การเข้ามาของศาสนาอิสลามในประเทศกัมพูชา
(อับดุลเลาะ วันอะฮ์หมัด)ประเทศกัมพูชาหรือคัมโบเดีย (Cambodia) เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ปกครองด้วยระบบกษัตริย์ เป็นผู้สืบรัชบัลลังก์ตั้งแต่สมัยอาณาจักรเขมรที่เคยแผ่ปกครองทั่วคาบสมุทรอินโดจีนระหว่างศตวรรษที่ 11 และ 14 ประเทศกัมพูชาได้รับเอกราชจากรัฐบาลฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายนปี 1953 โดยรัฐบาลฝรั่งเศสได้เข้ามาปกครองกัมพูชาตั้งแต่ปี 1863 และได้ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของรัฐอาณานิคมของฝรั่งเศสแห่งอินโดจีน (French Indochina) รวมทั้งประเทศลาวและเวียดนาม นับแต่นั้นเป็นต้นมาประเทศกัมพูชาได้กลายเป็นประเทศที่ปกครองโดยระบอบกษัตริย์องค์แรกของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ
เมืองหลวงของกัมพูชาคือกรุงพนมเปญ เป็นศูนย์กลางของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน ปกครองโดยสมเด็จพระนโรดมสีหมุนี ซึ่งเป็นโอรสในสมเด็จพระนโรดมสีหนุ ในขณะที่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรียังคงดำรงตำแหน่งโดยท่านฮุนเซน จนถึงปัจจุบัน และเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 1998 ประเทศกัมพูชาได้เข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มอาเซียนสิบประเทศ ในทางภูมิศาสตร์แล้วประเทศกัมพูชามีชายแดนติดกับประเทศไทยทางด้านทิศตะวันตก ในภาคเหนือติดกับประเทศลาว ส่วนทิศตะวันออกติดกับประเทศเวียดนาม และด้านทิศใต้ติดกับทะเลอ่าวไทยและแม่น้ำโขง
เมื่อปี 2011 กัมพูชาได้มีปัญหาความขัดแย้งกับรัฐบาลไทยในบริเวณข้อพิพาทรอบๆ ปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งความขัดแย้งเรื่องข้อพิพาทของทั้งสองประเทศนี้ ได้เริ่มขึ้นเมื่อปี 1962 เมื่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา แต่ความขัดแย้งไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น จนเมื่อปี 2011 ได้เกิดการปะทะกันขึ้นระหว่างกองกำลังของทั้งสองประเทศซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ทำให้กลายเป็นจุดสนใจของหลายๆ ฝ่าย จนการสู้รบได้ยุติลง แต่ทางกัมพูชาได้ปิดกั้นทางขึ้นสู่เขาพระวิหารจากฝั่งไทย
มัสยิดอันนิกมะฮ์โปติน (An-Nikmah Potiin) ที่กำปงจาม |
ชาวไทยและชาวกัมพูชามีจุดกำเนิดอันเดียวกัน ทั้งสองประเทศนี้ต่างอ้างว่าเป็นการสืบเชื้อสายจากอาณาจักรเขมรเหมือนกัน ที่ในช่วงเริ่มแรกในช่วงการสถาปนาอาณาจักรในแผ่นดินลาวทางภาคเหนือราวๆ ปี ค.ศ. 657 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่หนึ่ง จนต่อมาได้แผ่อิทธิพลครอบคลุมเกือบทั้งคาบสมุทรของอินโดจีนไปจนถึงบางส่วนของภาคเหนือของประเทศมาเลเซีย ปราสาทเขาพระวิหารที่กล่าวข้างต้น ถือเป็นหนึ่งในมรดกในยุคที่อาณาจักรเขมรมีความรุ่งเรือง ประมาณ 95% ของประชากรกัมพูชาเป็นผู้ที่สืบเชื้อสายเขมรมารุ่นสู่รุ่นที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เช่นเดียวกับประชากรส่วนใหญ่ของไทย ลาว และเวียดนาม
พุทธศาสนานิกายเถรวาทได้กลายเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศกัมพูชานับตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 ยกเว้นในช่วงของการปกครองในยุคเขมรแดงเท่านั้น ศาสนาพุทธได้รับการยอมรับนับถือโดยคนส่วนใหญ่ของกัมพูชานับตั้งแต่ศตวรรษที่ 5 และมีบางแหล่งข้อมูลที่กล่าวว่ามีการนับถืออย่างแพร่หลายมาก่อนหน้านั้นด้วยซ้ำ แต่ในจำนวนประชากรส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาพุทธยังพบว่ามีชุมชนมุสลิมประมาณครึ่งล้านคน มีบางข้อมูลระบุว่าอาจมีจำนวนที่มากกว่านั้น
อิสลามในประเทศกัมพูชา
ตามการรายงานของสำนักซีไอเอโลก (CIA World Fact Book) เมื่อปี 1999 ประชากรมุสลิมในประเทศกัมพูชามีจำนวนถึง 2.1% ของประชากรทั้งประเทศ และเมื่อปี 2008 มีประมาณ 321,000 คน ที่เป็นชาวมุสลิมในประเทศกัมพูชา ชาวมุสลิมส่วนใหญ่ในประเทศกัมพูชาเป็นมุสลิมสายซุนนีย์มัซฮับชาฟีอีย์ ที่ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในจังหวัดกำปงจาม ที่มีพื้นที่ 9,799 กิโลเมตร และมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 1,680,694 คน
ตามข้อมูลศูนย์วิจัย Pew Research Center เมื่อปี 2009 จำนวนของชาวมุสลิมในประเทศกัมพูชามีจำนวน 236,000 คน หรือ 1.6% ของประชากรทั้งหมดของประเทศ อย่างไรก็ตามตามที่ประธานสภานักศึกษามุสลิมกัมพูชาซอและฮ์ อารีฟีน กล่าวว่าจำนวนประชากรมุสลิมในประเทศอยู่ที่ประมาณ 5% ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายจากจำปาและมลายูที่เป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศกัมพูชา ในขณะที่ทางเว็บไซต์ voa-islam ระบุว่ามีจำนวนที่สูงกว่านั้น มีมากถึง 6% ของประชากรทั้งหมดของประเทศกัมพูชา 11,400,000 คน หรือประมาณ 680,000 คน
ประวัติความเป็นมาของศาสนาอิสลามในประเทศกัมพูชา
ศาสนาอิสลามมิอาจหลีกเลี่ยงกับการเติบโตอย่างคู่ขนานกับการรุ่งเรื่องของราชอาณาจักรจำปา ถึงแม้ว่าข้อมูลทางประวัติศาสตร์จะเห็นว่าอาณาจักรจำปาในอดีตมีอิทธิพลอยู่ในบริเวณของประเทศเวียดนามในปัจจุบันที่อยู่ทางทิศตะวันออกของกัมพูชา คงไม่อาจที่จะปฏิเสธได้ว่าความสัมพันธ์ทั้งสองราชอาณาจักรแห่งนี้และผู้คนของทั้งสองประเทศที่มีความชิดใกล้อย่างมาก และในประวัติศาสตร์ศาสนาอิสลามในประเทศกัมพูชาไม่สามารถที่จะแยกออกจากประวัติศาสตร์ความยิ่งใหญ่ของศาสนาอิสลามจำปาได้ที่มีศูนย์กลางอยู่ในเวียดนาม
ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรทั้งสองมีการปฏิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นอย่างมาก จนต่อมาอิทธิพลราชอาณาจักรจำปาเริ่มเสื่อมลงในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 เป็นผลมาจากการถูกโจมตีจากประเทศเวียดนามและราชวงศ์เหงียน มีชาวมุสลิมกัมพูชาที่ได้อพยพไปยังประเทศกัมพูชามีจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่สถานะของอาณาจักรจำปาได้เป็นเขตปกครองตนเองภายใต้อิทธิพลของรัฐบาลเวียดนาม
มุสลิมจำปาได้รับการต้อนรับอย่างดีโดยมุสลิมในกัมพูชา บางแหล่งข้อมูลระบุว่ามีถึงมุสลิมชนชั้นสูงของอาณาจักรจำปาที่ได้อพยพหลบหนี ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งที่มีเกียรติในประเทศกัมพูชา นอกจากกลุ่มมุสลิมจากจำปาแล้ว ยังมีมุสลิมจากคาบสมุทรมลายู ทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซีย ที่ได้เดินทางอพยพสู่ประเทศกัมพูชาในช่วงสมัยของความรุ่งเรืองของอาณาจักรจำปาประมาณศตวรรษที่ 15 ชาวอาหรับกลุ่มมุสลิมผู้อพยพและชมพูทวีปในอินเดีย และตลอดจนเจ้าถิ่นเองที่ได้เปลี่ยนเข้ามารับอิสลามที่ได้กลายเป็นชุมชนชาวมุสลิมในประเทศกัมพูชาจนถึงวันนี้ พวกเขาจะอยู่อย่างกระจัดกระจายทั่วประเทศกัมพูชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามแนวลุ่มแม่น้ำโขง มุสลิมกัมพูชาส่วนใหญ่จะทำงานค้าขาย การเกษตร และการประมง
มัสยิดนูรุลอิฮซาน (Nurul Ikhsan) หรือที่รู้จักกันดีในฐานะมัสยิดเมืองดูไบแห่งกรุงพนมเปญ |
ก่อนที่จะเกิดโศกนาฏกรรมของการสังหารหมู่โดยกลุ่มเขมรแดงในปี 1975 ที่มีชาวมุสลิมประมาณ 150,000-200,000 คนในประเทศกัมพูชาเสียชีวิต บางแหล่งข้อมูลระบุว่าสูงถึง 700,000 คนในปี 1962 ที่มีมัสยิดอยู่ประมาณ 100 แห่ง และเพิ่มขึ้นในปี 1975 เป็นจำนวน 120 แห่ง สุเหร่าจำนวน 200 หลัง และโรงเรียนจำนวน 300 แห่ง และโรงเรียนท่องจำอัลกุรอาน เช่นเดียวกับครูศาสนาหลายร้อยคน ซึ่งครูหลายๆ คนส่วนใหญ่จบการศึกษาในประเทศมาเลเซียและมหาวิทยาลัยอิสลามที่ไคโรที่อินเดีย และมาดินะฮ์
พวกเขาได้ก่อร่างสร้างชุมชนมุสลิมกัมพูชาภายใต้การพยายามของทั้งสี่เสาหลักผู้นำมุสลิม ในขณะที่ผู้นำมุสลิมในแต่ละหมู่บ้านนำโดยผู้พิพากษาและนักการศาสนาทั้งหลายและโต๊ะลือบัย ซึ่งบุคคลทั้งสี่กลุ่มดังกล่าว ฝ่ายผู้พิพากษาได้ดำรงตำแหน่งเป็นส่วนหนึ่งของข้าราชการของรัฐบาลกัมพูชาและยังได้รับการเรียนเชิญให้เข้าร่วมในงานต่างๆ ของรัฐที่จัดขึ้น อย่างเป็นทางการโดยรัฐบาล
เมื่อกัมพูชาได้รับเอกราชจากรัฐบาลฝรั่งเศสเมื่อปี 1953 ชุมชนมุสลิมได้อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสภาและสมาชิกภาพทั้งห้าฝ่าย ที่ประกอบด้วยผู้แทนของแต่ละชุมชนมุสลิมที่มีบทบาทหน้าที่อย่างเป็นทางการที่มีความผูกพันกับชุมชนมุสลิมอื่นๆ แต่ละชุมชนมุสลิมจะมีผู้พิพากษาของตนที่ทำหน้าที่บริหารมัสยิดของแต่ละชุมชน นอกจากนี้เขายังทำหน้าที่เป็นอิหม่ามของแต่ละมัสยิดอีกด้วย กิจกรรมของอิสลามต่างๆ ของชาวมุสลิมในกัมพูชามีศูนย์กลางอยู่ Chrouy Changvar ใกล้กับกรุงพนมเปญ ซึ่งเป็นสถานที่อยู่อาศัยของผู้นำมุสลิมระดับสูงของกัมพูชาในเวลาเดียวกัน
ในแต่ละปีชาวมุสลิมจำปาบางส่วน จะเดินทางไปยังรัฐกลันตันประเทศมาเลเซียเพื่อศึกษาอัลกุรอาน และทุกๆ ปี พวกเขาจะเดินทางไปแสวงบุญที่นครเมกกะ จนเมื่อปี 1950 คิดเป็นร้อยละ 7 % ของมุสลิมจำปาในประเทศกัมพูชา ได้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ และในชีวิตประจำวันของพวกเขาจะโพกผ้าสาระบั่นหรือหมวกสีขาว เพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงเคยไปทำฮัจญ์มาแล้ว
ที่มา http://bujangmasjid.blogspot.com/, http://www.fatonionline.com/
#ประวัติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น