อิสลามผู้พิชิต : อิสลามแพร่หลายด้วยความประเสริฐและพลังเฉพาะตัว
(อาลี เสือสมิง)
ในช่วงเวลาที่ผ่านมาในอดีต ไม่ปรากฏว่าสำหรับชาวมุสลิมมีนโยบายทางการเมืองที่ถูกกำหนดเพื่อการเผยแผ่ศาสนาอิสลาม โดยมีคณะบุคคลที่มีความชำนาญหรือสันทัดกรณีดำเนินการตามแผนงานที่มีกิจจะลักษณะ ซึ่งเป็นไปตามนโยบายทางการเมืองนั้น ดังเช่นสภาพที่เราได้พบในศาสนาคริสต์ เป็นต้น
พระสันตะปาปาแห่งโรมันคาธอลิกและองค์กรสงฆ์ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นฟรานซิสกัน, โดมินิกันและเยซูอิตในคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาธอลิก ตลอดจนกลุ่มองค์กรมิชชันนารีของฝ่ายโปรแตสแตนท์ ต่างก็ตระเตรียมและมีความพร้อมในการผลิตบุคลากรของตนในสถาบันการศึกษาโดยเฉพาะ
สถาบันเหล่านี้ได้รับเงินอุดหนุนอย่างมากมายจากทางคริสตจักรหลังจากนั้นก็จะส่งบุคลากรเหล่านี้ที่มีความพร้อมไปยังดินแดนห่างไกลเพื่อเรียกร้องผู้คนให้เข้ารีตในคริสต์ศาสนาด้วยสื่อทางวิชาการที่ได้รับการศึกษาอย่างเป็นระบบเพื่อทำให้ผู้คนที่คณะเผยแพร่เหล่านี้ได้พบปะยอมรับและเข้ารีต บุคลากรเหล่านี้ได้อุทิศและเสียสละความสุขสบายเพื่อการเผยแพร่ศาสนาของตนอย่างบริสุทธิ์ใจดังที่เราได้รับรู้ถึงความทุ่มเทดังกล่าวในหมู่บาทหลวงทางคริสต์ศาสนาและพุทธศาสนา
ส่วนในอิสลามนั้นเราจะไม่พบรูปแบบเช่นนี้ยกเว้นในปัจจุบันนี้เท่านั้นในขณะที่กระแสการเผยแพร่ของศาสนาอื่นได้เพิ่มขึ้นจนทำให้มุสลิมต้องหันมาสนใจและจัดระบบองค์กรเผยแผ่ศาสนาขึ้นให้เป็นระบบและมีการจัดเตรียมบุคลากรอย่างจริงจัง
นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้อิสลามได้แพร่หลายออกไปด้วยตัวเอง นั่นคืออิสลามได้เรียกร้องผู้คนด้วยลักษณะเฉพาะตัวและดึงดูดจิตใจของผู้คนซึ่งยอมรับอิสลามด้วยความรักต่ออิสลามและเกิดความสนใจต่อคำสอนของอิสลามโดยมุ่งหวังพระเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า (ซ.บ.) และทางนำของพระองค์ สิ่งที่น่าพิจารณาก็คือ พลังเฉพาะตัวของอิสลามเองนั้นอยู่เหนือระบบองค์กรในการเผยแพร่ทุกรูปแบบและได้ยืนยันถึงศักยภาพเฉพาะตัวที่มีอิทธิพลมากกว่าทรัพย์สินที่องค์กรเผยแพร่ในศาสนาอื่นได้ทุ่มเทในการเรียกร้องสู่ศาสนาของตน อิสลามแพร่หลายและมีขอบข่ายกว้างไกลออกไปทุกขณะ ประชาชาติแล้วประชาชาติเล่าได้เข้ารับอิสลามโดยสมัครใจเพียงแต่อิสลามไปถึงพวกเขาเท่านั้น
และชาวอาหรับนั้นได้ทำการพิชิตดินแดนต่างๆ และเสนออิสลามแก่ชนพื้นเมืองเหล่านั้นโดยพวกเขายังคงดำเนินชีวิตไปตามปกติ จนในที่สุดชนพื้นเมืองที่คลุกคลีกับชาวอาหรับก็ยอมรับถึงคุณค่าทางด้านมนุษยธรรมของอิสลามอย่างช้าๆ จนกระทั่งบางคนที่มีอคติต่อชาวอาหรับกล่าวหาชาวอาหรับว่าไม่ให้ความสนใจในการเผยแผ่ศาสนาโดยเห็นแก่ญิซยะห์ (ส่วย) มากกว่าการเข้ารับอิสลามของชนพื้นเมืองและข้อกล่าวหาต่างๆ ที่เราจะพบได้ในทำนองนี้อันเป็นข้อเขียนของตำรับตำราที่เขียนขึ้นโดยผู้มีอคติต่ออิสลาม
สิ่งดังกล่าวนั้นจริง ๆ แล้วมิได้เกิดจากการขาดความเอาจริงเอาจังของชาวอาหรับในการเผยแผ่ศาสนา หากแต่เป็นการดำเนินตามรูปแบบการเผยแผ่ในยุคแรกของอิสลาม นั่นคือรูปแบบวิธีการนำเสนออิสลามให้เป็นที่รับรู้ของผู้คน เมื่อพวกเขาได้รับรู้เพียงพอถึงลักษณะพิเศษของอิสลามแล้วก็เป็นเรื่องที่พวกเขามีอิสระที่จะเลือกในการยอมรับศรัทธาหรือไม่ ที่น่าแปลกก็คือกรณีที่เกิดขึ้นในอียิปต์และสเปนนั้นการที่อาหรับใช้รูปแบบวิธีการเช่นที่ว่านี้กลับเป็นสิ่งที่ได้ผลในการเข้ารับอิสลามของผู้คนได้เป็นอย่างดี
ชาวอาหรับมิได้ใช้ความรุนแรงหรือกำลังบังคับในการเผยแผ่อย่างที่พวกโรมันได้กระทำ บาทหลวงจูลูจแห่งนครโคโดบาฮฺซึ่งชิงชังต่ออิสลามได้กล่าวว่า “ส่วนหนึ่งจากแผนการอันแยบยลของชาวอาหรับก็คือ แสร้งทำเป็นว่าไม่ให้ความสนใจต่อการรับอิสลามของผู้คน จิตใจของผู้คนก็เลยมีความอยากรู้อยากเห็นถึงคำสอนของอิสลามและทำความรู้จักกับชาวอาหรับ ทั้งนี้ก็เพื่อพลเมืองเหล่านั้นจะได้รู้ถึงสาเหตุที่ชาวอาหรับผูกขาดและซ่อนเร้นศาสนานี้ต่อพลเมือง ผู้คนเหล่านี้จึงทำความรู้จักและสอบถามถึงอิสลามและขอความกระจ่างจนในที่สุดก็พบว่าตัวเองได้เป็นมุสลิมไปแล้วโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว”
บาทหลวงโยฮันน่า นิกบูซ ชาวค็อปติกก็กล่าวในทำนองนี้เช่นกันและก็แสดงความเศร้าใจว่า ชาวอาหรับไม่ใช้ความรุนแรงหรือกำลังบังคับให้ผู้คนยอมรับอิสลาม นั่นก็คือว่า ถ้าชาวอาหรับทำเช่นนั้นคือ ใช้กำลังบังคับชาวค็อปติก (ชาวอียิปต์พื้นเมืองที่นับถือศาสนาคริสต์) ย่อมจะเพิ่มความเหนียวแน่นในการยึดถือความเชื่อของตนอันเป็นไปตามสภาพปกติที่จะต้องแข็งขืนและดื้อดึงต่อการบังคับขืนใจด้วยกำลังใดๆ อยู่แล้วเป็นธรรมดา และอิสลามก็ย่อมมิอาจดึงดูดหัวใจของผู้คนทั้งหลายได้เลยไม่ว่าจะเป็นในอียิปต์และสเปน
ดังนั้นจึงต้องใช้ความพยายามในการศึกษาวิเคราะห์ถึงกรณีที่ว่า ชาวค็อปติกในอียิปต์นั้นเข้ารับอิสลามอย่างไร ทั้งๆ ที่พวกเขาเป็นกลุ่มชนที่ยึดมั่นในความเชื่อของตนอย่างเหนียวแน่นและเคร่งครัดที่สุด ถึงขนาดที่ว่าชาวค็อปติกกลุ่มแล้วกลุ่มเล่าได้ยอมตายเพื่อเทิดทูนความเชื่อของพวกเขาด้วยน้ำมือของทรราชย์แห่งโรมัน เช่น ดิกิลติยาโนส หรือ กอยรุส ซึ่งจะไม่พบคำตอบสำหรับโจทย์ข้อนี้ นอกจากกรณีที่ว่าการเปลี่ยนศาสนาของผู้คน เพื่อเข้ารับอิสลามในอียิปต์และสเปนนั้นเป็นไปอย่างสงบ ความเชื่อในอิสลามได้ซึมซาบเข้ากุมหัวใจของผู้คนเฉกเช่นน้ำที่ซึมเข้าสู่ไร่นา และมันก็งอกงามเขียวชะอุ่มออกดอกออกผลสะพรั่งด้วยฉันทานุมติของพระผู้เป็นเจ้า
ในดินแดนทางตะวันตกของโลกอิสลาม (ในแอฟริกาเหนือ) ชนเผ่าเบอร์เบอร์กลุ่มต่างๆ ได้เข้ารับอิสลามในสภาพที่เกิดความทึ่งและพิศวงต่อสิ่งที่พวกเขาได้ประจักษ์เห็นถึงความงดงามแห่งความศรัทธาของท่านอุกบะห์ อิบนุ นาฟิอ์ และกลุ่มชนที่ร่วมกับท่าน บุรุษท่านนี้เป็นเอกบุรุษที่มอบกายถวายชีวิตเพื่ออิสลาม ท่านอุกบะห์ได้พบปะกับผู้นำเผ่าเบอร์เบอร์และพูดคุยกับผู้นำเผ่า ซึ่งต่อมาท่านก็ได้เชิญชวนผู้นำเผ่าเบอร์เบอร์ให้เข้ารับอิสลาม ผู้นำเผ่าเบอร์เบอร์ก็ไม่รีรอในการตอบรับคำเชิญชวนนั้นเพื่อที่จะได้เป็นแนวร่วมกับท่านอุกบะห์ ผลที่ตามมาก็คือบุคคลในเผ่าก็เข้ารับอิสลามตามผู้นำในที่สุด
วิถีทางที่อิสลามได้เข้ากุมหัวใจของผู้คนนั้นคือ ความเอื้ออารี และการเปิดกว้าง ตลอดจนหลักมนุษยธรรมที่ชัดเจนในคำสอนและการปฏิบัติ อิสลามได้นำเสนอความสงบทางจิตใจให้แก่ผู้ศรัทธา และเปิดประตูอันไพศาลสู่องค์พระผู้เป็นเจ้าสำหรับการให้อภัย, ความหวัง และผลานิสงค์ในโลกหน้า สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดเป็นไปโดยไม่มีข้อแลกเปลี่ยน แต่ในศาสนาอื่น ๆ นั้นได้กำหนดให้เป็นภาระหน้าที่ของศาสนิกชนในการมอบทรัพย์สิน, เครื่องถวายพลีทาน และการเคารพเชื่อฟังต่อบาทหลวงหรือนักการศาสนา โดยบุคคลเหล่านี้จะคอยควบคุม ลงโทษ ตลอดจนกำหนดข้อห้ามต่างๆ ที่เดิมนั้นคือความโปรดปรานแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้าต่อศาสนิกชน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่มีในอิสลาม
จากจุดนี้เอง อิสลามจึงเข้าถึงจิตใจของผู้คนอย่างง่ายดายและโดยดุษฎี ส่วนเส้นทางของอิสลามนั้นก็คือโลกทั้งผอง โดยอิสลามได้ขจรขจายออกไปทั้งทางบก, ทางทะเล ทั้งการสงคราม และสันติภาพ อิสลามได้รุกฝ่าเข้าสู่ขุนเขาทั้งหลาย และได้กำหนดเส้นทางต่างๆ ในการเผยแผ่อย่างชนิดที่ไม่เคยมีผู้ใดคาดคิดมาก่อน ผู้คนทุกหมู่เหล่าแม้กระทั่งชนต่างศาสนาเองก็ล้วนแต่มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดอิสลาม ในหมู่ของนักบูรพาคดีเองก็มีนักวิชาการบางคนได้เตือนรัฐบาลของตนให้ปล่อยชาวมุสลิมทำการเผยแผ่ไปเพื่อประชาชนจะได้หมกมุ่นอยู่กับอิสลามและละทิ้งการค้าขายและทรัพย์สินให้เป็นเรื่องของชาวดัชต์ รัฐบาลของชาวดัชต์ที่เป็นเจ้าอาณานิคมก็ยอมรับฟังคำเตือนดังกล่าว
อิสลามก็จาริกไปทั่วอินโดนีเซีย จนในที่สุดก็ครอบคลุมอินโดนีเซียทั้งหมด เคยมีเหตุการณ์หนึ่งที่เผ่า “วังการ่า” ทางตะวันตกของแอฟริกาได้เข้ารับอิสลาม ขณะที่เป็นอริกับเผ่าเพื่อนบ้าน เมื่อเผ่านี้เข้ารับอิสลามก็เกิดความผาสุกมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นจนมีอำนาจ เผ่าเพื่อนบ้านก็เลยเข้ารับอิสลามตามไปด้วย และเปลี่ยนความเป็นอริกันระหว่างเผ่าที่ต่อมากลับกลายเป็นมิตรและพี่น้องร่วมศาสนาเดียวกัน
อิสลามก็ได้รุกฝ่าเข้าไปในพื้นที่ 200 ก.ม. จากเส้นศูนย์สูตรซึ่งทุรกันดาร เผ่าดังกล่าวเรียกกันว่า “เผ่าวังการ่า อายา” ซึ่งนับเป็นเผ่าผู้นำในดาโฮเม่ ในทุกวันนี้มีผู้คนหลายสาขาอาชีพ ไม่ว่าแพทย์, สถาปนิก, ครู และนักกฎหมาย มาจากเผ่านี้ทั้งสิ้น เผ่าวังการ่า อายาได้เข้ารับอิสลามโดยมิเคยปรากฏมาก่อนเลยถึงความโชคดีที่เผ่าของตนได้รับจากความประเสริฐของอิสลามที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงลิขิตไว้
พระสันตะปาปาแห่งโรมันคาธอลิกและองค์กรสงฆ์ทั้งหลายไม่ว่าจะเป็นฟรานซิสกัน, โดมินิกันและเยซูอิตในคริสต์ศาสนานิกายโรมันคาธอลิก ตลอดจนกลุ่มองค์กรมิชชันนารีของฝ่ายโปรแตสแตนท์ ต่างก็ตระเตรียมและมีความพร้อมในการผลิตบุคลากรของตนในสถาบันการศึกษาโดยเฉพาะ
สถาบันเหล่านี้ได้รับเงินอุดหนุนอย่างมากมายจากทางคริสตจักรหลังจากนั้นก็จะส่งบุคลากรเหล่านี้ที่มีความพร้อมไปยังดินแดนห่างไกลเพื่อเรียกร้องผู้คนให้เข้ารีตในคริสต์ศาสนาด้วยสื่อทางวิชาการที่ได้รับการศึกษาอย่างเป็นระบบเพื่อทำให้ผู้คนที่คณะเผยแพร่เหล่านี้ได้พบปะยอมรับและเข้ารีต บุคลากรเหล่านี้ได้อุทิศและเสียสละความสุขสบายเพื่อการเผยแพร่ศาสนาของตนอย่างบริสุทธิ์ใจดังที่เราได้รับรู้ถึงความทุ่มเทดังกล่าวในหมู่บาทหลวงทางคริสต์ศาสนาและพุทธศาสนา
ส่วนในอิสลามนั้นเราจะไม่พบรูปแบบเช่นนี้ยกเว้นในปัจจุบันนี้เท่านั้นในขณะที่กระแสการเผยแพร่ของศาสนาอื่นได้เพิ่มขึ้นจนทำให้มุสลิมต้องหันมาสนใจและจัดระบบองค์กรเผยแผ่ศาสนาขึ้นให้เป็นระบบและมีการจัดเตรียมบุคลากรอย่างจริงจัง
นอกเหนือจากที่กล่าวมานี้อิสลามได้แพร่หลายออกไปด้วยตัวเอง นั่นคืออิสลามได้เรียกร้องผู้คนด้วยลักษณะเฉพาะตัวและดึงดูดจิตใจของผู้คนซึ่งยอมรับอิสลามด้วยความรักต่ออิสลามและเกิดความสนใจต่อคำสอนของอิสลามโดยมุ่งหวังพระเมตตาของพระผู้เป็นเจ้า (ซ.บ.) และทางนำของพระองค์ สิ่งที่น่าพิจารณาก็คือ พลังเฉพาะตัวของอิสลามเองนั้นอยู่เหนือระบบองค์กรในการเผยแพร่ทุกรูปแบบและได้ยืนยันถึงศักยภาพเฉพาะตัวที่มีอิทธิพลมากกว่าทรัพย์สินที่องค์กรเผยแพร่ในศาสนาอื่นได้ทุ่มเทในการเรียกร้องสู่ศาสนาของตน อิสลามแพร่หลายและมีขอบข่ายกว้างไกลออกไปทุกขณะ ประชาชาติแล้วประชาชาติเล่าได้เข้ารับอิสลามโดยสมัครใจเพียงแต่อิสลามไปถึงพวกเขาเท่านั้น
และชาวอาหรับนั้นได้ทำการพิชิตดินแดนต่างๆ และเสนออิสลามแก่ชนพื้นเมืองเหล่านั้นโดยพวกเขายังคงดำเนินชีวิตไปตามปกติ จนในที่สุดชนพื้นเมืองที่คลุกคลีกับชาวอาหรับก็ยอมรับถึงคุณค่าทางด้านมนุษยธรรมของอิสลามอย่างช้าๆ จนกระทั่งบางคนที่มีอคติต่อชาวอาหรับกล่าวหาชาวอาหรับว่าไม่ให้ความสนใจในการเผยแผ่ศาสนาโดยเห็นแก่ญิซยะห์ (ส่วย) มากกว่าการเข้ารับอิสลามของชนพื้นเมืองและข้อกล่าวหาต่างๆ ที่เราจะพบได้ในทำนองนี้อันเป็นข้อเขียนของตำรับตำราที่เขียนขึ้นโดยผู้มีอคติต่ออิสลาม
สิ่งดังกล่าวนั้นจริง ๆ แล้วมิได้เกิดจากการขาดความเอาจริงเอาจังของชาวอาหรับในการเผยแผ่ศาสนา หากแต่เป็นการดำเนินตามรูปแบบการเผยแผ่ในยุคแรกของอิสลาม นั่นคือรูปแบบวิธีการนำเสนออิสลามให้เป็นที่รับรู้ของผู้คน เมื่อพวกเขาได้รับรู้เพียงพอถึงลักษณะพิเศษของอิสลามแล้วก็เป็นเรื่องที่พวกเขามีอิสระที่จะเลือกในการยอมรับศรัทธาหรือไม่ ที่น่าแปลกก็คือกรณีที่เกิดขึ้นในอียิปต์และสเปนนั้นการที่อาหรับใช้รูปแบบวิธีการเช่นที่ว่านี้กลับเป็นสิ่งที่ได้ผลในการเข้ารับอิสลามของผู้คนได้เป็นอย่างดี
ชาวอาหรับมิได้ใช้ความรุนแรงหรือกำลังบังคับในการเผยแผ่อย่างที่พวกโรมันได้กระทำ บาทหลวงจูลูจแห่งนครโคโดบาฮฺซึ่งชิงชังต่ออิสลามได้กล่าวว่า “ส่วนหนึ่งจากแผนการอันแยบยลของชาวอาหรับก็คือ แสร้งทำเป็นว่าไม่ให้ความสนใจต่อการรับอิสลามของผู้คน จิตใจของผู้คนก็เลยมีความอยากรู้อยากเห็นถึงคำสอนของอิสลามและทำความรู้จักกับชาวอาหรับ ทั้งนี้ก็เพื่อพลเมืองเหล่านั้นจะได้รู้ถึงสาเหตุที่ชาวอาหรับผูกขาดและซ่อนเร้นศาสนานี้ต่อพลเมือง ผู้คนเหล่านี้จึงทำความรู้จักและสอบถามถึงอิสลามและขอความกระจ่างจนในที่สุดก็พบว่าตัวเองได้เป็นมุสลิมไปแล้วโดยไม่รู้เนื้อรู้ตัว”
บาทหลวงโยฮันน่า นิกบูซ ชาวค็อปติกก็กล่าวในทำนองนี้เช่นกันและก็แสดงความเศร้าใจว่า ชาวอาหรับไม่ใช้ความรุนแรงหรือกำลังบังคับให้ผู้คนยอมรับอิสลาม นั่นก็คือว่า ถ้าชาวอาหรับทำเช่นนั้นคือ ใช้กำลังบังคับชาวค็อปติก (ชาวอียิปต์พื้นเมืองที่นับถือศาสนาคริสต์) ย่อมจะเพิ่มความเหนียวแน่นในการยึดถือความเชื่อของตนอันเป็นไปตามสภาพปกติที่จะต้องแข็งขืนและดื้อดึงต่อการบังคับขืนใจด้วยกำลังใดๆ อยู่แล้วเป็นธรรมดา และอิสลามก็ย่อมมิอาจดึงดูดหัวใจของผู้คนทั้งหลายได้เลยไม่ว่าจะเป็นในอียิปต์และสเปน
ดังนั้นจึงต้องใช้ความพยายามในการศึกษาวิเคราะห์ถึงกรณีที่ว่า ชาวค็อปติกในอียิปต์นั้นเข้ารับอิสลามอย่างไร ทั้งๆ ที่พวกเขาเป็นกลุ่มชนที่ยึดมั่นในความเชื่อของตนอย่างเหนียวแน่นและเคร่งครัดที่สุด ถึงขนาดที่ว่าชาวค็อปติกกลุ่มแล้วกลุ่มเล่าได้ยอมตายเพื่อเทิดทูนความเชื่อของพวกเขาด้วยน้ำมือของทรราชย์แห่งโรมัน เช่น ดิกิลติยาโนส หรือ กอยรุส ซึ่งจะไม่พบคำตอบสำหรับโจทย์ข้อนี้ นอกจากกรณีที่ว่าการเปลี่ยนศาสนาของผู้คน เพื่อเข้ารับอิสลามในอียิปต์และสเปนนั้นเป็นไปอย่างสงบ ความเชื่อในอิสลามได้ซึมซาบเข้ากุมหัวใจของผู้คนเฉกเช่นน้ำที่ซึมเข้าสู่ไร่นา และมันก็งอกงามเขียวชะอุ่มออกดอกออกผลสะพรั่งด้วยฉันทานุมติของพระผู้เป็นเจ้า
ในดินแดนทางตะวันตกของโลกอิสลาม (ในแอฟริกาเหนือ) ชนเผ่าเบอร์เบอร์กลุ่มต่างๆ ได้เข้ารับอิสลามในสภาพที่เกิดความทึ่งและพิศวงต่อสิ่งที่พวกเขาได้ประจักษ์เห็นถึงความงดงามแห่งความศรัทธาของท่านอุกบะห์ อิบนุ นาฟิอ์ และกลุ่มชนที่ร่วมกับท่าน บุรุษท่านนี้เป็นเอกบุรุษที่มอบกายถวายชีวิตเพื่ออิสลาม ท่านอุกบะห์ได้พบปะกับผู้นำเผ่าเบอร์เบอร์และพูดคุยกับผู้นำเผ่า ซึ่งต่อมาท่านก็ได้เชิญชวนผู้นำเผ่าเบอร์เบอร์ให้เข้ารับอิสลาม ผู้นำเผ่าเบอร์เบอร์ก็ไม่รีรอในการตอบรับคำเชิญชวนนั้นเพื่อที่จะได้เป็นแนวร่วมกับท่านอุกบะห์ ผลที่ตามมาก็คือบุคคลในเผ่าก็เข้ารับอิสลามตามผู้นำในที่สุด
วิถีทางที่อิสลามได้เข้ากุมหัวใจของผู้คนนั้นคือ ความเอื้ออารี และการเปิดกว้าง ตลอดจนหลักมนุษยธรรมที่ชัดเจนในคำสอนและการปฏิบัติ อิสลามได้นำเสนอความสงบทางจิตใจให้แก่ผู้ศรัทธา และเปิดประตูอันไพศาลสู่องค์พระผู้เป็นเจ้าสำหรับการให้อภัย, ความหวัง และผลานิสงค์ในโลกหน้า สิ่งเหล่านี้ทั้งหมดเป็นไปโดยไม่มีข้อแลกเปลี่ยน แต่ในศาสนาอื่น ๆ นั้นได้กำหนดให้เป็นภาระหน้าที่ของศาสนิกชนในการมอบทรัพย์สิน, เครื่องถวายพลีทาน และการเคารพเชื่อฟังต่อบาทหลวงหรือนักการศาสนา โดยบุคคลเหล่านี้จะคอยควบคุม ลงโทษ ตลอดจนกำหนดข้อห้ามต่างๆ ที่เดิมนั้นคือความโปรดปรานแห่งองค์พระผู้เป็นเจ้าต่อศาสนิกชน ซึ่งสิ่งเหล่านี้จะไม่มีในอิสลาม
จากจุดนี้เอง อิสลามจึงเข้าถึงจิตใจของผู้คนอย่างง่ายดายและโดยดุษฎี ส่วนเส้นทางของอิสลามนั้นก็คือโลกทั้งผอง โดยอิสลามได้ขจรขจายออกไปทั้งทางบก, ทางทะเล ทั้งการสงคราม และสันติภาพ อิสลามได้รุกฝ่าเข้าสู่ขุนเขาทั้งหลาย และได้กำหนดเส้นทางต่างๆ ในการเผยแผ่อย่างชนิดที่ไม่เคยมีผู้ใดคาดคิดมาก่อน ผู้คนทุกหมู่เหล่าแม้กระทั่งชนต่างศาสนาเองก็ล้วนแต่มีส่วนร่วมในการถ่ายทอดอิสลาม ในหมู่ของนักบูรพาคดีเองก็มีนักวิชาการบางคนได้เตือนรัฐบาลของตนให้ปล่อยชาวมุสลิมทำการเผยแผ่ไปเพื่อประชาชนจะได้หมกมุ่นอยู่กับอิสลามและละทิ้งการค้าขายและทรัพย์สินให้เป็นเรื่องของชาวดัชต์ รัฐบาลของชาวดัชต์ที่เป็นเจ้าอาณานิคมก็ยอมรับฟังคำเตือนดังกล่าว
อิสลามก็จาริกไปทั่วอินโดนีเซีย จนในที่สุดก็ครอบคลุมอินโดนีเซียทั้งหมด เคยมีเหตุการณ์หนึ่งที่เผ่า “วังการ่า” ทางตะวันตกของแอฟริกาได้เข้ารับอิสลาม ขณะที่เป็นอริกับเผ่าเพื่อนบ้าน เมื่อเผ่านี้เข้ารับอิสลามก็เกิดความผาสุกมีความเจริญรุ่งเรืองขึ้นจนมีอำนาจ เผ่าเพื่อนบ้านก็เลยเข้ารับอิสลามตามไปด้วย และเปลี่ยนความเป็นอริกันระหว่างเผ่าที่ต่อมากลับกลายเป็นมิตรและพี่น้องร่วมศาสนาเดียวกัน
อิสลามก็ได้รุกฝ่าเข้าไปในพื้นที่ 200 ก.ม. จากเส้นศูนย์สูตรซึ่งทุรกันดาร เผ่าดังกล่าวเรียกกันว่า “เผ่าวังการ่า อายา” ซึ่งนับเป็นเผ่าผู้นำในดาโฮเม่ ในทุกวันนี้มีผู้คนหลายสาขาอาชีพ ไม่ว่าแพทย์, สถาปนิก, ครู และนักกฎหมาย มาจากเผ่านี้ทั้งสิ้น เผ่าวังการ่า อายาได้เข้ารับอิสลามโดยมิเคยปรากฏมาก่อนเลยถึงความโชคดีที่เผ่าของตนได้รับจากความประเสริฐของอิสลามที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงลิขิตไว้
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น