เล่าเรื่องมุสลิมอุยกูร์: เรียนรู้กันอีกครั้งก็ยังไม่สาย
น้าสาว พญ.เสาด๊ะ ยุทธสมภพ เขียนมาเล่าเรื่องราวของมุสลิมอุยกูร์ให้อ่าน เลยขออนุญาตนำมาเผยแพร่ คิดว่าน่าจะมีประโยชน์กับคนที่อยากเรียนรู้เรื่องราวของชนกลุ่มหนึ่งในเอเชียกลางที่ปัจจุบันอยู่ภายใต้การปกครองของจีนในชื่อเขตปกครองพิเศษซินเจียง
ประมาณต้นเดือน ก.ค. 2558 ที่ผ่านมามีการเสนอข่าว ข้อมูล และแสดงความคิดเห็นกันบนโลกออนไลน์จำนวนมากมายต่อกรณีที่รัฐบาลไทยตัดสินใจส่งคนอุยกูร์ร้อยกว่าคนที่ลี้ภัยมาอยู่ในเมืองไทยกลับไปจีน ซึ่งส่งผลให้เกิดการประท้วงของชาวอุยกูร์ที่หน้าสถานกงศุลไทยในตุรกีถึงขนาดที่เกิดเหตุรุนแรงขึ้น ในประเทศไทยเองมีทั้งคนเกลียดชังชาวอุยกูร์ว่าทำให้ประเทศเรายุ่งยากและคนที่สงสารเห็นใจในชะตากรรมของพวกเขา จึงขอถ่ายทอดเรื่องราวที่ พญ.เสาด๊ะได้กรุณาเล่าไว้ดังนี้
อยากเล่าสักนิดนึงว่า ตัวเองสนใจเรื่องชาวอุยกูร์มานานมากเพราะเริ่มจากตอนเด็ก ๆ พ่อเล่าเรื่องศาสนาและอาณาจักรออตโตมานให้ฟัง โตขึ้นอ่านสารคดีเรื่องเส้นทางสายไหม และต่อด้วยนิยายของโสภาค สุวรรณ เป็นเรื่องราวความรักของพระเอกที่เป็นลูกสุลต่านซินเจียงและนางเอกชาวอังกฤษที่เดินทางไปซินเจียง ฉากที่สวยงามและประทับใจมากคือฉากซุ้มองุ่นอันขึ้นชื่อของซินเจียง ในนิยายเรื่องนั้นพระเอกต้องต่อสู้กับกองทัพจีนที่เข้ามายึดครองซินเจียง ฉากสุดท้ายคือฉากที่พระเอกมาส่งนางเอกที่ชายแดนและร่ำลากัน เขาบอกกับนางเอกว่าตนเองต้องอยู่ต่อสู้เพื่อประเทศชาติ เมื่อภาระสิ้นสุดอาจได้เจอกันอีก จำได้ว่าเศร้ามากอ่านไปน้ำตาไหลไป และชื่นชมพระเอกผู้แสนจะรับผิดชอบต่อหน้าที่และชาติบ้านเมือง
จากการอ่านนิยายและประวัติศาสตร์เรื่องเส้นทางสายไหม ทำให้ฝันอยากไปเที่ยวซินเจียงตั้งแต่บัดนั้น เพราะอยากไปนั่งใต้ซุ้มองุ่น จนประมาณ 13-14 ปีที่แล้ว ได้ไปเที่ยวซินเจียง ราว10 วัน ก่อนไปอ่านหนังสือเยอะมาก ตลุยอ่านทุกเว็บทั้งของจีนและของอุยกูร์เอง รวมทั้งเว็บอุยกูร์กู้ชาติ จนเข้าใจประวัติศาสตร์แถวนั้น และเข้าใจได้ว่าทำไมจีนจึงปล่อยมือจากซินเจียงไม่ได้
การได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของพวกเขาทำให้รู้ว่าเขาไม่ใช่คนจีน เขามีประวัติศาสตร์ ศาสนา และมีวัฒนธรรมของตนเอง รากเหง้าของเขามาจากชาวเตอร์กบวกลูกหลานเผ่ามองโกล ดินแดนแถบนั้นมีการสู้รบแย่งชิงกันไปมาเหมือนกับดินแดนอีกหลาย ๆ แห่งในโลกนี้ บางครั้งดินแดนของชาวอุยกูร์ก็ตกอยู่ใต้การครอบครองของจีนบางครั้งเป็นอิสระจนสุดท้ายตกอยู่ในอำนาจของจีนอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
สมัยหลังจีนพบน้ำมันและแร่ธาตุหายากในซินเจียงจำนวนมาก จีนจึงทำท่อส่งน้ำมันและก๊าซออกมาทำอุตสาหกรรมทางตะวันออกของประเทศ และเริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมในเขตซินเจียง เป็นอันว่าชาวอุยกูร์หมดหวังจะเป็นอิสระเพราะทรัพย์ในดินที่เขามีเป็นที่ต้องการเสียแล้ว รัฐบาลจีนส่งคนจีนเชื้อสายฮั่นเข้าไปอยู่ในซินเจียงเพื่อทำอุตสาหกรรมและกลืนชาติของชาวอุยกูรย์จนเหลือประชากรอุยกูร์อยู่เพียง 50% ในเขตเมืองจะเห็นคนฮั่นเต็มไปหมด เพราะดูหน้าตาจะแยกออกทันทีว่าใครเป็นอุยกูร์ ใครเป็นจีน ซินเจียงได้ชื่อว่าเป็นเขตปกครองตนเองแต่ถูกตรวจตราทุกอย่าง ในโรงเรียนใช้ภาษาแมนดารินอย่างเดียว ห้ามพูดภาษาของชาวอุยกูร์ รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ห้ามการเรียนการสอนศาสนา ตอนนั้นยังมองในแง่ดีว่าคอมมิวนิสต์ก็ห้ามเรื่องศาสนาอยู่แล้วก็คงจะเหมือนกับชาวจีนเชื้อสายอื่น ๆ แต่ต่อมา 3-4 ปีนี้พบว่ารัฐบาลจีนห้ามแม้กระทั่งถือศีลอด มีการบังคับให้คนมุสลิมขายอาหารในเดือนถือศีลอดมิฉะนั้นร้านค้าจะถูกสั่งปิด ห้ามคนอายุในวัยเด็กและหนุ่มสาวไปมัสยิดถึงขนาดมีการตรวจบัตรประชาชนของคนที่เข้าไปประกอบพิธีทางศาสนาในมัสยิด มีการบังคับให้ร้านค้ามุสลิมขายเหล้าขายบุหรี่ เคยถามคนที่นั่นว่าคุณเรียนภาษาของตนเองและศาสนาอย่างไร คำตอบคือ “My mother and my brother teach me.” จากข้อมูลที่อ่านก่อนไปเที่ยวและที่คุยกับคนที่นั่น เขาบอกว่าต้องซ่อนกุรอาน และแอบสอนกันเอง ผู้รู้ศาสนาถูกฆ่าหรือหนีออกไปต่างประเทศ แต่จะเห็นจากความเป็นอยู่ของเขาว่า เขารักษาวัฒนธรรมและศาสนาไว้อย่างน่าเห็นใจ และรู้สึกตื้นตันขนลุกเพราะตอนที่ไปเป็นวันศุกร์ เห็นคนเดินออกจากมัสยิดเยอะมาก เหมือนแถวภาคใต้บ้านเรา
สิ่งที่เห็นทำให้ซาบซึ้งกับความอดทนของคนที่นั่น เวลาคุยกับคนพื้นเมืองที่พูดอังกฤษได้ ต้องพยายามแอบไม่ให้ไกด์ชาวจีนได้ยิน ได้มีโอกาสพูดคุยกับพ่อค้า เจ้าหน้าที่โรงแรมและผู้นคนตามท้องถนน ตอนที่คุยกับเจ้าหน้าที่คนหนึ่งเขาบอกว่า “They hate us. They will never let us be free.” ยังจำหน้าและคำพูดเขาจนถึงเดี๋ยวนี้ เป็นหนุ่มอายุราว 20 กว่า ๆ เขาบอกว่าหมู่บ้านเขายากจนมาก น้ำมันที่ทางการขุดพบก็โดนเอาออกไปใช้ในทางภาคตะวันออกของจีน พวกเขามีแต่ทราย พวกเขาเลยดิ้นรนอยากเป็นอิสระ ยิ่งตอนที่โซเวียตแตก เพื่อนบ้านของเขาที่เป็นเชื้อสายเดียวกันในหลายประเทศที่เคยถูกโซเวียตยึดครองมีโอกาสได้แยกตัวเป็นอิสระกันมากมาย เช่น เตอร์กมานิสถาน คาซักสถาน อุซเบกิสถาน ทาจิกีสถาน ชาวอุยกูร์ในจีนยิ่งดิ้นรนเพราะไม่อยากทนอยู่อย่างพลเมืองชั้นสองที่ถูกกดขี่ข่มเหงอีกต่อไป อเมริกาซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับจีนอยู่แล้วมองเห็นจุดอ่อนตรงนี้จึงยื่นมือเข้ามา มีการจัดตั้งสมาคมอุยกูร์ในอเมริกามานานแล้ว อเมริกาได้ใช้เรื่องนี้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง อุยกูร์ก็หวังพึ่งพาอเมริกาเพื่อเอาตัวออกจากจีน ใครแพ้ชนะก็คงต้องคอยดูกันต่อไป ซินเจียงยังดิ้นรนหนักเพื่อแยกตัวออกมาเหมือนเพื่อน ๆ ที่ได้รับอิสระจากรัสเซียกันไปแล้ว แต่โอกาสดูจะริบหรี่เต็มที
ที่เล่าเรื่องนี้ เพราะเห็นใจคนที่นั่น สมมุติว่าบ้านเราถูกคนอื่นมายึดครองแถมกดขี่ข่มเหงเราสารพัด เราก็คงสู้ขาดใจ เหมือนประเทศธิเบตที่ถูกลบออกจากแผนที่โลก ธิเบตก็ดิ้นรนไปเรื่อย ๆ จนจีนแต่งตั้งองค์ลามะเสียเองแล้ว แถมตอนที่จีนต้อนรับประธานาธิบบดีอินเดียแบบอลังการ ชาวธิเบตที่ลี้ภัยอยู่ในอินเดียจำนวนมหาศาลก็คงจะใจเสีย ที่เขียนเรื่องนี้มามาให้อ่านเพราะเบื่อคนจำนวนหนึ่งที่ไม่มีข้อมูลอะไรเลย แล้วเหมารวมด่าอุยกูร์แบบเสีย ๆ หาย ๆ แต่ลืมไปว่าเขาโดนอะไรมาบ้าง
ที่ซาอุดีอาระเบียมีคนกลุ่มนี้จำนวนมาก พวกเขาหนีภัยจากการประหัตประหารของจีนไปอยู่ที่นั่น คนซาอุเรียกพวกเขาว่า บุคคอรี เพราะเมืองใหญ่ศูนย์กลางของศาสนาสมัยก่อนอยู่ที่เมืองบุคารา ซึ่งปัจจุบับอยู่ในอุซเบกิสถาน กิจการขายพรมในตลาดที่เจดดาฮ์ส่วนหนึ่งจะเป็นของพวกบุคอรีนี่แหละ ที่เมืองบุคารามีกุโบร์หรือสุสานของอิหม่ามบุคอรี ซึ่งเป็นหนึ่งใน 2 คนที่รวบรวมฮาดิษหรือคำสอนและเรื่องราวเกี่ยวกับวัตรปฎิบัติของท่านศาสนา อิหม่ามบุคอรีเกิดที่เมืองดังกล่าวและต่อมาไปอยู่มักกะฮ์และกลับมาเสียชีวิตที่นั่น อุซเบกิสถานหลังการยึดครองของรัสเซียได้หันกลับมาฟื้นฟูศาสนา มีเว็บสอนกุรอานเด็ก ๆ มีโรงเรียนสอนศาสนา แล้วทำไมซินเจียงจะไม่ดิ้นรนหล่ะ เคยไปเที่ยวอุซเบกิสถาน ผู้คนที่นั่นหน้าตาเหมือนพวกอุยเกอร์ไม่มีผิดเพราะส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อชาติเดียวกัน ชาวอุยกูร์ย่อมรู้สึกมากว่าเพื่อนเป็นอิสระแล้ว แต่ตัวเองถูกห้ามแม้กระทั่งจะถือศีลอด!!!
ก่อนจบเรื่องเล่าจะบอกว่า ฉากใต้ต้นองุ่นของโสภาค สุวรรณ มีจริง เพราะชาวอุยกูร์ส่วนหนึ่งปลูกองุ่นหน้าบ้านเหมือนเราปลูกมะม่วง แต่ละต้นใหญ่ขนาดขาเหมือนแถวเมดิเตอเรเนียน แถมทำเป็นซุ้มอยู่หน้าบ้านให้นั่งคุยกระหนุ๋งกระหนิ๋งกัน ขณะนี้ต้องใช้ bird’s-eye view ในการมองเรื่องความขัดแย้งระหว่างชาวอุยกูร์กับจีนเพื่อให้เห็นปัญหาที่แท้จริง รวมทั้งปัญหาการเมืองระหว่างประเทศยักษ์ใหญ่อย่างจีนและอเมริกา
สุดท้ายอยากยกพระราชนิพนธ์ ร. 6 มาเป็นข้อเตือนใจสำหรับคนที่มองเรื่องชาวอุยกูร์เพียงด้านเดียวโดยไม่สนใจฟังเสียงของผู้คนที่ถูกกดขี่ “ใครมาเป็นเจ้าเข้าครอง คงจะต้องบังคับขับไส เคี่ยวเข็ญเย็นค่ำกรำไป ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย” (พระราชนิพนธ์ ร. 6) ถามว่าเราจะเห็นใจ “นาย” ที่กดขี่ข่มเหงเพื่อนมนุษย์อย่างไร้ความปราณีหรือจะเห็นใจผู้คนที่ถูกอธรรมตลอดมา อันนี้แล้วแต่จะพิจารณา
อยากให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่ามุสลิมในจีนมี 2 กลุ่มหลักๆ กลุ่มหนึ่งคืออุยกูร์ อยู่ซินเกียง อีกกลุ่มเป็นคนละเผ่าพันธุ์ แต่นับถืออิสลามเหมือนกัน นอกนั้นยังมีกลุ่มย่อย ๆ อีกมากเช่นผู้อพยพทั้งหลาย พวกฮ่อโบราณที่ก่อสร้างมัสยิดโดยใช้สถาปัตยกรรมแบบวัดจีน
มัสยิดแบบอุยกูร์จะแตกต่างไปโดยสิ้นเชิง ถ้าเป็นมัสยิดโบราณจะมีสีฟ้าเหมือนในอุซเบกิสถาน เป็นศิลปะแบบผสมเตอร์กิส คือมีประตูทรงสี่เหลี่ยมอยู่ด้านหน้า ด้านในเป็นลานมีอาคารรอบ ๆ เป็นส่วนใหญ่ จะเห็นว่ามุสลิม 2 กลุ่มนี้ต่างมีวัฒนธรรมและภาษาตนเอง หุย ฮ่อใช้ภาษาแมนดาริน อุยกูร์ใช้ภาษาของเขาเอง หน้าตาก็ต่างกัน ชนิดที่เห็นจะแยกได้ทันที
รูปเก๋งจีนนี้คือรูปมัสยิดชาวหุยที่ซินเจียง หน้าตาเหมือนวัดจีน สร้างมานานมากเกือบพันปีแล้ว จำปีที่สร้างไม่ได้แล้ว ตั้งอยู่ที่เมืองหลวงของแคว้นซินเจียง
ประมาณต้นเดือน ก.ค. 2558 ที่ผ่านมามีการเสนอข่าว ข้อมูล และแสดงความคิดเห็นกันบนโลกออนไลน์จำนวนมากมายต่อกรณีที่รัฐบาลไทยตัดสินใจส่งคนอุยกูร์ร้อยกว่าคนที่ลี้ภัยมาอยู่ในเมืองไทยกลับไปจีน ซึ่งส่งผลให้เกิดการประท้วงของชาวอุยกูร์ที่หน้าสถานกงศุลไทยในตุรกีถึงขนาดที่เกิดเหตุรุนแรงขึ้น ในประเทศไทยเองมีทั้งคนเกลียดชังชาวอุยกูร์ว่าทำให้ประเทศเรายุ่งยากและคนที่สงสารเห็นใจในชะตากรรมของพวกเขา จึงขอถ่ายทอดเรื่องราวที่ พญ.เสาด๊ะได้กรุณาเล่าไว้ดังนี้
อยากเล่าสักนิดนึงว่า ตัวเองสนใจเรื่องชาวอุยกูร์มานานมากเพราะเริ่มจากตอนเด็ก ๆ พ่อเล่าเรื่องศาสนาและอาณาจักรออตโตมานให้ฟัง โตขึ้นอ่านสารคดีเรื่องเส้นทางสายไหม และต่อด้วยนิยายของโสภาค สุวรรณ เป็นเรื่องราวความรักของพระเอกที่เป็นลูกสุลต่านซินเจียงและนางเอกชาวอังกฤษที่เดินทางไปซินเจียง ฉากที่สวยงามและประทับใจมากคือฉากซุ้มองุ่นอันขึ้นชื่อของซินเจียง ในนิยายเรื่องนั้นพระเอกต้องต่อสู้กับกองทัพจีนที่เข้ามายึดครองซินเจียง ฉากสุดท้ายคือฉากที่พระเอกมาส่งนางเอกที่ชายแดนและร่ำลากัน เขาบอกกับนางเอกว่าตนเองต้องอยู่ต่อสู้เพื่อประเทศชาติ เมื่อภาระสิ้นสุดอาจได้เจอกันอีก จำได้ว่าเศร้ามากอ่านไปน้ำตาไหลไป และชื่นชมพระเอกผู้แสนจะรับผิดชอบต่อหน้าที่และชาติบ้านเมือง
จากการอ่านนิยายและประวัติศาสตร์เรื่องเส้นทางสายไหม ทำให้ฝันอยากไปเที่ยวซินเจียงตั้งแต่บัดนั้น เพราะอยากไปนั่งใต้ซุ้มองุ่น จนประมาณ 13-14 ปีที่แล้ว ได้ไปเที่ยวซินเจียง ราว10 วัน ก่อนไปอ่านหนังสือเยอะมาก ตลุยอ่านทุกเว็บทั้งของจีนและของอุยกูร์เอง รวมทั้งเว็บอุยกูร์กู้ชาติ จนเข้าใจประวัติศาสตร์แถวนั้น และเข้าใจได้ว่าทำไมจีนจึงปล่อยมือจากซินเจียงไม่ได้
การได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของพวกเขาทำให้รู้ว่าเขาไม่ใช่คนจีน เขามีประวัติศาสตร์ ศาสนา และมีวัฒนธรรมของตนเอง รากเหง้าของเขามาจากชาวเตอร์กบวกลูกหลานเผ่ามองโกล ดินแดนแถบนั้นมีการสู้รบแย่งชิงกันไปมาเหมือนกับดินแดนอีกหลาย ๆ แห่งในโลกนี้ บางครั้งดินแดนของชาวอุยกูร์ก็ตกอยู่ใต้การครอบครองของจีนบางครั้งเป็นอิสระจนสุดท้ายตกอยู่ในอำนาจของจีนอย่างที่เห็นในปัจจุบัน
สมัยหลังจีนพบน้ำมันและแร่ธาตุหายากในซินเจียงจำนวนมาก จีนจึงทำท่อส่งน้ำมันและก๊าซออกมาทำอุตสาหกรรมทางตะวันออกของประเทศ และเริ่มพัฒนาอุตสาหกรรมในเขตซินเจียง เป็นอันว่าชาวอุยกูร์หมดหวังจะเป็นอิสระเพราะทรัพย์ในดินที่เขามีเป็นที่ต้องการเสียแล้ว รัฐบาลจีนส่งคนจีนเชื้อสายฮั่นเข้าไปอยู่ในซินเจียงเพื่อทำอุตสาหกรรมและกลืนชาติของชาวอุยกูรย์จนเหลือประชากรอุยกูร์อยู่เพียง 50% ในเขตเมืองจะเห็นคนฮั่นเต็มไปหมด เพราะดูหน้าตาจะแยกออกทันทีว่าใครเป็นอุยกูร์ ใครเป็นจีน ซินเจียงได้ชื่อว่าเป็นเขตปกครองตนเองแต่ถูกตรวจตราทุกอย่าง ในโรงเรียนใช้ภาษาแมนดารินอย่างเดียว ห้ามพูดภาษาของชาวอุยกูร์ รัฐบาลจีนคอมมิวนิสต์ห้ามการเรียนการสอนศาสนา ตอนนั้นยังมองในแง่ดีว่าคอมมิวนิสต์ก็ห้ามเรื่องศาสนาอยู่แล้วก็คงจะเหมือนกับชาวจีนเชื้อสายอื่น ๆ แต่ต่อมา 3-4 ปีนี้พบว่ารัฐบาลจีนห้ามแม้กระทั่งถือศีลอด มีการบังคับให้คนมุสลิมขายอาหารในเดือนถือศีลอดมิฉะนั้นร้านค้าจะถูกสั่งปิด ห้ามคนอายุในวัยเด็กและหนุ่มสาวไปมัสยิดถึงขนาดมีการตรวจบัตรประชาชนของคนที่เข้าไปประกอบพิธีทางศาสนาในมัสยิด มีการบังคับให้ร้านค้ามุสลิมขายเหล้าขายบุหรี่ เคยถามคนที่นั่นว่าคุณเรียนภาษาของตนเองและศาสนาอย่างไร คำตอบคือ “My mother and my brother teach me.” จากข้อมูลที่อ่านก่อนไปเที่ยวและที่คุยกับคนที่นั่น เขาบอกว่าต้องซ่อนกุรอาน และแอบสอนกันเอง ผู้รู้ศาสนาถูกฆ่าหรือหนีออกไปต่างประเทศ แต่จะเห็นจากความเป็นอยู่ของเขาว่า เขารักษาวัฒนธรรมและศาสนาไว้อย่างน่าเห็นใจ และรู้สึกตื้นตันขนลุกเพราะตอนที่ไปเป็นวันศุกร์ เห็นคนเดินออกจากมัสยิดเยอะมาก เหมือนแถวภาคใต้บ้านเรา
สิ่งที่เห็นทำให้ซาบซึ้งกับความอดทนของคนที่นั่น เวลาคุยกับคนพื้นเมืองที่พูดอังกฤษได้ ต้องพยายามแอบไม่ให้ไกด์ชาวจีนได้ยิน ได้มีโอกาสพูดคุยกับพ่อค้า เจ้าหน้าที่โรงแรมและผู้นคนตามท้องถนน ตอนที่คุยกับเจ้าหน้าที่คนหนึ่งเขาบอกว่า “They hate us. They will never let us be free.” ยังจำหน้าและคำพูดเขาจนถึงเดี๋ยวนี้ เป็นหนุ่มอายุราว 20 กว่า ๆ เขาบอกว่าหมู่บ้านเขายากจนมาก น้ำมันที่ทางการขุดพบก็โดนเอาออกไปใช้ในทางภาคตะวันออกของจีน พวกเขามีแต่ทราย พวกเขาเลยดิ้นรนอยากเป็นอิสระ ยิ่งตอนที่โซเวียตแตก เพื่อนบ้านของเขาที่เป็นเชื้อสายเดียวกันในหลายประเทศที่เคยถูกโซเวียตยึดครองมีโอกาสได้แยกตัวเป็นอิสระกันมากมาย เช่น เตอร์กมานิสถาน คาซักสถาน อุซเบกิสถาน ทาจิกีสถาน ชาวอุยกูร์ในจีนยิ่งดิ้นรนเพราะไม่อยากทนอยู่อย่างพลเมืองชั้นสองที่ถูกกดขี่ข่มเหงอีกต่อไป อเมริกาซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับจีนอยู่แล้วมองเห็นจุดอ่อนตรงนี้จึงยื่นมือเข้ามา มีการจัดตั้งสมาคมอุยกูร์ในอเมริกามานานแล้ว อเมริกาได้ใช้เรื่องนี้ให้เป็นประโยชน์ต่อตนเอง อุยกูร์ก็หวังพึ่งพาอเมริกาเพื่อเอาตัวออกจากจีน ใครแพ้ชนะก็คงต้องคอยดูกันต่อไป ซินเจียงยังดิ้นรนหนักเพื่อแยกตัวออกมาเหมือนเพื่อน ๆ ที่ได้รับอิสระจากรัสเซียกันไปแล้ว แต่โอกาสดูจะริบหรี่เต็มที
ที่เล่าเรื่องนี้ เพราะเห็นใจคนที่นั่น สมมุติว่าบ้านเราถูกคนอื่นมายึดครองแถมกดขี่ข่มเหงเราสารพัด เราก็คงสู้ขาดใจ เหมือนประเทศธิเบตที่ถูกลบออกจากแผนที่โลก ธิเบตก็ดิ้นรนไปเรื่อย ๆ จนจีนแต่งตั้งองค์ลามะเสียเองแล้ว แถมตอนที่จีนต้อนรับประธานาธิบบดีอินเดียแบบอลังการ ชาวธิเบตที่ลี้ภัยอยู่ในอินเดียจำนวนมหาศาลก็คงจะใจเสีย ที่เขียนเรื่องนี้มามาให้อ่านเพราะเบื่อคนจำนวนหนึ่งที่ไม่มีข้อมูลอะไรเลย แล้วเหมารวมด่าอุยกูร์แบบเสีย ๆ หาย ๆ แต่ลืมไปว่าเขาโดนอะไรมาบ้าง
ที่ซาอุดีอาระเบียมีคนกลุ่มนี้จำนวนมาก พวกเขาหนีภัยจากการประหัตประหารของจีนไปอยู่ที่นั่น คนซาอุเรียกพวกเขาว่า บุคคอรี เพราะเมืองใหญ่ศูนย์กลางของศาสนาสมัยก่อนอยู่ที่เมืองบุคารา ซึ่งปัจจุบับอยู่ในอุซเบกิสถาน กิจการขายพรมในตลาดที่เจดดาฮ์ส่วนหนึ่งจะเป็นของพวกบุคอรีนี่แหละ ที่เมืองบุคารามีกุโบร์หรือสุสานของอิหม่ามบุคอรี ซึ่งเป็นหนึ่งใน 2 คนที่รวบรวมฮาดิษหรือคำสอนและเรื่องราวเกี่ยวกับวัตรปฎิบัติของท่านศาสนา อิหม่ามบุคอรีเกิดที่เมืองดังกล่าวและต่อมาไปอยู่มักกะฮ์และกลับมาเสียชีวิตที่นั่น อุซเบกิสถานหลังการยึดครองของรัสเซียได้หันกลับมาฟื้นฟูศาสนา มีเว็บสอนกุรอานเด็ก ๆ มีโรงเรียนสอนศาสนา แล้วทำไมซินเจียงจะไม่ดิ้นรนหล่ะ เคยไปเที่ยวอุซเบกิสถาน ผู้คนที่นั่นหน้าตาเหมือนพวกอุยเกอร์ไม่มีผิดเพราะส่วนใหญ่เป็นคนเชื้อชาติเดียวกัน ชาวอุยกูร์ย่อมรู้สึกมากว่าเพื่อนเป็นอิสระแล้ว แต่ตัวเองถูกห้ามแม้กระทั่งจะถือศีลอด!!!
ก่อนจบเรื่องเล่าจะบอกว่า ฉากใต้ต้นองุ่นของโสภาค สุวรรณ มีจริง เพราะชาวอุยกูร์ส่วนหนึ่งปลูกองุ่นหน้าบ้านเหมือนเราปลูกมะม่วง แต่ละต้นใหญ่ขนาดขาเหมือนแถวเมดิเตอเรเนียน แถมทำเป็นซุ้มอยู่หน้าบ้านให้นั่งคุยกระหนุ๋งกระหนิ๋งกัน ขณะนี้ต้องใช้ bird’s-eye view ในการมองเรื่องความขัดแย้งระหว่างชาวอุยกูร์กับจีนเพื่อให้เห็นปัญหาที่แท้จริง รวมทั้งปัญหาการเมืองระหว่างประเทศยักษ์ใหญ่อย่างจีนและอเมริกา
สุดท้ายอยากยกพระราชนิพนธ์ ร. 6 มาเป็นข้อเตือนใจสำหรับคนที่มองเรื่องชาวอุยกูร์เพียงด้านเดียวโดยไม่สนใจฟังเสียงของผู้คนที่ถูกกดขี่ “ใครมาเป็นเจ้าเข้าครอง คงจะต้องบังคับขับไส เคี่ยวเข็ญเย็นค่ำกรำไป ตามวิสัยเชิงเช่นผู้เป็นนาย” (พระราชนิพนธ์ ร. 6) ถามว่าเราจะเห็นใจ “นาย” ที่กดขี่ข่มเหงเพื่อนมนุษย์อย่างไร้ความปราณีหรือจะเห็นใจผู้คนที่ถูกอธรรมตลอดมา อันนี้แล้วแต่จะพิจารณา
อยากให้ข้อมูลเพิ่มเติมว่ามุสลิมในจีนมี 2 กลุ่มหลักๆ กลุ่มหนึ่งคืออุยกูร์ อยู่ซินเกียง อีกกลุ่มเป็นคนละเผ่าพันธุ์ แต่นับถืออิสลามเหมือนกัน นอกนั้นยังมีกลุ่มย่อย ๆ อีกมากเช่นผู้อพยพทั้งหลาย พวกฮ่อโบราณที่ก่อสร้างมัสยิดโดยใช้สถาปัตยกรรมแบบวัดจีน
มัสยิดแบบอุยกูร์จะแตกต่างไปโดยสิ้นเชิง ถ้าเป็นมัสยิดโบราณจะมีสีฟ้าเหมือนในอุซเบกิสถาน เป็นศิลปะแบบผสมเตอร์กิส คือมีประตูทรงสี่เหลี่ยมอยู่ด้านหน้า ด้านในเป็นลานมีอาคารรอบ ๆ เป็นส่วนใหญ่ จะเห็นว่ามุสลิม 2 กลุ่มนี้ต่างมีวัฒนธรรมและภาษาตนเอง หุย ฮ่อใช้ภาษาแมนดาริน อุยกูร์ใช้ภาษาของเขาเอง หน้าตาก็ต่างกัน ชนิดที่เห็นจะแยกได้ทันที
มัสยิดของชาวอุยกูร์ |
ชาวมุสลิมอุยกูร์กำลังออกจากมัสยิดหลังจากการนมาซ ภาพจาก http://www.dw.com |
รูปเก๋งจีนนี้คือรูปมัสยิดชาวหุยที่ซินเจียง หน้าตาเหมือนวัดจีน สร้างมานานมากเกือบพันปีแล้ว จำปีที่สร้างไม่ได้แล้ว ตั้งอยู่ที่เมืองหลวงของแคว้นซินเจียง
มัสยิดของชาวหุยในซินเกียง |
เถาองุ่นดกดื่นตระการตาเป็นแหล่งดึงดูดนักท่องเที่ยวที่สำคัญในซินเจียง ภาพจากhttp://www.topchinatravel.com/china-tours/14-days-silk-road-tour/ |
ชอบภาพนี้มาก เป็นภาพของเจ้าของกระทู้ใน pantip ชื่อ Carroth แสดงให้เห็นศิลปวัฒนธรรมของชาวอุยกูร์ที่สืบทอดกันมารุ่นต่อรุ่นได้อย่างงดงาม |
ในแผนที่ด้านล่างทั้งสองรูปจะเห็นว่าซินเจียง (Xinjiang) เป็นดินแดนชายขอบของประเทศจีนทางด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือ แวดล้อมด้วยประเทศในเอเชียกลางที่มีลักษณะทางชาติพันธุ์ วัฒนธรรม รวมทั้งภูมิประเทศที่ใกล้เคียงกัน
ภาพจาก blog.education.nationalgeography |
การประกาศกร้าวของทางการจีนต่อกรณีของชาวอุยกูร์ ทำให้เห็นได้ว่าปัญหานี้คงไม่จบลงง่าย ๆ เราคงได้แต่ขอพรจากพระเจ้าให้คุ้มครองคนเล็กคนน้อย ไม่ให้ต้องเดือดร้อนภายใต้เกมการเมืองของมหาอำนาจ |
อยากสรุปเพิ่มเติมจากที่คุณหมอเสาด๊ะเล่าไว้ว่า แม้ขณะนี้กระแสมุสลิมอุยกูร์ในสื่อไทยจะเบาบางไปแล้ว แต่การได้รู้เรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของพวกเขาอาจทำให้เรามองปัญหาการเรียกร้องสิทธิ์ของชาวอุยกรู์ในวันนี้ได้อย่างรอบด้านมากขึ้น และหากวันหนึ่งข้างหน้ามีเหตุการณ์อะไรที่เกี่ยวพันกับประเทศไทยอีก (ซึ่งประเทศไทยคงหลีกเลี่ยงปัญหาระหว่างประเทศแบบนี้ไม่ได้หากเราจะยังอยู่ร่วมโลกกับคนชาติอื่น ๆ) เราจะได้ไม่แสดงความเห็นแบบไร้วิจารณญาณออกไป ประมาณว่า “เขาจะเดือดร้อนยังไงก็เรื่องของเขาไม่เห็นจะเกี่ยวอะไรกับเรานี่” ความรู้อาจทำให้ใจสว่างขึ้นได้บ้าง
เรียบเรียงโดย : สุรัยยา สุไลมาน
#ประชาชาติอิสลาม_Islamic_Society_Online
#เรื่องเล่าคติเตือนใจ_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น