จักรวรรดิอุษมานียะห์ เมื่ออาทิตย์อัสดง : บทบาทของกะมาล อาตาเติร์ก ในการล้มล้างระบอบการปกครองแบบคิลาฟะห์แห่งจักรวรรดิอุษมานียะห์
(อาลี เสือสมิง)มุสตอฟา กะมาล อาตาเติร์ก บุคคลผู้นี้คือม้าตัวที่สอง (ม้าตัวที่หนึ่งก็คือ ชะรีฟ ฮุซัยน์ อิบนุ อะลี เจ้าครองนครมักกะห์ ซึ่งเราได้กล่าวมาก่อนหน้านี้แล้ว) ในกระดานหมากรุก (หากจะเปรียบ) ซึ่งพวกครูเสดนิยมภายใต้การนำของอังกฤษสามารถเดินหมากเพื่อรุกฆาตนั่นคือการยกเลิกระบอบการปกครองแบบคิลาฟะห์ของอิสลามซึ่งเป็นสิ่งที่พวกครูเสดนิยมได้แต่ฝันถึงตลอดช่วงเวลาหลายศตวรรษ
บทบาทซึ่ง มุสตอฟา กะมาล ได้แสดงเอาไว้ถือเป็นโศกนาฏกรรมซึ่งประวัติศาสตร์ได้ตราตรึงความด่างพร้อยของเขาไว้ในฐานะผู้ยกเลิกระบอบคิลาฟะห์อิสลาม เราสามารถแบ่งเป็นช่วงๆ ได้ดังนี้
ที่ต้องเกริ่นเช่นนี้ ก็เพื่อที่เราจะได้ประจักษ์ถึงกรณีที่ว่า ปัจจัยส่งผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ในช่วงชีวิตเยาว์วัยได้สำแดงบทบาทของมันอย่างไรในบุคลิกภาพของ มุสตอฟา กะมาล ผู้นี้
การถือกำเนิดและชีวิตเยาว์วัย
มุสตอฟา กะมาล ถือกำเนิดในเมืองซ่าลานีก เมื่อปีค.ศ. 1880 จากสตรีผู้หนึ่งที่นามว่า ซุไบดะห์ สามีของนางก็คือ อะลี ริฏอ อะฟันดีย์ (คำว่า อะฟันดีย์ หมายถึง นาย (ซัยยิด)) ซึ่งนักประวัติศาสตร์นำเสนอว่า บุคคลผู้นี้คือบิดาของมุสตอฟา กะมาล
อะลี ริฏอ อะฟันดีย์ เคยรับราชการในกองทหารรักษาพระองค์ซึ่งถูกตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1876 ในเมืองซ่าลานีก ขณะประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรก โดย อะลี ริฏอ มียศพันเอก ในกองทหารรักษาพระองค์
รูปพรรณสัณฐานของมุสตอฟา กะมาล
มุสตอฟา กะมาล มีผมสีทอง (บลอนด์) เหมือนไหมข้าวโพด มีดวงตาสองข้างเป็นสีฟ้า ปลายคิ้วหยัก ริมฝีปากบางเหมือนใบมีดโกน ใบหน้ามีโครงใหญ่เห็นโหนกแก้มชัดเจน หน้าผากกว้าง คางเป็นรูปสี่เหลี่ยม ศีรษะยาวจากหน้าจรดด้านหลัง รูปทรงศีรษะเช่นนี้เรียกว่า “ดอลลี่ กอสปาล” รูปพรรณสัณฐานเช่นนี้ไม่เหมือนกับชนชาติใดในกลุ่มชาติพันธุ์เติร์ก (ตุรกี) (อัรร่อญุล อัซซ่อนัม หน้า 35) แล้วถ้าเช่นนั้นเขาเป็นใครกัน? ไม่มีผู้ใดสามารถยืนยันได้ ในมุมกลับหากแต่เป็นไปได้ที่จะกล่าวอย่างมั่นใจและด้วยการวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะค้นพบตัวอย่างอื่นที่มีข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับความเป็นชาติพันธุ์ตุรกีมากไปกว่าบุคคลผู้นี้ในด้านมานุษยวิทยา
ลักษณะพิเศษของครอบครัว
ผู้ที่เคยพินิจพิเคราะห์ดูรูปถ่ายผู้เป็นแม่ของ มุสตอฟา กะมาล ในยามที่นางแก่ชรา ย่อมจะเห็นถึงความคล้ายคลึงหรือเค้าที่เหมือนกันระหว่างแม่กับลูก เว้นเสียแต่ว่านางสุไบดะห์ผู้เป็นแม่ของมุสตอฟานั้นมิได้มีผิวพรรณเหมือนคนขาวที่มีผมสีบลอนด์
กล่าวกันว่า แม่ของมุสตอฟามีเชื้อสาย “เตอร์กะเมน” (ตุรกุมาน) (เป็นเผ่าตุรกีเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในตุรกีสถาน , อิหร่าน และอัฟกานิสถาน) ซึ่งเรียกกันว่า “พวกยูรูก” ที่อพยพมาจากเมือง กูเนีย (กูนียะห์) (เป็นเมืองเก่าแก่ของตุรกีในอนาโตเลีย เคยเป็นราชธานีของพวกซัลญก รูม ระหว่างปี ค.ศ. 1081 – 1302) หรือไม่ก็เมืองอัยดีน (Aydin) สู่แคว้นรูมิลลี่ (หรืออัรรูมิลลี่ย์) (ชาวอุษมานียะห์เรียกแคว้นตารอเกียฮ์และมาซิโดเนีย (มักโดเนีย) ในบอลข่านว่า อัรรูมิลลีย์)
ในทำนองเดียวกัน ใครได้มองดูรูปภาพของผู้เป็นพ่อของมุสตอฟา ซึ่งมีอยู่ใบเดียวและถูกถ่ายไว้ในระหว่างการสวนสนาม ก็จะเห็นว่าบุคคลผู้นี้หาใช่คนผิวขาวที่มีผมสีบลอนด์ไม่ ที่สำคัญรูปภาพที่ว่านี้ในเวลาต่อมาได้ถูกนำมาให้มุสตอฟา เขาก็ปฏิเสธว่าชายในรูปมิใช่พ่อของตน
- บุคลิกภาพและสภาพแวดล้อมที่ก่อเกิดบุคคลผู้นี้
- การยกเลิกระบอบคิลาฟะห์ของมุสตาฟา กะมาล โดยมากสภาพแวดล้อมหรือมิติในแง่มุมต่างๆ ที่ประกอบขึ้นเป็นบุคลิกภาพของมนุษย์ทั้งในด้านพฤติกรรมและการแสดงออกมักมีส่วนสำคัญอย่างยิ่งยวด ฉะนั้น มนุษย์จึงมีอยู่สองบุคลิกภาพด้วยกัน กล่าวคือบุคลิกภาพซึ่งถูกบ่มเพาะมาพร้อมกับน้ำนมของแม่ และสั่งสมจากสภาพแวดล้อมที่ถือกำเนิด นี่ประการหนึ่ง และบุคลิกภาพที่สั่งสมจากการศึกษา นี่อีกประการหนึ่ง
ที่ต้องเกริ่นเช่นนี้ ก็เพื่อที่เราจะได้ประจักษ์ถึงกรณีที่ว่า ปัจจัยส่งผลต่อพฤติกรรมของมนุษย์ในช่วงชีวิตเยาว์วัยได้สำแดงบทบาทของมันอย่างไรในบุคลิกภาพของ มุสตอฟา กะมาล ผู้นี้
การถือกำเนิดและชีวิตเยาว์วัย
มุสตอฟา กะมาล ถือกำเนิดในเมืองซ่าลานีก เมื่อปีค.ศ. 1880 จากสตรีผู้หนึ่งที่นามว่า ซุไบดะห์ สามีของนางก็คือ อะลี ริฏอ อะฟันดีย์ (คำว่า อะฟันดีย์ หมายถึง นาย (ซัยยิด)) ซึ่งนักประวัติศาสตร์นำเสนอว่า บุคคลผู้นี้คือบิดาของมุสตอฟา กะมาล
อะลี ริฏอ อะฟันดีย์ เคยรับราชการในกองทหารรักษาพระองค์ซึ่งถูกตั้งขึ้นเมื่อปี ค.ศ.1876 ในเมืองซ่าลานีก ขณะประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับแรก โดย อะลี ริฏอ มียศพันเอก ในกองทหารรักษาพระองค์
รูปพรรณสัณฐานของมุสตอฟา กะมาล
มุสตอฟา กะมาล มีผมสีทอง (บลอนด์) เหมือนไหมข้าวโพด มีดวงตาสองข้างเป็นสีฟ้า ปลายคิ้วหยัก ริมฝีปากบางเหมือนใบมีดโกน ใบหน้ามีโครงใหญ่เห็นโหนกแก้มชัดเจน หน้าผากกว้าง คางเป็นรูปสี่เหลี่ยม ศีรษะยาวจากหน้าจรดด้านหลัง รูปทรงศีรษะเช่นนี้เรียกว่า “ดอลลี่ กอสปาล” รูปพรรณสัณฐานเช่นนี้ไม่เหมือนกับชนชาติใดในกลุ่มชาติพันธุ์เติร์ก (ตุรกี) (อัรร่อญุล อัซซ่อนัม หน้า 35) แล้วถ้าเช่นนั้นเขาเป็นใครกัน? ไม่มีผู้ใดสามารถยืนยันได้ ในมุมกลับหากแต่เป็นไปได้ที่จะกล่าวอย่างมั่นใจและด้วยการวิเคราะห์เชิงวิทยาศาสตร์ว่า เป็นไปไม่ได้ที่จะค้นพบตัวอย่างอื่นที่มีข้อสงสัยต่างๆ เกี่ยวกับความเป็นชาติพันธุ์ตุรกีมากไปกว่าบุคคลผู้นี้ในด้านมานุษยวิทยา
ลักษณะพิเศษของครอบครัว
ผู้ที่เคยพินิจพิเคราะห์ดูรูปถ่ายผู้เป็นแม่ของ มุสตอฟา กะมาล ในยามที่นางแก่ชรา ย่อมจะเห็นถึงความคล้ายคลึงหรือเค้าที่เหมือนกันระหว่างแม่กับลูก เว้นเสียแต่ว่านางสุไบดะห์ผู้เป็นแม่ของมุสตอฟานั้นมิได้มีผิวพรรณเหมือนคนขาวที่มีผมสีบลอนด์
กล่าวกันว่า แม่ของมุสตอฟามีเชื้อสาย “เตอร์กะเมน” (ตุรกุมาน) (เป็นเผ่าตุรกีเผ่าหนึ่งที่อาศัยอยู่ในตุรกีสถาน , อิหร่าน และอัฟกานิสถาน) ซึ่งเรียกกันว่า “พวกยูรูก” ที่อพยพมาจากเมือง กูเนีย (กูนียะห์) (เป็นเมืองเก่าแก่ของตุรกีในอนาโตเลีย เคยเป็นราชธานีของพวกซัลญก รูม ระหว่างปี ค.ศ. 1081 – 1302) หรือไม่ก็เมืองอัยดีน (Aydin) สู่แคว้นรูมิลลี่ (หรืออัรรูมิลลี่ย์) (ชาวอุษมานียะห์เรียกแคว้นตารอเกียฮ์และมาซิโดเนีย (มักโดเนีย) ในบอลข่านว่า อัรรูมิลลีย์)
ในทำนองเดียวกัน ใครได้มองดูรูปภาพของผู้เป็นพ่อของมุสตอฟา ซึ่งมีอยู่ใบเดียวและถูกถ่ายไว้ในระหว่างการสวนสนาม ก็จะเห็นว่าบุคคลผู้นี้หาใช่คนผิวขาวที่มีผมสีบลอนด์ไม่ ที่สำคัญรูปภาพที่ว่านี้ในเวลาต่อมาได้ถูกนำมาให้มุสตอฟา เขาก็ปฏิเสธว่าชายในรูปมิใช่พ่อของตน
ฟาลิฮ์ ริฟกีย์ ซึ่งคอยติดตามมุสตอฟาชนิดที่ว่าไม่เคยห่าง และบุคคลผู้นี้จะได้จดบันทึกเรื่องราวของมุสตอฟาได้ยืนยันถึงเรื่องนี้ว่า : โดยส่วนใหญ่แล้วมักจะมีบุคคลที่พยายามอุปโลกและอ้างเชื้อสายเก่าแก่ให้กับบรรดาผู้นำซึ่งมีบทบาทเด่นชัดในดินแดนตะวันออกเสมอๆ อย่างไรก็ตาม มุสตอฟา กะมาล ก็หาได้ผูกพันหรือสนใจใยดีกับบรรพบุรุษของตนไม่ ทั้งๆ ที่ได้มีนายทหารคนหนึ่งที่รับราชการอยู่ในกองทหารรักษาพระองค์ซึ่งถูกตั้งขึ้นในเมืองซ่าลานีก เมื่อปี ค.ศ. 1876 ในคราวรำลึกถึงการประกาศใช้รัฐธรรมนูญแม่บทของจักรวรรดิอุษมานียะห์
นายทหารผู้นั้นได้อ้างว่าตนคือบิดาของของ มุสตอฟา กะมาล นอกเสียจากว่าเมื่อรูปของนายทหารผู้นี้ได้ถูกตัดออกจากรูปที่มีคนอื่นร่วมถ่ายภาพอยู่ด้วยแล้วนำไปขยายพร้อมทั้งมอบให้แก่มุสตอฟา โดยหวังว่ามุสตอฟาจะมีความภาคภูมิใจที่พ่อของเขามีส่วนร่วมในกลุ่มผู้รักชาติซึ่งมีอุดมการณ์ช่วยเหลือกลุ่มแนวร่วมรณรงค์ศึกในอิสตันบูล แต่แล้วเมื่อภาพนั้นได้ปรากฏเบื้องหน้า มุสตอฟา กะมาล ก็ไม่เชื่อ และมีอยู่วันหนึ่งข้าพเจ้าเองได้ยินกับหูว่า มุสตอฟา พูดในทำนองดูแคลนว่า “ชายในรูปไม่ใช่พ่อของตน” (กิตาบ ฮันกอยา คัดลอกจาก อัรร่อญูล อัซซ่อนัม)
ดร.ริฏอ นูร ซึ่งเป็นเพื่อนของมุสตอฟา กะมาล และคอยสนับสนุนช่วยเหลือมุสตอฟามาโดยตลอดในช่วงของการต่อสู้ ก็กล่าวไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อ “ชีวิตและความทรงจำของข้าพเจ้า” ว่า : มีนักศึกษาคนหนึ่งชื่อ มุสตอฟา กะมาล ได้มาสมัครเรียนที่โรงเรียนนายร้อยกองทัพบก ในเมืองซ่าลานีก นักศึกษาผู้นี้เป็นบุตรบุญธรรมของนายทหารรักษาความปลอดภัยคนหนึ่งที่ทำงานอยู่ในสำนักงานศุลกากรของเมืองซ่าลานีก มีชื่อว่า อะลี ริฎอ อะฟันดีย์ และข้าพเจ้าจำได้ว่า มีอยู่ครั้งหนึ่ง มุสตอฟา กะมาล ได้เคยพูดกับเพื่อนสนิทของเขาว่า : เขาเป็ยชาวสล๊าฟ (สลาฟีย์-รุสเซียน) (อ้างแล้ว หน้า47)
นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าขานในทำนองนี้อีกมากโดยไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กล่าว แต่ทั้งหมดที่ได้กล่าวมาในมุมมองของนักค้นคว้าก็ไม่อาจถือเป็นหลักฐานที่มั่นใจได้ว่า มุสตอฟา กะมาล เป็นลูกนอกสมรส กระนั้นเราก็สามารถหาข้อสรุปจากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นได้หลายประการ
เปอร์เซ็นต์ความเป็นชาวตุรกีของมุสตอฟา กะมาล มีน้อยมากและต่ำกว่า 50% ส่วนเปอร์เซ็นต์ ความเป็นไปได้ที่ว่าเขามิใช่ลูกชายของนายทหารที่เสนอตัวว่าเป็นพ่อนั้นมีมากกว่า 90% (อัรร่อญุล อัซซ่อนัม)
ปัจจัยที่ยืนยันสิ่งดังกล่าวก็คือ การมีอยู่แห่งปรีชาญาณและวิทยปัญญาของพระองค์ผู้เป็นเจ้า กล่าวคือจิตวิญญาณอันต่ำทรามซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับพระผู้เป็นเจ้าและศาสนทูตของพระองค์รวมถึงบรรดาศรัทธาชน โดยจิตวิญญาณที่ต่ำช้าจะสถิตย์อยู่ในเรือนร่างที่ถูกสงสัยถึงความเป็นมาในสายเลือดของตนกรณีที่ มุสตอฟา กะมาล ก็เช่นกัน
หลังจากอะลี ริฎอ อะฟันดีย์ เสียชีวิต มุสตอฟา กามาลพร้อมกับสุไบดะห์ผู้เป็นแม่ได้เดินทางไปอาศัยอยู่ในไร่ชานเมืองลังกะหกับน้าชาย ซึ่งให้การอุปการะเลี้ยงดูมุสตอฟา กามาล น้าชายของมุสตอฟาเป็นผู้ดูแลไร่ผืนหนึ่งแต่มิใช่เจ้าของ ในชีวิตเยาว์วัยน้าชายได้ใช้ให้มุสตอฟา กามาลทำงานเหมือนกับคนงานในไร่คนอื่นๆ และมอบหน้าที่ให้คอยไล่ฝูงนกที่ลงมาในไร่นา ต่อมาแม่ของเขาก็ยืนกรานกับน้าชายของมุสตอฟาให้ส่งเขาไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนสอนศาสนาในตำบล ภายหลังมุสตอฟาก็เข้าเรียนที่โรงเรียน “ซัมว์ อะฟันดีย์” และโรงเรียนหลวงตามลำดับ ต่อจากนั้นก็เข้าเรียนต่อที่โรงเรียน “อัรร่อชีดียะห์” ที่โรงเรียนแห่งนี้เองที่มุสตอฟามีชื่อเรียกว่า มุสตอฟา กามาล (หรือเคมาลตามสำเนียงเตอร์กิช) แต่เดิมเขามีชื่อว่ามุสตอฟาเฉยๆ แต่ปรากฏว่าครูคนหนึ่งในโรงเรียนก็มีชื่อว่ามุสตอฟาเหมือนกัน ทุกคนในโรงเรียนจึงเรียกเขาว่า มุสตอฟา กามาล เพื่อแยกแยะกับชื่อของครูคนนั้น นับแต่บัดนั้นเขาจึงมีชื่อเรียกขานว่า “มุสตอฟา กามาล”
ดร.ริฏอ นูร ซึ่งเป็นเพื่อนของมุสตอฟา กะมาล และคอยสนับสนุนช่วยเหลือมุสตอฟามาโดยตลอดในช่วงของการต่อสู้ ก็กล่าวไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อ “ชีวิตและความทรงจำของข้าพเจ้า” ว่า : มีนักศึกษาคนหนึ่งชื่อ มุสตอฟา กะมาล ได้มาสมัครเรียนที่โรงเรียนนายร้อยกองทัพบก ในเมืองซ่าลานีก นักศึกษาผู้นี้เป็นบุตรบุญธรรมของนายทหารรักษาความปลอดภัยคนหนึ่งที่ทำงานอยู่ในสำนักงานศุลกากรของเมืองซ่าลานีก มีชื่อว่า อะลี ริฎอ อะฟันดีย์ และข้าพเจ้าจำได้ว่า มีอยู่ครั้งหนึ่ง มุสตอฟา กะมาล ได้เคยพูดกับเพื่อนสนิทของเขาว่า : เขาเป็ยชาวสล๊าฟ (สลาฟีย์-รุสเซียน) (อ้างแล้ว หน้า47)
นอกจากนี้ยังมีเรื่องเล่าขานในทำนองนี้อีกมากโดยไม่ทราบว่าใครเป็นผู้กล่าว แต่ทั้งหมดที่ได้กล่าวมาในมุมมองของนักค้นคว้าก็ไม่อาจถือเป็นหลักฐานที่มั่นใจได้ว่า มุสตอฟา กะมาล เป็นลูกนอกสมรส กระนั้นเราก็สามารถหาข้อสรุปจากสิ่งที่กล่าวมาข้างต้นได้หลายประการ
- ด้านมานุษยวิทยา กล่าวคือ มุสตอฟา กะมาล มีผิวขาว ผมสีบลอนด์จัด ตาสีฟ้า โดยเฉพาะโครงสร้างศีรษะเป็นแบบ “ดอลลีกอสปาล” ซึ่งเป็นรูปทรงกะโหลกของชาวสล๊าฟ (รุสเซียน) จึงเป็นข้อที่ยืนยันได้ตามหลักวิชามานุษยวิทยา (anthropology) มุสตอฟา กะมาล มิใช่มนุษย์ในกลุ่มชาติพันธุ์ตุรกี (เติร์ก)
- เป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ที่จะมีมนุษย์สายพันธุ์ “ดอลลีกอสปาล” ถือกำเนิดจากพ่อและแม่ที่ทั้งคู่มาจากสายพันธุ์ “บร๊ากกีนีปาล” ดังนั้นรูปภาพก็เพียงพอแล้วสำหรับการรู้จักชนิดศีรษะหรือโครงกะโหลกเมื่อผู้เป็นแม่นั้นเป็นที่ทราบกัน เพราะนางเป็นแม่ของมุสตอฟา กะมาล แต่ทว่าในการอ้างเชื้อสายถึงผู้เป็นบิดาของเขาดูจะเป็นเรื่องชวนสงสัยอย่างมากจนถึงขั้นไม่น่าเป็นไปได้
- การนิ่งเงียบไม่พูดเรื่องพ่อของตัวมุสตอฟา กะมาล เองจนดูผิดสังเกต นั่นอาจเป็นเพราะว่าตัวเขาเองก็รู้ถึงกรณีที่ชวนให้น่าสงสัยนั้น
เปอร์เซ็นต์ความเป็นชาวตุรกีของมุสตอฟา กะมาล มีน้อยมากและต่ำกว่า 50% ส่วนเปอร์เซ็นต์ ความเป็นไปได้ที่ว่าเขามิใช่ลูกชายของนายทหารที่เสนอตัวว่าเป็นพ่อนั้นมีมากกว่า 90% (อัรร่อญุล อัซซ่อนัม)
ปัจจัยที่ยืนยันสิ่งดังกล่าวก็คือ การมีอยู่แห่งปรีชาญาณและวิทยปัญญาของพระองค์ผู้เป็นเจ้า กล่าวคือจิตวิญญาณอันต่ำทรามซึ่งเป็นปฏิปักษ์กับพระผู้เป็นเจ้าและศาสนทูตของพระองค์รวมถึงบรรดาศรัทธาชน โดยจิตวิญญาณที่ต่ำช้าจะสถิตย์อยู่ในเรือนร่างที่ถูกสงสัยถึงความเป็นมาในสายเลือดของตนกรณีที่ มุสตอฟา กะมาล ก็เช่นกัน
ชีวิตของมุสตอฟา กามาล
หลังจากอะลี ริฎอ อะฟันดีย์ เสียชีวิต มุสตอฟา กามาลพร้อมกับสุไบดะห์ผู้เป็นแม่ได้เดินทางไปอาศัยอยู่ในไร่ชานเมืองลังกะหกับน้าชาย ซึ่งให้การอุปการะเลี้ยงดูมุสตอฟา กามาล น้าชายของมุสตอฟาเป็นผู้ดูแลไร่ผืนหนึ่งแต่มิใช่เจ้าของ ในชีวิตเยาว์วัยน้าชายได้ใช้ให้มุสตอฟา กามาลทำงานเหมือนกับคนงานในไร่คนอื่นๆ และมอบหน้าที่ให้คอยไล่ฝูงนกที่ลงมาในไร่นา ต่อมาแม่ของเขาก็ยืนกรานกับน้าชายของมุสตอฟาให้ส่งเขาไปเรียนหนังสือที่โรงเรียนสอนศาสนาในตำบล ภายหลังมุสตอฟาก็เข้าเรียนที่โรงเรียน “ซัมว์ อะฟันดีย์” และโรงเรียนหลวงตามลำดับ ต่อจากนั้นก็เข้าเรียนต่อที่โรงเรียน “อัรร่อชีดียะห์” ที่โรงเรียนแห่งนี้เองที่มุสตอฟามีชื่อเรียกว่า มุสตอฟา กามาล (หรือเคมาลตามสำเนียงเตอร์กิช) แต่เดิมเขามีชื่อว่ามุสตอฟาเฉยๆ แต่ปรากฏว่าครูคนหนึ่งในโรงเรียนก็มีชื่อว่ามุสตอฟาเหมือนกัน ทุกคนในโรงเรียนจึงเรียกเขาว่า มุสตอฟา กามาล เพื่อแยกแยะกับชื่อของครูคนนั้น นับแต่บัดนั้นเขาจึงมีชื่อเรียกขานว่า “มุสตอฟา กามาล”
เมื่อจบการศึกษาระดับมัธยมต้น มุสตอฟาเข้าศึกษาต่อระดับมัธยมปลายในโรงเรียน “ม่านัสเตอร์” วิชาที่เขาชอบเรียนเป็นพิเศษคือ คณิตศาสตร์และประวัติศาสตร์ มุสตอฟาเป็นคนแปลกหน้าในหมู่เพื่อนฝูง หลังจากจบชั้นมัธยมปลาย มุสตอฟาเข้าเรียนต่อที่วิทยาลัยกองทัพบก (โรงเรียนนายร้อย) ในกรุงอิสตันบูล ในช่วงนั้นเองมุสตอฟาได้เรียนภาษาฝรั่งเศสกับสตรีต่างชาติคนหนึ่ง บ้างก็กล่าวว่าเขาเรียนภาษาฝรั่งเศสกับเจ้าอาวาสซึ่งเป็นบาทหลวงชาวฝรั่งเศสที่เป็นผู้บริหารโรงเรียน (ตารีค อัดเดาละห์ อัลอุษมานียะห์ หน้า 252 อัรร่อญุล อัซซ่อนัม หน้า 59) อย่างไรก็ตาม ไม่ว่าใครจะเป็นครูสอนภาษาฝรั่งเศสให้แก่มุสตอฟา แต่ผลลัพธ์ก็ถือได้ว่าเป็นสิ่งเดียวกัน นั่นคือเขาย่อมได้รับอิทธิพลจากคำสอนในศาสนาคริสต์และสิ่งดังกล่าวก็ปรากฏชัดเจนในการที่ มุสตอฟาเรียกขานเหล่า “ซ่อฮาบะห์” (อัครสาวก) ว่า “อัลฮะวารียูน” (ซึ่งหมายถึงสาวก 12 ท่านของท่านศาสดาอีซา (อ.ล.) หรือพระเยซู)
การเรียนภาษาฝรั่งเศสได้เปิดโอกาสให้มุสตอฟาได้ศึกษาบทความบางส่วนของพวกเรียกร้องเสรีภาพ ซึ่งเป็นชาวตุรกีที่อยู่ในเมืองปารีสของฝรั่งเศส บทความดังกล่าวมาถึงมือของ มุสตอฟาอย่างลับๆ
ในวิทยาลัยกองทัพบก (โรงเรียนนายร้อย) ความสนใจต่อด้านการเมืองของมุสตอฟาได้ปรากฏชัดเจนขึ้น เขาเริ่มอ่านหนังสือหลายเล่มที่เขียนโจมตีซุลตอนอับดุลฮะมีด และเขาได้รับอิทธิพลทางความคิดจากนักกวี “นามิก เคมาล” ผู้มีอารมณ์อ่อนไหวและแปรปรวนอยู่เสมอๆ ตลอดจนศึกษาตำราที่เขียนเกี่ยวกับการปฏิวัติฝรั่งเศส มุสตอฟาชื่นชมและหลงใหลนโปเลียนเป็นพิเศษ หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนนายทหารบกแล้ว เขาได้เข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยเสนาธิการทหาร และจบออกมาโดยติดยศร้อยเอก และถูกบรรจุเข้าเป็นทหารประจำการในกรุงดามัสกัส
ในระหว่างที่อยู่ดามัสกัส มุสตอฟาได้ร่วมกับเพื่อนๆ ก่อตั้งกลุ่มคณะอย่างลับๆ ที่มีชื่อว่า “กลุ่มเสรีภาพและปิตุภูมิ” แต่ยังไม่ทันไรก็ล้มเหลว และหลังจากมุสตอฟากลับสู่ซาลานีก และได้พบกับดร.มุสตอฟา ญันติชกีน ก็ร่วมกันก่อตั้งสมาคม “ชาติและเสรีภาพ” แต่ทว่าสมาคมนี้ก็ไม่สามารถธำรงอยู่ได้เมื่อเผชิญกับ “สมาคมเอกภาพและการวิวัฒน์” ซึ่งกลืนสมาคม “ชาติและเสรีภาพ” ไปในที่สุด (ตารีค อัดเดาละห์ อัลอุษมานียะห์ หน้ า252) ด้วยเหตุนี้ มุสตอฟาจึงไม่เคยมีตำแหน่งอันใดในหมู่สมาชิกของสมาคมแห่งเอกภาพดังกล่าว
มุสตอฟาได้ไต่เต้าในสายทหารจนมียศถึงนายพลเอกทหารบก กระนั้นเขาก็ยังคงเก็บซ่อนความชิงชังและอาฆาตต่อพวกสมาคมเอกภาพเอาไว้ในใจจนท้ายที่สุด ทั้งนี้เพราะพวกสมาคมเอกภาพและการวิวัฒน์ มีความเข้มแข็งและกล้าหาญเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าจะเป็นไปในวิถีทางที่มิชอบก็ตาม และตัวมุสตอฟาเองนั้นก็เป็นแค่เพียงบุคคลหนึ่งที่ถนัดในการสร้างชื่อและไต่เต้าสู่ความสูงส่งในหน้าที่การงานเท่านั้นในสายตาของพวกสมาคมเอกภาพ
ลักษณะนิสัยของ มุสตอฟา กะมาล
สิ่งที่ปรากฏชัดจากการดำเนินชีวิตและการถือกำเนิดของมุสตอฟาก็คือ เขามิได้เติบโตขึ้นมาท่ามกลางพ่อแม่ จึงทำให้เขามีชีวิตที่ไม่ค่อยอยู่ในลู่ทางที่ควรนับตั้งแต่ช่วงแรกๆ มุสตอฟาเป็นนักดื่มตัวยงจนเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังและตับแข็งในบั้นปลายของชีวิต ในทำนองเดียวกัน มุสตอฟาก็เป็นเพลย์บอลเช่นกัน
มีเรื่องเล่ากันว่า มุสตอฟา กามาล กระทำผิดศีลธรรมข้อกาเมชนิดที่ไม่มีผู้ใดกล้าที่จะกระทำเช่นนั้น (ถ้าหากวิเคราะห์ในเชิงวิชาการไม่จำเป็นต้องมีจรรยาบรรณแล้วละก็ เราคงได้สาธยายเรื่องอนาจารเช่นนี้ได้หลายหน้ากระดาษที่เดียว) เราขอกล่าวถึงบางกรณีเท่านั้นมิใช่ทั้งหมด
บุคคลผู้นี้เคยพานักศึกษาจากโรงเรียนครูสตรีมาร่วมหลับนอนด้วย เหมือนอย่างที่นายทหารหลายคนได้กระทำ ยิ่งไปกว่านั้นนายทหารเหล่านั้นเคยเสนอให้ภรรยาและลูกสาวของพวกตนให้ร่วมหลับนอนกับมุสตอฟาเพื่อที่จะได้ตำแหน่งในกองทัพหรือไม่ก็มีประโยชน์แอบแฝง ถึงขั้นที่ว่ามุสตอฟาเองเคยปรารภว่า “ฉันแปลกใจกับผู้คนในประชาชาติเช่นนี้เหลือเกิน เพราะพวกเขาเสนอภรรยาและลูกสาว ตลอดจนพี่น้องผู้ให้กับฉัน” (อัรร่อญูล อัซซ่อนัม หน้า 370) และครั้งหนึ่งมุสตอฟาเคยกระทำมิดีมิร้ายกับบุตรสาวของทูตฝรั่งเศส (อ้างแล้ว หน้า 395)
นอกจากนี้มุสตอฟายังมีสัมพันธ์สวาทกับ “คอลิดะห์” นักวรรณกรรมสตรีชาวตุรกีซึ่ง โด่งดังในการแต่งหนังสือและบทละครเวทีอีกด้วย บางทีท่านอาจจะแปลกใจเมื่อทราบว่าสาเหตุที่มุสตอฟาเลิกร้างกับภรรยาคนเดียวของเขา คือ “ละตีฟะห์ ฮานิม” ซึ่งชีวิตคู่ของบุคคลทั้งสองยืนยาวเพียงแค่ปีเศษๆ เหตุที่ต้องเลิกราก็เป็นเพราะ “ละตีฟะห์” พบว่าสามีของนางกำลังร่วมหลับนอนกับเด็กรับใช้ในปราสาทคนหนึ่ง และนางก็มิได้แพร่งพรายเรื่องนี้ นอกจากในช่วงทศวรรษที่ 70 เพราะดาบปลายปืนมันค้ำคอของเธออยู่ในเวลาก่อนหน้านั้น” (อ้างแล้ว หน้า 400)
ในวิทยาลัยกองทัพบก (โรงเรียนนายร้อย) ความสนใจต่อด้านการเมืองของมุสตอฟาได้ปรากฏชัดเจนขึ้น เขาเริ่มอ่านหนังสือหลายเล่มที่เขียนโจมตีซุลตอนอับดุลฮะมีด และเขาได้รับอิทธิพลทางความคิดจากนักกวี “นามิก เคมาล” ผู้มีอารมณ์อ่อนไหวและแปรปรวนอยู่เสมอๆ ตลอดจนศึกษาตำราที่เขียนเกี่ยวกับการปฏิวัติฝรั่งเศส มุสตอฟาชื่นชมและหลงใหลนโปเลียนเป็นพิเศษ หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนนายทหารบกแล้ว เขาได้เข้าศึกษาต่อที่วิทยาลัยเสนาธิการทหาร และจบออกมาโดยติดยศร้อยเอก และถูกบรรจุเข้าเป็นทหารประจำการในกรุงดามัสกัส
ในระหว่างที่อยู่ดามัสกัส มุสตอฟาได้ร่วมกับเพื่อนๆ ก่อตั้งกลุ่มคณะอย่างลับๆ ที่มีชื่อว่า “กลุ่มเสรีภาพและปิตุภูมิ” แต่ยังไม่ทันไรก็ล้มเหลว และหลังจากมุสตอฟากลับสู่ซาลานีก และได้พบกับดร.มุสตอฟา ญันติชกีน ก็ร่วมกันก่อตั้งสมาคม “ชาติและเสรีภาพ” แต่ทว่าสมาคมนี้ก็ไม่สามารถธำรงอยู่ได้เมื่อเผชิญกับ “สมาคมเอกภาพและการวิวัฒน์” ซึ่งกลืนสมาคม “ชาติและเสรีภาพ” ไปในที่สุด (ตารีค อัดเดาละห์ อัลอุษมานียะห์ หน้ า252) ด้วยเหตุนี้ มุสตอฟาจึงไม่เคยมีตำแหน่งอันใดในหมู่สมาชิกของสมาคมแห่งเอกภาพดังกล่าว
มุสตอฟาได้ไต่เต้าในสายทหารจนมียศถึงนายพลเอกทหารบก กระนั้นเขาก็ยังคงเก็บซ่อนความชิงชังและอาฆาตต่อพวกสมาคมเอกภาพเอาไว้ในใจจนท้ายที่สุด ทั้งนี้เพราะพวกสมาคมเอกภาพและการวิวัฒน์ มีความเข้มแข็งและกล้าหาญเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าจะเป็นไปในวิถีทางที่มิชอบก็ตาม และตัวมุสตอฟาเองนั้นก็เป็นแค่เพียงบุคคลหนึ่งที่ถนัดในการสร้างชื่อและไต่เต้าสู่ความสูงส่งในหน้าที่การงานเท่านั้นในสายตาของพวกสมาคมเอกภาพ
ลักษณะนิสัยของ มุสตอฟา กะมาล
สิ่งที่ปรากฏชัดจากการดำเนินชีวิตและการถือกำเนิดของมุสตอฟาก็คือ เขามิได้เติบโตขึ้นมาท่ามกลางพ่อแม่ จึงทำให้เขามีชีวิตที่ไม่ค่อยอยู่ในลู่ทางที่ควรนับตั้งแต่ช่วงแรกๆ มุสตอฟาเป็นนักดื่มตัวยงจนเป็นโรคพิษสุราเรื้อรังและตับแข็งในบั้นปลายของชีวิต ในทำนองเดียวกัน มุสตอฟาก็เป็นเพลย์บอลเช่นกัน
มีเรื่องเล่ากันว่า มุสตอฟา กามาล กระทำผิดศีลธรรมข้อกาเมชนิดที่ไม่มีผู้ใดกล้าที่จะกระทำเช่นนั้น (ถ้าหากวิเคราะห์ในเชิงวิชาการไม่จำเป็นต้องมีจรรยาบรรณแล้วละก็ เราคงได้สาธยายเรื่องอนาจารเช่นนี้ได้หลายหน้ากระดาษที่เดียว) เราขอกล่าวถึงบางกรณีเท่านั้นมิใช่ทั้งหมด
บุคคลผู้นี้เคยพานักศึกษาจากโรงเรียนครูสตรีมาร่วมหลับนอนด้วย เหมือนอย่างที่นายทหารหลายคนได้กระทำ ยิ่งไปกว่านั้นนายทหารเหล่านั้นเคยเสนอให้ภรรยาและลูกสาวของพวกตนให้ร่วมหลับนอนกับมุสตอฟาเพื่อที่จะได้ตำแหน่งในกองทัพหรือไม่ก็มีประโยชน์แอบแฝง ถึงขั้นที่ว่ามุสตอฟาเองเคยปรารภว่า “ฉันแปลกใจกับผู้คนในประชาชาติเช่นนี้เหลือเกิน เพราะพวกเขาเสนอภรรยาและลูกสาว ตลอดจนพี่น้องผู้ให้กับฉัน” (อัรร่อญูล อัซซ่อนัม หน้า 370) และครั้งหนึ่งมุสตอฟาเคยกระทำมิดีมิร้ายกับบุตรสาวของทูตฝรั่งเศส (อ้างแล้ว หน้า 395)
นอกจากนี้มุสตอฟายังมีสัมพันธ์สวาทกับ “คอลิดะห์” นักวรรณกรรมสตรีชาวตุรกีซึ่ง โด่งดังในการแต่งหนังสือและบทละครเวทีอีกด้วย บางทีท่านอาจจะแปลกใจเมื่อทราบว่าสาเหตุที่มุสตอฟาเลิกร้างกับภรรยาคนเดียวของเขา คือ “ละตีฟะห์ ฮานิม” ซึ่งชีวิตคู่ของบุคคลทั้งสองยืนยาวเพียงแค่ปีเศษๆ เหตุที่ต้องเลิกราก็เป็นเพราะ “ละตีฟะห์” พบว่าสามีของนางกำลังร่วมหลับนอนกับเด็กรับใช้ในปราสาทคนหนึ่ง และนางก็มิได้แพร่งพรายเรื่องนี้ นอกจากในช่วงทศวรรษที่ 70 เพราะดาบปลายปืนมันค้ำคอของเธออยู่ในเวลาก่อนหน้านั้น” (อ้างแล้ว หน้า 400)
ดร.ริฎอ เพื่อนของมุสตอฟาก็ได้สาธยายไว้เช่นกันว่า : เขาจะดื่มสุราอยู่เสมอๆ จนกระทั่งเช้าหรือไม่ก็จนกว่าจะล้มลงเนื่องจากความเมามาย ข้าพเจ้าได้รู้จักกับเขาและคบกันราวหนึ่งเดือน ข้าพเจ้าก็สามารถล่วงรู้ถึงเรื่องส่วนตัวของเขา ข้าพเจ้าถูกเชื้อเชิญอยู่หลายครั้งให้มาร่วมวงสุราของเขา และข้าพเจ้าเคยเห็นสภาพของเขาเวลาดื่มหรือโกรธเขาจะทรงตัวไม่อยู่โอนเอนไปมาจนเกือบถึง 160 องศาเลยทีเดียว ตาของเขาข้างหนึ่งจะมองไปทางตะวันออกและอีกข้างหนึ่งจะมองไปทางตะวันตก ฉะนั้น ในตัวของชายผู้นี้จึงมีแต่ความเสื่อมและความเหลวแหลกทั้งในชีวิตครอบครัวและพันธุกรรม” (อ้างแล้ว หน้า 201)
ชาวเมืองอังการ่าเคยมารวมตัวกันในเวลากลางคืนเพื่อดูสิ่งอนาจาร โดยพวกเขาจะได้ยินเสียงตะโกนโหวกเหวก เสียงบ่นพึมพำ เสียงหัวเราะหอย่างร่าเริงของผู้คนที่กำลังเมามายและเพลิดเพลินกับตัณหาราคะ (อ้างแล้ว หน้า 203) มุสตอฟา กามาล ยังเป็นคนชอบลักเล็กขโมยและยักยอกทรัพย์สินของชาวมุสลิมอีกด้วย เมื่อครั้งที่ชาวมุสลิมในอินเดียได้ร่วมกันบริจาคเงินเพื่อช่วยเหลือตุรกีในการสนับสนุนกิจกรรมทางศาสนาและตั้งธนาคารแรงงาน มุสตอฟาก็ได้ยักยอกเงินบริจาคนั้นไว้และลงชื่อตนเองในพันธบัตรและหุ้นของธนาคารซึ่งมีจำนวนถึงครึ่งล้านลีร่าอังกฤษ
ริฎอ นูร ยังได้เพิ่มเติมอีกว่าจำนวนเงินได้กลายเป็นหนึ่งล้านปอนด์สเตอร์ลิง หลังจากได้มีการระดมทุนสนับสนุนจากกลุ่มประเทศมุสลิมอื่นๆ เข้ามาในภายหลัง ริฎอกล่าวว่า จำนวนเงินเหล่านี้ทั้งหมดได้เข้าสู่กระเป๋ามุสตอฟา กามาลแต่เพียงผู้เดียว
ข้อยืนยันเรื่องนี้ก็คือ ธนาคารแรงงานแห่งอุษมานียะห์มีทุนจัดตั้งจำนวน 250,000 ลีร่า ในชื่อของมุสตอฟา กามาล มิใช่ชื่อของประชาชาติอิสลามที่ร่วมระดมทุนจัดส่งมายังตุรกี ส่วนที่เหลือเข้ากระเป๋ามุสตอฟา ความในเรื่องนี้มาแดงขึ้นภายหลัง ฝ่ายค้านในรัฐสภาจึงตั้งกระทู้ถามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มุสตอฟา กามาลจึงกลัวภัยจะถึงตน และในขณะเดียวกันก็โมโหโกรธา และเขาก็กล่าวในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่า “เงินจำนวนนี้ต้องปันผลกำไรให้ข้าพเจ้า เพราะชาวอินเดียส่งเงินจำนวนนี้มาให้ข้าพเจ้า” (อ้างแล้ว หน้ า414)
ในช่วงหลายปีที่มุสตอฟามีอำนาจทางการเมืองในฐานะประธานาธิบดีของสาธารณรัฐหาใช่อื่นเพื่อประโยชน์ส่วนตน มุสตอฟาเคยฉ้อโกงที่ดินสองผืนจากชาวนาตลอดจนครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติ (เอากอฟ) และยักยอกเงินจำนวน 100,000 ลีร่าอังกฤษ ซึ่งได้มาจากคุวัยวีย์ (คุดัยว์ เป็นคำในภาษาเปอร์เซียหมายถึงเจ้าชาย (อัลอะมีร) หรือ “ผู้นำ” ใช้เรียกเป็นราชทินนามของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในจักรวรรดิอุษมานียะห์ ใช้เรียกเฉพาะผู้ปกครองอียิปต์เท่านั้น เพราะถือว่าอียิปต์กึ่งเอกราชและมีการเติมอักษร “ยาอ์” ต่อท้ายเป็นคุดัยวีย์ เพื่อให้ออกเสียงง่าย) ของอียิปต์ โดยอ้างว่าเป็นเงินที่กู้มา ในภายหลังมุสตอฟาก็ครอบครองเงินจำนวนดังกล่าวและไม่ยอมจ่ายคืน
เรื่องการฉ้อโกงทรัพย์สินมิได้หยุดอยู่เพียงแค่นี้ หากแต่มุสตอฟาได้กระทำทุกสิ่งที่มิชอบจนถึงขั้นที่เขาอาจจะมีสิทธิได้ครองตำแหน่งจอมฉ้อราษฎร์บังหลวง และเป็นขุนนางกังฉินตัวยงในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว
เรื่องที่ถูกกล่าว ณ ที่นี้ ถึงแม้จะเพียงน้อยนิดก็ชวนประหลาดใจได้มิใช่น้อยถึงความทุจริตของบุคคลผู้นี้
มุสตอฟา กามาล ได้ขาย “อาเซอร์ไบญาณ” ให้กับพวกบอลเซวิค เพื่อแลกกับเงินตรา เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นขณะที่ มุสตอฟา กามาล ได้ร้องขอให้ชาวอาเซอร์ไบญาณอนุญาตให้กองทัพรุสเซียผ่านพรมแดน โดยอ้างว่ากองทัพรุสเซียเคลื่อนทัพมุ่งหน้ามาเพื่อช่วยเหลือตุรกี แต่ภายหลังที่กองทัพของพวกบอลเซวิคได้เข้าสู่อาเซอร์ไบญาณแล้ว ด้วยอุบายเช่นนี้พวกบอลเซวิคก็หาได้เดินทัพออกจากที่นั่นไม่ อีกทั้งยังไม่ส่งกองทัพใดๆ ไปยังตุรกี ชาวอาเซอร์ไบญาณจะร้องไห้ทุกครั้งเมื่อพวกเขาพูดกันถึงเรื่องนี้
และจะกล่าวอย่างขมขื่นและอกตรมเมื่อมีชาวตุรกีคนใดมาพบเจอพวกเขาว่า “พวกท่านทำให้พวกเรายังคงมีอยู่ ต่อมาพวกท่านก็ทำลายพวกเรา จริงๆ แล้วพวกเราสามารถที่จะต่อสู้ผลักดันพวกรุสเซียได้ และพวกเราก็เตรียมพร้อมในการป้องกันอย่างเต็มที่ แต่พวกท่านก็หลอกลวงพวกเรา ในที่สุดพวกเราก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพวกรุสเซียอีกคราหนึ่ง” (อ้างแล้ว หน้า 408,409 จากหนังสือ “ชีวิตและความทรงจำของข้าพเจ้า” ริฎอ นูร หน้า 750,751)
การกระทำเช่นนี้ถือเป็นการทรยศหักหลังที่ใหญ่หลวงที่สุด กระทั่งว่าหากเราสมมติว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นโดยไม่มีเรื่องสินบนเข้ามาเกี่ยวข้องนั้นก็แย่เต็มที่ แต่เมื่อเรารับรู้เพิ่มเติมอีกด้วยว่ามันเกิดขึ้นได้เพราะมีเรื่องประโยชน์ทางวัตถุเข้ามาเกี่ยวข้อง ข้อนี้เรามิอาจจะพรรณนาได้เลยว่ามันแย่เพียงใด
กระเป๋าของมุสตอฟา กามาล จึงเป็นสถานที่ปกติสำหรับใส่ทองคำอันมลังเมลืองที่พวกบอลเซวิคมักหยิบยื่นให้ ในช่วงเวลาที่ไร้รัฐบาลและยังไม่มีระบบการคลังคอยดูแล ทุกสิ่งทุกอย่างจึงผ่านมือของมุสตอฟา กามาล อย่างมิอาจเป็นอื่นได้ (อ้างแล้ว หน้า 410)
บุคคลที่เคยชินชากับการลักขโมย ฉกชิงเกียรติยศและทรัพย์สินของผู้คน มีจิตใจที่ชินชาก็ย่อมเป็นการง่ายสำหรับบุคคลผู้นั้นจะฉุดคร่าชีวิตและวิญญาณของผู้คน มุสตอฟา กามาล ได้คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นอันมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่คัดค้านและไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่มุสตอฟา กามาลได้กระทำลงไป (อัลอัซรอร อัลค่อฟียะห์ ดร.มุสตอฟา ฮิลมีย์ หน้า 209) เขามักจะดำเนินไปท่ามกลางผู้คนด้วยภาษาของคนทีมักพูดว่า “ผู้นำปวงชน คือ นี่! ถ้าไม่เช่นนั้นก็ต้องเป็นสิ่งนี้ แล้วชี้ไปที่ดาบ” (เรียกง่ายๆ ว่า ท่านผู้นำว่าอย่างไรก็ต้องว่าตามนั้น ถ้าคัดค้านไม่เห็นด้วยก็ต้องตายสถานเดียว)
ริฎอ นูร ยังได้เพิ่มเติมอีกว่าจำนวนเงินได้กลายเป็นหนึ่งล้านปอนด์สเตอร์ลิง หลังจากได้มีการระดมทุนสนับสนุนจากกลุ่มประเทศมุสลิมอื่นๆ เข้ามาในภายหลัง ริฎอกล่าวว่า จำนวนเงินเหล่านี้ทั้งหมดได้เข้าสู่กระเป๋ามุสตอฟา กามาลแต่เพียงผู้เดียว
ข้อยืนยันเรื่องนี้ก็คือ ธนาคารแรงงานแห่งอุษมานียะห์มีทุนจัดตั้งจำนวน 250,000 ลีร่า ในชื่อของมุสตอฟา กามาล มิใช่ชื่อของประชาชาติอิสลามที่ร่วมระดมทุนจัดส่งมายังตุรกี ส่วนที่เหลือเข้ากระเป๋ามุสตอฟา ความในเรื่องนี้มาแดงขึ้นภายหลัง ฝ่ายค้านในรัฐสภาจึงตั้งกระทู้ถามเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น มุสตอฟา กามาลจึงกลัวภัยจะถึงตน และในขณะเดียวกันก็โมโหโกรธา และเขาก็กล่าวในที่ประชุมคณะรัฐมนตรีว่า “เงินจำนวนนี้ต้องปันผลกำไรให้ข้าพเจ้า เพราะชาวอินเดียส่งเงินจำนวนนี้มาให้ข้าพเจ้า” (อ้างแล้ว หน้ า414)
ในช่วงหลายปีที่มุสตอฟามีอำนาจทางการเมืองในฐานะประธานาธิบดีของสาธารณรัฐหาใช่อื่นเพื่อประโยชน์ส่วนตน มุสตอฟาเคยฉ้อโกงที่ดินสองผืนจากชาวนาตลอดจนครอบครองที่ดินสาธารณสมบัติ (เอากอฟ) และยักยอกเงินจำนวน 100,000 ลีร่าอังกฤษ ซึ่งได้มาจากคุวัยวีย์ (คุดัยว์ เป็นคำในภาษาเปอร์เซียหมายถึงเจ้าชาย (อัลอะมีร) หรือ “ผู้นำ” ใช้เรียกเป็นราชทินนามของข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ในจักรวรรดิอุษมานียะห์ ใช้เรียกเฉพาะผู้ปกครองอียิปต์เท่านั้น เพราะถือว่าอียิปต์กึ่งเอกราชและมีการเติมอักษร “ยาอ์” ต่อท้ายเป็นคุดัยวีย์ เพื่อให้ออกเสียงง่าย) ของอียิปต์ โดยอ้างว่าเป็นเงินที่กู้มา ในภายหลังมุสตอฟาก็ครอบครองเงินจำนวนดังกล่าวและไม่ยอมจ่ายคืน
เรื่องการฉ้อโกงทรัพย์สินมิได้หยุดอยู่เพียงแค่นี้ หากแต่มุสตอฟาได้กระทำทุกสิ่งที่มิชอบจนถึงขั้นที่เขาอาจจะมีสิทธิได้ครองตำแหน่งจอมฉ้อราษฎร์บังหลวง และเป็นขุนนางกังฉินตัวยงในประวัติศาสตร์เลยทีเดียว
เรื่องที่ถูกกล่าว ณ ที่นี้ ถึงแม้จะเพียงน้อยนิดก็ชวนประหลาดใจได้มิใช่น้อยถึงความทุจริตของบุคคลผู้นี้
มุสตอฟา กามาล ได้ขาย “อาเซอร์ไบญาณ” ให้กับพวกบอลเซวิค เพื่อแลกกับเงินตรา เรื่องดังกล่าวเกิดขึ้นขณะที่ มุสตอฟา กามาล ได้ร้องขอให้ชาวอาเซอร์ไบญาณอนุญาตให้กองทัพรุสเซียผ่านพรมแดน โดยอ้างว่ากองทัพรุสเซียเคลื่อนทัพมุ่งหน้ามาเพื่อช่วยเหลือตุรกี แต่ภายหลังที่กองทัพของพวกบอลเซวิคได้เข้าสู่อาเซอร์ไบญาณแล้ว ด้วยอุบายเช่นนี้พวกบอลเซวิคก็หาได้เดินทัพออกจากที่นั่นไม่ อีกทั้งยังไม่ส่งกองทัพใดๆ ไปยังตุรกี ชาวอาเซอร์ไบญาณจะร้องไห้ทุกครั้งเมื่อพวกเขาพูดกันถึงเรื่องนี้
และจะกล่าวอย่างขมขื่นและอกตรมเมื่อมีชาวตุรกีคนใดมาพบเจอพวกเขาว่า “พวกท่านทำให้พวกเรายังคงมีอยู่ ต่อมาพวกท่านก็ทำลายพวกเรา จริงๆ แล้วพวกเราสามารถที่จะต่อสู้ผลักดันพวกรุสเซียได้ และพวกเราก็เตรียมพร้อมในการป้องกันอย่างเต็มที่ แต่พวกท่านก็หลอกลวงพวกเรา ในที่สุดพวกเราก็ตกอยู่ภายใต้การปกครองของพวกรุสเซียอีกคราหนึ่ง” (อ้างแล้ว หน้า 408,409 จากหนังสือ “ชีวิตและความทรงจำของข้าพเจ้า” ริฎอ นูร หน้า 750,751)
การกระทำเช่นนี้ถือเป็นการทรยศหักหลังที่ใหญ่หลวงที่สุด กระทั่งว่าหากเราสมมติว่าเหตุการณ์นี้เกิดขึ้นโดยไม่มีเรื่องสินบนเข้ามาเกี่ยวข้องนั้นก็แย่เต็มที่ แต่เมื่อเรารับรู้เพิ่มเติมอีกด้วยว่ามันเกิดขึ้นได้เพราะมีเรื่องประโยชน์ทางวัตถุเข้ามาเกี่ยวข้อง ข้อนี้เรามิอาจจะพรรณนาได้เลยว่ามันแย่เพียงใด
กระเป๋าของมุสตอฟา กามาล จึงเป็นสถานที่ปกติสำหรับใส่ทองคำอันมลังเมลืองที่พวกบอลเซวิคมักหยิบยื่นให้ ในช่วงเวลาที่ไร้รัฐบาลและยังไม่มีระบบการคลังคอยดูแล ทุกสิ่งทุกอย่างจึงผ่านมือของมุสตอฟา กามาล อย่างมิอาจเป็นอื่นได้ (อ้างแล้ว หน้า 410)
การเข่นฆ่าสังหาร
บุคคลที่เคยชินชากับการลักขโมย ฉกชิงเกียรติยศและทรัพย์สินของผู้คน มีจิตใจที่ชินชาก็ย่อมเป็นการง่ายสำหรับบุคคลผู้นั้นจะฉุดคร่าชีวิตและวิญญาณของผู้คน มุสตอฟา กามาล ได้คร่าชีวิตผู้คนไปเป็นอันมาก ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้ที่คัดค้านและไม่เห็นด้วยกับสิ่งที่มุสตอฟา กามาลได้กระทำลงไป (อัลอัซรอร อัลค่อฟียะห์ ดร.มุสตอฟา ฮิลมีย์ หน้า 209) เขามักจะดำเนินไปท่ามกลางผู้คนด้วยภาษาของคนทีมักพูดว่า “ผู้นำปวงชน คือ นี่! ถ้าไม่เช่นนั้นก็ต้องเป็นสิ่งนี้ แล้วชี้ไปที่ดาบ” (เรียกง่ายๆ ว่า ท่านผู้นำว่าอย่างไรก็ต้องว่าตามนั้น ถ้าคัดค้านไม่เห็นด้วยก็ต้องตายสถานเดียว)
บุคคลเช่นทรราชผู้นี้ไม่อาจวิพากษ์วิจารณ์ได้เลย บ่อยครั้งที่มุสตอฟาออกคำสั่งให้กำจัดพวกที่คัดค้านอย่างสิ้นซาก เหตุการณ์ทำนองนี้เกิดกับอะลี ชุกรี่ ขณะที่ยืนกล่าวปราศัยบนเวทีของสภาอย่างไม่หวั่นเกรงสิ่งใด และเขาได้พูดประโยคที่ว่า : การสูญเสียระบอบซุลตอนแห่งอุษมานียะห์นั้นเป็นการสูญเสียอย่างไม่มีสิ่งใดมาทดแทนได้” ผลตอบแทนที่อะลี ชุกรี่ได้รับก็คือ การถูกลอบสังหารด้วยการรัดคอจากน้ำมือของ “ตูบาล อุษมาน” ซึ่งเป็นสมุนรับใช้ผู้ยอมตายถวายชีวิตของมุสตอฟ กามาล เมื่อข่าวการลอบสังหาร อะลี ชุกรี่ เป็นที่ทราบในหมู่สมาชิกรัฐสภาของตุรกี มุสตอฟาก็เป็นกังวลอย่างมากทีเดียว และอะไรจะเกิดขึ้นถ้าหากตูบาล อุษมาน ถูกจับกุมและยอมรับสารภาพว่าตนได้ฆ่าอะลี ชุกรี่ ตามคำสั่งของอัลฆอซีย์ (ซึ่งหมายถึง มุสตอฟา กามาล) ดังนั้นก็จำเป็นที่จะต้องกำจัด ตูบาล อุษมาน เสียเพื่อปิดปากก่อนที่เรื่องจะแดง ในที่สุดการหักหลังก็เกิดขึ้น มุสตอฟาลงมือยิงตูบาล อุษมานพร้อมลั่นไกปืนเยี่ยงมัจจุราชกระชากเอาชีวิตเพื่อนอีก 7 คนของตูบาลให้ด่าวดิ้นเพื่อมิให้เรื่องที่ตูบาล อุษมานก่อคดีอาญาเอาไว้แพร่งพราย
คำพูดที่ว่าผู้ใดช่วยเหลือผู้อธรรม พระองค์อัลลอฮ์จักให้ผู้อธรรมนั้นมีอำนาจเหนือผู้ที่ช่วยเหลือนั้น ดูจะเป็นจริงหลังจากการถูกลอบสังหารของอะลี ชุกรี่ และตูบาล อุษมานีย์ ตลอดจนคนอื่นๆ ในญาณกีย่าหุบเหวอาชญากรรมมุสตอฟา กามาล ก็ยังคงมีคดีอาญาอีกสองกระทงใหญ่ๆ นอกปราสาทญาณกีย่ากล่าวคือ
หนึ่ง การสังหารหมู่กลุ่มฝ่ายค้านและพวกพรรคเอกภาพ (อ้างแล้ว หน้า 418) โดยอ้างว่าพวกนี้พยายามลอบสังหารคนในอัซมีร (หรืออิซมีร เป็นเมืองหนึ่งในตุรกีริมทะเลเอเจียน)
สอง การแสวงหาประโยชน์จากเหตุการณ์ “กูบิลาย” เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นผลพวงมาจากการที่มุสตอฟา กามาล ได้สังหารหมู่บรรดานักวิชาการและบรรดานักปราชญ์ทางศาสนาอันเป็นเหตุการณ์พยายามลอบสังหารมุสตอฟาในเมืองอิซมีร ตลอดจนเหตุการณ์ไม่สงบดังกล่าว มุสตอฟา กามาลได้มีคำสั่งจับกุมวีรบุรุษ ฎิยาอ์ คุรซีด สมาชิกสภาฝ่ายค้านพร้อมด้วยคณะ และสั่งจับกุม แกนนำพรรคสาธารณรัฐและสมาชิกกลุ่มเอกภาพและการวิวัฒน์ทั้งหมด เป้าหมายมิใช่เพียงแค่กำจัดผู้วางแผนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการขจัดแนวร่วมฝ่ายค้านทั้งหมดหรือฝ่ายที่อาจจะคัดค้านต่อนโยบายของมุสตอฟาภายหน้าโดยตัดรากถอนโคนเสียก่อน
คำตัดสินประหารชีวิตมักจะออกจากปากของมุสตอฟา กามาล ก่อนที่ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมแห่งอังการ่าและอิซมีรจะออกปากอ่านคำพิพากษาเสียอีก และศาลยุติธรรมก็มิใช่อื่นใดนอกเสียจากกระบอกเสียงที่ประกาศถึงสิ่งที่นายใหญ่ของพวกเขาเอ่ยปากเอาไว้อีกทีหนึ่งเท่านั้นเอง
ผู้ที่น่าสงสารยิ่งนักก็คงไม่พ้นชาวมุสลิมตาดำๆ ครั้งแล้วครั้งเล่าที่พวกเขาถูกทดสอบด้วยบุคคลเช่นทรราชผู้นี้ ซึ่งไม่เคยคำนึงถึงสัญญาและข้อตกลง กี่ครั้งมาแล้วที่ผู้ปกครองได้กระทำเยี่ยงคนชั่วช้าสามานย์ผู้นี้เพียงเพื่อกำจัดปรปักษ์ของตน
บุคคลเหล่านั้นได้เผชิญกับชื่อแขวนคออย่างมั่นคงเด็ดเดี่ยว และไม่สะทกสะท้านแต่อย่างใด ดังกรณีของฎิยาอ์ คูรซีด บุคคลผู้นี้มีศรัทธาอันลึกซึ้ง และความเป็นอริศัตรูของเขาที่มีต่อ มุสตอฟา กามาล ก็เกิดขึ้นจากความศรัทธาของเขา ด้วยเหตุดังกล่าว เขาจึงจากไปในฐานะผู้พลีชีพ (ซะฮีด) และพบกับความตายอย่างห้าวหาญ มุสตอฟา กามาล อาตาเติร์ก เคยพยายามโน้มน้าว คูรซีดเพื่อแลกกับการอภัยโทษ แต่คูรซีดก็ไม่ยอมรับข้อเสนอ ศานติจงมีแด่ดวงวิญญาณผู้มั่นคงในศรัทธาดวงนั้น
ส่วนเหตุการณ์ที่สอง คือ เหตุการณ์มินมัน ซึ่งมีกลิ่นของการจัดฉากเตรียมการโชยออกมา กล่าวคือ มีชายวิกลจริตผู้หนึ่งเสพสิ่งเสพติด พวกชอบมุงจึงมารายล้อมชายผู้นี้ เขาจึงหนีไปยัง “มินมัน” และก็เอาธงจากมัสยิดญามิอ์มาหลายผืน พร้อมกับประกาศว่าตนคืออิหม่ามอัลมะห์ดีย์ ผู้ถูกรอคอย เท่านั้นยังไม่พอชายวิกลจริตผู้นี้ยังเรียกให้ชาวบ้านมารวมตัวกันภายใต้ร่มธงของตน เพื่อต่อต้านรัฐบาลและในขณะที่นายทหารกองหนุนกูบิลายเข้ามาห้ามปรามชายผู้นี้ก็ฆ่าเขาเสีย
เหตุการณ์เริ่มต้นในทำนองนี้ ซึ่งจบลงด้วยการทลาย “ตอรีเกาะห์ ซูฟีย์” ทั้งหมด โดยเฉพาะ “ตอรีเกาะห์ อันนักชะบันดีย์” ชัยด์ผู้นำตอรีเกาะห์ ลูกศิษย์ลูกหาและทุกคนที่เกี่ยวข้องกับตอรีเกาะห์ ซูฟีย์ถูกสังหาร และชาวตำบลมินมันก็ถูกเนรเทศ มิใช่เพราะเหตุใดแต่เป็นเพียงเพราะว่าพวกเขาเห็นเหตุการณ์แต่กลับนิ่งเงียบ (อ้างแล้ว หน้า 418,419,421,422)
นี่คือตัวอย่างบางทีเราอาจจะพูดถึงอย่างยืดยาวไปเสียหน่อย แต่สิ่งที่ทำให้เราต้องกล่าวเสียยืดยาวก็เพื่อสร้างความกระจ่างถึงความน่าขยะแขยงในการก่อกรรมทำเข็ญของอาตาเติร์กผู้นี้ ซึ่งมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าอยู่เสมอในการเล่นงานผู้อื่นแม้กระทั่งหมู่สตรีที่เขาเคยหาความสุขด้วย เมื่อใดที่นางคนหนึ่งคนใดทำให้อาตาเติร์กไม่สบอารมณ์ เขาก็สลัดนางและฆ่าทิ้งเสียเหมือนอย่างที่ได้เกิดขึ้นกับ “ฟิกรียะห์” คนรักของอาตาเติร์ก
อาชญากรรมเหล่านี้ผู้คนรอบข้างมุสตอฟา กามาลต่างก็ทราบดี แต่ช่างเป็นเรื่องน่าเศร้าไม่มีใครเลยที่กล้าพูดสักคำ แต่กลับกล่าวเยินยอคุณงามความดีต่างๆ นานาที่มุสตอฟา กามาลมิเคยกระทำเลย มุสตอฟา กามาล ดูถูกดูแคลนชนชาติตุรกี และทำร้ายพวกเขาอย่างสาหัสสากรรจ์ อีกทั้งยังได้เทความแปดเปื้อนลงเหนือชนชาติตุรกีจนสูญสิ้นเกียรติยศและศักดิ์ศรี ขณะที่นอนซมอยู่บนเตียงมรณะ มุสตอฟา กามาลได้เรียกตัวบับริซีย์ ลอเรน เอกอัครราชทูตของอังกฤษเข้าพบและเสนอให้ชาวอังกฤษผู้นี้ดำรงตำแหน่งสาธารณรัฐตุรกีหลังจากที่เขาได้เสียชีวิต นอกเสียจากว่าทูตอังกฤษได้ออกตัวปฏิเสธ (อ้างแล้ว หน้ า389)
สิ่งที่มุสตอฟา กามาลได้กระทำย่อมมิอาจคิดเป็นอื่นได้ นอกจากเหมือนกับว่าชนชาติตุรกีเป็นบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ไร้สมรรถภาพไม่สามารถรับผิดชอบตนเองได้จำต้องกันสิทธิดูแลนั้นไว้ให้กับคนอื่นที่เป็นต่างชาติ ช่างเป็นการกระทำที่ดูถูกดูแคลนและเหยียดหยามต่อชนชาติตุรกียิ่งนัก นี่แสดงว่า มุสตอฟา กามาลไม่เคยมองถึงประวัติศาสตร์ของชนชาติเก่าแก่เยี่ยงตุรกีซึ่งก่อกำเนิดวีรบุรุษมากมายที่โลกต้องภาคภูมิใจถึงผลงานของพวกเขา การพิชิตดินแดนของวีรบุรุษเหล่านั้นขจรขจายจนครอบคลุมสามทวีป พวกเขาเหล่านี้คือ พวกอุษมานียูน (ออตโตมาน) ซึ่งพวกเขาได้เติมเต็มการได้ยินและการเห็นของห้วงเวลาตลอดหกศตวรรษ พวกเขาได้สถาปนาความรุ่งโรจน์อย่างไม่เคยมีประชาชาติใดบรรลุถึงมาก่อนด้วยนามแห่งอิสลาม ตลอดเวลาพวกอุษมานียูนคือผู้พิทักษ์อิสลามและเป็นก้างขวางคอเหล่าปัจจามิตรที่วางแผนการให้มุสตอฟา กามาลได้โจมตีประชาชาติมุสลิมเยี่ยงนี้
ผู้ที่จบการศึกษาวิชาทหารจากวิทยาลัยกองทัพบกด้วยระดับการเรียนที่สูงสุด คงไม่มีใครตั้งแง่สงสัยถึงความกล้าหาญของบุคคลเช่นนี้ ซึ่งความกลัวและความขี้ขลาดไม่มีทางเข้าสู่หัวใจของเขา และบางทีผู้คนก็อาจยกบุคคลเช่นนี้เป็นตัวอย่างของความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยวเสียด้วยซ้ำ แต่น่าเศร้าที่อาตาเติร์กซึ่งบรรดาผู้นิยมชมชอบพยายามประโคมว่าเขามีความกล้าหาญและบ้าบิ่นเหมือนดัง อันตะเราะห์ อิบนุ ชัดดาด (อันตะเราะห์ อิบนุ ชัดดาด อัลอิบซีย์ (ค.ศ.525-615) นักกวีและอัศวินผู้ห้าวหาญในยุคญาฮิลียะห์ (ยุคก่อนอิสลาม) มีวีรกรรมในการสู้รบหลายครั้ง) ก็ไม่ปาน แต่ทว่าในความจริงแล้วอาตาเติร์กกลับเป็นคนขลาดเขลาชนิดที่หาตัวจับยากทีเดียว
ดร.ริฎอ นูร ได้กล่าวว่า : มีโรงเรียนเกษตรบนยอดเขาแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ในอังการ่าและลมก็พัดแรงมากในช่วงนั้น ขณะที่กำลังพูดคุยสนทนากันอยู่ก็มีประตูบานหนึ่งปิดดังปังด้วยแรงลม มุสตอฟา กามาล ก็พลันลุกขึ้นยืนจากที่นั่งอย่างพรวดพราดและมีท่าทีเลิกลักและโพล่งออกมาว่า “นี่เป็นเสียงปืนมิใช่หรือ” เรื่องในทำนองนี้มิได้เกิดอยู่เพียงครั้งเดียวเท่านั้น หากแต่มีอยู่หลายครั้งด้วยกัน พวกเราก็บอกว่า นั่นเสียงประตูที่ปิดเพราะแรงลม แต่มุสตอฟาก็ไม่เชื่อ และออกไปยืนดูที่หน้าต่าง ภายหลังเขาก็ส่งคนให้ไปดูเหตุที่มาของเสียงนั้น
มีอยู่วันหนึ่งเขาพยายามเตลิดหนีหลังจากที่เก็บเสื้อผ้ายัดใส่กระเป๋าเดินทางอย่างร้อนรนแต่ญาล้าล อาริฟและคนอื่นๆ ก็ห้ามเอาไว้ ทุกคนยืนขวางและห้ามมิให้เขาหนี ทั้งๆ ที่รู้อยู่ว่าหน่วยรักษาความปลอดภัยของมุสตอฟา กามาลเองก็อยู่เวรยามกันตลอดในแคมป์ภายในสวนหย่อมด้านหลังโรงเรียน มุสตอฟามักมีอาการเช่นนี้ทั้งที่ตนก็เป็นทหารแต่ขลาดกลัวและไม่สามารถแยกแยะได้ระหว่างเสียงประตูที่ปิดด้วยแรงลมและเสียงปืน (อ้างแล้ว หน้า 407)
เหตุการณ์ที่สอง นายพลเฟาซีย์ ญากม๊ากได้เล่าว่ามีอยู่วันหนึ่ง ขณะที่พวกเขากำลังนั่งอยู่ในอาคารสภาสูงสุดแห่งชาติ ก็ได้มีฝุ่นคลุ้งตลบเหมือนก้อนเมฆที่ดำทะมึนก็ไม่ปานลอดผ่านหน้าต่างด้านหลังอาคารเข้ามา ซึ่งดูราวกับว่าเป็นฝุ่นตลบที่เกิดจากฝีเท้าของผู้คนหลายหมื่นคนที่กำลังเดินทางกันอย่างรีบเร่งในที่ราบโล่ง ครั้นเมื่อมุสตอฟา กามาลเห็นภาพเช่นนี้ เขาก็ทำท่าเตรียมจะหนีและพลางกล่าวว่า “กองทัพแห่งค่อลีฟะห์มาแล้ว! แต่ภายหลังก็ปรากฏว่าที่นั่นมิได้มีอะไรเลยนอกจากฝูงแกะขนาดใหญ่ ดังนั้นก็มีผู้หนึ่งได้รีบส่งคนตามหลัง วีรบุราผู้เลียนแบบอันตะเราะห์ อิบนู ชัดดานของเราไปเพื่อให้การอารักขาการเดินทางกลับของเขาอย่างปลอดภัย
ผู้ที่เคยศึกษาประวัติศาสตร์อาตาเติร์กในด้านการทหารก็จะพบว่า ขณะที่อาตาเติร์กได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพของกองทัพเหล่าหนึ่งในปาเลสไตน์เมื่อปี ฮ.ศ.1337 เขาก็รีบด่วนยุติการสู้รบกับอังกฤษ และปล่อยให้ศัตรูรุกคืบหน้าสู่ตอนเหนือโดยไม่มีการต่อสู้และล่าถอยกองทัพของตนทางตอนเหนือเข้าสู่เขตแดนเบื้องหลังเมืองฮะลับ (อะเล็บโป) ในทำนองเดียวกันสมรภูมิที่เลื่องลือในการได้รับชัยชนะเหนือกองทัพกรีซนั้น ก็หาใช่อื่นใดนอกจาก “ละครฉากหนึ่งที่อังกฤษเป็นผู้กำกับให้มุสตอฟา กามาล อาตาเติร์กแสดงบทบาทวีรบุรุษในสมรภูมิครั้งนั้น” (ตารีค อัดเดาละห์ อัลอุษมานียะห์ หน้า 253)
หนึ่ง การสังหารหมู่กลุ่มฝ่ายค้านและพวกพรรคเอกภาพ (อ้างแล้ว หน้า 418) โดยอ้างว่าพวกนี้พยายามลอบสังหารคนในอัซมีร (หรืออิซมีร เป็นเมืองหนึ่งในตุรกีริมทะเลเอเจียน)
สอง การแสวงหาประโยชน์จากเหตุการณ์ “กูบิลาย” เหตุการณ์ครั้งนี้เป็นผลพวงมาจากการที่มุสตอฟา กามาล ได้สังหารหมู่บรรดานักวิชาการและบรรดานักปราชญ์ทางศาสนาอันเป็นเหตุการณ์พยายามลอบสังหารมุสตอฟาในเมืองอิซมีร ตลอดจนเหตุการณ์ไม่สงบดังกล่าว มุสตอฟา กามาลได้มีคำสั่งจับกุมวีรบุรุษ ฎิยาอ์ คุรซีด สมาชิกสภาฝ่ายค้านพร้อมด้วยคณะ และสั่งจับกุม แกนนำพรรคสาธารณรัฐและสมาชิกกลุ่มเอกภาพและการวิวัฒน์ทั้งหมด เป้าหมายมิใช่เพียงแค่กำจัดผู้วางแผนเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการขจัดแนวร่วมฝ่ายค้านทั้งหมดหรือฝ่ายที่อาจจะคัดค้านต่อนโยบายของมุสตอฟาภายหน้าโดยตัดรากถอนโคนเสียก่อน
คำตัดสินประหารชีวิตมักจะออกจากปากของมุสตอฟา กามาล ก่อนที่ผู้พิพากษาศาลยุติธรรมแห่งอังการ่าและอิซมีรจะออกปากอ่านคำพิพากษาเสียอีก และศาลยุติธรรมก็มิใช่อื่นใดนอกเสียจากกระบอกเสียงที่ประกาศถึงสิ่งที่นายใหญ่ของพวกเขาเอ่ยปากเอาไว้อีกทีหนึ่งเท่านั้นเอง
ผู้ที่น่าสงสารยิ่งนักก็คงไม่พ้นชาวมุสลิมตาดำๆ ครั้งแล้วครั้งเล่าที่พวกเขาถูกทดสอบด้วยบุคคลเช่นทรราชผู้นี้ ซึ่งไม่เคยคำนึงถึงสัญญาและข้อตกลง กี่ครั้งมาแล้วที่ผู้ปกครองได้กระทำเยี่ยงคนชั่วช้าสามานย์ผู้นี้เพียงเพื่อกำจัดปรปักษ์ของตน
บุคคลเหล่านั้นได้เผชิญกับชื่อแขวนคออย่างมั่นคงเด็ดเดี่ยว และไม่สะทกสะท้านแต่อย่างใด ดังกรณีของฎิยาอ์ คูรซีด บุคคลผู้นี้มีศรัทธาอันลึกซึ้ง และความเป็นอริศัตรูของเขาที่มีต่อ มุสตอฟา กามาล ก็เกิดขึ้นจากความศรัทธาของเขา ด้วยเหตุดังกล่าว เขาจึงจากไปในฐานะผู้พลีชีพ (ซะฮีด) และพบกับความตายอย่างห้าวหาญ มุสตอฟา กามาล อาตาเติร์ก เคยพยายามโน้มน้าว คูรซีดเพื่อแลกกับการอภัยโทษ แต่คูรซีดก็ไม่ยอมรับข้อเสนอ ศานติจงมีแด่ดวงวิญญาณผู้มั่นคงในศรัทธาดวงนั้น
ส่วนเหตุการณ์ที่สอง คือ เหตุการณ์มินมัน ซึ่งมีกลิ่นของการจัดฉากเตรียมการโชยออกมา กล่าวคือ มีชายวิกลจริตผู้หนึ่งเสพสิ่งเสพติด พวกชอบมุงจึงมารายล้อมชายผู้นี้ เขาจึงหนีไปยัง “มินมัน” และก็เอาธงจากมัสยิดญามิอ์มาหลายผืน พร้อมกับประกาศว่าตนคืออิหม่ามอัลมะห์ดีย์ ผู้ถูกรอคอย เท่านั้นยังไม่พอชายวิกลจริตผู้นี้ยังเรียกให้ชาวบ้านมารวมตัวกันภายใต้ร่มธงของตน เพื่อต่อต้านรัฐบาลและในขณะที่นายทหารกองหนุนกูบิลายเข้ามาห้ามปรามชายผู้นี้ก็ฆ่าเขาเสีย
เหตุการณ์เริ่มต้นในทำนองนี้ ซึ่งจบลงด้วยการทลาย “ตอรีเกาะห์ ซูฟีย์” ทั้งหมด โดยเฉพาะ “ตอรีเกาะห์ อันนักชะบันดีย์” ชัยด์ผู้นำตอรีเกาะห์ ลูกศิษย์ลูกหาและทุกคนที่เกี่ยวข้องกับตอรีเกาะห์ ซูฟีย์ถูกสังหาร และชาวตำบลมินมันก็ถูกเนรเทศ มิใช่เพราะเหตุใดแต่เป็นเพียงเพราะว่าพวกเขาเห็นเหตุการณ์แต่กลับนิ่งเงียบ (อ้างแล้ว หน้า 418,419,421,422)
นี่คือตัวอย่างบางทีเราอาจจะพูดถึงอย่างยืดยาวไปเสียหน่อย แต่สิ่งที่ทำให้เราต้องกล่าวเสียยืดยาวก็เพื่อสร้างความกระจ่างถึงความน่าขยะแขยงในการก่อกรรมทำเข็ญของอาตาเติร์กผู้นี้ ซึ่งมีความปรารถนาอย่างแรงกล้าอยู่เสมอในการเล่นงานผู้อื่นแม้กระทั่งหมู่สตรีที่เขาเคยหาความสุขด้วย เมื่อใดที่นางคนหนึ่งคนใดทำให้อาตาเติร์กไม่สบอารมณ์ เขาก็สลัดนางและฆ่าทิ้งเสียเหมือนอย่างที่ได้เกิดขึ้นกับ “ฟิกรียะห์” คนรักของอาตาเติร์ก
อาชญากรรมเหล่านี้ผู้คนรอบข้างมุสตอฟา กามาลต่างก็ทราบดี แต่ช่างเป็นเรื่องน่าเศร้าไม่มีใครเลยที่กล้าพูดสักคำ แต่กลับกล่าวเยินยอคุณงามความดีต่างๆ นานาที่มุสตอฟา กามาลมิเคยกระทำเลย มุสตอฟา กามาล ดูถูกดูแคลนชนชาติตุรกี และทำร้ายพวกเขาอย่างสาหัสสากรรจ์ อีกทั้งยังได้เทความแปดเปื้อนลงเหนือชนชาติตุรกีจนสูญสิ้นเกียรติยศและศักดิ์ศรี ขณะที่นอนซมอยู่บนเตียงมรณะ มุสตอฟา กามาลได้เรียกตัวบับริซีย์ ลอเรน เอกอัครราชทูตของอังกฤษเข้าพบและเสนอให้ชาวอังกฤษผู้นี้ดำรงตำแหน่งสาธารณรัฐตุรกีหลังจากที่เขาได้เสียชีวิต นอกเสียจากว่าทูตอังกฤษได้ออกตัวปฏิเสธ (อ้างแล้ว หน้ า389)
สิ่งที่มุสตอฟา กามาลได้กระทำย่อมมิอาจคิดเป็นอื่นได้ นอกจากเหมือนกับว่าชนชาติตุรกีเป็นบุคคลที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ ไร้สมรรถภาพไม่สามารถรับผิดชอบตนเองได้จำต้องกันสิทธิดูแลนั้นไว้ให้กับคนอื่นที่เป็นต่างชาติ ช่างเป็นการกระทำที่ดูถูกดูแคลนและเหยียดหยามต่อชนชาติตุรกียิ่งนัก นี่แสดงว่า มุสตอฟา กามาลไม่เคยมองถึงประวัติศาสตร์ของชนชาติเก่าแก่เยี่ยงตุรกีซึ่งก่อกำเนิดวีรบุรุษมากมายที่โลกต้องภาคภูมิใจถึงผลงานของพวกเขา การพิชิตดินแดนของวีรบุรุษเหล่านั้นขจรขจายจนครอบคลุมสามทวีป พวกเขาเหล่านี้คือ พวกอุษมานียูน (ออตโตมาน) ซึ่งพวกเขาได้เติมเต็มการได้ยินและการเห็นของห้วงเวลาตลอดหกศตวรรษ พวกเขาได้สถาปนาความรุ่งโรจน์อย่างไม่เคยมีประชาชาติใดบรรลุถึงมาก่อนด้วยนามแห่งอิสลาม ตลอดเวลาพวกอุษมานียูนคือผู้พิทักษ์อิสลามและเป็นก้างขวางคอเหล่าปัจจามิตรที่วางแผนการให้มุสตอฟา กามาลได้โจมตีประชาชาติมุสลิมเยี่ยงนี้
ความขี้ขลาดตาขาว
ผู้ที่จบการศึกษาวิชาทหารจากวิทยาลัยกองทัพบกด้วยระดับการเรียนที่สูงสุด คงไม่มีใครตั้งแง่สงสัยถึงความกล้าหาญของบุคคลเช่นนี้ ซึ่งความกลัวและความขี้ขลาดไม่มีทางเข้าสู่หัวใจของเขา และบางทีผู้คนก็อาจยกบุคคลเช่นนี้เป็นตัวอย่างของความกล้าหาญ เด็ดเดี่ยวเสียด้วยซ้ำ แต่น่าเศร้าที่อาตาเติร์กซึ่งบรรดาผู้นิยมชมชอบพยายามประโคมว่าเขามีความกล้าหาญและบ้าบิ่นเหมือนดัง อันตะเราะห์ อิบนุ ชัดดาด (อันตะเราะห์ อิบนุ ชัดดาด อัลอิบซีย์ (ค.ศ.525-615) นักกวีและอัศวินผู้ห้าวหาญในยุคญาฮิลียะห์ (ยุคก่อนอิสลาม) มีวีรกรรมในการสู้รบหลายครั้ง) ก็ไม่ปาน แต่ทว่าในความจริงแล้วอาตาเติร์กกลับเป็นคนขลาดเขลาชนิดที่หาตัวจับยากทีเดียว
ดร.ริฎอ นูร ได้กล่าวว่า : มีโรงเรียนเกษตรบนยอดเขาแห่งหนึ่งซึ่งอยู่ในอังการ่าและลมก็พัดแรงมากในช่วงนั้น ขณะที่กำลังพูดคุยสนทนากันอยู่ก็มีประตูบานหนึ่งปิดดังปังด้วยแรงลม มุสตอฟา กามาล ก็พลันลุกขึ้นยืนจากที่นั่งอย่างพรวดพราดและมีท่าทีเลิกลักและโพล่งออกมาว่า “นี่เป็นเสียงปืนมิใช่หรือ” เรื่องในทำนองนี้มิได้เกิดอยู่เพียงครั้งเดียวเท่านั้น หากแต่มีอยู่หลายครั้งด้วยกัน พวกเราก็บอกว่า นั่นเสียงประตูที่ปิดเพราะแรงลม แต่มุสตอฟาก็ไม่เชื่อ และออกไปยืนดูที่หน้าต่าง ภายหลังเขาก็ส่งคนให้ไปดูเหตุที่มาของเสียงนั้น
มีอยู่วันหนึ่งเขาพยายามเตลิดหนีหลังจากที่เก็บเสื้อผ้ายัดใส่กระเป๋าเดินทางอย่างร้อนรนแต่ญาล้าล อาริฟและคนอื่นๆ ก็ห้ามเอาไว้ ทุกคนยืนขวางและห้ามมิให้เขาหนี ทั้งๆ ที่รู้อยู่ว่าหน่วยรักษาความปลอดภัยของมุสตอฟา กามาลเองก็อยู่เวรยามกันตลอดในแคมป์ภายในสวนหย่อมด้านหลังโรงเรียน มุสตอฟามักมีอาการเช่นนี้ทั้งที่ตนก็เป็นทหารแต่ขลาดกลัวและไม่สามารถแยกแยะได้ระหว่างเสียงประตูที่ปิดด้วยแรงลมและเสียงปืน (อ้างแล้ว หน้า 407)
เหตุการณ์ที่สอง นายพลเฟาซีย์ ญากม๊ากได้เล่าว่ามีอยู่วันหนึ่ง ขณะที่พวกเขากำลังนั่งอยู่ในอาคารสภาสูงสุดแห่งชาติ ก็ได้มีฝุ่นคลุ้งตลบเหมือนก้อนเมฆที่ดำทะมึนก็ไม่ปานลอดผ่านหน้าต่างด้านหลังอาคารเข้ามา ซึ่งดูราวกับว่าเป็นฝุ่นตลบที่เกิดจากฝีเท้าของผู้คนหลายหมื่นคนที่กำลังเดินทางกันอย่างรีบเร่งในที่ราบโล่ง ครั้นเมื่อมุสตอฟา กามาลเห็นภาพเช่นนี้ เขาก็ทำท่าเตรียมจะหนีและพลางกล่าวว่า “กองทัพแห่งค่อลีฟะห์มาแล้ว! แต่ภายหลังก็ปรากฏว่าที่นั่นมิได้มีอะไรเลยนอกจากฝูงแกะขนาดใหญ่ ดังนั้นก็มีผู้หนึ่งได้รีบส่งคนตามหลัง วีรบุราผู้เลียนแบบอันตะเราะห์ อิบนู ชัดดานของเราไปเพื่อให้การอารักขาการเดินทางกลับของเขาอย่างปลอดภัย
ผู้ที่เคยศึกษาประวัติศาสตร์อาตาเติร์กในด้านการทหารก็จะพบว่า ขณะที่อาตาเติร์กได้รับแต่งตั้งให้เป็นแม่ทัพของกองทัพเหล่าหนึ่งในปาเลสไตน์เมื่อปี ฮ.ศ.1337 เขาก็รีบด่วนยุติการสู้รบกับอังกฤษ และปล่อยให้ศัตรูรุกคืบหน้าสู่ตอนเหนือโดยไม่มีการต่อสู้และล่าถอยกองทัพของตนทางตอนเหนือเข้าสู่เขตแดนเบื้องหลังเมืองฮะลับ (อะเล็บโป) ในทำนองเดียวกันสมรภูมิที่เลื่องลือในการได้รับชัยชนะเหนือกองทัพกรีซนั้น ก็หาใช่อื่นใดนอกจาก “ละครฉากหนึ่งที่อังกฤษเป็นผู้กำกับให้มุสตอฟา กามาล อาตาเติร์กแสดงบทบาทวีรบุรุษในสมรภูมิครั้งนั้น” (ตารีค อัดเดาละห์ อัลอุษมานียะห์ หน้า 253)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น