จักรวรรดิอุษมานียะห์ เมื่ออาทิตย์อัสดง : บทบาทของยิวสากลในการล้มล้างระบอบคิลาฟะห์ของจักรวรรดิอุษมานียะห์
(อาลี เสือสมิง)ความเป็นศัตรูของชาวยิวต่อศาสนาอิสลาม
ชาวยิวได้กล่าวอ้างอย่างไร้สาระว่าพวกตนคือชนชาติที่ได้รับการเลือกสรรจากพระเจ้าและเผ่าพันธุ์มนุษย์อื่นๆ ที่มิใช่ชาวยิวล้วนแต่ถูกสร้างมาเพื่อเป็นทาสของชาวยิว ซ้ำร้ายพวกยิวยังได้เจือสมและอ้างอีกด้วยว่า พวกตนคือบุตรและผู้เป็นที่รักยิ่งของพระผู้เป็นเจ้า
การมีมุมมองเช่นนี้ก่อให้เกิดปัญหามากมายทั้งในส่วนของยิวเองและมนุษยชาติโดยรวม และยังทำให้ความเมตตาต่อพลโลกถูกปฏิเสธออกไปจากหัวใจของชาวยิว พวกเขาจึงมักไม่รีรอในการก่อสงครามกับชนชาติอื่นๆ และมีผลทางจิตวิทยาทำให้เกิดปมด้อยเกี่ยวกับความเชื่อว่าพวกตนคือชนชาติที่ถูกคัดเลือกของพระเจ้าซึ่งทำให้มีความหยิ่งยะโสมากขึ้นตลอดจนการปลีกตัวไม่ข้องแวะสุงสิงกับเผ่าพันธุ์มนุษย์อื่นๆ สิ่งที่เกิดขึ้นตามมาก็คือพวกเขาจะไม่มองเรื่องราวต่างๆ ในมุมมองที่รวมเอาพวกเขาและประชาชาติทั้งหมดเข้าไว้ในความนึกคิด แต่จะมองชนชาติอื่นๆ เป็นมุมมองเฉพาะ (อัลฮะรอกะห์ อัลฟิกรียะห์ หน้า 208)
ชาวยิวในนครยัซริบ (นครม่าดีนะห์) จะปฏิบัติกับกลุ่มชาติพันธุ์อื่นจากชนเผ่าเอาวซ์และ อัลคอซรอจญ์บนพื้นฐานที่ว่าพวกตน (ชาวยิว) มีความโดดเด่นเหนือกว่าชาวอาหรับทั้งสองเผ่านี้ เพราะชาวยิวถือว่าตนคือผู้ได้รับคัมภีร์และมีความรู้ ฉะนั้นเมื่อเกิดความบาดหมางหรือการรบพุ่งระหว่างชาวยิวกับชนเผ่าเอาวซ์และอัลคอซรอจญ์ ชาวยิวก็มักจะกล่าวเสมอว่า : บัดนี้ได้มีศาสดาประกาศกถูกแต่งตั้งมายังมนุษยชาติแล้ว ซึ่งสมัยของศาสดาผู้นี้ยืนยาวนัก และพวกเรา (ชาวยิว) จะดำเนินตามศาสดาประกาศกผู้นั้น และเราจะรบกับพวกท่านเคียงข้างศาสดาประกาศกผู้นั้นเฉกเช่นการรบของชนอาดและอิรอม (ฟิกฮุศศีเราะห์ หน้า 123)
และครั้นเมื่อศาสนทูตจากพระผู้เป็นเจ้าได้มายังพวกเขา (ชาวยิว) โดยยืนยันถึงสิ่งที่ถูกต้องอันมีอยู่พร้อมกับพวกเขา (หมายถึงบทบัญญัติในคัมภีร์ที่พวกเขายึดมั่น) กลุ่มหนึ่งจากบรรดาผู้ได้รับคัมภีร์ก็ได้ละทิ้งคัมภีร์ของพระผู้เป็นเจ้า (เกี่ยวกับศาสนทูตผู้นี้) เอาไว้เบื้องหลังพวกเขา ประหนึ่งดังว่าพวกเขาไม่รู้ (บทอัลบะกอเราะห์ พระบัญญัติที่ 101)
ทั้งๆ ที่ศาสดามุฮำหมัด ซอลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม ได้ทรงมีพันธสัญญาระหว่างพระองค์กับชาวยิวนับแต่ที่พระองค์ได้ทรงลงพำนักที่นครม่าดีนะห์ด้วยการรับรองความปลอดภัยแก่ชาวยิวในเสรีภาพแห่งการถือในศาสนาของตน และการประกอบพิธีกรรมตามความเชื่อ โบสถ์วิหาร,ทรัพย์สินและสิทธิอันชอบธรรมและคงไว้ซึ่งความเป็นพันธมิตรของพวกเขากับชนเผ่าเอาว์ซ์และอัลคอซรอจญ์ ตลอดจนการช่วยเหลือและการคุ้มครองความปลอดภัยแก่ชาวยิว โดยมีเงื่อนไขว่า ชาวยิวจะต้องไม่บิดพลิ้วหักหลังและประกอบสิ่งที่ชั่วช้า รวมถึงชาวยิวต้องไม่กระทำตนเป็นสายลับและให้การช่วยเหลือศัตรู
ทั้งๆ ที่เป็นเช่นนี้ในช่วงเวลาอันสั้นชาวยิวก็ถือว่าการมายังนครม่าดีนะห์ของท่านศาสดาเป็นลางร้ายสำหรับพวกตนและเริ่มมองดูพระองค์ด้วยสายตาที่หวาดระแวงและเกรงว่าพระองค์จะสามารถสถาปนาความมั่นคงแห่งรัฐอิสลามที่เกิดขึ้นใหม่และการเผยแพร่คำสอนของพระองค์จะเป็นที่แพร่หลาย อีกทั้งสร้างความเป็นปึกแผ่นระหว่างชนอาหรับทั้ง 2 เผ่าภายใต้การเป็นผู้นำของพระองค์ ซึ่งจะทำให้การบาดหมางอันยาวนานระหว่างชน 2 เผ่าที่เป็นปัจจัยแห่งฐานอำนาจของชาวยิวยุติลง
นอกจากนี้ชาวยิวยังได้หวั่นเกรงว่าพวกตนจะสูญเสียความมีอภิสิทธิ์ต่างๆ ที่ตนเคยมีและแสวงหาผลกำไรอันมากมายจากอภิสิทธิ์นั้น ทั้งนี้เป็นเพราะว่าแต่เดิมนั้นชาวยิวได้มาถึงคาบสมุทรอาหรับในฐานะของกลุ่มชนผู้ทรงภูมิความรู้และคอยสั่งสอนชี้แนะชนพื้นเมือง อีกทั้งยังเคยมีฐานะเป็นตุลาการคอยตัดสินคดีความของชาวพื้นเมืองเดิมอีกด้วย เรียกได้ว่าสำหรับชาวยิวแล้วพวกเขามีบทบาท มีเกียรติและศักดิ์ศรี มีพลังอำนาจและส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหา การชำระคดีความอันเป็นสถานภาพที่ได้รับการยกย่องในสังคมอาหรับในนครยัซริบมาก่อนหน้าการอพยพของท่านศาสดาและชนมุสลิมมาก่อนเป็นเวลาช้านาน ดังนั้นเมื่ออิทธิพลของศาสนาอิสลามเข้ามาแทนที่บทบาทของพวกตน ชาวยิวก็ต้องหวาดระแวงและพยายามกระทำทุกวิถีทางเพื่อรักษาสถานภาพที่ตนเคยมีเอาไว้เป็นปกติสามัญ
พวกยิวได้ใช้ชีวิตร่วมกับชาวอาหรับอย่างกลมกลืนพร้อมด้วยอิทธิพลและอำนาจที่มั่นคงจนทำให้เกิดความเข้าใจเอาเองว่าพวกเขาอยู่นอกเหนือขอบข่ายการเรียกร้องเชิญชวนของท่านศาสดา ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม อีกทั้งยังถือว่าพวกตนอยู่ในแนวทางที่ดีเกินกว่าที่การเรียกร้องของอิสลามจะรวมเอาพวกเขาเข้าไว้ในขอบข่าย ความเข้าใจและท่าทีเช่นนี้ของชาวยิวจึงเป็นอุปสรรคขวางกั้นความประสงค์ของท่านศาสดาที่จะนำพาพวกเขาเข้าสู่ศาสนาของพระองค์และอยู่ภายใต้การเป็นผู้นำสูงสุดของพระองค์
การกลับกลายเป็นว่าพวกชาวยิวมองเห็นว่าพวกตนมีสิทธิ รอคอยในการร่วมสมทบของท่านศาสดากับฝ่ายตนดังที่โองการอัลกุรอ่านได้บอกให้ท่านศาสดาให้ทราบว่า : (พวกเขา(ชาวยิว) ได้กล่าวว่า : จะไม่มีทางได้เข้าสู่สวนสวรรค์นอกจากบุคคลที่เป็นชาวยิวหรือคริสเตียน) (บทอัลบะกอเราะห์ พระบัญญัติที่ 111) และพระดำรัสที่ว่า “และพวกยิวตลอดจนพวกคริสเตียนย่อมไม่มีวันพึงพอใจต่อท่านจนกว่าท่านจะปฏิบัติตามแนวทางอันเป็นศาสนาของพวกเขา” (บทอัลบะกอเราะห์ พระบัญญัติที่ 120) และพระดำรัสที่ว่า “และพวกเขาได้กล่าวว่า : พวกท่านจงเป็นยิวหรือคริสเตียนเถิด พวกท่านจักได้รับทางนำ” (บทอัลบะกอเราะห์ / 135)
เฉพาะอย่างยิ่ง ขณะที่ชาวยิวได้มองเห็นท่านศาสดาปฏิบัติละหมาดโดยผินหน้าสู่ชุมทิศของพวกเขา (คือกรุงเยรูซาเล็ม อันเป็นชุมทิศในการนมัสการช่วงแรกก่อนเปลี่ยนชุมทิศสู่บัยติลลาฮฺแห่งนครมักกะห์) และยังเห็นว่าพระองค์ได้ทรงประกาศถึงความศรัทธาที่มีต่อเหล่าศาสดาพยากรณ์ที่มีเชื้อสายยิวและคัมภีร์ของพวกเขาด้วยคำสอนของอัลกุรอ่านโดยพระองค์ทรงถือว่าคำประกาศดังกล่าวเป็นส่วนหนึ่งแห่งการเรียกร้องเชิญชวนของพระองค์ที่แยกออกจากกันไม่ได้
ด้วยเหตุนี้กระมัง ชาวยิวจึงเฝ้ารอด้วยความหวังว่าท่านศาสดาจะเห็นดีเห็นชอบในศาสนาของพวกตน แต่พวกเขาก็สิ้นหวัง และพบว่าพระองค์ได้เรียกร้องพวกตนสู่อิสลามเฉกเช่นเดียวกับมนุษยชาติทั้งหลายโดยไม่มีการยกเว้นหรือได้รับอภิสิทธิ์อันใด ซ้ำร้ายอัลกุรอานยังได้เรียกร้องชาวยิวเป็นกรณีเฉพาะในบางครั้งและหักล้างความเชื่อที่ผิดของพวกเขา จึงเป็นเรื่องปกติที่สิ่งนี้จะกลายเป็นปัจจัยทำให้ชาวยิวปฏิเสธการเรียกร้องเชิญชวนของพระองค์และก่อเกิดความอิจฉาริษยาและชิงชังต่อสถานภาพของพระองค์นับแต่ก้าวแรกของการสถาปนารัฐอิสลามในนครม่าดีนะห์ และยิ่งเมื่อพวกยิวเห็นว่าผู้คนได้เหินห่างจากพวกตนและหันไปยึดเอาท่านศาสดาเป็นผู้ชี้นำสูงสุดและเป็นประมุขที่ได้รับการปฏิบัติตามโดยดุษฎี ชาวยิวจึงรู้สึกถึงภัยอันตรายที่จะมาถึงตน รวมถึงอิทธิพลและอำนาจที่เคยมีตลอดจนผลประโยชน์ที่เคยแสวงหาได้จากผู้คน
อาจกล่าวได้ว่า ชาวยิวก็คือผู้ก่อกำเนิดกลุ่มชนผู้กลับกลอกหน้าไหว้หลังหลอก/มูนาฟีกีน ด้วยการสร้างความคลางแคลงสงสัยในจิตใจและปลุกระดมจิตวิญญาณแห่งความขบถและการปองร้ายด้วยเล่ห์เพทุบาย ซึ่งถ้าหากว่าไม่มีชาวยิวคอยอยู่เบื้องหลัง พวกกลับกลอกก็คงไม่หลงผิดและเติบใหญ่กล้าแข็งจนกำเริบเสิบสานคิดการใหญ่และเป็นพันธมิตรกับพวกกุรอยซ์ซึ่งเป็นศัตรูตัวฉกาจของท่านศาสดา ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม และเหล่ามุสลิม พวกยิวได้กลายเป็นแนวร่วมกับพวกกุรอยซ์ให้การสนับสนุนในการก่อสงครามกับฝ่ายมุสลิม และทำให้พวกกุรอยซ์จมปลักอยู่ในโคลนตมแห่งการปฏิเสธ นอกจากนี้พวกยิวยังได้ใช้เล่ห์เพทุบายวางแผนประทุษร้าย และดูถูกเหยียดหยามฝ่ายมุสลิมอย่างไม่ลดละ จนในที่สุดท่านศาสดา ซอลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ได้เนรเทศพวกยิวออกจากนครม่าดีนะห์
พวกยิวภายหลังถูกเนรเทศยังคงเป็นปรปักษ์อยู่ตลอดเวลาต่อศาสนาอิสลาม ทั้งนี้เพราะชนรุ่นต่อๆ มาของพวกยิวมิได้มีท่าทีต่ออิสลามต่างจากชนรุ่นปู่ย่าตายาย การวางแผน การใช้เล่ห์เหลี่ยม ตลอดจนการบิดพลิ้วและหักหลังกลายเป็นสัญชาติญาณของพวกเขาที่ปลูกฝังในชนทุกรุ่นสืบต่อมา ซึ่งการกล่าวถึงธาตุแท้ของพวกเขาในอัลกุอานนั้นสอดคล้องกับชาวยิวทุกรุ่น และการระมัดระวังจากพวกยิวก็ถูกเรียกร้องเช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นยิวในยุคใด เพราะท่าทีและทัศนคติของพวกยิวไม่เคยเปลี่ยนแปลง อัลกุรอานปราศจากขอบเขตของกาลเวลาและสถานที่ เพราะหากไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว การระบุถึงคุณลักษณะและเรื่องราวของพวกยิวซึ่งถูกเน้นย้ำเอาไว้ในอัลกุอานก็คงไม่มีคุณค่าและประโยชน์อันใด
พวกยิวรู้และทราบดีว่า ชาวมุสลิมคือศัตรูที่แท้จริงสำหรับพวกตน โดยเฉพาะหลังจากการแทรกซึมของพวกยิวในทุกลัทธิศาสนากลุ่มความเชื่อและพรรคการเมืองค่ายต่างๆ ซึ่งชาวยิว สามารถสร้างความเสื่อมเสียและใช้กลุ่มลัทธิเหล่านั้นเพื่อประโยชน์แก่ตน แต่พวกเขาก็มิสามารถทำลายอัลกุรอานซึ่งพระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงพิทักษณ์เอาไว้ได้
ด้วยเหตุนี้เราจึงกล่าวได้ว่า การรณรงค์ต่อสู้ของชาวยิวต่อศาสนาอิสลามและชาวมุสลิมเป็นสิ่งที่มีมาโดยตลอด หาได้หยุดหย่อนไม่ หนทางเดียวที่พวกยิวจะประสบกับชัยชนะก็คือ การทำให้ประชาชาติมุสลิมเหินห่างจากหลักความเชื่อของศาสนาที่ถูกต้องและสร้างสิ่งทดแทนทางวัฒนธรรมขึ้นใหม่ในโลกอิสลาม (นะซอรอต ฟี ซีเราะห์ อัลอะมัล อัลอิสลามียะห์/อุมัร อะบีด ฮัซนะห์ หน้า 157)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น