จักรวรรดิอุษมานียะห์ เมื่ออาทิตย์อัสดง : แผนการทางเศรษฐกิจ
(อาลี เสือสมิง)เหล่าศัตรูผู้มุ่งร้ายหมายขวัญไม่เคยละยุทธวิธีอันใดนอกจากพวกเขาได้ใช้ยุทธวิธีนั้นเพื่อต่อต้านอิสลาม โดยพยายามที่จะเอาชนะและยึดครองอิสลามให้จงได้ ส่วนหนึ่งจากประดายุทธวิธีเหล่านี้ คือสงครามทางเศรษฐกิจ (ซึ่งถูกเรียกในภาษาร่วมสมัยว่า สงครามเย็น) ในยุคต้นของอิสลามบรรดาศัตรูได้ใช้ยุทธวิธีแบบเดียวกันนี้เล่นงานชาวมุสลิมมาก่อนแล้วโดยพยายามทำให้ชาวมุสลิมตกอยู่ในสภาพของผู้อดอยากเพื่อที่ว่าเมื่อมุสลิมถูกความหิวโหยกัดกินจนสุดทนแล้ว พวกเขาก็จักละทิ้งอิสลามและตีตนออกห่างจากแนวทางของท่านศาสนทูต ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม (อัลฮะรอกะห์ อัลฟิกรียะห์ หน้า 13 ดร.บาร่อกาต ดุวัยดาร)
คัมภีร์อัลกุรอ่านได้เปิดโปงแผนการของศัตรูอิสลาม โดยพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ได้ทรงแฉคำพูดของพวกเขาว่า พวกเขาคือบรรดาผู้ที่กล่าวว่า พวกท่านจงอย่าได้จ่ายปัจจัยให้แก่บุคคลที่อยู่ ณ ศาสนทูตของพระผู้เป็นเจ้า เพื่อที่พวกนั้นจักได้ตีตนออกห่าง และสิทธิสำหรับองค์พระผู้เป็นเจ้านั้นคือ คลังแห่งฟากฟ้าและผืนแผ่นดิน แต่ทว่า เหล่าชนผู้สับปลับหาได้มีความเข้าใจไม่
เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับชาวมุสลิมในช่องเขาของอบูตอลิบนั้นทุกคนที่เคยอ่านตำราทางประวัติศาสตร์ย่อมทราบเป็นอย่างดี พวกนั้นคือบรรพบุรุษที่ได้กระทำสิ่งนั้นกับชาวมุสลิมในยุคแรก และลูกหลานของพวกเขาก็มาเพื่อทำให้ประวัติศาสตร์ซ้ำรอยอีกคำรบหนึ่ง
ชาวยุโรปได้มองดูชาวมุสลิมและพบว่าชาวมุสลิมนั้นครอบครองดินแดนอันกว้างใหญ่ไพศาลในตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ที่อยู่ตรงกลางระหว่างตะวันออกและตะวันตก ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้ชาวมุสลิมมีความมั่งคั่งอันเป็นผลมาจากการพาณิชย์ทั้งทางบกและทางทะเลควบคู่กัน และมุสลิมยังได้แผ่อิทธิพลเหนือเส้นทางคมนาคมในการค้าขายที่คราครั่งและจอแจไปด้วยเหล่าพ่อค้ามากที่สุดอีกด้วย ดังนั้นกลุ่มประเทศยุโรปจึงต้องขัดขวางอิสลามจากความมั่งคั่งดังกล่าว ตลอดจนการสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจต่อโลกอิสลามด้วยการค้นหาเส้นทางสายใหม่ที่มิใช่เส้นทางเดิมที่เคยนิยมกันซึ่งมุสลิมครอบครองอยู่
ด้วยวิธีการเช่นนี้ โลกตะวันตกก็สามารถเชื่อมต่อกับโลกซีกตะวันออกโดยตรง อันเป็นผลทำให้ชาวมุสลิมต้องสูญเสียรายได้อันมหาศาลที่เคยเก็บเกี่ยวได้จากการค้าขาย ดินแดนของชาวมุสลิมจึงถูกโดดเดี่ยวจากโลกภายนอกในที่สุด สำหรับกรณีนี้เราจะเห็นว่ากลุ่มประเทศยุโรปต่างๆ ได้เร่งฝีเท้าของตนในการค้นพบเส้นทางอ้อมแหลมกู๊ดโฮปทางตอนใต้สุดของทวีปแอฟริกาและจากเส้นทางที่ถูกค้นพบนี้ ชาวตะวันตกก็สามารถเดินทางสู่ตะวันออกโดยตรง ถึงแม้จะใช้เวลาในการเดินเรือเนิ่นนานก็ตามที เพราะนั่นไม่สลักสำคัญอะไร สำหรับเป้าหมายที่ถูกกำหนดวางไว้อันเป็นเป้าหมายสูงสุดของชาติตะวันตก นั่นคือ การสร้างความอ่อนแอต่อฐานเศรษฐกิจของโลกอิสลามโดยรวม และแปรเปลี่ยนการค้าของโลกจากการผ่านดินแดนของชาวมุสลิมซึ่งสูญเสียผลกำไรอันมหาศาลจากการค้าขายในเวลาต่อมาอย่างหลีกเลี่ยงมิได้
นอกจากนี้ราคาของสินค้าที่เป็นความต้องการในท้องตลาดได้พุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่มีฐานการผลิตในซีกโลกตะวันออก ผลที่ตามมาคือการชะลอตัวของเศรษฐกิจขนานใหญ่ ทำให้ดินแดนต่างๆ ที่เคยเป็นชุมทางของการพาณิชย์โลกต่างก็ซบเซา วิถีชีวิตของพลเมืองต้องได้รับผลกระทบ ความตื่นตัวทางสังคมเมืองหยุดชะงัก และการอุตสาหกรรมซึ่งขาดตลาดในต่างประเทศรองรับได้เกิดความล้าหลัง (อัลอาลัม อัลอิสลามียะห์/มะห์มูด ซากิร หน้า 62-63)
ยุโรปมิได้เพียงพออยู่ ณ จุดนี้ หากแต่ยังได้เพิ่มการบีบคั้นต่อเศรษฐกิจของโลกอิสลาม โดยอาศัยวิธีการจัดตั้งบริษัทการค้าของตน อันเป็นวิธีการที่มีพื้นฐานจากการรวมตัวของบริษัทในเชิงธุรกิจที่มีแผนการล่าอาณานิคม เช่น การซื้อที่ดินจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมและนำมาแจกจ่ายแก่บรรดาพลเมืองที่อยู่ใต้อาณัติ มีการจัดเก็บภาษี การยึดครองแหล่งการส่งออกของสินค้า และดูแลสาธารณูปโภคทั่วไปและภายใต้ร่มเงาของระบอบเช่นนี้ กลุ่มประเทศล่าอาณานิคมได้ปล่อยให้บริษัทต่างๆ ของตนประกอบกรรมทำชั่วได้อย่างเสรีและกระทำการอย่างโหดร้ายต่อชนพื้นเมือง
เมื่อบริษัทได้บรรลุภารกิจตามเป้าหมาย ประเทศยุโรปซึ่งเป็นนายเหนือหัวของบริษัทเหล่านี้ก็จะประกาศยกเลิกกิจการของบริษัทและรัฐบาลก็จะเข้ามาควบคุมการบริหารงานของบริษัท อันหมายถึงเข้าปกครองดินแดนนั้นๆ หลังจากที่บริษัทนั้นได้รับการตอบแทนผลกำไรอย่างสมน้ำสมเนื้อ เช่นนี้เองที่กลุ่มประเทศล่าอาณานิคมได้มาในรูปของผู้ปลดปล่อยพลเมืองตะวันออกจากบาปที่บริษัทของตนได้เคยกระทำเอาไว้ ซึ่งจริงๆ แล้วก็เป็นบริษัทที่ประเทศนั้นๆ ได้อนุญาตให้ตั้งขึ้นและทุ่มเทความช่วยเหลือและการชี้แนะอย่างเต็มที่
ส่วนหนึ่งจากตัวอย่างของบริษัทดังกล่าวได้แก่
บริษัทอีสท์อินเดีย, บริษัทฝรั่งเศส, บริษัทฮอนแลนด์(วิลันดา) บริษัทแอฟริกาตะวันออก ของเยอรมัน บริษัทโรบาติโน่ ของอิตาลี เป็นต้น
ดังนั้นบทบาทของการล่าอาณานิคมที่ส่งผลให้จักรวรรดิอุษมานียะห์ต้องล่มสลายจึงไม่เคยสัมฤทธิ์ผลด้วยการอาศัยกองกำลังทหารติดอาวุธที่อยู่ใต้อาณัติเพียงฝ่ายเดียว หากแต่ยังได้บรรลุภารกิจตามเป้าหมายด้วยน้ำมือของกลุ่มองค์กรต่างๆ จากเอกชนในรูปแบบของบริษัททางการค้าที่แผ่อิทธิพลทางเศรษฐกิจในเบื้องแรก และการเมืองในขั้นต่อมาภายหลังก็หลีกทางให้กับการทำสงครามเต็มรูปแบบอีกด้วย (อัดเดาละห์ อัลอุษมานียะห์ เดาละตุน มุฟตะรออะลัยฮา เล่มที่ 2/163)
นอกจากนี้ราคาของสินค้าที่เป็นความต้องการในท้องตลาดได้พุ่งสูงขึ้น โดยเฉพาะสินค้าที่มีฐานการผลิตในซีกโลกตะวันออก ผลที่ตามมาคือการชะลอตัวของเศรษฐกิจขนานใหญ่ ทำให้ดินแดนต่างๆ ที่เคยเป็นชุมทางของการพาณิชย์โลกต่างก็ซบเซา วิถีชีวิตของพลเมืองต้องได้รับผลกระทบ ความตื่นตัวทางสังคมเมืองหยุดชะงัก และการอุตสาหกรรมซึ่งขาดตลาดในต่างประเทศรองรับได้เกิดความล้าหลัง (อัลอาลัม อัลอิสลามียะห์/มะห์มูด ซากิร หน้า 62-63)
ยุโรปมิได้เพียงพออยู่ ณ จุดนี้ หากแต่ยังได้เพิ่มการบีบคั้นต่อเศรษฐกิจของโลกอิสลาม โดยอาศัยวิธีการจัดตั้งบริษัทการค้าของตน อันเป็นวิธีการที่มีพื้นฐานจากการรวมตัวของบริษัทในเชิงธุรกิจที่มีแผนการล่าอาณานิคม เช่น การซื้อที่ดินจากเจ้าของกรรมสิทธิ์เดิมและนำมาแจกจ่ายแก่บรรดาพลเมืองที่อยู่ใต้อาณัติ มีการจัดเก็บภาษี การยึดครองแหล่งการส่งออกของสินค้า และดูแลสาธารณูปโภคทั่วไปและภายใต้ร่มเงาของระบอบเช่นนี้ กลุ่มประเทศล่าอาณานิคมได้ปล่อยให้บริษัทต่างๆ ของตนประกอบกรรมทำชั่วได้อย่างเสรีและกระทำการอย่างโหดร้ายต่อชนพื้นเมือง
เมื่อบริษัทได้บรรลุภารกิจตามเป้าหมาย ประเทศยุโรปซึ่งเป็นนายเหนือหัวของบริษัทเหล่านี้ก็จะประกาศยกเลิกกิจการของบริษัทและรัฐบาลก็จะเข้ามาควบคุมการบริหารงานของบริษัท อันหมายถึงเข้าปกครองดินแดนนั้นๆ หลังจากที่บริษัทนั้นได้รับการตอบแทนผลกำไรอย่างสมน้ำสมเนื้อ เช่นนี้เองที่กลุ่มประเทศล่าอาณานิคมได้มาในรูปของผู้ปลดปล่อยพลเมืองตะวันออกจากบาปที่บริษัทของตนได้เคยกระทำเอาไว้ ซึ่งจริงๆ แล้วก็เป็นบริษัทที่ประเทศนั้นๆ ได้อนุญาตให้ตั้งขึ้นและทุ่มเทความช่วยเหลือและการชี้แนะอย่างเต็มที่
ส่วนหนึ่งจากตัวอย่างของบริษัทดังกล่าวได้แก่
บริษัทอีสท์อินเดีย, บริษัทฝรั่งเศส, บริษัทฮอนแลนด์(วิลันดา) บริษัทแอฟริกาตะวันออก ของเยอรมัน บริษัทโรบาติโน่ ของอิตาลี เป็นต้น
ดังนั้นบทบาทของการล่าอาณานิคมที่ส่งผลให้จักรวรรดิอุษมานียะห์ต้องล่มสลายจึงไม่เคยสัมฤทธิ์ผลด้วยการอาศัยกองกำลังทหารติดอาวุธที่อยู่ใต้อาณัติเพียงฝ่ายเดียว หากแต่ยังได้บรรลุภารกิจตามเป้าหมายด้วยน้ำมือของกลุ่มองค์กรต่างๆ จากเอกชนในรูปแบบของบริษัททางการค้าที่แผ่อิทธิพลทางเศรษฐกิจในเบื้องแรก และการเมืองในขั้นต่อมาภายหลังก็หลีกทางให้กับการทำสงครามเต็มรูปแบบอีกด้วย (อัดเดาละห์ อัลอุษมานียะห์ เดาละตุน มุฟตะรออะลัยฮา เล่มที่ 2/163)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น