ย้อนอดีต…การล่มสลายของราชวงศ์สุลต่านมลายูในอินโดนีเซีย
(อับดุลเลาะ หวันมามะ)เราคงลืมไปแล้วฤา? เมื่อปี 1946 บรรดากษัตริย์แห่งเมืองมลายูบนเกาะสุมาตราตะวันออกถูกปลงพระชนม์พร้อมกับเหล่าวงศาคณาญาตินับพันคนอย่างโหดเหี้ยม
เมื่อช่วงเที่ยงคืนของคืนวันที่ 3 มีนาคม 1946 ถือเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดของชาวมลายู ที่ได้นำมาซึ่งความเศร้าโศกเสียใจให้กับชาวมลายูบนเกาะสุมาตราตะวันออกอย่างไม่สิ้นสุด และนอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของชาวมลายูในคาบสมุทรที่ได้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมผนวกกับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย
เพียงค่ำคืนเดียวเท่านั้น ที่บรรดาสุลต่านในบางรัฐถูกฆาตกรรมอย่างไร้ความปราณีโดยกลุ่มคนที่มีความฝักใฝ่แนวคิดคอมมิวนิสต์ ที่ได้รับความช่วยเหลือจากกลุ่มแรงงานซึ่งเป็นลูกหลานของบุคคลผู้อพยพ
เหตุการณ์เริ่มขึ้นในช่วงต้นปี 1946 เมื่ออุณหภูมิทางการเมืองในสุมาตราตะวันออกเริ่มมีความร้อนแรงมากขึ้น เมื่อกลุ่มฝักใฝ่แนวคิดคอมมิวนิสต์เริ่มมีการตั้งฐานพรรคการเมืองและมีการจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธขึ้นในหมู่ผู้ใช้แรงงานหรือพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย
พระราชวังดารุลอามาน ที่ตันหยงปูรา ซึ่งเป็นของราชวงศ์ลังกัตเมื่อปี 1930 ที่ถูกทำลายลงอย่างราบคาบ สืบเนื่องจากการก่อขบถของกลุ่มผู้ที่อ้างถึง “ความเป็นเจ้าของแห่งปวงราช” ที่ปรารถนาซึ่งอำนาจ พร้อมกับพระราชวังอื่นๆ ในสุมาตราตะวันออก ซึ่งบัดนี้ประชาชนบนเกาะสุมาตราตะวันออกได้ตระหนักรู้ถึงความผิดพลาดที่บรรดาบรรพบุรุษของพวกเขาได้ก่อขึ้นก่อนหน้านี้
สืบเนื่องจากความล้มเหลวของนายพลซูการ์กับบรรดาสุลต่านมลายูในสุมาตราในการรับทราบถึงจุดยืนของบรรดาสุลต่านในแถลงการณ์ประกาศสนับสนุนการปลดแอกจากฮอลแลนด์ ในขณะที่ทางรองผู้ว่าราชการแห่งเกาะสุมาตราที่ได้รับการแต่งตั้ง ท่านอามีร ชารีฟุดดีน (หนึ่งในคนที่ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์) เดินทางมาถึงที่เมืองเซอร์ดังแห่งสุมาตราและได้ทำการปลุกระดมผู้สนับสนุนคอมมิวนิสต์ เพื่อขจัดโค่นล้มอำนาจของระบอบสุลต่านและบรรดาขุนนาง อีกทั้งเขายังเป็นนักเขียนและเป็นบรรณาธิการประจำนิตยสาร Pemoeda Soematra อีกด้วย
ภายใต้คลื่นลมที่เงียบสนิทกลุ่มที่สนับสนุนแนวคิดคอมมิวนิสต์ได้มีการวางแผน ในการโค่นล้มระบอบกษัตริย์ของบรรดาสุลต่านมลายู ที่ต้องการเปลี่ยนโครงสร้างการปกครองสู่ระบอบการปกครองแบบรัฐบาล ซึ่งต่อมาพวกเขาได้ดำเนินการโฆษณาชวนเชื่อทางหนังสื่อพิมพ์ ในสื่อวิทยุ และแผ่นพับ พร้อมกับการใส่ร้ายป้ายสีเพื่อปลุกระดมมวลชนด้วยวามกรรม “อำนาจของปวงชน” (Daulat Rakyat) เพื่อเป็นการต่อกรกับวาทกรรม “อำนาจของกษัตริย์” (Daulat Tuanku) พร้อมกันนี้บรรดาสุลต่านมลายูมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับบรรดาชนชั้นนำของฮอลแลนด์ ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้บรรดาขุนนางและบรรดาสุลต่านมลายูได้ทำการขูดรีดและกดขี่ประชาชน
เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นภายหลังจากที่ผู้ว่าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งคือ เต็งกูมูฮัมมัด ฮาสซัน พร้อมคณะทั้งหมด 7 คันได้ออกเดินทางจากเมืองเมดานเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1946 ผ่านทางบาสตาเกีย และสุมาตรากลางมุ่งหน้าไปทางทิศใต้ของสุมาตรา และตามกำหนดการเดิมนั้นจะเดินทางกลับไปยังเมดานในวันที่ 22 มีนาคม 1946
เมื่อช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 3 มีนาคม 1946 ได้มีประชาชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้อพยพที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งพวกเขาได้ทำการบุกโจมตีพระราชวังและสำนักงานของรัฐบาลมลายูและได้ประกาศว่าราชวงศ์มลายูได้ถูกโค่นล้มโดยชาวอินโดนีเซียไปแล้ว
การฆาตกรรมบรรดาขุนนางในพระราชสำนักของกษัตริย์ ได้เกิดขึ้นเป็นวงกว้าง ไม่ว่าจะโดยการถูกถ่วงน้ำในทะเล ถูกตัดศีรษะ ถูกฝังทั้งเป็น และการฆาตกรรมอย่างโหดเหี้ยมด้วยวิธีต่างๆ ที่กระทำโดยผู้คนที่ฝักใฝ่แนวคิดคอมมิวนิสต์ ที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย
การจู่โจมในครั้งนี้ถือเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่สำหรับสุลต่านบีดาร อาลัม แห่งเมืองบีลาฮ์ สุลต่านมะห์มูด อามาน ฆาฆาร อาลัมชาห์แห่งเมืองปานัย และเต็งกูมุสตาฟา ฆือลาร มักมูรแห่งเมืองโกตาปีนัง ราชวงศ์สุลต่านแห่งเมืองเซอร์ดัง ราชวงศ์สุลต่านเดลีแห่งเมืองเมดาน รัฐมลายูยังดีเปอรตูวาอาฆง อัลฮัจญีมูฮัมหมัด ชาห์แห่งเมืองลาบูฮันบา
สุลต่านเหล่านี้ถูกสังหารโดยกลุ่มผู้อพยพผู้ใช้แรงงานที่ทำงานให้กับบรรดาสุลต่าน ที่ถูกปลุกปั่นโดยกลุ่มพรรคคอมมิวนิสต์
เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรของรัฐเหล่านี้ประกอบด้วยกลุ่มผู้อพยพที่เข้ามาในฐานะคนงานตามท้องทุ่ง
ส่วนพระราชวังที่อื่น ๆ ของสุลต่านลังกัตที่ตันหยงและในเมืองโกตาบีนัย ถูกจู่โจมถูกปล้น ในขณะที่บรรดาวงศาคณาญาติถูกจับกุมและส่วนใหญ่โดนฆาตกรรมอย่างโหดเหี้ยม ไม่เว้นแม่แต่นักเขียนชาวอินโดนีเซียที่โด่งดัง เต็งกูอามีร ฮัมซะฮ์ ยิ่งไปกว่านั้นบุตรธิดาของสุลต่านถูกกระทำชำเราข่มเหงต่อหน้าต่อตาของสุลต่านลังกัต ในขณะเดียวกันเจ้าชายที่กำลังอยู่ในวัยหนุ่มได้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย
ความโหดร้ายในครั้งนี้เกิดจากผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์ท่านหนึ่งที่ชื่อ มัรวาน พร้อมผู้สนับสนุน
สุลต่านลังกัตถือเป็นสุลต่านพระองค์หนึ่งที่ร่ำรวยและมั่งคั่งในสุมาตรา ที่มีรายได้มาจากปิโตรเลียม และถ้าหากว่าพระราชวังของสุลต่านที่ไหม้เกรียมนั้นยังคงอยู่ ถือเป็นสมบัติอันล้ำค่ายิ่งให้กับชาวมลายูทั้งโลก
บรรดาคณาญาตที่เป็นผู้ชายแห่งเมืองอาซาฮันถูกสังหารทั้งหมดรวมทั้งภรรยาและลูกชายของเต็งกู มูซา ซึ่งภายในระยะเวลาไม่กี่วัน จำนวน 140 คนถูกสังหาร หลังสืบทราบว่าเป็นเครือญาติที่ใช้ชื่อสกุลเต็งกู
จากนั้นพวกเขาได้จับบรรดาวงศาคณาญาติของราชวงศ์สุลต่านมลายูทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทั้งผู้หญิงและเด็กๆ ก่อนจะนำไปยังสถานที่คุมขังที่เมืองซีมาลูงุนและตานะฮ์กาโร ก่อนจะทรมานและสังหาร
อินโดนีเซียในห้วงดังกล่าวเสมือนเป็นการสนับสนุนความโหดเหี้ยมดังกล่าวนี้ ถึงขนาดสองรุ่นของชาวมลายูแทบจะสูญเสียตัวตนของตัวเอง
พวกเขามีความหวาดกลัวที่จะยอมรับว่าตัวเองคือชาวมลายู อีกทั้งได้เพิ่มคำว่า บาตัก นำหน้าชื่อของพวกเขา เพื่อให้พวกเขาสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนหรือได้เข้าทำงานในสำนักงานของรัฐบาล พวกเขาได้ระงับการใช้ชื่อเต็งกูหรือวันนำหน้า เพราะกลัวว่าจะถูกตามหาและทำร้ายในฐานะเป็นคณาญาติของสุลต่าน
ในที่สุด 19 ปีหลังจากนั้น เมื่อวันที่ 30 กันยายน 1965 เกิดการทำรัฐประหารโดยกองทัพอินโดนีเซียที่นำโดยนายพลซูฮาร์โต ที่ได้ดำเนินการยุบพรรคคอมมิวนิสต์แห่งอินโดนีเซีย กลุ่มผู้สนับสนุนคอมมิวนิสต์ของอินโดนีเซีย ได้ยอมรับกับชะตากรรมในสิ่งที่พวกเขาได้กระทำต่อสุลต่านมลายูในสุมาตราในอดีต
ประมาณเกือบสองล้านคนกลุ่มพรรคคอมมิวนิสต์ถูกกวาดล้างโดยกองทัพอินโดนีเซีย และส่วนใหญ่ของบรรดาแกนนำของพรรคคอมมิวนิสต์มีส่วนเกี่ยวข้องกับ ‘การปฏิวัติสังคมปี 1946 ทางตะวันออกของสุมาตรา
อย่างไรก็ตามความหวังของชาวมลายูในภาคตะวันออกของสุมาตราได้กลับมาอีกครั้งเมื่อปี 1971 เมื่อผู้นำชาวมลายูในภาคตะวันออกของเกาะสุมาตราที่ได้รับการคุ้มครองโดยผู้บัญชาการของเกาะสุมาตราพลโทอาหมัด ตอฮีร ได้ทำการรวบรวมองค์กรต่างๆ ทั้ง 17 องค์กรของกลุ่มภาคประชาสังคมมลายูได้ก่อตั้งองค์กรร่มขึ้นมาที่ชื่อว่า MAJLIS ADAT BUDAYA MELAYU INDONESIA (MABMI) .หรือ สภาวัฒนธรรมมลายูแห่งอินโดนีเซีย
จนบัดนี้วัฒนธรรมมลายูดั้งเดิมอีกมากที่ได้สูญหาย สืบเนื่องจากการขาดช่วงของคนสองรุ่นในช่วงเริ่มต้นแห่งการปฏิวัติสังคมและตลอดช่วงสมัยของรัฐบาลซูการ์โน ถึงแม้ว่าปัจจุบันได้มีกลุ่มบุคคลที่พยายามจะรื้อฟื้นมรดกวัฒนธรรมมลายูในภาคตะวันออกสุมาตรา แต่ก็คงไม่เพียงพอหากไม่ได้รับความช่วยเหลือจากชาวมลายูทั่วโลก
บรรดาผู้หลงใหลในประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย บัดนี้ยังคงเสียอกเสียใจเป็นอย่างยิ่ง ที่มีความใจง่ายเกินไป ที่ถูกลวงหลอกโดยแนวคิดคอมมิวนิสต์ ที่ก่อนหน้านี้ได้สร้างความปั่นป่วนเพื่อปล้นอำนาจจากรัฐบาลด้วยวิธีการที่ง่าย
โดย: Mestro
แปลและเรียบเรียง: อับดุลเลาะ วันอะฮ์หมัด
ที่มา: http://postmetro.online, http://www.fatonionline.com/
#ประชาชาติอิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น