุทรอินโดจีนเพียงจำนวนเล็กน้อย พวกคอมมิวนิสต์ซึ่งแพร่หลายที่นั่นก็รุกรานชนชาติเหล่านี้ จนทำให้ประชากรส่วนใหญ่จำต้องอพยพเข้าสู่กัมพูชา แต่ก็ถูกพวกคอมมิวนิสต์ทำการรุกรานอีกเช่นกันในกัมพูชา
จริงอยู่ที่จำนวนของมุสลิมเชื้อชาติจาม มีอยู่ไม่มากในปัจจุบัน แต่พวกเขามีความอดทนและทุ่มเท และเป็นหมู่ชนที่ท่านศาสดา (ซ.ล.) ได้ทรงกล่าวถึงว่า ผู้ที่กำมั่นต่อศาสนาของเขา ก็เฉกเช่นกับผู้ที่กำถ่านแดง และกลุ่มอิสลามิกชนที่ถูกกดขี่เช่นนี้สมควรในการที่เราจะต้องให้ความช่วยเหลือและให้ความสำคัญ
ชาวมุสลิมในกัมพูชาและเวียดนาม ได้ตั้งชุมชนเป็นประชาคมในเขตต่าง ๆ แน่นอนทางตอนใต้ ซึ่งมิใช่เพียงแต่ชนชาติจามเท่านั้น แต่ยังมีผู้อพยพเชื้อชาติมลายูอีกเป็นจำนวนมากที่โยกย้ายถิ่นฐานมาสู่อินโดจีนจุดใหญ่ ๆ ที่มุสลิมเหล่านี้รวมตัวกันอยู่ค่อนข้างมากก็เช่น ไซ่ง่อน, เฉาลุน, โฉวดุก, โกชิน และพนมเปญ, กำปงโลเดงและจังหวัดกำปงจาม, โลพัก, กัมโพธพุสารท และเมืองเล็ก ๆ อีกบางแห่ง
มุสลิมในอินโดจีนได้ประกอบศาสนกิจเหมือนกับพี่น้องมุสลิมในคาบสมุทรมลายูและดำรงชีวิตกันเป็นกลุ่มก้อนที่ยึดมั่นรวมตัวกันอย่างแข็งแกร่งและประสบความสำเร็จตลอดจนเป็นที่ครั่นคร้ามในเวลาเดียวกัน โดยรวม ๆ แล้วมุสลิมเหล่านี้นับเป็นชาวอินโดจีนที่ประสบความสำเร็จมากที่สุดในด้านการประกอบอาชีพค้าขายและการเงิน เป็นผู้มีความชำนาญในเรื่องการกสิกรรมและการประมง ซึ่งการประสบความสำเร็จของพวกเขาเป็นสิ่งที่ก่อให้เกิดความโกรธแค้นและชิงชัง พวกพระสงฆ์ในศาสนาพุทธจึงปลุกระดมให้ประชาชนทั่วไปเกิดความไม่พอใจต่อพวกเขา
มุสลิมอินโดจีนส่วนใหญ่เป็นมุสลิมซุนนีย์ จะมีชีอะห์อยู่บ้างแต่ไม่มาก มุสลิมเหล่านี้อ่านอัลกุรอานได้อย่างถูกต้องโดยเฉพาะบทที่จำเป็นต้องอ่านในการนมัสการ นอกจากนี้ยังพบว่ามีถ้อยคำในภาษาอาหรับที่ผิดเพี้ยนในการออกเสียงปรากฏอยู่ในภาษาของพวกเขา ซึ่งบางคำไม่ทราบต้นตอที่มา
พวกเขาจะดำรงการนมัสการอย่างเป็นระเบียบ ไม่รับประทานเนื้อสุกร สุนัข เต่า จระเข้ ช้าง นกยูง นกอินทรีย์ และอีแร้งหรือเหยี่ยว มีผู้คนเป็นจำนวนมากจากชาวมุสลิมในอินโดจีนที่ใช้ชื่อนำว่า “ฮัจยี” มัสยิดของพวกเขามีเป็นจำนวนมิใช่น้อยแต่มีขนาดไม่ใหญ่นัก ส่วนใหญ่จะถูกสร้างจากไม้และปูด้วยเสื่อ ทางเข้าของมัสยิดจะมีบ่อน้ำที่ใช้ในการอาบน้ำละหมาด และมัสยิดจะถูกใช้เป็นโรงเรียนสอนอัลกุรอานแก่บรรดาเด็กมุสลิมในชุมชมเหมือนกับมัสยิดส่วนใหญ่ในประเทศมุสลิม
ชาวมุสลิมอินโดจีนจะเคร่งครัดในการถือศีลอดและเอ่ยพระนามของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ในสำเนียง “อุปลอ” หมายถึง “อัลลอฮฺ” บรรดาบุตรหลานของพวกเขาจะมีชี่อในภาษามลายูหรือภาษากัมพูชา (เขมร) เคียงคู่กับชื่ออิสลามโดยนิยมใช้ชื่ออับดุลลอฮฺ หรือ มุฮำหมัด ส่วนเด็กผู้หญิงจะนิยมชื่อ ฟาติมะห์ โดยออกเสียงว่า “ปะวัตเมาะห์” พวกเขาจะใช้คำศัพท์ทางศาสนาที่เพี้ยนมาจากคำในภาษาอาหรับ โดยนำเอาคำเหล่านี้มาจากครูชาวมลายูของพวกเขา
เราจะพบว่าพวกเขาเรียก “มุฟตี” (ผู้ตอบปัญหาศาสนา) ในสำเนียงว่า “มุปาตี” เรียกคำว่า (กอฎี) (ผู้ชี้ขาดกรณีพิพาท) ว่า “กุวะฮ์กาลิล” เรียก “ฟากิฮ์” (ผู้สันทัดในด้านนิติศาสตร์) ว่า “กุวาน ปากีฮ์” เรียกหมอหรือแพทย์ว่า “ฮ่ากีม” เรียก ค่อตีบ (ผู้แสดงธรรมวันศุกร์ว่า “กะตีบ” เรียกมุอัซซิน ว่า “บิหลั่น” ไม่ว่ามุอัซซิน (ผู้ประกาศเวลานมัสการ) ผู้นั้นจะมีชื่อจริงว่าอะไรก็ตาม
บุคคลส่วนใหญ่ที่รับผิดชอบกิจการทางศาสนาในหมู่มุสลิมอินโดจีนนั้นโดยมากจะเป็นบรรดาฮุจญ๊าจซึ่งเคยผ่านการประกอบพิธีฮัจญ์มาแล้วตลอดจนเคยศึกษาเรียนรู้หลักการของศาสนาบางส่วนในอัลฮิญาซ ต่อมาในภายหลังพวกเขาก็เดินทางกลับสู่มาตุภูมิของพวกเขาเพื่อเป็นผู้นำในการนมัสการและนักแสดงธรรมในมัสยิดต่าง ๆ
เช่นนี้เองศาสนาอิสลามก็ได้แพร่หลายในส่วนต่าง ๆ ของคาบสมุทรอินโดจีนทั้งนี้ด้วยการทุ่มเทและมุ่งมั่นของมุสลิมเบงกอลและพ่อค้าอินเดีย ตลอดจนนักเผยแผ่อื่น ๆ จากอิสลามิกชน พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้ทรงปลูกฝังให้มุสลิมอินโดจีนมีความรักมีความปรารถนาในการเดินทางสู่บัยติลลาฮฺเพื่อประกอบพิธีฮัจญ์ บางคนต้องพบกับความยากลำบากในการเดินทางหรือเสียค่าใช้จ่ายเป็นจำนวนมากเพื่อให้ได้มีโอกาสไปเยือนแหล่งกำเนิดแห่งอิสลามและประกอบพิธีฮัจญ์
หลังจากนั้นก็เดินทางกลับสู่บ้านเกิดเมืองนอนพร้อมกับฉายาว่า “ฮัจยี” ซึ่งฉายาดังกล่าวมีความสำคัญอย่างมากสำหรับพวกเขา และมีผู้คนเป็นจำนวนมากจากบุคคลเหล่านี้ได้บ่ายหน้าสู่การเผยแผ่เรียกร้องสู่อิสลาม โดยออกเดินทางไปยังดินแดนทางตะวันออกพร้อมกับบรรดาพ่อค้าวาณิชย์และกองคาราวานของพวกเขา
ซึ่งบ่อยครั้งมักจะมีกลุ่มคนที่เป็นนักปฏิบัติศาสนกิจที่ได้ยึดเอาการเผยแผ่อิสลามเป็นแนวทางได้ร่วมไปกับกองคาราวานเหล่านั้น บุคคลเหล่านี้จะสร้างสถานประกอบการภักดี (อิบาดะห์) ณ สถานที่ต่าง ๆ ที่พวกเขาได้ลงพักหรือตั้งหลักแหล่ง บุคคลเหล่านี้เป็นจำนวนมิใช่น้อยได้ประสบความสำเร็จในการเผยแผ่ศาสนาอิสลามในสยาม, พม่า และญวน (อันนัม) ซึ่งกล่าวกันว่า มีบางคนจากนักเผยแผ่เหล่านี้สามารถเรียกร้องผู้คนราว ๆ 100-300 คน ให้เข้ารับอิสลามทั้งหมดภายในวันเดียว
บุคคลที่เป็นที่รู้จักกันมากที่สุดจากกลุ่มนักเผยแผ่เหล่านี้คือ ซัยยิด ยูซุฟุดดีน ท่านชัยค์ผู้นี้ได้เดินทางออกจากกรุงแบกแดดอันเป็นมาตุภูมิของท่านมุ่งสู่แคว้นสินธุเพื่อทำการเผยแผ่ศาสนาอิสลามในหมู่ชาวสินธุและได้รับการเอื้ออำนวยจากองค์พระผู้เป็นเจ้าอย่างใหญ่หลวง ต่อมาท่านก็ย้ายไปสู่แคว้นเบงกอล และสืบสานการเผยแผ่อย่างต่อเนื่องด้วยความสำเร็จ จากแคว้นเบงกอลนี่เองท่านชัยค์ได้ร่วมไปกับกองคาราวานสินค้ามุ่งสู่ดินแดนพม่าและสยาม
ในพม่านั้นท่านชัยค์ยูซุฟุดดีนได้สร้างสถานประกอบอิบาดะห์ตามแนวทางของซูฟีย์ และยังได้สร้างมัสยิดขึ้นหลายต่อหลายแห่ง ท่านชัยค์ได้วางระบบแบบแผนอย่างสมบูรณ์แก่กลุ่มชนมุสลิมในพม่าก่อนหน้าที่ท่านจะเสียชีวิต จวบจนทุกวันนี้ถือกันว่าท่านชัยค์ ยูซุฟุดดีน นับเป็นผู้ที่รู้จักกันมากที่สุดผู้หนึ่งในอินโดจีน
เป็นเรื่องที่น่าเศร้าที่ว่า การแพร่หลายของลัทธิสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ในดินแดนต่าง ๆ ของพม่าและประเทศไทย (ในเขตชายแดน) ในปัจจุบันได้เป็นต้นเหตุของความยากลำบากของมุสลิมในดินแดนดังกล่าว พวกแรกที่ประกาศสงครามกับอิสลามในดินแดนดังกล่าวและพยายามหยุดยั้งการเผยแผ่รุดหน้าของอิสลามก็คือ พวกล่าอาณานิคมเมืองขึ้นระหว่างพวกอังกฤษกับฝรั่งเศส
พวกยุโรปในขณะที่สามารถแผ่อิทธิพลสู่เอเชียได้ราวศตวรรษที่ 19 ได้พบว่าอิสลามเป็นอุปสรรคสำคัญในการแผ่อำนาจของพวกเขาและปรากฏว่า กลุ่มคณะมิชชันนารี นั้นมีความตื่นตัวอย่างมาก ทั้งนี้พวกมิชชันนารี่เหล่านี้มีความหวังอย่างมากในการที่ใช้อำนาจทางการเมืองจากฝรั่งด้วยกันในการทำให้พลเมืองในดินแดนเหล่านี้ ทั้งมุสลิมและไม่ใช่มุสลิมเข้ารีตในศาสนาของพวกเขา
ดังนั้นพวกเขาจึงทุ่มค่าใช้จ่ายเป็นอันมากเพื่อทำให้เป้าหมายดังกล่าวสมหวังแต่ก็ไร้ผล อย่างไรก็ตามพวกคณะมิชชันนารี่เหล่านี้ก็ได้พยายามเผยแพร่สิ่งที่บิดเบือนจากข้อเท็จจริงของอิสลามและสร้างความเสื่อมเสียแก่อิสลามิกชนและปลุกระดมผู้คนให้จงเกลียดจงชังบรรดามุสลิม นอกจากนี้พวกล่าอาณานิคมยังเข้าใจเอาว่าพวกเขาสามารถเล่นงานอิสลามได้เมื่อพวกเขาฟื้นฟูศาสนาพุทธให้การอุปถัมภ์สนับสนุนตลอดจนสร้างความเป็นมิตรกับพระสงฆ์ในพุทธศาสนา ซึ่งผลของการกระทำดังกล่าวไม่เป็นผลดีสำหรับอิสลามและชนมุสลิม
จากจุดนี้การกดขี่ทารุณต่อชาวมุสลิมในเอเชียใต้ส่วนใหญ่โดยเฉพาะทางตะวันออกของอินเดียจึงเริ่มขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในพม่าหรือประเทศไทยหรือกัมพูชา, ลาว และเวียดนามทั้งเหนือและใต้จะพบว่าอิสลามในดินแดนเหล่านี้กำลังต่อสู้เพื่อการคงอยู่และเราจะพบว่ามุสลิมส่วนใหญ่ต้องทนทุกข์กับการกดขี่และการรุกไล่ซึ่งสภาพดังกล่าวเป็นปัญหาหนึ่งของอิสลามในปัจจุบัน
แหล่งที่มา : http://alisuasaming.org/
#เรื่องเล่าคติเตือนใจ_Islamic_Society_Online
#ประวัติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น