จักรวรรดิอุษมานียะห์ เมื่ออาทิตย์อัสดง : การเป็นศัตรูของชาวยิวต่อพวกอุษมานียะห์
(อาลี เสือสมิง)ความเป็นปฏิปักษ์ศัตรูเยี่ยงจารีตระหว่างชาวยิวและศาสนาอิสลามมีรากเหง้าย้อนกลับไปถึงยุคแรกแห่งการปรากฏขึ้นของศาสนาอิสลาม และนับตั้งแต่อิสลามได้รับชัยชนะและมีการเนรเทศชาวยิวออกจากนครม่าดีนะห์ของท่านศาสดา ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ซึ่งเป็นผลมาจากความบิดพลิ้วที่เกิดขึ้นซ้ำซาก และความเป็นศัตรูที่ไม่เคยสร่างซาของชาวยิวต่อรัฐอิสลาม และภายหลังชาวยิวได้ถูกเนรเทศอีกครั้งจากคาบสมุทรอาหรับทั้งหมดในสมัยท่านอุมัร อิบนุ อัลคอตตอบ (ร.ฎ) ค่อลีฟะห์ท่านที่สาม พวกยิวก็วางแผนการร้ายเพื่อทำลายล้างอิสลามหนักข้อยิ่งขึ้น กล่าวคือ ชาวยิวบางคนได้เสแสร้งเข้ารับอิสลามและแพร่พิษร้ายในเรือนร่างของประชาชาติอิสลามตลอดช่วงระยะเวลาอันยาวนานในประวัติศาสตร์
ดังจะเห็นได้จากเรื่องราวของอับดุลลอฮ์ อิบนุ สะบะอ์ กลุ่มอัลก่อรอมิเฎาะห์, กลุ่มอัลฮัชชาซีน, กลุ่มอัรรอวันดียะห์ และกลุ่มอื่นๆ ที่เรียกร้องให้บ่อนทำลายอิสลามในหน้าประวัติศาสตร์ของมุสลิม ล้วนแล้วแต่เป็นสิ่งที่ไม่ไกลเกินจริงในกรณีเช่นนี้ และความเป็นศัตรูมุ่งพยาบาทของชาวยิวที่มีต่อพวกอุษมานียะห์ในฐานะผู้นำสูงสุดของประชาคมมุสลิม และสัญลักษณ์แห่งพลังตลอดจนความเป็นเอกภาพในโลกอิสลามของอุษมานียะห์ เป็นสิ่งที่ได้รับการบ่มเพาะและถ่ายทอดสู่ชาวยิวทุกรุ่น (ตารีค อัดเดาะละห์ อัลอุษมานียะห์ หน้า184) ทั้งนี้เพราะชาวยิวเห็นว่าระบอบการปกครองแบบค่อลีฟะห์ของอุษมานียะห์เป็นเสมือนปิศาจร้ายที่น่าสะพรึงกลัวและคุกคามต่ออนาคตของพวกตน (อัลอิสลาม วัลอาลัม อัลมุอาซิร หน้า420)
ณ จุดนี้ การขับเคี่ยวของชาวยิวกับระบอบการปกครองแบบค่อลีฟะห์ของอุษมานียะห์ก็เริ่มขึ้น ซึ่งเป็นการขับเคี่ยวที่กินระยะเวลาอันยาวนานและเต็มไปด้วยการลอบกัดครั้งแล้วครั้งเล่า จนกระทั่งนำไปสู่การทำลายป้อมปราการอันสูงตระหง่านและมั่นคงแห่งนี้ลงได้ในที่สุดซึ่งป้อมปราการแห่งนี้ ชาวมุสลิมในโลกอิสลามต่างก็เคยห้อมล้อมและถือว่าเป็นสัญลักษณ์แห่งเอกภาพ พลัง เกียรติยศ และเสรีภาพ
ความมีวิสัยทัศน์อันยาวไกลและแยบยลขององค์กรยิวสากลนั้นได้ปรากฏชัดเจนที่พวกเขาได้เบนเข็มสู่อิสตานะห์ (อิสตันบูล) ซึ่งเป็นศูนย์กลางของระบอบการปกครองแบบค่อลีฟะห์ในเวลานั้น- เพื่อเริ่มลงมือปฏิบัติการลอบกัดและแพร่พิษร้ายสู่หัวใจของโลกอิสลามโดยตรง (อัลอัฟอา อัลยะฮูดียะห์/อับดุลลอฮ์ อัตติลล์ หน้า74-75)
ความสัมพันธ์ของอุษมานียะห์กับชาวยิวเริ่มขึ้นเมื่อจำนวนพลเมืองเชื้อสายยิวในตุรกีมีเพิ่มขึ้นอย่างขนานใหญ่อันเป็นผลมาจากการที่ชาวยิวถูกขับไล่ออกจากสเปน การดังกล่าวอยู่ในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 การต้อนรับขับสู้ชาวยิวอย่างสมเกียรติในดินแดนของจักรวรรดิอุษมานียะห์ตลอดจนการดูแลและคุ้มครองอย่างดีจากชาวตุรกีมุสลิมหาได้มีประโยชน์อันใดไม่ สิ่งที่ผู้คนคิดว่านั้นคือการให้เกียรติและการคุ้มครองแต่ชาวยิวถือว่านั่นเป็นหน้าที่ของชาติพันธุ์อื่นที่ไม่ใช่ชาวยิวต้องปฏิบิตกับชาวยิวอยู่แล้ว เพราะพลโลกทั้งหลายคือผู้รับใช้ของชาวยิวตามคำสมอ้างของพวกเขา
สิ่งที่พลเมืองมุสลิมได้ทุ่มเทในการปฏิบัติกับชาวยิวมิได้เป็นสิ่งที่จะมาหักห้ามชาวยิวจากการอิจฉาริษยาและวางแผนการร้ายต่อความเป็นปกติสุขของพลเมืองได้เลยแม้แต่น้อย การตระเตรียมผนการเพื่อทำลายองคาพยพของรัฐอิสลาม การทำลายล้าง การฉ้อราษฎร์บังหลวง และการอาศัยอิทธิพลของชนชั้นปกครอง ผู้นำเป็นเครื่องมือเพื่อประโยชน์แก่ตนและสร้างความเสื่อมเสียแก่ชื่อเสียงของเหล่าผู้นำและนักคิดทางการเมือง สิ่งเหล่านี้ชาวยิวได้ใช้มันเป็นเครื่องมือเพื่อสั่นคลอนความเชื่อมั่นของพลเมืองที่มีต่อเหล่าผู้นำและนักคิดเป็นเบื้องแรก (อัลอัฟอา อัลยะฮูดียะห์ อ้างแล้ว)
สิ่งนี้คือสภาพทางจิตใจที่ชาวยิวได้แฝงเร้นเอาไว้ (และสิ่งที่หัวใจของพวกเขาอำพรางเอาไว้นั้นยิ่งใหญ่นัก) ยิวย่อมเป็นยิวอยู่วันยังค่ำ ไม่ว่าพวกเขาจะอยู่ในยุคใดและสถานที่ใดก็ตาม พวกเขาจะซ่อนเร้นอำพรางความชั่วร้ายและความชิงชังเอาไว้ในส่วนลึกของจิตใจเสมอต่อเมื่อสบโอกาส พวกเขาก็จะถอดหน้ากากและเผยโฉมหน้าและธาตุแท้ออกมาทั้งในรูปลักษณ์ของสุนัขป่าและจิ้งจอก
ชาวยิวคือกลุ่มชนที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้ทรงประทับความอัปยศอดสูและการหลงทางในพิภพนี้เอาไว้ ดังพระดำรัสที่ว่า (ดังนั้นแผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์ได้เป็นที่ต้องห้ามเหนือพวกเขา พวกเขาจะหลงทางอยู่ในแผ่นดิน (ซีนาย) ถึง 40 ปี ดังนั้น มุฮำหมัดท่านอย่าโศกาอาดูรต่อกลุ่มชนผู้ประพฤติชั่วทั้งหลาย) (บทอัลมาอิดะห์ พระบัญญัติที่ 26)
นับแต่บัดนั้น ชาวยิวก็มิอาจหาความสงบสุขได้เลย ไม่ว่า ณ ผืนแผ่นดินใด ด้วยเหตุนี้พวกเขาจึงได้กระจายอยู่ในทุกส่วนของโลก (หมายถึงพวกเขาไม่มีประเทศหรือรัฐที่แท้จริงสำหรับพวกตน)
ซุลตอน สุลัยมาน ข่าน (อัลกอนูนีย์) ที่ 1 และ พระมเหสีรอกซาน่า
ในรัชสมัยซุลตอน สุลัยมาน ข่าน (อัลกอนูนีย์) ที่ 1 (ค.ศ.1520-1566) (ซุลตอนลำดับที่ 10 แห่งอุษมานียะห์ ชาวเติร์กเรียกพระองค์ว่า อัลกอนูนีย์ หมายถึง ผู้ตรากฎหมาย เพราะในรัชสมัยของพระองค์ได้มีการชำระและตรากฎหมายที่สำคัญๆ ขึ้นเป็นจำนวนมาก รวมถึงสนธิสัญญา “สิทธินอกอาณาเขต” ที่ลงนามกับชนชาติตะวันตก) ชาวยิวในรุสเซียและสเปนต้องเผชิญกับการกดขี่เข่นฆ่า การถูกจับทรมานด้วยการเผาทั้งเป็นโดยศาลตรวจสอบของคริสตจักรที่ถูกตั้งขึ้นเพื่อกวาดล้างคนนอกศาสนาทั้งยิวและอาหรับมุสลิมในเอ็นดาลูเซีย พระมเหสีรอกซาน่า (รุกซ่าลาน) ในซุลตอนสุลัยมาน อัลกอนูนีย์-ซึ่งพระนางมีเชื้อสายรุสเซียและเป็นยิวโดยสายเลือด- สามารถทำให้ซุลตอนทรงเห็นชอบให้ชาวยิวลี้ภัยและเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารในแผ่นดินของอุษมานียะห์ ชาวยิวจึงเริ่มอพยพเข้าสู่ดินแดนของอุษมานียะห์เป็นระลอกๆ อย่างต่อเนื่องจนกระทั่งมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญในจักรวรรดิ
พวกยิวอพยพได้กระจายกันเข้าตั้งหลักแหล่งของพวกตนในดินแดนทุกส่วนของจักรวรรดิและใช้สัญชาติของชาวตะวันตกแทนที่จะแปลงสัญชาติเป็นตุรกี ทั้งนี้เพื่อที่จะได้แสวงหาประโยชน์จากสิทธิพิเศษต่างๆ ที่ชาวตะวันตกและคนในสัญชาตินั้นๆ ได้รับจากราชสำนักอุษมานียะห์ซึ่งเริ่มประกาศใช้เป็นครั้งแรกในรัชสมัยของซุลตอนสุลัยมาน ข่านที่ 1 นั่นเอง พวกยิวที่ถือสัญชาติตะวันตกเหล่านี้ได้สบโอกาสในการสนับสนุนองค์กรลับต่างๆ ในจักรวรรดิอุษมานียะห์ได้รับการผ่อนผันจากการเข้ารับราชการทหารและยังได้สร้างโรงเรียนและสถาบันทางศาสนาของตนเป็นการเฉพาะได้อย่างเสรี อีกทั้งยังได้รับสิทธิพิเศษทั้งหมดอีกด้วย ทั้งๆ ที่พวกยิวได้รับการปฏิบัติอย่างดีเช่นนี้ ชาวเติร์กอุษมานียะห์ก็ยังคงเป็นศัตรูที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในความคิดของพวกเขา ทั้งนี้เป็นเพราะว่าดินแดนปาเลสไตน์ซึ่งชาวยิวอ้างว่าเป็นแผ่นดินแห่งพันธสัญญาของตนตกอยู่ภายใต้การปกครองของชาวเติร์กมุสลิมนั่นเอง
ชาวยิวในปลายยุคจักรวรรดิอุษมานียะห์นั้นไม่มีเคยมีทัศนคติที่ดีต่อซุลตอน อับดุลฮะมีด ข่านที่ 2 (ค.ศ.1842-1918) เลยแม้แต่น้อย ทั้งที่พวกตนมีชีวิตอย่างอุดมสมบูรณ์ในรัชสมัยของพระองค์ ไม่ว่าจะเป็นในดินแดนอาหรับในเบรุตหรือในซะลานีก หรือแม้กระทั่งในดินแดนแห่งคาบสมุทรอนาโตเลีย ประชาคมชาวยิวในดินแดนแห่งนี้มีฐานะดีและประกอบอาชีพเป็นนายหน้าหรือเป็นพ่อค้าคนกลาง ทั้งๆ ที่พวกเขามีชีวิตอย่างสุขสบายและได้รับอภิสิทธิอันมากมายในดินแดนใต้อาณัติของอุษมานียะห์ ทั้งๆ ที่เป็นเยี่ยงนี้ศัตรูถาวรของชาวยิวก็คือ ชาวเติร์ก โดยเฉพาะฝรั่งเศสในรัชสมัยกษัตริย์ฟรังซัวที่ 1 (และในรัชสมัยของซุลตอนพระองค์นี้ (สุลัยมาน ข่าน อัลกอนูนี่ย์)
จักรวรรดิอุษมานียะห์ได้แผ่ขยายดินแดนครอบคลุมคาบสมุทรบอลข่าน ยึดครองนครเบลเกรด, เกาะโรดส์ และปราบปรามฮังการีในสมรภูมิโมฮอกซ์ (1526) และยังได้ทำสงครามติดพันกับอิหร่านในราชวงศ์ซอฟะวียะห์ และยึดครองแบกแดดและนครตับรีซ จักรวรรดิอุษมานียะห์ได้เจริญสุดขีดในรัชสมัยของพระองค์ทั้งในด้านอิทธิพลและแสนยานุภาพทางการทหาร วรรณคดี วิทยาศาสตร์ และศิลปะ ฯลฯ ชาวเติร์กมุสลิมซึ่งมีซุลตอนอับดุลฮะมีด ข่านที่ 2 เป็นพระประมุขในช่วงท้ายของจักรวรรดิและทั้งๆ ที่ค่อลีฟะห์อับดุลฮะมีดท่านนี้มีความตื่นตัว แข็งกร้าวและยืนหยัดต่อสู้อย่างมั่นคงและเด็ดเดี่ยวเบื้องหน้าความโลภโมโทสันของพวกยิวไซออนิสต์สากลและการปฏิเสธของพระองค์ที่จะรับสินบนของพวกยิว
กระนั้นพวกยิวก็สามารถบรรลุเป้าหมายของพวกตนตามแผนการที่วางไว้จนได้ (อย่างน้อยพวกยิวซึ่งเป็นนายทุนและมีสื่อโฆษณาชวนเชื่ออยู่ในมือที่สามารถสร้างรอยด่างพร้อยให้กับเกียรติประวัติของซุลตอนท่านนี้ด้วยการกล่าวหาว่าพระองค์ทรงกระหายเลือด เข่นฆ่าประชาชนโดยเฉพาะชาวอาร์มาเนีย ซึ่งจริงๆ แล้วเป็นพวกกบฏและต้องการแบ่งแยกดินแดนของพวกตนด้วยการยุยงปลุกปั่นของชาวตะวันตก)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น