product :

วันเสาร์ที่ 31 มีนาคม พ.ศ. 2561

ชีวประวัติท่านนบีฮูด





ชีวประวัติท่านนบีฮูด


เรื่องราวของท่านนบีฮูด อะลัยฮิสสลาม



กลุ่มชนของนบีฮูด (อ.) มีชื่อว่า ชาวอ๊าด พวกเขาอาศัยอยู่ในเมืองที่มีชื่อว่า อิรอม ผู้คนในสมัยท่านนบีฮูด (อ.) สักการะเทวรูปกัน พวกเขาสร้างเทวรูปขึ้นมาเองและพวกเขายังเชื่อว่าเทวรูปเหล่านั้นจะทำให้พวกเขาได้ดี พร้อมกับปกป้องพวกเขาจากมารร้าย และให้สิ่งต่างๆตามที่ขอได้

ท่านนบีฮูด (อ.) ถูกบัญชาใช้จากอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ให้มากล่าวเตือนกลุ่มชนของท่านให้หันกลับไปกราบไหว้พระเจ้าองค์เดียวคืออัลลอฮฺ (ซ.บ.) และกล่าวกับพวกเขาอีกว่าอัลลอฮฺ (ซ.บ.) เท่านั้นเป็นผู้สร้างสรรพสิ่งทั้งหลายและพระองค์เท่านั้นที่ทำให้พวกเขาได้ดีและปกป้องพวกเขาจากมารร้ายได้

บรรดาชาวเผ่าอ๊าดปฏิเสธคำเรียกร้องของท่านนบีฮูด (อ.) พร้อมกับกล่าวว่า : เจ้าเป็นพวกโง่เขลาเบาปัญญา และเจ้าก็เป็นจอมโกหก พวกเราไม่เชื่อว่าเจ้าคือศาสนทูตของพระเจ้า

ท่านนบีฮูด (อ.)กล่าวกับพวกเขาว่า : เราไม่ได้โกหก เราคือศาสนทูตของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) จริง ๆ พระองค์ทรงบัญชาให้ข้ามาเรียกร้องให้พวกท่านเคารพภักดีพระองค์ และให้ข้าสั่งสอนพวกท่านด้วย หากพวกท่านทำตามคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) พวกท่านจะได้พบกับความสำเร็จ

ชาวเผ่าอ๊าดไม่ยอมรับคำสั่งสอนของท่านนบีฮูด (อ.) โดยเฉพาะบรรดาหัวหน้าเผ่า เนื่องจากคำสั่งสอนของนบีฮูด (อ.) จะทำให้ผลประโยชน์ที่จะได้รับสูญเสียไป พวกเขากล่าวกับนบีฮูด (อ.) ว่า : เจ้าไม่เห็นนำหลักฐานหรือสัญลักษณ์ใดๆ มาพิสูจน์ให้พวกเราได้เห็นถึงความสัจจริงของคำพูดของเจ้าเลย ดังนั้นเราจะไม่ยอมเลิกเคารพบูชาเทวรูปของเราอย่างเด็ดขาด และเราจะกล่าวขอให้บรรดาเทวรูปเหล่านี้มาทำร้ายเจ้า

นบีฮูด (อ.) กล่าวกับพวกเขาว่า : สิ่งที่ข้านำมาบอกกับพวกเจ้าเป็นเรื่องจริงทั้งหมด แต่ถ้าหากพวกเจ้ามีความสัจจริง หรือบรรดารูปปั้นที่พวกเจ้าสักการะมีความสามารถจริง ก็จงบอกให้บรรดารูปปั้นเหล่านั้นมาทำร้ายข้าเถิดเพราะข้าไม่ได้เกรงกลัวรูปปั้นเหล่านั้นเลยแม้แต่น้อย และข้าก็เชื่อว่าอัลลอฮฺ (ซ.บ.) จะทรงคุ้มครองและปกป้องภัยให้กับข้า

พวกเขาไม่สามารถทำอะไรนบีฮูด (อ.) ได้ แต่พวกเขาก็ยังไม่ยอมเชื่อฟังคำสั่งสอนของนบีฮูด (อ.) พร้อมทั้งยังกลั่นแกล้งนบีฮูด (อ.) ต่างๆ นานา แต่นบีฮูด (อ.) ก็ยังอดทนสั่งสอนพวกเขาต่อไป แต่เมื่อท่านนบีเห็นว่าท่านไม่สามารถที่จะชักจูงพวกปฏิเสธเหล่านั้นเข้ามาเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้จึงขอดุอาต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) ให้พระองค์ทรงช่วยเหลือ อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้มีคำสั่งให้นบีฮูด (อ.) ไปกล่าวตักเตือนเป็นครั้งสุดท้าย โดยกล่าวว่า : อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงสั่งใช้ให้ข้ามาตักเตือนพวกเจ้าเป็นครั้งสุดท้ายให้พวกเจ้าทั้งหลาย ออกห่างจากการเคารพภักดีเทวรูปและหันมากราบไหว้อัลลอฮฺ (ซ.บ.) เพียงองค์เดียวเท่านั้น หากยังไม่เชื่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) จะทรงลงโทษพวกเจ้าอย่างแน่นอน

ชาวเผ่าอ๊าดกล่าวกับนบีฮูด (อ.) ว่า : พวกเราไม่เชื่อคำพูดของเจ้าหรอก เจ้าจะให้พวกเราหยุดเคารพบูชารูปปั้นได้อย่างไร ในเมื่อสิ่งเหล่านี้เป็นสิ่งที่เราทำกันมาตั้งแต่บรรพบุรุษของเรา ถ้าหากเจ้าพูดจริงก็ให้พระเจ้าของเจ้าลงโทษพวกเราเถิด

เมื่อนบีฮูด (อ.) เห็นว่าพวกเขาไม่ยอมรับคำสั่งสอนของท่านอย่างแน่นอนจึงกล่าวกับพวกเขาว่า : ดังนั้นพวกเจ้าก็จงรอรับการลงโทษจากอัลลอฮฺ (ซ.บ.) เถิด

หลังจากนั้นต่อมาเกิดภัยแล้งอย่างหนักในเผ่าอ๊าด ฝนไม่ตกเลยเป็นเวลา 3 ปี นบีฮูด (อ.) ออกมาเรียกร้องชาวเผ่าอ๊าดอีกครั้งโดยกล่าวว่า : การลงโทษของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) กำลังใกล้เข้ามาแล้ว หันกลับมาสู่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) เถิด และขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) ในความผิดบาปที่พวกเจ้าได้กระทำเอาไว้ อัลลอฮฺ (ซ.บ.) คือผู้ทรงเมตตา และเป็นผู้ทรงให้อภัย ถ้าหากพวกเจ้าขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) พระองค์จะทรงทำให้ฝนตกลงมาอีกครั้ง และจะทำให้ผลผลิตของพวกเจ้ากลับมาได้ผลดีอีกครั้ง

แต่ชาวเผ่าอ๊าดยังปฏิเสธคำเรียกร้องของนบีฮูด (อ.) เหมือนเดิม และยังเชื่อว่าบรรดาเทวรูปที่พวกเขาบูชาจะเป็นผู้ช่วยเหลือพวกเขาเอง แต่ทว่าในหมู่ผู้ปฏิเสธมีบางคนเชื่อในคำเรียกร้องของนบีฮูด (อ.) ด้วย พวกเขาเหล่านั้นมาหานบีฮูด (อ.) และได้ขออภัยโทษต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.)


ต่อมาอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงสั่งใช้ให้นบีฮูด (อ.) และบรรดาผู้ศรัทธาอพยพออกจากเมืองอิรอม และให้หนีห่างจากชาวเผ่าอ๊าดโดยอัลลอฮฺ (ซ.บ.) จะทรงลงโทษผู้ปฏิเสธ

เมื่อนบีฮูด (อ.) และบรรดาผู้ศรัทธาได้อพยพออกจากเมืองอิรอมและชาวเผ่าอ๊าดแล้ว อัลลอฮ์ได้ส่งลมพายุที่รุนแรงที่สุดมาในพื้นแผ่นดินเมืองอิรอม ลมพายุที่รุนแรงได้พัดพาบ้านเรือน พร้อมทั้งเรือนร่างของพวกเขาปลิวว่อนไปในท้องฟ้า และตกลงฟาดกับพื้นดินจนเสียชีวิตทั้งหมด




read more "ชีวประวัติท่านนบีฮูด"

วันศุกร์ที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 2561

แฮรี่ พอทเตอร์ และการต้อนรับการกลับมาของดัจยาล

แฮรี่ พอทเตอร์ และการต้อนรับการกลับมาของดัจยาล


เรื่องราวของแฮรี่ พอทเตอร์เต็มไปด้วยเรื่องลึกลับที่มีพื้นฐานมาจากองค์กรเมสัน และซิเฮ็รกั๊บบาลา ของยิว ซึ่งเราคิดว่ามันเป็นเพียงเรื่องแต่งสนุกๆ ที่น่าดู ซึ่งนี่ก็คือ ความสำเร็จของมือที่ลึกลับที่ทำให้ลูกหลานของเราได้ติดตามแฮรี่ พอทเตอร์ และนำเอาแฮรี่ พอทเตอร์มาเป็น ไอด้อล ของพวกเขา


ผู้แต่งเรื่องนั้น คือ เจเค โรลลิ่ง ชื่อจริงคือ โจอัน มัวเร เกิดที่ชิปปิ้ง ซอดเบอร์รี่ ประเทศอังกฤษ ในวันที่ 31 กรกฎาคม 1965 เธอได้ย้ายไปที่วินเทอร์บอร์นเมื่ออายุ 5 ขวบและที่นี่เองที่เธอมีเพื่อนบ้านชื่อว่า พอทเตอร์ ที่เธอนำมาใช้เป็นชื่อตัวเอกในเรื่องต่อมา

หลังจากหย่าร้างกับสามีเธอได้ย้ายไปอยู่ที่เอดินเบิร์ค สก็อตแลนด์ ซึ่งเป็นสถานที่ที่เธอใช้เขียนเรื่องแฮรี่ พอทเตอร์ภาคแรก คือ Harry Potter And Phillosopher’s Stone.
เอดินเบิร์ค คือ เมืองที่ตั้งอยู่ทางตะวันตกของสกอตแลนด์ เป็นที่หลบภัยของอัศวินเทมพลา จากการไล่ล่าของ โป๊บคลีเม้นที่ 5 และกษัตริย์ฟิลิปส์ แห่งฝรั่งเศส ในปี 1307 ซึ่งตอนนั้นสกอตแลนด์เป็นบริเวณเดียวที่อยู่นอกเหนือการปกครองของวาติกัน ซึ่งอัศวินเทมพลาได้เลือกเป็นที่ซ่อนตัวและเผยแพร่ลัทธิของพวกเขา การมาของพวกเขาได้รับการต้อนรับจากกษัตริย์ของสกอตแลนด์ คือ โรเบิร์ต เดอ บรัว ซึ่งพวกเขาได้สร้างองค์กรลับจากอัศวินเทมพลา และตั้งชื่อองค์กรนี้ว่า ฟรีเมสัน และแยกเป็นชื่ออื่นๆ อีกมากมาย แต่ล้วนมีเป้าหมายเดียวกัน จนปัจจุบันนี้ฟรีเมสันได้เข้าควบคุมโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็นด้านเศรษฐกิจ วิทยาศาสตร์ การทหาร และอื่นๆ ซึ่งองค์กรนี้ซ่อนอยู่เบื้องหลังกลุ่มการกุศลต่างๆ ทำให้พวกเขาสามารถปฎิบัติพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ได้อย่างอิสระ

ที่เมืองนี้มีปราสาทโรสลิน ชาปเปิ้ล ซึ่งสร้างโดยวิลเลียม ซินแคล์ ภายในเต็มไปด้วยรูปปั้นของฟรีเมสัน รูปสลักที่ฝาผนังของปราสาทกล่าวกันว่านำมาจากกำแพงของโบสถ์ โซโลมอน


มหาวิทยาลัยเอ็กซีเตอร์ ซึ่งเจเคโรลลิ่งเคยเรียนที่มหาวิทยาลัยนี้เป็นเวลา 4 ปี ซึ่งคำขวัญของมหาวิทยาลัยนี้ คือ เราตามแสงสว่าง ซึ่งโดยมากคเราจะคิดว่าแสงสว่างหมายถึงวิชาความรู้ แต่ในวิชาไสยศาสตร์โบราณ แสงสว่างนั้นหมายถึง ลูซิเฟอร์หรืออิบลิส ที่นี่เองที่เจเคโรลลิ่งได้เรียนวิชาไสยศาสตร์ต่างๆ เช่น กั๊บบาลา ประวัติศาสตร์แม่มด และอื่นๆ ภายใต้ โครงการณ์ Huss คือ school of humanities and social sciences

ต่อไปนี้คือสัญลักษณ์ทางไสยศาสตร์ต่างๆที่ปรากฎอยู่ในหนังสือ และภาพยนต์เรื่อง แฮรี่ พอทเตอร์

นกฮูก

ปัจจุบันนี้คนใช้นกฮูกเป็นสัญลักษณ์ของความรู้และความฉลาด แต่ว่ามันเป็นการเบี่ยงเบนความเป็นจริง เพราะว่านกฮูกหรือนกผีนั้นมันเป็นสัตว์ในซิเฮ็รกั๊บบาลาที่ใช้ในยุคอิยิปต์โบราณ ซึ่งเป็นตัวแทนของ ราชินีของอิบลิส ที่ชื่อว่า “ลิลิท” นกฮูกนี้เป็นตัวแทนของลัทธิไสย์ศาสตร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น ลัทธิชามาน (บูชาไฟ) และลัทธิไสยศาสตร์อื่นๆ ที่บูชา ลูซิเฟอร์ (บูชาซาตาน)

ในเรื่องเล่าของพวกเล่นไสยศาสตร์กล่าวกันว่า ลิลิท คือ ภรรยาคนแรกของอาดัม ก่อน อีวา แต่เนื่องจากลิลิทต้องการที่จะคุมสามีนั่นคืออาดัม ทำให้เธอถูกขับออกจากสวรรค์และต่อมาได้มาแต่งงานกับลูซิเฟอร์ (อิบลิส The Falling Angle) ที่ถูกขับออกจากสวรรค์เช่นเดียวกัน ลูกของทั้งสอง คือ บาโฟแมท มนุษย์ครึ่งคนครึ่งสัตว์ หรือที่รู้จักกันดีในชื่อแพะอิบลิส หรือ โกทเมนเดส ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ที่โบสต์ซาตานทุกที่ รูปหัวแพะนี้อยู่ในห้องโถงโบสต์ของฟรีเมสันฮอลันดาตั้งแต่ต้นศตวรรษที่ 20 ที่อินโดนีเซีย
องค์กรอิลูมินาติและองค์กรโบฮีเมียนกรูฟ เป็น 2 องค์กรลับที่นำเอานกฮูกมาเป็นสัญลักษณ์ขององค์กร

คนใส่เสื้อคลุมดำ

เสื้อคลุมดำเป็นชุดที่ใช้ใส่ทำพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ของกลุ่มลูซิเฟอร์ หรือกลุ่มบูชาซาตาน ไม่ว่าจะเป็นกลุ่มโบสต์ซาตานอิลูมินาติ ฟรีเมสัน โรซิกลูเซียน ล้วนใช้เสื้อคลุมดำในการทำพิธีทางไสยศาสตร์

แมว

แมวเป็นสัตว์ที่รักยิ่งของฟิรอูนและเป็นสัตว์ที่เกี่ยวข้องอย่างใกล้ชิดกับไสยศาสตร์ของอิยิปต์โบราณ ในความเชื่อของตะวันตก แมวดำ คือ แมวผีหรือแมวซาตาน (แมวปิศาจ)

สัญลักษณ์สายฟ้า 

พ่อแม่ของแอรี่พอทเตอร์ถูกฆ่าโดย วัลดีมอร์ตั้งแต่แฮรี่ยังเป็นทารก แต่วัลดิมอร์ทำได้แค่สร้างแผลเป็นรูปสายฟ้าที่หน้าผากของแฮรี่เท่านั้น แผลเป็นนี้เป็นรูปสายฟ้าฟาดหรือธันเดอร์บอลท์ สัญลักษณ์รูปสายฟ้านี้ยังเหมือนกับตัวอักษร S ซึ่งเป็นตัวอักษรที่เป็นสัญลักษณ์ของอิบลิสด้วยเช่นกัน 

สัญลักษณ์สายฟ้านี้ยังใช้โดย แอนตัน แซนเดอร์ ลาเวย์ ผู้เป็นเจ้าของลัทธิโบสต์ซาตาน ซึ่งเขาใช้สายฟ้านี้ใส่ไว้ตรงกลางของสัญลักษณ์เพนตาแกรมหรือรูป 5 เหลี่ยมกลับหัว (บาโฟแมท)

นอกจากนั้นสัญลักษณ์สายฟ้า ยังเป็นเครื่องหมายของพรรคนาซีเยอรมัน ซึ่งเป็นกองกำลังลับของฮิตเลอร์ ภายใต้คอมมานโดเฮนริช ฮิมเลอร์ ในศาสนาคริสต์ยึดถือว่าเครื่องหมายสายฟ้าหมายถึงการถือกำเนิดของซัยตอน ในอินญิ้ล ลูคัส 10:18 เยซูกล่าวว่า “ฉันเห็นซาตานตกลงมาจากสวรรค์เหมือนกับสายฟ้าฟาด” หลังจากนั้น “และท่านจะแลเห็น ชื่อของมันถูกสลักลึกที่ด้านหน้าของใบหน้าของมัน” (เรโวลูชั่น 22:4)

งู

ในซีรีย์ภาพยนตร์เรื่องแฮรี่ พอทเตอร์ใช้สัตว์ชนิดนี้มากที่สุด ในศาสนาโบราณยึดมั่นว่า งู คือสัญลักษณ์ของความเฉลียวฉลาด ในตอนที่มันลงจากสรวงสวรรค์ตามอาดัมลงมานั้น เชื่อกันว่าลูซิเฟอร์เลือกที่จะอยู่ในรูปร่างของงู ในความเชื่อเรื่องไสยศาสตร์ของศาสนาโบราณ งูเกี่ยวข้องกับลัทธิบูชาซาตาน ความเชื่อนี้ยังคงยึดถือมาจนถึงปัจจุบัน

กระจกแห่งความทรงจำ

ในภาคแรก จะพบกระจกบานหนึ่ง ที่เรียกว่า “The Mirror Of Erised” ในที่นี้ เจ เค โรลลิ่งใช้กระจกนี้แทนคำว่า “ความปรารถนา” ซึ่งเป็นวลีที่ใช้กันในกลุ่มของอัศวินเทมพลา ในการปกปิดความลับของพวกเขา ความต้องการในที่นี้ของแฮรี่ พอทเตอร์ คือ ต้องการพบกับโร๊ะหรือวิญญาณพ่อและแม่ของเขาโดยผ่านทางกระจก

ในศาสนาไสยศาสตร์กระจกถูกใช้ในการทำนายทายทักเหตุการณ์ในอนาคต หรือในอดีต โดยใช้กระจก ลูกแก้วคริสตัล เทียนไข เงาในน้ำ และอื่นๆ

ในศาสนาคริสต์เองก็ได้ประท้วงเจเคโรลลิ่งว่าทำการสอนสิ่งที่ขัดกับสิ่งที่กำหนดไว้ในคัมภีร์คริสต์ศาสนา นั่นคือการเชื่อมโยงกับวิญญาณของคนที่ตายไปแล้ว (ดีโอเทอโรโนมี 18:11) และชาวคริสต์ได้กล่าวอย่างเข้มงวดว่าคนที่มีชีวิตไม่สามารถเชื่อมโยงกับคนที่ตายไปแล้วได้(ลูคัส 16:19-31)

วิชาเคมี

วิชาเคมีเป็นความรู้ที่ปฎิบัติกันในยุโรปยุคกลาง กล่าววกันว่ามันสามารถจะเปลี่ยนแร่ธรรมดาให้กลายเป็นทองได้ “ในทางไสยศาสตร์ เคมี ในยุคกลาง คือ การเปลี่ยนรูปร่างของมนุษย์ไปเป็นรูปแบบอื่นที่สูงส่งหรือคงทนยิ่งกว่า “ (พจนานุกรม geddes&grosset หน้า 15 -17 )

ในประวัติศาสตร์ยุคกลางได้กล่าวนามของนักเคมีที่มีชื่อเสียง คือ นิโคลัส เฟลมเมล ซึ่งเจเคโรลลิ่ง ได้ใช้แทนผู้ที่ดูแลหินวิเศษ ซึ่งตรงกับไสยศาสตร์ของพวกเมสันที่ใช้หินซึ่งเมื่อผ่านพิธีกรรมทางไสยศาสร์แล้ว หินนั้นจะกลายเป็นหินวิเศษ

นอกจากนั้นในเรื่องแฮรี่ พอทเตอร์ยังใช้ของวิเศษอีกหลายอย่าง เช่น ควิดดิช พรมวิเศษ นิมบัส สุนัข 3 หัว และตารางหมากรุก

ซึ่งตารางหมากรุกนั้นชัดเจนว่าเป็นสัญลักษณ์ของฟรีเมสัน ซึ่งปรากฏที่โบสต์ฟรีเมสันทุกที่ เป็นตารางหมากรุกขาวดำ ที่เรียกว่า เดอะเช็คเกอร์ฟลอร์ ที่ใช้ในพิธีกรรมทางไสยศาสตร์ในการรับสมาชิกเมสันใหม่ หรือสมาชิกเก่าที่มีตำแหน่งสูงขึ้น

ซึ่เงเราจะเห็นได้ตอนที่มาดอนนาขึ้นรับรางวัลมิวสิคอวอร์ด MTV ปี 2003 ซึ่งพื้นเวทีเป็นรูปตารางหมากรุกขาวดำของฟรีเมสัน

แหล่งที่มา : Yasin Anannab


#การเมือง_ลัทธิและความเชื่อ_Islamic_Society_Online
#เรื่องเล่าคติเตือนใจ_Islamic_Society_Online
#นานาทัศนคติ_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "แฮรี่ พอทเตอร์ และการต้อนรับการกลับมาของดัจยาล"

วันพฤหัสบดีที่ 29 มีนาคม พ.ศ. 2561

ความเป็นมาและพัฒนาการของผู้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี

ความเป็นมาและพัฒนาการของผู้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี




ความหมาย


คำว่า “จุฬาราชมนตรี” เป็นการสมาสศัพท์ 3 คำมาต่อกันเป็นศัพท์เดียว อันได้แก่ จุฬา+ราช+มนตรี ซึ่งคำศัพท์แต่ละคำมีความหมายดังต่อไปนี้
  1. จุฬา (บาลีว่า จุฬา , สันสกฤติ ว่า จูฑา) เป็นคำนาม หมายถึง จุก โดยปริยายหมายถึงที่สูงสุดของศีรษะ เช่น ยอดหัว มงกุฏ เป็นต้น
  2. ราช (ราด , ราดชะ-) เป็นคำนาม หมายถึง พระเจ้าแผ่นดิน พญา (ใช้แก่สัตว์) เช่น นาคราช คือ พญานาค สีหราช คือ พญาราชสีห์ คำนี้มักใช้ประกอบกับคำอื่น , ถ้าคำเดียวมักใช้ว่า ราชา
  3. มนตรี เป็นคำนาม หมายถึง ที่ปรึกษา ผู้แนะนำ ที่ปรึกษาราชการ ข้าราชชั้นผู้ใหญ่

เมื่อนำคำศัพท์ทั้ง 3 คำนำมาสมาสเข้าด้วยกันจะมีความหมายว่า ที่ปรึกษาสูงสุดของพระเจ้าแผ่นดิน หรือหัวหน้าของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ที่มีหน้าที่ปรึกษา หรือแนะนำพระเจ้าแผ่นดิน หรือราชการ คำว่า จุฬาราชมนตรีโดยปริยายยังหมายถึง ตำแหน่งประธานมุสลิมที่ทางราชการแต่งตั้ง และมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า องคมนตรี คือ ผู้มีตำแหน่งที่ปรึกษาในพระองค์พระมหากษัตริย์

นักวิชาการผู้สันทัดกรณีสันนิษฐานว่า จุฬา หรือ ในเอกสารเก่าเขียนว่า จุลา คงมาจากคำล่า จุละ (shula) ในภาษาอาหรับหรือเปอร์เซีย ซึ่งแปลว่า “คณะมนตรีที่ปรึกษา” (Ian Richard Netton , A Popular Dictionary of Islam p.232) และที่ว่าเป็นคำในภาษาอาหรับนั้น น่าจะเพี้ยนเสียงมาจากคำว่า ชูรอ (شُوْرى) ที่มีความหมายว่า การปรึกษาหารือ เรียกคณะที่ปรึกษาว่า อะฮฺลุชชูรอ (أَهْلُ الشُوْرى) จาก “ชูรอ” เพี้ยนเป็น จูลา ก็คงเข้าเค้าอยู่ แต่กระนั้นจุฬาราชมนตรีที่เขียนในเอกสารเก่าว่า จุลาราชมนตรี ตามที่อธิบายมาข้างต้นก็ดูจะสอดคล้องและตรงกับความหมายของคำศัพท์ที่สมาสกัน ได้แนบเนียนกว่า อีกทั้งราชทินนามนี้ก็มีอยู่ในกฏหมายที่ตราขึ้นแต่ครั้งแผ่นดินสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถมาก่อนแล้ว

จุฬาราชมนตรีในสมัยกรุงศรีอยุธยา


ราชทินนาม จุฬาราชมนตรีในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ มีบรรดาศักดิ์เป็น “พระจุฬาราชมนตรี” ว่าที่เจ้ากรมท่าขวาเคียงคู่มากับตำแหน่ง “โชดึกราชเศรษฐี” หรือ โชฎึกราชเศรษฐี ว่าที่ เจ้ากรมท่าซ้าย

กรมท่าขวา เป็นหน่วยงานด้านการค้าและการติดต่อกับชาวต่างชาติในสังกัดกรมพระคลัง มีหน้าที่รับผิดชอบทางด้านการค้า การเดินเรือพาณิชย์ และการต่างประเทศ ได้ว่า แขกประเทศชวา มลายู อังกฤษ ในประกาศรัชกาลที่ 4 กำหนดว่า “ให้มีหน้าที่ดูแลการค้าข้างฝ่ายแขกอินเดีย แขกอาหรับ แขกชาวมลายู และพราหมณ์ที่มีบ้านเมืองตั้งอยู่ในฝั่งขวาคุ้งทะเลไทย (“เรื่องตั้งเจ้าท่าเป็นหลวงวิสุทธิ์สาครดิษฐ์ จ.ศ.1221” , หอสมุดแห่งชาติ , เลขที่ 25 , สมุดไทยดำ)

ในพระธรรมนูญมีกล่าวถึงตราประจำตำแหน่งของพระจุฬาราชมนตรี แต่ไม่ทราบว่ามีรูปร่างอย่างไร ในบัญชีตราโคมวิสาขบูชาในรัชกาลที่ 4 ได้บอกถึงรูปตราไว้ว่า “พระยาจุฬาราชมนตรีตรารูปกำปั่น สามเสามีใบพระยาโชดึกราชเศรษฐีตรารูปสำเภามีเสามีใบ”

อย่างไรก็ตามถึงแม้ขุนนางกรมท่าขวาส่วนใหญ่จะเป็นพวกมุสลิม แต่ยังมีขุนนางและผู้ชำนาญการชาวต่างชาติกลุ่มอื่นๆ ที่รับราชการในหน่วยงานนี้ เช่น ชาวโปรตุเกส ชาวอินเดียที่นับถือศาสนาฮินดู และชาวอาร์เมเนีย เป็นต้น ขุนนางชาวต่างชาติเหล่านี้ส่วนใหญ่คือกลุ่มที่มาจากฝั่งตะวันตกของสยามหรือ เกี่ยวข้องกับชาวตะวันตกได้แก่กลุ่มพวกเข้ารีตที่นับถือศาสนาคริสต์ นอกจากนี้กรมท่าขวายังติดต่อค้าขายอยู่กับมุสลิมที่มาจากรัฐอิสลามในเอเซีย ตะวันออกเฉียงใต้ คือ มลายูจาม และรัฐในหมู่เกาะอินโดนีเซีย

(Kennon Breazeale , “Thai Maritime Trade and the Ministry Responsible” , in From Japan to Arabia ; Ayutthaya’s Maritime Relations with Asia , p.5)

นับตั้งแต่การกำเนิดขึ้นของกรมท่าขวาและราชทินนาม จุฬาราชมนตรี นั้นเรามิอาจทราบได้ว่ามีบุคคลใดดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ว่าที่เจ้ากรมท่าขวามาก่อนโดยเฉพาะช่วงแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พ.ศ. 2153-2171 / ค.ศ. 1615-1628) แต่ในหนังสือประวัติสกุลบุนนาคและเฉกอะหมัดกล่าวอ้างถึงครั้งสมเด็จพระเจ้า ทรงธรรมว่ามีแขกเจ้าเซ็นสองคนพี่น้องเข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยา

เมื่อจุลศักราช 964 ปีขาล จัตวาศก (พ.ศ. 2145) คนพี่ชื่อ เฉกอะหมัด คนน้องชื่อ มหะมัดสะอิด ท่านเฉกอะหมัดเป็นที่สนิทชิดชอบและเป็นที่ปรึกษาราชการต่างประเทศของเจ้าพระยาพระคลังในเวลานั้นด้วย ครั้งนั้นสมเด็จพระเจ้าทรงธรรมได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตั้งให้เป็นพระยาเฉกอะหมัดรัตนราชเศรษฐี เจ้ากรมท่าขวา ว่าที่จุฬาราชมนตรี และในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง เลื่อนขึ้นเป็นเจ้าพระยาบวรราชนายก จางวางกรมมหาดไทย (ส. พลายน้อย ; “ขุนนางสยาม” สำนักพิมพ์มติชน 2537 หน้า 163)

ปีที่เฉกอะหมัดเข้ามายังกรุงศรีอยุธยา (พ.ศ. 2145-2146) นั้นตรงกับแผ่นดินสมเด็จพระเอกาทศรถ และได้เข้ารับราชการเมื่อลุแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม เฉกอะหมัดจึงเป็นจุฬาราชมนตรีคนแรกที่สามารถสืบค้นตัวตนได้ แต่มิได้หมายความว่าเฉกอะหมัดเป็นปฐมจุฬาราชมนตรี เพราะก่อนหน้านั้น ราชทินนามจุฬาราชมนตรีมีปรากฏอยู่แล้วในกฏหมายที่ตราขึ้นนับแต่แผ่นดิน สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ แต่ไม่ปรากฏว่าเป็นผู้ใดเท่านั้นเอง

จึงได้ความว่า ในสมัยกรุงศรีอยุธยา จุฬาราชมนตรีมีบทบาทและหน้าที่ในราชสำนักสยาม โดยทำหน้าที่ดูแลการค้า การติดต่อกับต่างชาติ และการควบคุมประชาคมต่างชาติจากภูมิภาคฝั่งตะวันตก ในบางรัชสมัยจุฬาราชมนตรีได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ากรมท่ากลาง กรมอาสาจาม-มลายู หรือพระคลังตลอดจนฝ่ายตุลาการอีกด้วยซึ่งเป็นไปตามพระบรมราโชบายของพระมหากษัตริย์แต่ละพระองค์ จุฬาราชมนตรีในบางรัชสมัยจึงมิได้ว่าที่เจ้ากรมท่าขวาเท่านั้น อีกทั้งยังถูกจัดว่าเป็นเสนาบดีผู้ใหญ่ในราชสำนักสยามที่มีความสำคัญทั้งใน ฝ่ายพลเรือน และฝ่ายกลาโหมอีกด้วย

จุฬาราชมนตรีในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์


ในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ราชทินนาม จุฬาราชมนตรี ยังคงมีลักษณะไม่ต่างจากเมื่อครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา ทั้งในด้านหน้าที่ความรับผิดชอบหลักในกรมท่าขวา และการได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ จากพระเจ้าแผ่นดินให้มีตำแหน่งหน้าที่ในสังกัดกรมกองอื่นๆ อีกด้วย เช่น พระยาจุฬาราชมนตรี (นาม) ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้ว่าการคลังวิเศษ พระคลังใน ช่วยราชการต่างประเทศในกรมท่ากลาง และได้กำกับชำระตั้วเหี่ย ชำระฝิ่น

ต่อมาในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 เป็นจางวางว่าการคลังวิเศษ คลังในซ้าย คลังในขวา พระคลังใน และเป็นเจ้าคำนวณกำกับภาษีร้อยชักสามอีกด้วย และในแผ่นดินพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 พระยาจุฬาราชมนตรี (สัน) ได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นจางวางกรมท่าขวา และเป็นเจ้ากรมกองแสตมป์ กระทรวงยุติธรรม และในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้น พระจุฬาราชมนตรี (เกษม) ได้เป็นรองอำมาตย์เอก กับได้เป็นเจ้ากรมกองแสตมป์ กระทรวงยุติธรรม เป็นต้น

สรุปได้ความว่า ในช่วงกรุงรัตนโกสินทร์ก่อนการเปลี่ยนแปลงการปกครอง พ.ศ.2475 นั้นผู้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีเป็นขุนนางชำนาญการและประจำการในกรมท่าขวา บางท่านได้รับโปรดเกล้าฯ ให้เป็นผู้พิพากษาศาลคดีต่างประเทศ (เช่น พระยาจุฬาราชมนตรี (สิน) ในรัชกาลที่ 5) เป็นเจ้ากรมกองแสตมป์ กระทรวงยุติธรรม และบางท่านเป็นรองอำมาตย์เอก (เช่น พระจุฬาราชมนตรี (เกษม) ในรัชกาลที่ 5) บางท่านเป็นขุนนางนอกราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย (เช่น พระจุฬาราชมนตรี (สอน อะหมัดจุฬา) รัชกาลที่ 7)

และผู้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีนับแต่แผ่นดินสมเด็จพระเจ้าทรงธรรม แห่งกรุงศรีอุยธยาจวบจนถึงกรุงรัตนโกสินทร์ในรัชกาลที่ 7 ล้วนแต่เป็นลูกหลานเฉกอะหมัด ที่ออกญาบวรราชนายก จางวางกรมมหาดไทย ในแผ่นดินสมเด็จพระเจ้าปราสาททองทั้งสิ้น ตำแหน่งจุฬาราชมนตรีจึงเป็นตำแหน่งขุนนางในสายตระกูลเฉกอะหมัด ซึ่งเป็นต้นสุกล บุนนาค เช่นกันที่สืบต่อมาตลอดระยะเวลาหลายร้อยปี และสิ้นสุดลงในรัชกาลที่ 7

ซึ่งมีข่าวปรากฏในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 53 หน้า 176 กล่าวว่า “พระจุฬาราชมนตรี (สอน อะหมัดจุฬา) นอกราชการสังกัดกระทรวงมหาดไทย ออกจากบรรดาศักดิ์ตั้งแต่วันที่ 8 เมษายน 2482” ตั้งแต่นั้นมาบรรดาศักดิ์ขุนนางกรมท่า พระยาจุฬาราชมนตรีก็หมดไป (ส. พลายน้อย ; “ขุนนางสยาม” สำนักพิมพ์มติชน 2537 หน้า 167)

จุฬาราชมนตรีภายหลังการเปลี่ยนแปลงการปกครองจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชเป็นระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข พ.ศ.2475


หลังจากการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยคณะราษฎร์ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2475 ตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว พระจุฬาราชมนตรี (สอน) ยังคงดำรงตำแหน่งอยู่จนถึงพ.ศ. 2488 ซึ่งเป็นปีที่ท่านลาออกจากบรรดาศักดิ์ ทั้งนี้มีประกาศเรื่องการยกเลิกบรรดาศักดิ์ในพระปรมาภิไธย สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอานันทมหิดลลงวันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2480 และลงวันที่ 16 ธันวาคม พ.ศ. 2484 และประกาศเรื่องการยกเลิกยศข้าราชการฝ่ายพลเรือน มีจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม นายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับสนองพระบรมราชโองการ บรรดาศักดิ์ในราชทินนาม “จุฬาราชมนตรี” จึง ว่างเว้นไปนับแต่บัดนั้น

ต่อมาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวอนันทมหิดล พ.ศ.2488 จึงได้มีการตราพระราชกฤษฏีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลามขึ้น ในมาตรา 3 มีความว่า “พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจุฬาราชมนตรีเพื่อให้มีหน้าที่ปฏิบัติราชการส่วนพระองค์เกี่ยวแก่การที่จะทรงอุปถัมภ์ศาสนาอิสลาม และให้มีเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรีตามสมควร

จุฬาราชมนตรีคนแรกซึ่งได้รับแต่งตั้งตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้คือ นายแช่ม พรหมยงค์ นับเป็นจุฬาราชมนตรีคนแรกที่เป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม นิกายสุนนี และนอกวงศ์ของท่านเฉกอะหมัด ตลอดจนเป็นผู้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีที่มิใช่ขุนนางบรรดาศักดิ์ในสังกัดกรมท่าขวา แต่เป็นพลเรือนที่เป็นนักการศาสนาซึ่งสำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยอัล-อัซ ฮัร ประเทศอียิปต์

อย่างไรก็ตาม นายแช่ม พรหมยงค์ก็เคยรับราชการระดับหัวหน้ากองอยู่ในกรมโฆษณาการ (กรมประชาสัมพันธ์) สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรีมาก่อน อีกทั้งยังเป็นหนึ่งในคณะราษฎร์ฝ่ายพลเรือนที่มีส่วนในการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครอง พ.ศ.2475 และเป็นหนึ่งในขบวนการเสรีไทยอีกด้วย นายแช่ม พรหมยงค์ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีอยู่เพียง 2 ปี ก็มีเหตุต้องเดินทางออกนอกประเทศด้วยเหตุผลทางการเมืองในขณะนั้น

หลังจากที่นายแช่ม พรหมยงค์ จุฬาราชมนตรีได้เดินทางออกนอกประเทศและได้ลาออกจากตำแหน่งจุฬาราชมนตรี จอมพล ป. พิบูลสงครามในขณะนั้นดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีจึงได้เชิญบรรดาประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทุกจังหวัดในขณะนั้น (ประมาณ 24 จังหวัด) มาร่วมประชุมคัดเลือกจุฬาราชมนตรีคนใหม่แทนตำแหน่งที่ว่างลง ที่ประชุมได้มีมติเสียงข้างมากให้นายต่วน สุวรรณศาสน์ ซึ่งขณะนั้นดำรงตำแหน่งประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดพระนคร ให้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี เมื่อตุลาคม พ.ศ.2491 ขณะมีอายุได้ราว 60 ปี

นายต่วน สุวรรณศาสน์เป็นนักวิชาการศาสนาที่สำเร็จการศึกษาจากนครมักกะฮฺ ประเทศซาอุดิอาระเบีย ผลงานทางวิชาการของท่านคือ การก่อตั้งโรงเรียนอันยุมันอิสลาม เขตบางรัก และพระมหาคัมภีร์อัล-กุรอานฉบับแปลภาษาไทย และตำราทางวิชาการอีกหลายเล่ม ท่านดำรงตำแหน่งอยู่ประมาณ 32 ปีก็ถึงแก่อสัญกรรม เมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2524

หลังจากท่านจุฬาราชมนตรี ต่วน สุวรรณศาสน์ ได้ถึงแก่อสัญกรรม ทางกระทรวงมหาดไทยจึงได้เชิญประธานกรรมการอิสลามประจำจังหวัดซึ่งมีอยู่ 26 จังหวัดในขณะนั้นมาร่วมประชุม ณ กระทรวงมหาดไทยเมื่อวันที่ 10 สิงหาคม 2524 และได้ลงมติเป็นเอกฉันท์ให้ นายประเสริฐ มะหะหมัด เป็นจุฬาราชมนตรีซึ่งขณะนั้นท่านดำรงตำแหน่งกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร

และกระทรวงมหาดไทยก็นำความกราบบังคมทูลพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 9) เพื่อทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นจุฬาราชมนตรีเมื่อเดือนกันยายน พ.ศ.2524 นับเป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ 11 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ และคนที่ 16 ของประเทศไทย ตลอดจนเป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ 3 ที่นับถือศาสนาอิสลาม นิกายสุนนี่ ซึ่งเป็นพลเรือนและเป็นนักวิชาการทางศาสนาอิสลามที่จบการศึกษาจากนครมักกะฮฺ ประเทศซาอุดิอาระเบีย

เป็นที่น่าสังเกตว่า ในพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พุทธศักราช 2488 ตามความในมาตราที่ 3 จุฬาราชมนตรีมีหน้าที่ปฏิบัติราชการส่วนพระองค์เกี่ยวแก่การที่จะทรงอุปถัมภ์ศาสนาอิสลาม ซึ่งจุฬาราชมนตรีที่มีสถานภาพตามพระราชกฤษฎีกานี้คือ จุฬาราชมนตรีแช่ม พรหมยงค์ และจุฬาราชมนตรีต่วน สุวรรณศาสน์ ในช่วงแรกๆ ที่ดำรงตำแหน่ง

ต่อมาได้มีการตราพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม (ฉบับที่ 2) พุทธศักราช 2491 โดยแก้ไขเพิ่มเติมในมาตราที่ 3 ความว่า “ให้ยกเลิกความในมาตราที่ 3 แห่งพระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พุทธศักราช 2488 และให้ใช้ความดังต่อไปนี้แทน

“มาตรา 3 พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจุฬาราชมนตรีเพื่อให้คำปรึกษาแก่กรมการศาสนาในกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวแก่การศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม และให้มีเงินอุดหนุนฐานะจุฬาราชมนตรีตามสมควร” ผู้รับสนองพระบรมราชโองการคือ จอมพล ป. พิบูลสงคราม นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น จะเห็นได้ว่าสถานภาพของจุฬาราชมนตรีหลังปี 2491 ถูกลดลบทบาทเป็นผู้ให้คำปรึกษาแก่กรมการศาสนาในกระทรวงศึกษาธิการเท่านั้น

ท่านจุฬาราชมนตรีต่วน สุวรรณศาสน์ในช่วงหลังปี 2491 เรื่อยมารวมถึงจุฬาราชมนตรีประเสริฐ มะหะหมัด จึงมีสถานภาพเป็นเพียงที่ปรึกษาของกรมการศาสนา ซึ่งขณะนั้นสังกัดกระทรวงศึกษาธิการเกี่ยวกับการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลามเท่านั้น

นายประเสริฐ มะหะหมัด ได้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีจนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี พ.ศ. 2540 ถึงแม้ท่านจุฬาราชมนตรีประเสริฐ มะหะหมัดจะเป็นนักการศาสนาแต่การทำหน้าที่ของท่านในฐานะจุฬาราชมนตรีก็เป็นไปอย่างเหมาะสมและมีความสง่างาม ผลงานสำคัญของท่านคือ โครงการจัดสร้างศูนย์บริหารกิจการศาสนาอิสลามแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติ ที่ถนนคลองเก้า แขวงคลองสิบ เขตหนองจอก กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นดำริที่ท่านได้เสนอต่อทางราชการในสมัยของท่าน

จุฬาราชมนตรีคนต่อมาภายหลังการถึงแก่อสัญกรรมของนายประเสริฐ มะหะหมัด คือ จุฬาราชมนตรีสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ ซึ่งท่านดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีตั้งแต่ปี พ.ศ.2540 ในช่วงการดำรงตำแหน่งของจุฬาราชมนตรีสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ ได้มีการตราพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540

โดยมาตรา 3 ให้ยกเลิก
  1. พระราชบัญญัติมัสยิดอิสลาม พ.ศ.2490
  2. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม พุทธศักราช 2488
  3. พระราชกฤษฎีกาว่าด้วยการศาสนูปถัมภ์ฝ่ายอิสลาม (ฉบับที่ 2) พ.ศ. 2491

ในมาตรา 6 ระบุว่า “พระมหากษัตริย์ทรงแต่งตั้งจุฬาราชมนตรีคนหนึ่ง เพื่อเป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย” และในมาตรา 8 “จุฬาราชมนตรีมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
  1. ให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นต่อทางราชการเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม
  2. แต่งตั้งคณะผู้ทรงคุณวุฒิเพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม
  3. ออกประกาศแจ้งผลการดูดวงจันทร์ตามมาตรา 35 (11) เพื่อกำหนดวันสำคัญทางศาสนา
  4. ออกประกาศเกี่ยวกับข้อวินิจฉัยตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม

จะเห็นได้ว่า ในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ.2540 ตามความในมาตรา 6 และ 8 นั้น สถานภาพของจุฬาราชมนตรีได้ถูกยกระดับขึ้นเป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย และมีอำนาจหน้าที่ในการให้คำปรึกษาและเสนอความเห็นต่อทางราชการเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม กล่าวคือมิใช่เป็นเพียงผู้ให้คำปรึกษาแก่กรมการศาสนาเท่านั้น หากแต่ยังรวมถึงหน่วยงานทางราชการอื่นๆ อีกด้วย จุฬาราชมนตรีสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ดำรงตำแหน่งและมีสถานภาพตามพระราชบัญญัติฯ พ.ศ. 2540 จนกระทั่งถึงแก่อสัญกรรมในปี พ.ศ. 2553

ภายหลังการถึงอสัญกรรมของนายสวาสดิ์ สุมาลยศักดิ์ จุฬาราชมนตรี กระทรวงมหาดไทยได้เรียกประชุมคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศเพื่อสรรหาผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีที่ว่างลง เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ผู้ที่ได้รับการสรรหาคือ นายอาศิส พิทักษ์คุมพล และได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งเป็นจุฬาราชมนตรีคนที่ 18 ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2553

ทั้งนี้นายอาศิส พิทักษ์คุมพล ถือเป็นจุฬาราชมนตรีคนแรกที่ได้รับการสรรหาตามมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 และตามกฏกระทรวงว่าด้วยวิธีสรรหาผู้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี พ.ศ. 2542 นายอาศิส พิทักษ์คุมพล จุฬาราชมนตรีคนปัจจุบันเป็นนักวิชาการในศาสนาอิสลามคนแรกที่มีภูมิลำเนาในจังหวัดสงขลาที่มิใช่ผู้มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานคร ต่างจากจุฬาราชมนตรีคนก่อนๆ ที่ล้วนเป็นผู้ที่มีภูมิลำเนาในกรุงเทพมหานครทั้งสิ้น

และยังถือเป็นนักวิชาการที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันปอเนาะ ในจังหวัดสงขลาและปัตตานีคนแรกที่ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี นายอาศิส พิทักษ์คุมพลเป็นประธานกรรมอิสลามประจำจังหวัดสงขลา เป็นที่ปรึกษาองค์กรต่างๆ และเป็นอดีตสมาชิกวุฒิสภา และยังคงดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีจวบจนปัจจุบัน

จุฬาราชมนตรีกับสถานภาพผู้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทย


ตำแหน่ง “จุฬาราชมนตรี” นับแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาและกรุงรัตนโกสิทนร์ก่อนการเปลี่ยนแปลงระบอบการ ปกครอง พ.ศ. 2475 เป็นตำแหน่งของขุนนางบรรดาศักดิ์ว่าที่ เจ้ากรมท่าขวา ในสังกัดกรมพระคลังผู้มีราชทินนามว่าจุฬาราชมนตรี ในบางรัชสมัยเป็นขุนนางในชั้น พระยา หรือ ออกญา หรือ ออกพระ และพระจุฬาราชมนตรี มีอำนาจหน้าที่ในฐานะแม่กองแขกควบคุมประชาคมมุสลิมในสยาม และในอดีตตลอดระยะเวลาหลายร้อยปี ผู้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี ล้วนแล้วแต่เป็นขุนนางแขกเปอร์เซียในสายตระกูลเฉกอะหมัด อัลกุมมีย์ และถือศาสนาอิสลาม นิกายชีอะฮฺ อิมามสิบสอง (อิมามียะฮฺ อิษนาอะชะรียะฮฺ) หรือที่เรียกกันในเอกสารเก่าว่า “แขกเจ้าเซ็น”

ต่อมาภายหลังการเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในปี พ.ศ. 2475 ความเป็นขุนนางบรรดาศักดิ์ของผู้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีก็หมดไป และจุฬาราชมนตรีซึ่งเป็นพลเรือนคนแรกที่ได้รับการแต่งตั้งคือ นายแช่ม พรหมยงค์ ซึ่งเป็นผู้นับถือศาสนาอิสลาม นิกายสุนนี ความเป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทยของผู้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี สายมุสลิมสุนนีเริ่มเป็นสิ่งที่ปรากฏชัดขึ้นนับแต่นั้น

เพราะจุฬาราชมนตรีเป็นนักวิชาการทางศาสนามิใช่ขุนนางบรรดาศักดิ์เหมือนแต่ครั้งก่อน อีกทั้งประชากรมุสลิมส่วนใหญ่ในประเทศไทยก็เป็นมุสลิมเชื้อสายมลายูที่ถือใน นิกายสุนนี มิใช่ชาวเปอร์เซียที่ถือในนิกายชีอะฮฺ เมื่อจุฬาราชมนตรีนับตั้งแต่ นายแช่ม พรหมยงค์ จวบจนจุฬาราชมนตรีคนปัจจุบัน คือ นายอาศิส พิทักษ์คุมพล เป็นมุสลิมเชื้อสายมลายูที่ถือในนิกายสุนนี มัซฮับอัช-ชาฟิอียฺ

ความเป็นผู้นำกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทยจึงมีความชัดเจนและสอดคล้องกับประชากรมุสลิมโดยส่วนใหญ่ กอปรกับจุฬาราชมนตรีตามความในมาตราที่ 16 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 เป็นประธานกรรมกลางอิสลามแห่งประเทศไทย ซึ่งถือเป็นองค์กรฝ่ายบริหารกิจการศาสนาอิสลามตามพระราชบัญญัติฯ 2540 ที่เป็นองค์กรสูงสุดในลำดับขั้นการปกครองและการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม

เพราะตามความในมาตรา 18 คณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทย มีอำนาจหน้าที่ตามความ (5) คือ“ออกระเบียบวิธีการดำเนินงานและควบคุมดูแลการบริหารงานของคณะกรรมการอิสลาม ประจำจังหวัดและคณะกรรมการอิสลามประจำมัสยิด” จึงเท่ากับว่า จุฬาราชมนตรีเป็นผู้นำสูงสุดขององค์กรฝ่ายกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทยโดยปริยาย

อย่างไรก็ตาม อำนาจหน้าที่ของจุฬาราชมนตรีตามความในมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 ซึ่งมี 4 ข้อนั้น สาระสำคัญโดยรวมคือการออกประกาศเกี่ยวกับข้อวินิจฉัยตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม การออกประกาศแจ้งผลดูดวงจันทร์เพื่อกำหนดวันสำคัญทางศาสนา โดยมีคณะผู้ทรงคุณวุฒิที่จุฬาราชมนตรีแต่งตั้งเป็นองค์คณะเพื่อให้คำปรึกษา เกี่ยวกับบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม

อาจกล่าวได้ว่าสถานภาพของจุฬาราชมนตรีตามสาระสำคัญของมาตรา 8 แห่งพระราชบัญญัติฯ พ.ศ. 2540 นั้น มีลักษณะใกล้เคียงกับมุฟตีย์สูงสุดผู้มีอำนาจในการออกประกาศเกี่ยวกับข้อ วินิจฉัยตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม ทั้งในส่วนของประชาคมมุสลิมและการเสนอความเห็นที่เป็นผลมาจากการวินิจฉัยนั้นแก่หน่วยงานราชการเกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม

กระนั้นเป็นที่น่าสังเกตุว่า อำนาจหน้าที่ของจุฬาราชมนตรีในเรื่องการวินิจฉัยและการออกประกาศเกี่ยวกับบัญญัติแห่งศาสนาอิสลาม เป็นอำนาจหน้าที่โดยตรงของจุฬาราชมนตรี ส่วนคณะผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรีนั้นมีหน้าที่เพียงให้คำปรึกษาเกี่ยวกับบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามเท่านั้น ไม่มีอำนาจ หน้าที่ในการออกประกาศแต่อย่างใด

สิ่งที่ไม่มีระบุไว้อย่างชัดเจนก็คือ คำประกาศเกี่ยวกับข้อวินิจฉัยตามบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามของจุฬาราชมนตรีที่ออกประกาศไว้นั้น เป็นที่สิ้นสุดหรือไม่? ประเด็นนี้ไม่มีมาตราใดๆ ในพระราชบัญญัติฯ 2540 รับรองเอาไว้ อีกทั้งโดยลักษณะของคำวินิจฉัยซึ่งเป็นคำฟัตวาในข้อปัญหาทางศาสนาอิสลามก็ ไม่ใช่คำพิพากษาของผู้ดำรงตำแหน่งกอฎียฺทางศาสนาอิสลามหรือผู้ที่ได้รับแต่ง ตั้งให้เป็นอนุญาโตตุลาการในการประนีประนอมข้อพิพาทระหว่างบุคคลสองฝ่าย

แต่คำวินิจฉัยซึ่งเป็นคำฟัตวาในข้อปัญหาทางศาสนาเป็นเพียงการตอบปัญหาตามที่จุฬาราชมนตรีซึ่งจะปรึกษากับคณะผู้ทรงคุณวุฒิหรือไม่ก็ตามได้มีดุลยพินิจในการให้คำตอบเกี่ยวกับปัญหาที่ถามมาเท่านั้น ความเป็นที่สิ้นสุดของคำวินิจฉัยจึงไม่ชัดเจนในการมีผลบังคับใช้ที่เด็ดขาด ทั้งโดยหลักนิติศาสตร์อิสลามและกฏหมาย

เหตุนี้จึงมีผู้เสนอให้มีการแต่งตั้ง (เตาลียะฮฺ) จุฬาราชมนตรีโดยกลุ่มคณะบุคคลที่อนุโลมได้ว่าเป็น อะฮฺลุลหัล วัล-อักดฺ ให้จุฬาราชมนตรีมีสถานภาพเป็น กอฎียฺ หรือ หากิม ในภาวะจำเป็น (เฎาะรูรียฺ) เกี่ยวกับกิจการศาสนาอิสลาม ทั้งนี้เพื่อให้คำวินิจฉัยของจุฬาราชมนตรีที่เกี่ยวกับบัญญัติแห่งศาสนาอิสลามซึ่งออกประกาศไว้นั้นมีสถานะเทียบได้กับคำตัดสินชี้ขาดของผู้ดำรงตำแหน่งกอฎีย์ตามหลักนิติศาสตร์อิสลาม ซึ่งเป็นที่สิ้นสุดและมีผลบังคับใช้ต่อประชาคมมุสลิมในประเทศไทย

จะเห็นได้ว่า ข้อเสนอในเรื่องการแต่งตั้ง (เตาลียะฮฺ) จุฬาราชมนตรีให้มีสถานภาพเป็นกอฎีย์ หรือหากิม ในภาวะจำเป็น (เฎาะรูรียฺ) เป็นการใช้หลักนิติศาสตร์ทางศาสนาอิสลามที่มีช่องทางเปิดเอาไว้สำหรับการ รับรองสถานภาพของจุฬาราชมนตรีและคำวินิจฉัยของจุฬาราชมนตรีให้เป็นที่สิ้นสุดในเชิงศาสนา ซึ่งไม่มีกฏหมายตามความในพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 มาตราใดๆ มารับรองสถานภาพดังกล่าว กระนั้นก็ย่อมถือได้ว่าข้อเสนอดังกล่าวเป็นสิ่งที่สามารถกระทำได้และมีผลบังคับทางศาสนา เนื่องจากไม่ขัดต่อพระราชบัญญัติฯ 2540 โดยสาระสำคัญ

สำหรับกลุ่มเครือข่ายสัตยาบันจุฬาราชมนตรีโดยหลักคิดมูลฐานของกลุ่ม มิได้มีเป้าหมายในการรับรองสถานภาพของจุฬาราชมนตรีเพียงแค่การเป็นกอฎียฺ เฎาะรูรียฺ ตามข้อเสนอดังกล่าวซึ่งเข้าใจว่าได้ดำเนินการเป็นที่เสร็จสิ้นไปแล้วในวันที่มีการประชุมคัดสรรผู้ที่จะดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี เพราะการมีสถานภาพเป็นเพียงกอฎียฺ เฎาะรูรียฺ เป็นการแก้ปัญหาในประเด็นที่เป็นผลของการวินิจฉัยปัญหาศาสนาของจุฬาราชมนตรี เท่านั้น

และตำแหน่งของกอฎียฺ เฎาะรูรียฺ ในบางพื้นที่ของภูมิภาคก็มีผู้ดำรงตำแหน่งนี้อยู่แล้ว ซึ่งมิได้ผูกพันและสืบเนื่องมาจากการแต่งตั้งของจุฬาราชมนตรี หากแต่มาจากการเสนอชื่อผู้มีคุณสมบัติในการดำรงตำแหน่งกอฎียฺ เฎาะรูรียฺ และมีการรับรองสถานภาพ (เตาลียะฮฺ) จากคณะบุคคลในพื้นที่ ซึ่งอนุโลมว่าเป็น อะฮฺลุลหัล วัล-อักดฺ อย่างเช่นกรณีของจังหวัดยะลา เป็นต้น และในบางพื้นที่มีคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด เช่น กรุงเทพมหานครมีการออกระเบียบคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยการบริหารงานของคณะกรรมการอิสลามประจำกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2554 ข้อ (12) “ให้คณะกรรมการแต่งตั้ง มอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งเป็นกอฎี (อนุญาโตตุลาการ) ทำหน้าที่สอบสวน ไกล่เกลี่ย พิจารณาตัดสินให้ภรรยาฟะซัคสามี (การยกเลิกการแต่งงาน) และให้มีอำนาจลงนามในหนังสือที่เกี่ยวกับการฟะซัค” เป็นต้น

ทั้งนี้การออกระเบียบดังกล่าวมิได้ระบุว่า อำนาจในการแต่งตั้งกอฎี (อนุญาโตตุลาการ) เป็นอำนาจหน้าที่หรือเป็นการมอบอำนาจหน้าที่ (เตาลียะฮฺ) จากจุฬาราชมนตรีโดยตรงแก่ประธานกรรมการ หรือคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด หากแต่เป็นการแต่งตั้งมอบหมายให้กรรมการคนหนึ่งเป็นกอฎี (อนุญาโตตุลาการ) จากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด นอกจากนี้ในระเบียบดังกล่าว ข้อ 9 (1) คณะกรรมการเป็นผู้แทนองค์กรศาสนา เรื่องที่เกี่ยวกับหลักการศาสนาให้ใช้บทบัญญัติศาสนาอิสลามเป็นหลัก การพิจารณาและคำวินิจฉัยของคณะผู้ทรงคุณวุฒิให้ถือเป็นที่สุด จะไม่มีการลงมติด้วยการออกเสียงลงคะแนน

ซึ่งระเบียบข้อ 9 (1) นี้เป็นการรับรองความเป็นที่สุดของคำวินิจฉัยที่คณะผู้ทรงคุณวุฒิซึ่งได้รับ การแต่งตั้งมอบหมายจากคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัด ตามระเบียบข้อ (11) ในขณะที่คณะผู้ทรงคุณวุฒิจุฬาราชมนตรีมีหน้าที่เพื่อให้คำปรึกษาเกี่ยวกับ บัญญัติแห่งศาสนาอิสลามตามมาตรา 8 (2) แห่งพระราชบัญญัติการบริหารองค์กรศาสนาอิสลาม พ.ศ. 2540 แต่ไม่มีระเบียบใดๆ ออกไว้เพื่อรับรองคำวินิจฉัยของจุฬาราชมนตรีที่ออกประกาศไว้ตามมาตรา 8 (3) , (4) แห่งพระราชบัญญัติฯ 2540 ว่าเป็นที่สุดแต่อย่างใด

กลุ่มเครือข่ายสัตยาบันจุฬาราชมนตรีจึงมีหลักมูลฐานทางความคิดของกลุ่ม ที่เน้นไปยังกรณีสถานภาพความเป็นผู้นำสูงสุดแห่งองค์กรศาสนาอิสลาม และประชาคมมุสลิมในประเทศไทยเป็นหลักสำคัญ กล่าวคือ กลุ่มเครือข่ายสัตยาบันจุฬาราชมนตรีมิได้มุ่งเน้นในการรับรองสถานภาพของจุฬา ราชมนตรีว่าเป็นเพียงกอฎียฺ ชัรอียฺ เฎาะรูรียฺ เป็นประเด็นสำคัญเพราะอย่างไรเสีย เรื่องการแต่งตั้งมอบหมายกอฎียฺ ชัรอียฺ เฎาะรูรียฺ หรืออนุญาโตตุลาการ เพื่อให้ทำหน้าที่ในการประนีประนอม ไกล่เกลี่ย ตัดสินข้อพิพาทอันเกี่ยวกับประเด็นปัญหาศาสนาก็มีการดำเนินการตามข้อเสนอนั้นอยู่แล้ว ดังในกรณีของจังหวัดยะลา

หรือมีการออกระเบียบว่าด้วยการบริหารงานของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดมารับรองบุคคลที่ทำหน้าที่เป็นกอฎียฺหรืออนุญาโตตุลาการอยู่แล้ว ดังเช่นกรณีของกรุงเทพมหานคร แต่สิ่งที่เป็นข้อเสนอและข้อเรียกร้องของกลุ่มเครือข่ายสัตยาบันจุฬาราชมนตรี คือ สถานภาพความเป็นผู้นำสูงสุดฝ่ายกิจการศาสนาอิสลาม และประชาคมมุสลิมในประเทศไทยของจุฬาราชมนตรีเอง

กลุ่มเครือข่ายสัตยาบันจุฬาราชมนตรีมิได้เรียกร้องให้จุฬาราชมนตรีเป็นกอฎี ยฺ ชัรอียฺ เฎาะรูรียฺ แต่เรียกร้องให้มีการสัตยาบันทั่วไป (บัยอะฮฺ อามมะฮฺ) แก่จุฬาราชมนตรีจากประชาคมมุสลิมโดยรวม เพื่อให้จุฬาราชมนตรีมีสถานภาพเป็นอิมาม อะอฺซ็อม (ผู้นำสูงสุด) ซึ่งมีภาระหน้าที่ในการมอบหมายหรือแต่งตั้งผู้ทำหน้าที่กอฎียฺโดยตรงหรือ ด้วยการมอบอำนาจ (เตาลียะฮฺ อัล-วิลายะฮฺ) ให้ประธานคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดเป็นผู้ดำเนินการในขั้นถัดมา ภายหลังการให้สัตยาบันโดยทั่วไป (บัยอะฮฺ อามมะฮฺ) จากประชาคมมุสลิมทั่วประเทศเสร็จสิ้นลงตามหลักรัฐศาสตร์อิสลามที่นักวิชาการ ได้กำหนด

เหตุที่กลุ่มเครือข่ายสัตยาบันจุฬาราชมนตรีเรียกร้องให้มีการสัตยาบันทั่วไป (บัยอะฮฺ อามมะฮฺ) จากประชาคมมุสลิมโดยรวมแก่จุฬาราชมนตรี ก็เนื่องจากความไม่ชัดเจนในสถานภาพของจุฬาราชมนตรีนั่นเอง กล่าวคือ จุฬาราชมนตรีเป็นผู้นำสูงสุดฝ่ายกิจการศาสนาอิสลามในประเทศไทยในฐานะจุฬาราชมนตรีและในฐานะประธานคณะกรรมการกลางอิสลามแห่งประเทศไทยตามความในพระราช บัญญัติฯ พ.ศ. 2540 ก็จริง แต่ในด้านหลักรัฐศาสตร์อิสลามนั้น จุฬาราชมนตรีเป็นผู้นำสูงสุด (อิมาม อะอฺซ็อม) ของประชาคมมุสลิมในประเทศไทยหรือไม่ หรือเป็นกอฎียฺ ชัรอียฺ เฎาะรูรียฺ หรืออนุญาโตตุลาการ หรือเป็นผู้นำสูงสุดฝ่ายบริหารองค์กรศาสนาอิสลามตามความในพระราชบัญญัติฯ พ.ศ. 2540 เท่านั้น

และการดำรงตำแหน่งของจุฬาราชมนตรีเป็นผลจากการสรรหาของคณะกรรมการอิสลาม ประจำจังหวัดทั่วประเทศ ซึ่งเป็นเพียงกลุ่มคณะบุคคลที่มีจำนวนเล็กน้อยเมื่อเทียบกับอัตราส่วนของ ประชากรมุสลิมในประเทศไทย ซึ่งไม่มีส่วนร่วมโดยตรงในการรับรองสถานภาพความเป็นผู้นำของจุฬาราชมนตรีและ การทำหน้าที่สรรหาของคณะกรรมการอิสลามประจำจังหวัดทั่วประเทศ ถือเป็นการทำหน้าที่แทนประชาคมมุสลิมในการสรรหาผู้นำของประชาคมจริงหรือไม่

ตลอดจนการได้รับโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งให้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรีจากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ทรงเป็นพุทธมามกะนั้นเป็นสิ่งที่ชอบตามหลักการของศาสนาอิสลาม หรือไม่ ทั้งหมดที่กล่าวมาเป็นประเด็นที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ในหมู่ประชาคมมุสลิม ซึ่งเป็นผลมาจากความไม่ชัดเจนในสถานภาพของจุฬาราชมนตรีในแง่ของหลักนิติศาสตร์และรัฐศาสตร์อิสลามนั่นเอง

กลุ่มเครือข่ายสัตยาบันจุฬาราชมนตรีจึงเรียกร้องให้มีการทำสัตยาบันทั่วไป แก่จุฬาราชมนตรีจากประชาคมมุสลิมโดยรวมเพื่อให้เกิดความชัดเจนในสถานภาพความ เป็นผู้นำสูงสุดของจุฬาราชมนตรี และการให้สัตยาบันทั่วไปยังเป็นการตอบโจทย์ที่มีการวิพากษ์วิจารณ์ดังกล่าว ตลอดจนเป็นการเปิดโอกาสให้ประชาคมมุสลิมได้มีการสัตยาบันในต้นคอของตน อันจักเป็นผลทำให้พวกเขาพ้นจากสภาพของการเสียชีวิตเยี่ยงการเสียชีวิตของผู้คนในยุคก่อนอิสลาม (ญาฮิลียะฮฺ) และเป็นเสมือนเกราะป้องกันให้แก่ตัวจุฬาราชมนตรีเองจากการจาบจ้วงล่วงเกิน ของผู้มีอคติบางกลุ่ม

ซึ่งเกราะป้องกันดังกล่าวก็คือผลที่เกิดจากการสัตยาบันทั่วไปนั้นตามที่มีตัวบททางบัญญัติศาสนาระบุเอาไว้ ทั้งนี้หากปล่อยให้สถานการณ์ที่กำลังเป็นอยู่ในขณะนี้ดำเนินอยู่ต่อไปโดยไม่ มีการทำสัตยาบัน (บัยอะฮฺ อามมะฮฺ) แก่จุฬาราชมนตรีเกิดขึ้น ความคาดหวังของประชาคมมุสลิมที่มีต่อจุฬาราชมนตรีในเรื่องของการขับเคลื่อน และนำพาองค์กรมุสลิมและประชาคมสู่ความเข้มแข็ง มีความสง่างามและมีเสถียรภาพที่มั่นคงก็ยากที่จะเกิดขึ้นได้อย่างเป็นรูปธรรม

กลุ่มเครือข่ายสัตยาบันจุฬาราชมนตรีจึงขอเรียกร้องให้ผู้มีหน้าที่รับผิดชอบ และมีศักยภาพในการขับเคลื่อนกิจการของศาสนาอิสลามในประเทศไทยได้ตระหนักถึง ความสำคัญของการสัตยาบันทั่วไปแก่จุฬาราชมนตรี และร่วมกันผลักดันให้มีการสัตยาบันทั่วไปเกิดขึ้น ก่อนที่ปัญหาและความขาดเสถียรภาพของสังคมมุสลิมโดยรวมจะบานปลายมากกว่านี้


แหล่งที่มา http://alisuasaming.org/


#ประวัติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
#ประชาชาติอิสลาม_Islamic_Society_Online
#นานาทัศนคติ_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "ความเป็นมาและพัฒนาการของผู้ดำรงตำแหน่งจุฬาราชมนตรี"

วันพุธที่ 28 มีนาคม พ.ศ. 2561

กฎหมายอิสลามเบื้องต้น : กฎหมายอาญาว่าด้วยเรื่องข้อห้ามเกี่ยวกับการใส่ร้าย

กฎหมายอิสลามเบื้องต้น : กฎหมายอาญาว่าด้วยเรื่องข้อห้ามเกี่ยวกับการใส่ร้าย

(อาลี เสือสมิง)

การใส่ร้าย เรียกในภาษาอาหรับว่า อัล-กอซฺฟ์ (اَلْقَذْفُ) ซึ่งมีความหมายตามหลักภาษาว่า การขว้าง, การโยน เป็นต้น ส่วนความหมายตามคำนิยามในกฎหมายลักษณะอาญา คือ การใส่ร้ายผู้อื่นว่ากระทำผิดประเวณี (ซินา) ในลักษณะของการบริภาษด่าทอและการใช้สำนวนบ่งบอก อาทิเช่น บุคคลหนึ่งได้กล่าวกับอีกบุคคลหนึ่งว่า โอ้ ผู้ทำผิดประเวณี หรือกล่าวว่า เขาได้เห็นบุคคลผู้นั้นทำผิดประเวณี หรือ เขาได้ทำสิ่งอนาจารอย่างนั้นอย่างนี้จากการผิดประเวณีหรือรักร่วมเพศ เป็นต้น



กฎหมายอิสลามเบื้องต้น : ลักษณะอาญาและบทลงโทษในกฎหมายอิสลาม ว่าด้วยเรื่องข้อห้ามเกี่ยวกับการใส่ร้าย


ข้อชี้ขาดของการใส่ร้าย

การใส่ร้ายหรือกล่าวหามุสลิมว่ากระทำผิดประเวณีถือเป็นสิ่งต้องห้าม (ฮะรอม) และเป็นบาปใหญ่ ไม่ว่าผู้กล่าวหานั้นจะพูดจริงในการกล่าวหาหรือโกหกก็ตาม ในกรณีที่โกหกย่อมถือว่าผู้นั้นใส่ร้ายและอธรรมต่อผู้อื่นซึ่งการโกหกถือเป็นสิ่งต้องห้ามที่น่ารังเกียจที่สุด ส่วนในกรณีที่เขาพูดจริง ก็ย่อมถือว่าการกล่าวหานั้นเป็นการเปิดเผยความลับ และละเมิดต่อเกียรติยศและศักดิ์ศรีของผู้อื่น ผู้ใดที่ใส่ร้ายหรือกล่าวหาผู้อื่นว่ากระทำผิดประเวณีศาสนาถือว่าเป็นคนเลว (ฟาซิก) และขาดคุณสมบัติแห่งความมีคุณธรรมและมีโทษสถานหนักที่ศาสนากำหนดเอาไว้

ดังปรากฏหลักฐานจากอัลกุรฺอานว่า


وَالَّذِينَ يَرْمُونَ الْمُحْصَنَاتِ ثُمَّ لَمْ يَأْتُوا بِأَرْبَعَةِ شُهَدَاء فَاجْلِدُوهُمْ

ثَمَانِينَ جَلْدَةً وَلَا تَقْبَلُوا لَهُمْ شَهَادَةً أَبَدًا وَأُوْلَئِكَ هُمُ الْفَاسِقُونَ

إِلاَّ الَّذِينَ تَابُوا مِن بَعْدِ ذَلِكَ وَأَصْلَحُوا فَإِنَّ اللهَ غَفُورٌ رَّحِيمٌ


และบรรดาผู้ซึ่งพวกเขาใส่ร้ายสตรีที่สมรสแล้วทั้งหลาย (ว่าผิดประเวณี) แล้วพวกเขาไม่นำพยานสี่คนมายืนยัน ดังนั้นพวกท่านจงเฆี่ยนพวกเขาแปดสิบครั้ง และพวกท่านอย่ารับการเป็นพยานสำหรับพวกเขาตลอดไป และพวกเขาคือบรรดาผู้ประพฤติชั่ว ยกเว้นบรรดาผู้ที่สำนึกผิดภายหลังการดังกล่าวและปรับปรุงตัว ดังนั้นแน่แท้อัลลอฮฺทรงอภัยยิ่งอีกทั้งทรงเมตตายิ่ง

(ซูเราะฮฺอัน-นูร อายะฮฺที่ 4-5)


บทลงโทษการใส่ร้ายในเรื่องผิดประเวณี

บทลงโทษในคดีใส่ร้ายในเรื่องผิดประเวณีคือการเฆี่ยนด้วยแส้แปดสิบที และไม่รับการเป็นพยานของผู้ใส่ร้าย ยกเว้นเมื่อเขาผู้นั้นสำนึกผิดและกลับตัวแล้วเท่านั้น หลักฐานยืนยันในเรื่องนี้คือ อายะฮฺอัลกุรฺอานที่ 4-5 จาก ซูเราะฮฺอัน-นูร ข้างต้น และฮะดีษที่รายงานว่า ท่านนบี (صلى الله عليه وسلم) ได้สั่งเฆียนกลุ่มชนที่กล่าวหาและใส่ร้ายท่านหญิงอาอิซะฮฺ (ร.ฏ.) จำนวนแปดสิบที (รายงานโดยอัลฮัยซะมีในมัจญ์มะอฺ อัซซะวาอิด 6/280)

เงื่อนไขในการลงโทษผู้ใส่ร้ายในเรื่องผิดประเวณี

ในการลงโทษผู้กระทำผิดในข้อหาการใส่ร้ายนี้จำต้องมีเงื่อนไขครบสมบูรณ์ 10 ประการ ดังนี้

เงื่อนไข 5 ประการในตัวผู้กระทำผิดข้อหาใส่ร้าย คือ

  • ต้องเป็นผู้บรรลุศาสนภาวะแล้ว
  • ต้องมีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์ ไม่เป็นบ้าวิกลจริต
  • ผู้กระทำความผิดต้องมิใช่บุพการีของผู้ที่ถูกใส่ร้ายเช่น บิดา, ปู่, มารดา, ย่า หรือยาย เป็นต้น
  • ต้องกระทำไปโดยสมัครใจมิได้ถูกบังคับ
  • ผู้กระทำผิดต้องรู้ว่าการใส่ร้ายในเรื่องนี้เป็นที่ต้องห้าม (ฮะรอม)

เงื่อนไข 5 ประการในตัวผู้ถูกใส่ร้าย

  • เป็นมุสลิม
  • บรรลุศาสนภาวะ
  • มีสติสัมปชัญญะสมบูรณ์
  • ต้องเป็นผู้บริสุทธิ์ในเรื่องเพศ กล่าวคือ ไม่เคยได้รับการยืนยันว่าได้ผิดประเวณีมาก่อน
  • การใส่ร้ายนั้นไม่ได้เป็นไปด้วยการสมยอมหรือการอนุญาตของผู้ถูกใส่ร้าย

ดังนั้น เมื่อปรากฏว่าเงื่อนไขดังกล่าวไม่ครบถ้วนสมบูรณ์ การลงโทษก็เป็นอันตกไป แต่ผู้ปกครองหรือผู้มีอำนาจสามารถลงโทษผู้กระทำผิดได้ตามดุลยพินิจซึ่งมิใช่เป็นการลงโทษตามที่ศาสนาบัญญัติเอาไว้ เช่น คุมขัง หรือ ตี เป็นต้น

สิ่งที่ทำให้การลงโทษในข้อหาใส่ร้ายตกไป

การลงโทษผู้กระทำผิดในข้อหาใส่ร้ายผู้อื่นว่าผิดประเวณีจะตกไปด้วย 3 ประการดังต่อไปนี้ คือ

  1. มีพยานยืนยันว่ามีการผิดประเวณีเกิดขึ้นจริงหรือผู้ถูกกล่าวหาให้การยอมรับสารภาพ ดังนั้นเมื่อมีพยานอีกสามคนที่มีคุณสมบัติในการเป็นพยานได้เข้าร่วมกับผู้กล่าวหาและทั้งหมดยืนยันว่ามีการผิดประเวณีด้วยคำพูดที่ชัดเจนหรือผู้ถูกกล่าวหาให้การยอมรับสารภาพตามข้อกล่าวหา การลงโทษในข้อหาใส่ร้ายผู้อื่นว่าผิดประเวณีเป็นอันตกไป โดยเปลี่ยนไปสู่ผู้ถูกกล่าวหาซึ่งต้องถูกดำเนินการลงโทษในข้อหาผิดประเวณี แต่ถ้าหากมีพยานยืนยันน้อยกว่า 3 คนพร้อมด้วยผู้กล่าวหา การเป็นพยานนี้ถือว่าไม่ถูกรับรองและบุคคลทั้งหมดถือเป็นผู้กระทำผิดและต้องถูกลงโทษทั้งหมด
  2. ผู้ถูกใส่ร้ายอภัยให้แก่ผู้ใส่ร้ายหรือกล่าวหาต่อหน้าผู้พิพากษา
  3. มีการลิอาน เกิดขึ้นในกรณีที่ผู้กล่าวหาเป็นสามีและผู้ถูกกล่าวหาเป็นภรรยา

เงื่อนไขของผู้เป็นพยาน

พยานแต่ละคนจะต้องเป็นชาย ดังนั้นหากพยานเป็นหญิงสี่คน การเป็นพยานของพวกนางย่อมไม่ถูกยอมรับและจำต้องดำเนินบทลงโทษต่อพวกนางในข้อหาใส่ร้ายผู้อื่นว่าผิดประเวณีและผู้เป็นพยานต้องเป็นเสรีชน มิใช่ทาส และจะต้องเป็นมุสลิม


read more "กฎหมายอิสลามเบื้องต้น : กฎหมายอาญาว่าด้วยเรื่องข้อห้ามเกี่ยวกับการใส่ร้าย"

วันอังคารที่ 27 มีนาคม พ.ศ. 2561

โปรโตคอล พันธสัญญายิวไซออนิสต์ที่ชั่วร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์

โปรโตคอล พันธสัญญายิวไซออนิสต์ที่ชั่วร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์



โปรโตคอล (Protocol) คือ หนึ่งจากวรรณกรรมที่ประมวลไปด้วยแผนการร้ายในการครอบงำและยึดครองโลกที่ถูกเขียนขึ้นโดยบรรดาผู้อาวุโสแห่งไซออน โดยโปรโตคอลได้ประมวลเรื่องราวต่าง ๆ ถึง 24 เรื่องด้วยกัน ซึ่งบรรดาแกนนำชั้นหัวหน้าของยิวได้กล่าวถึงโปรโตคอลว่า เป็นหนึ่งในแผนการร้ายที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์

แผนการร้ายนี้ได้ถูกร่างขึ้นมาตั้งแต่ก่อนที่จะก่อตั้งรัฐอิสราเอลในปาเลสไตน์ โดยมีการจัดประชุมลับกันอย่างต่อเนื่องเรื่อยมาถึง 23 ครั้ง ตั้งแต่ปี ค.ศ.1897 จนถึง ค.ศ.1951 โดยเป้าหมายในการจัดประชุมทั้งหมดนี้ เพื่อศึกษาแผนการที่นำไปสู่การก่อตั้งอาณาจักรไซออนิสต์สากล

ในปี ค.ศ.1897 การประชุมครั้งแรกถูกจัดขึ้นในเมืองบาเซิล ประเทศสวิสเซอร์แลนด์ โดยมี “เทโอดอร์ เฮอร์เซิล” เป็นหัวหน้าแกนนำ เขาได้เรียกบรรดาแกนนำยิวไซออนิสต์ที่มีพลังอำนาจและโหดเหี้ยมที่สุดมากถึง 300 คน จากตัวแทนของสมาพันธ์ยิวทั้ง 50 แห่ง

ในการประชุมลับครั้งนี้ได้มีมติว่าจะต้องทำให้โลกทั้งโลกตกเป็นทาสอยู่ภายใต้มงกุฎกษัตริย์แห่งราชนิกูลเดวิด

แน่นอนว่าในการประชุมลับทุกครั้งได้ถูกปิดให้เป็นความลับสุดยอด ซึ่งหากมีการสอบถามถึงเรื่องราวของโปรโตคอลกับพวกยิว พวกเขาจะตอบปฏิเสธเสียงแข็งว่า “โปรโตคอลเป็นเรื่องไร้สาระ ไม่มีอยู่จริง”

แผนการอันชั่วร้ายของยิวไซออนิสต์นี้ได้ถูกตีแพร่แก่สังคมได้ ซึ่งในขณะประชุมกับบรรดาผู้นำยิวในรังของพวกยิวกลุ่มฟรีมาโซนนิคในฝรั่งเศส มีหญิงชาวฝรั่งเศสผู้หนึ่งได้ลักลอบนำเอาเอกสารการประชุมบางส่วนออกมา และนำไปมอบให้แก่อเล็กซ์ นิโคลัส เนเวช ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจในหมู่ขุนนางรัสเซียตะวันออกในราชสมัยซาร์ จนทำให้เขาได้รู้ถึงแผนการและเจตนาอันชั่วร้ายระดับโลก โดยเฉพาะแผนการร้ายที่มีต่อรัสเซีย

อเล็กซ์ นิโคลัส เห็นว่า ควรที่จะนำเอาเอกสารเหล่านี้ไปมอบไว้ให้แก่ผู้ที่ไว้ใจได้ พร้อมทั้งสามารถทำประโยชน์จากเอกสารด้วยการตีพิมพ์ออกมา เขาจึงได้นำเอกสารไปมอบให้แก่นักวิชาการชาวรัสเซียที่มีชื่อว่า “เซอร์กี ไนเลส” (Sergei Nilus) โดยเขาได้ศึกษาอย่างละเอียดถี่ถ้วนโดยพิจารณาเปรียบเทียบกับเหตุการณ์ทางการเมืองที่ดำเนินอยู่ในขณะนั้น เขาจึงได้รู้ถึงแผนการอย่างสมบูรณ์ และสามารถรู้ล่วงหน้าถึงเหตุการณ์ร้ายๆ ที่จะเกิดขึ้นหลังจากนี้เพียงไม่กี่ปีตามที่มีระบุไว้ในเอกสารของพวกยิวไซออนิสต์

ในปี ค.ศ.1905 เซอร์กี ไนเลส ได้ทำการตีพิมพ์เพื่อเผยแผ่เรื่องราวต่างๆ ที่เป็นความลับพวกยิวไวออนิสต์แก่ประชาคมโลกให้ได้รับรู้ โดยผมจะขอนำเสนอ โปรโตคอลทั้ง 24 บท ดังต่อไปนี้

โปรโตคอลบทที่ 1 : การปฏิวัติ การทำสงคราม และการสร้างความวุ่นวาย
  • วิธีที่ดีที่สุดของการครอบงำโลก จะต้องนำมาซึ่งวิธีการการใช้ความรุนแรงและการก่อการร้าย
  • จริยธรรมกับการเมืองจะต้องถูกแยกออกจากกัน ด้วยเหตุนี้แหละ จึงจำเป็นต้องกลับไปสู่การใช้เล่ห์เหลี่ยมเพทุบาย
  • ความไม่สงบภายใน ความสับสนวุ่นวาย การแพร่กระจายของอาชญากรรม ความโง่เขล่า ความยากจน สงครามกลางเมือง และสงครามกลุ่มชน ทั้งหมดนี้ล้วนเป็นสื่อที่ช่วยให้รัฐล้มสลาย และเป็นสิ่งที่ทำให้ขบวนการยึดครองโลกเป็นเรื่องง่ายดาย
  • เผยแพร่ความคิดเสรีนิยมที่จะล้มล้างกฎระเบียบและกฎหมายภายในของรัฐ
  • ในแง่มุมของความสับสนวุ่นวายและความเสียหายดังกล่าว จะปรากฏขึ้นเหนือความแข็งแรงและการเชื่อมโยงกันของการปกครองของชาวยิวและความถูกต้องของการก่อสร้างรัฐยิว

โปรโตคอลบทที่ 2 : การครอบงำการศึกษา การนำเสนอข่าว และการให้ความคิดเห็น
  • ผลของการเกิดสงครามจำนวนมาก จะทำให้เศรษฐกิจของทั้งสองฝ่าย (สองประเทศ) หยุดชะงัก และทั้งสองฝ่ายก็จะหันหน้ามาของความสนับสนุนทางด้านวัตถุดิบและขอความช่วยเหลือทางการเงินจากชาวยิว ด้วยเหตุนี้เอง ยิวจะสามารถควบคุมเศรษฐกิจในประเทศนั้นๆ ได้อย่างสมบูรณ์
  • หลังจากสภาพการณ์ดังกล่าว แต่ละประเทศจะต้องกลับไปสร้างรัฐบาลใหม่ขึ้นมา ในขณะนั้นเอง ชาวยิวจะสามารถเข้าแทรกแซงด้วยวิธีการใดวิธีการหนึ่ง เพื่อเข้าไปมีส่วนร่วมในการแต่งตั้งผู้นำประชาชนและผู้ที่ไม่มีประสบการณ์ใดๆ เกี่ยวกับการบริหารและการปกครองประเทศขึ้นมา เพื่อให้พวกเขาเป็นดั่งตัวหมากรุกที่อยู่ภายใต้อำนาจของบรรดาปราชญ์ชาวยิว
  • การนำเสนอข่าว (สื่อ) ถือเป็นอาวุธที่ทรงพลังที่สุด ซึ่งชาวยิวจะใช้เป็นเข็มทิศและควบคุมความคิดของผู้คนทั่วไปที่ไม่รู้หนังสือและทุกชนชั้นที่อยู่ในแวดวงการศึกษาโดยเท่าเทียมกัน โดยวิธีทางอ้อม ดังนั้นด้วยวิธีการผ่านการนำเสนอข่าวและสื่อมวลชนนี้เอง จะทำให้ชาวยิวมีอำนาจและคงอยู่จัดการอยู่เบื้องหลังม่าน

โปรโตคอลบทที่ 3 : โค่นล้มการปกครองและทำลายระบอบขุนนาง
  • การแบ่งประเทศไปสู่การมีพรรคต่างๆ และจัดวางให้แต่ละพรรคแต่ละขั่วอำนาจมีนโยบายที่ตรงกันข้าม (ขัดแย้งกัน) พร้อมทั้งสนับสนุนให้แต่ละฝ่ายมีความต้องการยังความเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อฝ่ายใด หลังจากนั้นก็มอบอาวุธให้แก่พวกเขา (ได้ประหัตประหารซึ่งกันและกัน) และด้วยวิธีการนี้เองการปกครองจะกลายเป็นความความละโมบและเป็นเป้าหมายของทุกๆ พรรค และดังกล่าวนี้ จะเป็นการจุดเพลิงสงครามระหว่างพรรค และนำไปสู่การพังทลายของเสาหลักของประเทศและนำไปสู่การหมดสิ้นความศักดิ์สิทธิ์ของระบอบการปกครอง
  • การทำลายระบอบขุนนางด้วยมือของประชาชน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยน้ำมือของชนชั้นยากจน เพื่อให้ประชาชนตกเป็นเหยื่อภายใต้การปกครองของอันธพาล พวกฉวยโอกาส และพวกเศรษฐีหน้าเงิน ต่อจากนั้นยิวจะก้าวเข้ามามีบทบาทเหนือพวกเขา และจะเข้ามาแสดงความเห็นอกเห็นใจในการที่จะเข้ามาช่วยเหลือประชาชนที่ยากจนให้พ้นจากความเดือดร้อน โดยชาวยิวจะใช้สิ่งที่ถูกเรียกว่า “สิทธิมนุษยชน” และนำมาซึ่งสิทธิที่ประชาชนไม่ได้รับ และความต้องการพื้นฐานที่พวกเขาไม่มีมาให้พวกเขา
  • ชาวยิวจะต้องเรียกร้องให้ประชาชนที่ยากจนและผู้ที่ไม่มีความรู้ เพื่อให้เข้าร่วมกลุ่มภายใต้ร่มธงของอนาธิปไตยสังคมนิยมและคอมมิวนิสต์
  • คำว่า “เสรีภาพ” จะต้องถูกนำมาใช้เพื่อสร้างความขัดแย้งระหว่างอำนาจทางการเมือง ด้วยเหตุนี้เอง ยิวจะทำหน้าที่ลบคำๆ นี้ออกจากพจนานุกรมของความเป็นมนุษย์ และเพื่อผสมผสานความหมายของคำว่า “เสรีภาพ” เข้าไปในความนึกคิดของประชาชน พร้อมทั้งให้คำนิยามคำว่า “เสรีภาพ” ว่า เป็นสัญลักษณ์ของความโหดร้าย ความป่าเถื่อน และความสับสนวุ่นวาย

โปรโตคอลบทที่ 4 : การควบคุมการค้าและการทำลายศาสนา
  • สำหรับคำว่า “เสรีภาพ” มีความหมายมากมาย และมีหลากหลายด้าน แน่นอนว่า มันคืออาวุธของแต่ละด้าน แต่การนำเอามันมาใช้จะมีความแตกต่างกัน สามารถที่จะทำให้ผู้คนมีความสุขและเป็นพื้นฐานของความก้าวหน้าได้ เมื่อมันอยู่ในกรอบของความเกรงกลัวพระเจ้า ความอดกลั่น และความเป็นมนุษย์ โดยจะไม่มีการโต้แย้งใดๆ ในการให้เสรีภาพทั้งชายและหญิง ซึ่งอัลลอฮ์ได้กล่าวถึงผู้หญิงในอัลกุรอานและให้สิทธิแก่พวกนาง แต่ไม่ได้บอกว่า ผู้หญิงนั้นมีความเท่าเทียมกับผู้ชายหรือไม่ ดังนั้นทั้งชายและหญิงจึงมีหน้าที่ที่แตกต่างกัน
  • จำเป็นต้องให้ผู้คนที่วางผลประโยชน์ของตนเองไว้ใต้ร่มธงของอิสลามปราศจากจากความคิดในเรื่องของเสรีภาพ โดยให้พวกเขามองไม่เห็นถึงผลประโยชน์และการงานของพวกเขาเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าวนี้ และจำเป็นจะต้องให้ทั้งคริสต์และมุสลิมวางการศรัทธาไว้ในหัวใจ การปฏิบัติ และความก้าวหน้าไว้เพียงแค่ในสติปัญญาของพวกเขาเท่านั้น เพื่อให้ประชาชาติอื่นๆ มีความรุดหน้ายิ่งกว่าพวกเขา
  • ความคิดแบบไซออนิสต์สามารถควบคุมและครอบงำการค้าได้ตั้งแต่ในยุคอดีตทั้งในเรื่องของการออกใบสัญญาธุรกรรม การให้กู้ยืมเงินโดยมีดอกเบี้ย และการทำงานเพื่อให้ได้มาซึ่งทรัพย์สมบัติอย่างรวดเร็ว โดยไม่ต้องออกแรงทำงานหรือแตะต้องงานที่หนักและยากลำบาก 
  • ตั้งแต่อดีตกาล ชาวยิวทำการต่อต้านศาสนาอันศักดิ์สิทธิ์ที่มาจากพระเจ้า และเข่นฆ่าบรรดาผู้เผยแผ่พระวจนะแห่งพระเจ้า โดยที่ศาสนาเหล่านั้นจะถูกเผยแผ่ไปพร้อมๆ กับการเปรียบเทียบกับแนวความคิดต่างๆ (นิกาย) และกระจายความความเข้าใจในศาสนาอย่างผิดๆ ออกไปอยู่เรื่อยๆ อย่างต่อเนื่อง เพื่อพวกเขาจะได้วางสิ่งต่างๆ ซึ่งในความเป็นจริงแล้ว สิ่งเหล่านั้นไม่ได้อยู่ในหลักคำสอนทางศาสนา และเมื่อใดที่ความเข้าใจในเรื่องของศาสนาอย่างผิดๆ ก็จะแพร่กระจายออกไป เมื่อนั้นแหละ มันจะเป็นเรื่องยากลำบากที่จะตรวจสอบถึงสิ่งที่ถูกซ่อนเร้นจากการกุเรื่องที่เกี่ยวกับศาสนาให้กับพวกเขา หลังจากนั้นพวกเขาจะแตกเป็นกลุ่มความคิด (นิกาย) ที่แตกต่างกัน จนกระทั่งเพลิงแห่งความขัดแย้งวุ่นวายได้ถูกจุดขึ้นระหว่างบรรดาผู้ที่นับถือศาสนาเดียวกันในด้านหนึ่ง และเกิดความขัดแย้งระหว่างผู้ที่อยู่ในถิ่นฐานเดียวกัน (ประเทศเดียวกัน) กับผู้ที่นับถือศาสนาต่างกันในอีกด้านๆ หนึ่ง

โปรโตกอลที่ 5 : การทำให้การเมืองห่างไกลจากเนื้อหาสาระที่ควรจะเป็น

  • ในขณะที่การคอรัปชั่นและการทุจริตได้ครอบคลุมทุกสังคม โดยที่คนรวยกลายเป็นผู้คอรัปชั่น และความขัดแย้งกลายเป็นพื้นฐาน จริยธรรมอันสูงส่งต้องการกฎเกณฑ์ที่มาควบคุม และการสร้างกฎเกณฑ์เหล่านี้จะกลับไปสร้างจริยธรรมขึ้นมาอีกครั้ง และอุดมการณ์ต่างๆ เสื่อมลงและไม่น่าเชื่อถือ และในขณะที่ความรู้สึกแห่งความเป็นชาติพันธุ์และความเป็นศาสนาถูกลบล้างออกไปจากหัวใจ บทบาทและยุคสมัยของเรา (ยิว) จะเข้ามาก่อต้องรัฐบาลให้แก่สังคมนั้น ยิ่งไปกว่านั้น ประเทศมหาอำนาจจะเข้ามาควบคุมคนที่ไม่มีความรู้และจะมอบสิทธิ์ให้แก่เราในการริดรอนสิทธิเสรีภาพด้วยกฎหมายใหม่ๆ ด้วยเหตุนี้แหละ รัฐของเรา (รัฐยิว) จะแข็งแกร่งขึ้น ด้วยวิธีการลบทุกๆ บุคคลที่ไม่ใช่ยิว
  • ในอดีต มนุษย์จะมองกษัตริย์ดังพระเจ้า ซึ่งการตัดสินของกษัตริย์คือการเชื่อฟังสวามิภักดิ์โดยไม่ต้องคิดไตร่ตรองใดๆ แม้ว่าการตัดสินนั้นจะเป็นความยากลำบากก็ตาม ทว่าตั้งแต่ที่เราได้แทรกแซงความคิดของคนทั่วไปและวางความคิดด้านสิทธิความเป็นมนุษย์ในความความคิดของพวกเขา และตั้งแต่ประชาชนทุกคนมีสิทธิเสรีภาพ พวกเขากลับมองว่ากษัตริย์เสมือนบุคคลธรรมดาเช่นเดียวกับพวกเขา และในขณะนั้นเองศักดิ์ศรีและเกียรติยศของกษัตริย์ก็หมดไปในสายตาของสามัญชน ด้วยเหตุนี้ พลังอำนาจของกษัตริย์ก็จะถูกย้ายไปสู่ถนนหนทางในกลุ่มสามัญชน และเมื่อนั้นเรา (ยิว) จะลักเอาอำนาจนั้นมาจากพวกเขา
  • ชาวยิวจะปลูกความคลั่งทางศาสนาและทางเชื้อชาติเผ่าพันธุ์ให้กับแต่ละกลุ่มชน ดังกล่าวนี้ เพื่อที่รัฐบาลใดๆ เพียงฝ่ายเดียวจะไม่สามารถให้การช่วยเหลือประเทศอื่นๆ และรัฐบาลอื่นๆ ในการต่อต้านชาวยิวได้
  • ประเทศต่างๆ จะไม่สามารถทำข้อตกลงสนธิสัญญาใดๆ ได้ โดยที่ยิวไม่จำเป็นต้องเข้าแทรกแซงอย่างลับๆ
  • การแสวงหาการผูกขาดอุตสาหกรรมและการพาณิชย์ เพื่อทำให้เงินต้นทุนกลายเป็นเขตการค้าเสรี เพื่อให้อำนาจทางการเมืองเป็นส่วนหนึ่งจากการค้า
  • ต้องหว่านเมล็ดแห่งความขัดแย้งระหว่างกลุ่มอำนาจทางการเมืองและสลายความเป็นพันธมิตรทั้งหมด ที่อาจเป็นอุปสรรคต่อเป้าหมายของยิว


โปรโตคอลบทที่ 6 : ครอบงำอุตสาหกรรมและเกษตรกรรม

  • การจัดเตรียมและเตรียมพร้อมในการเข้าไปผูกขาดขนาดใหญ่เพื่อยึดครองทรัพยากรต่างๆ เพื่อให้ทรัพยากรเหล่านั้นจะได้ลดน้อยลงไป และเพื่อให้ความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อรัฐบาลลดน้อยลงมาเช่นกัน
  • ขจัดระบอบขุนนางให้ออกไปจากแผ่นดินของพวกเขา ด้วยการจ่ายค่าจ้างและภาษี แล้วค่อยๆ ลดค่าจ้างลงเรื่อยๆ ต่อไปอีกไม่นาน พวกเขาจะพังทลายลง โดยเฉพาะกลุ่มคนที่รู้ไม่ทันจากกลุ่มขุนนาง เพราะพวกเขาขาดความเชื่อมั่นด้วยค่าตอบแทนที่น้อยนิด
  • การกำหนดให้การปกครองมีความแข็งแกร่งต้องอาศัยอุตสาหกรรม การพาณิชย์ และการเพิ่มราคาที่ดิน และต่อจากนี้การเกษตรก็จะล้มสลายไป ด้วยการนำเอาที่ดินเหล่านั้นมาจำนอง และนับจากนี้ ทรัพยกรโลกก็จะเปลี่ยนมาอยู่ในมือของยิวอย่างสมบูรณ์
  • และเพื่อทำลายอุตสาหกรรมนั้น ยิวจะต้องมีส่วนร่วมในการเพิ่มค่าจ้างให้แก่คนงาน โดยอ้างว่าเป็นการช่วยเหลือคนชนชั้นรากหญ้า และช่วยเหลือคนงานในการเพิ่มราคาค่าจ้างในสภาพที่คนงานเหล่านั้นก็จะทำงานไปพร้อมกับการสร้างความปั่นป่วนวุ่นวาย และให้คนงานเหล่านั้นเสพติดสุรา และหลังจากนั้นเจ้าของโรงงานต่างๆ ก็จะสับสนทำอะไรไม่ถูก


โปรโตคอลบทที่ 7 : ยั่วยุให้เกิดสงครามโลก

  • เสริมกำลังทหารและจัดเตรียมกำลังตำรวจเฉพาะ เพื่อทำให้แผนการณ์ก่อนหน้านี้สำเร็จลุล่วง และจำเป็นต้องมีชนชั้นที่เรียกว่า “คนยากจน” ไว้ให้เป็นทหารและตำรวจ เพื่อให้บรรลุเป้าหมาย
  • ไม่ว่าประเทศใดก็ตามที่ต่อต้านและคัดค้านยิว ชาวยิวจะต้องผลักดัน (ยุยง) ให้ประเทศใกล้เคียงกับประเทศดังกล่าวประกาศทำสงครามกัน ซึ่งแน่นอนว่าประเทศใกล้เคียงดังกล่าวจะต้องปฏิเสธความคิดที่จะทำสงคราม โดยต่อไปยิวก็จะเข้าไปปลุกปั่นให้พวกเขาประกาศทำสงครามกัน
  • ต้องทำให้รัฐบาลในยุโรปบางประเทศเป็นทาสรับใช้ปราชญ์ชาวยิว (แกนนำยิว) และต้องสร้างอาชญากรรมที่รุนแรงขึ้นมาและก่อการร้ายต่อพวกเขา เพื่อพวกเขาจะได้ไม่สามารถต่อต้านยิวได้ และเมื่อพวกเขายังคิดที่จะต่อต้านยิว ฉนวนระเบิดที่เป็นอเมริกา จีน หรือญี่ปุ่นก็จะมาถึงพวกเขา


โปรโตคอลที่ 8 : ทำให้กฎหมายข้อบังคับต่างๆ ออกห่างจากเนื้อหาสาระ

  • การร่างกฎหมายต้องให้ใช้สำนวนและคำศัพท์ที่สลับซับซ้อน เพื่อให้ประชาชนและคนทั่วไปคิดว่า กฎหมายดังกล่าวคือรูปแบบของจริยธรรมอันสูงส่ง และเป็นสิ่งที่สามารถก่อให้เกิดความยุติธรรมได้
  • ในขณะเดียวกัน การที่ยิวเข้าไปรับตำแหน่งต่างๆ ในรัฐบาลของประเทศในยุโรป จะถือว่าไม่ปลอดภัย (ซึ่งในความเป็นจริงนั้น เรื่องนี้ไม่ได้เกิดขึ้น เพราะทุกวันนี้ ยิวยังคงทำหน้าที่ตำแหน่งต่างๆ ในรัฐบาลในประเทศยุโรป) แน่นอนว่าต่อไป ยิวจะต้องแต่งตั้งประชาชนในประเทศนั้นๆ ที่มีจริยธรรมอันชั่วร้ายขึ้นมาให้อยู่ในตำแหน่งของรัฐบาล เพื่อพวกเขาจะได้อยู่ภายใต้อำนาจของปราชญ์ชาวยิว และเมื่อใดที่พวกเขาไม่เชื่อฟังคำสั่งของยิว จะไม่มีหนทางใดสำหรับพวกเขา เว้นแต่พวกเขาจะต้องถูกพิพากษาและถูกจำคุก ด้วยเหตุทั้งปวงนี้ พวกเขาจะต้องรักษาผลประโยชน์ของชาวยิวไว้เป็นหลักสำคัญ


โปรโตคอลบทที่ 9 : หว่านเมล็ดแห่งการเป็นพนักงานและทำลายจริยธรรม

  • เปลี่ยนแปลงจริยธรรมของผู้คนในทุกๆ ประชาชาติ แม้ว่าพวกเขาจะยึดติดกับจริยธรรมมากเพียงใดก็ตาม แม้ว่าจะต้องใช้เวลาหลายสิบปี จนกว่าประชาชาติเหล่านี้จะสวามิภักดิ์ให้แก่ยิว
  • ต้องให้ประชาชาติต่างๆ มีถ้อยคำที่นิยมกัน ซึ่งนั้นก็คือ “เสรีภาพ ความเสมอภาค และภราดรภาพ” เพราะคำเหล่านี้คือความรู้สึกนึกคิดที่จะมาทำลายพลังของผู้นำของทุกๆ ประชาชาติ
  • ควบคุมให้ทุกพรรค ทุกกลุ่มที่ต้องการอำนาจและการครอบครองให้มารับใช้ยิว โดยแต่ละคนจะต้องพยายามที่จะหยิบฉวยอำนาจที่เหลืออยู่มาเท่าที่สามารถจะทำได้ โดยไม่ต้องสนใจกฎหมายที่มีอยู่ ด้วยเหตุนี้เอง รัฐบาลต่างๆ เหล่านั้นก็จะล้มลง โดยการเสียสละตำแหน่งเพื่อความสงบสุขของประเทศ แต่ยิวจะไม่ช่วยให้พวกเขาสงบสุข นอกเสียจากพวกเขาจะต้องสวามิภักดิ์และเชื่อฟังรัฐบาลยิวเสียก่อน


โปรโตคอลที่ 10 : การร่างรัฐธรรมนูญที่มีจุดบกพร่อง

  • ขัดขว้างไม่ให้สภาประชาชนมีสิทธิ์ในการตั้งคำถามเกี่ยวกับแผนการที่รัฐบาลได้ดำเนินอยู่ โดยอ้างว่าเป็นเรื่องลับของประเทศ
  • ก่อสงครามและความปั่นป่วนวุ่นวายอย่างต่อเนื่องระหว่างรัฐบาลกับประชาชน สร้างความเป็นศัตรู ความรังเกลียด และความทุกข์ให้เกิดขึ้นมากๆ จนกระทั่งนำไปสู่ความหิวโหย ความยากจน การจารจล การแพร่กระจายโรคต่างๆ ถึงขั้นที่ผู้คนทั่วไปหันมาขอความปกป้องด้วยการให้ยิวเข้ามามีอำนาจปกครอง


โปรโตคอลที่ 11 : ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจะต้องควบคุมอำนาจทั้งหมด

  • ประธานาธิบดีแห่งสาธารณรัฐจะต้องมีสิทธิ์ในการแต่งตั้งรัฐมนตรีตัวแทนของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา และเขาจะกลายเป็นผู้มีสิทธิ์เรียกร้องของรัฐสภาและเป็นหัวหน้าในการบริหารจัดการอำนาจเบ็ดเสร็จ โดยเขาจะมีสิทธิ์ในการยกเลิก วิจารณ์ และเสนอให้มีกฎหมายชั่วคราวใหม่ๆ


โปรโตคอลที่ 12 : ครองงำสื่อและการนำเสนอข่าว

  • ข่าวจะต้องไม่ไปถึงสังคมหนึ่งสังคมใด นอกเสียจากจะต้องผ่านการตรวจสอบจากยิวเป็นอันดับแรก ดังนั้นสำนักข่าวไม่กี่แห่งทั่วโลกจะรู้ทันและตีแผ่ข่าวเหล่านั้นสู่สังคมได้ก็ต่อเมื่อหลังจากที่ได้รับตรวจสอบจากยิวเสียก่อน โดยให้ประชาชนเห็นเรื่องราวต่างๆ ของโลกผ่านหน้ากากและมุมมองที่ยิวได้จัดวางให้แก่สายตาของพวกเขา
  • ผู้ที่ต้องการจะเป็นผู้สื่อข่าวหรือเป็นนักเขียนข่าวนั้น จะไม่ได้รับใบอนุญาต เว้นเสียแต่จะต้องได้รับใบประกาศนียบัตรจากยิวเสียก่อน โดยยิวจะสามารถยึดคืนใบประกาศนียบัตรได้ เมื่อใดที่เขาได้ทำผิดกฎที่ยิวได้วางไว้
  • จะต้องมีการเรียกเก็บภาษีการพิมพ์หนังสือที่มีเนื้อหายาวๆ เพื่อต่อไปการบริโภคหนังสือของประชาชนจะลดน้อยลง เพราะหนังสือมีเนื้อหาที่ยาวและมีราคาแพง ในขณะที่หนังสือของเรา (หนังสือรูปแบบต่างๆ ที่เป็นของยิว) ที่มีราคาถูกจะถูกตีแพร่ออกไป เพื่อที่เรา (ยิว) จะได้คุมประชาชนทั่วไปให้เดินไปตามเส้นทางที่ผู้นำยิวได้วางไว้


โปรโตคอลที่ 13 : ตัดขาดการรับรู้ของประชาชน (ปิดหูปิดตาประชาชน)

  • พยายามล้อใจประชาชนด้วยกีฬา เกมส์ สวนสนุก ภาพยนตร์ เพลง การเต้น การแข่งขัน และเรื่องทางโลกที่ไร้สาระ


โปรโตคอลที่ 14 : ทำให้ห่างไกลจากศาสนา

  • พวกเขา (ยิว) จะทำหน้าที่แพร่กระจายทุกชนิดของความสนุกสนาน ซึ่งจะเรียกมันว่าเป็นความสนุกสนานที่ซ้อนเร้น เพื่อให้พวกเขา (ยิว) ทำให้ผู้คนออกห่างจากศาสนา


โปรโตคอลที่ 15 : จัดตั้งหน่วยงานลับและก่อรัฐประหาร

  • จัดตั้งหน่วยงานลับที่มาจากยิว ภายใต้ชื่อหรือในนามของศาสนา เพื่อกระจายการก่อวินาศกรรม การก่อการร้าย การสร้างความจลาจลวุ่นวาย และใช้มันเพื่อต่อต้านรุกรานประเทศต่างๆ และเพื่อสามารถเข้าไปแต่งตั้งบรรดาผู้นำประเทศที่อ่อนแอขึ้นมาปกครองประเทศ และใช้มันในการกระจายความยากจนเพื่อแผ่ความขัดแย้งไปในวงกว้างระหว่างผู้นำประเทศกับประชาชน


โปรโตคอลที่ 16 : บรรจุข้อมูลการศึกษาที่ผิดๆ และแพร่กระจายความโง่เขล่า

  • เพราะการศึกษาจะทำให้สติปัญญาของผู้คนสว่างไสว โดยจะช่วยให้พวกเขาเข้าใจถึงสิ่งที่เกิดขึ้นโดยรอบ ดังนั้นด้วยการกระจายความโง่จะทำให้สังคมตกอยู่ภายใต้การควบคุมของสติปัญญาที่เป็นแบบยิว


โปรโตคอลที่ 17 : ขจัดการปกครองด้วยศาสนาออกไป

โปรโตคอลที่ 18 : มีมาตรการในการผลักดันแบบลับๆ และแบบเปิดเผย เพื่อนำไปสู่การควบคุมอำนาจการปกครอง

โปรโตคอลที่ 19 : ก่อให้เกิดการชุมนุมทางการเมืองและประกาศข้อหาก่ออาชญากรรมทางการเมือง

โปรโตคอลที่ 20 : ทำให้เกิดสภาวะเศรษฐกิจถดถอยและให้ประเทศต่างๆ จมอยู่กับหนี้สิน

  • เพราะนี้จะทำให้ยิวสามารถเข้าควบคุมเศรษฐกิจของประเทศต่างๆ ได้อย่างเบ็ดเสร็จ


โปรโตคอลที่ 21 : แปลงหนี้สินดังกล่าวไปสู่สิ่งที่เรียกว่า “หนี้ส่วนรวม” และการล้มละลาย

โปรโตคอลที่ 22 : ผลของศตวรรษที่ผ่านมาและอนาคตที่ดีจะต้องสำหรับชาวยิวเท่านั้น

โปรโตคอลที่ 23 : ทำลายสังคมต่างๆ ที่มีมาก่อนหน้านี้ และสร้างมันขึ้นมาด้วยรูปแบบใหม่ ตามรูปแบบของประชาชาติที่พระเจ้าได้เลือก (ยิว)

โปรโตคอลที่ 24 : แต่งตั้งราชนิกูลของกษัตริย์เดวิด


read more "โปรโตคอล พันธสัญญายิวไซออนิสต์ที่ชั่วร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์"

วันจันทร์ที่ 26 มีนาคม พ.ศ. 2561

จากแกนนำม็อบทำลายมัสยิดบาบรีในตำนาน สู่ชายผู้มุ่งมั่นบูรณะ 100 มัสยิด

จากแกนนำม็อบทำลายมัสยิดบาบรีในตำนาน สู่ชายผู้มุ่งมั่นบูรณะ 100 มัสยิด



คงไม่มีใครคาดคิดว่า ผู้ชายคนหนึ่งที่จงเกลียดจงชังอิสลามถึงขั้นเป็นแกนนำฝูงชนนับหมื่นแสนร่วมเดินขบวนประท้วงและดูหมิ่นปีนขึ้นไปเหยียบยืนบนโดมเพื่อทุบทำลายมัสยิดในตำนาน จะกลับกลายเป็นคนที่ช่วยฟื้นฟูบูรณะซ่อมแซมอีกหลายสิบมัสยิดทั่วอินเดียและเรียกร้องเชิญชวนผู้คนสู่หนทางแห่งอิสลามเสียเอง


เรื่องราวความผกผันของชีวิตหนุ่มนักเคลื่อนไหวเลือดร้อนชาวฮินดูที่ชื่อ Balbir Singh หนึ่งในแกนนำม็อบฮินดูขวาจัดที่เข้าไปบุกทำลายมัสยิดบาบรีของอินเดียเมื่อปี 1992 จนพังพินาศยับเยิน อาจทำให้หลายคนได้รำลึกใคร่ครวญถึงพลังของคำว่า “ฮิดายะห์” หรือทางนำจากผู้เป็นเจ้า ที่สามารถเปลี่ยนหัวใจของคนที่เกลียดชังอิสลามเป็นที่สุด ให้กลับกลายมาเป็นผู้ปกป้องศาสนาที่พร้อมอุทิศชีวิตเพื่ออิสลาม ดังเช่นเรื่องราวที่เคยเกิดขึ้นกับวีรบุรุษแห่งอิสลามผู้ห้าวหาญอย่างท่านอุมัรฺ อิบนุ ค็อฏฏ็อบเมื่อครั้งก่อนกาล

รำลึก 6 ธันวา วันเลือดท่วมแดนภารตะ


ย้อนกลับไปเมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 1992 ซึ่งเป็นหนึ่งในจารึกประวัติศาสตร์สำคัญของรัฐอุตตรประเทศในอินเดีย เป็นวันที่ชาวฮินดูนับแสนร่วมเดินประท้วงและเข้าไปบุกทำลายมัสยิดบาบรีในเมืองอโยธยาทางตอนเหนือของประเทศ ที่ก่อตั้งขึ้นมาตั้งแต่ศตวรรษที่ 16 ในยุคสมัยราชวงศ์โมกุล

ชาวฮินดูเชื่อว่ามัสยิดแห่งนี้สร้างทับวัดฮินดูในอดีตที่ถูกทุบทำลายลง และเชื่อว่าบริเวณใต้โดมกลางของมัสยิดคือสถานที่ประสูติของพระรามเทพแห่งสงครามองค์สำคัญของศาสนาฮินดู มวลชนนับแสนจึงเข้าไปบุกทำลายมัสยิดหมายจะยึดครองพื้นที่คืน โศกนาถกรรมในครั้งนั้นสร้างความสูญเสียให้มัสยิดและบ้านเรือนมุสลิมในบริเวณใกล้เคียงอย่างย่อยยับ มีผู้เสียชีวิตมากกว่า 2,000 คน และถือเป็นชนวนเริ่มต้นของการทะเลาะวิวาทและความรุนแรงทางศาสนาระหว่างชาวฮินดูและมุสลิมในอินเดียที่ยืดเยื้อยาวนานหลายสิบปี

เหตุการณ์ประท้วงในวันนั้นมี Balbir Singh เป็นหนึ่งในแกนนำของกลุ่มฮินดูขวาจัดชื่อ Shiv Sena Balbir เขาเล่าว่าได้เป็นหนึ่งในบรรดาคนแรกๆ ที่ปีนขึ้นไปยืนตระหง่านอยู่บนโดมกลางของมัสยิดเยี่ยงฮีโร่อย่างภาคภูมิใจในศักดิ์ศรี ความฮึกเหิมจากการถูกปลุกระดมและความมุ่งมั่นในอุดมการณ์ที่จดจ่อคิดแต่จะทำลายล้างอิสลามให้สิ้นซาก ทำให้เขาและหนุ่มบ้าพลังอีกนับร้อยพันพร้อมใจกันทุบตีและทำลายมัสยิดบาบรีด้วยพลั่ว เสียม และขวาน จนพังพินาศไม่เหลือชิ้นดี

วันนั้นผมไม่ต่างอะไรจากสัตว์เลยนะ มีอยู่ช่วงหนึ่งที่ผมรู้สึกหวาดกลัวตอนเห็นเฮลิคอปเตอร์กำลังบินตรงมาที่พวกเรา แต่แล้วพอได้ยินเสียงตะโกนร้องจากฝูงชนข้างล่าง ผมก็รู้สึกฮึกเหิมอีกครั้ง และผมก็ใช้พลั่วในมือทุบทำลายโดมมัสยิดนั้นจนหนำใจ


รางวัลของวีรบุรุษคือหัวใจที่หวาดระแวง


การกลับมายังบ้านเกิดของ Balbir หลังจากเหตุการณ์ในวันนั้นทำให้เขาได้รับการต้อนรับเป็นอย่างดีและเป็นที่ชื่นชมของประชาชนในหมู่บ้านเยี่ยงวีรบุรุษ แต่กระนั้นครอบครัวของเขากลับไม่ได้ปลาบปลื้มหรือแสดงความยินดีใดๆ ต่อวีรกรรมที่ถูกจารึกบนหน้าประวัติศาสตร์ของเขาเลย ตรงกันข้าม พ่อของ Balbir โกรธเป็นฟืนเป็นไฟและรับไม่ได้กับสิ่งที่เขาทำ พ่อผู้ซึ่งศรัทธาและเคร่งครัดในหลักคำสอนของมหาตมะคานธีและเป็นครูสอนในชุมชนที่ชอบช่วยเหลือผู้คนโดยไม่ยึดติดกับศาสนา การถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างหนักจากพ่อต่ออุดมการณ์สุดโต่งของเขาในครั้งนั้นทำให้ Balbir รู้สึกผิดเป็นอย่างยิ่ง เขาถูกกดดันจากพ่อจนต้องตัดสินใจหนีออกจากบ้านในที่สุด

เหตุการณ์จลาจลของวันที่ 6 ธันวาคมในเมืองอโยธยาครั้งนั้นสร้างความโกรธเคืองปลุกปั่นชาวฮินดูและชาวมุสลิมทั่วประเทศให้ล้างแค้นกันไปมาอย่างไม่จบสิ้น Balbir ต้องใช้ชีวิตด้วยความหวาดระแวงและต้องหนีเอาตัวรอดไปอยู่ในที่ที่เขารู้สึกว่า “มุสลิมเล่นงานเขาไม่ได้” ครั้งแล้วครั้งเล่า ความรู้สึกผิดตามรังควาญความคิดของ Balbir ตลอดเวลา แม้กระทั่งเห็นใครเครายาวๆ เขาก็ยังแอบรู้สึกหลอนไปเอง เขาหลบหนีซ่อนตัวเร่ร่อนนานหลายเดือนจนเมื่อทราบข่าวว่าพ่อเสียชีวิตเขาจึงกลับมาที่บ้านเกิดอีกครั้ง แต่เมื่อถึงบ้านเขากลับถูกครอบครัวผลักไสและถูกกล่าวหาว่าเป็นต้นเหตุทำให้พ่อต้องล้มป่วยจนสิ้นใจ ก่อนจากไปพ่อของเขายังฝากฝังครอบครัวเป็นดิบดีด้วยว่าห้ามให้ลูกชายที่ชื่อ Balbir Singh เข้าร่วมพิธีศพของตนโดยเด็ดขาด ชีวิตของ Balbir จึงยิ่งดิ่งลงสู่จุดตกต่ำลงไปอีก

ชะตากรรมของ Balbir ยังไม่จบแค่นั้น ต่อมาเขาได้รับรู้ว่าเพื่อนสนิทของเขา Yogendra Pal ที่เคยเป็นแนวหน้าก่อม็อบมัสยิดบาบรีที่เคยร่วมยืนบนอุดมการณ์เดียวกันกลับเข้ารับอิสลาม Balbir อึ้งกับสิ่งที่ไม่คาดคิด แต่ Pal บอกกับเขาว่าการเข้ารับอิสลามช่วยให้ตัวเขาเองบรรเทาจากความคิดคลุ้มคลั่งและความหวาดระแวงลงไปได้มากทีเดียว

ตอนนั้นที่นั่งคุยกับเพื่อนสนิทของผมคนนี้ ความคิดหนึ่งแล่นเข้ามาในหัวผมว่า นี่ฉันจะต้องกลายเป็นบ้าเพราะบาปกรรมที่ฉันเคยก่อไว้หรือเปล่านะ? แล้วฉันจะไถ่บาปกรรมเหล่านั้นได้อย่างไร? เอ๊ะ หรือนี่ฉันเป็นบ้าไปแล้วจริงๆ ?” …

สู่เส้นทางแห่งสันติ


เดือนมิถุนายนของปี 1993 หกเดือนหลังจากเหตุการณ์ประท้วงครั้งนั้น Balbir Singh ตัดสินใจเดินทางไปเมือง Sonepat เพื่อพบกับอิหม่าม Maulana Kalim Siddiqui ซึ่งเป็นผู้นำศาสนาที่ช่วยเพื่อนของเขาเข้ารับอิสลาม อิหม่าม Siddiqui เป็นหัวหน้ามูลนิธิการกุศลเพื่ออิสลาม Waliullah ท่านเป็นคนกว้างขวางและเปิดโรงเรียนสอนศาสนาหลายแห่งในอินเดียเหนือ Balbir ได้เล่าเรื่องราวที่เขาประสบมาให้ท่านอิหม่ามฟังและบอกไปว่าขออาศัยอยู่ในโรงเรียนของท่านไปสักระยะหนึ่ง

ตอนนั้นผมเองก็ยังไม่แน่ใจว่าจะเข้ารับอิสลามดีหรือเปล่า แต่ท่านก็ยินดีตอบรับคำขอของผม ท่านบอกกับผมว่า ‘แม้ผมจะเคยมีส่วนร่วมไปทำลายมัสยิดหนึ่งหลัง แต่ผมก็สามารถช่วยฟื้นฟูบูรณะมัสยิดทดแทนได้อีกหลายหลังนี่นา’... มันเหมือนเป็นคำพูดที่ฟังดูธรรมดานะ แต่ผมนั่งลงและร้องไห้ตรงนั้นเลย

หลังจากใช้ชีวิตและศึกษาศาสนาได้ไม่กี่เดือน Balbir ก็ตัดสินใจเข้ารับอิสลามในที่สุด เขาเปลี่ยนแปลงเป็นคนใหม่พร้อมกับชื่อใหม่ว่า Mohammed Amir ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

แล้วชีวิตผมก็เริ่มเข้าร่องเข้ารอยอีกครั้ง” เขาพูดสรุปสั้นๆ ง่ายๆ ….


ภารกิจบูรณะ 100 มัสยิด


Mohammed Amir เล่าว่าตลอดช่วงปี 1993 ถึง 2017 เขาพยายามเดินทางไปฟื้นฟูบูรณะซ่อมแซมมัสยิดที่เสื่อมสภาพมาแล้วกว่า 40 แห่งทั่วอินเดียเหนือ ด้วยการอุปถัมภ์จากมูลนิธิ Waliullah ของอิหม่ามที่เคยช่วยชีวิตเขาไว้

ในอินเดียเหนือมีมัสยิดที่ตกอยู่ในสภาพเก่าคร่ำครึไร้การบูรณะดูแลอยู่หลายแห่ง แม้แต่ละแห่งจะมีกรรมการหรือเจ้าหน้าที่มัสยิดเป็นกิจจะลักษณะแล้วก็ตาม ผมจะมองหามัสยิดประเภทนี้ ผมจะเข้าไปเคลียร์พื้นที่จากการรุกละเมิดและจัดการเก็บกวาดให้เรียบร้อย จากนั้นก็เรียกร้องเชิญชวนคนในพื้นที่แถวนั้นให้เข้ามาละหมาดสักการะในมัสยิดที่เราบูรณะ บางที่ผมก็สร้างโรงเรียนสอนศาสนาในมัสยิดไปด้วย เพราะผมคิดว่าการศึกษามันสำคัญมาก ทุกวันนี้หายนะที่บ่อนทำลายสังคมมุสลิมเราก็คือการละเลยไม่เอาใจใส่กับการศึกษานี่แหละ

บางพื้นที่ที่ Mohammed Amir ไปก็มีชาวบ้านจิตอาสามาช่วยกันบูรณะมัสยิด แต่บางแห่งเขาก็ลงมือทำด้วยตัวคนเดียว เขาวางเป้าหมายว่าจะบูรณะมัสยิดให้ครบ 100 แห่ง เพื่อจะได้รู้สึกว่าชดเชยและทดแทนกับสิ่งที่เขาเคยก่อกรรมทำเข็ญไว้ในอดีตที่ผ่านมา

หลายคนที่พบเห็น Mohammed Amir อาจจะเข้าใจว่าเขาเป็นชาวบ้านธรรมดาทั่วไป แต่ความจริงเขาเป็นผู้ชายที่เรียนจบปริญญาโทถึง 3 สาขา ทั้งด้านประวัติศาสตร์, รัฐศาสตร์, และภาษาอังกฤษ ในช่วงแรกที่เข้ารับอิสลามเขายังได้ใช้ทักษะภาษาอังกฤษสอนเด็กๆ ในโรงเรียนสอนศาสนาอีกด้วย Mohammed Amir เป็นผู้ชายที่ไม่พูดมาก แต่จริงจังกับหน้าที่การงาน เขามีความเป็นสุภาพบุรุษและชอบอุทิศตนทำงานเพื่อสังคม

เขาเล่าย้อนกลับไปถึงที่มาของการจับพลัดจับผลูเข้าไปร่วมอุดมการณ์กับกลุ่มฮินดูขวาจัดว่า ทุกอย่างไม่ได้เริ่มต้นจากการที่เขาเป็นคนเคร่งครัดในศาสนาแต่อย่างใด แต่สิ่งที่เป็นชนวนจุดเพลิงแห่งความเกรี้ยวกราดจนชักนำให้เขาเข้าร่วมขบวนการครั้งนั้นล้วนเกิดจากมุมมองทางการเมืองที่เข้ามามีอิทธิพลต่อความคิดของเขาทั้งสิ้น การถูกล้างสมองให้เข้าใจว่าอิสลามเข้ามาแย่งและครอบครองดินแดนแห่งอินเดียในยุคสมัยพระจักรพรรดิโมกุล ผนวกกับช่วงวัยเด็กที่เคยถูกหล่อหลอมด้วยประสบการณ์ชีวิตให้จงเกลียดจงชังอิสลาม จึงทำให้ความเดือดดาลพุ่งกระฉูดให้อุดมการณ์ทำลายล้างอิสลามในสายเลือดยิ่งรุนแรง


ปัจจุบัน Mohammed Amir ใช้ช่วงชีวิตที่เหลืออุทิศตนเพื่ออิสลามด้วยการหมั่นศึกษาศาสนา ใคร่ครวญถึงจุดหมายและที่มาที่ไปของการเป็นมนุษย์ เมื่อใดที่สุขภาพเอื้ออำนวยและมีเวลาว่างจากการบูรณะมัสยิด Mohammed Amir มักจะเดินทางไปพบปะผู้คนเพื่อบอกเล่าถึงความดีงามของอิสลามโดยใช้เงินที่เป็นน้ำพักน้ำแรงของเขาเอง เขาเล่าในสิ่งที่เขาทำว่า

คุณดูผมสิ แก่โทรมซะขนาดนี้ผมจะสอนอะไรได้หากไม่ใช่เรื่องความสันติ? ความสันติคือสิ่งที่อิสลามได้ให้กับผม มันคือสิ่งที่ผมอยากจะบอกกล่าวกับใครต่อใคร ผมมักบอกใครๆ ว่าครั้งหนึ่งผมเคยเป็นชาวฮินดูที่เต็มไปด้วยความเกลียดชังต่อชาวมุสลิม และไม่รู้อะไรเกี่ยวกับอิสลามเลย แต่คนอย่างผมคงเป็นเพียงส่วนน้อยของสังคมเท่านั้น

Mohammed Amir พยายามสะกิดเตือนให้ผู้คนตระหนักถึงความสำคัญของการไม่ถูกปลุกปั่นเพื่อใช้ความรุนแรง “ผมกลัวสิ่งที่แย่ที่สุด แต่ในขณะเดียวกันผมก็บอกกับผู้คนว่า พี่น้องมุสลิมเขาก็แกร่งเหมือนกันนะ แต่แทนจะที่ตอบโต้ด้วยความโกรธแค้น การให้อภัยคือวิธีที่ดีกว่าในการรับมือกับคนที่คิดร้ายกับเรา แม้มันอาจจะยากที่ต้องทำเช่นนั้นเวลาที่เราคิดว่าตัวเองแกร่ง แต่มันจะช่วยส่งสารอันทรงพลังได้เป็นอย่างดี

ต่อคำถามที่ว่า สิ่งที่เขาได้ทำตลอด 25 ปีที่ผ่านมานั้นเป็นการเสาะหาหนทางเพื่อให้อภัยกับตัวเองหรือเปล่า Mohammed Amir ตอบว่า “จะมองว่าเป็นเช่นนั้นก็ได้นะ มันถือเป็นการไถ่โทษที่ผมเคยทำให้พ่อต้องเสียใจ ที่ผมเคยเป็นส่วนหนึ่งในสาเหตุการตายของอีกหลายร้อยชีวิต แต่ผมก็ตระหนักเช่นกันว่ามันเป็นสิ่งที่ยังคงต้องดำเนินต่อไป” ….

เพราะการให้อภัยที่ยากที่สุด คือการให้อภัยแก่ตนเอง และแม้เส้นทางที่จะเดินไปสู่การให้อภัยแก่ตนเองนั้นอาจต้องเจอกับความเดียวดาย แต่มันก็เป็นเส้นทางเดียวกันที่จะทำให้คนบ้าคลั่งได้พบกับผู้เป็นเจ้าเบื้องบน ….

فَمَن يُرِدِ اللَّهُ أَن يَهْدِيَهُ يَشْرَحْ صَدْرَهُ لِلْإِسْلَامِ

ผู้ใดที่อัลลอฮทรงประสงค์จะให้ทางนำแก่เขา พระองค์จะทรงเปิดหัวอก (หัวใจ) ของเขา ให้เข้าใจอิสลาม” (อัลกุรอาน 6:125)


แปลและเรียบเรียง : Andalas Farr


#God_Islamic_Society_Online
#การเมือง_ลัทธิและความเชื่อ_Islamic_Society_Online
#ประวัติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
#วีรบุรุษอิสลาม_Islamic_Society_Online
#นานาทัศนคติ_Islamic_Society_Online
#เรื่องเล่าคติเตือนใจ_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "จากแกนนำม็อบทำลายมัสยิดบาบรีในตำนาน สู่ชายผู้มุ่งมั่นบูรณะ 100 มัสยิด"

วันอาทิตย์ที่ 25 มีนาคม พ.ศ. 2561

มัสยิดบาโงยลางา ต้นแบบชุมชนสันติสุข ‘พุทธ-มุสลิม’

มัสยิดบาโงยลางา ต้นแบบชุมชนสันติสุข ‘พุทธ-มุสลิม’




“มัสยิดนัจมุดีน” หรือที่เรียกขานกันว่า “มัสยิดบาโงยลางา” มักจะถูกหยิบมาเป็นเรื่องราวเล่าขานสู่กันฟังถึงการอยู่ร่วมกันอย่าง “สันติสุข” ของชุมนุม “ชาวไทยพุทธ” และ “ชาวไทยมุสลิม” บนแผ่นดินปลายด้ามขวานทอง บางเรื่องเป็นประวัติศาสตร์ บางเรื่องเป็นตำนาน แต่ทั้งหมดประกอบขึ้นเป็นความภาคภูมิใจของชาวชายแดนใต้อย่างแน่นอน

มีเรื่องเล่ามากมายที่เกิดเกี่ยวเนื่องกับการก่อสร้าง “มัสยิดนัจมุดีน (บาโงยลางา)” ซึ่งตั้งอยู่บ้านควนลังงา ม.4 ต.ทรายขาว อ.โคกโพธิ์ จ.ปัตตานี สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในปี 2177 รัชสมัยราชินีราตูอูงู บิน สุลต่านมันซูร ซาร์ รัชกาลที่ 8 แห่งราชอาณาจักรปัตตานีดารุสลาม (2167-2178) หลังสงครามระหว่างปัตตานีดารุสสลามกับกรุงศรีอยุธยา จนเกิดวีรกรรมอันกล้าหาญของ “โต๊ะหยาง” หญิงแห่งบ้านบาโงยลางา (บาโงย-ควนหรือเนิน, ลางา-การปะทะ) ช่วงที่ต้องหนีภัยสงคราม ท่านได้พลัดตกลงในหุบเหวเป็นเวลาหลายวัน หลังสงครามชาวบ้านได้เข้าไปช่วยเหลือ

แต่ต้องตะลึง! เมื่อพบกับสิ่งที่ท่านกอดไว้แน่นตลอดเวลา นั่นคือ “คัมภีร์อัล-กุรอ่าน” ที่เขียนด้วยลายมือ ปกทำจากเปลือกต้นมะม่วงหิมพานต์ เวลานี้คัมภีร์เล่มนี้ยังถูกเก็บไว้อย่างดีที่บ้านอิหม่ามคนปัจจุบัน จากนั้นชาวบ้านทรายขาว ได้ร่วมแรงร่วมใจกันสร้าง “สุเหร่า” โดยความร่วมมือของพี่น้องประชาชน 2 ศาสนิกในชุมชนเล่าขานกันว่า เจ้าอาวาสวัดทรายขาวยุคนั้นเป็นคนออกแบบ ด้วยเหตุผลของความเชื่อถือของคนในชุมชน อีกเหตุผลคือยุคนั้นยังไม่มีใครรับรู้ถึงสถาปัตยกรรมแบบอิสลาม ชาวบ้านเลยมอบภารกิจนี้ให้ก่อนที่ท่านมาเป็นเจ้าอาวาส ท่านเคยรับอิสลามมาก่อน โดยแต่งงานกับหญิงมุสลิม แต่หลังภรรยาเสียชีวิต ท่านจึงบวชที่วัดทรายขาวและกลายมาเป็นเจ้าอาวาส ซึ่งเล่ากันว่าท่านเองก็ไม่รู้เรื่องศิลปกรรมแบบอิสลามเลย



สุเหร่าแห่งนี้สร้างด้วยไม้แค-ไม้ตะเคียน ตัดมาจากเทือกเขาสันกาลาคีรี ใช้หวายแทนเชือกมัดแล้วลากลงมาจากเขา จากนั้นใช้ขวานถากซุงให้เป็นเสาสี่เหลี่ยม ส่วนกระเบื้องมุงหลังคาทำจากอิฐแดงที่นำมาจากบ้านตาระบาตอ ต.กะมิยอ อ.เมือง จ.ปัตตานี ที่ต้องนับว่าโดดเด่น คือ โครงสร้างทั้งหลังไม่ใช้ตะปู เพียงใช้ไม้เป็นสลักยึดตามตำนานเล่าว่า ไม้ที่ใช้ทำเสาสุดแสนจะใหญ่มาก น้ำหนักก็เยอะ โค่นแล้วยากต่อการชักลากลงจากเทือกเขา แต่ชายสูงอายุผู้หนึ่งอาสารับภารกิจเพียงคนเดียว มีข้อแม้ว่าต้องทำตามลำพังในตอนกลางคืน ห้ามใครเกี่ยวข้องทุกๆ เช้าชาวบ้านจะเห็นซุงไม้ใหญ่ตั้งวางในหมู่บ้านวันละต้นๆ จนเพียงพอต่อความต้องการ จากนั้นชาวบ้านก็ร่ำลือกันสะพัดว่า ในเวลากลางคืนอาจจะมีใครเข้ามาช่วยเหลือชายผู้สูงอายุท่านก็เป็นได้และที่สำคัญต้องไม่น่าจะใช่คนอย่างแน่นอน…

“มัสยิดบาโงยลางา” จึงถือเป็นสุเหร่าร่วมสมัย และเป็นสถาปัตยกรรมเดียวกับ “มัสยิดตะโละมาเนาะ” (วาดิอัลอุเซ็น อ.บาเจาะ จ.นราธิวาส) และ “มัสยิดเอาห์” (บ้านนัดตันหยง ต.มะนังยง อ.ยะหริ่ง)ในพื้นที่ยังมี “บ่อน้ำโบราณ” “กลอง” หรือ “นางญา” ที่ใช้ในการตีบอกเวลาละหมาด หรือเตือนภัยเมื่อมีเหตุร้าย จุดเด่นอยู่ที่ลิ้นทำจากไม้ไผ่ ทำให้เสียงไพเราะและดังก้องกังวานไกลไปถึงรัศมีกว่า 3 กิโลเมตร

“หลังญานาซะฮ์” เป็นที่ตั้งของศูนย์วัฒนธรรมสายใยชุมชน ภายในเป็นที่เก็บอุปกรณ์การดำรงชีพในสมัยโบราณ ซึ่งควบรวมไปถึงเครื่องมือที่หลงเหลือบางส่วนจากการก่อสร้างสุเหร่าที่สะดุดตาน่าจะเป็น “ถาดทองเหลืองเก่า” ที่เก็บอย่างดีภายในตู้ แต่สลักหลังว่า วัดทรายขาว เดาได้ถึงความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ในระหว่างพี่น้องพุทธ-มุสลิมครั้งโบราณกาล ที่สามารถหยิบยืมเครื่องใชไม้สอยระหว่างกันได้ยามมีงานมีการ

เนื่องเพราะถาดนี้มัสยิดบาโงยลางาน่าจะหยิบยืมมาจากวัดทรายขาวเมื่อครั้งทำบุญ (กินบุญ) ในอดีต เป็นการยืม…แล้วก็ลืมคืนจนบัดนี้…

แต่นั่นไม่ใช่สิ่งที่จะนำไปสู่อุปสรรคหรือปัญหาของการอยู่ร่วมกันของชาวชุมนุม 2 วัฒนธรรมที่ประกอบขึ้นจาก “ชาวไทยพุทธ” และ “ชาวไทยมุสลิม” ที่นั่น




———————————

แหล่งที่มา : http://www.southernreports.com/


#อารยธรรมอิสลาม_Islamic_Society_Online
#ประชาชาติอิสลาม_Islamic_Society_Online
#นานาทัศนคติ_Islamic_Society_Online
#เรื่องเล่าคติเตือนใจ_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "มัสยิดบาโงยลางา ต้นแบบชุมชนสันติสุข ‘พุทธ-มุสลิม’"

วันเสาร์ที่ 24 มีนาคม พ.ศ. 2561

ชีวประวัติท่านนบีนุฮฺ

ชีวประวัติท่านนบีนุฮฺ


ท่านศาสดานุฮฺ อะลัยฮิสสลาม

กุรอานกล่าวถึงท่านศาสดานุฮ์ (อ.) ถึง 43 ครั้ง ด้วยกัน เรื่องราวของท่านศาสดานุฮ์ (อ.) ถูกกล่าวไว้พอสังเขปในซูเราะฮฺ อะอฺรอฟ, ชุอะรออฺ, เกาะมัร แต่ถูกกล่าวไว้ในซูเราะฮฺ นุฮฺ และฮูด อย่างละเอียด


ท่านศาสดานุฮฺ (อ.) มีคุณลักษณะโดดเด่นมากที่สุดท่านหนึ่งในหมู่บรรดาศาสดาทั้งหลาย ความโดดเด่นอันนี้มีผลมาจากสิ่งดังกล่าวต่อไปนี้

1- ได้รับตำแหน่งศาสดา “อูลุลอัซมฺ” เป็นท่านแรก ท่านศาสดานุฮฺ (อ.) ถือเป็นบรรพบุรุษของบรรดาศาสดาที่มีเชื้อสายต่อจากท่านศาสดาอาดัม (อ.)  เป็นศาสดาท่านแรกที่ได้รับตำแหน่ง อูลุลอัซมฺ ซึ่งได้รับบทบัญญัติจากอัลลอฮฺ และมีหน้าที่เผยแผ่บทบัญญัติที่ได้รับมาแก่มนุษยชาติทั้งหลาย

หนึ่ง ในคุณลักษณะพิเศษของท่านศาสดานุฮฺ (อ.) คือ เป็นศาสดาท่านแรกที่ได้รับตำแหน่งอูลลุอัซมฺ โดย ได้รับหน้าที่เผยแพร่บทบัญญัติที่ประทานจากพระเจ้าให้โดยเฉพาะ ชื่อของท่านถูกกล่าวไว้ในกุรอานโดยถูกกล่าวไว้ในกลุ่มเดียวกับ ศาสดาอิบรอฮีม, ศาสดามูซา, ศาสดาอีซา อย่างเช่นในซูเราะฮฺ ชูรอ โองการที่ 13 กล่าวว่า :

พระองค์ได้ทรงกำหนดศาสนาแก่พวกเจ้าเช่นเดียวกับที่พระองค์ได้ทรงบัญชาแก่นุฮฺ และที่เราได้วะฮีย์แก่เจ้าก็เช่นเดียวกับที่เราได้บัญชาแก่อิบรอฮิม และมูซา และอีซาว่า พวกเจ้าจงดำรงศาสนาไว้ให้คงมั่น และอย่าแตกแยกกันในเรื่องศาสนา แต่เป็นเรื่องใหญ่แก่พวกตั้งภาคีที่เจ้าเรียกร้อง เชิญชวนพวกเขาไปสู่ศาสนานั้น อัลลอฮฺทรงเลือกสำหรับพระองค์ผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และทรงชี้แนะทางสู่พระองค์ผู้ที่ผินหน้าสู่พระองค์

และในซูเราะฮฺ อะหฺซาบ โองการที่ 7 กล่าวว่า

และจงรำลึกถึงขณะที่เราได้เอาคำมั่นสัญญาของพวกเขาจากบรรดานบีและจากเจ้า และจากนุฮฺ และอิบรอฮีม และมูซา และอีซาบุตรของมัรยัม และเราได้เอาคำมั่นสัญญาอย่างหนักแน่นจากพวกเขา

2- บิดาคนที่สองแห่งมนุษยชาติ
อีก หนึ่งคุณสมบัติที่ท่านศาสดานุฮฺ (อ.) มีเหนือศาสดาท่านอื่นคือ เผ่าพันธ์มนุษย์สืบเชื้อสายมาจากท่าน เพราะหลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมโลก ซึ่งไม่มีใครรอดชีวิตจากเหตุการณ์นี้เลยนอกจาก ท่านศาสดานุฮฺ (อ.) เอง, ลูกของท่านและสาวกผู้ซื่อสัตย์บางคนเท่านั้น กุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ในซูเราะฮฺ ซอฟฟาต โองการที่ 76 - 82 ว่า :

และเราได้ช่วยเขาและชุมชนของเขาให้พ้นจากทุกข์ภัยอันมหันต์ และเราได้ให้ลูกหลานของเขายังคงมีชีวิตเหลืออยู่ และเราได้ปล่อยทิ้งไว้ (เกียรติคุณ) แก่เขาในกลุ่มชนรุ่นหลังๆ ความศานติจงมีแด่นุฮฺ ในหมู่ประชาชาติทั้งหลาย แท้จริง เช่นนั้นแหละเราจะตอบแทนผู้กระทำความดีทั้งหลายแท้จริง เขา (นุฮฺ) อยู่ในปวงบ่าวของเราผู้ศรัทธา แล้วเราได้ให้พวกอื่นจมน้ำตาย

และกล่าวไว้ในซูเราะฮฺ ฮูด โองการที่ 40 ว่า

จนกระทั่งเมื่อคำบัญชาของเราได้มา และบนพื้นแผ่นดินน้ำได้พวยพุ่งขึ้น เรากล่าวว่า ”จงบรรทุกไว้ในเรือจากทุกชนิดเป็นคู่ๆ และครอบครัวของเจ้าด้วย เว้นแต่ผู้ที่พระดำรัสได้กำหนดแก่เขาไว้ก่อน และผู้ศรัทธาแต่ไม่มีผู้ศรัทธาร่วมกับเขานอกจากจำนวนเล็กน้อย

การรอดชีวิตของเหล่าสาวกผู้ซื่อสัตย์ เป็นผลมาจากความจำเริญและความเมตตาที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) มอบให้แก่ท่านศาสดานุฮฺ (อ.) จากตรงนี้เองจึงถือได้ว่าท่านศาสดานุฮฺ (อ.) คือบิดาท่านที่สองของมนุษยชาติต่อจากท่านศาสดาอาดัม (อ.)

3- มีอายุในการเผยแพร่ศาสนายาวนานที่สุด
อีก คุณสมบัติหนึ่งของท่านศาสดานูฮฺ (อ.) ที่ถูกกล่าวถึงในกุรอานก็คือท่านมีอายุไขที่ยาวนานที่สุด ซึ่งเกี่ยวกับประเด็นนี้ถูกกล่าวไว้ในซูเราะฮฺ อันกะบูตว่า “และโดยแน่นอนเราได้ส่งนุฮฺไปยังหมู่ชนของเขา และเขาได้อยู่ร่วมกับพวกเขาหนึ่งพันปีเว้นห้าสิบปี (950 ปี)

คำ ว่าหนึ่งพันปี ยกเว็นห้าสิบปีที่มาใช้แทนคำว่า เก้าร้อยห้าสิบปีนั้นเป็นการเน้นย้ำถึงการมีอายุที่ยืนยาวนานและมีช่วงเวลา การเผยแพร่ที่ยาวนานซึ่งศาสดาท่านอื่นไม่เคยถูกกล่าวถึงในลักษณะเช่นนี้เลย
นักวิชาการมีความเห็นแตกต่างกันในประเด็นเกี่ยวกับอายุของท่านศาสดานูฮฺ (อ.) ตั้งแต่การเกิดจนถึงเหตุการณ์น้ำท่วมโลกนั้น ตามคัมภีร์เตารอต กล่าวว่า อายุของท่านศาสดานูฮฺรวมทั้งหมด 950 ปี หลังจากเหตุการณ์น้ำท่วมโลก ศาสดานูฮ์ยังมีชีวิตอยู่อีกถึง350 ปีและเสียชีวิตตอนอายุ 950 ปี

แต่หากดูตามความหมายของโองการที่กล่าวข้างต้น 950 ปีนั้นหมายถึงช่วงชีวิตที่ท่านทำหน้าที่เผยแพร่ศาสนาต่างหาก ซึ่งอายุไขของท่านจริงๆ แล้วมากกว่านั้น

คุณสมบัติเฉพาะของกลุ่มชนท่านศาสดานุฮฺ

ในตอนแรกเรากล่าวถึง คุณสมบัติของท่านศาสดานูฮฺ (อ.) ไปแล้ว ในตอนสองนี้เราจะขอกล่าวถึงคุณสมบัติของกลุ่มชนที่ท่านศาสดานูฮฺ (อ.) ได้รับหน้าที่ไปเผยแพร่สัจธรรม กุรอานกล่าวถึงคุณสมบัติของพวกเขาไว้ดังนี้

1- เป็นพวกบูชาเจว็ด หากพิจารณาจากกุรอานและรายงานทางประวัติศาสตร์จะพบว่า ในสมัยของท่านศาสดานูฮฺ (อ.) การบูชารูปปั้นเป็นความเชื่อหลักของชนในสมัยนั้น พวกเขาสร้างรูปจำลองพระเจ้าขึ้นมาและนำสิ่งดังกล่าวมาบูชากราบไหว้พร้อมทั้ง ให้ความสำคัญเป็นอย่างมากแต่กลับปฏิเสธการเรียกร้องไปสู่การมีพระเจ้าองค์เดียวอย่างสิ้งเชิง

กุรอานกล่าวถึงกลุ่มชนดังกล่าวไว้ในซูเราะฮฺ นุฮฺ โองการที่ 23 ว่า : “และพวกเขาได้กล่าวว่า พวกท่านอย่าได้ทอดทิ้งพระเจ้าทั้งหลายของพวกท่านเป็นอันขาด พวกท่านอย่าได้ทอดทิ้ง วัดด์ และสุวาอ์ และยะฆูษ และยะอู๊ก และนัซร์ เป็นอันขาด

2-เป็นกลุ่มชนที่โง่เขลาและดื้อด้าน
ความโง่เขลาและความดื้อด้านได้ฝั่งรากลึกอยู่ในกลุ่มชนของท่านศาสดานูฮฺ (อ.) จนถึงขนาดที่ว่าพวกเขาไม่ยอมรับตรรกะและการเรียกร้องไปสู่สัจธรรมใดๆ ทั้งสิ้น พวกเขาไม่รับฟังคำเรียกร้องไปสู่ความยุติธรรม และเสรีภาพที่แท้จริงของมนุษย์ เลยแม้แต่น้อย กุรอานกล่าวถึงประเด็นนี้โดยยกคำกล่าวของท่านศาสดานูฮฺ (อ.) ไว้ในซูเราะฮฺ นุฮฺ โองการที่ 7 ว่า : “และแท้จริงทุกครั้งที่ข้าพระองค์เรียกร้องเชิญชวนพวกเขาเพื่อที่พระองค์ท่านจะได้อภัยโทษให้แก่พวกเขา พวกเขาก็เอานิ้วมืออุดรูหูของพวกเขา และเอาเสื้อผ้าของพวกเขาคลุมโปง และพวกเขายังดื้อรั้น และหยิ่งยะโสด้วยความจองหอง

3-สังคมเต็มไปด้วยการกดขี่และความเสื่อมเสีย
สังคมของกลุ่มชนที่ท่านศาสดานูฮฺ (อ.) ใช้ชีวิตอยู่เต็มไปด้วยการกดขี่และความเสื่อมเสียจนถึงขนาดที่ท่านศาสดานูฮฺ (อ.) เองไม่มีความหวังที่จะทำให้พวกเขาศรัทธาในพระ เจ้าอีกต่อไป กุรอานกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวจากคำของท่านศาสดานูฮฺ (อ.) ไว้ในซูเราะฮฺ นุฮฺ โองการที่ 26-27 ว่า : “และนุฮฺได้กล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของข้า ขอพระองค์ทรงอย่าปล่อยให้พวกปฏิเสธศรัทธาหลงเหลืออยู่ในแผ่นดินนี้เลย * เพราะแท้จริง หากพระองค์ทรงปล่อยให้พวกเขาหลงเหลืออยู่ พวกเขาก็จะทำให้ปวงบ่าวของพระองค์หลงผิด และพวกเขานั้นจะให้กำเนิดแต่พวกเลวทราม พวกปฏิเสธศรัทธาเท่านั้น

4-เป็นกลุ่มชนที่หลงใหลในอำนาจและทรัพย์สิน
กลุ่ม ชนของท่านศาสดานูฮฺ (อ.) เป็นกลุ่มชนที่หลงใหลและเชื่อฟังผู้ที่มีอำนาจและคนที่ร่ำรวยเพี่อให้ได้ทรัพย์สินมาครอบครอง พวกเขาใช้เล่ห์และอุบายหลอกลวงกันเองอย่างน่ารังเกียจที่สุด กุรอานกล่าวถึงประเด็นดังกล่าวจากคำของท่านศาสดานูฮฺ (อ.) ไว้ในซูเราะฮฺ นูฮฺ โองการที่ 21-22 ว่า : “นุฮฺได้กล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ แท้จริงพวกเขาได้ฝ่าฝืนข้าพระองค์และเชื่อฟังผู้ที่ทรัพย์สินและลูกหลานของเขามิได้เพิ่มพูนอันใดแก่เขานอกจากการขาดทุน

5- เป็นกลุ่มชนที่มีผู้ศรัทธาอยู่น้อยมาก
ความเสื่อมเสียและการปฏิเสธการมีพระเจ้าองค์เดียว ถึงแม้จะมีให้เห็นทั่วไปใน กลุ่มชนอื่น แต่ในกลุ่มชนของท่านศาสดานูฮฺ (อ.) เป็นสิ่งที่ฝังรากลึกจนยากที่จะแก้ไขได้ จนถึงขนาดที่ว่าท่านศาสดานูฮฺ (อ.) ใช้เวลาถึง 950 ปีในการเผยแพร่สัจธรรมแต่มีเพียง 80 คนเท่านั้น !!! ที่ตอบรับคำเรียกร้องท่านศาสดานูฮฺ (อ.) มีรายงานฮะดิษจากศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) ที่กล่าวเกี่ยวกับประเด็นนี้ว่า : “แท้จริงท่านศาสดานูฮฺ (อ.) ได้เผยแพร่เรียกร้องกลุ่มชนของตัวเองเป็นเวลาถึง 950 ปี” และอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงกล่าวถึงคุณสมบัติของพวกเขาที่มีจำนวนผู้ศรัทธาน้อยมาก และท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) กล่าวว่า : “พวก เขาไม่ได้ศรัทธาต่อนุฮฺเลยนอกจากคนจำนวนน้อยนิดเท่านั้นที่ศรัทธาต่อเขา มีคนปฏิบัติตามฉันตั้งแต่ฉันยังมีอายุน้อยจนกระทั่งฉันแก่ชรา แต่ในขณะที่ไม่มีคนศรัทธาต่อนุฮฺเลยจนกระทั่งเขาชราภาพ” และมีสายรายงานจากท่านอิบนิอับบาสว่า ท่านศาสดามุฮัมมัด (ซ.ล.) กล่าวว่า : “ท่านศาสดานุฮฺนำสาวกเพียง 80 คนขึ้นเรือไปพร้อมกับท่านด้วย” กุรอานกล่าวถึงประเด็นนี้ไว้ในซูเราะฮฺ ฮูด โองการที่ 25-26 ว่า : “และโดยแน่นอน เราได้ส่งนูฮฺไปยังกลุ่มชนของเขา (โดยกล่าวว่า) “แท้ จริงฉันเป็นผู้ตักเตือนอันแน่ชัดแก่พวกท่านแล้วคือพวกท่านอย่าเคารพภักดีผู้ใดนอกจากอัลลอฮฺ แท้จริงฉันกลัวแทนพวกท่านถึงการลงโทษในวันอันเจ็บปวด

ท่านศาสดานูฮฺ (อ.) ใช้ความพยายามทั้งกลางวันและกลางคืนในการเรียกร้องประชาชนไปสู่ อิสระภาพที่แท้จริง กุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ในซูเราะฮฺ นูฮฺ โองการที่ 5 ว่า : “เขากล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของข้าพระองค์ แท้จริงข้าพระองค์ได้เรียกร้องเชิญชวนหมู่ชนของข้าพระองค์ทั้งกลางคืนและกลางวัน
กุรอานยังกล่าวถึงประเด็นนี้อีกในซูเราะฮฺ นูฮฺ ในโองการที่ 8-9 ว่า : “ครั้น แล้วข้าพระองค์ได้เรียกร้องเชิญชวนพวกเขาอย่างเปิดเผย แล้วข้าพระองค์ก็ได้ประกาศแก่พวกเขาอย่างเปิดเผย อีกทั้งข้าพระองค์ยังได้บอกกล่าวแก่พวกเขาอย่างลับ ๆ อีกด้วย

ท่านศาสดานูฮฺ (อ.) ทำทุกวิถีทางในการนำเสนอสัจธรรมและสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน เพื่อนำพวกเขาไปสู่การเคารพภักดีพระเจ้าองค์เดียว ท่านกล่าวถึงคุณลักษณะอันสูงส่งของพระเจ้า กล่าวถึงความโปรดปรานที่พระเจ้าทรงประทานให้แก่มนุษย์โดยหวังว่าจะโน้มน้าว หัวใจของพวกเขาไปสู่ความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียว กุรอานกล่าวถึงประเด็นนี้ในซูเราะฮฺ นูฮฺ โองการที่ 10-16 ว่า :
ข้าพระองค์ได้กล่าวว่า พวกท่านจงขออภัยโทษต่อพระเจ้าของพวกท่านเถิด เพราะแท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงอภัยโทษอย่างแท้จริง พระองค์จะทรงหลั่งน้ำฝนอย่างมากมายแก่พวกท่าน และพระองค์จะทรงเพิ่มพูนทรัพย์สินและลูกหลานแก่พวกท่านและจะทรงทำให้มีสวนมากหลายแก่พวกท่าน และจะทรงทำให้มีลำน้ำมากหลายแก่พวกท่าน ทำไมพวกท่านจึงไม่สำนึกถึงความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺและโดยแน่นอนพระองค์ทรงสร้างพวกท่านตามลำดับขั้นตอน พวกเจ้าไม่เห็นดอกหรือว่าอัลลอฮฺทรงสร้างชั้นฟ้าทั้งเจ็ดเป็นชั้นๆ อย่างไร และทรงทำให้ดวงจันทร์ในชั้นฟ้าเหล่านั้นมีแสงสว่าง และทรงทำให้ดวงอาทิตย์มีแสงจ้า

6- หมดหวังในความศรัทธาของกลุ่มชน
ท่านศาสดานูฮฺ (อ.) ไม่เคยได้รับสิ่งใดเป็นการตอบแทนในความพยามอย่างมากมาย เพื่อชี้นำมนุษย์ นอกจากการถูกกลั่นแกล้ง การข่มขู่ และการเป็นศัตรูเท่านั้น กุรอานกล่าวถึงประเด็นนี้ไว้ในซูเราะฮฺ ชุอารออ์ โองการที่ 116 ว่า : “พวกเขากล่าวว่า โอ้นูฮฺ หากท่านไม่หยุดยั้งแน่นอนท่านจะอยู่ในหมู่ผู้ถูกขว้างด้วยก้อนหิน

ความ ดื้อรั้นของกลุ่มชนของท่านศาสดานูฮฺ (อ.) ถึงขนาดที่ว่าบ่าวผู้อดทนอย่างท่านศาสดานูฮฺ (อ.) ต้องร้องขอต่ออัลลอฮฺ ให้ตัวเองรอดพ้นจากความเลวร้ายของกลุ่มชนนี้ กุรอานกล่าวถึงเรื่องนี้ไว้ในซูเราะฮฺ ชุอารออ์ โองการที่117 – 118 ว่า :
เขากล่าวว่า ข้าแต่พระเจ้าของฉัน แท้จริงหมู่ชนของฉันปฏิเสธฉัน ดังนั้นขอพระองค์ทรงตัดสินระหว่างฉันกับพวกเขาโดยยุติธรรมเถิด และทรงโปรดช่วยฉัน และบรรดาผู้ศรัทธาที่อยู่ร่วมกับฉันให้รอดพ้นด้วยเถิด

ท่ามกลางความเลวร้ายและการกลั่นแกล้งจากกลุ่มชนของท่านศาสดานูฮฺ (อ.) ท่านมิได้ทอดทิ้งพวกเขาเลย จนกระทั่งมีคำสั่งจากพระผู้เป็นเจ้าให้ท่านสร้างเรือ ช่วงชีวิตที่ถือว่าเป็นช่วงที่ยากลำบากที่สุดของท่านศาสดานูฮฺ (อ.) คือช่วงเวลาในการสร้างเรือ เพราะช่วงนี้เองท่านถูกข่มขู่ ถูกกลั่นแกล้งแม้กระทั่งถูกทรมานอย่างรุนแรงที่สุด กุรอานกล่าวถึงประเด็นนี้ไว้ในซูเราะฮฺ ฮูด โองการที่ 36-37 ว่า :
และได้มีวะฮฺยูแก่นูฮฺว่า “แท้จริงจะไม่มีผู้ใดจากหมู่ชนของเจ้าศรัทธา เว้นแต่ผู้ที่ได้ศรัทธาแล้ว ดังนั้น เจ้าอย่าเศร้าหมองในสิ่งที่พวกเขากระทำ และเจ้าจงสร้างเรือต่อหน้าเราและตามคำบัญชาของเรา และอย่ามาพูดกับข้า ถึงบรรดาผู้อธรรม แท้จริงพวกเขาจะถูกจมน้ำตาย

หลังจากได้รับคำสั่งจากอัลลอฮฺ (ซ.ล.) ให้สร้างเรือ ท่านได้เริ่มสร้างเรืออย่างมุ่งมั่น แต่พื้นที่ที่ท่านศาสดานูฮฺ (อ.) อาศัยอยู่เป็นพื้นที่ที่เป็นทะเลทรายห่างไกลจาก แม่น้ำและทะเล ด้วยเหตุนี้เองการสร้างเรือในสภาพที่อยู่ท่ามกลางทะเลทรายเป็นเรื่องน่าแปลก สำหรับกลุ่มชนของท่านอย่างยิ่ง ทุกครั้งที่พวกเขาเดินผ่านและเห็นท่านศาสดากำลังสร้างเรือ พวกเขาจะเยาะเย้ย และกลั่นแกล้งเป็นประจำ
กุรอานกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ ไว้ในซูเราะฮฺ ฮูด โองการที่ 38 ว่า : “และเขาได้สร้างเรือ และคราใดที่บุคคลชั้นนำจากหมู่ชนของเขาเดินผ่านเขา (นูฮฺ) พวกเขาก็เยาะเย้ย เขาก็จะกล่าวว่า“หากพวกท่านเยาะเย้ยพวกเรา แท้จริงเราก็จะเยาะเย้ยพวกท่านเช่นเดียวกับที่พวกท่านเยาะเย้ย

จาก อายะฮ์ข้างต้นบ่งชี้ว่า พวกมีอำนาจในกลุ่มชนของท่านศาสดานูฮฺ (อ.) จะคอยกลั่นแกล้งท่านและสาวกของท่านอยู่ตลอดเวลา ใครก็ตามที่ผ่านมาเห็นท่านศาสดานูฮฺ (อ.) จะกล่าวเย้ยหยันท่าน บางคนกล่าวว่า “โอ้นูฮฺ นอกจากเจ้าจะเป็นศาสดาแล้วยังเป็นช่างไม้ด้วยนะ” หรือบางคนกล่าวว่า “สร้างเรือบนบกแบบนี้ เจ้าจะใช้มันเมื่อไหร่กัน

กุรอานกล่าวถึงคำตอบท่านศาสดานูฮฺ (อ.) ที่กล่าวตอบแก่พวกเขาไว้ในซูเราะฮฺ ฮูด โองการที่ 39 ว่า :
แล้วพวกท่านก็จะรู้ว่าผู้ใดที่การลงโทษอันอัปยศจะมายังเขา และการลงโทษยาวนานจะประสบแก่เขา
อย่างไรก็ตามท่านศาสดานูฮฺ (อ.) ได้สร้างเรือตามคำสั่งของอัลลอฮฺ (ซ.ล.) จนเสร็จ หลังจากนี้เองเป็นช่วงเวลาที่ท่านศาสดานูฮฺ (อ.) รอคำสั่งจากอัลลอฮฺ (ซ.ล.) อีกครั้ง เพื่อให้พระองค์ทรงทำให้เกิดพายุและน้ำท่วม เหตุการณ์น้ำท่วมโลกเป็นช่วงสุดท้ายของการรอคอยของท่านศาสดานูฮฺ (อ.) เป็นช่วงเวลาแห่งการพิสูจน์ถึงความอ่อนแอของบรรดาเจว็ดและพวกบูชาเจว็ดทั้งหลายรวมทั้งเป็นการพิสูจน์ถึงความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮ์ (ซ.บ.)

หลังจากที่ท่านศาสดานูฮฺ (อ.) ได้เห็นสัญญานต่างๆ ที่แสดงถึงการเกิดน้ำท่วมโลก ท่านได้รับคำสั่งจากอัลลอฮฺ (ซ.ล.) ให้นำสัตว์ทั้งหลายขึ้นเรือ ท่านศาสดานูฮฺ (อ.) ได้นำสัตว์แต่ละชนิดขึ้นเรือเป็นคู่ๆ พร้อมทั้งบรรดาผู้ศรัทธาทั้งหมด (ยกเว้นภรรยาและบุตรชายของท่านเอง) โดยก้าวขึ้นเรือด้วยพระนามแห่งอัลลอฮฺ และหัวใจที่เต็มเปี่ยมไปด้วยความหวังในความเมตตาของพระองค์ กุรอานกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในซูเราะฮฺ ฮูด โองการที่ 40-41 ว่า - จนกระทั่งเมื่อคำบัญชาของเราได้มาและบนพื้นแผ่นดิน น้ำได้พวยพุ่งขึ้น เรากล่าวว่า “ จงบรรทุกไว้ในเรือจากทุกชนิดเป็นคู่ๆ และครอบครัวของเจ้าด้วย เว้นแต่ผู้ที่พระดำรัสได้กำหนดแก่เขาไว้ก่อนและผู้ศรัทธาแต่ไม่มีผู้ศรัทธาร่วมกับเขานอกจากจำนวนเล็กน้อยและเขากล่าวว่า “พวกท่านจงลงในเรือด้วยพระนามของอัลลอฮฺ ทั้งในยามแล่นของมันและในยามจอดของมัน แท้จริงพระเจ้าของฉันเป็นผู้ทรงอภัย ผู้ทรงเมตตาเสมอ

หลัง จากที่ท่านศาสดานูฮฺ (อ.) และบรรดาสาวกผู้ศรัทธาขึ้นเรือแล้ว มีคำสั่งจากฟากฟ้าให้ลงโทษกลุ่มชนผู้ปฎิเสธ เมื่อนั้นเองท้องฟ้ามืดครึ้มและเต็มไปด้วยเมฆฝน ฝนเม็ดใหญ่เทลงมาเสมือนกับว่าประตูแห่งท้องฟ้าได้เปิดออก อีกด้านหนึ่งเกิดตาน้ำที่มีน้ำพุ่งขึ้นมาอย่างรุนแรงไปทั่วผืนแผ่นดิน หลังจากนั้นไม่นานเกิดคลื่นยักษ์ถาโถมเข้าใส่กลุ่มชนผู้ปฏิเสธอย่างรุนแรง จนกระทั่งบรรดาผู้ปฏิเสธต่างหมดหวังที่จะมีชิวิตรอดจากเหตุการณ์ครั้งนี้

กุรอานกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในซูเราะฮฺ ฮูด โองการที่ 42-43 ว่า - และมันแล่นพาพวกเขาไปท่ามกลางคลื่นลูกเท่าภูเขา และนูฮฺได้ร้องเรียกลูกชายของเขาซึ่งอยู่อย่างโดดเดี่ยว “ โอ้ลูกของฉันเอ๋ย ! จงมาขึ้นเรือกับเราเถิด และเจ้าอย่าอยู่ร่วมกับผู้ปฏิเสธศรัทธาเลย ” เขา(ลูกชาย) กล่าวว่า “ฉัน
จะไปอาศัยภูเขาลูกหนึ่ง มันจะคุ้มครองฉันจากน้ำนี้ได้ ”เขา (นูฮฺ) กล่าวว่า “ ไม่มีผู้ใดคุ้มครอง (เจ้าได้) ในวันนี้ (ให้พ้น) จากพระบัญชาของอัลลอฮฺ เว้นแต่ผู้ที่พระองค์ทรงเมตตา” และคลื่นได้ซัดเข้ามาระหว่างเขาทั้งสอง และเขา (ลูกชาย) ได้อยู่ในหมู่ของผู้จมน้ำตาย หลังจากเหตุการณ์สงบลง เรือของท่านศาสดานูฮฺ (อ.) มาหยุดอยู่บนยอดเขาแห่งหนึ่ง สัญญาของพระผู้เป็นเจ้าได้เกิดขึ้นแล้ว สัญญาที่พระองค์จะทำให้บรรดาผู้ศรัทธาได้รับชัยชนะและทำลายพวกบูชาเจว็ดทั้งหลาย ประวัติศาสตร์หน้าใหม่ของโลกกำลังจะเกิดขึ้น ทุกสิ่งกำลังถูกตระเตรียมให้ไปสู่การศรัทธาและความบริสุทธิ์ กุรอานกล่าวเกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้ในซูเราะฮฺ ฮูด อายะฮ์ที่ 44-48 ว่า “แผ่นดินเอ๋ย! จงกลืนน้ำของเจ้า และฟ้าเอ๋ย ! จงหยุด” และน้ำได้ลดลงและกิจการได้ถูกตัดสิน และมันได้จอดเทียบอยู่ที่ยอดเขา และได้มีเสียงกล่าวว่า “ความหายนะจงประสบแก่หมู่ชนผู้อธรรมเถิด” และนูฮฺได้ร้องเรียนต่อพระเจ้าของเขาโดยกล่าวว่า “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า แท้จริงลูกชายของข้าพระองค์เป็นคนหนึ่งในครอบครัวของข้าพระองค์ และแท้จริงสัญญาของพระองค์นั้นเป็นความจริง และพระองค์เท่านั้นทรงตัดสินเที่ยงธรรมยิ่งในหมู่ผู้ตัดสินพระองค์ทรงตรัสว่า “โอ้นูฮฺ เอ๋ย ! แท้ จริงเขามิได้เป็นคนหนึ่งในครอบครัวของเจ้า แท้จริงการกระทำของเขาไม่ดี ดังนั้นเจ้าอย่าร้องเรียนต่อข้าในสิ่งที่เจ้าไม่มีความรู้ แท้จริงข้าขอเตือนเจ้าที่เจ้าจะอยู่ในหมู่ผู้งมงาย เขากล่าวว่า “ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของข้าพระองค์ แท้จริงข้าพระองค์ขอความคุ้มครองต่อพระองค์ท่าน ให้พ้นจากการร้องเรียนต่อพระองค์ท่านในสิ่งที่ข้าพระองค์ไม่มีความรู้ในเรื่องนั้น และหากพระองค์ไม่ทรงอภัยแก่ข้าพระองค์ และไม่ทรงเมตตาข้าพระองค์แล้ว ข้าพระองค์ก็จะอยู่ในหมู่ของผู้ขาดทุน ได้มีเสียงกล่าวว่า โอ้นุฮฺ เอ๋ย ! จงลงไป (จากเรือ) ด้วยความศานติจากเรา และความจำเริญแก่เจ้า และแก่กลุ่มชนที่อยู่กับเจ้า และกลุ่มชนอื่นที่เราจะให้พวกเขาหลงระเริง แล้วการลงโทษอย่างเจ็บปวดจากเราก็จะประสบแก่พวกเขา


แหล่งที่มา : ชีวประวัตินบี 25 ศาสดา


#ประวัติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
#เรื่องเล่าคติเตือนใจ_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "ชีวประวัติท่านนบีนุฮฺ"

บทความแนะนำ

World Clock

Featured Posts

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม โดย : Cem Nizamoglu และ Sairah Yassir-Deane ย้อนหลังไปถึงมีนาคม 2015 ข่าวเกี่ยวก...