สงครามหกวัน : ย้อนรอยเส้นทางอิสราเอลยึดครองปาเลสไตน์
ชาวปาเลสไตน์ระลึกความทรงจำ 50 ปีของสงครามในปี 1967 หรือที่รู้จักกันในชื่อ สงครามหกวัน สงครามที่ทำให้ชีวิตของพวกเขาตกอยู่ภายใต้การยึดครองของอิสราเอล
ต้นเดือนมิถุนายนของเมื่อ 50 ปีที่แล้ว อิสราเอลได้สร้างความตื่นตะลึงให้กับโลกด้วยการบุกยึดครองดินแดนปาเลสไตน์ส่วนที่เหลือในเขตเวสต์แบงก์, เขตเยรูซาเล็มตะวันออก, ฉนวนกาซ่า, ที่ราบสูงโกลัน (Golan Heights) ของซีเรีย และคาบสมุทรซีนายของอียิปต์ได้เป็นผลสำเร็จภายในระยะเวลาเพียง 6 วัน
ในสงครามที่เกิดขึ้นกับอียิปต์,จอร์แดน และซีเรีย ซึ่งเป็นที่รู้จักในนามสงครามหกวันนั้น ทางการอิสราเอลได้ส่งมอบสิ่งที่เรียกว่า “Naksa” ซึ่งมีความหมายว่า “ถอยออกไป หรือยอมแพ้ไป” แก่ทหารของกลุ่มประเทศอาหรับรวมถึงชาวปาเลสไตน์ที่จำต้องสูญเสียแผ่นดินบ้านเกิดของตนเอง
“Naksa” คือภาคต่อของเหตุการณ์สำคัญที่ปูทางให้เกิดสงครามหกวันนี้ขึ้น ย้อนกลับไป19 ปีก่อนหน้านั้น ราวปี ค.ศ.1948 อิสราเอลได้เข้ามามีบทบาทในการก่อความรุนแรงที่ส่งผลให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์ในเวลาต่อมา
ต้นเดือนมิถุนายนของเมื่อ 50 ปีที่แล้ว อิสราเอลได้สร้างความตื่นตะลึงให้กับโลกด้วยการบุกยึดครองดินแดนปาเลสไตน์ส่วนที่เหลือในเขตเวสต์แบงก์, เขตเยรูซาเล็มตะวันออก, ฉนวนกาซ่า, ที่ราบสูงโกลัน (Golan Heights) ของซีเรีย และคาบสมุทรซีนายของอียิปต์ได้เป็นผลสำเร็จภายในระยะเวลาเพียง 6 วัน
ในสงครามที่เกิดขึ้นกับอียิปต์,จอร์แดน และซีเรีย ซึ่งเป็นที่รู้จักในนามสงครามหกวันนั้น ทางการอิสราเอลได้ส่งมอบสิ่งที่เรียกว่า “Naksa” ซึ่งมีความหมายว่า “ถอยออกไป หรือยอมแพ้ไป” แก่ทหารของกลุ่มประเทศอาหรับรวมถึงชาวปาเลสไตน์ที่จำต้องสูญเสียแผ่นดินบ้านเกิดของตนเอง
“Naksa” คือภาคต่อของเหตุการณ์สำคัญที่ปูทางให้เกิดสงครามหกวันนี้ขึ้น ย้อนกลับไป19 ปีก่อนหน้านั้น ราวปี ค.ศ.1948 อิสราเอลได้เข้ามามีบทบาทในการก่อความรุนแรงที่ส่งผลให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์ในเวลาต่อมา
ในสงครามหกวัน อิสราเอลควบคุมอำนาจปกครองในเขตพื้นที่สีทึบของซีนายแห่งอียิปต์ ที่ราบสูงโกลันแห่งซีเรีย และเขตเวสต์แบงก์ ซึ่งรวมไปถึงเยรูซาเล็มตะวันออกและฉนวนกาซ่า ในดินแดนของปาเลสไตน์ |
ในปฏิบัติการสร้าง “รัฐยิว” กองกำลังไซออนิสต์ได้ทำลายล้างหมู่บ้านและขับไล่ชาวปาเลสไตน์จำนวนกว่า 750,000 ชีวิตให้ออกจากมาตุภูมิของตนเอง หลังจากอิสราเอลสามารถประกาศการจัดตั้งรัฐยิวได้ไม่นาน กองทัพจากกลุ่มประเทศอาหรับต่างก็ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือและต่อสู้ เพื่อกอบกู้ประเทศและคืนดินแดนให้ชาวปาเลสไตน์
สงครามในปี ค.ศ.1948 จบลงด้วยการที่อิสราเอลสามารถควบคุมอาณาเขตไว้ได้ราว 78 เปอร์เซ็นต์ของดินแดนปาเลสไตน์ ในขณะที่อีก 22เ ปอร์เซ็นต์ที่เหลือตกไปอยู่ในมือของอียิปต์และจอร์แดน
ถัดมาใน สงครามหกวัน ปี ค.ศ.1967 อิสราเอลสามารถดูดกลืนพื้นที่ทั้งหมดของปาเลสไตน์รวมไปถึงอาณาเขตของอียิปต์และซีเรียได้เป็นผลสำเร็จ เมื่อสงครามสิ้นสุดลงอิสราเอลได้ขับไล่ชาวปาเลสไตน์อีก 430,000 ชีวิตออกจากบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง จนสามารถขยายอาณาเขตครอบครองได้เพิ่มมากขึ้นจากเดิมถึง 3.5 เท่า
เรื่องราวของสงครามครั้งนี้อาจมีหลายเวอร์ชั่น ซึ่งเป็นเรื่องปกติของหลายเหตุการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างอาหรับและอิสราเอล แต่กระนั้นมันก็มีเรื่องราวหลายฉากตอนที่เป็นชนวนก่อให้เกิดสงครามขึ้นมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อันดับแรก มีความไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับแนวร่วมการสงบศึกระหว่างอิสราเอลกับซีเรีย และอิสราเอลกับจอร์แดน ภายหลังจากสงครามในปี ค.ศ.1948 ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์นับพันชีวิตได้พยายามข้ามพรมแดนกลับไปเพื่อหาญาติมิตรที่สูญหาย และพยายามกลับไปยังบ้านตนเองเพื่อทวงคืนทรัพย์สินต่างๆ ของตนเองที่หายไป
ในช่วงปี ค.ศ.1949 จนกระทั่งปี ค.ศ.1956 คาดการณ์กันว่ากองกำลังอิสราเอลลอบสังหารประชาชนที่พยายามข้ามเขตแดนไปทั้งหมดราว 2,000 ถึง 5,000 ชีวิตด้วยกัน
ในปี ค.ศ.1953 อิสราเอลปฏิบัติการตอบโต้ด้วยการสังหารหมู่ที่ฉาวโฉ่ที่สุดในหมู่บ้าน Qibya ในเขตเวสต์แบงก์ ในครั้งนั้นบ้านเรือน 45 หลังถูกระเบิดทำลายล้างและชาวปาเลสไตน์อย่างน้อย 69 ชีวิตถูกฆาตกรรมอย่างเลือดเย็น
หลังจากนั้นไม่นานก็ได้เกิด “วิกฤตกาณ์สุเอซ” ขึ้นในปี ค.ศ.1956 เมื่ออิสราเอลได้จับมือกับฝรั่งเศสและอังกฤษบุกรุกพื้นที่ของอียิปต์เพื่อหมายจะโค่นล้มผู้นำ Gamal Abdel Nasser ประธานาธิบดีอียิปต์ในสมัยนั้น หลังจากที่เขาได้ทำให้คลองสุเอซตกเป็นกรรมสิทธิ์ของประเทศชาติ ซึ่งก่อนหน้านั้นอำนาจในการบริหารคลองแห่งนี้เป็นของอังกฤษและฝรั่งเศส ทั้งสามประเทศถูกบังคับให้ถอนอำนาจ กระทั่งสิบปีถัดมากองกำลังรักษาสันติภาพแห่งองค์การสหประชาชาติได้เข้าประจำการในบริเวณชายแดนระหว่างอียิปต์และอิสราเอล
ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1950 และ 1960 กลุ่ม Fedayeen ได้ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มต่อต้านติดอาวุธของชาวปาเลสไตน์ที่พยายามจะต่อสู้กับอิสราเอล
ย้อนกลับไปหนึ่งปีก่อนสงคราม อิสราเอลได้บุกโจมตีหมู่บ้าน As Samu’ ในเขตเวสต์แบงก์ ซึ่งเป็นฐานปฏิบัติการของกองกำลังทหารที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่วิกฤติการณ์สุเอซ หลังจากที่กลุ่มฟะตะห์ของชาวปาเลสไตน์ได้สังหารทหารอิสราเอลเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้กองกำลังอิสราเอลทำการปิดล้อมเมืองของชาวบ้านในละแวกนั้นและทิ้งระเบิดทำลายบ้านเรือนนับสิบหลัง การจู่โจมครั้งนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 18 รายและบาดเจ็บกว่าอีก 100 ราย
นอกจากนี้ความตึงเครียดระหว่างซีเรียและอิสราเอลก็ครุกรุ่นจากความไม่เห็นด้วยในประเด็นของการใช้น้ำจากแม่น้ำจอร์แดน และการเพาะปลูกของชาวอิสราเอลตามแนวตะเข็บชายแดน ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งชนวนสำคัญที่ทำให้เกิดความร้าวฉานกระทั่งกลายเป็นสงครามขึ้นมา
วันที่ 13 พฤษภาคม 1967 สหภาพโซเวียตได้แจ้งเตือนเท็จแก่อียิปต์ว่าอิสราเอลได้ทำการรวบรวมกองกำลังทหารเพื่อเตรียมบุกซีเรีย โดยในสนธิสัญญาเพื่อปกป้องประเทศของอียิปต์และซีเรียดังที่ตกลงกันไว้เมื่อปี ค.ศ.1955 นั้นได้ระบุไว้ว่า ทั้งสองประเทศนี้จะต้องทำการปกป้องกันและกันในกรณีที่มีการโจมตีเกิดขึ้นกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
อียิปต์จึงสั่งการให้กองกำลังทหารแห่งสหประชาชาติถอนกำลังออกจากซีนายแล้วส่งกองกำลังทหารของตนเองเข้าประจำการแทน ไม่กี่วันต่อมา ประธานาธิบดีนัสเซอร์ของอียิปต์ได้ระงับการคมนาคมทางเรือของอิสราเอลในทะเลแดง
ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม อียิปต์และจอร์แดนได้ร่วมลงนามข้อตกลงเพื่อปกป้องประเทศร่วมกัน ส่งผลให้ทหารจอร์แดนอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของอียิปต์อย่างเต็มอัตรา ต่อมาไม่นานอิรักก็เริ่มคล้อยตามคำร้องดังกล่าวอีกราย
สงครามในปี ค.ศ.1948 จบลงด้วยการที่อิสราเอลสามารถควบคุมอาณาเขตไว้ได้ราว 78 เปอร์เซ็นต์ของดินแดนปาเลสไตน์ ในขณะที่อีก 22เ ปอร์เซ็นต์ที่เหลือตกไปอยู่ในมือของอียิปต์และจอร์แดน
ถัดมาใน สงครามหกวัน ปี ค.ศ.1967 อิสราเอลสามารถดูดกลืนพื้นที่ทั้งหมดของปาเลสไตน์รวมไปถึงอาณาเขตของอียิปต์และซีเรียได้เป็นผลสำเร็จ เมื่อสงครามสิ้นสุดลงอิสราเอลได้ขับไล่ชาวปาเลสไตน์อีก 430,000 ชีวิตออกจากบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง จนสามารถขยายอาณาเขตครอบครองได้เพิ่มมากขึ้นจากเดิมถึง 3.5 เท่า
เหตุใดสงครามจึงเริ่มขึ้น?
เรื่องราวของสงครามครั้งนี้อาจมีหลายเวอร์ชั่น ซึ่งเป็นเรื่องปกติของหลายเหตุการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างอาหรับและอิสราเอล แต่กระนั้นมันก็มีเรื่องราวหลายฉากตอนที่เป็นชนวนก่อให้เกิดสงครามขึ้นมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้
อันดับแรก มีความไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับแนวร่วมการสงบศึกระหว่างอิสราเอลกับซีเรีย และอิสราเอลกับจอร์แดน ภายหลังจากสงครามในปี ค.ศ.1948 ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์นับพันชีวิตได้พยายามข้ามพรมแดนกลับไปเพื่อหาญาติมิตรที่สูญหาย และพยายามกลับไปยังบ้านตนเองเพื่อทวงคืนทรัพย์สินต่างๆ ของตนเองที่หายไป
ในช่วงปี ค.ศ.1949 จนกระทั่งปี ค.ศ.1956 คาดการณ์กันว่ากองกำลังอิสราเอลลอบสังหารประชาชนที่พยายามข้ามเขตแดนไปทั้งหมดราว 2,000 ถึง 5,000 ชีวิตด้วยกัน
ในปี ค.ศ.1953 อิสราเอลปฏิบัติการตอบโต้ด้วยการสังหารหมู่ที่ฉาวโฉ่ที่สุดในหมู่บ้าน Qibya ในเขตเวสต์แบงก์ ในครั้งนั้นบ้านเรือน 45 หลังถูกระเบิดทำลายล้างและชาวปาเลสไตน์อย่างน้อย 69 ชีวิตถูกฆาตกรรมอย่างเลือดเย็น
หลังจากนั้นไม่นานก็ได้เกิด “วิกฤตกาณ์สุเอซ” ขึ้นในปี ค.ศ.1956 เมื่ออิสราเอลได้จับมือกับฝรั่งเศสและอังกฤษบุกรุกพื้นที่ของอียิปต์เพื่อหมายจะโค่นล้มผู้นำ Gamal Abdel Nasser ประธานาธิบดีอียิปต์ในสมัยนั้น หลังจากที่เขาได้ทำให้คลองสุเอซตกเป็นกรรมสิทธิ์ของประเทศชาติ ซึ่งก่อนหน้านั้นอำนาจในการบริหารคลองแห่งนี้เป็นของอังกฤษและฝรั่งเศส ทั้งสามประเทศถูกบังคับให้ถอนอำนาจ กระทั่งสิบปีถัดมากองกำลังรักษาสันติภาพแห่งองค์การสหประชาชาติได้เข้าประจำการในบริเวณชายแดนระหว่างอียิปต์และอิสราเอล
ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1950 และ 1960 กลุ่ม Fedayeen ได้ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มต่อต้านติดอาวุธของชาวปาเลสไตน์ที่พยายามจะต่อสู้กับอิสราเอล
ย้อนกลับไปหนึ่งปีก่อนสงคราม อิสราเอลได้บุกโจมตีหมู่บ้าน As Samu’ ในเขตเวสต์แบงก์ ซึ่งเป็นฐานปฏิบัติการของกองกำลังทหารที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่วิกฤติการณ์สุเอซ หลังจากที่กลุ่มฟะตะห์ของชาวปาเลสไตน์ได้สังหารทหารอิสราเอลเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้กองกำลังอิสราเอลทำการปิดล้อมเมืองของชาวบ้านในละแวกนั้นและทิ้งระเบิดทำลายบ้านเรือนนับสิบหลัง การจู่โจมครั้งนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 18 รายและบาดเจ็บกว่าอีก 100 ราย
นอกจากนี้ความตึงเครียดระหว่างซีเรียและอิสราเอลก็ครุกรุ่นจากความไม่เห็นด้วยในประเด็นของการใช้น้ำจากแม่น้ำจอร์แดน และการเพาะปลูกของชาวอิสราเอลตามแนวตะเข็บชายแดน ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งชนวนสำคัญที่ทำให้เกิดความร้าวฉานกระทั่งกลายเป็นสงครามขึ้นมา
วันที่ 13 พฤษภาคม 1967 สหภาพโซเวียตได้แจ้งเตือนเท็จแก่อียิปต์ว่าอิสราเอลได้ทำการรวบรวมกองกำลังทหารเพื่อเตรียมบุกซีเรีย โดยในสนธิสัญญาเพื่อปกป้องประเทศของอียิปต์และซีเรียดังที่ตกลงกันไว้เมื่อปี ค.ศ.1955 นั้นได้ระบุไว้ว่า ทั้งสองประเทศนี้จะต้องทำการปกป้องกันและกันในกรณีที่มีการโจมตีเกิดขึ้นกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด
อียิปต์จึงสั่งการให้กองกำลังทหารแห่งสหประชาชาติถอนกำลังออกจากซีนายแล้วส่งกองกำลังทหารของตนเองเข้าประจำการแทน ไม่กี่วันต่อมา ประธานาธิบดีนัสเซอร์ของอียิปต์ได้ระงับการคมนาคมทางเรือของอิสราเอลในทะเลแดง
ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม อียิปต์และจอร์แดนได้ร่วมลงนามข้อตกลงเพื่อปกป้องประเทศร่วมกัน ส่งผลให้ทหารจอร์แดนอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของอียิปต์อย่างเต็มอัตรา ต่อมาไม่นานอิรักก็เริ่มคล้อยตามคำร้องดังกล่าวอีกราย
เช้าตรู่ของวันที่ 5 มิถุนายน อิสราเอลได้ส่งกองกำลังโจมตีฐานที่มั่นทางอากาศของอียิปต์อย่างไม่ทันให้ตั้งตัว ทำลายฐานทัพอากาศของอียิปต์ในขณะที่ยังคงอยู่บนพื้นดินอย่างย่อยยับ เหตุการณ์นี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ สงครามหกวัน
มูลเหตุที่อยู่เบื้องหลังของการก่อสงครามครั้งนี้เป็นประเด็นที่มักตกเป็นข้อโต้เถียงกันในหมู่นักประวัติศาสตร์และนักวิเคราะห์เรื่อยมา บ้างก็เชื่อว่าอิสราเอลมี “ภารกิจที่ยังไม่เสร็จสิ้น” เมื่อการเข้ายึดครองดินแดนปาเลสไตน์ให้ได้เบ็ดเสร็จในสงครามปี ค.ศ.1948 ครั้งนั้นยังไม่ประสบผลสำเร็จ ช่วงหนึ่งของการโจมตีในปี ค.ศ.1967 นั้น Yigal Allon รัฐมนตรีอิสราเอล ได้เขียนเอาไว้ว่า “ใน…สงครามครั้งใหม่ เราต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความผิดพลาดซ้ำรอยเหมือนสงครามแห่งอิสรภาพ (ปี 1948) …และจะต้องไม่ยุติการสู้รบจนกว่าเราจะได้มาซึ่งชัยชนะทั้งปวง นั่นคือภารกิจขยายอาณาเขตดินแดนแห่งอิสราเอล”
สงครามเปิดฉากขึ้นอย่างไร?
มีรายงานว่าการโจมตีของอิสราเอลต่อฐานทัพอากาศของอียิปต์ในเมืองซีนายและซุเอซนั้นทำให้กองกำลังทางอากาศของอียิปต์ต้องเสียหายอย่างน้อย 90 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้กองกำลังภาคพื้นดินของอิสราเอลยังได้ทำการบุกฉนวนกาซ่าและคาบสมุทรซีนายในวันเดียวกันนั้นด้วย
เครื่องบินรบของอียิปต์นอนแน่นิ่งจากการจู่โจมทางอากาศของอิสราเอลในวันที่ 5 มิถุนายน 1967 ในช่วงเริ่มต้นสงคราม [Getty Images] |
นอกจากนี้อิสราเอลยังได้โจมตีสนามบินของซีเรียในเย็นวันที่ 5 มิถุนายน และวันต่อมาเกิดการปะทะกันขึ้นระหว่างจอร์แดนกับอิสราเอลเพื่อแย่งชิงอำนาจในการควบคุมเยรูซาเล็มตะวันออกซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจอร์แดนในขณะนั้น
เช้ามืดของวันที่ 7 มิถุนายน Moshe Dayan ผู้บัญชาการทหารบกของอิสราเอล ได้สั่งการให้ทหารอิสราเอลเข้ายึดเมืองเก่าที่ตั้งอยู่ในเมืองเยรูซาเล็มตะวันออก ท่ามกลางการเรียกร้องให้หยุดสู้รบจากองค์การสหประชาชาติในวันเดียวกันนั้น มีรายงานว่านักการทูตของอิสราเอลประจำกรุงนิวยอร์กและวอชิงตันดีซีได้พยายามรวบรวมเสียงสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาเพื่อให้ยืดเวลากำหนดการหยุดรบนั้นออกไป อันจะส่งผลให้อิสราเอลมีเวลาเพิ่มเติมในการ “สะสางภารกิจนั้น”
ในช่วงเที่ยงของวันที่ 7 มิถุนายน กองกำลังอิสราเอลสามารถช่วงชิงดินแดนในเมืองเก่าจากทหารจอร์แดนได้เป็นผลสำเร็จ
ผู้นำอิสราเอล David Ben-Gurion และ Yitzhak Rabin นำกลุ่มทหารเดินผ่าน Dome of the Rock ในเมืองเก่าของเยรูซาเล็มตะวันออกหลังการยึดครองในเดือนมิถุนายน 1967 [Getty Images] |
เมืองหลักๆ ในเขตเวสต์แบงก์อย่างเมือง Nablus, Bethlehem, Hebron และ Jericho ตกอยู่ในมือของทหารอิสราเอลภายในวันต่อมา จากนั้นอิสราเอลได้รื้อถอนสะพาน Abdullah และสะพาน Hussein ที่เชื่อมต่อเขตเวสต์แบงก์กับจอร์แดนออกไปอีกด้วย
หลังจากยึดเมืองเก่าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กองกำลังอิสราเอลได้ทำลายย่านที่อยู่อาศัยในละแวก Moroccan Quarter ซึ่งมีอายุร่วม 770 ปีอย่างไม่เหลือซาก เพื่อขยายเส้นทางเข้าสู่กำแพงตะวันตก (Western Wall) อันเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวยิวและชาวมุสลิมในนามกำแพงอัลบุร๊อค (al-Buraq Wall) สถานที่ดังกล่าวถือเป็นจารึกสำคัญทางศาสนาทั้งสำหรับชาวยิวและชาวมุสลิม
ครอบครัวชาวปาเลสไตน์กว่า 100 ครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในย่านนั้นถูกบังคับให้ละทิ้งบ้านของตัวเอง ย่านที่อยู่อาศัยดังกล่าวถูกทำลายด้วยระเบิดจนไม่เหลือซาก จากนั้นอิสราเอลก็ใช้พื้นที่ดังกล่าวสร้าง “พลาซ่ากำแพงตะวันตก” (Western Wall Plaza) ขึ้นมาแทนที่ ที่ซึ่งอำนวยความสะดวกให้ชาวยิวสามารถเดินทางเข้าออกสู่กำแพงนั้นได้โดยตรง
ตลอดช่วงเวลาของสงครามและการอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ Yitzhak Rabin ผู้ซึ่งได้กลายเป็นนายกรัฐมนตรีของอิสราเอลในเวลาต่อมา กองกำลังอิสราเอลได้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และทำลายหมู่บ้านของชาวปาเลสไตน์ไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้งได้ขับไล่ชาวปาเลสไตน์นับหมื่นชีวิตให้ออกจากพื้นที่ ในบรรดาหมู่บ้านที่ถูกขจัดทิ้งอย่างไร้ความปราณีมากที่สุดได้คือ Imwas, Beit Nuba และ Yalu
ในเมือง Qalqilya และ Tulkarem ในเขตเวสต์แบงก์ของปาเลสไตน์ ทหารอิสราเอลได้ทำลายบ้านเรือนของชาวปาเลสไตน์ออกไปอย่างเป็นระบบ ชาวปาเลสไตน์ร่วม 12,000 ชีวิตถูกบังคับให้ออกจากเมือง Qalqilya ด้วยเหตุผลเพียงเพื่อต้องการ “ลงทัณฑ์” – Dayan ใช้คำนี้บอกเล่าเรื่องราวในบันทึกส่วนตัว
หลังจากยึดเมืองเก่าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กองกำลังอิสราเอลได้ทำลายย่านที่อยู่อาศัยในละแวก Moroccan Quarter ซึ่งมีอายุร่วม 770 ปีอย่างไม่เหลือซาก เพื่อขยายเส้นทางเข้าสู่กำแพงตะวันตก (Western Wall) อันเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวยิวและชาวมุสลิมในนามกำแพงอัลบุร๊อค (al-Buraq Wall) สถานที่ดังกล่าวถือเป็นจารึกสำคัญทางศาสนาทั้งสำหรับชาวยิวและชาวมุสลิม
ครอบครัวชาวปาเลสไตน์กว่า 100 ครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในย่านนั้นถูกบังคับให้ละทิ้งบ้านของตัวเอง ย่านที่อยู่อาศัยดังกล่าวถูกทำลายด้วยระเบิดจนไม่เหลือซาก จากนั้นอิสราเอลก็ใช้พื้นที่ดังกล่าวสร้าง “พลาซ่ากำแพงตะวันตก” (Western Wall Plaza) ขึ้นมาแทนที่ ที่ซึ่งอำนวยความสะดวกให้ชาวยิวสามารถเดินทางเข้าออกสู่กำแพงนั้นได้โดยตรง
ตลอดช่วงเวลาของสงครามและการอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ Yitzhak Rabin ผู้ซึ่งได้กลายเป็นนายกรัฐมนตรีของอิสราเอลในเวลาต่อมา กองกำลังอิสราเอลได้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และทำลายหมู่บ้านของชาวปาเลสไตน์ไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้งได้ขับไล่ชาวปาเลสไตน์นับหมื่นชีวิตให้ออกจากพื้นที่ ในบรรดาหมู่บ้านที่ถูกขจัดทิ้งอย่างไร้ความปราณีมากที่สุดได้คือ Imwas, Beit Nuba และ Yalu
ในเมือง Qalqilya และ Tulkarem ในเขตเวสต์แบงก์ของปาเลสไตน์ ทหารอิสราเอลได้ทำลายบ้านเรือนของชาวปาเลสไตน์ออกไปอย่างเป็นระบบ ชาวปาเลสไตน์ร่วม 12,000 ชีวิตถูกบังคับให้ออกจากเมือง Qalqilya ด้วยเหตุผลเพียงเพื่อต้องการ “ลงทัณฑ์” – Dayan ใช้คำนี้บอกเล่าเรื่องราวในบันทึกส่วนตัว
เศษหินเศษปูนจาก Moroccan Quarter หลังจากถูกทำลายจนพังพินาบ และครอบครัวชาวปาเลสไตน์ต้องอพยพออกจากพื้นที่เพื่อเปิดทางให้กับชาวยิวเข้ามาสวดมนต์ที่กำแพงแห่งนั้น [The Associated Press] |
การโจมตีของอิสราเอลต่อที่ราบสูงโกลัน (Golan Heights) ของซีเรียเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 9 มิถุนายน และในวันถัดมาเนินที่ราบสูงโกลันก็ถูกยึดครองได้เป็นผลสำเร็จ นั่นได้ทำให้อิสราเอลสามารถครอบครองฐานที่มั่นซึ่งห่างออกไปจากดามัสกัสเมืองหลวงของซีเรียเพียงไม่กี่คืบเท่านั้น
อียิปต์และอิสราเอลร่วมลงนามเพื่อหยุดยิงในวันที่ 9 มิถุนายน ในขณะที่ซีเรียและอิสราเอลร่วมลงนามกันในวันที่ 11 มิถุนายน ส่งผลให้สงครามสิ้นสุดลงโดยมีองค์การสหประชาชาติทำหน้าที่เป็นตัวกลางคลี่คลายสถานการณ์
ชาวปาเลสไตน์ราว 430,000 รายต้องถูกถอนรากถอนโคนให้ออกจากบ้านของตนเอง ส่วนใหญ่พากันมองหาแหล่งลี้ภัยในจอร์แดน หลายชีวิตต้องข้ามน้ำข้ามทะเลเข้ามาในจอร์แดน ในขณะที่บางคนเลือกเดินเท้ารอนแรมออกมาในสภาพเสื่อผืนหมอนใบ
ประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ลี้ภัยเหล่านั้นเคยถูกขับไล่ออกจากหมู่บ้านในดินแดนปาเลสไตน์ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของอิสราเอลมาแล้วครั้งหนึ่งในปี ค.ศ.1948 ยี่สิบปีต่อมาพวกเขาต้องมาทุกข์ทรมานกับการพรากจากบ้านเกิดซ้ำสองอีกครั้งอย่างเลือกไม่ได้
อียิปต์และอิสราเอลร่วมลงนามเพื่อหยุดยิงในวันที่ 9 มิถุนายน ในขณะที่ซีเรียและอิสราเอลร่วมลงนามกันในวันที่ 11 มิถุนายน ส่งผลให้สงครามสิ้นสุดลงโดยมีองค์การสหประชาชาติทำหน้าที่เป็นตัวกลางคลี่คลายสถานการณ์
ชาวปาเลสไตน์ราว 430,000 รายต้องถูกถอนรากถอนโคนให้ออกจากบ้านของตนเอง ส่วนใหญ่พากันมองหาแหล่งลี้ภัยในจอร์แดน หลายชีวิตต้องข้ามน้ำข้ามทะเลเข้ามาในจอร์แดน ในขณะที่บางคนเลือกเดินเท้ารอนแรมออกมาในสภาพเสื่อผืนหมอนใบ
ประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ลี้ภัยเหล่านั้นเคยถูกขับไล่ออกจากหมู่บ้านในดินแดนปาเลสไตน์ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของอิสราเอลมาแล้วครั้งหนึ่งในปี ค.ศ.1948 ยี่สิบปีต่อมาพวกเขาต้องมาทุกข์ทรมานกับการพรากจากบ้านเกิดซ้ำสองอีกครั้งอย่างเลือกไม่ได้
ผู้อพยพชาวปาเลสไตน์แบกสิ่งของเครื่องใช้ในขณะเตรียมตัวข้ามสะพาน Allenby ที่ทอดบนแม่น้ำจอร์แดนจากเขตยึดครองของอิสราเอลในเขตเวสต์แบงก์ในวันที่ 22 มิถุนายน 1967 [AP] |
สงครามส่งผลกระทบต่อชาวปาเลสไตน์ ชาวอิสราเอล และโลกอาหรับอย่างไรบ้าง?
สงครามหกวันถือเป็นจุดผกผันของภูมิภาค สำหรับชาวปาเลสไตน์และโลกอาหรับ มันสั่นคลอนความเชื่อมั่นของผู้คนที่มีต่อรัฐบาลอาหรับ
ภายในเวลา 6 วันอิสราเอลสามารถทำให้ชาวปาเลสไตน์กว่าล้านชีวิตในเขตเวสต์แบงก์ เยรูซาเล็มตะวันออก และฉนวนกาซ่า ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของอิสราเอลอย่างเบ็ดเสร็จ สงครามหกวันในปี 1967 จึงถือเป็นสงครามที่ทำให้อิสราเอลกลายเป็นประเทศที่มีประชากรปาเลสไตน์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากที่สุดในโลก
ความตื่นตระหนกกับการสูญเสียและความพ่ายแพ้ในครั้งนี้ได้สร้างแรงกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศการปฏิวัติในหมู่ชาวปาเลสไตน์ขึ้น ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการก่อตัวของกลุ่มเคลื่อนไหวติดอาวุธเพื่อต่อต้านที่ปฏิญาณตนอย่างมุ่งมั่นว่าจะนำปาเลสไตน์กลับคืนมาให้ได้ในตลอดช่วงทศวรรษที่1970 และ 1980
ทหารอิสราเอลยืนอยู่เหนือเชลยศึกชาวอียิปต์และชาวปาเลสไตน์ ในช่วงเริ่มต้นสงครามวันที่ 5 มิถุนายน 1967 [Getty Images] |
สำหรับชาวอิสราเอลแล้ว การช่วงชิงอาณาเขตของรัฐบาลในสงครามครั้งนี้ได้นำมาซึ่งความรู้สึกภาคภูมิใจต่อชัยชนะของตนเอง ชาวยิวกว่าพันชีวิตแห่กันไปยังกำแพงตะวันตกและร่ำไห้ดีใจพร้อมสวดวิงวอนต่อสิ่งที่พวกเขาเชื่อกันว่ามันคือปาฏิหาริย์ที่พระเจ้าประทานลงมา
ความเชื่อที่ว่าผลลัพธ์จากสงครามหกวันแห่งปี ค.ศ.1967 เป็นปาฏิหาริย์นั้น ได้ช่วยส่งเสริมผลักดันความคิดของชาวไซออนิสต์ที่เคร่งครัดและศรัทธาในพระเจ้า พวกเขาเชื่อว่าตามหลักความเชื่อทางศาสนาแล้ว พวกเขาถือกรรมสิทธิ์ในการครอบครองดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์นั้นอย่างเต็มพื้นที่
สงครามครั้งนี้ได้ให้อิสระแก่ผู้ยึดครอง ชาวไซออนิสต์รุ่นใหม่สามารถสร้างบ้านพักอาศัยในเขตพื้นที่เวสต์แบงก์และฉนวนกาซ่า ดินแดนที่ถูกครอบครองโดยอิสราเอลได้ตามอำเภอใจ ทั้งๆ ที่มันไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐอิสราเอลแต่อย่างใด
ที่สำคัญกว่านั้น สงครามครั้งนี้ได้เปิดประเด็นข้อสงสัยถึงการเป็นนักล่าอาณานิคมของไซออนิสต์ แทนที่จะยอมแลกเปลี่ยนดินแดนโดยสันติวิธีดังตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมาตรา 242 ได้เรียกร้องให้อิสราเอลยอมแลกเปลี่ยนอาณาเขตกับเพื่อนบ้านโดยสันติวิธีเมื่อสงครามครั้งนี้สิ้นสุดลง แต่กลายเป็นว่าอิสราเอลพยายามหนุนให้พลเรือนของตนเองเข้าไปยึดครองพื้นที่ของผู้อื่น โดยไม่แยแสอะไรเลย
ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์หลบหนีจากพื้นที่ยึดครองของอิสราเอลในเขตเวสต์แบงก์ ในวันที่ 5 มิถุนายน 1967 [AP] |
รัฐยิวถูกจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1948 โดยอำนาจอธิปไตยของมันได้รับการยอมรับจากประเทศส่วนใหญ่ในโลก แต่เมื่อเสียงปืนสิ้นสุดลงในปี ค.ศ.1967 อิสราเอลกลับละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศโดยตรงด้วยการก่อตั้งถิ่นพำนักอาศัยให้กับพลเรือนของตนเองบนแผ่นดินที่ตนไม่ได้เป็นเจ้าของอะไรแต่อย่างใด
หลังจากสงครามหกวันสิ้นสุดลงหนึ่งปีได้มีการก่อตั้งแหล่งพำนักอาศัยของชาวอิสราเอลในบริเวณที่ราบสูงโกลันของซีเรียมากถึง 6 แห่ง จนกระทั่งปี ค.ศ.1973 อิสราเอลได้ขยับขยายก่อตั้งแหล่งพำนักอาศัยเพิ่มขึ้นเป็น 17 แห่งในเขตเวสต์แบงก์ และอีก 7 แห่งในฉนวนกาซ่า และในปี 1977 มีการค้นพบว่าชาวอิสราเอลกว่า 11,000 ใช้ชีวิตกระจายไปทั่วเขตเวสต์แบงก์ ฉนวนกาซ่า ที่ราบสูงโกลัน และคาบสมุทรซีนาย
ปาเลสไตน์ : 50 ปีแห่งการยึดครอง การขโมยดินแดน และการล่าอาณานิคม
แม้ว่าสงครามจะเกิดขึ้นระหว่างประเทศอาหรับกับอิสราเอล แต่กระนั้นผู้ที่สูญเสียมากที่สุดเห็นจะเป็นชาวปาเลสไตน์ที่จำต้องรำลึกการครบรอบ 50 ปีแห่งการถูกยึดครองโดยอิสราเอลในเดือนมิถุนายนนี้ การยึดครองดังกล่าวถือเป็นปรากฏการณ์ที่ยาวนานที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบัน
อิสราเอลได้ยึดครองอาณาเขตในเยรูซาเล็มตะวันออกและอีกหลายพื้นที่ในเขตเวสต์แบงก์อย่างผิดกฎหมาย อิสราเอลประกาศก้องว่าแผ่นดินทั้งหมดนั้นคือส่วนหนึ่งของรัฐอิสราเอล ทั้งๆที่ไม่เคยได้รับการยอมรับจากประชาคมโลกเลยแม้แต่น้อย
ส่วนที่เหลือของดินแดนปาเลสไตน์ในเขตเวสต์แบงก์และฉนวนกาซ่าที่เป็นแหล่งอาศัยของชาวปาเลสไตน์ร่วม 5.1 ล้านชีวิตนั้น ยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของทหารอิสราเอลด้วยข้ออ้างเพื่อรักษาความปลอดภัย ชีวิตของชาวปาเลสไตน์ถูกควบคุมสั่งการโดยด่านตรวจของกองทหารนับร้อยจุด โดยมีระบบใบอนุญาตแบ่งเป็นรหัสสีและกำแพงแบ่งแยก (Separation Wall) คอยทำหน้าที่กีดกันไม่ให้ครอบครัวได้มีโอกาสพบหน้ากัน
ชาวปาเลสไตน์รอคอยจะข้ามเข้าสู่เมืองเยรูซาเล็มที่อยู่ถัดจากกำแพงแบ่งแยกของอิสราเอล ณ จุดตรวจทหารอิสราเอลในเมือง Bethlehem เขตเวสต์แบงก์ [Reuters] |
Human Rights Watch ซึ่งเป็นองค์กรภายใต้การดูแลขององค์การสหประชาชาติได้ทำการจัดกลุ่มจำแนกประเภทของ”การละเมิดกฎหมายคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรมสากล” ที่จำแนกประเภทของการยึดครองได้อย่างน้อย 5 ประเภท การละเมิดเหล่านั้นได้แก่ การฆาตกรรมอย่างผิดกฎหมาย การกักขังหน่วงเหนี่ยวอย่างทารุณ การปิดล้อมในฉนวนกาซ่าและการจำกัดการเคลื่อนไหวของชาวปาเลสไตน์ การพัฒนาของการตั้งถิ่นพำนักอาศัย และนโยบายการเลือกปฏิบัติที่สร้างความเสียเปรียบให้กับชาวปาเลสไตน์
“ไม่ว่ามันจะเป็นกรณีเด็กคนหนึ่งถูกกักขังโดยศาลทหารหรือถูกยิงอย่างไม่เหมาะสม หรือการที่บ้านหลังหนึ่งถูกกำจัดไปเพียงเพราะขาดใบอนุญาตที่อธิบายไม่ได้ หรือการมีจุดตรวจที่อนุญาตให้ผ่านเฉพาะผู้ตั้งถิ่นพำนักอาศัย(ชาวอิสราเอล) เหล่านี้ทำให้ชาวปาเลสไตน์จำนวนไม่น้อยต้องหลบหนีการทารุณกรรมทางสิทธิที่รุนแรงตลอดระยะเวลา 50 ปีของการยึดครองที่ผ่านมา” Sarah Leah Whitson ผู้กำกับการประจำตะวันออกกลางแห่งศูนย์เฝ้าระวังสิทธิมนุษยชนได้กล่าวไว้ในรายงานฉบับหนึ่ง
“ทุกวันนี้อิสราเอลยังคงเลือกปฏิบัติกับชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่ถูกยึดครอง มันคือการควบคุมที่เลยเถิดมากไปกว่าเหตุผลด้านความปลอดภัยแล้ว”
ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1967 อิสราเอลยังคงดำเนินการสร้างที่พักอาศัยและขนย้ายพลเรือนชาวยิวเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตเวสต์แบงก์และเยรูซาเล็มตะวันออกที่ขโมยมาจากปาเลสไตน์อย่างผิดกฎหมายอยู่เรื่อยมา จนทุกวันนี้มีชาวอิสราเอลอย่างน้อย 600,000 คนอาศัยอยู่ในเขตพำนักเฉพาะสำหรับชาวยิวที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในเขตเวสต์แบงก์และเยรูซาเล็มตะวันออก
ชาวปาเลสไตน์มักจะถูกสุ่มตรวจร่างกายโดยทหารอิสราเอลบนท้องถนนในเขตยึดครองเยรูซาเล็มตะวันออกอย่างน่าอับอาย [Reuters] |
แหล่งพำนักอาศัยที่มีถนนและสาธารณูโภคถูกสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับชาวยิวที่ตั้งถิ่นพำนักอาศัยย่านนั้นโดยเฉพาะ นั่นแสดงให้เห็นว่าอิสราเอลได้สร้างความจริงแห่งการเหยียดชนชาติในดินแดนที่ได้ชื่อว่าเป็นของปาเลสไตน์ ดินแดนที่ชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ต้องอาศัยอยู่ภายใต้ระบบหนึ่งที่ยื่นอภิสิทธิ์เหนือชั้นให้แก่คนยิวมากกว่าคนที่ไม่ใช่ยิว
“การจัดตั้งสองระบบที่แตกต่างกันชัดเจนสำหรับชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ นั้นถือว่าทางการอิสราเอลได้ฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการห้ามปรามการแบ่งแยกชนชาติแล้ว” คำกล่าวจากรายงานของคณะมนตรียุโรปประจำกรุงลอนดอนว่าด้วยเรื่องคลังสมองแห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา
“กล่าวโดยสรุปแล้ว การยึดครองที่ยืดเยื้อออกไปของอิสราเอลนั้นเป็นการสร้างสถานการณ์ที่บ่งบอกถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างมาก เป็นการปล่อยให้ต้องทนอยู่กับสภาพแวดล้อมและที่โหดร้าย ที่สังคมและบุคคลในสังคมไม่มีทางให้พวกเขาเลือกเดิน นอกจากต้องอพยพออกไปจากพื้นที่ที่ถูกยึดครอง”
Nur Arafeh นักวิเคราะห์จากองค์กรคลังสมองแห่งปาเลสไตน์ Al-Shabaka บอกกับ Al Jazeera ว่า เธอเชื่อว่าแนวโน้มที่อิสราเอลจะยุติการยึดครองพื้นที่นั้นช่างริบหรี่เหลือเกิน
“ฉันไม่เห็นแนวโน้มเลยว่าอิสราเอลจะทำการถอดถอนตนเองออกจากดินแดนยึดครอง หรือยุติภารกิจล่าอาณานิคมยึดถิ่นพำนักอาศัยของผู้อื่นเช่นนี้ ตราบใดที่ยังคงสุขสำราญกับวัฒนธรรมการเลือกปฏิบัติและการไม่แยแสที่จะเอาความของสังคมโลกต่อการละเมิดฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศและสิทธิมนุษยชน และตราบใดที่มูลค่าการยึดครองของพวกเขานั้นมีค่าน้อยกว่าราคาของการทำให้สิ้นสุดลง”
แปลและเรียบเรียงโดย : Andalas Farr
ที่มา : 1967 war: How Israel occupied the whole of Palestine
Islamic Society Online
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น