product :

วันศุกร์ที่ 9 มิถุนายน พ.ศ. 2560

จักรวรรดิอุษมานียะห์ เมื่ออาทิตย์อัสดง : แผนการของชาวยิวในการล้มล้างระบอบการปกครองแบบคิลาฟะห์

จักรวรรดิอุษมานียะห์ เมื่ออาทิตย์อัสดง : แผนการของชาวยิวในการล้มล้างระบอบการปกครองแบบคิลาฟะห์

(อาลี เสือสมิง)


ความพยายามของพวกยิวไซออนิสต์ในการล้มระบอบการปกครองแบบค่อลีฟะห์ และกำจัดสัญลักษณ์แห่งพลังของชาวมุสลิมและเอกภาพของโลกอิสลามนั้นเป็นการเกื้อกูลและสมรู้ร่วมคิดกันระหว่างพวกยิวและพวกครูเสดคริสเตียน

ทั้งพวกยิวและคริสเตียนได้ใช้พลังสนับสนุนเพื่อทำลายล้างระบอบค่อลีฟะห์ ดังนี้
* พวกยิวดูนมะห์ (พวกนอกรีต) ซึ่งเสแสร้งว่ายอมรับในศาสนาอิสลามภายหลังที่พวกเขาลี้ภัยจากสเปนและมารวมตัวกันอยู่ในเมืองซาลานีก พวกยิวดูนมะห์บางส่วนได้เข้ารับอิสลามแต่เพียงเปลือกนอก ภายหลังการปราบปรามจอมลวงโลกเซติบาย ซัยฟีย์ ซึ่งอ้างว่าตนคือศาสดาอีซาผู้ถูกรอคอยเพื่อมาโปรดให้ชาวยิวได้รอดพ้นมาจากการถูกกดขี่ และนำชาวยิวสู่การเป็นเจ้าครองโลกหลังจากคืนกลับสู่แผ่นดินแห่งพันธสัญญา

เมื่อจอมลวงโลกผู้นี้ถูกจับกุมก็แสดงตนว่ายอมรับอิสลามเพื่อเอาตัวรอดจากโทษประหาร พวกยิวที่เป็นสาวกก็แสดงตนเข้ารับอิสลามและใช้นามชื่อแบบอิสลามเป็นอันมาก และสามารถไต่เต้าขึ้นสู่ตำแหน่งหน้าที่สำคัญๆ ในจักรวรรดิอันเป็นความสะดวกในการใช้ตำแหน่งดังกล่าวเพื่อทำลายล้างและปูทางสู่การโค่นล้มระบอบค่อลีฟะห์ ส่วนหนึ่งมาจากยิวดูนมะห์ที่มีบทบาทสำคัญในการณ์นี้คือ มุสตอฟา กามาล และเมดฮัต ปาชา ซึ่งภายหลังดำรงตำแหน่งมหาเสนาบดี (อัซซอดรุ้ลอะอ์ซอม) และเคยเป็นข้าหลวงปกครองมณฑลของอุษมานียะห์หลายมณฑลด้วยกัน เช่น ซีเรีย เป็นต้น เมดฮัต ปาชา ได้อยู่เบื้องหลังแผนการถอดซุลตอนอับดุลอะซีซฺ ออกจากพระราชอำนาจและวางแผนลอบปลงพระชนม์ในช่วง 6 วันให้หลังจากการถูกถอดจากบังลังก์


มุสตอฟา กามาล (ซ้าย) และเมดฮัต ปาชา (ขวา)


เถือกเถาเหล่ากอของเมดฮัตผู้นี้คือ เป็นบุตรชายของนักบวชชาวยิวสัญชาติฮังกาเรียน ซึ่งเป็นที่ทราบกันว่ามีเล่ห์เหลี่ยมแพรวพราว คดในข้องอในกระดูก และเป็นจอมวางอุบายตัวยง บุคคลผู้นี้ต้องการขึ้นสู่ตำแหน่งสูงสุดของฝ่ายพลเรือนในจักรวรรดิเพื่อกลายเป็นชาวยิวที่มีอำนาจมากที่สุดในแผ่นดินรองจากซุลตอนและสามารถบ่มเพาะความวุ่นวายในจักรวรรดิอุษมานียะห์ โดยแสดงออกภายนอกว่ายอมรับศาสนาอิสลามแต่ซ่อนเร้นอำพรางความยึดมั่นต่อศาสนายิว ซึ่งเต็มไปด้วยความชิงชังและเล่ห์เหลี่ยมเอาไว้ภายใน

* พวกครูเสดตะวันตกซึ่งชิงชังต่อศาสนาอิสลามและชาวมุสลิม
หลังจากที่พวกครูเสดได้เห็นถึงการแผ่ขยายดินแดนของอิสลามเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากที่นครคอนสแตนติโนเปิ้ล ได้ตกอยู่ในน้ำมือของซุลตอน มุฮำหมัด อัลฟาติฮ์ และกองทัพอิสลามได้ยาตราประชิดประตูเมืองของกรุงเวียนนา พวกครูเสดซึ่งชิงชังต่ออิสลามได้ลดตัวเพื่อเป็นมนุษย์รับใช้กลุ่มยิวสากลในการทำให้แผนการทำลายล้างที่อสรพิษชาวยิวได้วางไว้สัมฤทธิผล เพื่อสิ่งนี้พวกครูเสดตะวันตกในกลุ่มประเทศต่างๆ อันได้แก่ บัลแกเรีย, ออสเตรีย, ฝรั่งเศส, รุสเซีย, กรีซ และอิตาลี ทั้งหมดได้รวมตัวเป็นพันธมิตรต่อกรกับจักรวรรดิอุษมานียะห์และเบียดบังความสงบร่มเย็น ความมีเสถียรภาพ และการสร้างความเจริญของจักรวรรดิ

การกดดันของพวกครูเสดที่ดำเนินอย่างต่อเนื่องได้นำไปสู่การหดตัวของดินแดนอิสลามในทวีปยุโรป ตลอดจนบั่นทอนแสนยานุภาพและพระราชอำนาจของซุลตอน ซึ่งเคยแผ่ยื่นครอบคลุมนับแต่ตุรกีทางเหนือจรดแคว้นอัฎร่อเมาต์ (เยเมน) ทางตอนใต้ และจากอิหร่านทางตะวันออกจรดเมืองตอนญะห์ (ในมอรอคโค) ทางตะวันตก จักรวรรดิได้สูญเสียแอลจีเรีย (แก่ฝรั่งเศส) ในปีค.ศ.1830 ต่อมาอียิปต์ซึ่งถือเป็นไข่มุกเม็ดงามประดับมงกุฎของซุลตอนในปีค.ศ. 1882 และตูนีเซีย ลิเบีย และมอรอคโค ตามลำดับ

* สื่อมวลชนที่ไร้จรรยาบรรณซึ่งสร้างภาพลักษณ์สถาบันการปกครองในราชธานีของจักรวรรดิอุษมานียะห์จนอัปลักษณ์และน่าสะอิดสะเอียน
การโฆษณาชวนเชื่อของกลุ่มชาวยิวที่มีสื่อสิ่งพิมพ์อยู่ในมือนั้นชำนาญในการบิดเบือนข้อเท็จจริงการเปิดโปงข้อเสียหาย และการลบล้างข้อดีเรียกได้ว่า เป็นมืออาชีพในการสร้างข่าวเท็จ เปลี่ยนข้อเท็จจริงจากขาวเป็นดำ จากดำเป็นขาว สิ่งโฆษณาชวนเชื่อดังกล่าวประสบความสำเร็จทั้งในยุโรปและทั่วโลก โดยถือเป็นเรื่องที่ยอมรับกันทั่วไปว่า ชาวมุสลิมตุรกีเป็นชนชาติป่าเถื่อนและโหดร้าย มีชีวิตอย่างไร้ศีลธรรม และมีความวิปริตทางเพศ

ขณะที่สื่อมวลชนเหล่านี้ตีแผ่ความโหดเหี้ยมของชาวตุรกีจนเกินความจริง พร้อมกันนั้นก็บิดเบือนและเบี่ยงเบนที่จะระบุถึงความป่าเถื่อนของพวกบัลกาเรียน กรีซ ฝรั่งเศส อังกฤษ และรุสเซีย สื่อมวลชนของพวกยิวประสบความสำเร็จในการกระตุ้นสัญชาติญาณแห่งความละโมบของพวกล่าอาณานิคมตะวันตกเพื่อกลืนกินดินแดนส่วนที่อุดมสมบูรณ์จากกองมรดกของคนไข้แห่งยุโรป อันเป็นชื่อที่สื่อมวลชนของยิวขนานนามจักรวรรดิอุษมานียะห์และซุลตอนแห่งตุรกีนับตั้งแต่กลางศตวรรษที่ 19 จนกระทั่งระบอบค่อลีฟะห์ล่มสลาย ขณะเดียวกันสื่อมวลชนซึ่งเป็นกระบอกเสียงของพวกยิวได้สร้างภาพเมดฮัต ปาชา ซึ่งเป็นยิวจอมเจ้าเล่ห์เช่นกันให้กลายเป็นวีรบุรุษคนสำคัญของโลก และขนานนามว่า “บิดาแห่งเสรีชน”

หนังสือพิมพ์และสื่อโฆษณาชวนเชื่อของยุโรปได้ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการประโคมข่าวยกย่อง เมดฮัต ปาชา ให้เป็นผู้นำในการพัฒนาปรับปรุงและเสรีภาพในจักรวรรดิอุษมานียะห์ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงเมดฮัต เป็นชาวยิวที่จ้องล้างผลาญอิสลามและชาวมุสลิม อีกทั้งยังเป็นเครื่องมือทำลายล้างที่อยู่ในกำมือของยิวไซออนิสต์สากลและพวกครูเสดตะวันตก ขณะที่ซุลตอนอับดุลฮะมีดได้ปลดเมดฮัต ปาชา ผู้นี้ออกจากตำแหน่งมหาเสนาบดี และเนรเทศไปยังเมืองตออิฟ สถานทูตต่างๆ ของกลุ่มประเทศตะวันตกในกรุงอิสตันบูลก็พากันคัดค้าน และกล่าวหาว่าซุลตอนใช้อำนาจเผด็จการและเรียกร้องให้พระองค์อภัยโทษแก่เมดฮัต ปาชา

ในช่วงเวลาที่พวกยิวไซออนิสต์และพวกครูเสดได้สร้างความวุ่นวายไปทั่วเขตมณฑลของจักรวรรดิ เมื่อปีค.ศ.1860 และติดตามมาด้วยการสังหารหมู่ระหว่างพวกดรูซ (เป็นกลุ่มลัทธิทางความเชื่อที่เผยแพร่คำสอนโดยอัดดะร่อซีย์และฮัมซะห์ อิบนุ อะลี ลัทธินี้แพร่หลายในซีเรียและเลบานอน ประวัติศาสตร์ของพวกดรูซคาบเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของหุบเขาแห่งเลบานอนนับตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 และในราวปลายศตวรรษที่ 17 มีพวกดรูซบางส่วนอพยพสู่ดินแดนของซีเรีย) กับคริสเตียนในซีเรียและเลบานอน กระบอกเสียงของยิวก็ประสบความสำเร็จในการโยนความรับผิดชอบต่อเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นแก่ชาวตุรกีมุสลิม ทั้งนี้เพื่อเป็นการปูทางสำหรับการที่พวกครูเสดจักได้ใช้สิทธิพิเศษที่พวกตนได้รับในดินแดนของชาติอาหรับและชาวมุสลิมโดยอ้างสิทธิในการพิทักษ์คุ้มครองชาวคริสเตียน

นอกจากนี้สื่อมวลชนที่อยู่ในความควบคุมและการชักนำของชาวยิวยังสามารถสร้างความเจ็บลึกที่ยากจะลืมเลือนในความทรงจำของชาวคริสเตียนยุโรปทั้งหมด โดยพวกโฆษณาชวนเชื่อได้บิดเบือนและเสริมแต่งเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่เกิดขึ้นในระหว่างสงครามบอลข่านเฉพาะอย่างยิ่งสงครามกับชาวบัลแกเรีย พลเมืองคริสเตียนแห่งยุโรปต่างก็เรียกร้องให้มีการยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือชาวคริสเตียนบัลแกเรียที่ยากจนแร้นแค้นและถูกกดขี่ ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วเรื่องราวอันเป็นข้อเท็จจริงกลับบ่งชี้ในทางตรงกันข้ามกับสิ่งที่กระบอกเสียงของชาวยิวได้ประโคมข่าวถึงความโหดร้ายของชาวมุสลิมตุรกี และความอยุติธรรมต่างๆ นานา สุดแล้วแต่จะป้ายสี เพราะชาวคริสเตียนบัลแกเรียที่อยู่ภายใต้การปกครองของอุษมานียะห์ล้วนแล้วแต่มีเสรีภาพและความเสมอภาพทั้งในด้านการศาสนาและการเมือง

กระนั้นชาวคริสเตียนบัลแกเรียก็เป็นฝ่ายเริ่มทำตัวเป็นภัยคุกคามต่อเสถียรภาพของอุษมานี-ยะห์ก่อนอยู่เสมอ พวกเขาได้ประกาศอย่างชัดเจนถึงความชิงชังที่ถูกฝังลึกต่ออิสลาม โดยใช้กำลังและความรุนแรงกระทำการย่ำยีต่อชาวมุสลิม สังหารและเข่นฆ่าสตรีและเด็กๆ ผู้บริสุทธิ์ ทุกครั้งที่พวกเขาสบโอกาสและมีลู่ทางที่จะกระทำการเช่นนั้น ทุกวันนี้เราจะเห็นว่าโฆษณาชวนเชื่อที่มีพวกยิวไซออนิสต์กุมบังเหียนอยู่เบื้องหลังสงบปากสงบคำและนิ่งเงียบเพียงไร โดยไม่มีการประโคมข่าวตีแผ่สิ่งที่พวกสังคมนิยมคอมมิวนิสต์ได้กระทำต่อชาวบัลแกเรียทั้งดาบและปืน พวกเขาไม่เคยตีแผ่เรื่องนี้ต่อการรับรู้ของชาวโลกอย่างที่เคยกระทำเมื่อครั้งที่อุษมานียะห์ยังคงดำรงอยู่ นั่นย่อมเป็นสิ่งที่ยืนยันได้ว่าพวกยิวและครูเสดต่างก็มองอิสลามว่าเป็นภัยคุกคามต่อพวกตนยิ่งกว่าภัยของพวกคอมมิวนิสต์

* กลุ่มองค์กรลับ โดยเฉพาะกลุ่มมาโซนีย์

ซึ่งเกณฑ์สรรพกำลังของตนเพื่อรับใช้พวกยิวและทำลายล้างระบอบการปกครองแบบค่อลีฟะห์ พวกยิวได้ใช้สโมสรขององค์กรมาโซนีย์ในฝรั่งเศสและอิตาลีเพื่อเผยแพร่คำโฆษณาชวนเชื่ออันเป็นเท็จ โดยมีเป้าหมายต่อต้านบรรดาค่อลีฟะห์แห่งอุษมานียะห์ โดยเฉพาะอับดุลฮะมีดที่ 2 ซึ่งพระองค์ทรงเป็นศัตรูต่อพวกมาโซนีย์อย่างชัดเจน กระบอกสียงโฆษณาชวนเชื่อของกลุ่มมาโซนีย์ไม่เคยละทิ้งที่จะป้ายความผิดพลาดใดๆ ในการบริหารราชการแผ่นดินให้กับซุลตอนอับดุลฮะมีดที่ 2 จนในที่สุดพระองค์ได้กลายเป็นสัญลักษณ์ของความอธรรม และการใช้อำนาจเผด็จการตลอดจนการทารุณกรรม กลุ่มชาวยิวดูนมะห์ประสบความสำเร็จในการก่อตั้งสมาคมยุวชนตุรกี (ยังเติร์ก) ด้วยการสนับสนุนจากกลุ่มสโมสรมาโซนีย์ ซึ่งสมาคมดังกล่าวมีเมดฮัต ปาชา เป็นผู้ริเริ่มก่อตั้ง

และจากสมาคมยุวชนตุรกีได้แตกสาขาออกเป็นพรรคหรือสมาคมที่ใช้ชื่อว่า “พรรคเอกภาพและการวิวัฒน์” โดยใช้คำขวัญของพรรคว่า “เสรีภาพ ความเป็นพี่น้อง และภราดรภาพ” ซึ่งเป็นคำขวัญที่ถ่ายทอดเลียนแบบมาจากกรุงปารีส ในช่วงการปฏิวัติฝรั่งเศสอันมีกลุ่มมาโซนีย์คอยชักใยอยู่เบื้องหลังเช่นกัน กลุ่มองค์กรเครือข่ายของพรรคเอกภาพและการวิวัฒน์ได้ก่อตั้งขึ้นตามอย่างสมาคมคาร์บูนารีของอิตาลี ซึ่งเป็นองค์กรอาชญากรรมที่พวกมาโซนีย์ได้ตั้งขึ้นราวต้นคริสต์ศตวรรษที่ 19 ผู้นำของพรรคเอกภาพและการวิวัฒน์คือ อิบรอฮีม ตีมู ซึ่งเป็นยิวสัญชาติแอลบาเนีย ได้เคยศึกษาการทำงานขององค์กรอาชญากรรมจากสโมสรของมาโซนีย์ในอิตาลี ภายหลังเขาก็ริเริ่มในการก่อตั้งสมาคมขึ้นเพื่อกลายเป็นเครื่องมือของยิวในการก่อการรัฐประหารโค่นล้มซุลตอนอับดุลฮะมีดที่ 2 (ค.ศ.1908) และถ่ายโอนอำนาจสู่เงื้อมมือของพวกยิวดูนมะห์และสมุนรับใช้จากชาวมุสลิมตุรกีที่แปรพักตร์


ยังเติร์กรุ่นแรกๆ


การดำเนินกิจกรรมของสมาคมเอกภาพและการวิวัฒน์มีศูนย์กลางอยู่ในเมืองซาลานีก อันเป็นที่ตั้งของกลุ่มสโมสรมาโซนีย์ซึ่งมียิวดูนมะห์ และยิวกลุ่มอื่นที่ยังคงถือในศาสนายิวเป็นผู้บริหารความเกี่ยวข้องของพวกมาโซนีย์ต่อการก่อรัฐประหารเพื่อขับซุลตอนอับดุลฮะมีดออกจากพระราชอำนาจเป็นสิ่งชัดเจน ซ้ำร้ายพวกนี้ยังภาคภูมิใจต่อบทบาทในการก่ออาชญากรรมที่พวกตนได้กระทำอีกด้วย

นักปรัชญา ชารีฟ ซึ่งนิยมในลัทธิมาโซนีย์ได้กล่าวในที่ประชุมซึ่งจัดขึ้นสำหรับสมาชิกมาโซนีย์ว่า
พวกท่านจงมองดูพี่น้องมาโซนีย์แห่งซาโลนีกของพวกท่าน พวกเขาได้ดำเนินการเคลื่อนไหวเพื่อเรียกร้องรัฐธรรมนูญซึ่งได้พลิกโฉมหน้าการปกครองของอุษมานียะห์ (ออตโตมาน) ในช่วงปลายรัชสมัยของซุลตอนอับดุลฮะมีด โดยไม่มีการสูญเสียเลือดเนื้อแม้เพียงหยดเดียว แน่นอนพลเมืองผู้นิยมในแนวทางของมาโซนีย์เช่นนี้พวกมาโซนีย์ต้องภูมิใจและให้ความสำคัญต่อภารกิจที่คิดไม่ซื่อเช่นนี้เป็นธรรมดา

ส่วนหนึ่งจากกลุ่มสมาคมลับซึ่งพวกยิวได้ตั้งขึ้นในตุรกีนั้น ได้แก่ กลุ่มอัลบักตาซีย์ (มีบักตาช, ซูฟีย์ ชาวตุรกีที่อาศัยอยู่ในเมืองอามาซียะห์ในราวคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นหัวหน้ากลุ่ม) ซึ่งดูผิวเผินภายนอกเป็นกลุ่มตอรีเกาะห์ สายซูฟีย์หนึ่งที่นิยมในตุรกี แต่จริงๆ แล้วเป็นกลุ่มลัทธิบาฏินียะห์ (พวกชีอะห์ลัทธิหนึ่ง) กลุ่มอัลบักตาชีย์ได้ดำเนินแผนการที่ยิวไซออนิสต์ และมาโซนีย์วางเอาไว้เพื่อทำลายอิสลาม มีความสัมพันธ์อันแนบแน่นกับพวกมาโซนีย์ในฝรั่งเศส และสอดใส่ความคิดของพวกมาโซนีย์ที่บิดเบือนเข้าไว้ในคำสอน ตลอดจนปลุกปั่นพวกอาชญากรนอกศาสนาให้ชิงชังต่อรัฐอิสลาม กลุ่มสมาคมลับอัลบักตาชีย์มีผลอย่างใหญ่หลวงในการสั่นคลอนบัลลังค์ของซุลตอนอับดุลฮะมีดที่ 2 และสร้างความเหน็ดเหนื่อยแก่พระองค์เป็นอันมาก ขณะที่พวกนี้พยายามเข้ายึดอำนาจในแอลบาเนีย

* การเรียกร้องสู่ลัทธิชาตินิยมอาหรับก็มีส่วนเช่นกันในการทำให้ความมุ่งหวังของชาวยิวเกิดขึ้นเป็นจริงเฉพาะอย่างยิ่งการล้มล้างระบอบการปกครองแบบค่อลีฟะห์ พวกยิวได้ใช้นักคิดชาวอาหรับซึ่งส่วนมากจะเป็นชาวอาหรับคริสเตียนที่มองไม่เห็นคุณค่าอันใดในระบอบค่อลีฟะห์ นอกจากความเสื่อมและการอธรรม กลุ่มนักคิดเหล่านี้จึงพยายามตีแผ่เรื่องเสื่อมทั้งหลายแหล่ในวงกว้างและเรียกร้องสู่ลัทธิชาตินิยมอาหรับด้วยรูปแบบวิธีการที่ก่อให้เกิดข้อกังขาในตัวผู้เรียกร้องเหล่านี้

ซึ่งเรียกร้องให้ปลดแอกชาติอาหรับและแยกเอกราชจากค่อลีฟะห์อันเป็นการเลียนแบบหรือเอาอย่างกลุ่มลัทธิชาตินิยมซึ่งกำลังครอบงำยุโรปในศตวรรษที่ 19 นักประวัติศาสตร์ชาวอาหรับ คริสเตียนเองต่างก็ยอมรับว่าบรรดาแกนนำรุ่นแรกที่ขับเคลื่อนลัทธิชาตินิยมอาหรับล้วนแล้วแต่เป็นชาวคริสต์ และมีการร่วมมือกับองค์กรมาโซเนียของยุโรป และสาขาองค์กรตลอดจนสโมสรต่างๆ ในตะวันออกกลาง และขบวนการชาตินิยมเช่นนี้มีอิทธิพลอย่างชัดเจนในกลุ่มประเทศอาหรับซึ่งได้รับผลกระทบจากการปกครองที่แหลกเหลวของอุษมานียะห์ และโอดครวญต่ออำนาจส่วนกลางที่ทำให้วงล้อของการปกครองหยุดชะงักและเป็นอัมพาต

ขบวนการชาตินิยมได้กระตุ้นและปลุกเร้าความรู้สึกของชาวอาหรับเป็นจำนวนมาก ทำให้ชาวอาหรับหันมาสนับสนุนขบวนการชาตินิยมดังกล่าว ซึ่งบางส่วนก็มีเจตนาดีในขณะที่บางส่วนของผู้ให้การสนับสนุนกลับมีจุดประสงค์ในการโจมตีศาสนาอิสลามโดยตรง บรรดานักวรรณกรรมชาวคริสเตียนได้มีส่วนในการเผยแพร่ความคิดแบบชาตินิยมโดยวิพากษ์วิจารณ์การปกครองของตุรกีอย่างรุนแรงและแซ่สร้องถึงความรุ่งโรจน์ของชาวอาหรับ ดังนักกวีอิบรอฮีม อัลยาซญีย์ ที่กล่าวว่า :


          ตื่นเถิด จงฟื้นจากความหลับใหล โอ้ชาวอาหรับ
          แน่แท้ น้ำป่าอันเชี่ยวกรากได้ท่วมท้นถึงแคร่นั่งแล้ว
          เท่าไหร่แล้ว ที่พวกท่านถูกท่านทำให้โกรธ โดยที่พวกท่านไม่แสดงความโกรธให้ประจักษ์
          เกียรติภูมิของพวกท่านช่างต่ำต้อยไร้ค่าในสายตาพวกเติร์ก
          สิทธิของพวกท่านถูกฉกชิงต่อหน้าพวกเติร์ก
          จงโอดครวญ และลุกขึ้นสู้เพื่อการณ์นั้น
         และจงเร่งรุดฉกฉวยโอกาสจากห้วงเวลาที่ทุกข์ระทมนั้น



อย่างไรก็ตาม การเรียกร้องสู่ลัทธิชาตินิยมเช่นนี้ก็มิอาจมีอิทธิพลเหนือความนึกคิดของเหล่าผู้นำอาหรับและชาวมุสลิมโดยส่วนใหญ่ เพราะพวกเขาทราบดีถึงการบงการอยู่เบื้องหลังของพวกยิวมาโซนีย์ซึ่งดำเนินการเคลื่อนไหวอย่างลับๆ และพวกยิวมาโซนีย์กลุ่มเดียวกันนี้ก็คือ ผู้บงการอยู่เบื้องหลังการเรียกร้องสู่ “ชาตินิยมตูรอเนียน” อันเป็นชนชาติเดิมของชาวเติร์กเพื่อสร้างปฏิกิริยาตอบโต้จากชาวอาหรับซึ่งจะใช้เป็นข้ออ้างในการเรียกร้องสู่ “ชาตินิยมอาหรับ” เช่นกัน

ส่วนหนึ่งจากบรรดาผู้นำทางการเมือง นักเขียน และนักกวีที่ตระหนักถึงภัยของการเรียกร้องสู่ลัทธิชาตินิยม ตลอดจนอันตรายอันใหญ่หลวงที่อยู่เบื้องหลังลัทธิดังกล่าว ได้แก่ มุสตอฟา กามิล ปาชา (1874-1908) นักหนังสือพิมพ์ชาวอียิปต์และบรรณธิการก่อตั้งหนังสือพิมพ์อัลลิวาอ์) และพรรคการเมืองในปีค.ศ. 1908 ญ่ามาลุดดีน อัลอัฟฆอนีย์ นักปฏิรูปผู้ยิ่งใหญ่ของโลกอิสลาม (1838-1897) และสานุศิษย์ของท่านคือ ชัยค์ มุฮำหมัด อับดุฮ์ (1849-1905) ตลอดจน นักกวี อะห์หมัด เชากีย์ (1868-1932)

ข้อสังเกตที่จำเป็นต้องแยกแยะในกรณีนี้คือ ความแตกต่างอย่างลิบลับระหว่างความคิดของกลุ่มผู้เรียกร้องสู่ลัทธิชาตินิยม ที่จำต้องสถาปนาขึ้นบนความล่มสลายของระบอบค่อลีฟะห์ กับความคิดของกลุ่มชนที่เรียกร้องที่ให้ชาวอาหรับได้รับสิทธิอันชอบธรรมในการปกครองตนเองภายในระบอบค่อลีฟะห์ที่ยังคงแผ่ร่มเงาอยู่ในขณะนั้น ภาพของความแตกต่างเช่นนี้จะปรากฏอย่างชัดเจน เมื่อเราได้อ่านบทกวีของเหล่านักกวีที่นิยมในลัทธิชาตินิยมแต่งขึ้นเพื่อปรามาสและสบถต่อความปราชัยของตุรกีที่พ่ายแพ้ให้แก่กองทัพคริสเตียนแห่งรุสเซีย

ดังกรณีของนักกวีริซกุลลอฮ์ ฮัซซูน ซึ่งถ่ายทอดความลิงโลดใจของตนต่อความย่อยยับของตุรกีเป็นบทกวีว่า :

กี่ครั้งมาแล้ว ที่การศึกกับรุสเซียได้บดขยี้ชนเติร์กดั่งโม่หิน และแล้วโม่หินนั้นก็บดขับ เติร์กจนแหลกสิ้นเช่นนี้ เช่นนี้แล ที่รัตติกาลได้หมุนเวียนผลัดเปลี่ยนกาลเหนือเหล่าทรราชย์และพวกทรยศก็มอดม้วยพนาสูร

ในขณะที่เราได้อ่านบทกวีของอีกฝ่ายหนึ่งเราก็จะพบถึงความภาคภูมิใจของนักกวี อะห์หมัด เชากีย์ ที่กล่าวยกย่องวีรกรรมของชาวตุรกีที่ได้รับชัยชนะเหนือกรีซ ดังช่วงหนึ่งของกาพย์โคลงที่มีใจความว่า :

สัจธรรมสูงล้ำด้วยดาบท่านและสัจธรรมย่อมมีชัยเสมอและศาสนาของพระผู้เป็นเจ้าได้เฉลิมชัยยามดาบท่านได้ฟาดฟัน ครานั้นศีรษะทั้งหลายต่างสูงส่งเทียมดาราด้วยชัยชนะของพวกท่านและพวกเราย่อมมุ่งมั่นสู่สิ่งควรด้วยคำตัดสินของเหตุการณ์ ผู้นั้นหาได้อ้างถึงสิ่งใดนอกจากความภาคภูมิใจในเกียรตินั้น

เป็นความจริงที่ว่า นครอัสตานะห์ (อิสตันบูล) ราชธานีแห่งระบอบค่อลีฟะห์ คือเป้าหมายอันดับแรก ทั้งนี้เป็นเพราะระบอบค่อลีฟะห์คือปิศาจที่น่าสะพรึงกลัวซึ่งคอยหลอกหลอนพวกยิวอยู่เสมอ และด้วยความน่าเกรงขามตลอดจนแสนยานุภาพของระบอบค่อลีฟะห์แห่งตุรกีนี่เองได้สั่นคลอนบัลลังก์ของชาวยุโรป อีกทั้งยังเป็นระบอบที่นำพาธงชัยแห่งอิสลามให้โบกสะบัดด้วยความมุ่งมั่นในภารกิจและการปกป้องดินแดนอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งหลายซึ่งรวมเป็นหนึ่งเดียวโดยไม่มีพรมแดนและปราการขวางกั้นภายใต้ระบอบการปกครองที่มีศูนย์อำนาจตลอดช่วงระยะเวลา 500 ปี และเพื่อการทำลายระบอบค่อลีฟะห์พวกยิวจึงได้เสกสรรค์ความคิดชาตินิยมตุรกี (ตูรอเนี่ยน) ขึ้นเป็นอันดับแรก และตามด้วยลัทธิชาตินิยมอาหรับเพื่อล้มล้างระบอบค่อลีฟะห์

พวกยิวได้สร้างลัทธิชาตินิยมขึ้นเพื่อทดแทน “เอกภาพแห่งอิสลาม” อันเป็นพลังที่เคยรวมเผ่าพันธุ์ทุกสีผิว ไม่ว่าขาวหรือดำ อินเดีย, เปอร์เซียน, อัฟกัน, อิรัก, คอเคเซียน, เติร์ก, เบอร์เบอร์, อียิปต์, ซูดาน, จีน, เคิร์ด, นัจญ์ดี่, เยเมน, ซีเรีย, อัลบาเนีย สลาฟและบอสเนียน ฯลฯ รวมทั้งหมดให้เป็นหนึ่งเดียวภายใต้ระบอบอิสลามที่มีค่อลีฟะห์เป็นศูนย์รวมอำนาจทั้งในหลักรัฐศาสตร์และจิตวิญญาณ เมื่อยิวได้สร้างลัทธิชาตินิยมขึ้น ความแตกแยก ตลอดจนสายสัมพันธ์ที่เคยเชื่อมเผ่าพันธุ์ทั้งหมดให้เป็นหนึ่งเดียวเกิดขึ้นตามมาอย่างหลีกเลี่ยงมิได้ แต่ละชนชาติต่างก็เรียกร้องให้ฟื้นฟู ชาติภูมิเดิมของตนและปรารถนาเอกราชในการปกครองตนเอง บรรดาสถานทูตของชาติตะวันตกซึ่งเป็นที่พบปะของเหล่าผู้ป่าวร้องลัทธิชาตินิยมก็คอยให้คำชี้แนะและหยิบยื่นความช่วยเหลือต่างๆ นานา โดยมีจุดประสงค์ให้การเรียกร้องสู่ลัทธิชาตินิยมดำเนินไปอย่างเป็นรูปธรรม (อัลอัฟอา อัลยะฮูดียะห์ หน้า 74-82)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความแนะนำ

World Clock

Featured Posts

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม โดย : Cem Nizamoglu และ Sairah Yassir-Deane ย้อนหลังไปถึงมีนาคม 2015 ข่าวเกี่ยวก...