อิสลามผู้พิชิต : ระบบของการเป็นพันธมิตรและผลลัพธ์ในการเผยแผ่อิสลาม
(อาลี เสือสมิง)
ระบบของการผูกมิตร (หรือการเป็นพันธมิตรของตัวบุคคลกับเผ่าอาหรับ) เองนั้นย่อมบ่งชี้ได้อย่างดีถึงการสร้างความเป็นพี่น้องระหว่างชาวอาหรับกับชนพื้นเมือง ทั้งนี้เพราะการผูกมิตรเป็นการสร้างความผูกพันใกล้ชิดเฉกเช่นความสัมพันธ์ทางเครือญาติ หรือถือว่าผู้ที่สาบานผูกมิตรกับชนเผ่านั้นๆ เป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกในเผ่า เมื่อกลุ่มคนที่เป็นชาวเปอร์เซียมีความประสงค์ในการเข้าร่วมเป็นพันธมิตรกับเผ่าตะมีม หรือเผ่าร่อบีอะห์หรือเผ่าตะญีบหรือเผ่าฮัมดานนั้นย่อมหมายถึง กลุ่มคนดังกล่าวมีความสนิทสนมกับชาวอาหรับเหล่านั้นฉันท์พี่น้องมีความรักใคร่ปรองดองและอยู่ร่วมกันได้โดยดี ชาวเปอร์เซียจึงผูกมิตรและปรารถนาให้ชาวอาหรับเป็นมิตรที่คอยให้การช่วยเหลือแก่พวกตน
ณ จุดนี้เราสมควรที่วิเคราะห์ถึงปรากฏการณ์ในการผูกมิตรดังกล่าวซึ่งนักประวัติศาสตร์อิสลามมิค่อยให้ความสำคัญเท่าที่ควรจะเป็นทั้ง ๆ ที่ถือเป็นปรากฏการณ์แบบอิสลามมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องอย่างมากต่อธรรมชาติของอิสลามและศีลธรรม การผูกมิตรในลักษณะที่กล่าวมานี้เป็นสาเหตุใหญ่ทีเดียวที่ทำให้ผู้คนเข้ารับอิสลามโดยสมัครใจและพร้อมเพรียงไม่ว่าจะเป็นในดินแดนอิหร่านหรือดินแดนของพวกเติร์ก หรือแม้กระทั่งในดินแดนตะวันตกของโลกอาหรับและสเปน
แต่เดิมชนพื้นเมืองเหล่านี้ในขณะที่จักรพรรดิเปอร์เซียมีอำนาจปกครองเหนือแผ่นดินอิรัก อิหร่าน พวกเขามีสถานภาพตามกฎหมายและระบบสังคมในฐานะทาสหรือไพร่ที่คอยรับใช้ราชวงศ์แซสซานิด เมื่อกิซรอ (จักรพรรดิเปอร์เซีย) ได้มอบที่ดินผืนหนึ่งแก่ข้าทาสบริวารของตน บริวารผู้นั้นก็จะถือครองที่ดินและชาวนาที่ทำกินอยู่ในที่ดินนั้นไปพร้อมๆ กัน หรือไม่ก็โยกย้ายกลุ่มชาวนาโดยเปลี่ยนหน้าเจ้านายผู้มีอำนาจเสียใหม่
ผู้คนพลเมืองเดิมจึงกลายเป็นทาสของจักรพรรดิกิซรอและบรรดาเจ้านายที่เป็นเชื้อพระวงศ์ และตกเป็นทาสของเจ้าขุนมูลนายที่มีศักดินาไม่ว่าจะเป็นพวกมัรซุบาน (หมายถึงผู้นำของเปอร์เซียที่มีศักดินา) พวกดิฮฺกอน (หมายถึงข้าหลวงหรือเจ้าครองแคว้นของเปอร์เซียหรือคหบดีที่มีความร่ำรวยจากการค้า) พวกอิซบะห์บาซีนซึ่งหมายถึง ผู้นำหมู่บ้านขนาดใหญ่หรือกำนันและพวกที่ทำหน้าที่เก็บภาษีส่วย ชาวนาก็เป็นผู้ใช้แรงงานคอยทำหน้าที่เพาะปลูกโดยแลกกับอาหารที่พอประทังชีวิตไปวันๆ ส่วนผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ก็ต้องนำไปประเคนให้กับเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นนายและเจ้าชีวิต
ชนพื้นเมืองที่เป็นชาวนาเหล่านี้เคยชินกับสภาพสังคมเช่นนี้ตลอดช่วงเวลาหลายศตวรรษและกลายเป็นสภาพความเป็นอยู่พื้นฐานในสังคมนั้น ๆ ทั้งนี้เพราะมนุษย์ปุถุชนมิอาจดำเนินชีวิตอยู่ตลอดโดยมิได้ทำอะไร จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องผูกพันอยู่กับระบบหนึ่งระบบใดที่ชอบด้วยกฎหมายของสังคมนั้น ถึงแม้ว่าความผูกพันเช่นนี้จะเป็นพันธนาการที่คุมขังพวกเขาให้ตกอยู่ในฐานะทาสก็ตามเพราะกฎเกณฑ์ทางสังคมได้กำหนดให้พวกเขาตกเป็นทาสของผู้มีอำนาจหรือตกเป็นกรรมสิทธิของบุคคลที่มั่งคั่งกว่าเมื่อมีผู้ใดคุกคามชนชั้นล่างเหล่านี้พวกเขาก็จะหันไปพึ่งเจ้าชีวิตของตนให้คุ้มครองและเกิดความปลอดภัยในครอบครัวของตน
เมื่ออิสลามได้มาถึงและล้มล้างอำนาจกดขี่ของพวกกิซรอและเหล่าเจ้าขุนมูลนายที่เป็นชนชั้นปกครองของเปอร์เซียลงได้ ชาวนาเหล่านี้ก็ตกอยู่ในสภาพอันเป็นสูญญากาศทางสังคม ที่ดินทำกินก็ยังมิได้เป็นที่ดินของชาวนาเหล่านี้ สถานภาพทางสังคมที่ชัดเจนก็หมดไป ทั้งนี้เป็นเพราะเจ้านายเดิมของพวกเขาได้สิ้นบุญสิ้นวาสนากันถ้วนหน้า สภาพของชาวนาเหล่านี้ก็คงจะเหมือนกับกรณีของคนในยุคสมัยของเราที่หนังสือเดินทางสูญหายในประเทศที่ต่างบ้านต่างเมืองกอรปกับไม่มีสถานทูตหรือสถานกงสุลในบ้านเมืองนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้บุคคลผู้นั้นก็ย่อมสูญเสียสถานภาพของตนตามกฎหมาย ชนพื้นเมืองเหล่านี้ก็เช่นกัน ได้สูญเสียสถานภาพของตนหลังการพิชิตของอาหรับ
รัฐอิสลามสามารถที่จะเข้ามาแทนที่จักรพรรดิเปอร์เซียและพวกเจ้าขุนมูลนายที่หมดวาสนาและถือว่าประชาชนพลเมืองเหล่านี้เป็นทาสหรืออยู่ภายใต้อำนาจของรัฐอิสลาม เหมือนอย่างที่พวกแซสซานิดได้กระทำเมื่อครั้งเข้ามาแทนที่พวกอัคเมเนียนที่สิ้นอำนาจในดินแดนดังกล่าว แต่อิสลามก็มิได้รับรองฐานะของความเป็นทาสเช่นนี้ กอรปกับชาวอาหรับมุสลิมเองนั้นก็ไม่มีความประสงค์ที่จะกระทำเช่นนั้น ดังนั้นรัฐอิสลามอันมีค่อลีฟะห์เป็นประมุขหรือกลุ่มชนอาหรับเผ่าต่างๆ ในดินแดนที่มิใช่มาตุภูมิของตนก็มิเคยเรียกร้องหรือกล่าวอ้างความเป็นเจ้าของหรือเจ้าชีวิตของผู้คน
จากจุดนี้ การผูกมิตรด้วยการให้สัญญาระหว่างพลเมืองกับเผ่าอาหรับจึงเกิดขึ้น ผู้คนในทุกสารทิศก็รวมตัวกันเข้าเป็นมิตรหรือพันธมิตรกับกลุ่มคนที่พวกเขาต้องการจะผูกมิตรด้วย ดังนั้นพลเมืองเหล่านั้นจึงผูกมิตรกับเผ่าตะมีม, มุอัด, ร่อบีอะห์, ชัยบาน, อับดุกอยซ์หรือเผ่าอื่นๆ ที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ในดินแดนนั้นๆ
และส่วนหนึ่งจากพลเมืองเหล่านั้นมีบางกลุ่มบางพวกได้เข้าเป็นพันธมิตรกับแม่ทัพผู้พิชิต เป็นต้นว่าหมู่มิตร (ม่าว่าลีย์) ของท่านคอลิด อิบนุ อัลวะลีด หมู่มิตรของท่านมูซา อิบนุ นุซัยรฺ และหมู่มิตรของท่านอับดิลลาฮฺ อิบนุ อามิร ชนบางกลุ่มบางพวกก็เข้าสู่การเป็นพลพรรคของค่อลีฟะห์ในยุคนั้นๆ โดยตรงเช่น พลพรรคแห่งค่อลีฟะฮฺ อับดุลมาลิก อิบนุ มัรวาน พลพรรคของค่อลีฟะห์อัลวะลีด และพลพรรคของค่อลีฟะห์ฮิชาม อิบนุ อับดิลมะลิก เป็นต้น
บางพวกก็เข้าเป็นพันธมิตรกับเผ่ากุรอยชฺโดยรวม บรรดาบุคคลเหล่านี้คือกลุ่มบุคคลที่ถูกเรียกขานในตำรับตำราที่เป็นอัตชีวประวัติ ว่า “เมาลาฮุม” (พลพรรคหรือหมู่มิตรของเผ่านั้นเผ่านี้) การเป็นพันธมิตรหรือการผูกมิตรจึงมิใช่การโยกย้ายถ่ายเทความเป็นทาสหรือการมีกรรมสิทธิ์ครอบครอง หากแต่เป็นการก่อกำเนิดสถานภาพที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้คนเหล่านั้นในรัฐอิสลามและตราบใดที่ชุมชนหนึ่งชุมชนใดได้เข้าสู่การเป็นพันธมิตรกับชาวอาหรับคนใดแล้ว ชาวชุมชนนั้นก็มีสถานภาพอันชอบด้วยกฎหมายซึ่งถูกยอมรับในการดำเนินชีวิตทางสังคมและการเมืองสำหรับรัฐอิสลามและในความเป็นจริงแล้ว
การผูกมิตรเช่นนี้ถือเป็นการปลดปล่อยให้ผู้คนเป็นเสรีชนและยกฐานะของพวกเขาสู่ระดับของพลเมืองในรัฐอิสลาม และการผูกมิตรนั้นตั้งอยู่บนเงื่อนไขในการเป็นอิสลาม ฉะนั้นชาวอิหร่านคนหนึ่งจะเข้าสู่การเป็นหมู่มิตรกับชาวอาหรับก็ต่อเมื่อเขาได้เข้ารับอิสลามแล้ว สิ่งดังกล่าวย่อมหมายถึงว่า การผูกมิตรนั้นคือระบบของชาวอาหรับที่มีรูปแบบอิสลาม ผู้คนได้เข้าสู่อิสลามเป็นเบื้องแรกหลังจากนั้นก็กลายเป็นชนชาวอาหรับในภายหลัง การผูกมิตรจึงเป็นการปลดแอกผู้คนจากความเป็นทาสสู่ความเป็นเสรีชนและนำเอาเกียรติภูมิแห่งความเป็นมนุษย์ของพวกเขากลับคืนมา
และดูเหมือนว่าเรามิได้เปิดเผยหรือรับรู้ข้อเท็จจริงที่ซ่อนเร้นขณะที่เราพูดว่า ประชาชนส่วนใหญ่จากชาวอิรัก อิหร่านได้หลุดพ้นจากความเป็นทาสและได้รู้จักเสรีภาพและเกียรติภูมิแห่งความเป็นมนุษย์โดยการพิชิตแห่งอิสลาม
ผู้คนได้ยึดมั่นในการผูกมิตรกับชาวอาหรับจวบจนกระทั่งแม้ภายหลังการเป็นไทแก่ตัวและเปลี่ยนสถานภาพไปสู่ความเป็นพลเมืองในรัฐอิสลาม สิ่งดังกล่าวย่อมบ่งชี้ถึงการที่ผู้คนเหล่านั้นมีความพึงพอใจในการติดต่อสัมพันธ์และข้องแวะกับชาวอาหรับด้วยสัมพันธภาพของการผูกมิตรในดินแดนตะวันตกของโลกอิสลามทางแอฟริกาเหนือ และเอ็นดาลูเซีย (สเปน) เป็นต้น
เราจะพบว่าผู้คนที่นั่นมีความภาคภูมิต่อการผูกมิตรกับชาวอาหรับตลอดช่วงเวลาหลายศตวรรษ ยิ่งไปกว่านั้นความสัมพันธ์ในการผูกมิตรยังนับว่าเป็นพลังที่ทำให้บรรดาพลพรรคที่เป็นพันธมิตร โดยเฉพาะพันธมิตรในราชวงศ์อุมาวียะห์แห่งเอ็นดาลูเซียเป็นกลุ่มชนที่มีลักษณะเฉพาะและโดดเด่นจากหมู่ชนชาวเอ็นดาลูเซียในยุคการปกครองของข้าหลวงที่ขึ้นตรงกับกรุงดามัสกัส
ในขณะที่อับดุรเราะห์มาน อิบนุ มุอาวียะห์ อิบนิ ฮิชาม ซึ่งรู้จักกันในนามอัดคาดิ้ล (ผู้เข้าสู่เอ็นดาลูเซีย) ได้เดินทางถึงเอ็นดาลูเซียนั้น เหล่าพันธมิตรแห่งราชวงศ์อุมาวียะห์ก็คือคณะบุคคลที่ให้การสนับสนุนอับดุรเราะห์มานและร่วมกันสถาปนาอาณาจักรอุมาวียะห์ขึ้นใหม่ในเอ็นดาลูเซีย
สิ่งที่เราจะต้องระบุถึงเช่นกันคือ การที่บุคคลหนึ่งเข้าสู่การเป็นพันธมิตรกับชาวอาหรับนั้นหมายถึงการที่บุคคลผู้นั้นมีสิทธิถือครองในที่ดินของตนซึ่งเคยใช้ทำการเพาะปลูก ในขณะที่เขาผู้นั้นเคยตกเป็นทาสภายใต้อำนาจของจักรวรรดิเปอร์เซียหรือพวกโกธิก (วิสิโกธ) ในสเปนเขาผู้นั้นก็กลับกลายเป็นไทแก่ตัวและเป็นเจ้าของที่ดินภายใต้ร่มเงาแห่งอิสลาม และนี่ก็คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้การเข้ารับอิสลามของพลเมืองเหล่านี้เป็นการเข้ารับอิสลามอย่างบริสุทธิ์ใจและมีความลึกซึ้งซึ่งนำไปสู่การตอบรับอย่างกว้างขวางต่อการศึกษาคำสอนของอิสลามและวิทยาการแห่งอิสลามในภายหลัง
ณ จุดนี้เราสมควรที่วิเคราะห์ถึงปรากฏการณ์ในการผูกมิตรดังกล่าวซึ่งนักประวัติศาสตร์อิสลามมิค่อยให้ความสำคัญเท่าที่ควรจะเป็นทั้ง ๆ ที่ถือเป็นปรากฏการณ์แบบอิสลามมีความสัมพันธ์เกี่ยวข้องอย่างมากต่อธรรมชาติของอิสลามและศีลธรรม การผูกมิตรในลักษณะที่กล่าวมานี้เป็นสาเหตุใหญ่ทีเดียวที่ทำให้ผู้คนเข้ารับอิสลามโดยสมัครใจและพร้อมเพรียงไม่ว่าจะเป็นในดินแดนอิหร่านหรือดินแดนของพวกเติร์ก หรือแม้กระทั่งในดินแดนตะวันตกของโลกอาหรับและสเปน
แต่เดิมชนพื้นเมืองเหล่านี้ในขณะที่จักรพรรดิเปอร์เซียมีอำนาจปกครองเหนือแผ่นดินอิรัก อิหร่าน พวกเขามีสถานภาพตามกฎหมายและระบบสังคมในฐานะทาสหรือไพร่ที่คอยรับใช้ราชวงศ์แซสซานิด เมื่อกิซรอ (จักรพรรดิเปอร์เซีย) ได้มอบที่ดินผืนหนึ่งแก่ข้าทาสบริวารของตน บริวารผู้นั้นก็จะถือครองที่ดินและชาวนาที่ทำกินอยู่ในที่ดินนั้นไปพร้อมๆ กัน หรือไม่ก็โยกย้ายกลุ่มชาวนาโดยเปลี่ยนหน้าเจ้านายผู้มีอำนาจเสียใหม่
ผู้คนพลเมืองเดิมจึงกลายเป็นทาสของจักรพรรดิกิซรอและบรรดาเจ้านายที่เป็นเชื้อพระวงศ์ และตกเป็นทาสของเจ้าขุนมูลนายที่มีศักดินาไม่ว่าจะเป็นพวกมัรซุบาน (หมายถึงผู้นำของเปอร์เซียที่มีศักดินา) พวกดิฮฺกอน (หมายถึงข้าหลวงหรือเจ้าครองแคว้นของเปอร์เซียหรือคหบดีที่มีความร่ำรวยจากการค้า) พวกอิซบะห์บาซีนซึ่งหมายถึง ผู้นำหมู่บ้านขนาดใหญ่หรือกำนันและพวกที่ทำหน้าที่เก็บภาษีส่วย ชาวนาก็เป็นผู้ใช้แรงงานคอยทำหน้าที่เพาะปลูกโดยแลกกับอาหารที่พอประทังชีวิตไปวันๆ ส่วนผลผลิตที่เก็บเกี่ยวได้ก็ต้องนำไปประเคนให้กับเจ้าของที่ดินซึ่งเป็นนายและเจ้าชีวิต
ชนพื้นเมืองที่เป็นชาวนาเหล่านี้เคยชินกับสภาพสังคมเช่นนี้ตลอดช่วงเวลาหลายศตวรรษและกลายเป็นสภาพความเป็นอยู่พื้นฐานในสังคมนั้น ๆ ทั้งนี้เพราะมนุษย์ปุถุชนมิอาจดำเนินชีวิตอยู่ตลอดโดยมิได้ทำอะไร จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะต้องผูกพันอยู่กับระบบหนึ่งระบบใดที่ชอบด้วยกฎหมายของสังคมนั้น ถึงแม้ว่าความผูกพันเช่นนี้จะเป็นพันธนาการที่คุมขังพวกเขาให้ตกอยู่ในฐานะทาสก็ตามเพราะกฎเกณฑ์ทางสังคมได้กำหนดให้พวกเขาตกเป็นทาสของผู้มีอำนาจหรือตกเป็นกรรมสิทธิของบุคคลที่มั่งคั่งกว่าเมื่อมีผู้ใดคุกคามชนชั้นล่างเหล่านี้พวกเขาก็จะหันไปพึ่งเจ้าชีวิตของตนให้คุ้มครองและเกิดความปลอดภัยในครอบครัวของตน
เมื่ออิสลามได้มาถึงและล้มล้างอำนาจกดขี่ของพวกกิซรอและเหล่าเจ้าขุนมูลนายที่เป็นชนชั้นปกครองของเปอร์เซียลงได้ ชาวนาเหล่านี้ก็ตกอยู่ในสภาพอันเป็นสูญญากาศทางสังคม ที่ดินทำกินก็ยังมิได้เป็นที่ดินของชาวนาเหล่านี้ สถานภาพทางสังคมที่ชัดเจนก็หมดไป ทั้งนี้เป็นเพราะเจ้านายเดิมของพวกเขาได้สิ้นบุญสิ้นวาสนากันถ้วนหน้า สภาพของชาวนาเหล่านี้ก็คงจะเหมือนกับกรณีของคนในยุคสมัยของเราที่หนังสือเดินทางสูญหายในประเทศที่ต่างบ้านต่างเมืองกอรปกับไม่มีสถานทูตหรือสถานกงสุลในบ้านเมืองนั้น เมื่อเป็นเช่นนี้บุคคลผู้นั้นก็ย่อมสูญเสียสถานภาพของตนตามกฎหมาย ชนพื้นเมืองเหล่านี้ก็เช่นกัน ได้สูญเสียสถานภาพของตนหลังการพิชิตของอาหรับ
รัฐอิสลามสามารถที่จะเข้ามาแทนที่จักรพรรดิเปอร์เซียและพวกเจ้าขุนมูลนายที่หมดวาสนาและถือว่าประชาชนพลเมืองเหล่านี้เป็นทาสหรืออยู่ภายใต้อำนาจของรัฐอิสลาม เหมือนอย่างที่พวกแซสซานิดได้กระทำเมื่อครั้งเข้ามาแทนที่พวกอัคเมเนียนที่สิ้นอำนาจในดินแดนดังกล่าว แต่อิสลามก็มิได้รับรองฐานะของความเป็นทาสเช่นนี้ กอรปกับชาวอาหรับมุสลิมเองนั้นก็ไม่มีความประสงค์ที่จะกระทำเช่นนั้น ดังนั้นรัฐอิสลามอันมีค่อลีฟะห์เป็นประมุขหรือกลุ่มชนอาหรับเผ่าต่างๆ ในดินแดนที่มิใช่มาตุภูมิของตนก็มิเคยเรียกร้องหรือกล่าวอ้างความเป็นเจ้าของหรือเจ้าชีวิตของผู้คน
จากจุดนี้ การผูกมิตรด้วยการให้สัญญาระหว่างพลเมืองกับเผ่าอาหรับจึงเกิดขึ้น ผู้คนในทุกสารทิศก็รวมตัวกันเข้าเป็นมิตรหรือพันธมิตรกับกลุ่มคนที่พวกเขาต้องการจะผูกมิตรด้วย ดังนั้นพลเมืองเหล่านั้นจึงผูกมิตรกับเผ่าตะมีม, มุอัด, ร่อบีอะห์, ชัยบาน, อับดุกอยซ์หรือเผ่าอื่นๆ ที่ตั้งหลักแหล่งอยู่ในดินแดนนั้นๆ
และส่วนหนึ่งจากพลเมืองเหล่านั้นมีบางกลุ่มบางพวกได้เข้าเป็นพันธมิตรกับแม่ทัพผู้พิชิต เป็นต้นว่าหมู่มิตร (ม่าว่าลีย์) ของท่านคอลิด อิบนุ อัลวะลีด หมู่มิตรของท่านมูซา อิบนุ นุซัยรฺ และหมู่มิตรของท่านอับดิลลาฮฺ อิบนุ อามิร ชนบางกลุ่มบางพวกก็เข้าสู่การเป็นพลพรรคของค่อลีฟะห์ในยุคนั้นๆ โดยตรงเช่น พลพรรคแห่งค่อลีฟะฮฺ อับดุลมาลิก อิบนุ มัรวาน พลพรรคของค่อลีฟะห์อัลวะลีด และพลพรรคของค่อลีฟะห์ฮิชาม อิบนุ อับดิลมะลิก เป็นต้น
บางพวกก็เข้าเป็นพันธมิตรกับเผ่ากุรอยชฺโดยรวม บรรดาบุคคลเหล่านี้คือกลุ่มบุคคลที่ถูกเรียกขานในตำรับตำราที่เป็นอัตชีวประวัติ ว่า “เมาลาฮุม” (พลพรรคหรือหมู่มิตรของเผ่านั้นเผ่านี้) การเป็นพันธมิตรหรือการผูกมิตรจึงมิใช่การโยกย้ายถ่ายเทความเป็นทาสหรือการมีกรรมสิทธิ์ครอบครอง หากแต่เป็นการก่อกำเนิดสถานภาพที่ชอบด้วยกฎหมายของผู้คนเหล่านั้นในรัฐอิสลามและตราบใดที่ชุมชนหนึ่งชุมชนใดได้เข้าสู่การเป็นพันธมิตรกับชาวอาหรับคนใดแล้ว ชาวชุมชนนั้นก็มีสถานภาพอันชอบด้วยกฎหมายซึ่งถูกยอมรับในการดำเนินชีวิตทางสังคมและการเมืองสำหรับรัฐอิสลามและในความเป็นจริงแล้ว
การผูกมิตรเช่นนี้ถือเป็นการปลดปล่อยให้ผู้คนเป็นเสรีชนและยกฐานะของพวกเขาสู่ระดับของพลเมืองในรัฐอิสลาม และการผูกมิตรนั้นตั้งอยู่บนเงื่อนไขในการเป็นอิสลาม ฉะนั้นชาวอิหร่านคนหนึ่งจะเข้าสู่การเป็นหมู่มิตรกับชาวอาหรับก็ต่อเมื่อเขาได้เข้ารับอิสลามแล้ว สิ่งดังกล่าวย่อมหมายถึงว่า การผูกมิตรนั้นคือระบบของชาวอาหรับที่มีรูปแบบอิสลาม ผู้คนได้เข้าสู่อิสลามเป็นเบื้องแรกหลังจากนั้นก็กลายเป็นชนชาวอาหรับในภายหลัง การผูกมิตรจึงเป็นการปลดแอกผู้คนจากความเป็นทาสสู่ความเป็นเสรีชนและนำเอาเกียรติภูมิแห่งความเป็นมนุษย์ของพวกเขากลับคืนมา
และดูเหมือนว่าเรามิได้เปิดเผยหรือรับรู้ข้อเท็จจริงที่ซ่อนเร้นขณะที่เราพูดว่า ประชาชนส่วนใหญ่จากชาวอิรัก อิหร่านได้หลุดพ้นจากความเป็นทาสและได้รู้จักเสรีภาพและเกียรติภูมิแห่งความเป็นมนุษย์โดยการพิชิตแห่งอิสลาม
ผู้คนได้ยึดมั่นในการผูกมิตรกับชาวอาหรับจวบจนกระทั่งแม้ภายหลังการเป็นไทแก่ตัวและเปลี่ยนสถานภาพไปสู่ความเป็นพลเมืองในรัฐอิสลาม สิ่งดังกล่าวย่อมบ่งชี้ถึงการที่ผู้คนเหล่านั้นมีความพึงพอใจในการติดต่อสัมพันธ์และข้องแวะกับชาวอาหรับด้วยสัมพันธภาพของการผูกมิตรในดินแดนตะวันตกของโลกอิสลามทางแอฟริกาเหนือ และเอ็นดาลูเซีย (สเปน) เป็นต้น
เราจะพบว่าผู้คนที่นั่นมีความภาคภูมิต่อการผูกมิตรกับชาวอาหรับตลอดช่วงเวลาหลายศตวรรษ ยิ่งไปกว่านั้นความสัมพันธ์ในการผูกมิตรยังนับว่าเป็นพลังที่ทำให้บรรดาพลพรรคที่เป็นพันธมิตร โดยเฉพาะพันธมิตรในราชวงศ์อุมาวียะห์แห่งเอ็นดาลูเซียเป็นกลุ่มชนที่มีลักษณะเฉพาะและโดดเด่นจากหมู่ชนชาวเอ็นดาลูเซียในยุคการปกครองของข้าหลวงที่ขึ้นตรงกับกรุงดามัสกัส
ในขณะที่อับดุรเราะห์มาน อิบนุ มุอาวียะห์ อิบนิ ฮิชาม ซึ่งรู้จักกันในนามอัดคาดิ้ล (ผู้เข้าสู่เอ็นดาลูเซีย) ได้เดินทางถึงเอ็นดาลูเซียนั้น เหล่าพันธมิตรแห่งราชวงศ์อุมาวียะห์ก็คือคณะบุคคลที่ให้การสนับสนุนอับดุรเราะห์มานและร่วมกันสถาปนาอาณาจักรอุมาวียะห์ขึ้นใหม่ในเอ็นดาลูเซีย
สิ่งที่เราจะต้องระบุถึงเช่นกันคือ การที่บุคคลหนึ่งเข้าสู่การเป็นพันธมิตรกับชาวอาหรับนั้นหมายถึงการที่บุคคลผู้นั้นมีสิทธิถือครองในที่ดินของตนซึ่งเคยใช้ทำการเพาะปลูก ในขณะที่เขาผู้นั้นเคยตกเป็นทาสภายใต้อำนาจของจักรวรรดิเปอร์เซียหรือพวกโกธิก (วิสิโกธ) ในสเปนเขาผู้นั้นก็กลับกลายเป็นไทแก่ตัวและเป็นเจ้าของที่ดินภายใต้ร่มเงาแห่งอิสลาม และนี่ก็คือสาเหตุสำคัญที่ทำให้การเข้ารับอิสลามของพลเมืองเหล่านี้เป็นการเข้ารับอิสลามอย่างบริสุทธิ์ใจและมีความลึกซึ้งซึ่งนำไปสู่การตอบรับอย่างกว้างขวางต่อการศึกษาคำสอนของอิสลามและวิทยาการแห่งอิสลามในภายหลัง
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น