product :

วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ญิฮาด อัตตุรบาน

ญิฮาด อัตตุรบาน



หนุ่มนักเขียน นักกวีและนักวิจัยด้านประวัติศาสตร์นาม ญิฮาด อัตตุรบานี เกิดที่คอนยูนุส กาซ่าปาเลสไตน์ (ไม่ทราบอายุที่แน่นอน แต่น่าจะอยู่ที่ 30 ปีต้นๆ) น่าจะเป็นหนุ่มที่ได้รับการกล่าวถึงในโลกอาหรับและโลกอิสลามมากที่สุดในขณะนี้ ด้วยผลงานที่เผยแพร่ในยูทูปซึ่งมียอดผู้ติดตามกว่า 40 ล้านวิว

เขาผลิตรายการชื่อ ท่านรู้เรื่องประวัติศาสตร์ของท่านดีแค่ไหน และต่อมาได้เขียนหนังสือชื่อ “ 100 ผู้นำมุสลิมผู้เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ “ (One hundred great peaple of Islam changed the course of history مائة من علماء أمة الإسلام غيروا مجرى التاريخ ปัจจุบันถูกแปลในภาษาต่างๆกว่า 10 ภาษา พิมพ์ครั้งแรกปี 2010 จนถึงปัจจุบันได้รับการตีพิมพ์กว่า 10 ครั้งแล้ว

เขาอธิบายสิ่งสร้างแรงบันดาลใจที่ทำให้เขาทุ่มเทกับงานเขียนนี้ ซึ่งย้อนไปถึงปี 1978 เมื่อมีนักดาราศาสตร์ยิวอเมริกันชื่อ ไมเคิล เอช ฮาร์ท เจ้าของหนังสือ 100 ลำดับบุคคลผู้มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยที่เขาจัดอันดับบุคคลแรกที่สมควรได้รับการยกย่องว่ามีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาตร์คือนบีมูฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั่นเอง ทำให้โลกมุสลิมต่างยินดีปรีดากับการจัดอันดับนี้

ญิฮาด อัตตุรบานีเล่าว่า ส่วนตัวก็รู้สึกภูมิใจกับจรรยาบรรณทางวิชาการของยิวอเมริกันท่านนี้ แต่เมื่อศึกษาอย่างถี่ถ้วนแล้ว พบว่านอกจากนบีมูฮัมมัดแล้ว มีเพียงท่านอุมัร บินอัลค็อฏฏอบเท่านั้นที่เป็นผู้แทนของผู้นำอิสลามที่ได้รับการคัดเลือกในหนังสือของเขา ทั้งๆที่โลกอิสลามได้ผลิตผู้นำที่สร้างความเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์นับหมื่นแสนที่แม้แต่ศัตรูอิสลามยังให้การยอมรับ หนำซ้ำ ไมเคิล เอช ฮาร์ท ยังได้บรรจุนามเช่น เจงคิสข่าน ผู้เข่นฆ่ามุสลิมนับแสน อะด้อล์ฟฮิตเลอร์ จอมเผด็จการนาซีที่จบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย ในรายชื่อผู้มีอิทธิพลด้วย ซึ่งในมุมมองของอัตตุรบานี สองคนนี้น่าจะเป็นขยะทางประวัติศาสตร์มากกว่า

ญีฮาด อัตตุรบานีเล่าว่า มีกลุ่มอาชญากรด้านประวัติศาสตร์ที่คอยฝังกลบความรุ่งโรจน์ของอิสลาม ด้วยการใส่ไคล้ผู้นำอิสลาม กระทั่งชาวมุสลิมเองแทบเอือมระอากับภาพลักษณ์ที่ถูกนำเสนอ ในขณะที่โลกทั่วไปก็จะจดจำผู้นำอิสลามที่มีแต่ความโหดเหี้ยม ฟุ้งเฟ้อเจ้าสำราญแถมโง่เง่าอีกต่างหาก ประวัติศาสตร์อิสลามจึงเป็นเรื่องราวที่เศร้าหมอง นองเลือด น่ากลัวสยดสยองและตลกโป๊กฮา

หากมีเรื่องราวที่น่าจะสร้างแรงบันดาลใจแก่โลกอิสลามอยู่บ้าง ก็ต้องดั้นด้นเข้าไปในทะเลทรายเพื่อค้นหาตะเกียงวิเศษของซาลาดิน(ศอลาหุดดีน) ที่สามารถเสกเป่าสร้างปาฏิหารย์ ที่ไม่มีผลใดๆในโลกแห่งความเป็นจริงนอกจากความเผ้อฝันของจินตนาการอันไร้สาระเท่านั้น

ในความเป็นจริงแล้ว โลกอิสลามร่ำรวยด้วยผู้นำผู้สามารถพลิกประวัติศาสตร์ที่ไม่เพียงแค่สร้างแรงกระเพื่อมแก่โลกอิสลามเท่านั้น
แต่มนุษยชาติทั้งมวลต่างก็รับรู้และรับประโยชน์จากน้ำฝนที่โปรยลงมา ที่ไม่มีใครสามารถแยกแยะได้ว่าช่วงแรกหรือสุดท้ายที่มีประโยชน์มากกว่ากัน

อัตตุรบานีเล่าว่า บุคคลที่เขาเลือกเป็นบุคคลธรรมดาที่มีตัวตนจริง ไม่ใช่นบีเพราะฐานะของนบี สูงส่งเกินกว่าที่จะนำเปรียบเทียบกับปุถุชน เขาไม่จัดลำดับตามอาวุโสหรือความมีเกียรติที่เหนือกว่า ถึงแม้อาจมีบุคคลที่เป็นข้อถกเถียงอย่างอับราฮัม ลินคอน ที่อัตตุรบานียืนยันว่าเป็นมุสลิม หรืออัยมาน ศอวาฮิรีย์ที่เป็นเจ้าสำนักที่นิยมความสุดโต่ง แต่ก็คงไม่ทำให้หนังสือเล่มนี้ด้อยคุณค่าไป เพราะเป็นเรื่องอิจญ์ติฮาด(การวินิจฉัยอย่างถี่ถ้วน)ของผู้เขียนเอง เราในฐานะผู้อ่านควรเคารพในการตัดสินใจของผู้เขียน และควรใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูล

ด้วยการเลือกใช้ภาษาง่ายๆสไตล์วัยรุ่น ที่อ่านแล้วเหมือนกับฟังเรื่องเล่าแต่แฝงด้วยพลังแห่งองค์ความรู้ที่กว้างขวางและลุ่มลึก เสมือนนำพาเราโลดเล่นบนท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ไร้พรมแดน ตั้งแต่ญี่ปุ่นจากฝั่งตะวันออกไปถึงประเทศชิลีทางฝั่งตะวันตก จากสวีเดนทางตอนเหนือไปยังแอฟริกาใต้ทางทิศใต้ ทำให้หนังสือเล่มนี้อ่านคลายสมองมากๆ และน่าจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้หนังสือเล่มนี้ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนและบรรดาวัยรุ่นที่กระหายองค์ความรู้ที่ถูกกดทับตายมาอย่างยาวนาน

ฟังตอนแรกเวอร์ชั่นอินโดนีเซียที่


บทความโดย อ.มัสลัน มาหะมะ

แหล่งที่มา : เพจ ดาบแห่งอัลเลาะห์ แอนตี้ไซออนิสต์


#NEWS_Islamic_Society_Online
#เรื่องเล่าคติเตือนใจ_Islamic_Society_Online
#การเมือง_ลัทธิและความเชื่อ_Islamic_Society_Online
#วีรบุรุษอิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความแนะนำ

World Clock

Featured Posts

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม โดย : Cem Nizamoglu และ Sairah Yassir-Deane ย้อนหลังไปถึงมีนาคม 2015 ข่าวเกี่ยวก...