product :

วันพุธที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2561

การเข้ามาของศาสนาอิสลามในประเทศกัมพูชา

การเข้ามาของศาสนาอิสลามในประเทศกัมพูชา

(อับดุลเลาะ วันอะฮ์หมัด)



ประเทศกัมพูชาหรือคัมโบเดีย (Cambodia) เป็นประเทศหนึ่งในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่ปกครองด้วยระบบกษัตริย์ เป็นผู้สืบรัชบัลลังก์ตั้งแต่สมัยอาณาจักรเขมรที่เคยแผ่ปกครองทั่วคาบสมุทรอินโดจีนระหว่างศตวรรษที่ 11 และ 14 ประเทศกัมพูชาได้รับเอกราชจากรัฐบาลฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายนปี 1953 โดยรัฐบาลฝรั่งเศสได้เข้ามาปกครองกัมพูชาตั้งแต่ปี 1863 และได้ผนวกเป็นส่วนหนึ่งของรัฐอาณานิคมของฝรั่งเศสแห่งอินโดจีน (French Indochina) รวมทั้งประเทศลาวและเวียดนาม นับแต่นั้นเป็นต้นมาประเทศกัมพูชาได้กลายเป็นประเทศที่ปกครองโดยระบอบกษัตริย์องค์แรกของพระบาทสมเด็จพระนโรดม สีหนุ

เมืองหลวงของกัมพูชาคือกรุงพนมเปญ เป็นศูนย์กลางของประเทศกัมพูชาในปัจจุบัน ปกครองโดยสมเด็จพระนโรดมสีหมุนี ซึ่งเป็นโอรสในสมเด็จพระนโรดมสีหนุ ในขณะที่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรียังคงดำรงตำแหน่งโดยท่านฮุนเซน จนถึงปัจจุบัน และเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 1998 ประเทศกัมพูชาได้เข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มอาเซียนสิบประเทศ ในทางภูมิศาสตร์แล้วประเทศกัมพูชามีชายแดนติดกับประเทศไทยทางด้านทิศตะวันตก ในภาคเหนือติดกับประเทศลาว ส่วนทิศตะวันออกติดกับประเทศเวียดนาม และด้านทิศใต้ติดกับทะเลอ่าวไทยและแม่น้ำโขง

เมื่อปี 2011 กัมพูชาได้มีปัญหาความขัดแย้งกับรัฐบาลไทยในบริเวณข้อพิพาทรอบๆ ปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งความขัดแย้งเรื่องข้อพิพาทของทั้งสองประเทศนี้ ได้เริ่มขึ้นเมื่อปี 1962 เมื่อศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้ตัดสินให้ปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา แต่ความขัดแย้งไม่ได้หยุดอยู่เพียงแค่นั้น จนเมื่อปี 2011 ได้เกิดการปะทะกันขึ้นระหว่างกองกำลังของทั้งสองประเทศซึ่งเป็นสิ่งที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ทำให้กลายเป็นจุดสนใจของหลายๆ ฝ่าย จนการสู้รบได้ยุติลง แต่ทางกัมพูชาได้ปิดกั้นทางขึ้นสู่เขาพระวิหารจากฝั่งไทย

มัสยิดอันนิกมะฮ์โปติน (An-Nikmah Potiin) ที่กำปงจาม

ชาวไทยและชาวกัมพูชามีจุดกำเนิดอันเดียวกัน ทั้งสองประเทศนี้ต่างอ้างว่าเป็นการสืบเชื้อสายจากอาณาจักรเขมรเหมือนกัน ที่ในช่วงเริ่มแรกในช่วงการสถาปนาอาณาจักรในแผ่นดินลาวทางภาคเหนือราวๆ ปี ค.ศ. 657 โดยพระเจ้าชัยวรมันที่หนึ่ง จนต่อมาได้แผ่อิทธิพลครอบคลุมเกือบทั้งคาบสมุทรของอินโดจีนไปจนถึงบางส่วนของภาคเหนือของประเทศมาเลเซีย ปราสาทเขาพระวิหารที่กล่าวข้างต้น ถือเป็นหนึ่งในมรดกในยุคที่อาณาจักรเขมรมีความรุ่งเรือง ประมาณ 95% ของประชากรกัมพูชาเป็นผู้ที่สืบเชื้อสายเขมรมารุ่นสู่รุ่นที่นับถือพระพุทธศาสนานิกายเถรวาท เช่นเดียวกับประชากรส่วนใหญ่ของไทย ลาว และเวียดนาม

พุทธศาสนานิกายเถรวาทได้กลายเป็นศาสนาประจำชาติของประเทศกัมพูชานับตั้งแต่ศตวรรษที่ 13 ยกเว้นในช่วงของการปกครองในยุคเขมรแดงเท่านั้น ศาสนาพุทธได้รับการยอมรับนับถือโดยคนส่วนใหญ่ของกัมพูชานับตั้งแต่ศตวรรษที่ 5 และมีบางแหล่งข้อมูลที่กล่าวว่ามีการนับถืออย่างแพร่หลายมาก่อนหน้านั้นด้วยซ้ำ แต่ในจำนวนประชากรส่วนใหญ่ที่นับถือศาสนาพุทธยังพบว่ามีชุมชนมุสลิมประมาณครึ่งล้านคน มีบางข้อมูลระบุว่าอาจมีจำนวนที่มากกว่านั้น

อิสลามในประเทศกัมพูชา


ตามการรายงานของสำนักซีไอเอโลก (CIA World Fact Book) เมื่อปี 1999 ประชากรมุสลิมในประเทศกัมพูชามีจำนวนถึง 2.1% ของประชากรทั้งประเทศ และเมื่อปี 2008 มีประมาณ 321,000 คน ที่เป็นชาวมุสลิมในประเทศกัมพูชา ชาวมุสลิมส่วนใหญ่ในประเทศกัมพูชาเป็นมุสลิมสายซุนนีย์มัซฮับชาฟีอีย์ ที่ส่วนใหญ่จะอาศัยอยู่ในจังหวัดกำปงจาม ที่มีพื้นที่ 9,799 กิโลเมตร และมีประชากรอาศัยอยู่ประมาณ 1,680,694 คน

ตามข้อมูลศูนย์วิจัย Pew Research Center เมื่อปี 2009 จำนวนของชาวมุสลิมในประเทศกัมพูชามีจำนวน 236,000 คน หรือ 1.6% ของประชากรทั้งหมดของประเทศ อย่างไรก็ตามตามที่ประธานสภานักศึกษามุสลิมกัมพูชาซอและฮ์ อารีฟีน กล่าวว่าจำนวนประชากรมุสลิมในประเทศอยู่ที่ประมาณ 5% ซึ่งส่วนใหญ่มีเชื้อสายจากจำปาและมลายูที่เป็นชนกลุ่มน้อยในประเทศกัมพูชา ในขณะที่ทางเว็บไซต์ voa-islam ระบุว่ามีจำนวนที่สูงกว่านั้น มีมากถึง 6% ของประชากรทั้งหมดของประเทศกัมพูชา 11,400,000 คน หรือประมาณ 680,000 คน

ประวัติความเป็นมาของศาสนาอิสลามในประเทศกัมพูชา


ศาสนาอิสลามมิอาจหลีกเลี่ยงกับการเติบโตอย่างคู่ขนานกับการรุ่งเรื่องของราชอาณาจักรจำปา ถึงแม้ว่าข้อมูลทางประวัติศาสตร์จะเห็นว่าอาณาจักรจำปาในอดีตมีอิทธิพลอยู่ในบริเวณของประเทศเวียดนามในปัจจุบันที่อยู่ทางทิศตะวันออกของกัมพูชา คงไม่อาจที่จะปฏิเสธได้ว่าความสัมพันธ์ทั้งสองราชอาณาจักรแห่งนี้และผู้คนของทั้งสองประเทศที่มีความชิดใกล้อย่างมาก และในประวัติศาสตร์ศาสนาอิสลามในประเทศกัมพูชาไม่สามารถที่จะแยกออกจากประวัติศาสตร์ความยิ่งใหญ่ของศาสนาอิสลามจำปาได้ที่มีศูนย์กลางอยู่ในเวียดนาม

ความสัมพันธ์ระหว่างอาณาจักรทั้งสองมีการปฏิสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นอย่างมาก จนต่อมาอิทธิพลราชอาณาจักรจำปาเริ่มเสื่อมลงในช่วงปลายศตวรรษที่ 17 เป็นผลมาจากการถูกโจมตีจากประเทศเวียดนามและราชวงศ์เหงียน มีชาวมุสลิมกัมพูชาที่ได้อพยพไปยังประเทศกัมพูชามีจำนวนมาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงที่สถานะของอาณาจักรจำปาได้เป็นเขตปกครองตนเองภายใต้อิทธิพลของรัฐบาลเวียดนาม

มุสลิมจำปาได้รับการต้อนรับอย่างดีโดยมุสลิมในกัมพูชา บางแหล่งข้อมูลระบุว่ามีถึงมุสลิมชนชั้นสูงของอาณาจักรจำปาที่ได้อพยพหลบหนี ซึ่งต่อมาได้ดำรงตำแหน่งที่มีเกียรติในประเทศกัมพูชา นอกจากกลุ่มมุสลิมจากจำปาแล้ว ยังมีมุสลิมจากคาบสมุทรมลายู ทั้งมาเลเซีย อินโดนีเซีย ที่ได้เดินทางอพยพสู่ประเทศกัมพูชาในช่วงสมัยของความรุ่งเรืองของอาณาจักรจำปาประมาณศตวรรษที่ 15 ชาวอาหรับกลุ่มมุสลิมผู้อพยพและชมพูทวีปในอินเดีย และตลอดจนเจ้าถิ่นเองที่ได้เปลี่ยนเข้ามารับอิสลามที่ได้กลายเป็นชุมชนชาวมุสลิมในประเทศกัมพูชาจนถึงวันนี้ พวกเขาจะอยู่อย่างกระจัดกระจายทั่วประเทศกัมพูชาโดยเฉพาะอย่างยิ่งตามแนวลุ่มแม่น้ำโขง มุสลิมกัมพูชาส่วนใหญ่จะทำงานค้าขาย การเกษตร และการประมง

มัสยิดนูรุลอิฮซาน (Nurul Ikhsan) หรือที่รู้จักกันดีในฐานะมัสยิดเมืองดูไบแห่งกรุงพนมเปญ

ก่อนที่จะเกิดโศกนาฏกรรมของการสังหารหมู่โดยกลุ่มเขมรแดงในปี 1975 ที่มีชาวมุสลิมประมาณ 150,000-200,000 คนในประเทศกัมพูชาเสียชีวิต บางแหล่งข้อมูลระบุว่าสูงถึง 700,000 คนในปี 1962 ที่มีมัสยิดอยู่ประมาณ 100 แห่ง และเพิ่มขึ้นในปี 1975 เป็นจำนวน 120 แห่ง สุเหร่าจำนวน 200 หลัง และโรงเรียนจำนวน 300 แห่ง และโรงเรียนท่องจำอัลกุรอาน เช่นเดียวกับครูศาสนาหลายร้อยคน ซึ่งครูหลายๆ คนส่วนใหญ่จบการศึกษาในประเทศมาเลเซียและมหาวิทยาลัยอิสลามที่ไคโรที่อินเดีย และมาดินะฮ์

พวกเขาได้ก่อร่างสร้างชุมชนมุสลิมกัมพูชาภายใต้การพยายามของทั้งสี่เสาหลักผู้นำมุสลิม ในขณะที่ผู้นำมุสลิมในแต่ละหมู่บ้านนำโดยผู้พิพากษาและนักการศาสนาทั้งหลายและโต๊ะลือบัย ซึ่งบุคคลทั้งสี่กลุ่มดังกล่าว ฝ่ายผู้พิพากษาได้ดำรงตำแหน่งเป็นส่วนหนึ่งของข้าราชการของรัฐบาลกัมพูชาและยังได้รับการเรียนเชิญให้เข้าร่วมในงานต่างๆ ของรัฐที่จัดขึ้น อย่างเป็นทางการโดยรัฐบาล

เมื่อกัมพูชาได้รับเอกราชจากรัฐบาลฝรั่งเศสเมื่อปี 1953 ชุมชนมุสลิมได้อยู่ภายใต้การควบคุมดูแลของสภาและสมาชิกภาพทั้งห้าฝ่าย ที่ประกอบด้วยผู้แทนของแต่ละชุมชนมุสลิมที่มีบทบาทหน้าที่อย่างเป็นทางการที่มีความผูกพันกับชุมชนมุสลิมอื่นๆ แต่ละชุมชนมุสลิมจะมีผู้พิพากษาของตนที่ทำหน้าที่บริหารมัสยิดของแต่ละชุมชน นอกจากนี้เขายังทำหน้าที่เป็นอิหม่ามของแต่ละมัสยิดอีกด้วย กิจกรรมของอิสลามต่างๆ ของชาวมุสลิมในกัมพูชามีศูนย์กลางอยู่ Chrouy Changvar ใกล้กับกรุงพนมเปญ ซึ่งเป็นสถานที่อยู่อาศัยของผู้นำมุสลิมระดับสูงของกัมพูชาในเวลาเดียวกัน

ในแต่ละปีชาวมุสลิมจำปาบางส่วน จะเดินทางไปยังรัฐกลันตันประเทศมาเลเซียเพื่อศึกษาอัลกุรอาน และทุกๆ ปี พวกเขาจะเดินทางไปแสวงบุญที่นครเมกกะ จนเมื่อปี 1950 คิดเป็นร้อยละ 7 % ของมุสลิมจำปาในประเทศกัมพูชา ได้เดินทางไปประกอบพิธีฮัจย์ และในชีวิตประจำวันของพวกเขาจะโพกผ้าสาระบั่นหรือหมวกสีขาว เพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่บ่งบอกถึงเคยไปทำฮัจญ์มาแล้ว

ที่มา http://bujangmasjid.blogspot.com/http://www.fatonionline.com/

#ประชาชาติอิสลาม_Islamic_Society_Online
#ประวัติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "การเข้ามาของศาสนาอิสลามในประเทศกัมพูชา"

วันอังคารที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2561

ราชวงศ์และอาณาจักรในประวัติศาสตร์อิสลาม

ราชวงศ์และอาณาจักรในประวัติศาสตร์อิสลาม




1. ราชวงศ์อัลอุม่าวียะฮ์ (اﻷُمَوِيُّوْنَ )


บรรดาค่อลีฟะฮฺมุสลิมจากวงศ์อุมัยยะฮฺ (بَنُوْأُمَيَّةَ ) มีอำนาจปกครองระหว่างปี ฮ.ศ.40-132 / คศ.661-750 , ค่อลีฟะฮฺ ท่านแรกคือ มุอาวียะฮฺ อิบนุ อบีซุฟยาน และคนสุดท้ายคือ ค่อลีฟะฮฺ มัรวานที่ 2, มีนครดามัสกัส เป็นราชธานี, พวกวงศ์อับบาซียะฮฺ สามารถปราบปรามราชวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺลงได้,

พวกอัลอุม่าวียะฮฺจึงย้ายฐานอำนาจของพวกตนไปยังอัลอันดะลุส (เอ็นดะลูเซีย, สเปน) และมีอำนาจปกครองในนครกุรฏุบะฮฺ (โคโดบาฮฺ) ในระหว่างปี ฮ.ศ.138-422 / คศ.756-1031, มีอับดุรเราะฮฺมาน อัดดาคิลเป็นผู้ปกครองคนแรก, พวกกษัตริย์ในรัฐอิสระได้ประกาศยุบเลิกราชวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺแห่งนครโคโดบาฮฺ ในปี ฮ.ศ.422 / คศ.103

ราชวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺในแคว้นชาม (นครดามัสกัส)

  1. มุอาวียะฮฺที่ 1 (ฮ.ศ.41 / คศ.661)
  2. ยะซีดที่ 1 (ฮ.ศ.60 / คศ.680)
  3. มุอาวียะฮฺที่ 2 (ฮ.ศ.64 / คศ.683)
  4. มัรวานที่ 1 (ฮ.ศ.64 / คศ.683)
  5. อับดุลม่าลิก (ฮ.ศ.65 / คศ.685)
  6. อัลวะลีด (ฮ.ศ.86 / คศ.705)
  7. สุลัยมาน (ฮ.ศ.96 / คศ.715)
  8. อุมัรที่ 2 (ฮ.ศ.99 / คศ.717)
  9. ยะซีดที่ 2 (ฮ.ศ.101 / คศ.720)
  10. ฮิชาม (ฮ.ศ.105 / คศ.720)
  11. อัลวะลีดที่ 2 (ฮ.ศ.125 / คศ.743)
  12. ยะซีดที่ 3 (ฮ.ศ.126 / คศ.744)
  13. อิบรอฮีม (ฮ.ศ.126 / คศ.744)
  14. มัรวานที่ 2 (ฮ.ศ.127-132 / คศ.744-750)


ราชวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺในอัลอันดะลุส (นครโคโดบาฮฺ)

  1. อับดุรเราะห์มานที่ 1 (อัดดาคิ) (ฮ.ศ.138-172/คศ.756-788)
  2. ฮิชามที่ 1 (ฮ.ศ.172-180 / คศ.788-796)
  3. อัลฮะกัมที่ 1 (ฮ.ศ.180-207 / คศ.796-822)
  4. อับดุรเราะห์มานที่ 2 (ฮ.ศ.207-238 / คศ.822-852)
  5. มุฮำมัดที่ 1 (ฮ.ศ.238-275 / คศ.852-886)
  6. อัลมุนซิรฺ (ฮ.ศ.273-275 / คศ.886-888)
  7. อับดุลเลาะห์ (ฮ.ศ.275-299 / คศ.888-912)
  8. อับดุรเราะห์มานที่ 3 (อันนาซิร ลิ ดีนิลลาฮฺ) (ฮ.ศ.299-350 / คศ.912-961)
  9. อัลฮะกัมที่ 2 (อัลมุสตันซิร บิลลาฮฺ) (ฮ.ศ.350-365 / คศ.961-976)
  10. ฮิชามที่ 2 (อัลมุ่อัยยิด บิลลาฮฺ) (ฮ.ศ.366-399 / คศ.976/1009)
  11. มุฮำมัดที่ 2 (อัลมะฮฺดีย์) (ฮ.ศ.399
  12. สุลัยมาน (อัลมุสตะอีน บิลลาฮฺ) (ฮ.ศ.399-403 / คศ.1009-1013)
  13. อับดุรเราะห์มานที่ 4 (อัลมุรฺตะฎอ) (ฮ.ศ.408 / คศ.1018)
  14. อับดุรเราะห์มานที่ 5 (อัลมุสตัซฺฮิรฺ บิลลาฮฺ) (ฮ.ศ.414 / คศ.1023-1024)
  15. มุฮำมัดที่ 3 (อัลมุสตักฟี บิลลาฮฺ) (ฮ.ศ.414-416 / คศ.1023-1025)
  16. ฮิชามที่ 3 (อัลมุอฺตะมัด บิลลาฮฺ) (ฮ.ศ.420-422 / คศ.1029-1031)


2. ราชวงศ์อัลอับบาซียะฮฺ (اَلْعَبَّاسِِِِيُّوْنَ)


ราชวงศ์ที่สืบทอดการปกครองในระบอบคิลาฟะฮฺภายหลังการล่มสลายของราชวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺในนครดามัสกัส, มีอำนาจอยู่ระหว่างปี ฮ.ศ.132-656 / คศ.750-1259, สืบเชื้อสายถึงท่านอัลอับบ๊าส ลุงของท่านศาสดามุฮำมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) มีธงสีดำเป็นสัญลักษณ์ รัฐคิลาฟะฮฺแห่งอิสลามได้บรรลุถึงความเจริญสุดขีดในรัชสมัยของพวกอับบาซียะฮฺ

การปฏิวัติลุกฮือของพวกอัลอับบาซียะฮฺได้เริ่มขึ้นในแคว้นคุรอซาน ภายใต้การนำของอบูมุสลิม อัลคุรอซานีย์หลังจากมีการเรียกร้องอย่างลับ ๆ อยู่ราวครึ่งศตวรรษ ในปี ฮ.ศ.130 / คศ.748 ค่อลีฟะฮฺท่านแรกของราชวงศ์คือ อบุลอับบ๊าส อัซฺซัฟฟาฮฺ ซึ่งถูกให้สัตยาบันในมัสญิดแห่งนครอัลกูฟะฮฺ และสามารถสร้างความปราชัยแก่พวกวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺ โดยค่อลีฟะฮฺมัรวานที่ 2 ค่อลีฟะฮฺคนสุดท้ายของราชวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺได้ถูกสังหาร และอับดุรเราะฮฺมาน อัดดาคิลสามารถหลบหนีไปยังแคว้นอัลอันดะลุส

ต่อมาค่อลีฟะฮฺอัลมันซู๊รได้สืบอำนาจต่อจากอัซซัฟฟาฮฺ และปราบปรามการจลาจลวุ่นวายจนสามารถสร้างเสถียรภาพให้แก่ราชวงศ์อัลอับบาซียะฮฺ ในเวลาต่อมา ค่อลีฟะฮฺอัลมันซุ๊รได้สร้างนครแบกแดดขึ้นเป็นราชธานี

นครแบกแดดได้กลายเป็นนครแห่งอารยธรรมอันเจริญรุ่งเรืองทั้งในด้านวรรณกรรมและสรรพวิทยาตลอดช่วงระยะเวลาหลายศตวรรษในยุคกลาง, มีบรรดาค่อลีฟะฮฺที่เลื่องลือหลายท่าน อาทิเช่น ฮารูน อัรร่อชีดฺ ซึ่งต่างก็อุปถัมภ์บรรดานักปราชญ์ นักกวีเป็นจำนวนมาก

ต่อมาค่อลีฟะฮฺอัลมุอฺตะซิม บิลลาฮฺ ได้สร้างนครซามัรรออฺขึ้นเป็นราชธานีแห่งใหม่ในระหว่างปี คศ.836-892 จนกระทั่งคอลีฟะฮฺอัลมุอฺตะมิด บิลลาฮฺ ได้ย้ายราชธานีกลับมายังนครแบกแดดอีกครั้ง ภายหลังการลอบสังหารค่อลีฟะฮฺอัลมุตะวักกิล บิลลาฮฺ ในปี ฮ.ศ.247 / คศ.861

พวกเติร์กที่เป็นแม่ทัพก็เข้ามามีอิทธิพลเหนือบรรดาค่อลีฟะฮฺตลอดช่วงเวลาราว 1 ศตวรรษ ทำให้อาณาจักรอัลอับบาซียะฮฺอ่อนแอลง และเป็นผลทำให้มีรัฐอิสระเกิดขึ้นเป็นอันมาก อาทิเช่น พวกฏูลูนียะฮฺ, พวกอัลอิคฺชีดียะฮฺ และพวกอัลฟาฏีมียะฮฺ ซึ่งซ่อลาฮุดดีน อัลอัยยูบีย์ได้ยุบเลิกราชวงศ์ของพวกเขาลง และพวกอัลฮัมดานียะฮฺในนครฮะลับ (อเล็ปโป)

ต่อมาในปี ฮ.ศ.334 / คศ.945 พวกอัลบุวัยฺฮียูนฺได้เข้ามายึดครองนครแบกแดดเอาไว้ ทำให้บรรดาค่อลีฟะฮฺในราชวงศ์อัลอับบาซียะฮฺกลายเป็นเครื่องเล่นของพวกเขา ในปี ฮ.ศ.447 / คศ.1055 ตุฆรุ้ล เบก อัซซัลฺจูกีย์ได้เข้ายึดครองนครแบกแดดและประกาศการสิ้นสุดอำนาจของพวกอัลบูวัยฮียูน พวกมองโกลได้รุกรานและเข้าทำลายนครแบกแดด โดยฮูลากูได้สังหารค่อลีฟะฮฺ อัลมุซตะอฺซิม บิลลาฮฺ ซึ่งทำให้ราชวงศ์อัลอับบาซียะฮฺสิ้นสุดลง

บรรดาค่อลีฟะฮฺในราชวงศ์อัลอับบาซียะฮฺ

  1. อัซฺซัฟฺฟาฮฺ (ฮ.ศ.132/คศ.750)
  2. อัลมันซูร (ฮ.ศ.136/คศ.754)
  3. อัลมะฮฺดีย์ (ฮ.ศ.158/คศ.775)
  4. อัลฮาดีย์ (ฮ.ศ.169/คศ.785)
  5. ฮารูน อัรร่อชีด (ฮ.ศ.170/คศ.786)
  6. อัลอะมีน (ฮ.ศ.193/คศ.809)
  7. อัลมะอฺมูน (ฮ.ศ.198/คศ.813)
  8. อัลมุอฺตะซิม (ฮ.ศ.218/คศ.833)
  9. อัลฺวาซิก (ฮ.ศ.227/คศ.842)
  10. อัลมุตะวักกิล (ฮ.ศ.232/คศ.847)
  11. อัลมุนตะซิรฺ (ฮ.ศ.247/คศ.861)
  12. อัลมุสตะอีน (ฮ.ศ.248/คศ.862)
  13. อัลมุอฺตัซฺซุ (ฮ.ศ.252/คศ.866)
  14. อัลมุฮฺตะดีย์ (ฮ.ศ.255/คศ.869)
  15. อัลมุอฺตะมิด (ฮ.ศ.256/คศ.870)
  16. อัลมุอฺตะฎิด (ฮ.ศ.279/คศ.892)
  17. อัลมุกตะฟีย์ (ฮ.ศ.289/คศ.902)
  18. อัลมุกตะดิรฺ (ฮ.ศ.295/คศ.908)
  19. อัลกอฮิรฺ (ฮ.ศ.320/คศ.932)
  20. อัรรอฎีย์ (ฮ.ศ.322/คศ.934)
  21. อัลมุตตะกีย์ (ฮ.ศ.329/คศ.940)
  22. อัลมุสตักฟีย์ (ฮ.ศ.333/คศ.944)
  23. อัลมุฏีอฺ (ฮ.ศ.334/คศ.946)
  24. อัฏฏออิอฺ (ฮ.ศ.363/คศ.974)
  25. อัลกอดิรฺ (ฮ.ศ.381/คศ.991)
  26. อัลกออิมฺ (ฮ.ศ.422/คศ.1031)
  27. อัลมุกตะดีย์ (ฮ.ศ.467/คศ.1075)
  28. อัลมุสตัซฮิรฺ (ฮ.ศ.487/คศ.1094)
  29. อัลมุซตัรฺชิดฺ (ฮ.ศ.512/คศ.1118)
  30. อัรรอชิดฺ (ฮ.ศ.529/คศ.1135)
  31. อัลมุกตะฟีย์ (ฮ.ศ.530/คศ.1136)
  32. อัลมุสตันญิด (ฮ.ศ.555/คศ.1160)
  33. อัลมุซตะฎีอฺ (ฮ.ศ.566/คศ.1170)
  34. อันนาซิรฺ (ฮ.ศ.575/คศ.1180)
  35. อัซซอฮิรฺ (ฮ.ศ.622/คศ.1225)
  36. อัลมุสตันซิรฺ (ฮ.ศ.623/คศ.1226)
  37. อัลมุสตะอฺซิม (ฮ.ศ.640-656/คศ.1242-1258)


3. ราชวงศ์อัรฺรุสตุมียูน (اَلرُّسْتُمِيُّوْنَ)


ราชวงศ์อัรฺรุสตุมียูน (ปีฮ.ศ.144-296/คศ.761-908) เป็นอาณาจักรของพวกค่อวาริจญ์กลุ่มอัลอิบาฎียะฮฺ, สถาปนาโดยอับดุรเราะฮฺมาน อิบนุ รุสตุม ในแอฟริกาเหนือ มีเมืองตาฮัรฺต์เป็นราชธานี
เมืองตาฮัรฺต์ เป็นเมืองโบราณในแอลจีเรียและเคยเป็นราชธานีของพวกอัรรุสฺตุมียูน (คศ.761-908) ถูกพวกอัลฟาฏีมียะฮฺทำลายลงในปี คศ.911 ซากปรักหักพังของนครแห่งนี้อยู่ทางทิศตะวันออกของเมืองติยาร็อต

พวกค่อวาริจญ์ (اَلْخَوَارِجُ ) เป็นกลุ่มลัทธิในอิสลามที่เก่าแก่ที่สุดกลุ่มหนึ่ง พวกนี้ได้ก่อการกบฏต่อท่านค่อลีฟะฮฺอะลี อิบนุ อบีตอลิบ (ร.ฎ.) เนื่องจากท่านค่อลีฟะฮฺอะลี (ร.ฎ.) ได้ยอมรับการตัดสินภายหลังสมรภูมิซิฟฟีนฺ พวกค่อวาริจญ์ได้ตั้งค่ายชุมนุมในตำบลฮะเรารออฺ ใกล้ ๆ กับนครอัลกูฟะฮฺ ท่านค่อลีฟะฮฺอะลี (ร.ฎ.) ได้ปราบปรามพวกค่อวาริจญ์ในเขตอันนะฮฺร่อวานฺ ใกล้กับนครแบกแดดจนพวกค่อวาริจญ์แตกพ่าย ต่อมาอิบนุ มัลญัมฺ หนึ่งจากพวกค่อวาริจญ์ก็ลอบสังหารท่านค่อลีฟะฮฺอะลี (ร.ฎ.)

ส่วนหนึ่งจากผู้นำที่โด่งดังของพวกค่อวาริจญ์คือ อัฎเฎาะฮฺฮ๊าก อิบนุ ก็อยฺซ อัชฺชัยฺบานีย์ และกอฏ่อรีย์ อิบนุ ฟุญาอะฮฺ พวกค่อวาริจญ์ได้แตกออกเป็นกลุ่มต่างๆ มากมาย ที่สำคัญได้แก่ พวกอัลอิบาฎียะฮฺ, อัลอะซาริเกาะฮฺ และอัซซุฟรียะฮฺ การเรียกร้องเชิญชวนของพวกค่อวาริจญ์ได้รับการตอบรับอย่างแพร่หลายในหมู่ชนชาติเบอร์เบอร์ในแอฟริกา ส่วนหนึ่งมีอำนาจปกครองในเขตตะวันตกของโลกอิสลาม (แอฟริกาเหนือ) คือ พวกอัรรุสตุมี่ยูน ซึ่งเป็นกลุ่มอัล-อิบาฎียะฮฺ

อัลอิบาฎียะฮฺ (اَلإِبَاضِيَّةُ ) เป็นกลุ่มหนึ่งจากพวกค่อวาริจญ์สืบถึงอับดุลลอฮฺ อิบนุ อิบ๊าฎ, พวกอัลอิบาฎียะฮฺได้ก่อการลุกฮือและกบฏต่อบรรดาค่อลีฟะฮฺอยู่หลายครั้ง ที่สำคัญคือ การลุกฮือของอับดุลลอฮฺ อิบนุ ยะฮฺยา ในปีฮ.ศ.129 / คศ.747

พวกอัลอิบาฎียะฮฺได้แผ่อิทธิพลของพวกตนเหนือยะมันและแคว้นฮัฎร่อเมาวฺต์ และก่อการกบฏต่อพวกอับบาซียะฮฺในโอมาน ค่อลีฟะฮฺ อัซฺซัฟฟาฮฺได้ปราบปรามพวกนี้แต่ก็ไม่สามารถกำจัดขบวนการทางความคิดและจิตวิญญาณของพวกนี้ลงได้อย่างสิ้นซาก แนวความคิดของพวกอัลอิบาฎียะฮฺได้แพร่หลายในโอมาน, ซินซิบาร์ และแอฟริกาเหนือ ซึ่งกลายเป็นลัทธิหรือนิกายของชนชาติเบอร์เบอร์และสถาปนาอาณาจักรอัรรุสตุมียะฮฺขึ้นในเวลาต่อมา

4. อัลฺอิดฺรีซียะฮฺ (اَلإِدْرِيْسِيَّةُ)


อาณาจักรอิสลามของพวกชีอะฮฺในมอรอคโค สถาปนาโดยอิดรีส อิบนุ อับดิลลาฮฺ ได้แยกเป็นรัฐอิสระจากระบอบคิลาฟะฮฺแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺและมีอำนาจปกครองดินแดนตะวันตกไกล (อัลมัฆริบ อัลอักศอ) และติลมีซานฺ ในปี ฮ.ศ.172-363 / คศ.788-974) มีนครว่าลีลีย์เป็นราชธานี ต่อมาย้ายมายังนครฟ๊าสฺ พวกอับบาซียะฮฺและอะฆอลิบะฮฺได้ต่อสู้ขับเคี่ยวกับอาณาจักรอัลอิดฺรีซียะฮฺอยู่เนือง ๆ

การแตกแยกภายในได้ทำให้อาณาจักรอัลอิดฺรีซียะฮฺอ่อนแอลงและตกอยู่ภายใต้อำนาจของพวกฟาฏีมียะฮฺ รัฐของพวกบะนู ฮัมมูดในอัลอันดะลุสก็สืบเชื้อสายมาจากอาณาจักรนี้และผลงานสำคัญของพวกอิดรีซียะฮฺก็คือ นครฟ๊าสฺ ซึ่งมีอาคารบ้านเรือนสวยงามโดยเฉพาะมัสญิดญามิอฺ อัลก่อร่อวียีน

อิดรีส อิบนุ อับดิลลาฮฺ (เสียชีวิต ฮ.ศ.177/คศ.793) อิหม่ามในสายชีอะฮฺ ผู้ก่อตั้งอาณาจักรอัลอิดรีซียะฮฺในมอรอคโค เคยก่อการกบฏต่อพวกอับบาซียะฮฺและหลบหนีออกจากแคว้นอัลฮิญาซฺพร้อมกับรอชิด บ่าวผู้รับใช้ภายหลังสมรภูมิฟัคฺคฺ (คศ.786) เดินทางผ่านอิยิปต์และไปถึงเขตตะวันตกไกล และลงพำนักในเมืองว่าลีลีย์ พวกชนเผ่าเบอร์เบอร์โดยเฉพาะก๊กเอาร่อบะฮฺได้ให้สัตยาบันแก่เขาและประกาศตั้งอาณาจักรอัลอิดรีซียะฮฺในปีคศ.788

กษัตริย์แห่งอาณาจักรอัลอิดรีซียะฮฺ

  1. อิดรีส อิบนุ อับดิลลาฮฺ (คศ.788-793)
  2. อิดรีสที่ 2 (คศ.802-828)
  3. มุฮำมัด อิบนุ อิดรีสที่ 2 (คศ.828-835)
  4. อะลีที่ 1 (คศ.835-849)
  5. ยะฮฺยาที่ 1 (คศ.849-864)
  6. ยะฮฺยาที่ 2 (คศ.864-874)
  7. อะลีที่ 2 (คศ.874-883)
  8. ยะฮฺยาที่ 3 (คศ.883-905)
  9. ยะฮฺยาที่ 4 (คศ.905-922)
  10. อัลหะซัน อัลหะญาม (คศ.922-925)
  11. อัลกอซิม กันนูนฺ (คศ.937-948)
  12. อบู อัลอัยฺช์ อิบนุ กันนูนฺ (คศ.948-959)
  13. อัลหะซัน อิบนุ กันนูนฺ (คศ.959-985)


5. ราชวงศ์อัลอะฆอลิบะฮฺ (اَلأَغَالِبَةُ )


อัลอะฆอลิบะฮฺหรือบะนู อัลอัฆฺลับฺ (بَنُوْاَلأَغْلَبِ ) เป็นตระกูลของขุนนางที่มีอำนาจในแอฟริกาเหนือ ระหว่างปี ฮ.ศ.184-296 / คศ.800-909, มีนครอัลกอยฺร่อวาน เป็นราชธานี, สถาปนาโดยอิบรอฮีมที่ 1 อิบนุ อัลอัฆฺลับ ซึ่งเป็นข้าหลวงของค่อลีฟะฮฺฮารูน อัรร่อชีด, ส่วนหนึ่งจากกษัตริย์ในราชวงศ์นี้ คือ อิบรอฮีมที่ 2 ซึ่งเข้ายึดครองซิซิลี (ซิกิลฺลียะฮฺ) มีซิยาดะตุลลอฮฺที่ 3 เป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายในราชวงศ์ พวกอะฆอลิบะฮฺถูกอบู อับดิลลาฮฺ อัชชีอีย์ (เป็นชาวชีอะฮฺ) ผู้เรียกร้องเชิญชวนของพวกฟาฏีมียะฮฺปราบปราม พวกอะฆอลิบะฮฺมีกองเรือรบขนาดใหญ่ในยุคที่พวกเขาเรืองอำนาจ

อิบรอฮีมที่ 1 อิบนุ อัลอัฆลับฺ (เสียชีวิต ฮ.ศ.196-คศ.812) ผู้สถาปนาอาณาจักรอัลอัฆละบียะฮฺในแอฟริกาเหนือ ค่อลีฟะฮฺฮารูน อัรร่อชีด ได้เคยแต่งตั้งให้อิบรอฮีมปกครองแคว้นแอฟริกาในปีคศ.800, อิบรอฮีมได้รับชัยชนะเหนือคู่แข่งของตน และพวกเบอร์เบอร์ได้ยอมสวามิภักดิ์ต่ออิบรอฮีม เป็นผู้สร้างเมืองอัลอับบาซียะฮฺและเมืองอัลก็อซฺร์ขึ้นใกล้ ๆ กับนครกอยร่อวาน

อิบรอฮีมที่ 2 อิบนุ อัลอัฆลับฺ (เสียชีวิตฮ.ศ.289/คศ.902) เป็นกษัตริย์ที่เลื่องลือที่สุดในวงศ์อัลอัฆลับในแอฟริกาเหนือ สืบทอดอำนาจต่อจากอบุลฆ่อรอฟีกฺ พี่ชายของเขาในปี คศ.875 มีอาการทางประสาทเดี๋ยวดีเดี๋ยวร้ายจนกระทั่งลุแก่อำนาจและสังหารผู้คนเป็นผักปลา ค่อลีฟะฮฺ อัลมุอฺตะฎิด แห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺจึงปลดอิบรอฮีมที่ 2 ออกจากอำนาจ อิบรอฮีมที่ 2 จึงออกเดินทางไปยังเกาะซิซิลี (ทางตอนใต้ของอิตาลี) เพราะทำศึกและญิฮาด เขาเสียชีวิตลงภายหลังการยึดครองเมืองซัรกูเซาะฮฺ (ซาราโกซ่า) ผลงานสำคัญของเขาคือ นครร็อกกอดะฮฺ ซึ่งเป็นราชธานีของอาณาจักร

เกาะซิซิลี (ซิกิลลียะฮฺ) ตกอยู่ภายใต้การปกครองของชาวอาหรับเป็นเวลา 263 ปี จนกระทั่งพ่ายแพ้ต่อพวกนอร์แมนด์ในปี คศ.1091

6. อาณาจักรอัฏฏอฮิรี่ยะฮฺ (اَلدَّوْلَةُ الطَّاهِرِيَّةُ )


อาณาจักรของวงศ์กษัตริย์ที่มีอำนาจปกครองในแคว้นคุรอซานในระหว่างปี ฮ.ศ.205-259/คศ.820-872 สถาปนาโดยตอฮิรฺ อิบนุ อัลฮุซัยน์ ซึ่งเป็นแม่ทัพคนหนึ่งของค่อลีฟะฮฺ อัลมะอฺมูนแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺ ตอฮิร ผู้นี้ได้นำทัพเข้าปราบปรามการลุกฮือของพวกค่อวาริจญ์และแยกตนเป็นอิสระในการปกครองคุรอซานและถูกลอบสังหารในปี คศ.822 ตอลฮะฮฺและอับดุลลอฮฺ บุตรชายทั้งสองของเขาได้สืบอำนาจต่อมา อาณาจักรอัฏฏอฮิรียะฮฺถูกพวกอัซซอฟฟารียะฮฺ ปราปปรามลงในเวลาต่อมา

7. อาณาจักรอัซซอฟฟารียะฮฺ (اَلدَّوْلَةُ الصَّفَّارِيَّةُ )


อาณาจักรของวงศ์กษัตริย์ที่มีอำนาจปกครองในแคว้นคุรอซานในระหว่างปีฮ.ศ.254-289/คศ.868-902, ถูกสถาปนาขึ้นบนความล่มสลายของอาณาจักรอัฏฏอฮีรียะฮฺ โดยยะอฺกู๊บ อิบนุ อัลลัยซ์ อัซซ็อฟฟ๊าร ในปี ฮ.ศ.262/คศ.876

ยะอฺกู๊บได้นำทัพบุกโจมตีนครแบกแดด แต่ถูกกองทัพของค่อลีฟะฮฺ อัลมุอฺตะมิดแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺ ภายใต้การนำของอัลมุวัฟฟัก พระอนุชาของค่อลีฟะฮฺสร้างความปราชัยในสมรภูมิดีรฺ อัลอากูล, ต่อมาอัมรฺ อิบนุ อัลลัยซ์ น้องชายของยะอฺกู๊บได้สืบทอดอำนาจต่อมาในปีคศ.879 และได้รับความโปรดปรานจากค่อลีฟะฮฺอัลมุอฺตะมิด และ อัลมุอฺตะฎิด แห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺ, ต่อมาถูกอิสมาอีล อิบนุ อะฮฺมัด อัซซะมานีย์จับกุมและส่งมอบแก่ค่อลีฟะฮฺอัลมุอฺตะฎิด ซึ่งทรงสั่งให้ประหารชีวิตอัมรฺผู้นี้ เป็นอันสิ้นสุดอำนาจของพวกอัซซอฟฟารียะฮฺ

8. วงศ์อัซซามานี่ยูน (السَّامَانِيُّوْنَ )


วงศ์กษัตริย์เชื้อสายอิหร่านที่มีอำนาจปกครองในแคว้นคุรอซานและดินแดนเบื้องหลังแม่น้ำ (เอเชียกลาง) ในระหว่างปี ฮ.ศ.261-390/คศ.874-999 มีเชื้อสายสืบถึงซามาน คุดาฮฺ (เจ้าชายอิหร่านเป็นผู้นำในตระกูลซามาน เข้ารับอิสลามและได้รับการคุ้มครองจากอะสัด อิบนุ อับดิลลาฮฺ ผู้ครองแคว้นคุรอซานในรัชสมัยฮิชาม อิบนุ อับดิลม่าลิก ค่อลีฟะฮฺแห่งราชวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺ)

หลานชายสี่คนของซามานคุดาฮฺ คือ นัวฮฺ, อะฮฺหมัด, ยะฮฺยาและอิลยาซ ได้กลายเป็นข้าหลวงของค่อลีฟะฮฺอัลมะอฺมูนแห่งอับบาซียะฮฺในการปกครองนครซะมัรกอนด์, ฟัรฆอนะฮฺ, ช๊าชและฮะรอต ตามลำดับ ต่อมาอิสมาอีล อิบนุ อะฮฺมัดได้สร้างฐานอำนาจของวงศ์ซามานในระหว่างปีคศ.892-907 และสามารถปรามปรามพวกวงศ์อัซซอฟฟารียะฮฺลงได้ มีกษัตริย์ปกครองทั้งหมด 9 องค์ มีอำนาจแผ่ครอบคลุมจดเขตแดนของอินเดียและตุรกีสถาน

กษัตริย์ที่เลื่องลือ คือ นัซรฺที่ 2, นัวฮฺที่ 1 และ 2 ในรัชสมัยของกษัตริย์ดังกล่าวมีความรุ่งเรืองทางอารยธรรม นครบุคอรอ และซามัรกอนด์ได้กลายเป็นส่วนหนึ่งจากศูนย์กลางทางวิทยาการอิสลามที่เคียงคู่กับนครแบกแดด วรรณกรรมของอิหร่านมีความตื่นตัวและได้รับการฟื้นฟูจนปรากฏชื่อของอัรรูดกีย์ อัลฟิรเดาซีย์ และ อิบนุ ซีนา

พวกซามานียูนได้ใช้ทาสพวกเติร์กในการรับราชการจนพวกเติร์กมีอำนาจมากขึ้นและการบริหารราชการได้ตกไปอยู่ในกำมือของพวกเติร์กจวบจนอัลบฺ ตะกีน อัลฆอซนะวีย์ ได้แยกตนเป็นอิสระในการปกครองและปราบปรามพวกซามานียูนจนสิ้นอำนาจไปในที่สุด

9. พวกอัลฆอซฺนะวียูน (اَلْغَزْنَوِيُّوْنَ )


วงศ์กษัตริย์จากพวกทาสชาวเติร์กที่มีอำนาจปกครองเขตภาคตะวันออกของอิหร่าน และ อัฟกานิสถาน รวมถึงแคว้นปัญจาบในระหว่างปี ฮ.ศ.351-582/คศ.962-1187 สถาปนาโดยอัลบ์ ตะกีน ซึ่งเป็นข้าราชการในวงศ์ซามานียีน และสุบุกตะกีน บุตรเขยของอัลบ์ ตะกีน ได้สร้างฐานอำนาจอย่างมั่นคงต่อมา
กษัตริย์ที่เลืองนามจากวงศ์กษัตริย์ คือ มะฮฺมูด อิบนุ สุบุกตะกีน (ยะมีน อัดเดาละฮฺ : คศ.970-1030 ; กษัตริย์องค์ที่ 3 ในวงศ์อัลฆอซฺนะวียีน (คศ.998) พิชิตนครบุคอรอและยึดครองอาณาเขตของพวกซามีนียีนในดินแดนเบื้องหลังแม่น้ำ (เอเชียกลาง) มีอำนาจแผ่ครอบคลุมถึงแคว้นปัญจาบและกุชราตฺ อุปถัมภ์และฟื้นฟูวรรณกรรมและศิลปะวิทยาการ ในรัชสมัยของพระองค์ นักกวี อัลฟิรเดาซี่ได้ประพันธ์ชาฮฺนาเม่ฮฺ) มีนครฆอซนะฮฺเป็นราชธานี และพวกอัลฆอซฺนะวียูนได้สร้างเมืองลาฮอร์ ขึ้นเป็นเมืองเอกของแคว้นปัญจาบ ต่อมาพวกอัลฆูรียูนได้ปราบปรามพวกอัลฆอซฺนะวียีนจนหมดอำนาจ

10. วงศ์อัลฆูรียูน (اَلْغُوْرِيُّوْنَ )


วงศ์กษัตริย์มุสลิมที่มีอำนาจปกครองในอัฟกานิสถานระหว่างปี ฮ.ศ.543-612/คศ.1148-1215 สืบทอดอำนาจต่อจากพวกอัลฆอซฺนะวียีนในอินเดีย อาณาจักรอิสระของพวกอัลฆูรียูนถือกำเนิดขึ้นในเขตฆูรฺ ซึ่งเต็มไปด้วยขุนเขาระหว่างเมืองฮะรอตและฆอซฺนะฮฺ, มีนครฟัยรู๊ซฺกูฮฺ เป็นราชธานี สถาปนาโดยซัยฟุดเดาละฮฺ และยึดครองนครฆอซนะฮฺได้สำเร็จ ในปีคศ.1149

ซัยฟุดเดาละฮฺถูกบะฮฺรอมชาฮฺแห่งวงศ์ฆอซฺนะวีย์สังหารอะลาลุดดีน อัลฆูรีย์ จึงแก้แค้นด้วยการเผานครฆอซฺนะฮฺ กษัตริย์องค์สุดท้ายของวงศ์ฆูรีย์ คือ มุอิซซุดดีน มุฮำมัด ซึ่งถูกคุวาริซฺม์ ชาฮฺ ปราบปราม ต่อมากุตุบุดดีน อัยบัก อดีตทาสของวงศ์ฆูรีย์ได้สถาปนาวงศ์ทาส (ม่ามาลีก) เชื้อสายเติร์กขึ้นในนครเดลฮีของอินเดีย

11. อัลอิคฺชิดียูน (اَلإِخْشِيْدِيُّوْنَ)


อาณาจักรอิสระที่สืบทอดพวกอัตตลูนียูนในการปกครองอียิปต์และซีเรีย ระหว่างปี ฮ.ศ.323-358/คศ. 935-969 สถาปนาโดยมุฮำหมัด อิบนุ ฏุฆจฺญ์ อัลอิคชีดฺ (เสียชีวิตฮ.ศ.334/คศ.946) ซึ่งเคยเป็นข้าหลวงปกครองนครอเล็กซานเดรีย, ปาเลสไตน์และซีเรีย ค่อลีฟะฮฺแห่งราชวงศ์อัลอับบาซียะฮฺทรงพระราชทานฉายานามแก่เขาว่า “อัลอิคฺชีด”

ต่อมาได้สละตำแหน่งแก่โอรสของตนที่ชื่อ อนูญุรฺ (คศ.946-960) ซึ่งยังทรงเยาว์วัย โดยมีอบุลมิสก์ กาฟู๊ร อัลอิคชีดีย์ (เสียชีวิตฮ.ศ.357/คศ.967) เป็นผู้สำเร็จราชการ ต่อมาในปี คศ.965 กาฟู๊รได้ขึ้นดำรงตำแหน่งซุลตอนแห่งอียิปต์และซีเรีย ในรัชสมัยของพระองค์มีความเจริญทางวรรณกรรมเป็นอันมาก พวกวงศ์อัลฟาฏิมียะฮฺได้ปราบปรามพวกอัลอิคชีดียะฮฺในเวลาต่อมา

12. อัตตูลูนียะฮฺ (اَلطُّوْلُوْنِيَّةُ)


อาณาจักรอิสระที่แยกตนจากอาณาจักรอับบาซียะฮฺ มีอำนาจปกครองในอียิปต์และซีเรีย ระหว่างปีฮ.ศ.254-292/คศ.868-905 สถาปนาโดยอะฮฺหมัด อิบนุ ตูลูน (เสียชีวิตฮ.ศ.270/คศ.884) ซึ่งเป็นคนใกล้ชิดของค่อลีฟะฮฺ อัลมุสตะอีน บิลลาฮฺแห่งวงศ์อับบาซียะฮฺ ดำรงตำแหน่งข้าหลวงแห่งอียิปต์ในปีคศ.868 ต่อมาแยกตนเป็นอิสระและสร้างนครอัลก่อฏออิอฺเป็นราชธานีแห่งใหม่ของอาณาจักร อิบนุตูลูนได้แผ่อำนาจของตนเหนืออียิปต์, ซีเรีย และโมซุล เขาได้สร้างมัสญิดอันงดงามขึ้นในนครอัลกอฏออิอฺ (ใกล้กับฟุสฏ๊อฏ ไคโร)

ต่อมาคุมาร่อวัยฮฺ โอรสของอิบนุตูลูนได้ปกครองต่อมาในปีคศ.884 ธิดาของคุมาร่อวัยฮฺนามว่า ก็อฏรุนนะดาได้อภิเษกกับค่อลีฟะฮฺอัลมุอฺตะฎิดแห่งวงศ์อับบาซียะฮฺ คุมาร่อวัยฮฺถูกสังหารในนครดามัสกัส ภายหลังการถูกสังหารของคุมาร่อวัยฮฺความขัดแย้งภายในได้ทำให้อาณาจักรตูลูนียะฮฺอ่อนแอลง และถูกวงศ์อับบาซียะฮฺปราบปรามในที่สุด ในสมัยที่อาณาจักรนี้รุ่งเรืองสถาปัตยกรรมอิสลามมีความตื่นตัวเป็นอันมาก ที่สำคัญคือมัสญิดญามิอฺ อิบนิ ตูลูนในกรุงไคโร

13. อะตาบัก (أَتَابَك)


อะตาบัก เป็นฉายานามในภาษาเติร์กิชที่พวกเซลจูกเติร์กใช้เรียกขานเหล่าขุนนางในราชสำนักบางส่วนตลอดจนบรรดาเสนาบดีและแม่ทัพซึ่งบางคนเป็นผู้อบรมเหล่ายุวกษัตริย์ในศาสตร์แขนงต่าง ๆ ผู้มีราชทินนามว่า อะตาบัก (มีพหูพจน์ว่า อะตาบิกะฮฺ) บางคนสามารถเข้ากุมอำนาจการปกครองจนเริ่มมีรัฐอิสระที่ปกครองด้วยอะตาบักนับแต่คริสต์ศตวรรษที่ 12 ในดินแดนเปอร์เซีย, แคว้นชาม (ซีเรีย) ที่เลื่องลือที่สุดได้แก่ อะตาบิกะฮฺแห่งอาเซอร์ไบจาน, เปอร์เซีย และวงศ์บูรีย์ อิบนิ ตุฆตะกีน ในดามัสกัสและตระกูลซังกีย์ในโมซุลอัลญะซีเราะฮฺและแคว้นชาม

14. อัลอัรฺตุกียูน (اَلأَرْتُقِيُّوْنَ)


ตระกูลเติร์กะเมน มีอำนาจปกครองในดิย๊าร บักร์ ในศตวรรษที่ 6-9 แห่งฮิจเราะฮฺศักราช/คริสต์ศตวรรษที่ 12-15 มีอัรตุก บุตร อักซับเป็นต้นตระกูล บุคคลผู้นี้เคยรับใช้มาลิกชาฮฺแห่งเซลจูกเติร์กและตุตุชฺ น้องชายของมาลิกชาฮฺ ซึ่งบุคคลหลังนี้ได้มอบปาเลสไตน์ให้อัรตุกปกครองในปี คศ.1086 ต่อมาบุตรชายของเขาสองคนคือ ซุกมานและเอลฆอซีย์ได้สืบอำนาจต่อมา ลูกหลานของซุกมานได้ปกครองป้อมปราการแห่งเมืองกัยฟ่า และมาร์ดีน ส่วนลูกหลานของเอลฆอซีย์ ได้ปกครองในเขตมาร์ดีน มัยยาฟาริกีนและอเล็บโป (ฮะลับ)

15. อัลอุรเฏาะฮฺ อัซซะฮะบียะฮฺ (اَلأُرْطَةُ الذَّهَبِيَّةُ)


อาณาจักรของพวกมองโกล สถาปนาโดย บาตู ข่าน (คศ.1204-1255) หลานชายของ เจงกีสข่าน ในเขตลุ่มน้ำวอลก้า (คศ.1242) มีดินแดนครอบคลุมไซบีเรีย, ภาคใต้ของรัสเซีย และลุ่มแม่น้ำวอลก้า มีนครซ่อรอยฺ เป็นราชธานี ในรัชสมัย บาตู ข่าน นั้นพวกมองโกลได้รุกรานโปแลนด์ ฮังการี และข้ามแม่น้ำดานูบไปยังบุลแกเรีย อาณาจักรนี้เริ่มเสื่อมลง ในปี คศ.1502

16. อัรฆุน (أَرْغُوْن)


วงศ์ของมองโกลที่มีอำนาจปกครองแคว้นสินธุและบัลลูชิสตาน ระหว่างปี คศ.1479-1559 สถาปนาโดยซุนนูนฺ อัรฆุน ต่อมาพวกวงศ์อัรฆุนตัรข่านได้สืบอำนาจต่อมา และถูกจักรพรรดิอักบัร มหาราช แห่งราชวงศ์โมกุลปราบปรามในปี คศ.1591

17. อัลอะซาริเกาะฮฺ (أَلأَزَارِقَة)


กลุ่มหนึ่งจากพวกค่อวาริจญ์อ้างถึงนาฟิอฺ อิบนุ อัลอัซฺร็อกฺ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ.65/คศ.685) ซึ่งถูกสังหารในสมรภูมิดูล๊าบ รัชสมัยค่อลีฟะฮฺอับดุลลอฮฺ อิบนุ อัซซุบัยร์ พวกอะซาริเกาะฮฺได้ยึดครองเขตอัลอะฮฺว๊าซฺ (เมืองทางตะวันตกเฉียงใต้ของอิหร่าน) มีผู้นำคนสำคัญ คือ กอฏ่อรี่ย์ อิบนุ อัลฟุญาอะฮฺ (เสียชีวิตปี ฮ.ศ.78/คศ.697) ซึ่งเป็นนักกวี เขาใช้ชีวิตไปในการต่อสู้ถึง 13 ปี และสามารถต้านทานการโจมตีของอัลฮัจฺญ๊าจฺ อิบนุ ยูซุฟ กอฏ่อรี่ย์ถูกสังหารในสมรภูมิแห่งเมืองฏ่อบะริสตาน ต่อมาพวกอะซาริเกาะฮฺได้ถูกแม่ทัพอัลมุฮัลลับ อิบนุ อบี ซุฟเราะฮฺปราบปราม

18. อัลอิสมาอิลี่ยูน (اَلإِسْمَاعِيْلِيُّوْنَ)


คือ กลุ่มชนที่กล่าวถึงการเป็นอิหม่ามของอิสมาอีล อิบนุ ญะอฺฟัร อัซซอดิก หลังจากบิดาของเขา กลุ่มหนึ่งจากพวกอิสมาอีลียะฮฺภายใต้การนำของอัลฮะซัน อิบนุ อัซซอบฺบาฮฺ ได้แยกจากค่อลีฟะฮฺ อัลมุสตะอฺลีย์แห่งราชวงศ์ฟาฏิมี่ยะฮฺ และให้สัตยาบันแก่นิซารฺ พระอนุชาของค่อลีฟะฮฺ

การลุกฮือของพวกอิสมาอิลียะฮฺประสบความล้มเหลวในนครอเล็กซานเดรีย อัลฮะซัน อิบนุ อัซซอบฺบาฮฺจึงย้ายไปยังป้อมปราการแห่งอะลาโมตในอิหร่าน (ปี คศ.1090) และสถาปนาการปกครองของพวกอันนิซารี่ยีนหรืออัลฮัชชาชีน ส่วนหนึ่งจากพวกนี้คือกลุ่มชีอะฮฺอิสมาอีลี่ยะฮฺที่ปฏิบัติตามอากา ข่านในปัจจุบัน ส่วนพวกที่ปฏิบัติตาม อัลมุสตะอฺลีย์รู้จักกันในทุกวันนี้ว่าพวกโบฮฺร่าหรืออัซซับอี่ยะฮฺ

19. อัลมุ่รอบิฏูน (اَلْمُرَابِطُوْنَ)


ชนชาติเบอร์เบอร์จากเผ่าลัมตูนะฮฺ ซึ่งเป็นเผ่าหนึ่งจากก๊กซอนฮาญะฮฺ สถาปนารัฐอิสลามขึ้นในมอรอคโคและแผ่อำนาจปกครองมอรอคโค, เอ็นดะลูเซีย (สเปน) และแอฟริกาเหนือระหว่างปี ฮ.ศ.448-541/คศ.1056-1147, รู้จักกันในนามอัลมุลัซฺซิมีนฺ (บรรดาผู้ปิดใบหน้า) และอัลมุรอบิฏูน เนื่องจากพวกนี้จะประกอบศาสนกิจอยู่ในริบาฏ (ซึ่งเป็นทั้งป้อมทหารรักษาการณ์และสถานที่ประกอบศาสนกิจ)
สุลตอนของพวกอัลมุรอบิฏูนที่เลื่องลือที่สุดคือ สุลตอนยูซุฟ อิบนุ ต๊าชฟีนฺ (อบูยะอฺกู๊บ อัลลัมตูนีย์) เสียชีวิตปี ฮ.ศ.500/ค.ศ.1106 ผู้เป็นปฐมกษัตริย์ของราชวงศ์และสร้างนครมัรรอกิชฺ (ในมอรอคโค) เพื่อเป็นศูนย์กลางในการปกครองและยึดครองเมืองฟ๊าส ตลอดจนแผ่อำนาจเหนืออาณาเขตของมอรอคโคทั้งหมด ต่อมายูซุฟ อิบนุ ต๊าชฟีนฺ ได้นำทัพอัลมุรอบิฏูนเข้ายึดครองเอ็นดะลูเซียและปราบปรามเจ้าครองนครรัฐอิสระต่าง ๆ (อัฏฏ่อวาอิฟฺ) และได้สร้างความปราชัยแก่กองทัพของอัลฟองโซที่ 6 ในสมรภูมิอัซฺซัลลาเกาะฮฺ (ค.ศ.1086)

20. อัลมุวะฮฺฮิดูน (اَلْمُوَحِّدُوْنَ)


ชนชาติมอรอคโคสายชีอะฮฺ มีอัลมะฮฺดีย์ อิบนุ ตูมัรฺต์เป็นผู้สถาปนาอาณาจักรภายหลังการล่มสลายของพวกอัลมุรอบิฏูน มีอำนาจปกครองในมอรอคโคและแผ่อำนาจเข้าสู่เอ็นดะลูเซีย (สเปน) ฮ.ศ.515-667/ค.ศ.1121-1269 เรียกกันว่า อัลมุอฺมินียะฮฺ ซึ่งอ้างถึงอับดุลมุอฺมิน อิบนุ อะลี ซึ่งเป็นผู้สืบทอดต่อจากอิบนุ ตูมัรฺต์ และสามารถยึดครองนครมัรรอกิชฺ จากพวกอัลมุรอบิฏูนได้ในเวลาต่อมา

ส่วนหนึ่งจากบรรดาสุลตอนของพวกอัลมุวะฮฺฮิดูนคือ อบูยะอฺกู๊บ ยูซุฟและอบูยูซุฟ ยะอฺกู๊บ และเมื่อบุคคลหลังได้สิ้นชีวิตลงอำนาจของพวกอัลมุวะฮฺฮิดูนก็เริ่มเสื่อมลงและสูญเสียอำนาจในเอ็นดะลูเซียภายหลังสมรภูมิอัลอุก๊อบ (ฮ.ศ.609/ค.ศ.1212) และพวกฮัฟซียูนก็แยกตนเป็นอิสระในตูนิเซีย (ฮ.ศ.626/ค.ศ.1228) บะนู อับดิลว๊าด ในนครติลมิซาน (ฮ.ศ.633/ค.ศ.1235) และถูกพวกบะนูมีรีนปราบปรามในที่สุด

21. บรรดาเจ้าครองนครรัฐอิสระ (مُلُوْكُ الطَّوَاﺋﻒ)


บรรดาเจ้าครองนครรัฐอิสระ (ฮ.ศ.422-484/ค.ศ.1023-1091) บรรดารัฐอิสระขนาดเล็กที่ตั้งขึ้นบนความล่มสลายของอาณาจักรอัลอุมะวียะฮฺในเอ็นดะลูเซีย (สเปน) ภายหลังยกเลิกการปกครองในระบอบคิลาฟะฮฺแห่งวงศ์อัลอุม่าวียะฮฺ บรรดาเสนาบดี, บรรดาเจ้าเมือง, เหล่าผู้นำชาวอาหรับและเบอร์เบอร์ได้แยกกันปกครองในอาณาเขตของตน รัฐอิสระที่มีอิทธิพลมากที่สุดคือ บะนู อับบ๊าด ในนครอิชบิลียะฮฺ (ซิวิลญ่า)
และส่วนหนึ่งจากบรรดาเจ้าครองนครรัฐอิสระ ได้แก่ บะนูญะฮฺวัรฺในนครโคโดบาฮฺ (กุรฏุบะฮฺ), บะนู ฮัมมู๊ดในอัลญะซีราซฺ (อัลญะซีเราะฮฺ อัลค็อฎรออฺ) และมะละกา (มาลิเกาะฮฺ), บะนู ซีรีย์ ในแกรนาดา (ฆอรฺนาเฏาะฮฺ), บะนู บิรฺซ๊าลในก็อรมูนะฮฺ, บะนู มุซัยน์ในเมืองชะลิบ, บะนู มุญาฮิดในเมืองดานิยะฮฺ, บะนู ตุญัยบ์ในซ่าร่าโกซ่า (ซัรกุสเฏาะฮฺ) และบะนู ซุมาดิฮฺในอัลมาเรีย (อัลมะรียะฮฺ), บะนู ซุนนูนฺ ในนครโทเลโด (ตุลัยตุละฮฺ) บะนู อัลอัฟฏ๊อซฺ ในบัฎลิอูซฺ, บะนู อามิรฺในบะลันซียะฮฺ (วาเลนเซีย) บะนู ฮูดในซัรกุสเฏาะฮฺ (ซ่าร่าโกซ่า)

ต่อมาพวกบะนู อับบ๊าดฺได้ขอความช่วยเหลือไปยังพวกอัลมุรอบิฏูนเพื่อต่อต้านการรุกรานของอัลฟองโซที่ 6 กษัตริย์คริสเตียนแห่งคาสทิลล่า (กิชตาละฮฺ) สุลตอนยูซุฟ อิบนุ ต๊าชฟีนฺจึงส่งกองทัพอัลมุรอบิฏูนจากแอฟริกาเหนือเข้าสู่เอ็นดะลูเซียและได้รับชัยชนะต่อกองทัพคริสเตียนในสมรภูมิอัซซัลลาเกาะฮฺ (ฮ.ศ.479/ค.ศ.1086) ในภายหลังยูซุฟ อิบนุ ต๊าชฟีนก็ได้ปราบปรามรัฐอิสระและแผ่อำนาจเข้าปกครองเอ็นดะลูเซียซึ่งเป็นการเริ่มต้นยุคอัลมุรอบิฏูนในเอ็นดะลูเซียในเวลาต่อมา

22. อัซซ่อฟะวียูน (اَلصَّفَوِيُّوْنَ)


ราชวงศ์ที่มีอำนาจปกครองในอิหร่าน (ค.ศ.1501-1731) เดิมเป็นแนวทางฏ่อรีเกาะฮฺซูฟีย์ที่กำเนิดขึ้นในเมืองอัรดะบีล (เมืองหนึ่งทางตอนเหนือของอิหร่าน) ซึ่งอ้างถึง ซ่อฟียุดดีน อัลอัรดะบีลีย์ (เสียชีวิตปี ค.ศ.1334) นักซูฟีย์ชาวอิหร่าน ราชวงศ์นี้มีชาฮฺอิสมาอีลที่ 1 เป็นผู้สถาปนาโดยปราบปรามอักก์ กินฺนูลู หรือชนเผ่าเติรกะเมนที่ถูกเรียกว่า “เผ่าแกะขาว” ที่แผ่อำนาจในอาณาเขตของดิยารบักร์จนถึงแม่น้ำยูเฟรติส

หลังจากที่พวกมองโกลเริ่มรุกรานอาณาเขตดังกล่าวในปีค.ศ.1466 อุซูน ฮะซัน จึงย้ายเมืองหลวงไปยังนครตับรีซฺ ซึ่งต่อมาชาฮฺอิสมาอีลที่ 1 ก็ปราบปรามชนเผ่านี้และยึดเอานครตับรีซฺเป็นราชธานี พระองค์ใช้พระนามว่า ชาฮฺและประกาศให้นิกายชีอะฮฺเป็นนิกายหลักของอาณาจักรอัซซ่อฟะวียูน, ชาฮฺอิสมาอีลได้ปราชัยแก่อุษมานียะฮฺ (ออตโตมาน) ในสมรภูมิญัลดะรอน (ค.ศ.1514)

ต่อมาชาฮฺ ฏอฮฺมาซิบที่ 1 ได้ย้ายราชธานีไปยังนครก็อซฺวัยน์ (ค.ศ.1555) หลังจากนครตับรีซฺตกอยู่ในกำมือของอุษมานียะฮฺ (ออตโตมาน) และในปี ค.ศ.1593 ชาฮฺอับบาส มหาราชที่ 1 (ค.ศ.1571-1629) ได้ย้ายราชธานีไปยังนครอิสฟาฮานฺ ในรัชสมัยของชาฮฺอับบาส มหาราชนั้นพระองค์ได้ผนวกแบกแดด, กัรบะลาอฺ, อันนะญัฟฺ, โมซุลและดิย๊ารบักร์ เข้าไว้ในอำนาจและทำสนธิสัญญาประนีประนอมกับพวกอุษมานียะฮฺ อาณาจักรอัซซ่อฟะวียะฮฺในรัชสมัยของพระองค์มีความเจริญรุ่งเรืองเป็นอันมากในปี ค.ศ.1722 พวกอัฟกันได้ยึดครองอิสฟาฮาน แม่ทัพนาดิร ชาฮฺของอัซซ่อฟะวียะฮฺจึงขับไล่พวกอัฟกันออกไป และประกาศตั้งตนเองขึ้นเป็นกษัตริย์ในปี ค.ศ.1736 และราชวงศ์นี้ได้สิ้นสุดลงด้วยการสิ้นพระชนม์ของชาฮฺอับบาสที่ 3 (ค.ศ.1731-1736)

23. รัฐสุลตอนแห่งเดลฮี (سُلْطَنَةُدِهْلِىْ)


อาณาจักรที่บรรดาสุลตอนชาวมุสลิมได้ปกครองอินเดียเหนือในนามของบรรดาค่อลีฟะฮฺแห่งราชวงศ์อับบาซียะฮฺ สถาปนาโดยอิลฺติมิชฺ (ชัมซุดดีน) ประกอบด้วยราชวงศ์ทาสชาวเติร์ก (ม่ามาลีก) คอลญี่ย์, ตัฆลุก, อัซซัยยิด และราชวงศ์ลูดีย์





read more "ราชวงศ์และอาณาจักรในประวัติศาสตร์อิสลาม"

วันจันทร์ที่ 29 มกราคม พ.ศ. 2561

ย้อนอดีต…การล่มสลายของราชวงศ์สุลต่านมลายูในอินโดนีเซีย

ย้อนอดีต…การล่มสลายของราชวงศ์สุลต่านมลายูในอินโดนีเซีย

(อับดุลเลาะ หวันมามะ)



เราคงลืมไปแล้วฤา? เมื่อปี 1946 บรรดากษัตริย์แห่งเมืองมลายูบนเกาะสุมาตราตะวันออกถูกปลงพระชนม์พร้อมกับเหล่าวงศาคณาญาตินับพันคนอย่างโหดเหี้ยม

เมื่อช่วงเที่ยงคืนของคืนวันที่ 3 มีนาคม 1946 ถือเป็นช่วงเวลาที่เลวร้ายที่สุดของชาวมลายู ที่ได้นำมาซึ่งความเศร้าโศกเสียใจให้กับชาวมลายูบนเกาะสุมาตราตะวันออกอย่างไม่สิ้นสุด และนอกจากนี้ยังเป็นสาเหตุของชาวมลายูในคาบสมุทรที่ได้ปฏิเสธที่จะเข้าร่วมผนวกกับสาธารณรัฐอินโดนีเซีย

เพียงค่ำคืนเดียวเท่านั้น ที่บรรดาสุลต่านในบางรัฐถูกฆาตกรรมอย่างไร้ความปราณีโดยกลุ่มคนที่มีความฝักใฝ่แนวคิดคอมมิวนิสต์ ที่ได้รับความช่วยเหลือจากกลุ่มแรงงานซึ่งเป็นลูกหลานของบุคคลผู้อพยพ

เหตุการณ์เริ่มขึ้นในช่วงต้นปี 1946 เมื่ออุณหภูมิทางการเมืองในสุมาตราตะวันออกเริ่มมีความร้อนแรงมากขึ้น เมื่อกลุ่มฝักใฝ่แนวคิดคอมมิวนิสต์เริ่มมีการตั้งฐานพรรคการเมืองและมีการจัดตั้งกองกำลังติดอาวุธขึ้นในหมู่ผู้ใช้แรงงานหรือพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย

พระราชวังดารุลอามาน ที่ตันหยงปูรา ซึ่งเป็นของราชวงศ์ลังกัตเมื่อปี 1930 ที่ถูกทำลายลงอย่างราบคาบ สืบเนื่องจากการก่อขบถของกลุ่มผู้ที่อ้างถึง “ความเป็นเจ้าของแห่งปวงราช” ที่ปรารถนาซึ่งอำนาจ พร้อมกับพระราชวังอื่นๆ ในสุมาตราตะวันออก ซึ่งบัดนี้ประชาชนบนเกาะสุมาตราตะวันออกได้ตระหนักรู้ถึงความผิดพลาดที่บรรดาบรรพบุรุษของพวกเขาได้ก่อขึ้นก่อนหน้านี้

สืบเนื่องจากความล้มเหลวของนายพลซูการ์กับบรรดาสุลต่านมลายูในสุมาตราในการรับทราบถึงจุดยืนของบรรดาสุลต่านในแถลงการณ์ประกาศสนับสนุนการปลดแอกจากฮอลแลนด์ ในขณะที่ทางรองผู้ว่าราชการแห่งเกาะสุมาตราที่ได้รับการแต่งตั้ง ท่านอามีร ชารีฟุดดีน (หนึ่งในคนที่ฝักใฝ่คอมมิวนิสต์) เดินทางมาถึงที่เมืองเซอร์ดังแห่งสุมาตราและได้ทำการปลุกระดมผู้สนับสนุนคอมมิวนิสต์ เพื่อขจัดโค่นล้มอำนาจของระบอบสุลต่านและบรรดาขุนนาง อีกทั้งเขายังเป็นนักเขียนและเป็นบรรณาธิการประจำนิตยสาร Pemoeda Soematra อีกด้วย

ภายใต้คลื่นลมที่เงียบสนิทกลุ่มที่สนับสนุนแนวคิดคอมมิวนิสต์ได้มีการวางแผน ในการโค่นล้มระบอบกษัตริย์ของบรรดาสุลต่านมลายู ที่ต้องการเปลี่ยนโครงสร้างการปกครองสู่ระบอบการปกครองแบบรัฐบาล ซึ่งต่อมาพวกเขาได้ดำเนินการโฆษณาชวนเชื่อทางหนังสื่อพิมพ์ ในสื่อวิทยุ และแผ่นพับ พร้อมกับการใส่ร้ายป้ายสีเพื่อปลุกระดมมวลชนด้วยวามกรรม “อำนาจของปวงชน” (Daulat Rakyat) เพื่อเป็นการต่อกรกับวาทกรรม “อำนาจของกษัตริย์” (Daulat Tuanku) พร้อมกันนี้บรรดาสุลต่านมลายูมีความสัมพันธ์อย่างใกล้ชิดกับบรรดาชนชั้นนำของฮอลแลนด์ ด้วยเหตุนี้เองที่ทำให้บรรดาขุนนางและบรรดาสุลต่านมลายูได้ทำการขูดรีดและกดขี่ประชาชน

เหตุการณ์ครั้งนี้เกิดขึ้นภายหลังจากที่ผู้ว่าราชการที่ได้รับการแต่งตั้งคือ เต็งกูมูฮัมมัด ฮาสซัน พร้อมคณะทั้งหมด 7 คันได้ออกเดินทางจากเมืองเมดานเมื่อวันที่ 6 กุมภาพันธ์ 1946 ผ่านทางบาสตาเกีย และสุมาตรากลางมุ่งหน้าไปทางทิศใต้ของสุมาตรา และตามกำหนดการเดิมนั้นจะเดินทางกลับไปยังเมดานในวันที่ 22 มีนาคม 1946

เมื่อช่วงเที่ยงคืนของวันที่ 3 มีนาคม 1946 ได้มีประชาชนซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มผู้อพยพที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์ ซึ่งพวกเขาได้ทำการบุกโจมตีพระราชวังและสำนักงานของรัฐบาลมลายูและได้ประกาศว่าราชวงศ์มลายูได้ถูกโค่นล้มโดยชาวอินโดนีเซียไปแล้ว

การฆาตกรรมบรรดาขุนนางในพระราชสำนักของกษัตริย์ ได้เกิดขึ้นเป็นวงกว้าง ไม่ว่าจะโดยการถูกถ่วงน้ำในทะเล ถูกตัดศีรษะ ถูกฝังทั้งเป็น และการฆาตกรรมอย่างโหดเหี้ยมด้วยวิธีต่างๆ ที่กระทำโดยผู้คนที่ฝักใฝ่แนวคิดคอมมิวนิสต์ ที่นำโดยพรรคคอมมิวนิสต์อินโดนีเซีย

การจู่โจมในครั้งนี้ถือเป็นโศกนาฏกรรมครั้งใหญ่สำหรับสุลต่านบีดาร อาลัม แห่งเมืองบีลาฮ์ สุลต่านมะห์มูด อามาน ฆาฆาร อาลัมชาห์แห่งเมืองปานัย และเต็งกูมุสตาฟา ฆือลาร มักมูรแห่งเมืองโกตาปีนัง ราชวงศ์สุลต่านแห่งเมืองเซอร์ดัง ราชวงศ์สุลต่านเดลีแห่งเมืองเมดาน รัฐมลายูยังดีเปอรตูวาอาฆง อัลฮัจญีมูฮัมหมัด ชาห์แห่งเมืองลาบูฮันบา

สุลต่านเหล่านี้ถูกสังหารโดยกลุ่มผู้อพยพผู้ใช้แรงงานที่ทำงานให้กับบรรดาสุลต่าน ที่ถูกปลุกปั่นโดยกลุ่มพรรคคอมมิวนิสต์

เกือบครึ่งหนึ่งของประชากรของรัฐเหล่านี้ประกอบด้วยกลุ่มผู้อพยพที่เข้ามาในฐานะคนงานตามท้องทุ่ง

ส่วนพระราชวังที่อื่น ๆ ของสุลต่านลังกัตที่ตันหยงและในเมืองโกตาบีนัย ถูกจู่โจมถูกปล้น ในขณะที่บรรดาวงศาคณาญาติถูกจับกุมและส่วนใหญ่โดนฆาตกรรมอย่างโหดเหี้ยม ไม่เว้นแม่แต่นักเขียนชาวอินโดนีเซียที่โด่งดัง เต็งกูอามีร ฮัมซะฮ์ ยิ่งไปกว่านั้นบุตรธิดาของสุลต่านถูกกระทำชำเราข่มเหงต่อหน้าต่อตาของสุลต่านลังกัต ในขณะเดียวกันเจ้าชายที่กำลังอยู่ในวัยหนุ่มได้หายตัวไปอย่างไร้ร่องรอย

ความโหดร้ายในครั้งนี้เกิดจากผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์ท่านหนึ่งที่ชื่อ มัรวาน พร้อมผู้สนับสนุน

สุลต่านลังกัตถือเป็นสุลต่านพระองค์หนึ่งที่ร่ำรวยและมั่งคั่งในสุมาตรา ที่มีรายได้มาจากปิโตรเลียม และถ้าหากว่าพระราชวังของสุลต่านที่ไหม้เกรียมนั้นยังคงอยู่ ถือเป็นสมบัติอันล้ำค่ายิ่งให้กับชาวมลายูทั้งโลก

บรรดาคณาญาตที่เป็นผู้ชายแห่งเมืองอาซาฮันถูกสังหารทั้งหมดรวมทั้งภรรยาและลูกชายของเต็งกู มูซา ซึ่งภายในระยะเวลาไม่กี่วัน จำนวน 140 คนถูกสังหาร หลังสืบทราบว่าเป็นเครือญาติที่ใช้ชื่อสกุลเต็งกู

จากนั้นพวกเขาได้จับบรรดาวงศาคณาญาติของราชวงศ์สุลต่านมลายูทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นทั้งผู้หญิงและเด็กๆ ก่อนจะนำไปยังสถานที่คุมขังที่เมืองซีมาลูงุนและตานะฮ์กาโร ก่อนจะทรมานและสังหาร

อินโดนีเซียในห้วงดังกล่าวเสมือนเป็นการสนับสนุนความโหดเหี้ยมดังกล่าวนี้ ถึงขนาดสองรุ่นของชาวมลายูแทบจะสูญเสียตัวตนของตัวเอง

พวกเขามีความหวาดกลัวที่จะยอมรับว่าตัวเองคือชาวมลายู อีกทั้งได้เพิ่มคำว่า บาตัก นำหน้าชื่อของพวกเขา เพื่อให้พวกเขาสามารถเข้าเรียนในโรงเรียนหรือได้เข้าทำงานในสำนักงานของรัฐบาล พวกเขาได้ระงับการใช้ชื่อเต็งกูหรือวันนำหน้า เพราะกลัวว่าจะถูกตามหาและทำร้ายในฐานะเป็นคณาญาติของสุลต่าน

ในที่สุด 19 ปีหลังจากนั้น เมื่อวันที่ 30 กันยายน 1965 เกิดการทำรัฐประหารโดยกองทัพอินโดนีเซียที่นำโดยนายพลซูฮาร์โต ที่ได้ดำเนินการยุบพรรคคอมมิวนิสต์แห่งอินโดนีเซีย กลุ่มผู้สนับสนุนคอมมิวนิสต์ของอินโดนีเซีย ได้ยอมรับกับชะตากรรมในสิ่งที่พวกเขาได้กระทำต่อสุลต่านมลายูในสุมาตราในอดีต

ประมาณเกือบสองล้านคนกลุ่มพรรคคอมมิวนิสต์ถูกกวาดล้างโดยกองทัพอินโดนีเซีย และส่วนใหญ่ของบรรดาแกนนำของพรรคคอมมิวนิสต์มีส่วนเกี่ยวข้องกับ ‘การปฏิวัติสังคมปี 1946 ทางตะวันออกของสุมาตรา

อย่างไรก็ตามความหวังของชาวมลายูในภาคตะวันออกของสุมาตราได้กลับมาอีกครั้งเมื่อปี 1971 เมื่อผู้นำชาวมลายูในภาคตะวันออกของเกาะสุมาตราที่ได้รับการคุ้มครองโดยผู้บัญชาการของเกาะสุมาตราพลโทอาหมัด ตอฮีร ได้ทำการรวบรวมองค์กรต่างๆ ทั้ง 17 องค์กรของกลุ่มภาคประชาสังคมมลายูได้ก่อตั้งองค์กรร่มขึ้นมาที่ชื่อว่า MAJLIS ADAT BUDAYA MELAYU INDONESIA (MABMI) .หรือ สภาวัฒนธรรมมลายูแห่งอินโดนีเซีย

จนบัดนี้วัฒนธรรมมลายูดั้งเดิมอีกมากที่ได้สูญหาย สืบเนื่องจากการขาดช่วงของคนสองรุ่นในช่วงเริ่มต้นแห่งการปฏิวัติสังคมและตลอดช่วงสมัยของรัฐบาลซูการ์โน ถึงแม้ว่าปัจจุบันได้มีกลุ่มบุคคลที่พยายามจะรื้อฟื้นมรดกวัฒนธรรมมลายูในภาคตะวันออกสุมาตรา แต่ก็คงไม่เพียงพอหากไม่ได้รับความช่วยเหลือจากชาวมลายูทั่วโลก

บรรดาผู้หลงใหลในประวัติศาสตร์อินโดนีเซีย บัดนี้ยังคงเสียอกเสียใจเป็นอย่างยิ่ง ที่มีความใจง่ายเกินไป ที่ถูกลวงหลอกโดยแนวคิดคอมมิวนิสต์ ที่ก่อนหน้านี้ได้สร้างความปั่นป่วนเพื่อปล้นอำนาจจากรัฐบาลด้วยวิธีการที่ง่าย

โดย: Mestro
แปลและเรียบเรียง: อับดุลเลาะ วันอะฮ์หมัด

ที่มา: http://postmetro.onlinehttp://www.fatonionline.com/


#ประวัติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
#ประชาชาติอิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "ย้อนอดีต…การล่มสลายของราชวงศ์สุลต่านมลายูในอินโดนีเซีย"

วันอาทิตย์ที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2561

มหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร อัชชะรีฟ

มหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร อัชชะรีฟ




หลังจากที่ราชวงษ์ฟาฏีมีย์ได้สร้างกรุงไคโรขึ้นเสร็จเรียบร้อยแล้ว ประมาณปี ฮ.ศ. 385/ค.ศ. 969 จึงได้ก่อสร้างมัสยิดขึ้นมาหลังหนึ่ง ชื่อว่า ญามิอ์ อัล-กอฮิเราะห์ เมื่อวันที่ 4 รอมฎอม ฮ.ศ. 359 ใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปี และได้เปิดทำการละหมาดวันศุกร์ครั้งแรกเมื่อวันที่ 7 รอมฎอม ฮ.ศ. 371 ต่อมาได้เปิดทำการสอนศาสนาตามมัซฮับชีอะห์เรื่อยมาจนกระทั่งก่อเกิดนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญฟิกฮ์สายชีอะห์ถึง 35 ท่าน แล้วได้แพร่ขยายไปทั่วประเทศอียิปต์ จนกระทั่งประมาณปี ฮ.ศ. 565 ซ่อลาฮุดดีน อัล-อัยยูบีย์ ( صلاح الدين الأيوبي ) ซึ่งเป็นซุนนีย์ได้เปลี่ยนแปลงการปกครองของอียิปต์จากชีอะห์มาเป็นสายอะห์ลิสซุนนะห์ วั้ลญะมาอะห์ พร้อมกันได้สั่งปิดมัสยิดอัล-กอฮิเราะห์ (อัล-อัซฮัร) ไม่ให้มีการเรียนการสอน การละหมาดวันศุกร์ ไม่ให้มีการปลุกระดมขึ้นคุตบะห์ในมัสยิดแห่งนี้

หลังจากได้สั่งปิดมัสยิดอัล-กอฺฮิเราะห์ (อัล-อัซฮัร) แล้ว ท่านซ่อลาฮุดดีนได้ริเริ่มให้สร้างโรงเรียนขึ้นมาหลังหนึ่งชื่อว่า โรงเรียนอันนาซีรียะห์ สอนเฉพาะภาควิชาสายมัซฮับชาฟีอีอย่างเดียว และสร้างโรงเรียนขึ้นอีกหลังหนึ่งสอนเฉพาะภาควิชาสายมัศฮับฮัมบาลี โดยตั้งชื่อว่า โรงเรียนอัล-กอมฮียะห์ ตั้งอยู่ที่เมืองฟุตตอซ เคียงข้างมัสยิดอัมร์ อิบนุอาศ  ( مسجد عمرو بن العاص القاهرة ) ซึ่งเป็นมัสยิดหลังแรกที่สร้างขึ้นในประเทศอียิปต์ โดยสอนที่นั่นจนกระทั่งก่อเกิดนักวิชาการถึง 25 ท่าน จึงย้ายมาสอนที่มัสยิดอัล-กอฮิเราะห์ ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น “มัสยิดอัล-อัซฮัร” (ซึ่งเคยถูกปิดมาเป็นเวลายาวนาน) โดยยกเลิกการเรียนการสอนและพิธีการทางศาสนาสายมัซฮับชีอะห์ เปลี่ยนมาเป็นสายมัซฮับอะห์ลิสซุนนะห์ วั้ลญะมาอะห์ ด้วยวิธีการสอนแบบดั้งเดิม คือสอนเป็นนั่งเป็นวงกลมล้อมรอบครูผู้ประสาทวิชาการ โดยไม่มีการสอบข้อเขียน หลังจากสอนจบเล่มแล้วก็เปลี่ยนเล่มอื่น ๆ ใหม่ มีการสร้างอัรรูว๊าก (ห้องที่ต่อเติมจากตัวมัสยิด) เพื่อให้นักเรียนพักอาศัย หรือจะเรียกว่าปอเนาะ ตามคำบ้านเราก็ว่าได้ และได้ปรับปรุงใหม่ จนกระทั่งกลายเปนการสอนระบบโรงเรียนและระบบมหาวิทยาลัย ปัจจุบันมีมากกว่า 50 คณะ วิทยาเขตอีกทั่วประเทศและต่างประเทศอีกหลายประเทศ



อัลอัซฮัรจะยืนอยู่ได้อย่างมั่นคงต้องต่อสู้อย่างมากมาย ต่อสู้กับฝรั่งเศส อังกฤษ ตุรกี ที่เข้ามายึดครองอียิปต์และพยายามทำลายอิสลาม เผาตำราอิสลาม จับอุละมาอ์(นักปราชญ์มุสลิม)ขังคุก เชคของอัล-อัซฮัรที่เป็นหัวหน้าต้องต่อสู้กับฝรั่งเศษอย่างโชกโชนเกือบเอาชีวิตไม่รอด นอกจากการต่อสู้กับต่างชาติแล้ว ยังต้องต่อสู้กับรัฐบาลที่พยายามจะให้อัล-อัซฮัรทำตามที่รัฐบาลต้องการ โดยเฉพาะประธานาธิบดีนาซเซอร์ที่นิยมลัทธิสังคมนิยม พยายามเอาระบบสังคมนิยมนี้มาสอนที่อัซฮัร แต่ทางอัซฮัรไม่ยินยอมจึงถูกยึดเอาทรัพย์สินวากัฟของอัล-อัซฮัรไปเสียหมด อุลามาอ์มากมายถูกฆ่าตาย บ้างต้องติดคุกติดตาราง เชคของอ้ซฮัรหลายท่านต้องจำลาออกจากตำหลาย บ้างก็ถูกปลดออก แต่อัซฮัรก็ยังคงอยู่ได้จนกระทั่งถึงทุกวันนี้ มีนักศึกษาที่มาศึกษาที่อัลฮัรฮัรถึง 106 ประเทศ มีทุนการศึกษาให้เกือบทุกประเทศ ประเทศไทยของเราได้รับทุนการศึกษาของมหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัรปีละ 80 ทุน ทั้งนี้ยังไม่รวมหน่อยงานอื่นอีกหลายหน่อวยงานเช่น มัจลิสอัล-อะอ์ลา ลิชชุอูน อัลอิสลามียะหฺ และองค์กรอื่นๆอีก 


ตราสัญลักษณ์ประจำมหาวิทยลัยอัล-อัซฮัร

read more "มหาวิทยาลัยอัล-อัซฮัร อัชชะรีฟ"

วันเสาร์ที่ 27 มกราคม พ.ศ. 2561

กฎหมายอิสลามเบื้องต้น : ว่าด้วยครอบครัวและมรดก

กฎหมายอิสลามเบื้องต้น : ว่าด้วยครอบครัวและมรดก

(อาลี เสือสมิง)

กฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัว เรียกในภาษาอาหรับว่า อะฮฺกาม-อัลอุสเราะฮฺ (أَحْكَامُ الأُسْرَةِ) หมายถึง บรรดาหลักการที่เกี่ยวข้องกับความสัมพันธ์ของมนุษย์กับครอบครัวโดยเริ่มต้นด้วยการสมรส (อัน-นิกาหฺ) และสิ้นสุดลงด้วยการจัดการแบ่งทรัพย์มรดก นักกฎหมายอิสลามร่วมสมัยเรียกกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดกว่า อัล-อะหฺวาล-อัชชัคซียะฮฺ (اَلأَحْوَالُ الشَّخْصِيَّةُ) (ดร.วะฮฺบะฮฺ อัซซุฮัยลีย์ ; อัลฟิกฮุล-อิสลามีย์ฯ เล่มที่ 7/6)


การนิกาหฺ (การสมรส)


นิกาหฺ (النِّكَاحُ) ตามหลักภาษาหมายถึง การรวมหรือการมีเพศสัมพันธ์หรือการทำข้อตกลง

นิกาหฺ ตามหลักกฎหมายอิสลาม หมายถึง การผูกนิติสัมพันธ์สมรสระหว่างชายหญิง เพื่อเป็นสามีภรรยาโดยพิธีสมรส (หลักกฎหมายอิสลามว่าด้วยครอบครัวและมรดก ; สำนักพิมพ์ ส.วงศ์เสงี่ยม ; หน้า 22)

คำว่า นิกาหฺในทัศนะของนักนิติศาสตร์มูลฐานและนักภาษาศาสตร์มีความหมายแท้จริง (หะกีกีย์) ในการมีเพศสัมพันธ์และเป็นโวหาร (มะ-ญาซีย์) ในการทำข้อตกลง ส่วนในทัศนะของนักกฎหมายอิสลามในมัซฮับทั้งสี้ คำว่า นิกาหฺ มีความหมายแท้จริงในการทำข้อตกลง และเป็นโวหารในการมีเพศสัมพันธ์ (ดร.วะฮฺบะฮฺ อัซซุฮัยลีย์ อ้างแล้ว เล่มที่ 7/30)

ศาสนาอิสลามส่งเสริมให้มีการสมรส เพื่อเป็นการสืบเผ่าพันธุ์มนุษยชาติ และเป็นการสร้างความบริสุทธิ์ให้แก่คู่สามีภรรยาจากการประพฤติผิดสิ่งที่ศาสนาบัญญัติห้ามเอาไว้ ตลอดจนเป็นการสร้างครอบครัวซึ่งระบอบทางสังคมจะมีความสมบูรณ์ได้ด้วยครอบครัวที่มีหลักคำสอนของศาสนาและศีลธรรมอันดีเป็นสิ่งควบคุมพฤติกรรมของสมาชิกในครอบครัว

การสมรสเป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติตามหลักการของศาสนา
โดยมีหลักฐานจากตัวบทของอัลกุรฺอาน, อัล-หะดีษ และอิจญ์มาอฺ

หลักฐานจากอัลกุรฺอาน ได้แก่ พระดำรัสที่ว่า :


فَانْكِحُواْ مَا طَابَ لَكُم مِنَ النِّسَاءِ مَثْنَى وَثُلاَثَ وَرُبَاعَ فَإِنْ خِفْتُمْ أَلاَّ تَعْدِلُواْ فَوَاحِدَةً…


ดังนั้นสูเจ้าทั้งหลายจงสมรสกับสตรีที่เป็นที่พึงพอใจสำหรับสูเจ้าทั้งหลาย สองคน สามคน และสี่คน ดังนั้นหากสูเจ้าทั้งหลายเกรงว่าจะไม่สามารถให้ความเป็นธรรม (ระหว่างพวกนางได้) ก็จงสมรสกับสตรีคนเดียว

(สูเราะฮฺอัน-นิสาอฺ อายะฮฺที่ 3)

หลักฐานจากอัล-หะดีษ ได้แก่ หะดีษที่รายงานจากท่านอับดุลลอฮฺ อิบนุ มัสอูด (ร.ฎ.) ว่า ท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) ได้กล่าวว่า :


يَامَعْشَرَالشَّبَابِ ، مَنِ اسْتَطَاعَ مِنْكُمُ الْبَاءَةَ فَلَيْتَزَوَّجْ ، فَإنَّه أَغَضُّ لِلْبَصَرِ وَأَحْصَنُ لِلْفَرْجِ ، وَمَنْ لَمْ يَسْتَطِعْ فَعَلَيْهِ بِالصَّوْمِ فَإنَّه لَه وِجَاءٌ ” 
  “ متفق عليه 


โอ้บรรดาคนหนุ่มทั้งหลาย ผู้ใดจากพวกท่านมีความสามารถในค่าใช้จ่ายของการสมรส ผู้นั้นก็จงสมรสเถิดเพราะการสมรสคือสิ่งที่ทำให้สายตานั้นลดต่ำลงเป็นที่สุด และเป็นการป้องกันอวัยวะเพศได้ดีที่สุด และผู้ใดไม่มีความสามารถ ก็ให้ผู้นั้นถือศีลอดเถิด เพราะการถือศีลอดคือการลดทอนกำหนัดสำหรับผู้นั้น” (รายงานพ้องกันโดยบุคอรีและมุสลิม)


และประชาชาติมุสลิมต่างก็เห็นพ้องเป็นมติเอกฉันท์ว่าการสมรสเป็นสิ่งที่ถูกบัญญัติตามหลักการของศาสนา (ดร.วะฮฺบะฮฺ อัซซุฮัยลีย์ อ้างแล้ว 7/31)

อย่างไรก็ตาม นักกฎหมายอิสลามได้พิจารณาถึงข้อชี้ขาดของการสมรสซึ่งอาจจะมีความแตกต่างกันไปตามสถานภาพและสภาวะของบุคคล ดังนี้

เป็นสิ่งจำเป็น (ฟัรฎู) ในกรณีเมื่อบุคคลมั่นใจว่าตนจะตกไปสู่การผิดประเวณี (ซินา) หากไม่ทำการสมรสและบุคคลผู้นั้นมีความสามารถในการจ่ายมะฮัรและค่าเลี้ยงดูภรรยาตลอดจนดำรงสิทธิและหน้าที่ตามที่ศาสนากำหนดเอาไว้

เป็นสิ่งต้องห้าม (หะรอม) ในกรณีเมื่อบุคคลมั่นใจว่าตนจะอธรรมต่อสตรีและประทุษร้ายต่อนางเมื่อเขาได้สมรสกับนาง โดยบุคคลผู้นั้นไร้ความสามารถจากการรับภาระในค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องและผูกพันกับการสมรส

เป็นสิ่งที่น่ารังเกียจ (มักรูฮฺ) ในกรณีที่เกรงว่าบุคคลจะมีพฤติกรรมดังเช่นในข้อที่ 2 แต่ไม่ถึงขั้นแน่นอนว่าจะต้องเป็นเช่นนั้น หรือบุคคลผู้นั้นมีข้อบกพร่อง เช่น ชราภาพ มีโรคเรื้อรัง เป็นต้น

เป็นสิ่งที่ส่งเสริม (มุสตะหับ) ในกรณีที่บุคคลไม่มีสภาพหรือพฤติกรรมดังที่กล่าวมาใน 3 ข้อแรก แต่นักวิชาการสังกัดมัซฮับชาฟิอีย์ ถือว่าการสมรสในกรณีนี้มีข้อชี้ขาดว่า เป็นสิ่งที่อนุญาต (มุบาฮฺ) คือ บุคคลมีสิทธิที่จะเลือกได้ระหว่างการสมรสหรือไม่สมรส และกรณีที่ไม่สมรสแล้วใช้เวลาไปในการประกอบศาสนกิจและแสวงหาความรู้ก็ย่อมถือว่าดีกว่าการสมรส (ดร.วะฮฺบะฮฺ อัซซุฮัยลีย์ อ้างแล้ว 7/31-32)


แหล่งที่มา http://alisuasaming.org/


#นิติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "กฎหมายอิสลามเบื้องต้น : ว่าด้วยครอบครัวและมรดก"

วันศุกร์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2561

รู้จักอัลลอฮฺ (ตอนที่1)

รู้จักอัลลอฮฺ (ตอนที่1)




ถ้ามีผู้ถามท่านว่า “ใครคือพระผู้อภิบาลของท่าน?”
ก็จงบอกว่า “อัลลอฮฺคือพระผู้อภิบาลของฉัน ผู้ทรงบริบาลฉัน และทรงบริบาลประชาชาติทั้งหลายด้วยความโปรดของพระองค์ พระองค์คือผู้ที่ฉันต้องเคารพภักดี สำหรับฉันแล้วไม่มีผู้ใดอีกที่จะเป็นองค์ให้เคารพภักดีได้นอกจากพระองค์”

หลักฐานคือพระดำรัสของพระองค์ผู้ทรงสูงส่งซึ่งได้ตรัสว่า

[ ٱلۡحَمۡدُ لِلَّهِ رَبِّ ٱلۡعَٰلَمِينَ ﴾  [ الفاتحة: ٢ ﴿


ความว่า “บรรดาการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ ผู้ทรงอภิบาลแห่งโลกทั้งหลาย” (อัล-ฟาติหะฮฺ 1:2)

ทุกสรรพสิ่ง – อื่นจากอัลลอฮฺแล้ว - คือสิ่งที่พระองค์ทรงให้มีขึ้น และข้าพเจ้าก็เป็นส่วนหนึ่งแห่งการมีขึ้นนั้น

ถ้ามีผู้ถามท่านว่า
ท่านรู้จักพระผู้อภิบาลของท่านได้อย่างไร?
ดังนั้นจงกล่าวเถิดว่า
ด้วยสัญญาณหรือเครื่องหมายต่างๆ ของพระองค์ และสิ่งทั้งปวงที่ถูกสร้างขึ้น

ในหมู่สัญญาณของพระองค์นั้นคือกลางคืนและกลางวัน ดวงตะวันและดวงเดือน และจากสิ่งที่ถูกสร้างอีก ก็คือชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินนี้ และผู้ที่อยู่ในทั้งสองนี้และที่อยู่ในระหว่างทั้งสองนี้

หลักฐานคือพระดำรัสของพระองค์ผู้ทรงสูงส่งว่า


[ وَمِنۡ ءَايَٰتِهِ ٱلَّيۡلُ وَٱلنَّهَارُ وَٱلشَّمۡسُ وَٱلۡقَمَرُۚ لَا تَسۡجُدُواْ لِلشَّمۡسِ وَلَا لِلۡقَمَرِ وَٱسۡجُدُواْۤ لِلَّهِۤ ٱلَّذِي خَلَقَهُنَّ إِن كُنتُمۡ إِيَّاهُ تَعۡبُدُونَ ﴾ [ فصلت: ٣٧ ﴿


ความว่า “และส่วนหนึ่งจากสัญญาณทั้งหลายของพระองค์คือกลางคืนและกลางวัน และดวงตะวันและดวงเดือน จงอย่ากราบดวงตะวันและดวงเดือน แต่จงกราบอัลลอฮฺผู้ทรงสร้างมัน ถ้าพระองค์เท่านั้นที่สูเจ้าเคารพภักดี” (ฟุศศิลัต 41:37)


إِنَّ رَبَّكُمُ ٱللَّهُ ٱلَّذِي خَلَقَ ٱلسَّمَٰوَٰتِ وَٱلۡأَرۡضَ فِي سِتَّةِ أَيَّامٖ ثُمَّ ٱسۡتَوَىٰ عَلَى ٱلۡعَرۡشِۖ يُغۡشِي ٱلَّيۡلَ ٱلنَّهَارَ يَطۡلُبُهُۥ حَثِيثٗا وَٱلشَّمۡسَ وَٱلۡقَمَرَ وَٱلنُّجُومَ ﴿
[ مُسَخَّرَٰتِۢ بِأَمۡرِهِۦٓۗ أَلَا لَهُ ٱلۡخَلۡقُ وَٱلۡأَمۡرُۗ تَبَارَكَ ٱللَّهُ رَبُّ ٱلۡعَٰلَمِينَ ﴾  [ الأعراف : ٥٣


ความว่า “แท้จริง พระผู้อภิบาลของสูเจ้าคืออัลลอฮฺ ผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งหลายและแผ่นดินนี้ในระยะหกวัน(ตามเกณฑ์ของพระองค์) แล้วพระองค์ทรงมั่น(อิสตะวา)อยู่เหนือบัลลังก์(อัรชฺ) ทรงให้กลางคืนครอบคลุมกลางวันในสภาพที่กลางคืนไล่ตามกลางวันโดยรวดเร็ว ทรงกำหนดดวงเดือนและหมู่ดวงดาวให้อยู่ใต้อำนาจ(เอามาเป็นประโยชน์)ตามพระบัญชาของพระองค์ จงรู้ไว้เถิด เป็น(สิทธิ)ของพระองค์ในการสร้างและการบัญชา ผู้ทรงจำเริญยิ่งคือพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก” (อัล-อะอฺรอฟ 7:54)

แหล่งที่มา : เรียนรู้อัลกุรอาน อัลฮาดิษและดุอาอฺ วันละบท


#God_Islamic_Society_Online
#มหัศจรรย์อัลกรุอาน_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "รู้จักอัลลอฮฺ (ตอนที่1)"

วันพฤหัสบดีที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2561

ความเชื่อการอ่านยาซีนในวันศุกร์

ความเชื่อการอ่านยาซีนในวันศุกร์




เคยถามคนแก่ ว่าทำไมชอบอ่านยาสีนคืนวันศุกร์ เขาบอกว่า เพราะโตะครูบอกว่าใครอ่านยาสีนคืนวันศุกร์อัลลอฮิจะอภัยโทษแก่เขา และรอดพ้นจาก "ปือซากอยังปาปอ" ไม่รู้แปลเป็นไทยว่างัย น่าจะหมายถึง "ความหายนะ"

ทำไมชอบอ่านในวันศุกร์หรือคืนวันศุกร์ เพราะท่านนบี (ซล.) กล่าวว่า: "วันที่เลิศที่สุด ที่ดวงอาทิตย์ขึ้นนั้น คือวันศุกร์ ซึ่งเป็นวันที่นบีอาดัมถูกสร้าง นบีอาดัมถูกนำเข้าสรวงสวรรค์ และถูกนำออกจากสวรรค์" รายงานโดยมุสลิม และเป็นที่ทราบดีว่าวันศุกร์มีความประเสริญมากกว่าวันอื่น ๆ ดังนั้นตอนกลางคืนของวันศุกร์ก็เช่นเดียวกัน เพราะกลางคืนย่อมตามความประเสริฐของกลางวัน

รายงานจากท่านอบูฮุร๊อยเราะฮ์ ร่อฏิยัลลอฮุอันฮุ ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "ผู้ใดอ่านยาซีนในค่ำคืนใดคืนหนึ่ง เขาจะถูกอภัยโทษให้ และผู้ใดที่อ่านซูเราะฮ์อัดดุคอนในคืนวันศุกร์ เขาจะถูกอภัยโทษให้"

ฮะดิษนี้ท่านอิบนุเญาซีย์ กล่าวว่า "ในฮะดิษนี้มี มุฮัมมัด บิน ซะการียา ซึ่งเขากุฮะดิษ" และท่านอิมามอัสสะยูฏีย์ โต้คัดค้านว่า "ฮะดิษนี้มีสายรายงานมากมายจาก อบูฮุร๊อยเราะฮ์ ซึ่งสายรายงานบางส่วนนั้น อยู่บนเงื่อนไขที่ซอฮิห์ ที่ท่านอัตติรมีซีย์ได้นำเสนอรายงาน และท่านอัลบัยฮะกีย์ได้นำเสนอรายงานไว้ใน หนังสือชะอฺบุนอีหม่านไว้หลายสายรายงานด้วยกัน" (ดู หนังสือ อันนุกัตอัลบะดีอาต หน้า 58 - 59 ของท่านอิมามอัสสะยูฏีย์)

ท่านอิมามชาฟีอีย์(ร.ฏ.) ได้กล่าวไว้ในหนังสืออัลอุม ว่า "ได้รับทราบถึงเราว่า แท้จริงดุอาอ์จะถูกตอบรับ (เป็นพิเศษ) ในห้าคืน คือ คืนวันศุกร์ คืนอีดอัฏฮา คืนอีดฟิตร์ คืนแรกของเดือนระญับ และคืนนิสฟูชะอฺบาน" ดู 2 /264

เป็นที่ทราบกันดีว่า ยาซีนนั้น พี่น้องจะถนัดอ่านกันมาก และเป็นซูเราะฮ์ไม่ยาวมากนัก แต่เราก็จะพบว่าพี่น้องที่อ่านยาซีนไม่ได้นั้น ผู้รู้จะแนะนำให้อ่าน กุลฮุวัลลอฮ์ ทดแทน เพื่อเป็นความสะดวกแก่เขาในการทำอิบาดะฮ์

ท่านอิบนุอับบาสรายงานว่า ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "หรือว่าคนใดจากพวกท่านไม่มีความสามารถอ่านเศษหนึ่งส่วนสามของอัลกุรอานในค่ำคืนหนึ่ง? บรรดาซอฮาบะฮ์กล่าวถามว่า เขาจะอ่านเศษหนึ่งส่วนสามจากอัลกุรอานได้อย่างไร? ท่านนบี ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "กุลฮุวัลลอฮุอะฮัด" เท่ากับเศษหนึ่งส่วนสามของอัลกุรอาน" รายงานโดยมุสลิม

ส่วนซูเราะฮ์อัลกะฮ์ฟีนั้น เป็นซูเราะฮ์ที่ยาว คนเอาวามส่วนมากอ่านไม่ค่อยชำนาญ แต่สำหรับผู้ที่อ่านอัลกุรอานได้ถูกต้องและมีความชำนาญ ก็สมควรอย่างยิ่งที่จะอ่านซูเราะฮ์ อัลกะฮ์ฟีในวันศุกร์ เพราะมีฮะดิษซอฮิห์ได้ระบุไว้ว่า

"ผู้ใดที่อ่านซูเราะฮ์อัลกะฮ์ฟีในวันศุกร์ รัศมีจะแผ่คลุมแก่เขาในระหว่างสองวันศุกร์" รายงานโดยติรมีซีย์ ฮะดิษซอฮิห์

ดังนั้น การอ่านซูเราะฮ์ยาซีนกับซูเราะฮ์อัลกะฮ์ฟีย์นั้น มิใช่บ่งชี้ว่าอ่านซูเราะฮ์ยาซีนวันศุกร์เป็นบิดอะฮ์ลุ่มหลงตกนรก ส่วนซูเราะฮ์กะฮ์ฟีย์นั้นเป็นซุนนะฮ์โดยห้ามอ่านซูเราะฮ์อื่น เพราะการอ่านซูเราะฮ์ยาซีนและอัลกะฮ์ฟีล้วนมีหลักซุนนะฮ์มารับรอง แต่ทว่าเป็นความแตกต่างในเรื่องของความดีเลิศ ดังนั้น หากพิจารณาถึงในแง่การอ่านอัลกุรอาน แ่น่นอนว่าการอ่านซูเราะฮ์กะฮ์ฟีในวันศุกร์ย่อมดีเลิศกว่าการอ่านยาซีน แต่หากคนเอาวามทั่วไปอ่านกะฮ์ฟีไม่ได้หรือไม่ค่อยชำนาญ แน่นอนว่า การอ่านซูเราะฮ์ยาซีนย่อมดีเลิศสำหรับตัวเขายิ่งกว่าการไม่ได้อ่านอัลกุรอานเลย

และอีกอย่างหนึ่งคนแก่เขาเชื่อว่าคืนวันศุกร์วิญญาณของญาติๆ จะมาวนเวียนที่บ้าน เพื่อมาดูความทุกข์สุขของญาติๆ จึงจำเป็นต้องอ่านยาซีนอุทิศกุศลให้

เรื่องวิญญาณของญาติ ๆ มาวนเวียนเพื่อมาดูแลความทุกข์สุขของญาติ ๆ พี่น้องที่มีชีวิตอยู่นั้น ไม่พบหลักฐานแน่ชัด แต่การอ่านอัลกุรอานและซิกรุลลอฮ์แล้วขอดุอาอ์ให้แก่มัยยิดนั้น ให้กระทำได้ โดยไม่ได้วางเงื่อนไขว่าทำวันศุกร์หรือไม่ใช่วันศุกร์ แต่หากทำวันศุกร์ก็ไม่ผิดอันใด

ท่านอิมามมาลิก บิน อะนัส กล่าวว่า "ได้ทราบมาถึงฉันว่า แท้จริงวิญญาณของบรรดามุอ์มินนั้น จะถูกปล่อย (ให้เป็นอิสระ) ซึ่งวิญญาณจะไปสถานที่ใดก็ได้ตามต้องการ" ซึ่งอิมามอัศศะยูฏีย์ ได้กล่าวบันทึกไว้ในหนังสือ ฟัตวาของท่าน ที่ชื่อ อัลหาวีย์ ลิลฟะตาวา และหนังสือ อัรรั๊วะห์ ของท่านอิบนุก๊อยยิม

ท่านอิมามชาฟีอีย์ (ร.ฏ.) ได้กล่าวไว้ในหนังสืออัลอุม ว่า "ได้รับทราบถึงเราว่า แท้จริงดุอาอ์จะถูกตอบรับ (เป็นพิเศษ) ในห้าคืน คือ คืนวันศุกร์ คืนอีดอัฏฮา คืนอีดฟิตร์ คืนแรกของเดือนระญับ และคืนนิสฟูชะอฺบาน" ดู 2 /264

ท่านอิมาม อันนะวาวีย์ ได้กล่าวไว้ในหนังสือ เราเฏาะฮ์ อัตตอลิบีน ว่า "ได้รับทราบถึงเราว่า แท้จริงดุอาอ์จะถูกตอบรับ (เป็นพิเศษ) ในห้าคืน คือ คืนวันศุกร์ คืออีดอัฏฮา คืนอีดฟิตร์ คือแรกของเดือนระญับ และคืนนิสฟูชะอฺบาน และและอิมามชาฟิอีย์ (ร.ฏ.) กล่าวว่า "ข้าพเจ้ารัก (ที่จะให้กระทำ) กับทุกสิ่งที่ข้าพเจ้าได้รายงานเกี่ยวกับบรรดาคืนเหล่านี้ โดยที่ไม่ใช่เป็นฟัรดู" ดู 2/75

การได้รับผลบุญ ไม่ใช่หมายถึงวิญญาณของพ่อแม่ต้องเดินทางกลับมาเยื่ยมเพื่อมารับผลบุญ การที่บิดามารดาผู้ล่วงลับไปแล้วหรือพี่น้องมุสลิมที่เสียชีวิตไปแล้วนั้น พวกเขาจะได้รับผลบุญที่คนเป็นได้มอบ (ฮะดียะอ์) ให้ โดยที่คนตายอยู่ในกุบูร และบรรดาผู้ล่วงลับไปแล้ว ก็สามารถรับรู้สถานะภาพและพฤติกรรมของคนเป็นได้ โดยสิ่งดังกล่าวจะถูกนำเสนอให้พวกเขาได้รับทราบ

ท่านอิมาม อัสศะยูฏีย์ (ร่อฮิมะฮุลลอฮ์) ได้กล่าวไว้ในหนังสือฟัตวาของท่านว่า

"ถูกรายงานจากมุฮัมมัด บิน วาเซี๊ยะอ์ เขากล่าวว่า ได้ทราบถึงฉันว่า แท้จริงบรรดาผู้ตายสามารถรู้ได้ถึงบรรดาผู้ที่ไปเยี่ยมเยือน (กุบูร) ของพวกเขาในวันศุกร์ และวันก่อนจากนั้น (คืนวันศุกร์ค่ำลง) และวันหลังจากนั้น (คืนวันเสาร์ก่อนดวงอาทิตย์ขึ้น) , ได้รายงานจากท่านอัฏฏ่อห์ฮาก ซึ่งเขากล่าวว่า ผู้ใดที่เยี่ยมกุบูรใน (คืน) วันเสาร์ก่อนที่ดวงอาทิตย์จะขึ้น ผู้ตายก็จะรู้ถึงการเยี่ยมเยือนของเขา จึงถูกตั้งคำถามขึ้นว่า ดังกล่าวมันเป็นอย่างไรหรือ? ท่านอัฏฏ่อห์ฮากกล่าวว่า เพราะมันอยู่ในตำแหน่งของวันศุกร์"

ท่านอิมามอะห์มัดได้รายงานไว้ในหนังสือมุสนัดของท่าน จากท่านอะนัสบินมาลิก ว่า ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "บรรดาอะมัลของพวกท่าน จะถูกนำเสนอแก่บรรดาเครือญาติของพวกท่าน และพวกพร้องของพวกท่านจากบรรดาผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว ดังนั้น หากมันเป็นความดีงาม พวกเขาจะปลื้มปิติยินดี และหากไม่เช่นนั้น พวกเขาก็จะกล่าวว่า โอ้ อัลเลาะฮ์ พระองค์โปรดอย่าให้พวกเขาตาย จนกระทั่งพระองค์ทรงชี้นำพวกเขา เสมือนกับที่พระองค์ทรงชี้นำต่อพวกเราด้วยเถิด" (หะดิษนี้ซอฮิห์ - แม้ว่าอัลบานีย์ (ร.ฮ.) เองเคยฮุกุมว่าหะดิษนี้ฏออีฟ แต่เขาได้ยกเลิกทัศนะดังกล่าวแล้ว ดู อัซซัลซิละฮ์ อัซซ่อฮิฮะห์ ของ อัลบานีย์ เล่ม 6 หน้า 605)

ท่านอัตติรมีซีย์ อัลหะกีม ได้กล่าวรายงานไว้ใหนหนังสือ นะวาดิร อัลอุซูล จากหะดิษของอับดุลฆ่อฟูร บิน อับดุลอะซีซ จากบิดาของเขา จากปู่ของเขา ว่า ท่านร่อซูลุลเลาะฮ์ ซ๊อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า "บรรดาอะมัลจะถูกนำเสนอต่ออัลเลาะฮ์ในวันจันทร์และวันพฤหัสบดีและบรรดาอะมัลจะถูกนำเสนอแก่บรรดานบีและบรรดาบิดามารดา ในวันศุกร์ ดังนั้น พวกเขาจะมีความปิติยินดี ด้วยบรรดาความดีงามต่าง ๆ ของพวกเขา ใบหน้าของพวกเขาจะมีสีขาวและเปล่งประกาย ดังนั้น พวกท่านจงยำเกรงต่ออัลเลาะฮ์ และพวกท่านจงอย่าสร้างความเดือนร้อนกับบรรดาผู้ตาย" ดู หนังสือ อัลฮาวีย์ ลิลฟาตาวา ของท่านอิมามอัศศะยูฏีย์ เล่ม 2 หน้า 206 ดารุลฟิกร์

จากสิ่งดังกล่าว จึงไม่ใช่เป็นเรื่องแปลกที่พี่น้องมุสลิมจะอิจญฺฮาดขยันมั่นเพียรกระทำอิบาดะฮ์และซิกรุลลอฮ์ต่าง ๆ แล้วมอบฮะดียะฮ์ผลบุญแก่ผุ้ล่วงลับไปแล้วในวันศุกร์และอื่นจากวันศุกร์

แหล่งที่มา : www.sunnahstudent.com


#นานาทัศนคติ_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "ความเชื่อการอ่านยาซีนในวันศุกร์"

วันพุธที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2561

อ่านซูเราะฮ อัล-มุลกฺ ทุกคืน แล้วคุณจะปลอดภัย

อ่านซูเราะฮ อัล-มุลกฺ ทุกคืน แล้วคุณจะปลอดภัยจากสิ่งนี้



ซูเราะฮฺ อัลมุลกฺ เป็นซูเราะฮฺที่ประเสริฐยิ่ง ใครก็ตามที่อ่านซูเราะฮฺนี้ในทุกๆ ค่ำคืน อัลลอฮฺ (ซ.บ) จะปกป้องเขาให้พ้นจากการถูกทรมานในกุโบร์ (หลุมฝังศพ) และจะช่วยเหลือเขาในวันกิยามะฮฺ ซูเราะฮฺนี้จะคือเสบียงของเรา หากเราเข้าใจและปฏิบัติตามความหมายของซูเราะฮฺอัลมุลกฺอย่างเคร่งครัด

ไม่เพียงแค่ปกป้องให้พ้นจากการถูกทรมานในกุโบร์ (หลุมฝังศพ) เท่านั้น แต่ยังมีความประเสริฐอื่นๆ อีกมากมายที่กล่าวไว้ซูเราะฮฺอัลมุลกฺ ดังนี้

1. อัลลอฮฺจะทรงอภัยโทษให้กับผู้ที่อ่านซูเราะฮฺนี้

จากอาบูฮุรอยเราะฮฺ (ร.ฎ) เล่าว่า ท่านนบี (ซ.ล) กล่าวว่า...

ความว่า “ในอัลกุรอ่านนั้นจะมีอยู่ซูเราะฮฺหนึ่งซึ่งมีทั้งหมด 30 อายะฮฺ ซูเราะฮฺนี้ได้ช่วยเหลือชายคนหนึ่งจนกระทั่งอัลลอฮฺ (ซ.บ) ได้ให้อภัยโทษแก่เขา ซูเราะฮฺที่ว่านี้คือ ซูเราะฮิ อัล-มุลกฺ” (บันทึกโดย อาบู ดาวูด เลขที่1400, อัตติรมีซีย์ เลขที่2891, อิบนู มาญะฮฺ เลขที่3786)

2. อัลลอฮฺจะทรงปกป้องให้พ้นจากการทรมานในกุโบร์ (หลุมฝังศพ) และถูกลงโทษในนรก

จากอับดุลเลาะฮฺ บิน มัสอูด เล่าว่า ท่านนบี (ซ.ล) กล่าวว่า...

ความว่า “ใครก็ตามที่อ่าน ตะบารอกัล ละซีบิยะดิฮิล มุลก์ หรือซูเราะฮฺ อัล-มุลกฺ ในทุกๆ ค่ำคืนพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ) จะทรงปกป้องเขาให้พ้นจากการทรมานในหลุมฝังศพ” ซึ่งในเวลานั้นท่านนบีมูฮำหมัด (ซ.ล) ได้เคยเรียกชื่อซูเราะฮฺนี้ว่า “Al-Mani’ah” ซึ่งแปลว่า “การป้องกัน” ซึ่งใครก็ตามที่สามารถท่องซูเราะฮฺนี้ในทุกๆ ค่ำคืนได้ จะเป็นสิ่งที่ดีสำหรับเขา (บันทึกโดย อัลนาซาอี)

3. อัลลอฮฺ (ซ.บ) ทรงปกป้องให้ราห่างไกลจากสิ่งที่เป็นมักซียัต (สิ่งที่ไม่ดี) ทั้งหลาย

إِنَّ الَّذِينَ يَخْشَوْنَ رَبَّهُم بِالْغَيْبِ لَهُم مَّغْفِرَةٌ وَأَجْرٌ كَبِيرٌ

ความว่า “แท้จริงบรรดาผู้ยำเกรงต่อพระเจ้าของพวกเขาโดยทางลับ สำหรับพวกเขาจะได้รับการอภัยโทษและรางวัลอันใหญ่หลวง” (ซูเราะฮฺ อัล-มุลกฺ อายะฮฺ 12)

4. ทำให้เราเป็นคนที่ตะวักกัล [มอบหมายต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ)]

ในซูเราะฮฺ อัล-มุลกฺ อายะฮฺ 15 อัลลอฮฺ(ซ.บ)ได้ชี้ชัดว่า ทุกๆ การกระทำในหน้าแผ่นดินนี้เพื่อแสวงหาริซกีจากอัลลอฮฺ (ซ.บ) สิ่งนี้แสดงให้เห็นถึงความไว้วางใจพร้อมมอบหมายต่ออัลอฮฺ (ซ.บ) แล้ว ดั่งอายะฮฺอัลกุรอานที่มีใจความดังนี้...

هُوَ الَّذِي جَعَلَ لَكُمُ الْأَرْضَ ذَلُولًا فَامْشُوا فِي مَنَاكِبِهَا وَكُلُوا مِن رِّزْقِهِ

ความว่า “พระองค์คือผู้ทรงทำแผ่นดินนี้ให้ราบเรียบสำหรับพวกเจ้า ดังนั้นจงสัญจรไปตามขอบเขตของมันและจงบริโภคจากปัจจัยยังชีพของพระองค์

อัลฮัมดุลิลลาฮฺ ยา อัลลอฮฺ  แค่เราอ่านซูเราะฮฺอัล-มุลกฺในทุกค่ำคืน อ่านด้วยลักษณะที่สุภาพพร้อมศึกษาความหมายจากทั้ง 30 อายะฮฺในซูเราะฮฺนี้ เราก็จะเข้าใจว่าอัลลอฮฺ (ซ.บ) กำลังจะสื่ออะไรให้บ่าวของท่านได้รับรู้ มาชาอัลลอฮฺเพียงไม่กี่อายะฮฺในซูเราะฮฺนี้ สามารถทำให้เราได้รับประโยชน์อย่างมากมายนานัปการ

แปลและเรียบเรียงโดย Karimah, Beritamuslim

ที่มาข้อมูล ummi-online.com


#มหัศจรรย์อัลกรุอาน_Islamic_Society_Online
#ปาฏิหาริย์แห่งอิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "อ่านซูเราะฮ อัล-มุลกฺ ทุกคืน แล้วคุณจะปลอดภัย"

วันอังคารที่ 23 มกราคม พ.ศ. 2561

จันทรุปราคาเต็มดวง 31 มกราคม 2561

จันทรุปราคาเต็มดวง 31 มกราคม 2561


วันพุธที่ 31 มกราคม 2561 เกิดจันทรุปราคาเต็มดวง สามารถสังเกตได้ในประเทศไทยตั้งแต่ท้องฟ้าเริ่มมืดหลังดวงอาทิตย์ตก จันทรุปราคาเริ่มขึ้นเมื่อดวงจันทร์แตะเงามัวของโลกในเวลา 17:51 น. ซึ่งขณะนั้นส่วนใหญ่ของประเทศไทยดวงอาทิตย์ยังไม่ตกและดวงจันทร์ยังไม่ขึ้น เมื่อเริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วนหรือดวงจันทร์เริ่มแหว่งเว้าในเวลา 18:48 น. ดวงจันทร์จะอยู่เหนือขอบฟ้าทิศตะวันออก กรุงเทพฯ ดวงจันทร์มีมุมเงย 8°

ดวงจันทร์เข้าไปในเงามืดทั้งดวงตั้งแต่เวลา 19:52 - 21:08 น. แต่ดวงจันทร์ไม่มืดสนิท เห็นเป็นสีส้มหรือสีแดงอิฐ เพราะแสงอาทิตย์หักเหและกระเจิงผ่านบรรยากาศโลกไปที่ดวงจันทร์ จากนั้นดวงจันทร์ทั้งดวงจะออกจากเงามืดหรือสิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วนในเวลา 22:11 น. แม้เราจะเห็นดวงจันทร์กลับมาเต็มดวงแล้ว แต่ดวงจันทร์ยังดูหมองคล้ำต่อไปอีกระยะหนึ่ง สิ้นสุดปรากฏการณ์อย่างสมบูรณ์เมื่อดวงจันทร์ออกจากเงามัวในเวลา 23:09 น.

ขณะเกิดจันทรุปราคา ดวงจันทร์อยู่ในกลุ่มดาวปู มีกระจุกดาวเปิดที่มีชื่อเสียงคือกระจุกดาวรังผึ้ง ขณะเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง กระจุกดาวรังผึ้งอยู่สูงเหนือดวงจันทร์ประมาณ 5° ขณะบังเต็มที่เมื่อดวงจันทร์เข้าใกล้ศูนย์กลางเงาโลกมากที่สุดในเวลา 20:30 น. ศูนย์กลางเงาอยู่ห่างขอบดวงจันทร์ออกไปเล็กน้อยทางทิศเหนือ ทำให้คาดหมายได้ว่าพื้นที่ด้านทิศใต้ของดวงจันทร์ซึ่งอยู่ทางขวามือเมื่อมองขึ้นไปบนฟ้าน่าจะสว่างกว่าอีกด้านหนึ่ง

นอกจากประเทศไทย บริเวณที่เห็นจันทรุปราคาครั้งนี้ ได้แก่ ด้านตะวันออกของยุโรป ด้านตะวันออกของแอฟริกา มหาสมุทรอินเดีย เอเชีย ออสเตรเลีย มหาสมุทรแปซิฟิก อเมริกาเหนือ อเมริกากลาง ด้านตะวันตกของมหาสมุทรแอตแลนติก และบางส่วนของแอนตาร์กติกา

ขั้นตอนการเกิดจันทรุปราคา 31 มกราคม 2561

  1. ดวงจันทร์เริ่มเข้าสู่เงามัวของโลก17:51:13
  2. เริ่มเกิดจันทรุปราคาบางส่วน18:48:27
  3. เริ่มเกิดจันทรุปราคาเต็มดวง19:51:47
  4. ดวงจันทร์เข้าไปในเงาลึกที่สุด20:29:50 (ขนาดอุปราคา = 1.3155)
  5. สิ้นสุดจันทรุปราคาเต็มดวง21:07:52
  6. สิ้นสุดจันทรุปราคาบางส่วน22:11:13
  7. ดวงจันทร์พ้นจากเงามัวของโลก 23:08:31


ข้อมูลโดย : วรเชษฐ์ บุญปลอด
กรรมการวิชาการสมาคมดาราศาสตร์ไทย

พี่น้องสามารละหมาดจันทรุปราคาได้ครับ




วิธีละหมาด


ฟังบรรยายเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับวิธีละหมาดเพิ่มเติม 


read more "จันทรุปราคาเต็มดวง 31 มกราคม 2561"

ความมหัศจรรย์ของอัลกุรอ่าน กับลายนิ้วมือ

ความมหัศจรรย์ของอัลกุรอ่าน กับลายนิ้วมือ



ลายนิ้วมือ (fingerprint) เป็นลักษณะทางกายชนิดหนึ่งที่ใช้ระบุเอกลักษณ์เฉพาะบุคคลที่ค่อนข้างแน่นอน เนื่องจากลายนิ้วมือจะไม่มีการเปลี่ยนแปลงตามอายุ ในขณะที่ฐานข้อมูลทางทันตกรรมมีโอกาสเปลี่ยนได้ ลายนิ้วมือคนเรามีทั้งส่วนที่เป็นร่องและสันหรือส่วนนูน (ridge)... ส่วนนูนมีรู (pore) ที่ต่อกับต่อมเหงื่อ ซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญที่ทำให้คนเรามีรอยนิ้วมือ และที่สำคัญคือ ในขณะที่แฝดเหมือนอาจจะมีพันธุกรรม (DNA) ตรงกัน ทว่าอย่างไรก็ตาม ลายนิ้วมือจะไม่เหมือนกัน

สำหรับสถิติโอกาสที่คนเราจะมีลายนิ้วมือตรงกันมีประมาณ 1 ใน 6 หมื่นล้าน มากกว่าจำนวนประชากรโลก (6,783.037 ล้านคน) ประมาณ 8.846 เท่า นั่นคือ เราคงต้องรอให้คนเกิดๆ ตายๆ ไปประมาณ 8 ชั่วอายุคน (น้อยกว่า 8.846 ชั่วอายุคน เนื่องจากประชากรโลกมีแนวโน้มจะเพิ่มมากกว่าคงที่ หรือลดลง) จึงจะพบลายมือตรงกัน 1 คู่

อัลลอฮฺได้ตรัสในซูเราะฮฺ อัล-กิยามะฮฺอายะห์ที่ 1-4 ว่า


”لا أُقْسِمُ بِيَوْمِ الْقِيَامَةِ * وَلا أُقْسِمُ بِالنَّفْسِ اللَّوَّامَةِ * أَيَحْسَبُ الإِنسَانُ أَلَّنْ نَجْمَعَ عِظَامَهُ * بَلَى قَادِرِينَ عَلَى أَنْ نُسَوِّيَ بَنَانَهُ“ .

ข้าสาบานต่อวันกิยามะฮฺ และข้าขอสาบานต่อชีวิตที่ประณามตนเอง มนุษย์คิดหรือว่า เราจะไม่รวบรวมกระดูกของเขากระนั้นหรือ ? แน่นอนทีเดียวเราสามารถที่จะทำให้ปลายนิ้วมือของเขาอยู่ในสภาพที่สมบูรณ์

อิบนุ มันซูร ได้กล่าวในหนังสือ ลิซานุลอะหรับ (لسان االعرب) ว่า

"البَنَان" (อัลบะนาน) หมายถึง ส่วนปลายของมือและขาทั้งสองข้าง " البنانة " (อัลบะนานะฮฺ) คือ นิ้วมือทั้งหมด บางคนว่าเป็นข้อต่อของนิ้ว

อัลกุรอฏุบีได้กล่าวในหนังสืออรรถาธิบายอัลกุรอานของท่าน ว่า

" البَنَان " (อัลบะนาน) ในความหมายของคนอาหรับคือบรรดานิ้ว และนิ้วมือ (หรือนิ้วเท้า) นิ้วเดียว เรียกกว่า "بنانة" (บะนานะฮฺ)

อัลกุรฏุบีและอัซซุญาจ ได้กล่าวว่า "พวกเขา (กุฟฟารฺมุชริกีน) กล่าวกันว่า อัลลอฮฺไม่สามารถบังเกิดชีวิตขึ้นมาใหม่และไม่สามารถรวบรมกระดูก (เพื่อให้เป็นรูปร่างขึ้นมาอีก) อัลลอฮฺจึงได้ตรัสแก่พวกเขาว่า พระองค์สามารถที่จะนำกลับสู่สภาพที่ปกติเหมือนเดิม ตั้งแต่หน่วยเล็กๆจนสมบูรณ์ และความสามารถนี้พระองค์ก็ทรงสามารถที่จะรวบรวมสิ่งที่ใหญ่ๆได้เช่นกัน"

ความรู้ในลักษณะนี้ถูกบันทึกเมื่อครั้งแรกเริ่มของศาสนาอิสลามได้เผยแพร่ความจริงสู่มวลมนุษย์ เป็นเวลานานพันกว่าปีมาแล้ว ก่อนที่วิทยาการสมัยใหม่ ทั้งชีววิทยา สรีระวิทยาและวงการแพทย์ยังไม่ได้จดบันทึกสิ่งใดเลย


แหล่งที่มา: เรียนรู้อัลกุรอาน อัลฮาดิษและดุอาอฺ วันละบท


#มหัศจรรย์อัลกรุอาน_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "ความมหัศจรรย์ของอัลกุรอ่าน กับลายนิ้วมือ"

วันจันทร์ที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2561

สงครามหกวัน : ย้อนรอยเส้นทางอิสราเอลยึดครองปาเลสไตน์

สงครามหกวัน : ย้อนรอยเส้นทางอิสราเอลยึดครองปาเลสไตน์




ชาวปาเลสไตน์ระลึกความทรงจำ 50 ปีของสงครามในปี 1967 หรือที่รู้จักกันในชื่อ สงครามหกวัน สงครามที่ทำให้ชีวิตของพวกเขาตกอยู่ภายใต้การยึดครองของอิสราเอล

ต้นเดือนมิถุนายนของเมื่อ 50 ปีที่แล้ว อิสราเอลได้สร้างความตื่นตะลึงให้กับโลกด้วยการบุกยึดครองดินแดนปาเลสไตน์ส่วนที่เหลือในเขตเวสต์แบงก์, เขตเยรูซาเล็มตะวันออก, ฉนวนกาซ่า, ที่ราบสูงโกลัน (Golan Heights) ของซีเรีย และคาบสมุทรซีนายของอียิปต์ได้เป็นผลสำเร็จภายในระยะเวลาเพียง 6 วัน

ในสงครามที่เกิดขึ้นกับอียิปต์,จอร์แดน และซีเรีย ซึ่งเป็นที่รู้จักในนามสงครามหกวันนั้น ทางการอิสราเอลได้ส่งมอบสิ่งที่เรียกว่า “Naksa” ซึ่งมีความหมายว่า “ถอยออกไป หรือยอมแพ้ไป” แก่ทหารของกลุ่มประเทศอาหรับรวมถึงชาวปาเลสไตน์ที่จำต้องสูญเสียแผ่นดินบ้านเกิดของตนเอง

“Naksa” คือภาคต่อของเหตุการณ์สำคัญที่ปูทางให้เกิดสงครามหกวันนี้ขึ้น ย้อนกลับไป19 ปีก่อนหน้านั้น ราวปี ค.ศ.1948 อิสราเอลได้เข้ามามีบทบาทในการก่อความรุนแรงที่ส่งผลให้เกิดการฆ่าล้างเผ่าพันธุ์ชาวปาเลสไตน์ในเวลาต่อมา

ในสงครามหกวัน อิสราเอลควบคุมอำนาจปกครองในเขตพื้นที่สีทึบของซีนายแห่งอียิปต์ ที่ราบสูงโกลันแห่งซีเรีย และเขตเวสต์แบงก์ ซึ่งรวมไปถึงเยรูซาเล็มตะวันออกและฉนวนกาซ่า ในดินแดนของปาเลสไตน์






















ในปฏิบัติการสร้าง “รัฐยิว” กองกำลังไซออนิสต์ได้ทำลายล้างหมู่บ้านและขับไล่ชาวปาเลสไตน์จำนวนกว่า 750,000 ชีวิตให้ออกจากมาตุภูมิของตนเอง หลังจากอิสราเอลสามารถประกาศการจัดตั้งรัฐยิวได้ไม่นาน กองทัพจากกลุ่มประเทศอาหรับต่างก็ยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือและต่อสู้ เพื่อกอบกู้ประเทศและคืนดินแดนให้ชาวปาเลสไตน์

สงครามในปี ค.ศ.1948 จบลงด้วยการที่อิสราเอลสามารถควบคุมอาณาเขตไว้ได้ราว 78 เปอร์เซ็นต์ของดินแดนปาเลสไตน์ ในขณะที่อีก 22เ ปอร์เซ็นต์ที่เหลือตกไปอยู่ในมือของอียิปต์และจอร์แดน

ถัดมาใน สงครามหกวัน ปี ค.ศ.1967 อิสราเอลสามารถดูดกลืนพื้นที่ทั้งหมดของปาเลสไตน์รวมไปถึงอาณาเขตของอียิปต์และซีเรียได้เป็นผลสำเร็จ เมื่อสงครามสิ้นสุดลงอิสราเอลได้ขับไล่ชาวปาเลสไตน์อีก 430,000 ชีวิตออกจากบ้านเกิดเมืองนอนของตัวเอง จนสามารถขยายอาณาเขตครอบครองได้เพิ่มมากขึ้นจากเดิมถึง 3.5 เท่า

เหตุใดสงครามจึงเริ่มขึ้น?


เรื่องราวของสงครามครั้งนี้อาจมีหลายเวอร์ชั่น ซึ่งเป็นเรื่องปกติของหลายเหตุการณ์ความขัดแย้งที่เกิดขึ้นระหว่างอาหรับและอิสราเอล แต่กระนั้นมันก็มีเรื่องราวหลายฉากตอนที่เป็นชนวนก่อให้เกิดสงครามขึ้นมาอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

อันดับแรก มีความไม่ลงรอยกันเกี่ยวกับแนวร่วมการสงบศึกระหว่างอิสราเอลกับซีเรีย และอิสราเอลกับจอร์แดน ภายหลังจากสงครามในปี ค.ศ.1948 ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์นับพันชีวิตได้พยายามข้ามพรมแดนกลับไปเพื่อหาญาติมิตรที่สูญหาย และพยายามกลับไปยังบ้านตนเองเพื่อทวงคืนทรัพย์สินต่างๆ ของตนเองที่หายไป

ในช่วงปี ค.ศ.1949 จนกระทั่งปี ค.ศ.1956 คาดการณ์กันว่ากองกำลังอิสราเอลลอบสังหารประชาชนที่พยายามข้ามเขตแดนไปทั้งหมดราว 2,000 ถึง 5,000 ชีวิตด้วยกัน

ในปี ค.ศ.1953 อิสราเอลปฏิบัติการตอบโต้ด้วยการสังหารหมู่ที่ฉาวโฉ่ที่สุดในหมู่บ้าน Qibya ในเขตเวสต์แบงก์ ในครั้งนั้นบ้านเรือน 45 หลังถูกระเบิดทำลายล้างและชาวปาเลสไตน์อย่างน้อย 69 ชีวิตถูกฆาตกรรมอย่างเลือดเย็น

หลังจากนั้นไม่นานก็ได้เกิด “วิกฤตกาณ์สุเอซ” ขึ้นในปี ค.ศ.1956 เมื่ออิสราเอลได้จับมือกับฝรั่งเศสและอังกฤษบุกรุกพื้นที่ของอียิปต์เพื่อหมายจะโค่นล้มผู้นำ Gamal Abdel Nasser ประธานาธิบดีอียิปต์ในสมัยนั้น หลังจากที่เขาได้ทำให้คลองสุเอซตกเป็นกรรมสิทธิ์ของประเทศชาติ ซึ่งก่อนหน้านั้นอำนาจในการบริหารคลองแห่งนี้เป็นของอังกฤษและฝรั่งเศส ทั้งสามประเทศถูกบังคับให้ถอนอำนาจ กระทั่งสิบปีถัดมากองกำลังรักษาสันติภาพแห่งองค์การสหประชาชาติได้เข้าประจำการในบริเวณชายแดนระหว่างอียิปต์และอิสราเอล

ในช่วงกลางทศวรรษที่ 1950 และ 1960 กลุ่ม Fedayeen ได้ถือกำเนิดขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มต่อต้านติดอาวุธของชาวปาเลสไตน์ที่พยายามจะต่อสู้กับอิสราเอล

ย้อนกลับไปหนึ่งปีก่อนสงคราม อิสราเอลได้บุกโจมตีหมู่บ้าน As Samu’ ในเขตเวสต์แบงก์ ซึ่งเป็นฐานปฏิบัติการของกองกำลังทหารที่ใหญ่ที่สุดตั้งแต่วิกฤติการณ์สุเอซ หลังจากที่กลุ่มฟะตะห์ของชาวปาเลสไตน์ได้สังหารทหารอิสราเอลเป็นจำนวนมาก ส่งผลให้กองกำลังอิสราเอลทำการปิดล้อมเมืองของชาวบ้านในละแวกนั้นและทิ้งระเบิดทำลายบ้านเรือนนับสิบหลัง การจู่โจมครั้งนั้นทำให้มีผู้เสียชีวิตราว 18 รายและบาดเจ็บกว่าอีก 100 ราย

นอกจากนี้ความตึงเครียดระหว่างซีเรียและอิสราเอลก็ครุกรุ่นจากความไม่เห็นด้วยในประเด็นของการใช้น้ำจากแม่น้ำจอร์แดน และการเพาะปลูกของชาวอิสราเอลตามแนวตะเข็บชายแดน ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งชนวนสำคัญที่ทำให้เกิดความร้าวฉานกระทั่งกลายเป็นสงครามขึ้นมา

วันที่ 13 พฤษภาคม 1967 สหภาพโซเวียตได้แจ้งเตือนเท็จแก่อียิปต์ว่าอิสราเอลได้ทำการรวบรวมกองกำลังทหารเพื่อเตรียมบุกซีเรีย โดยในสนธิสัญญาเพื่อปกป้องประเทศของอียิปต์และซีเรียดังที่ตกลงกันไว้เมื่อปี ค.ศ.1955 นั้นได้ระบุไว้ว่า ทั้งสองประเทศนี้จะต้องทำการปกป้องกันและกันในกรณีที่มีการโจมตีเกิดขึ้นกับฝ่ายหนึ่งฝ่ายใด

อียิปต์จึงสั่งการให้กองกำลังทหารแห่งสหประชาชาติถอนกำลังออกจากซีนายแล้วส่งกองกำลังทหารของตนเองเข้าประจำการแทน ไม่กี่วันต่อมา ประธานาธิบดีนัสเซอร์ของอียิปต์ได้ระงับการคมนาคมทางเรือของอิสราเอลในทะเลแดง

ในช่วงปลายเดือนพฤษภาคม อียิปต์และจอร์แดนได้ร่วมลงนามข้อตกลงเพื่อปกป้องประเทศร่วมกัน ส่งผลให้ทหารจอร์แดนอยู่ภายใต้บังคับบัญชาของอียิปต์อย่างเต็มอัตรา ต่อมาไม่นานอิรักก็เริ่มคล้อยตามคำร้องดังกล่าวอีกราย

ในขณะที่อิสราเอลอ้างว่าการปิดกั้นช่องแคบของประธานาธิบดีนัสเซอร์ถือเป็นการกระทำที่รุนแรง แต่นัสเซอร์แย้งว่า “อ่าว Aqaba ประกอบไปด้วยน่านน้ำของอียิปต์เช่นกัน” ฉะนั้นการตัดสินใจของเขาจึงถือเป็นความชอบธรรมทางกฎหมาย






















เช้าตรู่ของวันที่ 5 มิถุนายน อิสราเอลได้ส่งกองกำลังโจมตีฐานที่มั่นทางอากาศของอียิปต์อย่างไม่ทันให้ตั้งตัว ทำลายฐานทัพอากาศของอียิปต์ในขณะที่ยังคงอยู่บนพื้นดินอย่างย่อยยับ เหตุการณ์นี้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของ สงครามหกวัน

มูลเหตุที่อยู่เบื้องหลังของการก่อสงครามครั้งนี้เป็นประเด็นที่มักตกเป็นข้อโต้เถียงกันในหมู่นักประวัติศาสตร์และนักวิเคราะห์เรื่อยมา บ้างก็เชื่อว่าอิสราเอลมี “ภารกิจที่ยังไม่เสร็จสิ้น” เมื่อการเข้ายึดครองดินแดนปาเลสไตน์ให้ได้เบ็ดเสร็จในสงครามปี ค.ศ.1948 ครั้งนั้นยังไม่ประสบผลสำเร็จ ช่วงหนึ่งของการโจมตีในปี ค.ศ.1967 นั้น Yigal Allon รัฐมนตรีอิสราเอล ได้เขียนเอาไว้ว่า “ใน…สงครามครั้งใหม่ เราต้องพยายามหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดความผิดพลาดซ้ำรอยเหมือนสงครามแห่งอิสรภาพ (ปี 1948) …และจะต้องไม่ยุติการสู้รบจนกว่าเราจะได้มาซึ่งชัยชนะทั้งปวง นั่นคือภารกิจขยายอาณาเขตดินแดนแห่งอิสราเอล”

สงครามเปิดฉากขึ้นอย่างไร?


มีรายงานว่าการโจมตีของอิสราเอลต่อฐานทัพอากาศของอียิปต์ในเมืองซีนายและซุเอซนั้นทำให้กองกำลังทางอากาศของอียิปต์ต้องเสียหายอย่างน้อย 90 เปอร์เซ็นต์ นอกจากนี้กองกำลังภาคพื้นดินของอิสราเอลยังได้ทำการบุกฉนวนกาซ่าและคาบสมุทรซีนายในวันเดียวกันนั้นด้วย

เครื่องบินรบของอียิปต์นอนแน่นิ่งจากการจู่โจมทางอากาศของอิสราเอลในวันที่ 5 มิถุนายน 1967 ในช่วงเริ่มต้นสงคราม [Getty Images]





















นอกจากนี้อิสราเอลยังได้โจมตีสนามบินของซีเรียในเย็นวันที่ 5 มิถุนายน และวันต่อมาเกิดการปะทะกันขึ้นระหว่างจอร์แดนกับอิสราเอลเพื่อแย่งชิงอำนาจในการควบคุมเยรูซาเล็มตะวันออกซึ่งเป็นกรรมสิทธิ์ของจอร์แดนในขณะนั้น

เช้ามืดของวันที่ 7 มิถุนายน Moshe Dayan ผู้บัญชาการทหารบกของอิสราเอล ได้สั่งการให้ทหารอิสราเอลเข้ายึดเมืองเก่าที่ตั้งอยู่ในเมืองเยรูซาเล็มตะวันออก ท่ามกลางการเรียกร้องให้หยุดสู้รบจากองค์การสหประชาชาติในวันเดียวกันนั้น มีรายงานว่านักการทูตของอิสราเอลประจำกรุงนิวยอร์กและวอชิงตันดีซีได้พยายามรวบรวมเสียงสนับสนุนจากสหรัฐอเมริกาเพื่อให้ยืดเวลากำหนดการหยุดรบนั้นออกไป อันจะส่งผลให้อิสราเอลมีเวลาเพิ่มเติมในการ “สะสางภารกิจนั้น”

ในช่วงเที่ยงของวันที่ 7 มิถุนายน กองกำลังอิสราเอลสามารถช่วงชิงดินแดนในเมืองเก่าจากทหารจอร์แดนได้เป็นผลสำเร็จ

ผู้นำอิสราเอล David Ben-Gurion และ Yitzhak Rabin นำกลุ่มทหารเดินผ่าน Dome of the Rock ในเมืองเก่าของเยรูซาเล็มตะวันออกหลังการยึดครองในเดือนมิถุนายน 1967 [Getty Images]



























เมืองหลักๆ ในเขตเวสต์แบงก์อย่างเมือง Nablus, Bethlehem, Hebron และ Jericho ตกอยู่ในมือของทหารอิสราเอลภายในวันต่อมา จากนั้นอิสราเอลได้รื้อถอนสะพาน Abdullah และสะพาน Hussein ที่เชื่อมต่อเขตเวสต์แบงก์กับจอร์แดนออกไปอีกด้วย

หลังจากยึดเมืองเก่าเป็นที่เรียบร้อยแล้ว กองกำลังอิสราเอลได้ทำลายย่านที่อยู่อาศัยในละแวก Moroccan Quarter ซึ่งมีอายุร่วม 770 ปีอย่างไม่เหลือซาก เพื่อขยายเส้นทางเข้าสู่กำแพงตะวันตก (Western Wall) อันเป็นที่รู้จักกันดีในหมู่ชาวยิวและชาวมุสลิมในนามกำแพงอัลบุร๊อค (al-Buraq Wall) สถานที่ดังกล่าวถือเป็นจารึกสำคัญทางศาสนาทั้งสำหรับชาวยิวและชาวมุสลิม

ครอบครัวชาวปาเลสไตน์กว่า 100 ครัวเรือนที่อาศัยอยู่ในย่านนั้นถูกบังคับให้ละทิ้งบ้านของตัวเอง ย่านที่อยู่อาศัยดังกล่าวถูกทำลายด้วยระเบิดจนไม่เหลือซาก จากนั้นอิสราเอลก็ใช้พื้นที่ดังกล่าวสร้าง “พลาซ่ากำแพงตะวันตก” (Western Wall Plaza) ขึ้นมาแทนที่ ที่ซึ่งอำนวยความสะดวกให้ชาวยิวสามารถเดินทางเข้าออกสู่กำแพงนั้นได้โดยตรง

ตลอดช่วงเวลาของสงครามและการอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของ Yitzhak Rabin ผู้ซึ่งได้กลายเป็นนายกรัฐมนตรีของอิสราเอลในเวลาต่อมา กองกำลังอิสราเอลได้ฆ่าล้างเผ่าพันธุ์และทำลายหมู่บ้านของชาวปาเลสไตน์ไปเป็นจำนวนมาก รวมทั้งได้ขับไล่ชาวปาเลสไตน์นับหมื่นชีวิตให้ออกจากพื้นที่ ในบรรดาหมู่บ้านที่ถูกขจัดทิ้งอย่างไร้ความปราณีมากที่สุดได้คือ Imwas, Beit Nuba และ Yalu

ในเมือง Qalqilya และ Tulkarem ในเขตเวสต์แบงก์ของปาเลสไตน์ ทหารอิสราเอลได้ทำลายบ้านเรือนของชาวปาเลสไตน์ออกไปอย่างเป็นระบบ ชาวปาเลสไตน์ร่วม 12,000 ชีวิตถูกบังคับให้ออกจากเมือง Qalqilya ด้วยเหตุผลเพียงเพื่อต้องการ “ลงทัณฑ์” – Dayan ใช้คำนี้บอกเล่าเรื่องราวในบันทึกส่วนตัว

เศษหินเศษปูนจาก Moroccan Quarter หลังจากถูกทำลายจนพังพินาบ และครอบครัวชาวปาเลสไตน์ต้องอพยพออกจากพื้นที่เพื่อเปิดทางให้กับชาวยิวเข้ามาสวดมนต์ที่กำแพงแห่งนั้น [The Associated Press] 






















การโจมตีของอิสราเอลต่อที่ราบสูงโกลัน (Golan Heights) ของซีเรียเริ่มต้นขึ้นในวันที่ 9 มิถุนายน และในวันถัดมาเนินที่ราบสูงโกลันก็ถูกยึดครองได้เป็นผลสำเร็จ นั่นได้ทำให้อิสราเอลสามารถครอบครองฐานที่มั่นซึ่งห่างออกไปจากดามัสกัสเมืองหลวงของซีเรียเพียงไม่กี่คืบเท่านั้น

อียิปต์และอิสราเอลร่วมลงนามเพื่อหยุดยิงในวันที่ 9 มิถุนายน ในขณะที่ซีเรียและอิสราเอลร่วมลงนามกันในวันที่ 11 มิถุนายน ส่งผลให้สงครามสิ้นสุดลงโดยมีองค์การสหประชาชาติทำหน้าที่เป็นตัวกลางคลี่คลายสถานการณ์

ชาวปาเลสไตน์ราว 430,000 รายต้องถูกถอนรากถอนโคนให้ออกจากบ้านของตนเอง ส่วนใหญ่พากันมองหาแหล่งลี้ภัยในจอร์แดน หลายชีวิตต้องข้ามน้ำข้ามทะเลเข้ามาในจอร์แดน ในขณะที่บางคนเลือกเดินเท้ารอนแรมออกมาในสภาพเสื่อผืนหมอนใบ

ประมาณครึ่งหนึ่งของจำนวนผู้ลี้ภัยเหล่านั้นเคยถูกขับไล่ออกจากหมู่บ้านในดินแดนปาเลสไตน์ที่กลายเป็นส่วนหนึ่งของอิสราเอลมาแล้วครั้งหนึ่งในปี ค.ศ.1948 ยี่สิบปีต่อมาพวกเขาต้องมาทุกข์ทรมานกับการพรากจากบ้านเกิดซ้ำสองอีกครั้งอย่างเลือกไม่ได้

ผู้อพยพชาวปาเลสไตน์แบกสิ่งของเครื่องใช้ในขณะเตรียมตัวข้ามสะพาน Allenby ที่ทอดบนแม่น้ำจอร์แดนจากเขตยึดครองของอิสราเอลในเขตเวสต์แบงก์ในวันที่ 22 มิถุนายน 1967 [AP]






















สงครามส่งผลกระทบต่อชาวปาเลสไตน์ ชาวอิสราเอล และโลกอาหรับอย่างไรบ้าง?


สงครามหกวันถือเป็นจุดผกผันของภูมิภาค สำหรับชาวปาเลสไตน์และโลกอาหรับ มันสั่นคลอนความเชื่อมั่นของผู้คนที่มีต่อรัฐบาลอาหรับ

ภายในเวลา 6 วันอิสราเอลสามารถทำให้ชาวปาเลสไตน์กว่าล้านชีวิตในเขตเวสต์แบงก์ เยรูซาเล็มตะวันออก และฉนวนกาซ่า ตกอยู่ภายใต้การควบคุมของอิสราเอลอย่างเบ็ดเสร็จ สงครามหกวันในปี 1967 จึงถือเป็นสงครามที่ทำให้อิสราเอลกลายเป็นประเทศที่มีประชากรปาเลสไตน์อาศัยอยู่เป็นจำนวนมากที่สุดในโลก

ความตื่นตระหนกกับการสูญเสียและความพ่ายแพ้ในครั้งนี้ได้สร้างแรงกระตุ้นให้เกิดบรรยากาศการปฏิวัติในหมู่ชาวปาเลสไตน์ขึ้น ซึ่งกระตุ้นให้เกิดการก่อตัวของกลุ่มเคลื่อนไหวติดอาวุธเพื่อต่อต้านที่ปฏิญาณตนอย่างมุ่งมั่นว่าจะนำปาเลสไตน์กลับคืนมาให้ได้ในตลอดช่วงทศวรรษที่1970 และ 1980

ทหารอิสราเอลยืนอยู่เหนือเชลยศึกชาวอียิปต์และชาวปาเลสไตน์ ในช่วงเริ่มต้นสงครามวันที่ 5 มิถุนายน 1967 [Getty Images]





















สำหรับชาวอิสราเอลแล้ว การช่วงชิงอาณาเขตของรัฐบาลในสงครามครั้งนี้ได้นำมาซึ่งความรู้สึกภาคภูมิใจต่อชัยชนะของตนเอง ชาวยิวกว่าพันชีวิตแห่กันไปยังกำแพงตะวันตกและร่ำไห้ดีใจพร้อมสวดวิงวอนต่อสิ่งที่พวกเขาเชื่อกันว่ามันคือปาฏิหาริย์ที่พระเจ้าประทานลงมา

ความเชื่อที่ว่าผลลัพธ์จากสงครามหกวันแห่งปี ค.ศ.1967 เป็นปาฏิหาริย์นั้น ได้ช่วยส่งเสริมผลักดันความคิดของชาวไซออนิสต์ที่เคร่งครัดและศรัทธาในพระเจ้า พวกเขาเชื่อว่าตามหลักความเชื่อทางศาสนาแล้ว พวกเขาถือกรรมสิทธิ์ในการครอบครองดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์นั้นอย่างเต็มพื้นที่

สงครามครั้งนี้ได้ให้อิสระแก่ผู้ยึดครอง ชาวไซออนิสต์รุ่นใหม่สามารถสร้างบ้านพักอาศัยในเขตพื้นที่เวสต์แบงก์และฉนวนกาซ่า ดินแดนที่ถูกครอบครองโดยอิสราเอลได้ตามอำเภอใจ ทั้งๆ ที่มันไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของรัฐอิสราเอลแต่อย่างใด

ที่สำคัญกว่านั้น สงครามครั้งนี้ได้เปิดประเด็นข้อสงสัยถึงการเป็นนักล่าอาณานิคมของไซออนิสต์ แทนที่จะยอมแลกเปลี่ยนดินแดนโดยสันติวิธีดังตามมติคณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติมาตรา 242 ได้เรียกร้องให้อิสราเอลยอมแลกเปลี่ยนอาณาเขตกับเพื่อนบ้านโดยสันติวิธีเมื่อสงครามครั้งนี้สิ้นสุดลง แต่กลายเป็นว่าอิสราเอลพยายามหนุนให้พลเรือนของตนเองเข้าไปยึดครองพื้นที่ของผู้อื่น โดยไม่แยแสอะไรเลย

ผู้ลี้ภัยชาวปาเลสไตน์หลบหนีจากพื้นที่ยึดครองของอิสราเอลในเขตเวสต์แบงก์ ในวันที่ 5 มิถุนายน 1967 [AP]





















รัฐยิวถูกจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ.1948 โดยอำนาจอธิปไตยของมันได้รับการยอมรับจากประเทศส่วนใหญ่ในโลก แต่เมื่อเสียงปืนสิ้นสุดลงในปี ค.ศ.1967 อิสราเอลกลับละเมิดกฎหมายระหว่างประเทศโดยตรงด้วยการก่อตั้งถิ่นพำนักอาศัยให้กับพลเรือนของตนเองบนแผ่นดินที่ตนไม่ได้เป็นเจ้าของอะไรแต่อย่างใด

หลังจากสงครามหกวันสิ้นสุดลงหนึ่งปีได้มีการก่อตั้งแหล่งพำนักอาศัยของชาวอิสราเอลในบริเวณที่ราบสูงโกลันของซีเรียมากถึง 6 แห่ง จนกระทั่งปี ค.ศ.1973 อิสราเอลได้ขยับขยายก่อตั้งแหล่งพำนักอาศัยเพิ่มขึ้นเป็น 17 แห่งในเขตเวสต์แบงก์ และอีก 7 แห่งในฉนวนกาซ่า และในปี 1977 มีการค้นพบว่าชาวอิสราเอลกว่า 11,000 ใช้ชีวิตกระจายไปทั่วเขตเวสต์แบงก์ ฉนวนกาซ่า ที่ราบสูงโกลัน และคาบสมุทรซีนาย

ปาเลสไตน์ : 50 ปีแห่งการยึดครอง การขโมยดินแดน และการล่าอาณานิคม


แม้ว่าสงครามจะเกิดขึ้นระหว่างประเทศอาหรับกับอิสราเอล แต่กระนั้นผู้ที่สูญเสียมากที่สุดเห็นจะเป็นชาวปาเลสไตน์ที่จำต้องรำลึกการครบรอบ 50 ปีแห่งการถูกยึดครองโดยอิสราเอลในเดือนมิถุนายนนี้ การยึดครองดังกล่าวถือเป็นปรากฏการณ์ที่ยาวนานที่สุดในหน้าประวัติศาสตร์ยุคปัจจุบัน

อิสราเอลได้ยึดครองอาณาเขตในเยรูซาเล็มตะวันออกและอีกหลายพื้นที่ในเขตเวสต์แบงก์อย่างผิดกฎหมาย อิสราเอลประกาศก้องว่าแผ่นดินทั้งหมดนั้นคือส่วนหนึ่งของรัฐอิสราเอล ทั้งๆที่ไม่เคยได้รับการยอมรับจากประชาคมโลกเลยแม้แต่น้อย

ส่วนที่เหลือของดินแดนปาเลสไตน์ในเขตเวสต์แบงก์และฉนวนกาซ่าที่เป็นแหล่งอาศัยของชาวปาเลสไตน์ร่วม 5.1 ล้านชีวิตนั้น ยังคงอยู่ภายใต้การควบคุมของทหารอิสราเอลด้วยข้ออ้างเพื่อรักษาความปลอดภัย ชีวิตของชาวปาเลสไตน์ถูกควบคุมสั่งการโดยด่านตรวจของกองทหารนับร้อยจุด โดยมีระบบใบอนุญาตแบ่งเป็นรหัสสีและกำแพงแบ่งแยก (Separation Wall) คอยทำหน้าที่กีดกันไม่ให้ครอบครัวได้มีโอกาสพบหน้ากัน

ชาวปาเลสไตน์รอคอยจะข้ามเข้าสู่เมืองเยรูซาเล็มที่อยู่ถัดจากกำแพงแบ่งแยกของอิสราเอล ณ จุดตรวจทหารอิสราเอลในเมือง Bethlehem เขตเวสต์แบงก์ [Reuters]






















Human Rights Watch ซึ่งเป็นองค์กรภายใต้การดูแลขององค์การสหประชาชาติได้ทำการจัดกลุ่มจำแนกประเภทของ”การละเมิดกฎหมายคุ้มครองสิทธิมนุษยชนและมนุษยธรรมสากล” ที่จำแนกประเภทของการยึดครองได้อย่างน้อย 5 ประเภท การละเมิดเหล่านั้นได้แก่ การฆาตกรรมอย่างผิดกฎหมาย การกักขังหน่วงเหนี่ยวอย่างทารุณ การปิดล้อมในฉนวนกาซ่าและการจำกัดการเคลื่อนไหวของชาวปาเลสไตน์ การพัฒนาของการตั้งถิ่นพำนักอาศัย และนโยบายการเลือกปฏิบัติที่สร้างความเสียเปรียบให้กับชาวปาเลสไตน์

“ไม่ว่ามันจะเป็นกรณีเด็กคนหนึ่งถูกกักขังโดยศาลทหารหรือถูกยิงอย่างไม่เหมาะสม หรือการที่บ้านหลังหนึ่งถูกกำจัดไปเพียงเพราะขาดใบอนุญาตที่อธิบายไม่ได้ หรือการมีจุดตรวจที่อนุญาตให้ผ่านเฉพาะผู้ตั้งถิ่นพำนักอาศัย(ชาวอิสราเอล) เหล่านี้ทำให้ชาวปาเลสไตน์จำนวนไม่น้อยต้องหลบหนีการทารุณกรรมทางสิทธิที่รุนแรงตลอดระยะเวลา 50 ปีของการยึดครองที่ผ่านมา” Sarah Leah Whitson ผู้กำกับการประจำตะวันออกกลางแห่งศูนย์เฝ้าระวังสิทธิมนุษยชนได้กล่าวไว้ในรายงานฉบับหนึ่ง

“ทุกวันนี้อิสราเอลยังคงเลือกปฏิบัติกับชาวปาเลสไตน์ที่อาศัยอยู่ในดินแดนที่ถูกยึดครอง มันคือการควบคุมที่เลยเถิดมากไปกว่าเหตุผลด้านความปลอดภัยแล้ว”

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมาตั้งแต่ปี ค.ศ.1967 อิสราเอลยังคงดำเนินการสร้างที่พักอาศัยและขนย้ายพลเรือนชาวยิวเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเขตเวสต์แบงก์และเยรูซาเล็มตะวันออกที่ขโมยมาจากปาเลสไตน์อย่างผิดกฎหมายอยู่เรื่อยมา จนทุกวันนี้มีชาวอิสราเอลอย่างน้อย 600,000 คนอาศัยอยู่ในเขตพำนักเฉพาะสำหรับชาวยิวที่กระจัดกระจายอยู่ทั่วไปในเขตเวสต์แบงก์และเยรูซาเล็มตะวันออก

ชาวปาเลสไตน์มักจะถูกสุ่มตรวจร่างกายโดยทหารอิสราเอลบนท้องถนนในเขตยึดครองเยรูซาเล็มตะวันออกอย่างน่าอับอาย [Reuters]





















แหล่งพำนักอาศัยที่มีถนนและสาธารณูโภคถูกสร้างขึ้นเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับชาวยิวที่ตั้งถิ่นพำนักอาศัยย่านนั้นโดยเฉพาะ นั่นแสดงให้เห็นว่าอิสราเอลได้สร้างความจริงแห่งการเหยียดชนชาติในดินแดนที่ได้ชื่อว่าเป็นของปาเลสไตน์ ดินแดนที่ชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ต้องอาศัยอยู่ภายใต้ระบบหนึ่งที่ยื่นอภิสิทธิ์เหนือชั้นให้แก่คนยิวมากกว่าคนที่ไม่ใช่ยิว

“การจัดตั้งสองระบบที่แตกต่างกันชัดเจนสำหรับชาวอิสราเอลและชาวปาเลสไตน์ นั้นถือว่าทางการอิสราเอลได้ฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศว่าด้วยการห้ามปรามการแบ่งแยกชนชาติแล้ว” คำกล่าวจากรายงานของคณะมนตรียุโรปประจำกรุงลอนดอนว่าด้วยเรื่องคลังสมองแห่งความสัมพันธ์ระหว่างประเทศเมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา

“กล่าวโดยสรุปแล้ว การยึดครองที่ยืดเยื้อออกไปของอิสราเอลนั้นเป็นการสร้างสถานการณ์ที่บ่งบอกถึงการละเมิดสิทธิมนุษยชนเป็นอย่างมาก เป็นการปล่อยให้ต้องทนอยู่กับสภาพแวดล้อมและที่โหดร้าย ที่สังคมและบุคคลในสังคมไม่มีทางให้พวกเขาเลือกเดิน นอกจากต้องอพยพออกไปจากพื้นที่ที่ถูกยึดครอง”

Nur Arafeh นักวิเคราะห์จากองค์กรคลังสมองแห่งปาเลสไตน์ Al-Shabaka บอกกับ Al Jazeera ว่า เธอเชื่อว่าแนวโน้มที่อิสราเอลจะยุติการยึดครองพื้นที่นั้นช่างริบหรี่เหลือเกิน

“ฉันไม่เห็นแนวโน้มเลยว่าอิสราเอลจะทำการถอดถอนตนเองออกจากดินแดนยึดครอง หรือยุติภารกิจล่าอาณานิคมยึดถิ่นพำนักอาศัยของผู้อื่นเช่นนี้ ตราบใดที่ยังคงสุขสำราญกับวัฒนธรรมการเลือกปฏิบัติและการไม่แยแสที่จะเอาความของสังคมโลกต่อการละเมิดฝ่าฝืนกฎหมายระหว่างประเทศและสิทธิมนุษยชน และตราบใดที่มูลค่าการยึดครองของพวกเขานั้นมีค่าน้อยกว่าราคาของการทำให้สิ้นสุดลง”



แปลและเรียบเรียงโดย : Andalas Farr
ที่มา : 1967 war: How Israel occupied the whole of Palestine


#ประวัติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "สงครามหกวัน : ย้อนรอยเส้นทางอิสราเอลยึดครองปาเลสไตน์"

บทความแนะนำ

World Clock

Featured Posts

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม โดย : Cem Nizamoglu และ Sairah Yassir-Deane ย้อนหลังไปถึงมีนาคม 2015 ข่าวเกี่ยวก...