ความผูกพันของชาวตุรกี (เติร์ก) กับศาสนาอิสลาม
(อาลี เสือสมิง)
มุฮำมัด ญะมีล บัยฮัมฺ กล่าวไว้ในหนังสือ “อาหรับและชาวเติร์ก” ว่า : ชาวเติร์กได้มุ่งหน้าสู่ศาสนาของมุฮำมัด (ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม) เป็นหมู่คณะ พวกเขาได้แปรเปลี่ยนจากศัตรูตัวฉกาจของอิสลามสู่การเป็นผู้พิทักษ์อิสลามที่มีความยึดมั่นต่ออิสลามอย่างแรงกล้า และส่วนหนึ่งจากสิ่งที่ยืนยันถึงบุคลิกภาพแห่งอิสลามของมหาอาณาจักรอุษมานียะฮฺ ก็คือ ชาวเติร์กเรียกขานทหารชาวตุรกีว่า เมฮฺเมตฺซีก (Mahmatcik) หมายถึง “ทหารแห่งมุฮำมัด” บรรดาคำประกาศของราชสำนักและกฎหมายต่างๆ ที่ออกจากราชสำนักอุษมานียะฮฺ จะประกาศในนามของ “เดาลัต อัลอะลียะฮฺ อัลมุฮำมะดียะฮฺ” เสมอ
อะฮฺมัด ร่อฟีก นักประวัติศาสตร์ชาวตุรกี กล่าวไว้ในหนังสือสารานุกรมของเขาที่ชื่อ “อัตตารีค อัลอุมูมีย์ อัลกะบีร” ว่า : “อุษมาน อิบนุ อุรตุฆฺรุ้ล มีความเคร่งครัดต่อศาสนาเป็นอันมาก เขาเชื่อว่าการเผยแผ่ศาสนาอิสลามและทำให้อิสลามแพร่ไปทั่วทุกดินแดนคือ ภารกิจอันศักดิ์สิทธิสำหรับเขา”
ดอฮฺสัน (Dohsson) นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า : “ไม่ว่าในยามสงบ หรือในเรื่องการสงคราม และไม่ว่าการตรากฎหมายในด้านการเมืองการปกครองหรือระบบการทหาร และไม่ว่าจะเป็นการสำเร็จโทษด้วยการประหารทั้งจากเสนาบดีหรือแม่ทัพใหญ่ ฝ่ายมุขมนตรีและเหล่าเสนาบดีมักจะหันไปพึ่งมุฟตีย์เพื่อขอคำปรึกษาในเรื่อง นั้นๆ และบ่อยครั้งที่มีการหารือกับมุฟตีย์ในปัญหาต่างๆ ที่มีการนำเสนอแก่มุฟตีย์ นั่นเป็นเพราะว่าการอ้างสิทธิอันชอบธรรมในการปกครองเพียงอย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอ แต่ถือกันว่าเป็นภารกิจจำเป็นที่จะต้องย้อนกลับไปยังบรรดาผู้นำทางศาสนาในการพิจารณาปัญหาต่างๆ ของอาณาจักรเสมอ”
เฮอเบิร์ต อาร์เมอซ์ จิปฺปอนซ์ นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษได้ยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนี้เอาไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อ : การสถาปนาจักรวรรดิออตโตมาน” ซึ่งเขาเขียนขึ้น ในปีคศ.1794 และตีพิมพ์ในปีคศ.1916 ว่า : “การกำเนิดขึ้นของอาณาจักรออตโตมาน (อุษมานียะฮฺ) เป็นไปด้วยแรงขับแห่งทิฐิทางศาสนาซึ่งพวกเติร์ก (ตุรกี) เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องนั้น”
มุฮำมัด ญะมีล บัยฮัม กล่าวไว้ในหนังสือ “อาหรับและชาวเติร์ก” ว่า : “ความเคร่งครัดที่มีต่อศาสนาอิสลามของชาวอุษมานีย์ตุรกี เป็นสิ่งที่มีความเข้มข้นจริงจังและเด็ดเดี่ยว โดยที่มุฟตีย์ของศาสนาอิสลามในรัชสมัยของสุลต่อนส่าลีม ข่านที่ 3 ได้มีคำฟัตวา (คำวินิจฉัยทางศาสนา) ถอดสุลต่อนออกจากพระราชอำนาจ ในปีฮ.ศ.1229/คศ.1807 ด้วยเหตุที่พระองค์นำเอาระเบียบแบบแผนของพวกฝรั่งตะวันตกที่ขัดต่อหลักคำสอน ของศาสนาอิสลามเข้ามาบังคับใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและการถอดสุลต่อนส่าลีม ข่านที่ 3 ออกจากพระราชอำนาจก็เป็นไปอย่างสมบูรณ์ตามคำชี้ขาดของฟัตวานั้น”
และท่าทีของสุลต่อนมุร๊อด ข่านพระราชโอรสของสุลต่อนอูรุคฺ ข่าน ที่มีต่อเซาว์ญี่ย์ โอรสของพระองค์ ถือเป็นจุดสุดยอดแห่งความสัจจริงในความเคร่งครัดของชาวอุษมานีย์ตุรกีที่มีต่อศาสนาอิสลามและข้อชี้ขาดของหลักนิติธรรมอิสลาม
ในขณะที่ เซาว์ญี่ย์โอรสของสุลต่อนมุร๊อด ข่าน สมรู้ร่วมคิดกับเจ้าชายเอ็นเดอร์นีกุส โอรสของจักรพรรดิจูวานีส แห่งไบแซนไทน์ บุคคลทั้ง 2 ได้นำกองทัพจากไบแซนไทน์และทหารอุษมานียะฮฺบางส่วนที่ถูกหลอกเข้าทำสงครามรบพุ่งกับกองทัพอิสลามแห่งอุษมานียะฮฺ ผลของการรบพุ่งจบลงด้วยความปราชัยของฝ่ายที่คิดการใหญ่ เจ้าชายเซาว์ญี่ย์ ตกเป็นเชลยศึกและสุลต่อนมุร๊อด ข่าน พระราชบิดาของพระองค์ก็ทรงยืนกรานที่จะนำเรื่องของเจ้าชายเข้าสู่การพิจารณา ตัดสินของเหล่านักปราชญ์และตุลาการแห่งนิติธรรมอิสลาม ซึ่งตัดสินให้สำเร็จโทษเจ้าชายเซาว์ญี่ย์ตามโทษานุโทษที่ก่อการขบถต่อประมุข ของรัฐอิสลาม และการเป็นพันธมิตรกับเหล่าผู้ปฏิเสธเพื่อทำสงครามกับชาวมุสลิม และในขณะที่บรรดาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้ทูลขอพระกรุณาจากสุลต่อนให้ทรงพระราชทานอภัยโทษ และเนรเทศเจ้าชายเซาว์ญี่ย์เพียงแค่นั้น ทว่าสุลต่อนมุร๊อด ข่าน ซึ่งทรงเป็นผู้ศรัทธาที่มีความเคร่งครัดได้ทรงยืนกรานที่จะนำข้อชี้ขาด ของหลักนิติธรรมอิสลาม มาดำเนินการกับโอรสของพระองค์ กล่าวคือ ให้สำเร็จโทษด้วยการประหารชีวิตสถานเดียว
อะฮฺมัด ร่อฟีก นักประวัติศาสตร์ชาวตุรกี กล่าวไว้ในหนังสือสารานุกรมของเขาที่ชื่อ “อัตตารีค อัลอุมูมีย์ อัลกะบีร” ว่า : “อุษมาน อิบนุ อุรตุฆฺรุ้ล มีความเคร่งครัดต่อศาสนาเป็นอันมาก เขาเชื่อว่าการเผยแผ่ศาสนาอิสลามและทำให้อิสลามแพร่ไปทั่วทุกดินแดนคือ ภารกิจอันศักดิ์สิทธิสำหรับเขา”
ดอฮฺสัน (Dohsson) นักประวัติศาสตร์ชาวฝรั่งเศสกล่าวว่า : “ไม่ว่าในยามสงบ หรือในเรื่องการสงคราม และไม่ว่าการตรากฎหมายในด้านการเมืองการปกครองหรือระบบการทหาร และไม่ว่าจะเป็นการสำเร็จโทษด้วยการประหารทั้งจากเสนาบดีหรือแม่ทัพใหญ่ ฝ่ายมุขมนตรีและเหล่าเสนาบดีมักจะหันไปพึ่งมุฟตีย์เพื่อขอคำปรึกษาในเรื่อง นั้นๆ และบ่อยครั้งที่มีการหารือกับมุฟตีย์ในปัญหาต่างๆ ที่มีการนำเสนอแก่มุฟตีย์ นั่นเป็นเพราะว่าการอ้างสิทธิอันชอบธรรมในการปกครองเพียงอย่างเดียวย่อมไม่เพียงพอ แต่ถือกันว่าเป็นภารกิจจำเป็นที่จะต้องย้อนกลับไปยังบรรดาผู้นำทางศาสนาในการพิจารณาปัญหาต่างๆ ของอาณาจักรเสมอ”
เฮอเบิร์ต อาร์เมอซ์ จิปฺปอนซ์ นักประวัติศาสตร์ชาวอังกฤษได้ยืนยันข้อเท็จจริงในเรื่องนี้เอาไว้ในหนังสือของเขาที่ชื่อ : การสถาปนาจักรวรรดิออตโตมาน” ซึ่งเขาเขียนขึ้น ในปีคศ.1794 และตีพิมพ์ในปีคศ.1916 ว่า : “การกำเนิดขึ้นของอาณาจักรออตโตมาน (อุษมานียะฮฺ) เป็นไปด้วยแรงขับแห่งทิฐิทางศาสนาซึ่งพวกเติร์ก (ตุรกี) เป็นที่รู้จักกันดีในเรื่องนั้น”
มุฮำมัด ญะมีล บัยฮัม กล่าวไว้ในหนังสือ “อาหรับและชาวเติร์ก” ว่า : “ความเคร่งครัดที่มีต่อศาสนาอิสลามของชาวอุษมานีย์ตุรกี เป็นสิ่งที่มีความเข้มข้นจริงจังและเด็ดเดี่ยว โดยที่มุฟตีย์ของศาสนาอิสลามในรัชสมัยของสุลต่อนส่าลีม ข่านที่ 3 ได้มีคำฟัตวา (คำวินิจฉัยทางศาสนา) ถอดสุลต่อนออกจากพระราชอำนาจ ในปีฮ.ศ.1229/คศ.1807 ด้วยเหตุที่พระองค์นำเอาระเบียบแบบแผนของพวกฝรั่งตะวันตกที่ขัดต่อหลักคำสอน ของศาสนาอิสลามเข้ามาบังคับใช้ในการบริหารราชการแผ่นดินและการถอดสุลต่อนส่าลีม ข่านที่ 3 ออกจากพระราชอำนาจก็เป็นไปอย่างสมบูรณ์ตามคำชี้ขาดของฟัตวานั้น”
และท่าทีของสุลต่อนมุร๊อด ข่านพระราชโอรสของสุลต่อนอูรุคฺ ข่าน ที่มีต่อเซาว์ญี่ย์ โอรสของพระองค์ ถือเป็นจุดสุดยอดแห่งความสัจจริงในความเคร่งครัดของชาวอุษมานีย์ตุรกีที่มีต่อศาสนาอิสลามและข้อชี้ขาดของหลักนิติธรรมอิสลาม
ในขณะที่ เซาว์ญี่ย์โอรสของสุลต่อนมุร๊อด ข่าน สมรู้ร่วมคิดกับเจ้าชายเอ็นเดอร์นีกุส โอรสของจักรพรรดิจูวานีส แห่งไบแซนไทน์ บุคคลทั้ง 2 ได้นำกองทัพจากไบแซนไทน์และทหารอุษมานียะฮฺบางส่วนที่ถูกหลอกเข้าทำสงครามรบพุ่งกับกองทัพอิสลามแห่งอุษมานียะฮฺ ผลของการรบพุ่งจบลงด้วยความปราชัยของฝ่ายที่คิดการใหญ่ เจ้าชายเซาว์ญี่ย์ ตกเป็นเชลยศึกและสุลต่อนมุร๊อด ข่าน พระราชบิดาของพระองค์ก็ทรงยืนกรานที่จะนำเรื่องของเจ้าชายเข้าสู่การพิจารณา ตัดสินของเหล่านักปราชญ์และตุลาการแห่งนิติธรรมอิสลาม ซึ่งตัดสินให้สำเร็จโทษเจ้าชายเซาว์ญี่ย์ตามโทษานุโทษที่ก่อการขบถต่อประมุข ของรัฐอิสลาม และการเป็นพันธมิตรกับเหล่าผู้ปฏิเสธเพื่อทำสงครามกับชาวมุสลิม และในขณะที่บรรดาข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ได้ทูลขอพระกรุณาจากสุลต่อนให้ทรงพระราชทานอภัยโทษ และเนรเทศเจ้าชายเซาว์ญี่ย์เพียงแค่นั้น ทว่าสุลต่อนมุร๊อด ข่าน ซึ่งทรงเป็นผู้ศรัทธาที่มีความเคร่งครัดได้ทรงยืนกรานที่จะนำข้อชี้ขาด ของหลักนิติธรรมอิสลาม มาดำเนินการกับโอรสของพระองค์ กล่าวคือ ให้สำเร็จโทษด้วยการประหารชีวิตสถานเดียว
แหล่งที่มา : http://alisuasaming.org/
#การเมือง_ลัทธิและความเชื่อ_Islamic_Society_Online
#ประวัติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
#เรื่องเล่าคติเตือนใจ_Islamic_Society_Online
#วีรบุรุษอิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น