product :

วันพฤหัสบดีที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

คัมภีร์อัล-กุรอานกับคริสตชน : ภาคที่ 5

คัมภีร์อัล-กุรอานกับคริสตชน : ภาคที่ 5

(อาลี เสือสมิง)


คัมภีร์อัล-กุรอานได้ระบุถึงปาฏิหาริย์ (มุอฺญิซาต) ที่พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้ทรงประทานแก่ อัล-มะสีหฺ อีซา บุตร มัรยัม (พระเยซูคริสต์) เพื่อยืนยันความสัจจริงในการเผยแพร่พระวจนะของพระองค์ในหมู่ชาวอิสราเอลว่า


إِذْ قَالَ اللَّـهُ يَا عِيسَى ابْنَ مَرْيَمَ اذْكُرْ نِعْمَتِي عَلَيْكَ وَعَلَىٰ وَالِدَتِكَ إِذْ أَيَّدتُّكَ بِرُوحِ الْقُدُسِ تُكَلِّمُ النَّاسَ فِي الْمَهْدِ وَكَهْلًا ۖ وَإِذْ عَلَّمْتُكَ الْكِتَابَ وَالْحِكْمَةَ وَالتَّوْرَاةَ وَالْإِنجِيلَ ۖ وَإِذْ تَخْلُقُ مِنَ الطِّينِ كَهَيْئَةِ الطَّيْرِ بِإِذْنِي فَتَنفُخُ فِيهَا فَتَكُونُ طَيْرًا بِإِذْنِي ۖ وَتُبْرِئُ الْأَكْمَهَ وَالْأَبْرَصَ بِإِذْنِي ۖ وَإِذْ تُخْرِجُ الْمَوْتَىٰ بِإِذْنِي


ความว่า : “จงรำลึกขณะพระองค์อัลลอฮฺทรงตรัสว่า : โอ้ อีซาบุตรของมัรยัมจงรำลึกถึงความโปรดปรานของข้าที่มีต่อเจ้าและมีต่อมารดาของเจ้า กล่าวคือข้าได้สนับสนุนเจ้าด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์ (คือทูตสวรรค์ญิบรออีล) เจ้าพูดจากับผู้คนในยามแบเบาะและยามเติบใหญ่ และขณะที่ข้าได้สอนให้เจ้ารู้ถึงคัมภีร์และวิทยญาณตลอดจนคัมภีร์เตารอตและอินญีล และขณะที่เจ้าได้ทำรูปจากดินเป็นเหมือนรูปร่างของนกด้วยอนุมัติของข้าแล้วเจ้าก็เป่าเข้าไปในรูปนั้นแล้วมันก็เป็นนกที่โบยบินด้วยอนุมัติของข้า และเจ้าได้รักษาคน ตาบอดแต่กำเนิดและคนที่เป็นโรคเรื้อนให้หายด้วยอนุมัติของข้า และขณะที่เจ้าได้นำคนที่ตายไปแล้ว (ให้ฟื้นขึ้น) ออกมาด้วยอนุมัติของข้า” (อัล-มาอิดะฮฺ อายะฮฺที่ 110)


ในอายะฮฺนี้ได้ระบุถึงปาฏิหาริย์ (มุอฺญิซาต) ที่เกิดขึ้นด้วยอนุมัติของพระเจ้าซึ่งพระองค์ทรงประทานแก่อัล-มะสีหฺ อีซา บุตร มัรยัม (อ.ล.) ไว้ดังนี้
  1. การสนับสนุนของทูตสวรรค์ญิบรออีลผู้เป็นวิญญาณบริสุทธิ์
  2. การพูดจากับผู้คนในวัยทารกและวัยเติบใหญ่เป็นหนุ่มเมื่อเริ่มเผยพระวจนะของพระเจ้า
  3. การสอนให้รู้ถึงข้อธรรมบัญญัติในคัมภีร์
  4. การปั้นรูปของนกจากดินแล้วเป่าวิญญาณเข้าไป รูปของนกนั้นก็มีชีวิตขึ้น
  5. การรักษาคนตาบอดแต่กำเนิดและคนที่เป็นโรคเรื้อนให้หายจากโรคทั้งสอง
  6. การทำให้คนตายฟื้นคืนชีพจากความตาย
  7. การประทานสำรับอาหารลงมาจากฟากฟ้าเพื่อให้เหล่าสาวกของอัล-มะสีหฺ อีซาได้รับประทาน ซึ่งปาฏิหาริย์ข้อนี้อยู่ในอายะฮฺที่ 112-115 จากบทอัล-มาอิดะฮฺ ซึ่งมีความหมายว่าสำรับอาหารหรือโต๊ะอาหารนั้นเอง
  8. การบอกถึงสิ่งที่ผู้คนได้รับประทานและเก็บกักตุนเอาไว้ภายในบ้านของพวกเขา ซึ่งอัล-กุรอานได้ระบุเอาไว้ในบท อาลิ-อิมรอน อายะฮฺที่ 49

ปาฏิหาริย์ทั้งหมดเป็นความโปรดปรานที่พระเจ้าทรงประทานแก่อัล-มะสีหฺ อีซาโดยเป็นขึ้นด้วยอนุมัติของพระองค์นี่คือสิ่งที่คัมภีร์อัล-กุรอานได้ระบุเอาไว้ ซึ่งบางข้อไม่มีระบุในพระคริสตธรรมคัมภีร์ เช่น ข้อที่ 4 และข้อที่ 7,8 เป็นต้น ผู้ที่อ่านพระคริสตธรรมคัมภีร์จะพบเรื่องราวอันเป็นปาฏิหาริย์ในเรื่องการรักษาคนตาบอดและคนเป็นโรคเรื้อนตลอดจนการทำให้คนตายฟื้นคืนชีพอยู่หลายเหตุการณ์ และปาฏิหาริย์บางประการเช่นการห้ามลมพายุ เป็นต้น จะไม่มีระบุไว้ในอัล-กุรอาน แต่มีระบุไว้ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ดังตัวอย่างถึงเรื่องปาฏิหาริย์ที่พระเยซูคริสต์ทรงแสดงเอาไว้ดังนี้
  • ทรงรักษาโรคเรื้อนให้หาย (มัทธิว 8 : 1-4)
  • ทรงรักษาบ่าวของนายร้อยที่เป็นง่อย (มัทธิว 8 : 5-13)
  • ทรงรักษาแม่ยายของเปโตรซึ่งป่วยเป็นไข้ (มัทธิว 8 : 14-15)
  • ทรงห้ามพายุ (มัทธิว 8 : 23-27)
  • ขับไล่ผีร้ายที่เข้าคน (มัทธิว 8 : 28-34)
  • รักษาคนตาบอด (มัทธิว 9 : 27-30)
  • รักษาคนใบ้ (มัทธิว 9 : 32-34)
  • รักษาคนที่มือลีบ (มัทธิว 12 : 9-13)
  • การเลี้ยงคนห้าพันคนด้วยขนมปังเพียง 5 ก้อนกับปลาสองตัว (มัทธิว 14 : 18-21)
  • เดินบนน้ำทะเล (มัทธิว 14 : 26-33)
  • การเลี้ยงคนสี่พันคน (มัทธิว 15: 32-38)
  • ทรงจำแลงพระกาย (มัทธิว 17 : 1-8)
  • ทรงสาปต้นมะเดื่อ (มัทธิว 21 : 18-22) เป็นต้น

นี่เป็นเพียงฉบับของมัทธิวเท่านั้นที่ได้บันทึกเรื่องราวปาฏิหาริย์ของอัล-มะสีหฺ อีซา บุตร มัรยัม ยังไม่นับรวมพระคริสต์ธรรมคัมภีร์ฉบับอื่นๆ ซึ่งผู้อ่านพระคริสตธรรมคัมภีร์จะสังเกตได้ว่าเรื่องราวปาฏิหาริย์ดังกล่าวเป็นเหมือน “การแสดง” ฤทธานุภาพของพระบุตรตามคำอ้างของพวกเขา ทั้งๆ ที่ในความเป็นจริงแล้วการแสดงปาฏิหาริย์ของผู้เผยพระวจนะในขณะที่ผู้คนไม่เชื่อและมีการท้าทาย ไม่ได้เกิดขึ้นพร่ำเพรื่อจนเกินเหตุ

ซึ่งเมื่อรวมเหตุการณ์ทั้งหมดเข้าด้วยกันก็จะมีผู้คนที่ถูกชุบชีวิตขึ้นมาให้ฟื้นจากความตายและหายจากโรคร้ายเป็นจำนวนมากมาย จึงดูเหมือนว่าผู้คนในสมัยของอัล-มะสีหฺ อีซามีแต่คนที่เป็นโรคเรื้อน ตาบอดแต่กำเนิด เป็นใบ้ เป็นง่อย เจ็บไข้ได้ป่วยจนเต็มบ้านเต็มเมือง บางทีอาจจะไม่สอดคล้องกับจำนวนของผู้คนในแผ่นดินปาเลสไตน์ ณ เวลานั้นด้วยซ้ำไป ยิ่งไปกว่านั้นปาฏิหาริย์ที่อัล-มะสีหฺ อีซา บุตร มัรยัมได้แสดงเอาไว้ยังเกิดขึ้นกับบรรดาอัครทูตของท่านอีกด้วย กลายเป็นว่าปาฏิหาริย์เหล่านั้นมิใช่สิ่งที่พระเจ้าทรงประทานให้แก่อัล-มะสีหฺ อีซา บุตร มัรยัม เป็นกรณีพิเศษ

ดังที่พระคริสตธรรมคัมภีร์ ระบุว่า :

“จงรักษาคนป่วยให้หาย คนตายแล้วให้ฟื้น คนโรคเรื้อนให้หายสะอาด และจงขับผีให้ออก…” (มัทธิว 10 : 8) ซึ่งหากว่าผู้ที่เชื่อในพระเยซูคริสต์กระทำสิ่งเหล่านี้ได้ เหตุไฉนบรรดาพระสันตะปาปาจึงยังคงเจ็บไข้ได้ป่วย ต้องมีหมอคอยถวายการรักษา ในเมื่อว่าพวกเขาได้รับอำนาจในการแสดงปาฏิหาริย์จากพระเยซูคริสต์มาแล้ว! ดังมีถ้อยความปรากฏว่า :

“มีผู้ใดในพวกท่านเจ็บป่วยหรือ จงให้ผู้นั้นเชิญบรรดาผู้ปกครองของคริสตจักรมา และให้ท่านเหล่านั้นอธิษฐานเพื่อเขาและเจิมเขาด้วยน้ำมันในพระนามขององค์พระผู้เป็นเจ้า และการอธิษฐานด้วยความเชื่อจะช่วยให้ผู้ป่วยรอดชีวิตและองค์พระผู้เป็นเจ้าจะทรงโปรดให้เขาหายโรค…” (ยากอบ 5 : 15)

การแสดงปาฏิหาริย์ (มุอฺญิซาต) ของอัล-มะสีหฺ อีซา บุตร มัรยัม (อ.ล.) ทั้งในเรื่องการรักษาคนป่วยให้หาย และการทำให้คนตายฟื้นคืนชีพตลอดจนปาฏิหาริย์อื่นๆ นั้น คัมภีร์อัล-กุรอานได้ย้ำว่านั่นเป็นไปด้วยอนุมัติของพระผู้เป็นเจ้าที่พระองค์ทรงประทานปาฏิหาริย์เหล่านั้นให้เกิดขึ้นโดยมี อัล-มะสีหฺ อีซา เป็นผู้แสดง มิใช่อำนาจเฉพาะของท่านแต่อย่างใด

ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ก็ระบุเอาไว้เช่นกันว่า :

“พระองค์จึงตรัสสั่งคนง่อยว่า “จงลุกขึ้นยกที่นอนกลับไปบ้านเถิด” เขาจึงลุกขึ้นไปบ้าน เมื่อประชาชนเห็นดังนั้นเขาก็ตระหนกตกใจ แล้วพากันสรรเสริญพระเจ้า ผู้ใดทรงประทานสิทธิอำนาจเช่นนั้นแก่มนุษย์” (มัทธิว 9 : 6-8)

“ฝ่ายคนทั้งปวงมีความกลัวและสรรเสริญพระเจ้าว่า “ท่านผู้เผยพระวจนะใหญ่ได้เกิดขึ้นท่ามกลางเรา และพระเจ้าได้เสด็จมาเยี่ยมเยียนชนชาติของพระองค์แล้ว” (ลูกา 7 : 16 ในเหตุการณ์เรียกบุตรแม่ม่ายที่นาอินให้เป็นขึ้นจากความตาย)

แต่คริสตชนถือเอาการแสดงปาฏิหาริย์เหล่านั้นของอัลมะสีหฺ อีซา เป็นเหตุผลว่าท่านคือพระเจ้าหรือเป็นพระบุตรของพระเจ้าที่ได้รับสิทธิ์อำนาจนั้นจากพระบิดาโดยเชื่อว่า ปาฏิหาริย์ที่เกิดขึ้นเป็นไปด้วยฤทธานุภาพของอัล-มะสีหฺ อีซา (พระเยซูคริสต์) เอง

ซึ่งการมีความเชื่อเช่นนี้แตกต่างจากความเชื่อของชาวมุสลิมเพราะมุสลิมเชื่อว่าปาฏิหารย์เหล่านั้นเป็นไปด้วยการอนุมัติและฤทธานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทานให้แก่อัล-มะสีหฺ อีซา เพื่อใช้เป็นหลักฐานยืนยันถึงความสัจจริงของท่านในการเป็นผู้เผยพระวจนะของพระเจ้า และจะแสดงปาฏิหาริย์นั้นตามความจำเป็น มิได้แสดงพร่ำเพรื่ออย่างที่พระคริสตธรรมคัมภีร์ระบุเอาไว้ในทำนองนั้น

คัมภีร์อัล-กุรอานระบุว่า การแสดงปาฏิหาริย์ (มุอฺญิซาตฺ) ของอัลมะสีหฺ อีซา บุตรมัรยัม เป็นไปด้วยอนุมัติขององค์พระผู้เป็นเจ้าโดยกำกับท้ายประโยคที่ระบุถึง ปาฏิหาริย์เหล่านั้นว่า (بِإِذْنِيْ) “โดยอนุมัติของข้า” เสมอในอายะฮฺที่ 110 จากบท อัล-มาอิดะฮฺ การกำกับท้ายประโยคเหล่านั้นก็เพื่อให้ผู้ศรัทธาไม่หลงประเด็นว่านั้นเป็นอำนาจที่ถูกใช้โดยพละการแต่เป็นไปด้วยอนุมัติของพระผู้เป็นเจ้าผู้ทรงกระทำให้สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นด้วยพระประสงค์และฤทธานุภาพของพระองค์เท่านั้น

คัมภีร์อัล-กุรอานระบุถึงหลักศรัทธาข้อนี้เอาไว้อย่างชัดเจนว่า


وَمَا كَانَ لِرَسُولٍ أَن يَأْتِيَ بِآيَةٍ إِلَّا بِإِذْنِ اللَّـهِ


ความว่า : และไม่ปรากฏว่าศาสนทูตของอัลลอฮฺมีสิทธิอันใดในการนำสัญญาณหนึ่งมาแสดง นอกเสียจากการแสดงสัญญาณนั้นเป็นไปด้วยพระอนุมัติของอัลลอฮฺ” (บท ฆอฟิรฺ อายะฮฺที่ 78)


แต่เมื่ออ่านพระคริสตธรรมคัมภีร์ ผู้อ่านจะพบเรื่องราวการแสดงปาฏิหาริย์ของเหล่าอัครสาวกผนวกเข้ามาด้วยดังปรากฏในหลายเหตุการณ์ดังนี้
  • เปโตรทำให้คนขอทานลุกขึ้นเดินได้เป็นปกติ (กิจการอัครทูต 3 : 5-10)
  • อานาเนียกับสัปฟีราล้มลงตายแทบเท้าของเปโตร เมื่อถูกจับได้ว่ายักยอกเงิน (กิจการอัครทูต 5 : 1-11)
  • คนป่วยและคนที่มีผีโสโครกเบียดเบียนหายด้วยการทำหมายสำคัญของเปโตร (กิจการอัครทูต 5 : 12-16)
  • สเทเฟนประกอบด้วยพระคุณและฤทธิ์เดชกระทำการมหัศจรรย์และทำการเป็นนิมิตใหญ่ท่ามกลางประชาชนภายหลังได้รับคัดเลือกในหมู่คนทั้งเจ็ดคนซึ่งพวกอัครทูตได้อธิษฐานและวางมือบนเขา (กิจการอัครทูต 7: 1-8)
  • ฟีลิปก็แสดงหมายสำคัญและกระทำสิ่งอัศจรรย์ด้วยการรักษาคนที่มีผีโสโครกเข้าสิง คนเป็นอัมพาตและคนง่อยให้หายเป็นปกติ (กิจการอัครทูต 8 : 4-7)
  • เปโตรรักษาไอเนอัสให้หายจากการเป็นอัมพาตถึงแปดปี (กิจการอัครทูต 9 : 32-34)
  • เปโตรอธิษฐานให้โดรคัสฟื้นคืนชีพ (กิจการอัครทูต 9: 36-41)
  • ทูตสวรรค์มาหาเปโตรและช่วยเปโตรให้พ้นจากคุก (กิจการอัครทูต 12 : 6-10)
  • เปาโลกับสิลาส อธิษฐานในคุกแล้วเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ ประตูคุกเปิดหมด เครื่องจำจองก็หลุด (กิจการอัครทูต 16 :19-29)
  • พระเจ้าได้ทรงกระทำอิทธิฤทธิ์อันพิสดารด้วยมือของเปาโล เพียงแค่เอาผ้าเช็ดหน้ากับผ้ากันเปื้อนของเปาโลไปวางที่คนป่วยไข้ก็หายและผีร้ายก็ถูกขับออก (กิจการอัครทูต 19 : 11-12) เป็นต้น

การแสดงสิ่งมหัศจรรย์และหมายสำคัญของเหล่าอัครทูตภายหลังพระเยซูคริสต์เสด็จไปแล้วนั้น ดูเหมือนว่าผู้บันทึกเรื่องราวเหล่านั้นในพระคริสตธรรมคัมภีร์มุ่งหมายให้สิ่งเหล่านั้นเป็นประจักษ์พยานถึงฤทธานุภาพของพระเยซูคริสต์ที่ทรงมอบเอาไว้ให้แก่พวกเขาแต่ทว่าผู้บันทึกกลับไม่ได้ฉุกคิดว่าการบันทึกเรื่องราวในทำนองนี้ได้ทำให้เกิดข้อกังขาหลายประการด้วยกัน

อาทิเช่น ทำให้จำนวนของผู้คนที่ถูกผีสิงและป่วยเป็นโรคมีจำนวนมากขึ้นไปอีกเมื่อนำไปรวมกับจำนวนของผู้ที่ได้รับการรักษาและการแสดงปาฏิหาริย์ของพระเยซูคริสต์จนดูเหมือนว่า ผู้คนในดินแดนปาเลสไตน์ในยามนั้นมีแต่คนถูกผีสิง คนป่วยเป็นโรคร้าย และมีคนตายแล้วฟื้นคืนชีพเป็นจำนวนมากซึ่งน่าจะขัดกับข้อเท็จจริง ตลอดจนเป็นการหักล้างคำอ้างที่ว่าพระเยซูคริสต์เป็นพระเจ้าเพราะมีฤทธานุภาพทำให้คนหายป่วยและฟื้นจากความตาย ซึ่งถ้าเป็นเช่นนั้นแล้วบรรดาอัครทูตเหล่านั้นที่ทำให้พระวิญญาณบริสุทธิ์ลงมาสถิตกับผู้คนมีความสามารถในการรักษาคนป่วยให้หายและทำให้คนตายฟื้นคืนชีพได้ นั่นก็แสดงว่าอัครทูตเหล่านั้นเป็นพระเจ้าไปด้วยหรือไม่!

ยิ่งไปกว่านั้น พระคริสตธรรมคัมภีร์ได้ระบุว่า :

“ผู้ใดเชื่อและรับบัพติศมาแล้ว ผู้นั้นจะรอด แต่ผู้ใดไม่เชื่อจะต้องปรับโทษ”

เมื่อมีคนเชื่อที่ไหน หมายสำคัญเหล่านี้จะบังเกิดขึ้นที่นั่น คือเขาจะขับผีออกโดยนามของเรา เขาจะพูดภาษาแปลกๆ เขาจะจับงูได้ ถ้าเขากินยาพิษอย่างใด จะไม่เป็นอันตรายแก่เขา และเขาจะวางมือบนคนไข้ คนป่วย แล้วคนเหล่านั้นจะหายโรค” (มาระโก 16 : 16-18)

หากเป็นเช่นนั้นจริง หมอและการรักษาพยาบาลก็คงหมดความสำคัญ เพราะคริสตชนที่เชื่อและรับบัพติศมาแล้วย่อมสามารถรักษาผู้คนทั้งหลายที่ป่วยไข้ได้ และการศึกษาภาษาของคนที่พูดภาษาอื่นก็คงไม่จำเป็น การมีล่ามถ่ายทอดภาษาก็คงไร้ความหมาย เพราะเมื่อเชื่อและรับบัพติศมาแล้วก็สามารถพูดภาษาแปลกๆ ของคนชาติอื่นได้

ความเชื่อเช่นนี้เองน่าจะเป็นเหตุสำคัญประการหนึ่งที่ทำผู้คนในดินแดนแห่งคริสต์ศาสนาในช่วงยุคกลางมีความล้าหลังทางการแพทย์และผู้คนก็เชื่อในอิทธิปาฏิหาริย์ต่างๆ นาๆ มากกว่าที่จะนำพาต่อการปฏิบัติตามพระธรรมบัญญัติและคำสั่งสอนของพระเยซูคริสต์ ในที่สุดศาสนาคริสต์ก็กลายเป็นศาสนาที่ผู้คนยอมรับด้วยเหตุของการแสดงอิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์ซึ่งสิ่งนี้แหล่ะคือความไม่ฉุกคิดของผู้บันทึกพระคริสตธรรมคัมภีร์ที่ระบุเอาไว้ในหลายเหตุการณ์ว่า เมื่ออัครทูตได้แสดงหมายสำคัญอันน่าอัศจรรย์แล้วผู้คนก็พากันเชื่อและรับแนวทางของผู้แสดงอิทธิปาฏิหาริย์นั้นเป็นจำนวนมาก แทนที่จะยอมรับในหลักธรรมคำสอนว่าเป็นสัจธรรมที่เที่ยงแท้เหนือกว่าอิทธิปาฏิหาริย์ทั้งปวง!

คำสอนของพระเยซูคริสต์กับพระธรรมบัญญัติเก่า


คัมภีร์อัล-กุรอานได้ระบุว่าพระผู้เป็นเจ้าทรงสอนให้อัล-มะสีหฺ อีซา บุตร มัรยัม (พระเยซูคริสต์) รู้ถึงการเขียน, วิทยญาณ, คัมภีร์เตารอต(ไบเบิ้ลเก่า) และคัมภีร์ อินญีล (ไบเบิ้ลใหม่) ดังปรากฏในบทอัล-มาอิดะฮฺ อายะฮฺที่ 110 ทั้งนี้การสอนดังกล่าวผ่านการดลใจ (วิวรณ์) จากพระผู้เป็นเจ้าโดยตรงและผ่านทูตสวรรค์ญิบรออีล (กาเบรียล) ความรู้เกี่ยวกับคัมภีร์ของอัล-มะสีหฺ อีซาจึงมิใช่ผ่านการเรียนและศึกษาคัมภีร์อย่างพวกบาเรียน ทั้งฟาริสีและพวกสะดูสี ซึ่งสิ่งนี้ถือเป็นหมายสำคัญประการหนึ่งที่ยืนยันความสัจจริงของอัล-มะสีหฺ อีซาในการเผยพระวจนะของพระเป็นเจ้าซึ่งพระองค์ทรงกระทำเช่นนี้กับบรรดาผู้เผยพระวจนะของพระองค์ในอดีต

ในคัมภีร์อัล-กุรอานระบุคำว่า อัล-หิกมะฮฺ (الحكمة) อันหมายถึงความถูกต้องที่ลุ่มลึก ความเข้าใจอันลึกซึ่งต่อถ้อยคำของคัมภีร์ และการประทาน อัล-หิกมะฮฺ (วิทยญาณ) นี้เป็นสิทธิเฉพาะของพระเป็นเจ้าที่พระองค์จะทรงประทานแก่ผู้ที่พระองค์ทรงมีพระประสงค์ ดังปรากฏในอัล-กุรอานว่า


يُؤْتِي الْحِكْمَةَ مَن يَشَاءُ ۚ وَمَن يُؤْتَ الْحِكْمَةَ فَقَدْ أُوتِيَ خَيْرًا كَثِيرًا ۗ وَمَا يَذَّكَّرُ إِلَّا أُولُو الْأَلْبَابِ


ความว่า “พระองค์จะทรงนำวิทยญาณมายังผู้ที่พระองค์ทรงประสงค์ และผู้ใดถูกนำวิทยญาณมายังเขาแน่แท้ผู้นั้นถูกนำมาซึ่งความดีอันมากมาย และจะไม่ระลึก (ถึงเรื่องนี้) นอกเสียจากบรรดาผู้มีปัญญาเท่านั้น” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 269)


คัมภีร์อัล-กุรอานได้กล่าวถึงศาสนทูตดาวูด (ดาวิด) ว่า


وَشَدَدْنَا مُلْكَهُ وَآتَيْنَاهُ الْحِكْمَةَ وَفَصْلَ الْخِطَابِ


ความว่า “และเราได้ทำให้อำนาจของเขา (ดาวูด) เข้มแข็ง และเราได้นำวิทยญาณมายังเขาตลอดจนความรู้ในการชำระคดีความ” (ศ็อด อายะฮฺที่ 20)


และกล่าวถึงบรรดาศาสนทูตผู้เผยพระวจนะทั้งหลายว่า


وَإِذْ أَخَذَ اللَّـهُ مِيثَاقَ النَّبِيِّينَ لَمَا آتَيْتُكُم مِّن كِتَابٍ وَحِكْمَةٍ


ความว่า “และจงรำลึกขณะที่อัลลอฮฺได้ทรงเอาพันธสัญญาของบรรดาผู้เผยพระวจนะว่าแน่นอนสิ่งที่ข้าได้นำมายังพวกเจ้าจากคัมภีร์และวิทยญาณ…” (อาลิ-อิมรอน อายะฮฺที่ 81)


และกล่าวถึงอัล-มะสีหฺ อีซา บุตร มัรยัม (อ.ล.) ว่า :


وَلَمَّا جَاءَ عِيسَىٰ بِالْبَيِّنَاتِ قَالَ قَدْ جِئْتُكُم بِالْحِكْمَةِ


ความว่า : “และเมื่ออีซาได้มาพร้อมกับบรรดาหมายที่ชัดแจ้ง อีซาได้กล่าวว่า แน่แท้ฉันมายังพวกท่านพร้อมด้วยวิทยญาณ…” (อัซ-ซุครุฟฺ อายะฮฺที่ 63)


ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ได้ระบุถึงการสั่งสอนของอัล-มะสีหฺ อีซา บุตรมัรยัม (อ.ล.) เอาไว้ว่า :

เมื่อเสด็จมาถึงตำบลบ้านของพระองค์แล้ว ก็สั่งสอนในธรรมศาลาของเขา จนคนทั้งหลายประหลาดใจแล้วพูดกันว่า “คนนี้มีสติปัญญาและฤทธิ์มหัศจรรย์อย่างนี้มาจากไหน” (มัทธิว 13 : 54)

การได้รับวิทยญาณจากพระผู้เป็นเจ้าของอัล-มะสีหฺ อีซา บุตรมัรยัมนั้นเกิดขึ้นนับแต่ช่วงเยาว์วัยของพระองค์แล้วดังที่อัล-กุรอานได้ระบุเอาไว้ในบท อาลิ-อิมรอน อายะฮฺที่ 48 ซึ่งศาสนทูตยะหฺยา (ยอห์น) บุตร ซะกะรียา (เศคาริยาห์) ก็ได้รับวิทยญาณจากพระเป็นเจ้านับแต่เยาว์วัยเช่นกัน ดังที่อัล-กุรอานระบุว่า


وَآتَيْنَاهُ الْحُكْمَ صَبِيًّا


ความว่า : “และเราได้นำวิทยญาณ (ความเข้าใจในคัมภีร์เตารอตและการประกอบศาสนกิจ) มายังเขา (ยะหฺยา) นับแต่ที่เขามีสภาพเยาว์วัย” (มัรยัม อายะฮฺที่ 12)


และบรรดาผู้เผยพระวจนะท่านอื่นๆ ต่างก็ได้รับวิทยญาณจากพระผู้เป็นเจ้าเช่นกัน ดังที่อัล-กุรอานได้ระบุเอาไว้ถึง
  • อิบรอฮีม(อับราฮัม) บท อัล-อัมบิยาอฺ 51
  • ลูฏ (โลฏ) บท อัล-อัมบินาอฺ 74
  • ดาวูด (ดาวิด) สุลัยมาน (เสโลมอน) บท อัล-อัมบิยาอฺ 79 เป็นต้น จึงเห็นได้ว่าการได้รับวิทยญาณของอัล-มะสีหฺ อีซา บุตรมัรยัมนั้นมิใช่สิ่งพิเศษเฉพาะที่เกิดขึ้นแก่ท่านแต่เป็นสิ่งที่บรรดาผู้เผยพระวจนะในอดีตได้รับมาก่อนแล้วเช่นกัน และอัล-มะสีหฺ อีซาก็คือผู้เผยพระวจนะนั่นเอง!

สำหรับสาระธรรมอันเป็นคำสั่งสอนของอัล-มะสีหฺ อีซา บุตรมัรยัม นั้นก็อิงกับพระธรรมบัญญัติในคัมภีร์เตารอตหรือพระคริสตธรรมคัมภีร์เก่านั่นเอง เพราะภารกิจของท่านประการหนึ่งก็คือการยืนยันความสัจจริงให้กับพระธรรมของพระผู้เป็นเจ้าที่ทรงประทานให้แก่มูซา (อ.ล.) หรือโมเสส

คัมภีร์ อัล-กุรอานได้ระบุชัดเจนเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า :


وَقَفَّيْنَا عَلَىٰ آثَارِهِم بِعِيسَى ابْنِ مَرْيَمَ مُصَدِّقًا لِّمَا بَيْنَ يَدَيْهِ مِنَ التَّوْرَاةِ ۖ وَآتَيْنَاهُ الْإِنجِيلَ فِيهِ هُدًى وَنُورٌ وَمُصَدِّقًا لِّمَا بَيْنَ يَدَيْهِ مِنَ التَّوْرَاةِ وَهُدًى وَمَوْعِظَةً لِّلْمُتَّقِينَ


ความว่า : และเราได้ส่งอีซา บุตรมัรยัมให้ติดตามแนวทางของบรรดาผู้เผยพระวจนะโดยยืนยันความสัจจริงของสิ่งที่มีมาก่อนเขาจากคัมภีร์อัต-เตารอต และเราได้นำ อัล-อินญีลมายังเขา ในนั้นมีทางนำ แสงสว่าง และยืนยันความสัจจริงของสิ่งที่มีมาก่อนเขาจากคัมภีร์ อัต-เตารอต เป็นทางนำ และข้อเตือนใจสำหรับบรรดาผู้ยำเกรงพระเจ้า” (อัล-มาอิดะฮฺ อายะฮฺที่ 46)


คัมภีร์อัล-กุรอานได้ประกาศอย่างชัดเจนถึงสถานภาพของอัล-มะสีหฺ อีซา บุตรมัรยัม (อ.ล.) ว่าท่านคือผู้เผยพระวจนะที่เดินตามรอยและมรรคาของเหล่าผู้เผยพระวจนะในอดีต ภารกิจของท่านคือการยืนยันความสัจจริงในคัมภีร์อัต-เตารอต และในขณะเดียวกัน อัล-มะสีหฺ อีซา ก็ได้รับคัมภีร์ อัล-อินญีล อีกด้วย

แต่ทว่า คัมภีร์อัต-เตารอต และอัล-อินญีล ที่ถูกประทานให้แก่มูซาและอัล-มะสีหฺอีซา ตามลำดับนั้นหาใช่พระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้งเก่าและใหม่ไม่ เพราะคัมภีร์ทั้งสองนี้ถูกบิดเบือน เปลี่ยนแปลงและถูกเขียนขึ้นโดยมนุษย์ กระนั้นข้อความอันเป็นสัจธรรมในคัมภีร์ทั้งสองเล่มที่ปรากฏอยู่ในหมู่ชาวยิวและชาวคริสต์นั้นยังคงมีหลงเหลืออยู่บ้างสำหรับการสืบค้นถึงความจริง โดยเฉพาะข้อความที่สอดคล้องกับคัมภีร์อัล-กุรอานตลอดจนเรื่องคำสอนทางศีลธรรมและความเชื่อในพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว ซึ่งเราพอจะสรุปคำสอนเหล่านี้ได้ดังต่อไปนี้

คำสอนเรื่องพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียว


คัมภีร์ อัล-กุรอานระบุถึงคำสอนของอัล-มะสีหฺ อีซา ในเรื่องนี้ไว้อย่างชัดเจนว่า :


وَجِئْتُكُم بِآيَةٍ مِّن رَّبِّكُمْ فَاتَّقُوا اللَّـهَ وَأَطِيعُونِ ﴿٥٠

إِنَّ اللَّـهَ رَبِّي وَرَبُّكُمْ فَاعْبُدُوهُ ۗ هَـٰذَا صِرَاطٌ مُّسْتَقِيمٌ ﴿٥١


ความว่า : “และฉันได้มายังพวกท่านพร้อมดัวยสัญญาณหนึ่งจากพระผู้อภิบาลของพวกท่าน ฉะนั้น พวกท่านจงยำเกรงอัลลอฮฺและเชื่อฟังฉัน แท้จริงอัลลอฮฺคือพระผู้อภิบาลของฉันและพระผู้อภิบาลของพวกท่าน ฉะนั้น จงเคาระสักการะต่อพระองค์ นี่คือมรรคาที่เที่ยงตรง” (อาลิ-อิมรอน อายะฮฺที่ 50-51)


ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ก็ระบุถึงคำสอนนี้โดยใช้สำนวนโวหารเรียกพระผู้เป็นเจ้าว่าเป็น พระบิดา ซึ่งมิได้มุ่งหมายนัยตามตัวอักษร ดังที่เราได้กล่าวถึงเรื่องนี้มาแล้วในบทความก่อนหน้า

ข้าแต่พระบิดาแห่งข้าพระองค์ทั้งหลาย ผู้ทรงสถิตในสวรรค์ ขอให้พระนามของพระองค์เป็นที่เคาระสักการะ” (มัทธิว 6: 9)

จงรักพระองค์พระผู้เป็นเจ้าของเจ้าด้วยสุดใจสุดจิตของเจ้า และด้วยสิ้นสุดความคิดของเจ้า (มัทธิว 22 : 37)

และอย่าเรียกผู้ใดในโลกว่าเป็นบิดาเพราะท่านมีพระบิดาแต่ผู้เดียว คือผู้ทรงสถิตในสวรรค์” (มัทธิว 23 : 9) เป็นต้น

คำสอนเรื่องคุณลักษณะ (ศิฟะฮฺ) ของพระผู้เป็นเจ้า


พระผู้เป็นเจ้าทรงมีคุณลักษณะที่สมบูรณ์ไม่มีข้อบกพร่อง ไม่มีมลทินใดๆ พระองค์ทรงรู้ถึงสรรพสิ่งต่างๆ และทรงมีฤทธานุภาพเหนือทุกสิ่ง ในคัมภีร์อัล-กุรอานได้สาธยายถึงคุณลักษณะต่างๆ ของพระองค์เอาไว้อย่างครบถ้วน ซึ่งสามารถย้อนกลับไปศึกษาถึงเรื่องนี้ได้ทุกเมื่อ และเราคงไม่มีความจำเป็นในการหยิบยกหลักฐานจากอัล-กุรอานมากล่าวถึงในเรื่องนี้แต่อย่างใด ในส่วนของพระคริสตธรรมคัมภีร์นั้น มีหลายข้อความที่ระบุถึงคุณลักษณะอันสมบูรณ์ของพระองค์

อาทิเช่น

แต่วันนั้น โมงนั้น ไม่มีใครรูถึง บรรดาทูตสวรรค์หรือพระบุตรก็ไม่รู้ รู้แต่พระบิดาองค์เดียว” (มัทธิว 24 : 36)

ฝ่ายมนุษย์ก็เหลือกำลังที่จะทำได้ แต่ไม่เหลือกำลังของพระเจ้าเพราะว่าพระเจ้าทรงกระทำให้สำเร็จได้ทุกสิ่ง” (มาระโก 10 : 27)

เพราะว่าไม่มีสิ่งหนึ่งสิ่งใดซึ่งพระเจ้าทรงกระทำไม่ได้” (ลูกา 1 : 37)

….พระนามของพระองค์ก็บริสุทธิ์ พระกรุณาของพระองค์มีแก่บรรดาผู้ยำเกรง พระองค์ทุกชั่วอายุสืบไป พระองค์ทรงสำแดงฤทธิ์ด้วยพระกรของพระองค์ พระองค์ทรงกระทำให้คนที่ใจเย่อหยิ่ง แตกฉานซ่านเซ็นไป พระองค์ทรงถอดเจ้านายจากพระที่นั่ง และพระองค์ทรงยกผู้น้อยขึ้น พระองค์ทรงโปรดให้คนอดอยากอิ่มด้วยสิ่งดีและทรงกระทำให้คนมั่งมีไปมือเปล่า…” (ลูกา 1 : 49-53)

ไม่มีใครประเสริฐ เว้นแต่พระเจ้าองค์เดียว” (ลูกา 18 : 19)

คำสอนของเราไม่ใช่ของเราเอง แต่เป็นของพระองค์ผู้ทรงใช้เรามา” (ยอห์น 7 : 16)

แต่พระองค์ทรงใช้เรามานั้น ทรงเป็นสัตย์จริง และสิ่งที่เราได้ยินจากพระองค์ เรากล่าวแก่โลก” (ยอห์น 8 : 26)

ถึงผมของท่านทั้งหลาย ก็ทรงนับไว้แล้วทุกเส้น” (มัทธิว 10 : 30)

ท่านทั้งหลายจงมีความเมตตากรุณาเหมือนอย่างพระบิดาของท่านมีพระทัยเมตตากรุณา” (ลูกา 6 : 36)

คำสอนของอัล-มะสีหฺ อีซา บุตรมัรยัมว่าด้วยการปฏิบัติตามพระธรรมบัญญัติของพระเจ้า


คัมภีร์อัล-กุรอานได้ระบุว่า ภารกิจของอัล-มะสีหฺ อีซา บุตรมัรยัม (อ.ล.) คือการยืนยันถึงความสัจจริงของคัมภีร์เตารอต ที่พระผู้เป็นเจ้าได้ทรงประทานมาให้แก่ศาสนทูต มูซา (โมเสส) โดยพระองค์ได้สอนให้อัล-มะสีหฺ อีซา (อ.ล.) รู้ถึงพระธรรมบัญญัติในคัมภีร์เตารอตที่แท้จริงโดยการดลใจ (วิวรณ์) มิใช้ด้วยการศึกษาเล่าเรียนคัมภีร์อย่างพวกฟาริสีและสะดูสีหรือพวกปุโรหิตชาวยิว

ดังปรากฏในอัล-กุรอานว่า


وَمُصَدِّقًا لِّمَا بَيْنَ يَدَيَّ مِنَ التَّوْرَاةِ وَلِأُحِلَّ لَكُم بَعْضَ الَّذِي حُرِّمَ عَلَيْكُمْ


ความว่า : “และยืนยันความสัจจริงให้แก้คัมภีร์เตารอตที่มีมาก่อนฉัน และเพื่อที่ฉันจะได้อนุมัติบางส่วนของสิ่งที่ถูกบัญญัติเหนือพวกท่านให้แก่พวกท่าน” (อาลิ อิมรอน อายะฮฺที่ 50)


หมายความว่า อัล-มะสีหฺ อีซา (อ.ล.) ได้มายังวงศ์วานอิสราเอลในฐานะผู้ยืนยันความสัจจริงของคัมภีร์เตารอตที่มีมาก่อนแล้ว มิใช่มายกเลิกคัมภีร์เตารอตหรือกระทำสิ่งที่ขัดแย้งกับคำสอนและหลักบัญญัติของคัมภีร์เตารอต ยกเว้นสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงผ่อนปรนเอาไว้ในคัมภีร์ อัล-อินญีล จากสิ่งที่เคยถูกบัญญัติอย่างเข้มงวดเหนือวงศ์วานอิสราเอล เช่น การรับประทานเนื้อปลา เนื้ออูฐ ไขมันสัตว์ และการทำงานในวันเสาร์ (สะบาโต) เป็นต้น

สิ่งข้างต้นนี้สอดคล้องกับข้อความที่มีบันทึกไว้ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ดังนี้

อย่าคิดว่าเรามาเลิกล้างธรรมบัญญัติและคำของผู้เผยพระวจนะ เรามิได้มาเลิกล้าง แต่มาทำให้สมบูรณ์ทุกประการ เราบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลายว่า ตราบใดที่ฟ้าและดินดำรงอยู่ แม้อักษรหนึ่งหรือขีดๆ หนึ่งก็จะไม่สูญไปจากธรรมบัญญัติ จนกว่าสิ่งที่จะต้องเกิด ได้เกิดขึ้นแล้ว เหตุฉะนั้น ผู้ใดได้ทำให้ข้อเล็กน้อยสักข้อหนึ่งในธรรมบัญญัตินี้เบาขึ้น ทั้งสอนให้คนอื่นทำอย่างนั้นด้วย ผู้นั้นจะได้ชื่อว่าเป็นผู้น้อยที่สุดในแผ่นดินสวรรค์ แต่ผู้ใดประพฤติและสอนตามธรรมบัญญัติ ผู้นั้นจะได้ชื่อว่าเป็นใหญ่ในแผ่นดินสวรรค์” (มัทธิว 5 : 17-19)

จงเอาแอกของเราแบกไว้ แล้วเรียนจากเรา เพราะว่าเราสุภาพและใจอ่อนน้อม และจิตใจของท่านทั้งหลายจะได้พัก ด้วยแอกของเราก็พอเหมาะ และภาระของเราก็เบา” (มัทธิว 11 : 29-30)

เพราะว่าบุตรมนุษย์เป็นเจ้าเป็นใหญ่เหนือวันสะบาโต” (มัทธิว 12 : 8)

โมเสสได้ยอมให้ท่านทั้งหลายหย่าภรรยาของตนเพราะใจท่านทั้งหลายแข็งกระด้าง แต่เมื่อเดิมมิได้เป็นอย่างนั้น”(มัทธิว 19 : 8)

เพราะฉะนั้น ทุกสิ่งซึ่งเขา (พวกธรรมจารย์และพวกฟาริสี) สั่งสอนพวกท่าน จงถือประพฤติตามเว้นแต่การประพฤติของเขาอย่าได้ทำตามเลย เพราะเขาเป็นแต่ผู้สั่งสอน แต่เขาเองหาทำตามไม่” (มัทธิว 23 : 3)

อัล-มะสีหฺ อีซา บุตร มัรยัม (อ.ล.) ได้กำชับให้ผู้ที่เชื่อในการแสดงปาฏิหาริย์ของท่านด้วยการปฏิบัติตามสิ่งที่ศาสนทูตมูซา (อ.ล.) หรือ โมเสส กำหนดเป็นบัญญัติเอาไว้ดังเช่นในกรณีของคนโรคเรื้อนที่ได้รับการรักษาจนหายแล้ว พระคริสตธรรมคัมภีร์ได้บันทึกว่า :

พระองค์จึงกำชับเขาไม่ให้บอกผู้ใด และตรัสว่า : “แต่จงไปสำแดงแก่ปุโรหิตและถวายเครื่องบูชาสำหรับคนที่หายโรคเรื้อนแล้ว ตามซึ่งโมเสสได้สั่งไว้ เพื่อเป็นหลักฐานต่อคนทั้งหลายว่าเจ้าหายโรคแล้ว” (ลูกา 5 : 14)

นอกจากนี้ อัล-มะสีหฺ อีซา บุตรมัรยัม (อ.ล.) ยังได้กำชับเศรษฐีหนุ่มคนหนึ่งให้รักษาพระบัญญัติไว้เพื่อได้ชีวิตนิรันดร์ ดังปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ว่า :

ดูเถิด มีคนหนึ่งมาทูลพระองค์ว่า “ท่านอาจารย์ ข้าพเจ้าจะต้องทำดีประการใดจึงจะได้ชีวิตนิรันดร์

พระเยซูตรัสตอบเขาว่าท่านถามเราถึงสิ่งที่ดีทำไม ผู้ที่ดีมีแต่ผู้เดียว แต่ถ้าท่านปรารถนาจะเข้าใจชีวิต ก็ให้ถือรักษาพระบัญญัติไว้” คนนั้นทูลถามว่า “คือพระบัญญัติข้อใดบ้าง” พระเยซูตรัสว่า : คือข้อที่ว่า “อย่าฆ่าคน อย่าล่วงประเวณีผัวเมียเขา อย่าลักทรัพย์ อย่าเป็นพยานเท็จจงให้เกียรติแก่บิดามารดาของตน และจงรักเพื่อนบ้านเหมือนรักตนเอง” (มัทธิว 19 : 16-19)

อย่างไรก็ตาม คำสอนของอัล-มะสีหฺ อีซา (พระเยซูคริสต์) ก็มีความแตกต่างในรายละเอียดของพระธรรมบัญญัติเดิมของโมเสส (ศาสนทูตมูซา) ในหลายประเด็นดังนี้

– พระธรรมบัญญัติของโมเสสห้ามฆ่าคน แต่พระเยซูคริสต์สอนไปมากกว่านั้นว่า

“ท่านทั้งหลายได้ยินคำกล่าวไว้แก่คนโบราณว่า อย่าฆ่าคน ถ้าผู้ใดฆ่าคน ผู้นั้นจะต้องถูกพิพากษาลงโทษ

เราบอกท่านทั้งหลายว่า ผู้ใดโกรธพี่น้องของตน ผู้นั้นจะต้องถูกพิพากษาลงโทษ ถ้าผู้ใดจะพูดกับพี่น้องว่า “อ้าย โง่” ผู้นั้นต้องถูกนำไปที่ศาลสูงให้พิพากษาลงโทษ และผู้ใดจะว่า “อ้าย บ้า” ผู้นั้นจะมีโทษถึงไฟนรก” (มัทธิว 5 : 21-22)

– พระธรรมบัญญัติของโมเสสห้ามล่วงประเวณีผัวเมียเขา แต่พระเยซูคริสต์ห้ามยิ่งกว่านั้นว่า :

ท่านทั้งหลายได้ยินคำซึ่งกล่าวไว้ว่า อย่าล่วงประเวณีผัวเมียเขา ฝ่ายเราบอกท่านทั้งหลายว่า ผู้ใดมองหญิงเพื่อให้เกิดกำหนัดในหญิงนั้น ผู้นั้นได้ล่วงประเวณีในใจกับหญิงนั้นแล้ว” (มัทธิว 5 : 27-28)

– ธรรมบัญญัติของโมเสสอนุญาตให้หย่าร้างได้ แต่พระเยซูคริสต์ได้นำชีวิตสมรสกลับสู่ความบริสุทธิ์เดิมและยกเลิกการหย่าร้างซึ่งโมเสสมิได้อนุญาตนอกจากเป็นเพราะความหยาบกระด้างของหัวใจที่เกิดขึ้นในหมู่วงศ์วานอิสราเอล

ยังมีคำกล่าวไว้ว่า ถ้าผู้ใดจะหย่าภรรยา ก็ให้ทำหนังสือหย่าให้แก่ภรรยานั้น ฝ่ายเราบอกท่านทั้งหลายว่า : ถ้าผู้ใดจะหย่าภรรยาเพราะเหตุอื่น นอกจากการเล่นชู้ ก็เท่ากับว่าผู้นั้นทำให้หญิงนั้นผิดศีลล่วงประเวณี และถ้าผู้ใดจะรับหญิงซึ่งหย่าแล้วเช่นกันนั้นมาเป็นภรรยา ผู้นั้นก็ผิดศีลล่วงประเวณีด้วย” (มัทธิว 5 : 31-32)

– ธรรมบัญญัติของโมเสสห้ามการเสียคำสบถสาบานต่อพระเจ้า ส่วนพระเยซูคริสต์นั้นทรงห้ามการสบถสาบานทุกรูปแบบ

อีกประการหนึ่งท่านทั้งหลายได้ยินคำ ซึ่งกล่าวไว้แก่คนโบราณว่า อย่าเสียคำสัตย์สาบาน คำสัตย์สาบานที่ได้ถวายต่อองค์พระเป็นเจ้านั้น ต้องรักษาไว้ให้มั่น

ฝ่ายเราบอกท่านทั้งหลายว่า อย่าสาบานเลย โดยอ้างถึงสวรรค์ก็อย่าสาบาน เพราะสวรรค์เป็นที่ประทับของพระเจ้า หรือโดยอ้างถึงแผ่นดินโลกก็อย่าสาบาน เพราะแผ่นดินโลกเป็นที่รองพระบาทของพระเจ้า หรือโดยอ้างถึงกรุงเยรูซาเล็มก็อย่าสาบานเพราะกรุงเยรูซาเล็มเป็นราชธานีของพระมหากษัตริย์

อย่าสาบานโดยอ้างถึงศีรษะของตน เพราะท่าน จะกระทำให้ผมขาวหรือดำไปสักเส้นหนึ่งก็ไม่ได้ จริงก็จงว่าจริง ไม่ก็ว่าไม่ พูดแต่เพียงนี้ก็พอ คำพูดเกินจากนี้ไปมาจากความชั่ว
” (มัทธิว 5 : 33-37)

– ธรรมบัญญัติของโมเสสมีความผ่อนปรนและยอมรับในเรื่องการตอบแทน แต่พระเยซูคริสต์มีทัศนคติเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า :

ท่านทั้งหลายได้ยินคำซึ่งกล่าวไว้ว่า ตาแทนตา และฟันแทนฟัน ฝ่ายเราบอกท่านว่า อย่าต่อสู้คนชั่ว ถ้าผู้ใดตบแก้มขวาของท่าน ก็จงหันแก้มซ้ายให้เขาด้วย” (มัทธิว 5 : 38-39)

– ธรรมบัญญัติของโมเสสว่าให้รักคนสนิทและเกลียดชังศัตรู แต่พระเยซูคริสต์สอนว่า :

ท่านทั้งหลายได้ยินคำซึ่งกล่าวไว้ว่า “จงรักคนสนิทและเกลียดชังศัตรู” ฝ่ายเราบอกท่านว่า จงรักศัตรูของท่านและจงอธิษฐานชวนเพื่อนที่ข่มเหงท่าน” (มัทธิว 5 : 43-44)

ดูเหมือนว่าคำสอนประการสุดท้ายและประการก่อนหน้านี้เป็นสิ่งที่คริสตชนละเลยและไม่ถือปฏิบัติตามที่พระเยซูคริสต์สอนไว้เพราะสงครามครูเสดก็ดี สงครามโลกก็ดี ตลอดจนการล่าอาณานิคมพร้อมกับคณะมิชชันนารีของกลุ่มประเทศคริสตชนที่ได้กระทำกับคนนอกศาสนาเป็นสิ่งที่ประวัติศาสตร์บันทึกเอาไว้อย่างมิอาจปฏิเสธได้เลยว่าคริสตชนเหล่านั้นปฏิบัติตามคำสอนของพระเยซูคริสต์หรือไม่?

คัมภีร์อัล-กุรอานได้ระบุถึงการหลงลืมพันธสัญญาที่ไว้กับพระผู้เป็นเจ้าและสิ่งที่พระเยซูคริสต์ได้เตือนให้ชาวคริสต์รำลึกไว้ในคำสอนของพระองค์ว่า :


وَمِنَ الَّذِينَ قَالُوا إِنَّا نَصَارَىٰ أَخَذْنَا مِيثَاقَهُمْ فَنَسُوا حَظًّا مِّمَّا ذُكِّرُوا بِهِ فَأَغْرَيْنَا بَيْنَهُمُ الْعَدَاوَةَ وَالْبَغْضَاءَ إِلَىٰ يَوْمِ الْقِيَامَةِ


ความว่า : “และจากบรรดาผู้ที่กล่าวว่า แท้จริงเราคือนะศอรอ (คริสตชน) เราได้เอาพันธสัญญาของพวกเขา แล้วพวกเขาก็หลงลืมส่วนหนึ่งจากสิ่งที่พวกเขาเคยถูกเตือนให้ระลึกถึงสิ่งนั้น ดังนั้นเราจึงปลุกปั่นให้มีความเป็นศัตรูและความขุ่นเคืองระหว่างพวกเขาจวบจนวันอวสาน” (อัล-มาอิดะฮฺ อายะฮฺที่ 14)


ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ก็ระบุถึงเรื่องนี้เช่นกันว่า :

คราวนั้นคนเป็นอันมากจะถดถอยไป และอายัดกันและกัน ทั้งจะเกลียดชังซึ่งกันและกันด้วย” (มัทธิว 24 : 10)

การอ้างถึงผู้เผยพระวจนะในอดีตดังที่ปรากฏในคำสอนของพระเยซูคริสต์


สิ่งหนึ่งที่ยืนยันถึงความเป็นผู้เผยพระวจนะของพระเยซูคริสต์ (อัล-มะสีหฺ อีซา) คือการอ้างถึงบรรดาผู้เผยพระวจนะในอดีตเพื่อประกอบคำอธิบายในเรื่องต่างๆ ที่อาจจะมีผู้ถามถึง เช่น พวกธรรมาจารย์ พวกฟาริสี และพวกสะดูสี เป็นต้น ตลอดจนการอ้างในเชิงเปรียบเทียบเพื่อให้เห็นถึงสาระธรรมที่สั่งสอนแก่ผู้คนในเหตุการณ์ต่างๆ ซึ่งการอ้างเช่นนี้บ่งบอกถึงความเข้าใจอย่างลึกซึ้งต่อธรรมบัญญัติเดิมซึ่งเป็นวิทยญาณที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานให้แก่อัล-มะสีหฺ อีซา (พระเยซูคริสต์) โดยตรง

อีกทั้งยังบ่งชี้ว่า อัล-มะสีหฺ อีซา มีสถานภาพและดำเนินตามวิถีทางของบรรดาผู้เผยพระวจนะที่มีมาก่อน ทั้งนี้บรรดาผู้เผยพระวจนะของพระเจ้านั้นถือในมรรคาเดียวกัน และมีความเป็นพี่น้องกันในการประกาศสาส์น ของพระผู้เป็นเจ้า คัมภีร์อัล-กุรอาน ได้ยืนยันถึงข้อเท็จจริงนี้ว่า :


وَأَوْحَيْنَا إِلَىٰ إِبْرَاهِيمَ وَإِسْمَاعِيلَ وَإِسْحَاقَ وَيَعْقُوبَ وَالْأَسْبَاطِ وَعِيسَىٰ وَأَيُّوبَ وَيُونُسَ وَهَارُونَ وَسُلَيْمَانَ


ความว่า : “และเราได้มีวะฮฺยุ (การดลใจ) ไปยังอิบรอฮีม (อับราฮัม) อิสมาอีล (อิชมาเอล) อิสหาก (อิสอัค) ยะอฺกู๊บ (ยอกอบ) และบรรดาลูกหลานของยะอฺกู๊บ ตลอดจน อีซา (พระเยซูคริสต์) อัยยูบ (โยบ) ยูนุส (โยน่าห์) ฮารูน (อารอน) และสุลัยมาน (ซาโลมอน)” (อัน-นิสาอฺ อายะฮฺที่ 163)


ดังนั้น จึงมิใช่เรื่องแปลก ที่เราจะพบว่าในคำสอนของอัล-มะสีหฺ อีซา (พระเยซูคริสต์) มีการอ้างถึงบรรดาผู้เผยพระวจนะในอดีตประกอบคำสอนของพระองค์ด้วยดังปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์เป็นตัวอย่างดังนี้ว่า :

คนชาติชั่วและคิดทรยศต่อพระเจ้าแสวงหาหมายสำคัญ และจะไม่ทรงโปรดให้หมายสำคัญแก่เขา เว้นไว้แต่หมายสำคัญของโยนาห์ผู้เผยพระวจนะ” (มัทธิว 12 : 39)

โยนาห์ผู้เผยพระวจนะในคำสอนนี้หมายถึง นบียูนุส (อ.ล.) ผู้เป็นบุตร มัดธาย ซึ่งเผยพระวจนะในเมืองนีนะเวห์ ท่านมีฉายานามว่า ซุนนูน (เจ้าของปลาใหญ่) เพราะเหตุที่ท่านอยู่ในท้องปลาวาฬนั่นเอง ในคัมภีร์อัล-กุรอานมีบทหนึ่งชื่อว่า บทยูนุส และกล่าวถึงชาว นีนะเวห์ซึ่งเป็นกลุ่มชนของนบียูนุส (อ.ล.) ไว้ในอายะฮิที่ 98 และในบทอัน-นิสาอฺ อายะฮฺที่ 163 ก็ออกชื่อท่านไว้พร้อมกับชื่อของบรรดาผู้เผยพระวจนะท่านอื่นๆ รวมถึง อัล-มะสีหฺอีซา บุตร มัรยัมด้วย ในบท อัล-อันอาม อายะฮฺที่ 86 และในบท อัศ-ศอฟาต อายะฮฺที่ 139-148 ซึ่งกล่าวถึงเรื่องราวของท่านอย่างกระชับและครอบคลุม

นางกษัตริย์ฝ่ายทิศใต้จะลุกขึ้นในวันพิพากษาพร้อมกับคนยุคนี้ และจะเป็นตัวอย่างในคนยุคนี้ได้รับโทษ ด้วยว่าพระนางนั้นได้มาจากสุดปลายแผ่นดินโลก เพื่อจะฟังสติปัญญาของซาโลมอน…” (มัทธิว 12 : 42)

นางกษัตริย์ฝ่ายทิศใต้ที่ถูกกล่าวถึงนี้คือ ราชินีแห่งสะบะอฺ ในยะมัน (เยเมน) โบราณ พระนางอยู่ร่วมสมัยกับนบีสุลัยมาน (อ.ล.) หรือกษัตริย์ซาโลมอน เรื่องราวของบุคคลทั้งสองถูกระบุไว้ในคัมภีร์ อัล-กุรอาน บท อันนัมลุ อายะฮฺที่15-44 ซึ่งมีเรื่องราวที่ชัดเจน กินใจ และครอบคลุมเนื้อหาสำคัญ เมืองสะบะอฺที่พระนางปกครองก็เป็นชื่อเรียก บทหนึ่งในคัมภีร์ อัล-กุรอาน คือ บทสะบะอฺ ในอายะฮฺที่ 15-18 ระบุเรื่องราวของผู้คนในเมือง สะบะอฺ นี้เอาไว้

ส่วนนบีสุลัยมาน (อ.ล.) นั้นถูกออกชื่อเอาไว้พร้อมกับเรื่องราวของท่านถึง 17 ครั้ง ในบทต่างๆ ของคัมภีร์ อัล-กุรอาน และรายละเอียดที่ปรากฏในคัมภีร์อัล-กุรอานเกี่ยวกับสิ่งที่พระผู้เป็นเจ้าทรงประทานให้แก่นบีสุลัยมาน (อ.ล.) หรือ ซาโลมอนนั้นไม่ปรากฏมีในพระคริสตธรรมคัมภีร์เก่า อาทิเช่น การเข้าใจภาษาของนกและฝูงมด การบังคับและควบคุมหมู่ญิน ตลอดจนการความคุมสายลมเพื่อสนับสนุนอำนาจของท่าน เป็นต้น

นอกจากนี้พระเยซูคริสต์ยังได้กล่าวถึง เอลียาหฺ (นบีอิลยาส) (มัทธิว 17 : 11) โมเสส (มูซา) (มัทธิว 19 :7-8) ยอห์น (ยะหฺยา) (มัทธิว 21 : 25-32) อับราฮัม (อิบรอฮีม) อิสหาก (อิสอัค) และยาโคบ (ยะอฺกู๊บ) (มัทธิว 22 : 32) ดาวิด (ดาวูด) (มัทธิว 22 : 42) เศคาริยาห์ (ซะกะรียา) (ลูกา 11 : 51) โนอาหฺ (นูหฺ) (มัทธิว 24 : 37-38) เป็นต้น

เหตุที่ท่านกล่าวถึงบรรดาผู้เผยพระวจนะเหล่านั้นก็เพื่อยืนยันแก่ชาวอิสราเอลในสมัยของท่านว่า ท่านคือผู้เผยพระวจนะซึ่งมีกิจจานุกิจเช่นเดียวกับพวกเขาหล่านั้น ท่านนบี มุฮัมมัด กล่าวว่า :


اَلْأَنْبِيَاءُ إِخْوَةٌ مِنْ عَلَّاتٍ ، أُمَّهَا تُهُمْ شَتّٰى ، وَدِيْنُهُمْ وَاحِدٌ


ความว่า : “บรรดาผู้เผยพระวจนะนั้นคือบรรดาพี่น้องที่ร่วมบิดาเดียวกัน มารดาของพวกเขาหลายหลาย และศาสนาของพวกเขาหนึ่งเดียว” (รายงานโดย อัล-บุคอรียฺและมุสลิม)


หมายความว่า รากฐานแห่งศาสนาของเหล่าผู้เผยพระวจนะนั้นเป็นหนึ่งคือ การเชื่อในเอกภาพของพระผู้เป็นเจ้า ถึงแม้ว่าข้อปลีกย่อยในธรรมบัญญัติของพวกเขาจะแตกต่างกันก็ตาม (ฟัตหุลบารียฺ 6/489)

read more "คัมภีร์อัล-กุรอานกับคริสตชน : ภาคที่ 5"

วันพุธที่ 30 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

กุมบัต (Kumbet) หรือกุนบัด

กุมบัต (Kumbet) หรือกุนบัด



อาคารลักษณะเด่นที่พบได้เปอร์เซีย (อิหร่าน) อนาโตเลีย (ตุรกี) และเอเชียกลาง ดินแดนซึ่งครั้งหนึ่งเคยอยู่ภายใต้จักรวรรดิเซลญู๊ก (Great Seljuq Empire ค.ศ.1037-1194) และรัฐสุลต่านเซลญู๊กแห่งรูม (Seljuq Sultanate of Rum ค.ศ.1077-1307) กุมบัตเป็นอาคารอนุสรณ์ครอบลงบนหลุมศพของบุคคลสำคัญต่างๆ ผังอาคารจำแนกออกได้หลายแบบเช่น ผังสี่เหลี่ยม กลม แปดเหลี่ยม หรือสิบเหลี่ยม โดยมีส่วนหลังคาเป็นโดมทรงแหลม สันนิษฐานว่าอาจได้รับอิทธิพลมาจากสถาปัตยกรรมเปอร์เซียก่อนยุคอิสลาม (ปาเธียน-ซาสซานียะฮ์) หรืออาจได้แรงบันดาลใจมาจากกระโจมของของชาวเติร์กซึ่งอพยพมาจากทุ่งหญ้าสเตปป์ในเอเชียกลาง

จากภาพ : กุมบัตของ Ali Pasha และ Selime Sultan ในอักซาราย (Aksaray) ตุรกี

read more "กุมบัต (Kumbet) หรือกุนบัด "

วันอังคารที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ความประเสริฐของ สิบคืนสุดท้าย เดือนรอมฎอน

ความประเสริฐของ สิบคืนสุดท้าย เดือนรอมฎอน




มวลการสรรเสริญเป็นของอัลลอฮฺ การสรรเสริญและความศานติจงมีแด่ท่านร่อซูล (ซ.ล.) ฉันขอปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอฮฺองค์เดียว โดยไม่มีภาคีใดๆ สำหรับพระองค์ และฉันขอปฏิญาณว่าท่านนบีมุหัมมัดคือบ่าวและศาสนทูตของพระองค์

แท้จริง แบบอย่างของท่านนบี (ซ.ล.) ในช่วงสิบวันสุดท้ายของเดือนนี้นั้นท่านได้ทุ่มเทอย่างเต็มที่ในการทำอิบาดะฮฺอย่างที่ไม่เคยปรากฏในเดือนอื่นๆ ดังที่ท่านหญิงอาอิชะฮ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้เล่าว่า


«كَانَ رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ يَجْتَهِدُ فِي الْعَشْرِ الْأَوَاخِرِ، مَا لَا يَجْتَهِدُ فِي غَيْرِهِ» (مسلم برقم 1175)


ความว่า “ท่านนบี (ซ.ล.) ได้ทุ่มเทอย่างเต็มที่ (ในการทำอิบาดะฮฺ) ตลอดสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอน อย่างที่ไม่เคยปรากฏในเดือนอื่นๆ” (บันทึกโดยมุสลิม : 1175)


และมีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา เช่นเดียวกันว่า


عَنْ عَائِشَةَ رَضِيَ اللهُ عَنْهَا قَالَتْ : كَانَ النَّبِيُّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ إِذَا دَخَلَ الْعَشْرُ شَدَّ مِئْزَرَهُ، وَأَحْيَا لَيْلَهُ، وَأَيْقَظَ أَهْلَهُ. (البخاري رقم 2024، مسلم رقم 832)


ความว่า “ท่านร่อซูล (ซ.ล.) นั้น เมื่อถึงช่วงสิบวันสุดท้ายของเราะมะฎอน ท่านจะรัดผ้านุ่งไว้ให้แน่น (หมายถึงไม่ร่วมหลับนอนกับภรรยา) ท่านจะให้ชีวิตแก่ค่ำคืน (หมายถึงประกอบอิบาดะฮฺในยามค่ำคืน) และท่านจะปลุกบรรดาภรรยาของท่าน (ให้ลุกขึ้นมาประกอบอิบาดะฮฺ)” (รายงานโดย อัล-บุคอรีย์ :2024 และมุสลิม :832)


ท่านได้ทำให้ค่ำคืนมีชีวิตชีวาด้วยกับการละหมาด การซิกิรฺ (รำลึกถึงอัลลอฮฺ) การขอดุอาอ์ และได้ปลุกบรรดาภรรยาของท่านจากการนอน ทั้งนี้ก็เพื่อให้พวกเขาได้ทุ่มเทอย่างเต็มที่ในการละหมาด ซิกิรฺ และการวิงวอนต่ออัลลอฮฺ ตะอาลา เหล่านี้คือแบบอย่างหรือสุนนะฮฺของท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ที่มุสลิมบางคนไม่ค่อยให้ความใส่ใจมากนัก ซึ่งอัลลอฮฺ ตะอาลา ได้ดำรัสว่า


﴿يَٰٓأَيُّهَا ٱلَّذِينَ ءَامَنُواْ قُوٓاْ أَنفُسَكُمۡ وَأَهۡلِيكُمۡ نَارٗا وَقُودُهَا ٱلنَّاسُ وَٱلۡحِجَارَةُ عَلَيۡهَا مَلَٰٓئِكَةٌ غِلَاظٞ شِدَادٞ لَّا يَعۡصُونَ ٱللَّهَ مَآ أَمَرَهُمۡ وَيَفۡعَلُونَ مَا يُؤۡمَرُونَ ٦﴾ ]التحريم : 6[


ความว่า “โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย จงคุ้มครองตัวของพวกเจ้าและครอบครัวของพวกเจ้าให้พ้นจากไฟนรก เพราะเชื้อเพลิงของมันคือมนุษย์ และก้อนหิน มีมะลาอิกะฮฺผู้กร้าวหาญคอยเฝ้ารักษามันอยู่ พวกเขาจะไม่ฝ่าฝืนอัลลอฮฺในสิ่งที่พระองค์ทรงบัญชาแก่พวกเขา และพวกเขาจะปฏิบัติตามที่ถูกบัญชา” (สูเราะฮฺ อัต-ตะหฺรีม : 6)


สำหรับ “การรัดผ้านุ่งไว้ให้แน่น” มีนักวิชาการหลายท่านได้กล่าวว่า นั้นคือเป็นการเปรียบเปรยจากการไม่ร่วมหลับนอนกับภรรยา และอุทิศกับการทำอิบาดะฮฺ และด้วยเหตุนี้เอง ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงได้อิอฺติกาฟในช่วงสิบคืนสุดท้ายนี้ที่มัสญิด โดยได้ตัดขาดจากโลกดุนยา และใช้ชีวิตอย่างสันโดษกับพระผู้เป็นเจ้าของท่าน ขอดุอาอ์ต่อพระองค์ ร้องทุกข์ (มุนาญาฮฺ) ต่อพระองค์ ขอความช่วยเหลือต่อพระองค์ และวอนขอต่อพระองค์

การอิอฺติกาฟนั้น ถือเป็นหนึ่งในอิบาดะฮฺที่ให้ประโยชน์อย่างยิ่งยวดในแง่ของการช่วยขัดเกลาหัวใจให้ดีงาม รวบรวมและเพิ่มพูนความมุ่งมั่นทะเยอทะยาน ขจัดมลทินและความบกพร่องทั้งหลาย ใครก็ตามที่ได้ทดลองแล้วเขาย่อมจะรู้ดีที่สุด

ดังมีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้เล่าว่า


«أَنَّ النَّبِيَّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، كَانَ يَعْتَكِفُ العَشْرَ الأَوَاخِرَ مِنْ رَمَضَانَ حَتَّى تَوَفَّاهُ اللَّهُ، ثُمَّ اعْتَكَفَ أَزْوَاجُهُ مِنْ بَعْدِهِ» (البخاري برقم 2026 ومسلم 1172)


ความว่า “ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม ได้อิอฺติกาฟช่วงสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอนจนกระทั่งอัลลอฮฺได้เอาชีวิตท่านไป หลังจากนั้นบรรดาภรรยาของท่านก็ได้อิอฺติกาฟหลังจากท่านต่อ” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 2026 และมุสลิม : 1172)


ถ้าหากมีคนกล่าวว่า “อะไรคือหิกมะฮฺ (เหตุผลหรือวิทยปัญญา) ที่ท่านนบี (ซ.ล.) ได้เจาะจงในสิบวันสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอนด้วยกับการอิอฺติกาฟหลายวันและได้ทุ่มเทอย่างเต็มที่ในการเคารพภักดีต่ออัลลอฮฺ

คำตอบก็คือ “ที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ปฏิบัติเช่นนั้นก็เพื่อแสวงหาค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺ

มีรายงานจากท่านอบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า


إِنَّ رَسُولَ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ اعْتَكَفَ الْعَشْرَ الْأَوَّلَ مِنْ رَمَضَانَ، ثُمَّ اعْتَكَفَ الْعَشْرَ الْأَوْسَطَ، فِي قُبَّةٍ تُرْكِيَّةٍ عَلَى سُدَّتِهَا حَصِيرٌ، قَالَ: فَأَخَذَ الْحَصِيرَ بِيَدِهِ فَنَحَّاهَا فِي نَاحِيَةِ الْقُبَّةِ، ثُمَّ أَطْلَعَ رَأْسَهُ فَكَلَّمَ النَّاسَ، فَدَنَوْا مِنْهُ، فَقَالَ: «إِنِّي اعْتَكَفْتُ الْعَشْرَ الْأَوَّلَ، أَلْتَمِسُ هَذِهِ اللَّيْلَةَ، ثُمَّ اعْتَكَفْتُ الْعَشْرَ الْأَوْسَطَ، ثُمَّ أُتِيتُ، فَقِيلَ لِي: إِنَّهَا فِي الْعَشْرِ الْأَوَاخِرِ، فَمَنْ أَحَبَّ مِنْكُمْ أَنْ يَعْتَكِفَ فَلْيَعْتَكِفْ»، فَاعْتَكَفَ النَّاسُ مَعَهُ (البخاري برقم2018 مسلم 215)


ความว่า “แท้จริงท่านเราะสูลุลลอฮฺ (ซ.ล.) เคยอิอฺติกาฟในช่วงสิบวันแรกของเดือนเราะมะฎอน หลังจากนั้นท่านอิอฺติกาฟต่ออีกในช่วงสิบวันกลางของเดือนเราะมะฎอนโดยพำนักอยู่ในกุบบะฮฺ ตุรกิยะฮฺ (หมายถึงกระโจมหรือโดมเล็กๆ) ซึ่งที่ประตูกุบบะฮฺนั้นมีเสื่ออยู่ผืนหนึ่ง ท่านได้ใช้มือหยิบเสื่อผืนนั้นเพื่อปูไว้ในกุบบะฮฺ แล้วโผล่หัวมาพูดกับผู้คนโดยเรียกให้คนเข้าใกล้ท่านแล้วกล่าวว่า “แท้จริงฉันเคยอิอฺติกาฟในช่วงสิบวันแรกของเดือนเราะมะฎอนเพื่อแสวงหาค่ำคืนนี้ (ลัยละตุลก็อดรฺ) หลังจากนั้นฉันอิอฺติกาฟต่อไปในช่วงสิบวันกลางของเดือนเราะมะฎอน และแล้วมีผู้หนึ่งมาหาฉัน และบอกฉันว่า แท้จริงค่ำคืนนี้ (ลัยละตุลก็อดรฺ) อยู่ในช่วงสิบวันสุดท้าย ดังนั้น ใครก็ตามในหมู่พวกท่านที่ชอบจะอิอฺติกาฟ เขาจงอิอฺติกาฟในช่วงสิบวันสุดท้าย" แล้วผู้คนต่างก็ร่วมอิอฺติกาฟกับท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ 2018และมุสลิม 215)


ซึ่งนี่คือค่ำคืนที่ยิ่งใหญ่และมีความจำเริญยิ่ง ผู้ที่ไม่ได้รับความดีงามใดๆ จากมันก็แสดงว่าเขาเป็นบุคคลที่ขาดทุนแน่แล้ว นั่นคือสิบวันสุดท้าย (ของเดือนเราะมะฎอน)ที่มันจะเคลื่อนย้ายไปตลอด(ทุกๆ ปี โดยที่ปีหนึ่งจะอยู่ในค่ำคืนหนึ่งและปีต่อไปก็จะอยู่ในอีกคืนหนึ่ง-ผู้แปล) ตามที่อัลลอฮฺทรงประสงค์

ดังที่มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า


«تَحَرَّوْا لَيْلَةَ القَدْرِ فِي الوِتْرِ، مِنَ العَشْرِ الأَوَاخِرِ مِنْ رَمَضَانَ» (البخاري برقم 2017)


ความว่า “พวกเจ้าจงแสวงหาค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺในค่ำคืนที่เป็นคี่จากค่ำคืนสุดท้ายของเดือนเราะมะฎอนเถิด” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ : 2017)


และได้เน้นย้ำในเจ็ดคืนสุดท้าย (ของเดือนเราะมะฎอน) ดังที่ท่านอิบนุ อุมัรฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุมา ได้เล่าว่า


أَنَّ رِجَالًا مِنْ أَصْحَابِ النَّبِيِّ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، أُرُوا لَيْلَةَ القَدْرِ فِي المَنَامِ فِي السَّبْعِ الأَوَاخِرِ، فَقَالَ رَسُولُ اللَّهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ: «أَرَى رُؤْيَاكُمْ قَدْ تَوَاطَأَتْ فِي السَّبْعِ الأَوَاخِرِ، فَمَنْ كَانَ مُتَحَرِّيهَا فَلْيَتَحَرَّهَا فِي السَّبْعِ الأَوَاخِرِ» (البخاري برقم2015 ومسلم 1165)


ความว่า “มีชายกลุ่มหนึ่งจากบรรดาเศาะฮาบะฮฺของท่านนบีศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้เห็นค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺในความฝันในเจ็ดคืนสุดท้าย (ของเดือนเราะมะฎอน) ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงกล่าวว่า “ฉันเห็นว่าพวกท่านนั้นได้ฝันตรงกันว่ามันจะเกิดขึ้นในเจ็ดคืนสุดท้าย ดังนั้นหากผู้ใดต้องการแสวงหามัน ก็จงแสวงหาในเจ็ดคืนสุดท้ายเถิด” (บันทึกโดย อัล-บุคอรีย์ 2015 และมุสลิม 1165)


และปรากฏว่าท่านอุบัยย์ บิน กะอับ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้สาบานว่า ค่ำคืนลัยละตุลก็อดร์นั้นคือค่ำคืนที่ 27 (ของเดือนเราะมะฎอน) ซึ่งท่านซิรฺ บิน หุบัยชฺ ได้เล่าว่า


سَمِعْتُ أُبَيَّ بْنَ كَعْبٍ، يَقُولُ: وَقِيلَ لَهُ إِنَّ عَبْدَ اللهِ بْنَ مَسْعُودٍ، يَقُولُ: مَنْ قَامَ السَّنَةَ أَصَابَ لَيْلَةَ الْقَدْرِ ، فَقَالَ أُبَيٌّ: وَاللهِ الَّذِي لَا إِلَهَ إِلَّا هُوَ، إِنَّهَا لَفِي رَمَضَانَ، يَحْلِفُ مَا يَسْتَثْنِي، وَوَاللهِ إِنِّي لَأَعْلَمُ أَيُّ لَيْلَةٍ هِيَ، هِيَ اللَّيْلَةُ الَّتِي أَمَرَنَا بِهَا رَسُولُ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ بِقِيَامِهَا، هِيَ لَيْلَةُ صَبِيحَةِ سَبْعٍ وَعِشْرِينَ، وَأَمَارَتُهَا أَنْ تَطْلُعَ الشَّمْسُ فِي صَبِيحَةِ يَوْمِهَا بَيْضَاءَ لَا شُعَاعَ لَهَا. (مسلم برقم 762)


ความว่า “ฉันได้ยินท่านอุบัยย์ บิน กะอับ กล่าวว่า มีคนกล่าวแก่ท่านว่า ท่านอับดุลลอฮฺ บิน มัสอูด ได้กล่าวว่า ผู้ใดที่ได้ปฏิบัติกิยามุลลัยลฺตลอดทั้งปีเขาย่อมได้พบกับค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺอย่างแน่นอน ท่านอุบัยย์จึงกล่าวเสริมว่า ขอสาบานต่ออัลลอฮฺผู้ทรงไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ว่า มันย่อมอยู่ในเดือนเราะมะฎอนอย่างแน่นอน และขอสาบานต่ออัลลอฮฺว่าแท้จริงฉันได้ทราบแล้วว่ามันคือคืนไหน มันคือค่ำคืนที่ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม เคยสั่งใช้ให้เราตื่นขึ้นทำกิยามุลลัยลฺ มันคือค่ำคืนที่ 27 โดยเครื่องหมายของมันก็คือดวงอาทิตย์จะโผล่ขึ้นมาในเช้าวันใหม่ในสภาพสีขาวนวลไม่มีแสงที่ส่องจ้า”(บันทึกโดยมุสลิม : 762)


และมีรายงานจากท่านอบู สะอีด อัล-คุดรีย์ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านเราะสูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า


« وَقَدْ رَأَيْتُ هَذِهِ اللَّيْلَةَ فَأُنْسِيتُهَا، فَالْتَمِسُوهَا فِي الْعَشْرِ الْأَوَاخِرِ، فِي كُلِّ وِتْرٍ، وَقَدْ رَأَيْتُنِي أَسْجُدُ فِي مَاءٍ وَطِينٍ» قَالَ أَبُو سَعِيدٍ الْخُدْرِيُّ: مُطِرْنَا لَيْلَةَ إِحْدَى وَعِشْرِينَ، فَوَكَفَ الْمَسْجِدُ فِي مُصَلَّى رَسُولِ اللهِ صَلَّى اللهُ عَلَيْهِ وَسَلَّمَ، فَنَظَرْتُ إِلَيْهِ وَقَدِ انْصَرَفَ مِنْ صَلَاةِ الصُّبْحِ، وَوَجْهُهُ مُبْتَلٌّ طِينًا وَمَاءً.(البخاري برقم 2027 ومسلم برقم 1167)


ความว่า “แท้จริงฉันได้เห็นค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺแต่แล้วฉันก็ถูกทำให้ลืมมันดังนั้นพวกเจ้าจงแสวงหามันในสิบวันสุดท้าย (ของเดือนเราะมะฎอน) ในคืนที่เป็นคี่ และฉันเห็นว่าตัวเองได้สุญูดบนน้ำและโคลนแล้ว”ท่านอบู สะอีด อัล-คุดรีย์ ได้เล่าอีกว่า ฝนได้ตกลงมายังพวกเราในค่ำคืนที่ 21 ของเดือนเราะมะฎอนทำให้มัสยิดจึงมีน้ำหยด (รั่ว) ลงมายังสถานที่ละหมาดของท่านนบี ศ็อลลัลลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัมดังนั้นเราจึงมองไปยังท่านนบีซึ่งเป็นเวลาที่ท่านเสร็จจากการละหมาดศุบหฺแล้วและ (เราพบว่า) หน้าของท่านเปียกชุ่มด้วยดินโคลนและน้ำ” (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ 2027 และมุสลิม 1167 )


ท่านอัล-หาฟิซ อิบนุหะญัร ได้กล่าวว่า “ทัศนะที่ถูกต้องนั้นคือ ค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺจะมีในวันคี่ของสิบสุดท้าย (ของเดือนเราะมะฎอน) และมันจะเคลื่อนย้ายไปตลอด (ทุกๆ ปี โดยที่ปีหนึ่งจะอยู่ในค่ำคืนหนึ่ง และปีต่อไปก็จะอยู่ในอีกคืนหนึ่ง -ผู้แปล) ” (ฟัตหุลบารีย์ 4/266)

และนี่คือฮิกมะฮฺ (เหตุผลหรือวิทยปัญญา)ของพระผู้เป็นเจ้า(ที่ให้ค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺมีการสับเปลี่ยนและหมุนเวียนกันตลอด -ผู้แปล) ซึ่งหากมีการระบุเจาะจงว่าค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺนั้นคือค่ำคืนใด ผู้คนก็จะมุ่งทุ่มเทในการทำอิบาดะฮฺต่างๆ เฉพาะค่ำคืนนั้นอย่างเดียว แล้วจะละทิ้งในค่ำคืนที่เหลือ ถ้าเป็นเช่นนั้น ก็จะกลายเป็นว่าผู้ที่มีความทุ่มเทอย่างเต็มที่กับผู้ที่มีความเกียจคร้านนั้นไม่ได้แตกต่างอะไรเลย

และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม เองก็มีความพยายามที่จะรักษาในการทำอิบาดะฮฺในค่ำคืนดังกล่าว เนื่องจากอัลลอฮฺได้ให้ในค่ำคืนนั้นมีความประเสริฐและผลบุญต่างๆ อย่างมากมาย

ซึ่งในจำนวน (ความประเสริฐของค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺ) ที่อัลลอฮฺได้ระบุถึงนั้นคือ เป็นค่ำคืนที่ดียิ่งกว่าหนึ่งพันเดือน อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้มีดำรัสว่า


﴿ لَيۡلَةُ ٱلۡقَدۡرِ خَيۡرٞ مِّنۡ أَلۡفِ شَهۡرٖ ٣ ﴾ [القدر: ٣ [


ความว่า “ค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺนั้นดียิ่งกว่าหนึ่งพันเดือน” (สูเราะฮฺ อัล-ก็อดรฺ : 3)


นั่นคือการทำอิบาดะฮฺในค่ำคืนนั้นดียิ่งกว่าการทำอิบาดะฮฺตลอดระยะเวลา 83 ปี 4 เดือน

ในจำนวน (ความประเสริฐของค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺ) อีก ก็คือ (เป็นค่ำคืน) ที่อัลกุรอานอันยิ่งใหญ่ถูกประทานลงมา อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้มีดำรัสว่า


﴿إِنَّآ أَنزَلۡنَٰهُ فِي لَيۡلَةٖ مُّبَٰرَكَةٍۚ إِنَّا كُنَّا مُنذِرِينَ ٣ ﴾ [الدخان: ٣ [


ความว่า “แท้จริง เราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอันจำเริญ แท้จริงเราเป็นผู้ตักเตือน” (สูเราะฮฺ อัล-ก็อดรฺ : 3)


อัลลอฮฺ ได้ดำรัสอีกว่า


﴿ إِنَّآ أَنزَلۡنَٰهُ فِي لَيۡلَةِ ٱلۡقَدۡرِ ١ ﴾ [القدر: ١] 


ความว่า “แท้จริงเราได้ประทานอัลกุรอานลงมาในคืนอัล-ก็อดรฺ” (สูเราะฮฺ อัล-ก็อดรฺ : 1)


ในจำนวน (ความประเสริฐของค่ำคืนนั้น) อีกคือ บรรดามะลาอิกะฮฺจะลงมาในค่ำคืนนั้น และมันจะเต็มไปด้วยความดีงามและความจำเริญต่างๆ อัลลอฮฺ ตะอาลา ได้มีดำรัสว่า


﴿تَنَزَّلُ ٱلۡمَلَٰٓئِكَةُ وَٱلرُّوحُ فِيهَا بِإِذۡنِ رَبِّهِم مِّن كُلِّ أَمۡرٖ ٤ سَلَٰمٌ هِيَ حَتَّىٰ مَطۡلَعِ ٱلۡفَجۡرِ ٥﴾ [القدر: ٤، ٥] 


ความว่า “บรรดามะลาอิกะฮฺและอัร-รูหฺ (ญิบรีล) จะลงมาในคืนนั้น โดยอนุมัติแห่งพระเจ้าของพวกเขาเนื่องจากกิจการทุกๆ สิ่งคืนนั้นมีความศานติจนกระทั่งรุ่งอรุณ” (สูเราะฮฺ อัล-ก็อดรฺ : 4-5)


และในจำนวน (ความประเสริฐของค่ำคืนนั้น) คือ อัลลอฮฺจะทรงให้อภัยโทษสำหรับผู้ที่ดำรงอิบาดะฮฺในค่ำคืนนั้นด้วยเปี่ยมศรัทธาต่ออัลลอฮฺและหวังในความโปรดปรานและผลตอบแทนจากพระองค์ ดังที่ท่านอบู ฮุร็อยเราะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮุ ได้เล่าว่า ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้กล่าวว่า


«وَمَنْ قَامَ رَمَضَانَ إِيمَانًا وَاحْتِسَابًا، غُفِرَ لَهُ مَا تَقَدَّمَ مِنْ ذَنْبِهِ» (البخاري برقم 2009 ومسلم برقم 759)


ความว่า "และผู้ใดที่ลุกขึ้น (อิบาดะฮฺ) ในค่ำคืนอัล-ก็อดรฺด้วยเปี่ยมศรัทธาต่ออัลลอฮฺ และหวังในความโปรดปรานและผลตอบแทนจากพระองค์เขาจะได้รับการอภัยโทษจากบาปที่ผ่านมา" (บันทึกโดยอัล-บุคอรีย์ : 2009 และมุสลิม : 759 )


และแท้จริง ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม ได้ให้ข้อแนะนำแก่ท่านหญิงอาอิชะฮฺ เราะฎิยัลลอฮุอันฮา ในครั้งที่ท่านหญิงได้ถามท่านว่า โอ้ท่านเราะสูลุลลอฮฺ หากฉันทราบว่าค่ำคืนใดเป็นค่ำคืนลัยละตุลก็อดรฺ ฉันควรอ่านดุอาอ์อะไรบ้าง ? ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะสัลลัม จึงตอบว่า เธอก็จงอ่าน(ดุอาอ์)


«اللهم إِنَّكَ عَفُوٌّ تُحِبُّ الْعَفْوَ فَاعْفُ عَنِّي» (الترمذي برقم 3513 ، وصححه الألباني في صحيح الترغيب والترهيب 3391)


ความว่า “โอ้องค์อภิบาลของฉันแท้จริงพระองค์เป็นผู้ที่ทรงให้อภัยพระองค์ชอบที่จะให้อภัย (บาปต่างๆ ของบ่าวของพระองค์) ดังนั้น ขอพระองค์โปรดประทานอภัยใน (บาปต่างๆ) ของข้าด้วยเถิด”(บันทึกโดยอัต-ติรมิซีย์ 3513ชัยคฺอัล-อัลบานีย์ มีทัศนะว่า เศาะฮีหฺ ในหนังสือเศาะฮีหฺ อัต-ตัรฆีบ วัต-ตัรฮีบ 3391 )


มวลการสรรเสริญเป็นกรรมสิทธิ์ของอัลลอฮฺ ผู้ทรงเป็นพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก การสรรเสริญและความศานติของอัลลอฮฺจงมีแด่ท่านนบีมุหัมมัดของเรา บรรดาเครือญาติ ตลอดจนบรรดาเศาะหาบะฮฺทั้งหลายของท่านด้วยเทอญ


ที่มา: islamhouse.com
แปลโดย : แวมูฮัมหมัดซาบรี แวยะโก๊ะ

read more "ความประเสริฐของ สิบคืนสุดท้าย เดือนรอมฎอน"

วันจันทร์ที่ 28 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เรื่องเล่าจากหะดีษ

เรื่องเล่าจากหะดีษ



หะดิษบุคอรีย์ ว่าด้วยกรณีตื่นไม่ทันเวลาละหมาดซุบฮ์

มุซัดดัด ได้เล่าให้เราฟังโดยกล่าวว่า ยะห์ยา อิบนุสะอี๊ด เล่าให้เราฟัง โดยกล่าวว่า เอาวฟ์ เล่าให้เราฟังโดยกล่าวว่า อบู รอญาอ์ เล่าให้เราฟังจาก อิมรอน กล่าวว่า : พวกเราได้เดินทางพร้อมกับท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ในครั้งหนึ่ง และพวกเราได้เดินทางต่อในยามกลางคืน จนกระทั่งถึงปลายคืน พวกเราจึงได้หยุดพักนอน ณ.สถานที่หนึ่ง และไม่มีการพักนอนครั้งใดที่จะหวานหอมไปยิ่งกว่า การพักนอนของผู้เดินทางในช่วงปลายคืน โดยไม่มีผู้ใดปลุกเรานอกจากความร้อนของดวงอาทิตย์ ปรากฏว่าผู้ที่ตื่นขึ้นมาเป็นคนแรกๆคือคนนั้น,คนนั้นและคนนั้น ตามด้วยอุมัร อิบนุ้ล ค๊อตต็อบ เป็นคนที่สี่ แต่ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมนั้น เมื่อท่านนอนหลับก็ไม่มีใครปลุกท่าน นอกจากท่านจะตื่นด้วยตัวท่านเอง เนื่องจากพวกเราไม่รู้ว่าจะเกิดสิ่งใดขึ้นกับในการนอนของท่าน, เมื่ออุมัรได้ตื่นขึ้นมาและพบสิ่งที่เกิดขึ้นแก่บรรดาผู้คน (ซึ่งเขาเป็นคนที่บึกบึน) เขาจึงได้ตั๊กบีร และส่งเสียงดังในการตั๊กบีรนั้น โดยเขายังคงตั๊กบีรต่อไป และส่งเสียงดังในตั๊กบีร จนกระทั่ง ท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัมได้ตื่นขึ้นมาด้วยเสียงของเขา และเมื่อท่านได้ตื่นขึ้นมา บรรดาผู้คนก็ร้องทุกข์กับท่านถึงเรื่องที่ได้ประสบกับพวกเขา (คือการตื่นไม่ทันเวลาซุบฮ์) ท่านกล่าวว่า ไม่เป็นไร หรือกล่าวว่า ไม่เป็นอันตรายแต่อย่างใด ไปกันต่อเถอะ ดังนั้นพวกเขาจึงออกเดินทางต่อ และเมื่อเดินทางออกมาไม่ไกลนัก ท่านก็แวะพักโดยเรียกหาน้ำเพื่ออาบน้ำละหมาด แล้วท่านก็อาบน้ำละหมาด และให้ประกาศการละหมาด (อะซานและอิกอมะห์) โดยท่านได้นำละหมาดบรรดาผู้คน หลังจากเสร็จการละหมาด และเห็นชายผูหนึ่งปลีกตัวออกไปโดยไม่ได้ละหมาดรวมกับคนอื่น ท่านกล่าวว่า อะไรที่ห้ามเจ้าไม่ให้ละหมาดพร้อมกับคนอื่นหรือ เขาตอบว่า ฉันมีญะนาบะห์และไม่มีน้ำอาบ ท่านกล่าวว่า จงใช้ฝุ่น (ทำตะยัมมุม) ซึ่งมันเพียงพอแก่เจ้าแล้ว

หลังจากนั้นท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ก็เดินทางต่อ บรรดาผู้คนได้ร้องทุกข์ต่อท่านจากความกระหายน้ำ ดังนั้นท่านจึงแวะพัก แล้วชายคนหนึ่งมา (อบูรอญาอ์ ผู้รายงานได้เอ่ยชื่อของเขาด้วยแต่ เอาวฟ์ ได้ลืมชื่อของเขา แต่รายงานอื่นระบุชื่อว่า เขาคือ อิมรอน บิน ฮุศ็อยน์) และได้เรียก อาลี มาด้วย ท่านกล่าวว่า เจ้าทั้งสองจงไปหาน้ำ แล้วทั้งสองก็ออกไปค้นหาจนได้พบกับผู้หญิงคนหนึ่งกำลังขี่อุฐ โดยที่สองข้างลำตัวเธอมีถุงน้ำขนาดใหญ่ ทั้งสองได้ถามเธอว่า เราจะหาน้ำได้ที่ไหน ? เธอตอบว่า ฉันอยู่ที่นั่นเมื่อวานนี้เวลาเดียวกันนี้ และผู้คนของเรากลุ่มหนึ่งที่อยู่เบื้องหลัง ทั้งสองได้กล่าวกับเธอว่า : ไปกันเถอะ เธอถามว่า : ไปไหน ? ทั้งสองตอบว่า ไปหารอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม เธอกล่าวว่า : คนที่ถูกเรียกว่าเปลี่ยนศาสนาหรือ ? ทั้งสองตอบว่า ใช่คนเดียวกัน ตามมาเถอะ และทั้งสองได้พาเธอมาหาท่านรอซูลุ้ลลอฮ์ ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม และได้เล่าเรื่องที่เกิดขึ้นให้ฟัง เขากล่าวว่า พวกเขาได้ช่วยให้เธอลงจากหลังอูฐของเธอ และท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้เรียกให้เอาภาชานะมา แล้วท่านก็แหวกปากถุงน้ำและรินน้ำใส่ภาชานะนั้น หลังจากนั้นท่านได้ผูกปากถุงน้ำไว้และเปิดท่อเทน้ำ แล้วร้องเรียกบรรดาผู้คน : พวกท่านจงมาดื่มน้ำและนำไปให้น้ำสัตว์ ดังนั้นบรรดาผู้คนต่างก็ดื่มน้ำและนำไปให้น้ำสัตว์ตามต้องการ และสุดท้ายท่านได้ให้ภาชานะบรรจุน้ำแก่ผู้ที่มีญะนาบะห์ พร้อมทั้งกล่าวว่า เอาน้ำไปชำระร่างกายของเจ้า

ในเหตุการณ์ต่างๆนี้ หญิงนั้นได้ยืนดูสิ่งที่ท่านทำกับน้ำของเธอ ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ว่า เมื่อถุงน้ำได้ถูกนำกลับคืนไป ดูเหมือนว่าน้ำไม่ได้พร่องไปเลย แต่มันเต็มปิ่มมากกว่าตอนแรกเสียอีก ท่านนบี ศ็อลล็อลลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม ได้กล่าว่า จงเจ้าจงรวบรวมให้แก่นาง ดังนั้นพวกเขาจึงรวบรวมให้แก่นางไม่ว่าจะเป็น อัจวะห์ (อินทผลัมอย่างดี) แป้งหยาบ และแป้งละเอียด อีกทั้งพวกเขายังรวบรวมอาหารให้แก่เธอโดยเอาใส่ไว้ในห่อผ้าแล้วพวกเขาได้ช่วยให้เธอขึ้นขี่อูฐ โดยนำห่อผ้าไว้ด้านหน้าของเธอ ท่านนบีได้กล่าวกับเธอว่า เธอรู้ไหม เราไม่ได้เทน้ำของเธอให้พร่องแต่อย่างใด แต่อัลลอฮ์ต่างหาก พระองค์คือผู้ทรงให้น้ำแก่เรา

เมื่อเธอกลับมาถึงครอบครัวล่าช้ากว่าปกติ พวกเขาได้ถามเธอว่า อะไรที่หน่วงเวลาเธอไว้หรือ ? เธอตอบว่า : เป็นเรื่องแปลก ชายสองคนมาพบฉัน แล้วเขาทั้งสองได้พาฉันไปหาผู้ชายคนหนึ่งซึ่งเขาถูกเรียกว่า ผู้เปลี่ยนศาสนา และเขาได้ทำเช่นนั้น,เช่นนี้ ขอสาบานต่ออัลลอฮ์ เขาคือผู้บุรุษผู้ยอดเยี่ยมที่สุดระหว่างนี้กับนี้ เธอพูดพลางใช้นิ้วกลางและนิ้วชี้ชูขึ้นยังท้องฟ้า หมายถึงฟ้าและแผ่นดิน หรือว่าเขาเป็นศาสนทูตของอัลลอฮ์จริงๆ

หลังจากนั้นบรรดามุสลิมได้ใช้สถานที่รอบหมู่บ้านของเธอฝึกซ้อมในการสงครามกับบรรดามุชริกีนแต่ไม่เคยโจมตีหมู่บ้านของเธอเลย เธอจึงได้กล่าวแก่กลุ่มชนของเธอว่า ฉันคิดว่ากลุ่มคนพวกนี้ได้จงใจที่จะไม่ก่อสงครามแก่พวกท่าน แล้วพวกท่านคิดอย่างไรเกี่ยวกับอิสลาม ? แล้วพวกเขาก็ตอบรับคำของเธอ ดังนั้นพวกเขาจึงเข้ารับอิสลาม”

อบู อับดิลลาฮ์ กล่าวว่า : ศ่อบ่าอ้า หมายถึง ออกจากศาสนาหนึ่งไปสู่อีกศาสนาหนึ่ง
และอบู อัลอาลิยะห์ กล่าวว่า : อัศศอบีอีน ในต้นฉบับใช้คำว่า อัศศอบีอูน : คือคนกลุ่มหนึ่งจากชาวคัมภีร์ พวกเขาได้อ่านคัมภีร์อัสซะบูร

บุคอรี/หมวดที่ 7/บทที่ 6/ฮะดีษเลขที่ 344

read more "เรื่องเล่าจากหะดีษ"

วันอาทิตย์ที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

เหตุผลเบื้องลึกที่ชาติตะวันตกต้องโค่นแอร์โดฆาน

เหตุผลเบื้องลึกที่ชาติตะวันตกต้องโค่นแอร์โดฆาน



ตุรกีคงต้องเจอปัญหาและวิกฤติอีกมาก กว่าจะถึง ปี 2024 ในวันที่ 6 สิงหาคม 2024 ตุรกีจะหมดพันธะกับสนธิสัญญาโลซานที่ทำร่วมกับประชาคมโลก ยิ่งใกล้เวลาเข้ามาปัญหายิ่งเยอะ ถ้าตุรกีอยู่รอดปลอดภัยถึงเวลานั้น ตุรกีจะเป็นประเทศหนึ่งที่แข้มแข็งมากๆ เลยทีเดียว และอาจเป็นที่พึ่งให้กับประเทศมุสลิมอีกหลายๆ ประเทศ

ประเทศมหาอำนาจและอีกหลายๆ ประเทศอาจกำลังวิตกกับสิ่งนี้อยู่ และอาจเป็นอีกสาเหตุที่หลายๆ ประเทศพยายามสร้างปัญหาให้กับตุรกี

มาต่อที่สนธิสัญญาโลซาน[1] ตุรกีได้ทำสนธิสัญญาโลซานเมื่อวันที่ 24 กรกฏาคม 1923 สัญญาตอนนั้นทางประชาคมโลกได้ทำการแบ่งแยกดินแดนอนาจักรออตโตมัน ให้กับประเทศต่างๆ ตามส่วน คงเหลือที่เป็นตุรกีดังปัจจุบันนี้ และสถาปนาขึ้นเป็นสหราชอณาจักรตุรกีขึ้นเมื่อวันที่ 29 ตุลาคม 1923
ด้วยเหตุนี้ทุกวันที่ 29 ตุลาคมจึงเป็นวันชาติตุรกี

ปล. สนธิสัญญาโลซานทำวันที่ 24 กรกฏาคม 1923 แต่บังคับใช้เริ่มตั้งแต่วันที่ 6 สิงหาคม 1924 สัญญามีอายุ 100 ปี ดังนั้นวันที่ 6 สิงหาคม 2024 สัญญาก็จะสิ้นสุดลง

หลังจากสัญญานี้สิ้นสุดลง ประเด็นสำคัญที่นักวิชาการต่างๆกำลังถกกัน ไม่รวมเรื่องการสูญเสียดินแดน คือในสัญญาจะพูดถึงเรื่องที่ตุรกีถูกห้ามทำการแปรรูปหรือนำทรัพยากรทางธรรมชาติบางอย่างมาใช้ ซึ่งประเทศตุรกีเองมีทั้งทองคำ น้ำมัน แต่มีแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่สำคัญมากในอนาคตคือแร่ธาติ 'โบรอน' [2] ซึ่งแร่ชนิดนี้สามารถเอามาใช้ทำโลหะเจือสำหรับการใช้งานพิเศษ เป็นตัวดูดนิวตรอนในเตาปฏิกรณ์นิวเคลียร์ เพื่อควบคุมปฏิกิริยานิวเคลียร์ เส้นใยของโบรอนใช้ผสมกับโลหะ ทำให้โลหะมีความเหนียวขึ้น ใช้ผสมในเชื้อเพลิงขับจรวดและส่งกระสวยขึ้นสู่อวกาศ ใช้ผลิตเครื่องบินเจท ใช้ทำอาวุธต่างๆ ฯลฯ ซึ่งเค้าประเมินกันว่าตุรกีครอบครองแร่ธาติตัวนี้ถึง 70 เปอร์เซนต์ของทั้งโลก

ถามว่าพอหมดสัญญาตุรกีสามารถนำแร่ตัวนี้ขึ้นมาใช้และผลิตสิ่งต่างด้วยตัวเองได้ ตุรกีจะแข็งแกร่งกว่านี้อีกเท่าไหร่ ตุรกีพึ่งพาตนเอง ไม่เป็นหนี้ IMF ผลิตอาวุธใช้เอง ทั้งจรวดและรถถัง สารพัด
.....ในอนาคตตุรกีจะเป็นประเทศที่แข็งแกร่งลำดับต้นๆ ของโลกเลยทีเดียว

[1] สนธิสัญญาโลซาน
https://th.m.wikipedia.org/wiki/สนธิสัญญาโลซาน

[2] แร่ธาตุโบรอน (Boron)
https://th.m.wikipedia.org/wiki/โบรอน

แหล่งที่มา : เพจ ดาบแห่งอัลเลาะห์ แอนตี้ไซออนิสต์


#NEWS_Islamic_Society_Online
#เรื่องเล่าคติเตือนใจ_Islamic_Society_Online
#การเมือง_ลัทธิและความเชื่อ_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "เหตุผลเบื้องลึกที่ชาติตะวันตกต้องโค่นแอร์โดฆาน"

วันเสาร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ชีวประวัติท่านนบีมูซา

ชีวประวัติท่านนบีมูซา


ประวัติ นบีมูซา อะลัยฮิสสลาม

ท่าน นบีมูซา บินอิมรอน (อ.) เป็นลูกหลานของท่านนบียะอ์กูบ และมาจากเผ่าบนีอิสรออีล ซึ่งอยู่ในแผ่นดินอิยิปต์ พวกเขาได้พำนักอยู่ในพื้นแผ่นดินนั้นตั้งแต่สมัยที่ท่านนบียูซุฟได้เชิญชวน ผู้เป็นบิดาและบรรดาพี่ชายของท่านมาอยู่ที่แห่งนั้น

ความเป็นอยู่ของเผ่า “บนีอิสรออีล” เป็น ไปอย่างสมเกียรติและราบรื่น จำนวนประชากรของพวกเขาก็ได้เพิ่มขึ้นทุกวัน แต่ทว่าครั้นเมื่อท่านนบียูซุฟได้จากโลกนี้ไปนั้น เจ้าเมืองแห่งอิยิปต์ก็เริ่มที่จะสร้างความกดดันให้กับพวกเขาและทำให้พวกเขา อ่อนแอลง จนกระทั่งเมื่อ “ฟิรอูน” ได้ขึ้นครองราช เขาได้พยายามทำให้ บนี อิสรออีลไม่มีอิทธิพลใดๆ ในพื้นแผ่นดินนั้นอีกต่อไป และได้สั่งฆ่าทารกเพศชายเพื่อที่จะปกป้องรักษาบัลลังก์ของตน ในสถานการณ์ที่เต็มไปด้วยความหวาดกลัวเช่นนี้ ท่านนบีมูซาก็ได้ถือกำเนิดมาจากบิดาที่มีนามว่า “อิมรอน (อ)” และมารดาที่มีนามว่า “ยูกาบิด” ด้วย กับความเมตตาและความกรุณาของพระเจ้า นอกจากนบีมูซาได้รอดพ้นจากการถูกฆ่าสังหารแล้ว ท่านยังได้ใช้ชีวิตช่วงเยาว์วัยในวังของฟิรอูนอีกด้วย จนกระทั้งท่านได้โตเป็นหนุ่ม และได้เดินทางไปยังเมือง “มัดยัน” ณ ที่แห่งนั้นเองที่ท่านได้แต่งงานกับบุตรีคนหนึ่งของนบีชุอัยบ์ หลังจากที่เวลาได้ผ่านไปยาวนานประมาณ 10 ปี ท่านก็ได้กลับสู่อิยิปต์อีกครั้ง ในระหว่างเดินทางกลับอิยิปต์นั้นท่านได้รับแต่งตั้งให้เป็นศาสนทูตแห่งพระ เจ้า และได้รับมอบหน้าที่ให้เชิญชวนฟิรอูนศรัทธาต่อพระองค์อัลลอฮ์ อีกทั้งนำทางบนีอิสรออีลด้วย
ตลอดชั่วชีวิตของท่านนบีมูซา (อ.): ตั้งแต่กำเนิดจนถึงการเสียชีวิต ท่านได้รับการช่วยเหลือจากพลังอำนาจที่เร้นลับของพระองค์อัลลอฮ์ตลอดเวลา ดังนั้นกุรอานจึงได้กล่าวถึงเรื่องราวของท่านไว้มากมาย
แบบฉบับของพระองค์ได้ถูกฟื้นฟูอีกครั้ง

ในหน้าประวัติศาสตร์ผู้ที่เพียบพร้อมไปด้วยอำนาจและบารมีนั้น แม้นว่าพวกเขาจะมีกองกำลังทางทหารมากมายและสามารถรักษาบัลลังก์ของเขาไว้ได้ แต่ก็จะรู้สึกหวาดกลัวผู้ถูกกดขี่และผู้ไร้อำนาจที่อยู่ภายใต้อำนาจการ ปกครองอยู่ตลอดเวลา กลัววันที่พวกเขาจะร่วมมือกันกบฏและทำให้รากฐานการปกครองต้องสั่นคลอน และจะหวาดกลัวต่อศาสดาและบรรดาผู้หวังดีกับสังคม แม้นว่าพวกเหล่านั้นจะโดดเดี่ยวและเดียวดายไร้ซึ่งทรัพย์สินและอำนาจก็ตาม – เพราะ รู้ดีว่า เมื่อพวกเขาลงมือที่จะทำการใดๆ นั้นและเมื่อประชาชนได้ร่วมมือกับพวกเขาแล้ว จะถึงเวลาที่บัลลังก์ของพวกเขาจะถูกโค่นล้มลงอย่างแน่นอน บางทีความหวาดกลัวจะโหมกระหน่ำผู้ที่มีอำนาจจนบางครั้งพวกเขาต้องเจอกับฝันร้ายในยามหลับ และจะต้องตามหาโหรทำนายความฝันเหล่านั้นอย่างหวาดผวา พวกเขาจะพยายามป้องกันเหตุร้ายต่างๆ ในอนาคตด้วยการกระทำที่อธรรมต่างๆ เท่าที่เขาสามารถจะทำได้ แต่ความประสงค์ของพระองค์อัลลอฮ์ย่อมตรงข้ามกับความต้องการของพวกเขาอยู่เสมอ และในทุกช่วงของประวัติศาสตร์ผู้อธรรมทั้งหลายจะถูกโค่นล้มอำนาจมาโดยตลอด และผู้ถูกอธรรมจะขึ้นเป็นผู้นำ เพื่อที่จะเป็นบทเรียนให้กับประชาชาติต่อไป

เรื่องราวของนบีมูซา (อ.) และฟิรอูนเป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่ในประเด็นนี้ในซูเราะฮ์เกาะศ็อศได้กล่าวว่า:
เราจะอ่านแก่เจ้า บางส่วนแห่งเรื่องราวของมูซาและฟิรอูนด้วยความจริง เพื่อหมู่ชนผู้ศรัทธา แท้จริงฟิรอูนหยิ่งผยองในแผ่นดิน และทำให้ประชาชนนั้นแตกแยกเป็นกลุ่มๆ เขาทำให้ชนกลุ่มหนึ่งในพวกเขาอ่อนแอ โดยฆ่าลูกหลานผู้ชายของพวกเขาและไว้ชีวิตเหล่าสตรีของพวกเขา แท้จริงเขาเป็นผู้หนึ่งในหมู่ผู้บ่อนทำลาย และเราปรารถนาที่จะให้ความโปรดปรานแก่บรรดาผู้ที่อ่อนแอในแผ่นดิน และเราจะทำให้พวกเขาเป็นหัวหน้า และทำให้พวกเขาเป็นผู้รับมรดก และเราได้ให้พวกเขาครอบครองในแผ่นดิน และเราจะให้ฟิรอูนและฮามานตลอดจนไพร่พลของเขาทั้งสอง ได้เห็นสิ่งที่พวกเขามีความกลัว (เกาะศ็อศ 3-6)

1. นบีมูซา (อ.)

กุรอานได้ยกตัวอย่างของชัยชนะของเหล่าบรรดาผู้ยากไร้เหนือบรรดาผู้กดขี่ โดยยกตัวอย่างเรื่องราวของท่านนบีมูซา (อ.) ครั้นเมื่อท่านยังอยู่ในสภาพที่อ่อนแอที่สุด และฟิรอูนอยู่ในสภาพที่มีอำนาจมากที่สุด ในเมื่อท่านนบีมูซา (อ.) เพิ่งได้ถือกำเนิดมา และอยู่ในครอบครัวที่ไม่มีทรัพย์สมบัติใดๆ เลย แต่อำนาจของฟิรอูนอยู่ในขั้นที่ทหารของเขาสามารถนำข่าวสารจากบ้านทุกหลังมารายงานให้ฟิรอูนให้รับทราบได้ และพวกเขาจะฆ่าทารกที่ถือกำเนิดมาเป็นเพศชายอย่างเลือดเย็น

การ ที่ท่านนบีมูซาได้ถือกำเนิดและอยู่รอดมาได้ในสถานการณ์ที่น่าสะพรึงกลัวเช่น นี้นั้น พิสูจน์ให้เห็นว่าความต้องการของพระผู้เป็นเจ้านั้นอยู่เหนือแผนการณ์ของผู้อธรรมทั้งหลายแน่นอน 
 
ดังนั้นในซูเราะฮ์เกาะศ็อศได้กล่าวต่ออีกว่า:


وَأَوْحَيْنَا إِلَى أُمِّ مُوسَى أَنْ أَرْضِعِيهِ فَإِذَا خِفْتِ
عَلَيْهِ فَأَلْقِيهِ فِي الْيَمِّ وَلا تَخَافِي وَلا تَحْزَنِي إِنَّا رَادُّوهُ إِلَيْكِ وَجَاعِلُوهُ مِنَ الْمُرْسَلِينَ 
 

และ เราได้ดลใจแก่มารดาของมูซา จงให้นมแก่เขา เมื่อเจ้ากลัวแทนเขาก็จงโยนเขาลงไปในแม่น้ำ และเจ้าอย่าได้กลัวและอย่าได้เศร้าโศก แท้จริงเราจะให้เขากลับไปหาเจ้า และเราจะทำให้เขาเป็นหนึ่งในบรรดาร่อซูล” (เกาะศ็อศ /7)


หลัง จากที่พระองค์อัลลอฮ์ (ซ.บ) ได้ดลใจแม่ของนบีมูซา (อ.) เช่นนี้แล้ว นางได้นำนบีมูซา (อ.) ไว้ในกล่องไม้ใบหนึ่ง และได้ปล่อยให้กล่องใบนั้นล่องลอยไปตามสายน้ำของแม่น้ำไนล์ 
 
2. การเจริญเติบโตของนบีมูซา (อ.) ในวังของฟิรอูน

พระ องค์อัลลอฮ์ทรงเมตตาท่านนบีมูซา (อ.) ตั้งแต่ท่านยังเยาว์วัย หนึ่งในความเมตตานี้คือ พระองค์จะทรงดลใจผู้อื่นให้หลงรักและเอ็นดูนบีมูซา (อ.) เพื่อที่เขาจะได้เจริญเติบโตอย่างปลอดภัย ดังที่ในซูเราะฮ์ฏอฮาได้กล่าว 
 

وَأَلْقَيْتُ عَلَيْكَ مَحَبَّةً مِنِّي وَلِتُصْنَعَ عَلَى عَيْنِي 
 

และข้าก็ได้ให้ความรักจากข้าแก่เจ้า เพื่อเจ้าจะได้รับการเลี้ยงดู ภายใต้การดูแลของข้า (ฏอฮา / 39) 
 

แต่ สิ่งที่ทำให้เรื่องราวทั้งหมดนี้น่าทึ่งมากยิ่งขึ้น คือเมื่อเรารู้ว่านบีมูซา (อ.) นั้นได้เจริญเติบโตในบ้านของศัตรู และอัลลอฮ์ได้ทรงประกาศถึงความผิดพลาดของฟิรอูนบนหน้าประวัติศาสตร์แล้ว เพราะพวกเขาได้เข่นฆ่าทารกที่บริสุทธ์มากมาย เพื่อปกป้องบัลลังก์ของเขาให้รอดพ้นจากความพินาศ แต่พระองค์อัลลอฮ์ต้องการให้นบีมูซา (อ.) ได้เติบโตในอ้อมกอดของพวกเขาเอง 
 

فَالْتَقَطَهُ آلُ فِرْعَوْنَ لِيَكُونَ لَهُمْ عَدُوًّا وَحَزَنًا إِنَّ فِرْعَوْنَ وَهَامَانَ
وَجُنُودَهُمَا كَانُوا خَاطِئِينَ وَقَالَتِ امْرَأَةُ فِرْعَوْنَ قُرَّةُ عَيْنٍ لِي وَلَكَ لا تَقْتُلُوهُ عَسَى
نْ يَنْفَعَنَا أَوْ نَتَّخِذَهُ وَلَدًا وَهُمْ لا يَشْعُرُونَ 
 

ดัง นั้นบริวารของฟิรเอานได้เก็บเขาขึ้นมาเพื่อให้เขากลายเป็นศัตรู และความเศร้าโศกแก่พวกเขา แท้จริงฟิรเอาน และฮามานและไพร่พลของเขาทั้งสองเป็นพวกที่มีความผิด

และภริยาของฟิรเอาน กล่าวว่า “(เขาจะเป็นที่) น่าชื่นชมยินดีแก่ดิฉันและแก่ท่าน อย่าฆ่าเขาเลย บางทีเขาจะเป็นประโยชน์แก่เรา หรือเราจะถือเขาเป็นลูก” และพวกเขาหารู้สึกตัวไม่ (เกาะศ็อศ / 8-9) 
 

เรื่อง ราวเหล่านี้ทำให้เราได้รู้ว่า อำนาจและพระประสงค์ของอัลลอฮ์ (ซ.บ) นั้น ไม่ได้ปรากฎในรูปแบบของการยกกองทัพเพื่อทำสงครามหรือการส่งภัยตามธรรมชาติเท่านั้น แต่ทว่าบางทีศัตรูและคนรอบข้างรวมไปถึงทรัพย์ยากรต่างๆ ของพวกเขาก็สามารถเป็นเครื่องมือสำหรับพระประสงค์ของพระองค์ได้ เหตุการณ์และขั้นตอนของเรื่องราวดำเนินไปอย่างแนบเนียน ทำให้ไม่มีที่สงสัยเลยว่าอำนาจและคำบัญชาของพระองค์นั้นเหนือสิ่งอื่นใดใน โลกนี้ทั้งสิ้น

ประเด็น นี้จะชัดเจนมากขึ้นเมื่อเราได้ติดตามเรื่องราวต่อไป เมื่อพระประสงค์ของอัลลอฮ์กำหนดให้เขาไม่รับนมของแม่นมคนใดเลย จนกระทั้งได้กลับมาสู่อ่อมกอดของแม่ที่แท้จริง และได้ดื่มน้ำนมอันบริสุทธ์ของนาง และคำมั่นสัญญาที่พระองค์ได้กล่าวไว้กับนาง เกี่ยวกับการกลับมาของลูกน้อยสู่อ้อมกอดของเธอได้เป็นสัจจะในที่สุด 
 

فَرَدَدْنَاهُ إِلَى أُمِّهِ كَيْ تَقَرَّ عَيْنُهَا وَلا تَحْزَنَ وَلِتَعْلَمَ أَنَّ وَعْدَ اللَّهِ حَقٌّ وَلَكِنَّ أَكْثَرَهُمْ لا يَعْلَمُونَ 
 

ดังนั้น เราจึงให้เขากลับไปหามารดาของเขา เพื่อที่จะเป็นที่น่าชื่นชมยินดีแก่นางและนางจะไม่เศร้าโศก และเพื่อนางจะได้รู้ว่า แท้จริงสัญญาของอัลลอฮ์นั้นเป็นจริงแต่ส่วนมากพวกเขาไม่รู้ (เกาะศ็อศ/13) 
 

3. วิสัยทัศน์และความรู้ของท่านนบีมูซา (อ.)

การคิดในสิ่งที่ดี, การพูดในสิ่งที่ดี, การ กระทำในสิ่งที่ถูกต้อง นั้นเป็นคุณสมบัติที่มีอยู่ในตัวของนบีทุกท่าน ก่อนที่พวกเขาจะได้ถูกแต่งตั้งให้เป็นนบีด้วยซ้ำ ความดีและการกระทำในสิ่งที่ถูกต้องเหล่านี้ทำให้พวกเขาเป็นบุคคลที่เพียบ พร้อมไปด้วยความดีงาน, คุณธรรม, จริยธรรม และความรู้

ท่านนบีมูซา (อ.) เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนผู้หนึ่งจากบุคคลเหล่านี้ ที่ได้รับตำแหน่งนี้ตั้งแต่เยาวัย อัลลอฮ์ (ซ.บ) ได้กล่าวเกี่ยวกับท่านนบีมูซา (อ.) ว่า 
 

وَلَمَّا بَلَغَ أَشُدَّهُ وَاسْتَوَى آتَيْنَاهُ حُكْمًا وَعِلْمًا وَكَذَلِكَ نَجْزِي الْمُحْسِنِينَ 
 

และเมื่อเขาบรรลุความเป็นหนุ่มและเติบโตเต็มที่แล้ว เราได้ให้ความเข้าใจ และความรู้แก่เขา และเช่นนั้นแหละ เราจะตอบแทนแก่บรรดาผู้กระทำความดี (เกาะศ็อศ / 14) 
 

ข้อแตกต่างระหว่าง “ฮุกม์” กับ “อิลม์” อาจจะอยู่ในจุดนี้ที่ “ฮุกม์” หมายถึงสติปัญญา, ความเข้าใจ, และความสามารถในการตัดสินที่ถูกต้อง แต่ “อิลม์” หมาย ถึงความรู้นั้นเอง จากคำอธิบายนี้ เราจะเห็นได้ชัดว่าท่านนบีมูซาไม่ได้รับผลข้างเคียงจากการที่ต้องอยู่ในวังของฟิรอูนแต่อย่างใด และความอธรรมและโสมมไม่ได้ทำให้เขาต้องแปดเปื้อนไปด้วย

read more "ชีวประวัติท่านนบีมูซา"

วันศุกร์ที่ 25 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

ญิฮาด อัตตุรบาน

ญิฮาด อัตตุรบาน



หนุ่มนักเขียน นักกวีและนักวิจัยด้านประวัติศาสตร์นาม ญิฮาด อัตตุรบานี เกิดที่คอนยูนุส กาซ่าปาเลสไตน์ (ไม่ทราบอายุที่แน่นอน แต่น่าจะอยู่ที่ 30 ปีต้นๆ) น่าจะเป็นหนุ่มที่ได้รับการกล่าวถึงในโลกอาหรับและโลกอิสลามมากที่สุดในขณะนี้ ด้วยผลงานที่เผยแพร่ในยูทูปซึ่งมียอดผู้ติดตามกว่า 40 ล้านวิว

เขาผลิตรายการชื่อ ท่านรู้เรื่องประวัติศาสตร์ของท่านดีแค่ไหน และต่อมาได้เขียนหนังสือชื่อ “ 100 ผู้นำมุสลิมผู้เปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์ “ (One hundred great peaple of Islam changed the course of history مائة من علماء أمة الإسلام غيروا مجرى التاريخ ปัจจุบันถูกแปลในภาษาต่างๆกว่า 10 ภาษา พิมพ์ครั้งแรกปี 2010 จนถึงปัจจุบันได้รับการตีพิมพ์กว่า 10 ครั้งแล้ว

เขาอธิบายสิ่งสร้างแรงบันดาลใจที่ทำให้เขาทุ่มเทกับงานเขียนนี้ ซึ่งย้อนไปถึงปี 1978 เมื่อมีนักดาราศาสตร์ยิวอเมริกันชื่อ ไมเคิล เอช ฮาร์ท เจ้าของหนังสือ 100 ลำดับบุคคลผู้มีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาสตร์ โดยที่เขาจัดอันดับบุคคลแรกที่สมควรได้รับการยกย่องว่ามีอิทธิพลที่สุดในประวัติศาตร์คือนบีมูฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะสัลลัม นั่นเอง ทำให้โลกมุสลิมต่างยินดีปรีดากับการจัดอันดับนี้

ญิฮาด อัตตุรบานีเล่าว่า ส่วนตัวก็รู้สึกภูมิใจกับจรรยาบรรณทางวิชาการของยิวอเมริกันท่านนี้ แต่เมื่อศึกษาอย่างถี่ถ้วนแล้ว พบว่านอกจากนบีมูฮัมมัดแล้ว มีเพียงท่านอุมัร บินอัลค็อฏฏอบเท่านั้นที่เป็นผู้แทนของผู้นำอิสลามที่ได้รับการคัดเลือกในหนังสือของเขา ทั้งๆที่โลกอิสลามได้ผลิตผู้นำที่สร้างความเปลี่ยนแปลงประวัติศาสตร์นับหมื่นแสนที่แม้แต่ศัตรูอิสลามยังให้การยอมรับ หนำซ้ำ ไมเคิล เอช ฮาร์ท ยังได้บรรจุนามเช่น เจงคิสข่าน ผู้เข่นฆ่ามุสลิมนับแสน อะด้อล์ฟฮิตเลอร์ จอมเผด็จการนาซีที่จบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตาย ในรายชื่อผู้มีอิทธิพลด้วย ซึ่งในมุมมองของอัตตุรบานี สองคนนี้น่าจะเป็นขยะทางประวัติศาสตร์มากกว่า

ญีฮาด อัตตุรบานีเล่าว่า มีกลุ่มอาชญากรด้านประวัติศาสตร์ที่คอยฝังกลบความรุ่งโรจน์ของอิสลาม ด้วยการใส่ไคล้ผู้นำอิสลาม กระทั่งชาวมุสลิมเองแทบเอือมระอากับภาพลักษณ์ที่ถูกนำเสนอ ในขณะที่โลกทั่วไปก็จะจดจำผู้นำอิสลามที่มีแต่ความโหดเหี้ยม ฟุ้งเฟ้อเจ้าสำราญแถมโง่เง่าอีกต่างหาก ประวัติศาสตร์อิสลามจึงเป็นเรื่องราวที่เศร้าหมอง นองเลือด น่ากลัวสยดสยองและตลกโป๊กฮา

หากมีเรื่องราวที่น่าจะสร้างแรงบันดาลใจแก่โลกอิสลามอยู่บ้าง ก็ต้องดั้นด้นเข้าไปในทะเลทรายเพื่อค้นหาตะเกียงวิเศษของซาลาดิน(ศอลาหุดดีน) ที่สามารถเสกเป่าสร้างปาฏิหารย์ ที่ไม่มีผลใดๆในโลกแห่งความเป็นจริงนอกจากความเผ้อฝันของจินตนาการอันไร้สาระเท่านั้น

ในความเป็นจริงแล้ว โลกอิสลามร่ำรวยด้วยผู้นำผู้สามารถพลิกประวัติศาสตร์ที่ไม่เพียงแค่สร้างแรงกระเพื่อมแก่โลกอิสลามเท่านั้น
แต่มนุษยชาติทั้งมวลต่างก็รับรู้และรับประโยชน์จากน้ำฝนที่โปรยลงมา ที่ไม่มีใครสามารถแยกแยะได้ว่าช่วงแรกหรือสุดท้ายที่มีประโยชน์มากกว่ากัน

อัตตุรบานีเล่าว่า บุคคลที่เขาเลือกเป็นบุคคลธรรมดาที่มีตัวตนจริง ไม่ใช่นบีเพราะฐานะของนบี สูงส่งเกินกว่าที่จะนำเปรียบเทียบกับปุถุชน เขาไม่จัดลำดับตามอาวุโสหรือความมีเกียรติที่เหนือกว่า ถึงแม้อาจมีบุคคลที่เป็นข้อถกเถียงอย่างอับราฮัม ลินคอน ที่อัตตุรบานียืนยันว่าเป็นมุสลิม หรืออัยมาน ศอวาฮิรีย์ที่เป็นเจ้าสำนักที่นิยมความสุดโต่ง แต่ก็คงไม่ทำให้หนังสือเล่มนี้ด้อยคุณค่าไป เพราะเป็นเรื่องอิจญ์ติฮาด(การวินิจฉัยอย่างถี่ถ้วน)ของผู้เขียนเอง เราในฐานะผู้อ่านควรเคารพในการตัดสินใจของผู้เขียน และควรใช้วิจารณญาณในการรับข้อมูล

ด้วยการเลือกใช้ภาษาง่ายๆสไตล์วัยรุ่น ที่อ่านแล้วเหมือนกับฟังเรื่องเล่าแต่แฝงด้วยพลังแห่งองค์ความรู้ที่กว้างขวางและลุ่มลึก เสมือนนำพาเราโลดเล่นบนท้องฟ้าอันกว้างใหญ่ไร้พรมแดน ตั้งแต่ญี่ปุ่นจากฝั่งตะวันออกไปถึงประเทศชิลีทางฝั่งตะวันตก จากสวีเดนทางตอนเหนือไปยังแอฟริกาใต้ทางทิศใต้ ทำให้หนังสือเล่มนี้อ่านคลายสมองมากๆ และน่าจะเป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้หนังสือเล่มนี้ได้รับการตอบรับอย่างกว้างขวางทั่วโลก โดยเฉพาะในกลุ่มเยาวชนและบรรดาวัยรุ่นที่กระหายองค์ความรู้ที่ถูกกดทับตายมาอย่างยาวนาน

ฟังตอนแรกเวอร์ชั่นอินโดนีเซียที่


บทความโดย อ.มัสลัน มาหะมะ

แหล่งที่มา : เพจ ดาบแห่งอัลเลาะห์ แอนตี้ไซออนิสต์


#NEWS_Islamic_Society_Online
#เรื่องเล่าคติเตือนใจ_Islamic_Society_Online
#การเมือง_ลัทธิและความเชื่อ_Islamic_Society_Online
#วีรบุรุษอิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "ญิฮาด อัตตุรบาน"

วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ. 2561

คัมภีร์อัล-กุรอานกับคริสตชน : ภาคที่ 4

คัมภีร์อัล-กุรอานกับคริสตชน : ภาคที่ 4

(อาลี เสือสมิง)


การประกาศข่าวอันประเสริฐของอัล-มีสีหฺ อีซา บุตรมัรยัม ถึงการมาของศาสนทูตท่านสุดท้าย


พระองค์อัลลอฮฺ (พระผู้ทรงบริสุทธิ์และสูงสุด) ได้ดำรัสไว้ในคัมภีร์อัล-กุรอานว่า


أَوَلَمْ يَكُن لَّهُمْ آيَةً أَن يَعْلَمَهُ عُلَمَاءُ بَنِي إِسْرَائِيلَ


ความว่า “ไม่ปรากฏมีเครื่องหมายสำหรับพวกเขาในการที่เหล่านักปราชญ์ของพงศ์พันธุ์อิสราเอลจะรู้ถึงเขา (ศาสนทูตท่านสุดท้าย) กระนั้นหรือ!” (อัชชุอะรออฺ อายะฮฺที่ 197)


อายะฮฺนี้บ่งชี้ว่าแท้จริงส่วนหนึ่งจากบรรดาหลักฐานอันชัดแจ้งที่บ่งถึงความสัตย์จริงของนบีมุฮำมัด ศาสนทูตท่านสุดท้าย และความสัตย์จริงของสิ่งที่นบีมุฮำมัด (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้นำมาประกาศคือความรู้ของเหล่านักปราชญ์แห่งพงศ์พันธุ์อิสราเอลที่มีต่อสิ่งดังกล่าว อันเป็นความรู้ที่ถูกบันทึกและถูกจดจำเอาไว้ในคัมภีร์ของพวกเขา

ดังที่อัล-กุรอานได้ระบุว่า


وَإِنَّهُ لَفِي زُبُرِ الْأَوَّلِينَ


ความว่า “และแท้จริง (เรื่องราวและคุณลักษณะของ) เขา (ศาสนทูตท่านสุดท้าย) มีปรากฏอยู่ในบรรดาคัมภีร์ของชนรุ่นบรรพกาล” (อัชชุอะรออฺ อายะฮฺที่ 196)


มีรายงานจากท่าน อัล-อิรบาฏ อิบนุ สารียะฮฺ จากท่านนบีมุฮำมัด (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ว่า : แท้จริงตัวฉัน ณ องค์อัลลอฮฺมีบันทึกว่าฉันคือตราประทับของบรรดาผู้เผยพระวจนะและแท้จริงอาดัม นั้นยังเป็นธุลีดิน และฉันจะบอกพวกท่านถึงเบื้องแรกของฉันว่า ตัวฉันคือคำวิงวอนของอิบรอฮีม (อับราฮัม) คือข่าวดีของอีซา (พระเยซูคริสต์) และคือนิมิตที่มารดาของฉันได้ประจักษ์ขณะที่นางคลอดฉัน แน่แท้มีรัศมีบรรเจิดออกมาแก่นาง ส่องสว่างแก่นางให้เห็นบรรดาปราสาทแห่งแคว้นชาม (ซีเรีย) จากรัศมีนั้น” (มิชกาตุ้ล มะศอบีหฺ ของ อัตติบริซียฺ 3/127)


ในคัมภีร์ อัล-กุรอานได้ระบุถึงคำวิงวอนของอิบรอฮีม (อะลัยฮิสลาม) เมื่อครั้งที่ท่านกับอิสมาอีล (อิชฺมาเอล) บุตรชายหัวปีของท่านได้ยกศิลารากฐานของบัยตุลลอฮฺ อัล-หะรอมที่นครมักกะฮฺว่า


رَبَّنَا وَابْعَثْ فِيهِمْ رَسُولًا مِّنْهُمْ يَتْلُو عَلَيْهِمْ آيَاتِكَ وَيُعَلِّمُهُمُ الْكِتَابَ وَالْحِكْمَةَ وَيُزَكِّيهِمْ ۚ إِنَّكَ أَنتَ الْعَزِيزُ الْحَكِيمُ


ความว่า “โอ้พระผู้อภิบาลแห่งเรา และขอพระองค์ได้ส่งมาในหมู่พวกเขาซึ่ง ศาสนทูตผู้หนึ่งจากหมู่พวกเขา ซึ่งศาสนทูตผู้นั้นจะได้อ่านบรรดาโองการของพระองค์แก่พวกเขาและสอนให้พวกเขารู้คัมภีร์และวิทยญาณและชำระพวกเขาให้หมดจด แท้จริงพระองค์ท่านทรงเกริกเกียรติ ทรงพระปรีชาญาณยิ่งนัก” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 129)


ส่วน “ข่าวดีของอีซา” ที่ประกาศแก่ชาวอิสราเอลถึงการมาของศาสนทูตท่านสุดท้ายนั้นมีปรากฏในอัล-กุรอานว่า


وَإِذْ قَالَ عِيسَى ابْنُ مَرْيَمَ يَا بَنِي إِسْرَائِيلَ إِنِّي رَسُولُ اللَّـهِ إِلَيْكُم مُّصَدِّقًا لِّمَا بَيْنَ يَدَيَّ مِنَ التَّوْرَاةِ وَمُبَشِّرًا بِرَسُولٍ يَأْتِي مِن بَعْدِي اسْمُهُ أَحْمَدُ ۖ فَلَمَّا جَاءَهُم بِالْبَيِّنَاتِ قَالُوا هَـٰذَا سِحْرٌ مُّبِينٌ


ความว่า “และจงรำลึกขณะเมื่ออีซา บุตรมัรยัมได้กล่าวว่า : โอ พงศ์พันธุ์แห่งอิสราเอล แท้จริงฉันคือศาสนทูตของอัลลอฮฺที่ถูกส่งมายังพวกท่าน ในฐานะผู้ยืนยันความสัจจริงของคัมภีร์เตารอตที่อยู่เบื้องหน้าฉัน และแจ้งข่าวดีถึงศาสนทูตผู้หนึ่งที่จะมาภายหลังฉัน นามของเขาคือ “อะหฺหมัด” (ผู้สรรเสริญพระเจ้าเป็นที่สุด) ครั้นเมื่อศาสนทูตนั้นได้นำสัญญาณต่างๆ มายังพวกเขา พวกเขาก็กล่าวว่า นี่คือเวทมนต์อันชัดเจน” (อัศศ็อฟ อายะฮฺที่ 6)


การที่คัมภีร์ อัล-กุรอานได้ระบุถึงการแจ้งข่าวดีของอัล-มะสีหฺ อีซา บุตร มัรยัม (อ.ล.) เกี่ยวกับการมาของศาสนทูตท่านสุดท้ายภายหลังท่านโดยเอ่ยนามไว้เสร็จสรรพว่า ศาสนทูตนี้มีนามว่า อะหฺหมัด (أَحْمَدُ) ย่อมเป็นการกำหนดที่มีเป้าหมายเฉพาะ กล่าวคือ เน้นประเด็นสำคัญไปที่คำว่า “อะหฺมัด” ดังนั้นการกลับไปสืบค้นในพระคริสตธรรมคัมภีร์ก็จะมุ่งเน้นในนามชื่อนี้เป็นสาระหลัก ซึ่งมีรายละเอียดดังต่อไปนี้

1. ความหมายของคำว่า อะหฺมัด (أَحْمَدُ)

คำว่า “อะหฺมัด” (AHMAD) เป็นคำนามที่บ่งถึงลักษณะอันเป็นที่สุดของความหมายนั้น เรียกในภาษาอาหรับว่า اِسْمُ التَّفْضِيْلِ (อิสมุ-อัตตัฟฎีล) เช่น أَكْبَرُ (อักบัรฺ) ใหญ่ที่สุดหรือใหญ่กว่า أَكْثَرُ (อักษัร) มากที่สุดหรือมากกว่า เป็นต้น คำว่า อะหฺมัด มาจากคำกริยาว่า หะมิด้า (حَمِدَ) มีความหมายว่า สรรเสริญ, เยินยอ ดังนั้น คำว่า อะหฺมัด จึงมีความหมายว่า ผู้สรรเสริญเป็นที่สุด และเป็นนามหนึ่งของนบี มุฮำมัด (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม)

ดังปรากฏในบันทึกวจนะของอัล-บุคอรียฺว่า ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า : “แท้จริงสำหรับฉันนั้นมีบรรดานามชื่อ ฉันคือมุฮำมัด (ผู้ได้รับการสรรเสริญเป็นอันมาก) ฉันคืออะหฺมัด (ผู้สรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าเป็นที่สุด) ฉันคือ อัล-มาฮียฺ คือ ผู้ที่อัลลอฮฺทรงลบล้างการปฏิเสธด้วยผู้นั้น ฉันคือ อัล-หาชิรฺ คือผู้ซึ่งมวลมนุษย์จะถูกรวบรวมเหนือเท้าทั้งสองของฉัน และฉันคือ อัล-อากิบฺ (ผู้มาภายหลัง)” (ตัฟสีร อิบนุ กะษีรฺ 6/646)

2. ศาสนทูตท่านสุดท้ายตามที่ปรากฏในพระคริสตคัมภีร์ใหม่

“เราจะทูลขอพระบิดา และพระองค์จะประทานผู้ช่วยอีกผู้หนึ่งให้แก่ท่าน เพื่อจะได้อยู่กับท่านตลอดไป

คือพระวิญญาณแห่งความจริง ซึ่งโลกรับไว้ไม่ได้เพราะแลไม่เห็นและไม่รู้จักพระองค์ ท่านทั้งหลายรู้จักพระองค์ เพราะพระองค์ทรงสถิตอยู่กับท่าน และจะประทับอยู่ในท่าน” (ยอห์น 14 : 16-17)

“เราได้กล่าวคำเหล่านี้แก่ท่านทั้งหลายเมื่อเรายังอยู่กับท่าน แต่องค์ผู้ช่วยคือพระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งพระบิดาจะทรงใช้มาในนามของเรานั้นจะสอนท่านทั้งหลายทุกสิ่งและจะให้ท่านระลึกถึงทุกสิ่งที่เราได้กล่าวไว้แก่ท่านแล้ว” (ยอห์น 14 : 25-26)

“แต่เมื่อองค์พระผู้ช่วยที่เราจะใช้มาจากพระบิดาหาท่านทั้งหลาย คือพระวิญญาณแห่งความจริงผู้ทรงมาจากพระบิดานั้นได้เสด็จมาแล้ว พระองค์ก็จะทรงเป็นพยานให้แก่เรา” (ยอห์น 15 : 26)

“อย่างไรก็ตามเราจะบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลาย คือการที่เราจากไปนั้นก็เพื่อประโยชน์ของท่าน เพราะถ้าเราไม่ไป องค์พระผู้ช่วยก็จะไม่เสด็จมาหาท่าน แต่ถ้าเราไปแล้ว เราก็ใช้พระองค์มาหาท่าน เมื่อพระองค์นั้นเสด็จมาแล้ว พระองค์จะทรงกระทำให้โลกรู้แจ้งในเรื่องความผิด ความชอบธรรม และการพิพากษา” (ยอห์น 16 : 7-8)

“เมื่อพระวิญญาณแห่งความจริงจะเสด็จมาแล้ว พระองค์จะนำท่านทั้งหลายไปสู่ความจริงทั้งมวล เพราะพระองค์จะไม่ตรัสโดยพลการ แต่พระองค์จะตรัสสิ่งที่พระองค์ทรงได้ยิน และพระองค์จะทรงแจ้งให้ท่านทั้งหลายรู้ถึงสิ่งเหล่านั้นที่จะเกิดขึ้น”

พระองค์จะทรงให้เราได้รับเกียรติ เพราะว่าพระองค์จะทรงเอาสิ่งที่เป็นของเรามาสำแดงแก่ท่านท่านทั้งหลาย” (ยอห์น 16 : 13-14)

นี่คือถ้อยคำของพระเยซูคริสต์ที่ทรงกล่าวกับสาวกของพระองค์ตามที่ปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับของยอห์นซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นพระคริสตธรรมฉบับเดียวที่ให้รายละเอียดเกี่ยวกับเรื่องนี้มากที่สุด ทั้งนี้มีข้อสังเกตอยู่หลายประเด็นด้วยกันดังนี้

  1. พระบิดาจะประทานผู้ช่วยอีกคนให้แก่ท่าน
  2. องค์พระผู้ช่วยคือพระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งพระบิดาจะทรงใช้มาในนามของพระเยซูคริสต์
  3. องค์ผู้ช่วยจะสอนทุกสิ่งและให้ระลึกถึงทุกสิ่งที่ พระเยซูคริสต์กล่าวไว้แก่เหล่าสาวกของพระองค์แล้ว
  4. องค์ผู้ช่วยจะเป็นพยานให้แก่พระเยซูคริสต์
  5. พระองค์จะเสด็จมาต่อเมื่อพระเยซูคริสต์เสด็จไปแล้ว เมื่อพระองค์เสด็จมาจะทรงทำให้โลกรู้แจ้งในความผิด ความชอบธรรมและการพิพากษา
  6. พระองค์จะนำไปสู่ความจริงทั้งหลายโดยจะไม่ตรัสโดยพลการ แต่จะตรัสตามสิ่งที่ได้ยิน
  7. พระองค์จะทำให้พระเยซูคริสต์ได้รับเกียรติและนำสิ่งที่เป็นของพระเยซูคริสต์มาสำแดง

ประเด็นที่ 1

พระเยซูคริสต์ตรัสว่า “เราจะทูลขอพระบิดา และพระองค์จะประทานผู้ช่วยอีกผู้หนึ่งให้แก่ท่าน เพื่อจะได้อยู่กับท่านตลอดไป” (ยอห์น 14 : 16) หากผู้ช่วยอีกผู้หนึ่ง (another Counselor) เป็นพระวาทะของพระเจ้า ซึ่งในปฐมกาลพระวาทะดำรงอยู่ และพระวาทะทรงเป็นพระเจ้า ( In the beginning was the word, and the word was with God, and the word was Gad)

และพระวาทะได้ทรงบังเกิดเป็นมนุษย์ และทรงอยู่ท่ามกลางเรา (The Word become flesh and lived for a while among us) คือพระวาทะนั้นบังเกิดเป็นพระเยซูคริสต์ตามที่พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับยอห์นระบุเอาไว้ (ยอห์น 1 : 1, 14) เหตุใดพระเยซูคริสต์จึงต้องทูลขอพระบิดาอีก ในเมื่อพระวาทะมาบังเกิดเป็นพระองค์แล้ว และเหตุใดพระบิดาจึงต้องประทานผู้ช่วยอีกผู้หนึ่งให้แก่สาวกของพระเยซูคริสต์อีก เพราะพระองค์ทรงอยู่ท่ามกลางพวกเขาเหล่านั้นแล้ว

และคำว่า ผู้ช่วยอีกผู้หนึ่ง จะหมายถึงพระเยซูคริสต์ได้อย่างไร? เพราะคำว่า อีกผู้หนึ่ง (another) ย่อมหมายถึงผู้อื่นที่มิใช่พระองค์ หากองค์ผู้ช่วยคือพระวิญญาณบริสุทธิ์ (the spirit) ซึ่งเป็นหนึ่งในสาม พระภาคของพระผู้เป็นเจ้า แล้วเหตุไฉน พระเยซูคริสต์จึงต้องทูลขอพระบิดาอีก ในเมื่อพระวิญญาณเหมือนดังนกพิราบได้เสด็จลงมาจากสวรรค์และทรงสถิตบนพระองค์แล้วภายหลังการรับบัพติศมาของพระองค์จากยอห์นผู้ให้รับบัพติศมานั้น

ดังปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ว่า : ครั้นพระองค์ทรงรับบัพติศมาแล้ว ในทันใดนั้นก็เสด็จขึ้นจากน้ำ และท้องฟ้าก็แหวกออก และพระองค์ได้ทรงเห็น พระวิญญาณของพระเจ้าดุจนกพิราบ ลงมาสถิตอยู่บนพระองค์ (มัทธิว 3 : 16)

พอพระองค์เสด็จขึ้นมาจากน้ำ ในทันใดก็ทรงเห็นท้องฟ้าแหวกออกและพระวิญญาณดุจนกพิราบลงมาสู่พระองค์”(มาระโก 1 : 8)

อยู่มาเมื่อคนทั้งปวงรับบัพติศมา และพระเยซูทรงรับด้วย ขณะเมื่อทรงอธิษฐานอยู่ ท้องฟ้าก็แหวกออก และพระวิญญาณบริสุทธิ์ทรงรูปสัณฐานเหมือนนกพิราบได้ลงมาบนพระองค์…” (ลูกา 3 : 21-22)

และยอห์นกล่าวเป็นพยานว่า “ข้าพเจ้าเห็นพระวิญญาณเหมือนดังนกพิราบเสด็จลงมาจากสวรรค์และทรงสถิตบนพระองค์” (ยอห์น 1 : 32)

เมื่อเจ้าเห็นพระวิญญาณเสด็จลงมาสถิตอยู่บนผู้ใด ผู้นั้นแหละเป็นผู้ให้บัพติศมาด้วยพระวิญญาณบริสุทธิ์” (ยอห์น 1 : 33)

ในถ้อยความของพระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้ง 4 ฉบับยืนยันว่า พระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จลงมาจากพระบิดาในรูปของนกพิราบและสถิตอยู่กับพระเยซูคริสต์แล้ว พระเยซูคริสต์ได้รวมเป็นหนึ่งไปกับพระวิญญาณบริสุทธิ์ พระองค์จึงกลายเป็นพระวิญญาณบริสุทธิ์ แล้วด้วยเหตุใดเล่าพระองค์จึงตรัสว่าจะมีองค์ผู้ช่วยซึ่งเป็นพระวิญญาณบริสุทธิ์อีกผู้หนึ่ง เสด็จมาตามบัญชาของพระบิดาอีก! และประโยคที่ว่า “เพื่อจะได้อยู่กับท่านตลอดไป” ( to be withyou forever)

และประโยคที่ว่า “คือพระวิญญาณแห่งความจริง ซึ่งโลกรับไว้ไม่ได้เพราะแลไม่เห็นและไม่รู้จักพระองค์ ท่านทั้งหลายรู้จักพระองค์ เพราะพระองค์ทรงสถิตอยู่กับท่าน และจะประทับอยู่ในท่าน” (ยอห์น 14 : 17) ถ้าพระวิญญาณแห่งความจริงคือพระเยซูคริสต์ แล้วทำไมพระองค์จึงต้องเสด็จจากพวกเขาขึ้นสู่สวรรค์ไปประทับอยู่เบื้องพระหัตถ์ขวาของพระบิดา

พระเยซูคริสต์ตรัสว่า “เพราะถ้าเราไม่ไป องค์พระผู้ช่วยก็จะไม่เสด็จมาหาท่าน แต่ถ้าเราไปแล้ว เราก็จะใช้พระองค์มาหาท่าน” (ยอห์น 16 : 7) ซึ่งนั่นแสดงว่าพระองค์ไม่ได้อยู่กับพวกเขาตลอดไป แต่พระองค์มีกำหนดเวลา และถ้าหากพระวิญญาณบริสุทธิ์สถิตอยู่กับพวกเขาแล้ว และประทับอยู่ในพวกเขาแล้ว (for he lives with you and will be in you) (ยอห์น 14 : 17) เหตุไฉนพระเยซูคริสต์จึงต้องทูลขอพระบิดาอีก ในเมื่อองค์ผู้ช่วยคือพระวิญญาณบริสุทธิ์สถิตอยู่กับพวกเขาแล้ว!

ประเด็นที่ 2

องค์ผู้ช่วยคือพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่พระบิดาจะทรงใช้มาในนามของพระเยซูคริสต์ซึ่งพระองค์ได้แจ้งไว้กับบรรดาสาวกของพระองค์ คำว่า “พระบิดาจะทรงใช้มาในนามของเรา” ย่อมแสดงว่าองค์ผู้ช่วยนั้นเป็นอีกผู้หนึ่งที่จะถูกส่งมาแจ้งแก่โลกถึงเรื่องราวอันเป็นความจริงของพระเยซูคริสต์

หากองค์ผู้ช่วยหมายถึงพระเยซูคริสต์ นั่นก็ไม่มีความจำเป็นอันใดในการที่พระองค์จะตรัสถึงว่า “องค์ผู้ช่วยนั้นมาในนามของพระองค์” เพราะพระองค์ทรงอยู่ท่ามกลางพวกเขาอยู่แล้ว และพระองค์ทรงสำแดงพระนามของพระผู้เป็นเจ้าตามที่ได้มีบัญชามา ส่วนองค์ผู้ช่วยนั้นจะสำแดงในนามของพระเยซูคริสต์เพราะองค์ผู้ช่วยจะเสด็จมาตามที่พระองค์ทูลขอพระบิดาเอาไว้แก่เหล่าสาวกของพระองค์

ประเด็นที่ 3

“องค์ผู้ช่วยคือพระวิญญาณบริสุทธิ์จะทรงสอนท่านทั้งหลายทุกสิ่งและให้ท่านระลึกถึงทุกสิ่งที่เราได้กล่าวไว้แก่ท่านแล้ว” ประโยคนี้ยืนยันว่า องค์ผู้ช่วยมิใช่พระเยซูคริสต์หรือพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่เป็นหนึ่งในสามภาคของพระเจ้า ทั้งนี้เพราะพระเยซูคริสต์ตรัสว่า “เรายังมีอีกหลายสิ่งที่จะบอกแก่ท่านทั้งหลาย แต่เดี๋ยวนี้ท่านยังรับไว้ไม่ได้” (ยอห์น 16 : 12)

นั่นแสดงว่าองค์ผู้ช่วยจะมาบอกในสิ่งที่พระเยซูคริสต์ยังไม่ได้บอกแก่เหล่าสาวกของพระองค์ เพราะพวกเขายังไม่พร้อมที่จะรับ จนกว่าองค์ผู้ช่วยจะมาและนำสิ่งเหล่านั้นมาบอกซึ่งพวกเขาก็จะระลึกขึ้นได้ตามที่พระเยซูคริสต์ตรัสว่า“แต่ที่เราบอกสิ่งเหล่านี้ให้ท่านฟัง ก็เพื่อว่าเมื่อถึงเวลานั้น ท่านจะได้ระลึกว่าเราได้บอกท่านไว้แล้ว” (ยอห์น 16 : 4) จึงเข้าใจได้ว่า “เวลานั้น” ต้องเกิดภายหลังพระเยซูคริสต์เสด็จไปแล้วเท่านั้น!

ประเด็นที่ 4

องค์ผู้ช่วยจะเป็นพยานให้แก่พระเยซูคริสต์นั่นย่อมแสดงว่าผู้เป็นพยานมิใช่พระเยซูคริสต์แต่เป็นผู้ที่จะมายืนยันเป็นพยานถึงความสัตย์จริงของพระเยซูคริสต์ หากองค์ผู้ช่วยหรือพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นพระเยซูคริสต์ก็ย่อมไม่มีความจำเป็นที่จะต้องมีองค์ผู้ช่วยมาเป็นพยานถึงความสัตย์จริงของพระองค์อีก

เพราะพระเยซูคริสต์ตรัสว่า : “ถึงแม้เราเป็นพยานให้แก่ตัวเราเอง คำพยานของเราก็เป็นความจริง เพราะเรารู้ว่าเรามาจากไหนและจะไปที่ไหน แต่พวกท่านไม่รู้ว่าเรามากจากไหนและจะไปที่ไหน” (ยอห์น 8 : 14) “เราเป็นพยานให้แก่ตัวเราเอง และพระบิดาผู้ทรงใช้เรามาก็เป็นพยานให้แก่เราด้วย” (ยอห์น 8 : 18)

ประเด็นที่ 5

องค์ผู้ช่วยจะเสด็จมาเมื่อพระเยซูคริสต์เสด็จไปแล้ว คือไปยังที่ๆ พวกเขา (เหล่าสาวก) ไปไม่ได้ ถ้าหากองค์ผู้ช่วยคือพระเยซูคริสต์เองหรือคือพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่อยู่ในพระองค์นั่นแสดงว่าองค์ผู้ช่วยเสด็จมาแล้ว เพราะพระเยซูคริสต์ทรงตรัสว่า : “เพราะเรามาจากพระเจ้าและอยู่นี่แล้ว เรามิได้มาตามใจชอบของเราเอง แต่พระองค์ทรงใช้เรามา” (ยอห์น 8 : 42)

เมื่อพระองค์เสด็จมาแล้วยังพวกเขา เหตุไฉนพระองค์จึงตรัสว่า : เพราะถ้าเราไม่ไป องค์พระผู้ช่วยก็จะไม่เสด็จมาหาท่าน แต่ถ้าเราไปแล้ว เราก็จะใช้พระองค์มาหาท่าน (ยอห์น 16 : 7) แสดงว่าองค์พระผู้ช่วยมิใช่พระเยซูคริสต์แต่เป็นอีกผู้หนึ่งที่จะเสด็จมาเมื่อพระเยซูคริสต์เสด็จไปแล้ว และถ้าหากองค์พระผู้ช่วยคือพระวิญญาณบริสุทธิ์ เหตุไฉนพระวิญญาณบริสุทธิ์จะต้องเสด็จมาอีกในเมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์สถิตอยู่กับพวกเขาแล้ว (ดู กิจการของอัครทูต 2 : 4, 12-18)

และเมื่อองค์พระผู้ช่วยเสด็จมาแล้วพระองค์ก็จะทรงกระทำให้โลกได้รู้จักความผิด ความชอบธรรม และคำพิพากษา นี่ก็แสดงว่าองค์พระผู้ช่วยมิใช่พระเยซูคริสต์อีกเช่นกัน เพราะพระองค์ได้กระทำกิจจานุกิจดังกล่าวแล้ว ไฉนพระองค์จึงจะต้องจากไปและกลับมากระทำกิจจานุกิจนั้นซ้ำอีก

ในทำนองนั้น หากองค์พระผู้ช่วยคือพระวิญญาณ บริสุทธิ์ของพระเป็นเจ้าที่เป็นหนึ่งในพระภาคทั้ง 3 ของพระเป็นเจ้า พระวิญญาณบริสุทธิ์ก็เสด็จมาแล้วพร้อมกับการมาของพระเยซูคริสต์ผู้ทรงเป็นพระบุตรนับตั้งแต่ที่พระองค์รับบัพติศมาจากยอห์นผู้ให้รับบัพติศมาแล้ว (ดู พระคริสตธรรมคัมภีร์ทุกฉบับเรื่องพระเยซูทรงรับบัพติศมา)

ประเด็นที่ 6

องค์พระผู้ช่วยจะนำไปสู่ความจริงทั้งหลาย และจะไม่ตรัสโดยพละการ แต่จะตรัสสิ่งที่ทรงได้ยินจากพระบิดา ประเด็นนี้บ่งชี้ว่าองค์พระผู้ช่วยที่จะเสด็จมาภายหลังพระเยซูคริสต์จากไปสู่พระบิดาคือผู้เผยพระวจนะอีกท่านหนึ่ง เพราะพระเยซูคริสต์ยังไม่ได้บอกความจริงทั้งหมดแก่เหล่าสาวกของพระองค์เพราะยังไม่ถึงเวลาและพวกเขายังรับความจริงเหล่านั้นเอาไว้ไม่ได้

และสถานภาพในการเป็นผู้เผยพระวจนะขององค์พระผู้ช่วยก็ไม่ได้ต่างจากการเป็นผู้เผยพระวจนะของพระเยซูคริสต์เลยในเรื่องนี้ เพราะพระเยซูคริสต์ทรงตรัสว่า “คำสอนของเราไม่ใช่ของเราเอง แต่เป็นของพระองค์ผู้ทรงใช้เรามา” (ยอห์น 7 : 16) “เพราะเรามิได้กล่าวตามใจเราเอง แต่ซึ่งเรากล่าวและพูดนั้น พระบิดาผู้ทรงใช้เรามา พระองค์นั้นได้ทรงบัญชาให้แก่เรา เรารู้ว่าพระบัญชาของพระองค์นั้นเป็นชีวิตนิรันดร์ เหตุฉะนั้นสิ่งที่เราพูดนั้นเราก็พูดตามที่พระบิดาทรงบัญชา” (ยอห์น 12 : 49,50)

ประเด็นที่ 7

องค์พระผู้ช่วยจะทรงให้เรา (พระเยซูคริสต์) ได้รับเกียรติเพราะว่าพระองค์จะทรงเอาสิ่งที่เป็นของเรามาสำแดงแก่ท่านทั้งหลาย ถ้อยความนี้บ่งชี้ชัดเจนว่า องค์พระผู้ช่วยมิใช่พระเยซูคริสต์ แต่เป็นอีกผู้หนึ่งที่จะเสด็จมาและสรรเสริญเกียติของพระเยซูคริสต์ ถ้าหากองค์พระผู้ช่วยคือพระเยซูคริสต์ก็เท่ากับพระองค์ให้เกียรติแก่พระองค์เอง ซึ่งพระองค์ตรัสว่า : ถ้าเราให้เกียรติแก่ตัวเราเอง เกียรติของเราก็ไม่มีความหมาย…” (ยอห์น 8 : 54) (If I glorify myself, my glory means nothing) แต่ด้วยการเสด็จมาในภายหลังขององค์พระผู้ช่วย เกียรติของพระเยซูคริสต์ก็จะได้รับการยืนยันและเป็นพยานถึงความบริสุทธิ์ของพระองค์และพระมารดาของพระองค์

3. เราได้ตั้งประเด็นเป็นข้อสังเกตเกี่ยวกับองค์พระผู้ช่วยว่าเป็นอีกผู้หนึ่งที่ไม่ใช่พระเยซูคริสต์ไปแล้วข้างต้น ยังคงมีประเด็นค้างคาใจอยู่ในเรื่องนี้เกี่ยวกับถ้อยความที่ปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับยอห์นว่า :

เราจะทูลขอพระบิดา และพระองค์จะประทานผู้ช่วยอีกผู้หนึ่งให้แก่ท่านเพื่อจะได้อยู่กับท่านตลอดไป คือพระวิญญาณบริสุทธิ์แห่งความจริง ซึ่งโลกรับไว้ไม่ได้…” (ยอห์น 14 : 26) “แต่เมื่อองค์พระผู้ช่วยที่เราจะใช้มาจากพระบิดาหาท่านทั้งหลาย คือพระวิญญาณแห่งความจริง…” (ยอห์น 15 : 26) “เมื่อพระวิญญาณแห่งความจริงจะเสด็จมาแล้ว…” (ยอห์น 1 : 13)

ถ้อยคำทั้งหมดบ่งชี้ว่า “องค์พระผู้ช่วย” มิใช่มนุษย์กระนั้นหรือ? เพราะเมื่อพระองค์เป็นพระวิญญาณบริสุทธิ์ (اَلرُّوْحُ القُدُس) หรือเป็นพระวิญญาณแห่งความจริง (رُوحُ الْحَقِّ) องค์พระผู้ช่วยก็ไม่น่าจะเป็นมนุษย์! คำตอบปรากฏอยู่ในประเด็นต่างๆ ที่ตั้งข้อสังเกตมาแล้วนั่นเอง ข้อมูลเพิ่มเติมก็คือ การใช้สำนวนว่า “พระวิญญาณ” ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับกรีกถูกนำมาใช้ถึงมนุษย์ที่มีวิวรณ์มายังเขาหลายที่ด้วยกัน ตัวอย่างเช่น

ดังที่มีเขียนไว้ในพระคัมภีร์ว่า สิ่งที่ตาไม่เห็น หูไม่ได้ยิน และสิ่งที่มนุษย์คิดไม่ถึง คือสิ่งที่พระเจ้าได้ทรงจัดเตรียมไว้สำหรับคนที่รักพระองค์

พระเจ้าได้ทรงสำแดงสิ่งเหล่านั้นแก่เราทางพระวิญญาณ เพราะว่าพระวิญญาณทรงหยั่งรู้ทุกสิ่งแม้เป็นความล้ำลึกของพระเจ้า

อันความคิดของมนุษย์นั้น ไม่มีผู้ใดหยั่งรู้ได้ เว้นแต่จิตวิญญาณของมนุษย์ผู้นั้นเอง ฉันใด เพราะคำดำริของพระเจ้าก็ไม่มีใครหยั่งรู้ได้ เว้นแต่พระวิญญาณของพระเจ้าฉันนั้น” (1 โครินทร์ 2 : 9-11)

เราทั้งหลายไม่ได้รับวิญญาณของโลก แต่ได้รับพระวิญญาณซึ่งมาจากพระเจ้า เพื่อเราทั้งหลายจะได้รู้ถึงสิ่งต่างๆ ที่พระเจ้าทรงโปรดประทานแก่เรา” (1 โครินทร์ 2 : 12)

คือเราได้อธิบายความหมายของเรื่องฝ่ายวิญญาณให้คนที่มีพระวิญญาณฟัง…” (1 โครินทร์ 2 : 9-13)

แต่มนุษย์ฝ่ายวิญญาณวิจัยสิ่งสารพัดได้…” (1 โครินทร์ 2 : 15)

อย่าให้ใจของท่านหวั่นไหวง่าย หรือตื่นตระหนกตกใจ ไม่ว่าจะเป็นโดยทางวิญญาณ หรือโดยทางคำพูด หรือ….” (2 เธสะโลนิกา 2 : 2)

…เพราะว่าพระเจ้าได้ทรงเลือกท่านไว้ตั้งแต่เดิมให้ถึงที่รอด โดยพระวิญญาณทรงชำระท่านให้บริสุทธิ์และโดยท่านได้เชื่อความจริง” (2 เธสะโลนิกา 2 : 13)

ท่านที่รักทั้งหลาย อย่าเชื่อวิญญาณเสียทุกๆ วิญญาณ แต่จงพิสูจน์วิญญาณนั้นๆ ว่ามาจากพระเจ้าหรือไม่ เพราะว่าผู้พยากรณ์เท็จเป็นอันมากจาริกไปในโลก” (1 ยอห์น 4: 1)

……….เพราะพระองค์ได้ทรงโปรดประทานพระวิญญาณของพระองค์แก่เรา” (1 ยอห์น 4 : 13)

ฝ่ายคริสตชนได้ตีความคำทูลขอของพระเยซูคริสต์ในเรื่องของ “องค์พระผู้ช่วย” ว่าหมายถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์ หรือพระวิญญาณแห่งความจริง โดยอ้างถึงการเสด็จมาขอพระวิญญาณบริสุทธิ์ยังบรรดาอัครทูตที่ประกาศคำสอนของพระเยซูคริสต์ในภายหลัง เช่น กรณีที่เกิดขึ้นกับซีโมนเปโตรและเปาโล เป็นต้น ซึ่งหมายความว่า องค์พระผู้ช่วย มิใช่มนุษย์แต่เป็นพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระผู้เป็นเจ้า การตีความเช่นนี้มุ่งหมายปฏิเสธการมาของผู้เผยพระวจนะท่านสุดท้ายภายหลังพระเยซูคริสต์นั่นเอง

ผลที่ตามมาจากการตีความตามความมุ่งหมายของคริสตชนทำให้เกิดความขัดแย้งในถ้อยคำของพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับ ยอห์นอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ทั้งนี้เริ่มตั้งแต่คำจำกัดความของพระวิญญาณบริสุทธิ์ และสถานภาพของพระวิญญาณบริสุทธิ์ว่ามีสถานภาพเช่นใด และนี่เป็นความขัดแย้งในหมู่คริสตชนเองซึ่งมีประวัติย้อนกลับไปยังการประชุม สังฆสภาคริสตชน ภายหลังการประชุมสังฆสภาคริสตจักรที่เมืองนีเกีย (ตุรกี) มีความขัดแย้งเกี่ยวกับสถานภาพของ “พระวิญญาณบริสุทธิ์” ออกเป็น 2 ฝ่าย

คริสจักรแห่ง อเล็กซานเดรียถือว่า พระวิญญาณบริสุทธิ์ เป็นหนึ่งในพระภาคทั้ง 3 ของพระผู้เป็นเจ้า อีกฝ่ายหนึ่งนำโดย มาซิโอนิอุส พระราชาคณะแห่งคอนสแตนติโนเปิล และโอซาบิอุส ฝ่ายนี้ปฏิเสธเรื่องพระภาคทั้ง 3 ของพระเจ้าและถือว่า พระวิญญาณบริสุทธิ์ มิใช่พระเจ้าแต่เป็นสิ่งถูกสร้าง

ความขัดแย้งนี้ได้นำไปสู่การจัดประชุมสังฆสภาคริสตจักร ณ กรุงคอนสแตนติโนเปิล โดยการอุปถัมภ์ของจักรพรรดิธาโอดิอุส มหาราช ในปี ค.ศ. 381 ซึ่งมีพระราชาคณะเข้าร่วมเพียง 150 คน มติของที่ประชุมถือว่า พระวิญญาณบริสุทธิ์คือพระผู้เป็นเจ้า และยืนยันว่า พระบิดา พระบุตร และพระวิญญาณบริสุทธิ์ เป็น 3 พระภาค

คุณพ่อพอลส์ อิเลียส กล่าวว่า “พระวิญญาณบริสุทธิ์” คือพระวิญญาณที่เสด็จลงเหนือพระแม่มารีย์ขณะมีการแจ้งข่าวดี และเสด็จลงเหนือองค์พระเยซูคริสต์ในการรับบัพติศมา และเสด็จลงเหนือเหล่าอัครทูตภายหลังการเสด็จสู่ฟากฟ้าเบื้องบนขององค์พระเยซูคริสต์ (พระเยซูคริสต์ : พอลส์ อิเลียส หน้า 73)

ดังนั้นการให้คำจำกัดความ “พระวิญญาณบริสุทธิ์” จึงสรุปได้ว่า
  1. คือทูตสวรรค์กาเบรียล (ญิบรออีล)
  2. คือพระวิญญาณบริสุทธิ์ซึ่งมาจากพระบิดาและเป็นหนึ่งในพระภาคทั้ง 3 ของพระเป็นเจ้าตามความเชื่อแบบตรีเอกานุภาพ
  3. คือองค์พระเยซูคริสต์ผู้เป็นพระบุตรซึ่งพระวิญญาณสถิตอยู่กับพระองค์
  4. คือองค์พระผู้ช่วยซึ่งเป็นมนุษย์และเป็นผู้เผยพระวจนะท่านสุดท้าย

ในข้อที่ 1 นั้นถ้าหากพระวิญญาณบริสุทธิ์คือองค์พระผู้ช่วยตามที่พระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับ ยอห์นกล่าวเป็นทูตสวรรค์กาเบรียล (ญิบรออีล) ก็ไม่มีความจำเป็นที่พระเยซูจะต้องทรงทูลขอพระบิดาให้ทูตสวรรค์กาเบรียลเสด็จมาภายหลังพระองค์เพราะทูตสวรรค์ผู้เป็นพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าได้มาก่อนหน้าพระองค์แล้วยังบรรดาผู้เผยพระวจนะในอดีตตามพระธรรมบัญญัติของพระเจ้า และมาในช่วงการแสดงกิจจานุกิจของพระเยซูคริสต์และภายหลังพระองค์อยู่แล้ว พระเยซูคริสต์จะเสด็จไปหรือไม่ ทูตสวรรค์ผู้นี้ก็มาอยู่แล้ว ตามพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้า

ส่วนข้อที่ 2 และข้อที่ 3 ก็ไม่ต่างจากที่กล่าวมาข้างต้น ในเมื่อพระวิญญาณบริสุทธิ์เป็นพระเจ้าหรือเป็นหนึ่งในพระภาคทั้ง 3 ของพระเจ้า และสถิตอยู่กับพระเยซูคริสต์ผู้เป็นพระบุตรอยู่แล้วจะต้องทูลขอให้พระบิดาของพระองค์แยกพระภาคมาเป็นพระวิญญาณบริสุทธิ์อีกทำไม

และดูเหมือนว่าทั้ง 3 ข้อ พระภาคของพระเจ้านี้ไม่รวมเป็นหนึ่งในบางเวลาในบางช่วงที่เกิดขึ้นต่างกรรมต่างวาระกัน รวมกันเป็นหนึ่ง แล้วก็แยกเป็นพระบุตรออกมาเป็นพระบิดา จากนั้นพระวิญญาณบริสุทธิ์ก็แยกจากพระบิดาลงมายังพระบุตร ต่อมาเมื่อพระบุตรเสด็จไปรวมเป็นหนึ่งยังพระบิดา พระวิญญาณบริสุทธิ์ก็แยกออกมาอีกหลังจากพระบุตรเสด็จขึ้นไป ซึ่งในช่วงเวลานั้นก็จะกลายเป็นว่ามีพระบิดากับพระบุตรบนสวรรค์แต่พระวิญญาณลงมายังโลกอีก

ทำไมจึงไม่กระทำราชกิจจานุกิจให้เสร็จสิ้นไปเสียทีเดียวก่อนที่พระบุตรจะเสด็จจากไป นี่คือคำถามที่คริสตชนต้องหาคำตอบเอาเอง แต่เราไม่จำเป็นต้องหาคำตอบ เพราะเราซึ่งเป็นมุสลิมไม่ได้มีความเชื่อในเรื่องเช่นนี้ ส่วนความขัดแย้งของถ้อยความในพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับยอห์นที่เป็นผลของการตีความ “พระวิญญาณบริสุทธิ์” หรือ “พระวิญญาณแห่งความจริง” ว่าหมายถึงพระภาคหนึ่งจากสามพระภาคของพระเจ้าหรือหมายถึงพระเยซูคริสต์ผู้เป็นพระบุตรนั้นก็ย้อนกลับไปยังประเด็นข้อสังเกตทั้ง 7 ข้อที่ได้กล่าวมาแล้ว

จึงเหลือเพียงข้อสรุปเดียวนั้นคือข้อที่ 4 อันหมายถึงองค์พระผู้ช่วยผู้เป็นมนุษย์ที่เผยพระวจนะโดยคำนึงถึงถ้อยความที่มีปรากฏในพระคัมภีร์เก่าที่กล่าวพยากรณ์ถึงการมาของผู้เผยพระวจนะท่านสุดท้ายประกอบด้วย

ทั้งนี้มีข้อสังเกตอีกอย่างทิ้งท้ายว่า ข้อความในพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับของยอห์นนั้นถูกเพิ่มเติมข้อความว่า คือพระวิญญาณบริสุทธิ์ หรือ คือพระวิญญาณแห่งความจริง หลังจากคำว่า “องค์พระผู้ช่วยหรือไม่? ซึ่งแต่เดิมต้นฉบับอาจจะบันทึกคำว่า “องค์พระผู้ช่วย” แล้วก็สาธยายถึงคุณลักษณะของพระองค์ตามที่พระเยซูคริสต์กล่าวแก่สาวก แต่ต่อมาจะด้วยการคัดลอกคัมภีร์หรือการถ่ายภาษาจากภาษาต้นฉบับเดิมมีการเพิ่มเติมคำว่า คือพระวิญญาณบริสุทธิ์ หรือ คือพระวิญญาณแห่งความจริง เข้าไปในสำนวนต้นฉบับเดิมหรือไม่?

เพราะถ้าหากตัดคำว่า คือพระวิญญาณบริสุทธิ์ หรือ คือพระวิญญาณแห่งความจริง ออกไปก็ไม่ทำให้ข้อความเดิมเสียความหมายและนัยตลอดจนอรรถรสแต่อย่างใดเลย อีกทั้งไม่ต้องมีการตีความและอรรถาธิบายกันจนดูสับสนไปหมด และออกจะขัดแย้งกันอยู่ในทีอีกด้วย โดยใจความสำคัญจะมีดังนี้

1. เราจะทูลขอขอพระบิดา และพระองค์จะประทานผู้ช่วยอีกผู้หนึ่งให้แก่ท่าน เพื่อจะได้อยู่กับท่านตลอดไป

(And I will ask the Father, and he will give you another Counselor to be with you forever) โปรดสังเกตคำว่า ผู้ช่วยอีกผู้หนึ่ง (another Counselor) จะเข้าใจได้ว่า พระเยซูคริสต์หมายถึง มนุษย์อีกคนหนึ่ง!

2. แต่องค์ผู้ช่วย – ซึ่งพระบิดาจะทรงใช้มาในนามของเรานั้นจะสอนท่านทั้งหลายทุกสิ่งและจะให้ท่านระลึกถึงทุกสิ่งที่เราได้กล่าวไว้แก่ท่านแล้ว

(But the Counselor – whom the father will send in my name, will teach you all things and will remind you of everything I have said to you)

เครื่องหมาย – หมายถึงตัดคำที่ว่า คือพระวิญญาณบริสุทธิ์ (the Holy spirit) ออกไปจากประโยคก็จะเข้าใจได้ว่า องค์พระผู้ช่วยเป็นมนุษย์ที่พระเจ้าจะส่งมาในนามพระเยซูคริสต์ และจะสั่งสอนและเตือนให้ผู้ที่เชื่อในพระเยซูคริสต์ระลึกได้ ใจความโดยรวมก็ไม่เสียไปเช่นกัน

3. อย่างไรก็ตามเราจะบอกความจริงแก่ท่านทั้งหลาย คือการที่เราจากไปนั้นก็เพื่อประโยชน์ของท่าน เพราะถ้าเราไม่ไปองค์พระผู้ช่วยก็จะไม่เสด็จมาหาท่าน แต่ถ้าเราไป เราก็จะใช้พระองค์มาหาท่าน เมื่อพระองค์นั้นเสด็จมาแล้ว พระองค์จะทรงกระทำให้โลกรู้แจ้งในความผิด ความชอบธรรม และการพิพากษา

(But I tell you the truth : It is for your good that I am going away ; unless I go away, the Counselor will not come to you, but if I go, I will send him to you

When he comes, he will convict the world of guilt in regard to sin and righteousness and judgment.) ถ้อยความทั้ง 2 ช่วงนี้ไม่มีการเติม คำว่า พระวิญญาณบริสุทธิ์ ในตัวบทบ่งชี้ว่าการตัดคำว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์ออกไปในประโยคอื่นย่อมไม่ทำให้เสียความหมายและรูปประโยค

4. เมื่อพระองค์เสด็จมาแล้ว พระองค์จะนำท่านทั้งหลายไปสู่ความจริงทั้งมวล เพราะพระองค์จะไม่ตรัสโดยพลการ แต่พระองค์จะตรัสสิ่งที่พระองค์ได้ยิน และพระองค์จะทรงแจ้งให้ท่านทั้งหลายรู้ถึงสิ่งเหล่านั้นที่จะเกิดขึ้น

พระองค์จะทรงให้เราได้รับเกียรติ เพราะว่าพระองค์จะทรงเอาสิ่งที่เป็นของเรามาสำแดงแก่ท่านทั้งหลาย

But when he __ comes, he will guide you into all truth. He will not speak on his own, he will tell you what is yet to come .

He will bring glory to me by taking from what is mine and making it known to you เครื่องหมาย __ หมายถึงการตัดคำว่า the Spirit of truth ออกไปก็จะเห็นว่าประโยคทั้งหมดยังคงได้ใจความและเข้าใจได้ว่าองค์ผู้ช่วยคือมนุษย์ที่ได้รับพระวจนะจากพระเจ้าและยกเกียรติของพระเยซูคริสต์

5. แต่เมื่อองค์พระผู้ช่วยที่เราจะใช้มาจากพระบิดาหาท่านทั้งหลาย__ ได้เสด็จมาแล้วพระองค์ก็จะทรงเป็นพยานให้แก่เรา

When the Counselor comes, whom I will send to you from the father__ he will testify about me

เครื่องหมาย __ คือการตัดสำนวนที่ว่า “คือพระวิญญาณแห่งความจริงผู้ทรงมาจากพระบิดา” (the spirit to truth who goes out from the father) ออกไปจากประโยคก็จะไม่ซ้ำซ้อนและความหมายของประโยคยังคงสมบูรณ์อยู่ ทั้งนี้เพราะคำว่า “เมื่อองค์พระผู้ช่วยที่เราจะใช้มาจากพระบิดาหาท่านทั้งหลาย” นั้นบ่งชี้อยู่แล้วว่าองค์พระผู้ช่วยมาจากพระบิดา จึงไม่มีความจำเป็นในการกล่าวประโยคที่ตัดออกไปซ้ำอีก

นอกเหนือจากคำว่า “พระวิญญาณแห่งความจริง” ซึ่งถูกตัดออกไปด้วยดังนั้น เมื่อเราตัดถ้อยคำ “พระวิญญาณบริสุทธิ์” (the Holy Spirit) และ “พระวิญญาณแห่งความจริง” (the spirit of truth) ออกไปจากสำนวนของพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับยอห์น เราจะพบคำว่าคำๆ หนึ่งที่เป็นสาระใจความสำคัญที่ถูกกล่าวซ้ำในหลายประโยคนั่นคือ คำว่า “องค์พระผู้ช่วย” (Counselor) และคุณลักษณะหลายประการขององค์พระผู้ช่วยนั้นก็เป็นคำอธิบายของพระเยซูคริสต์ตามที่ยอห์นบันทึกไว้จะปรากฏชัดเจนโดยไม่ต้องไปสับสนกับคำที่ถูกตัดออกไปซึ่งถูกใช้ในหลายความหมายด้วยกัน

4. ความหมายของคำว่า “องค์พระผู้ช่วย”

คำว่า “องค์พระผู้ช่วย” ตรงกับคำว่าในภาษาอาหรับว่า “อัล-มุอัซซียฺ” (المُعَزِّىْ) เป็นคำว่าที่แปลมาจากคำกรีก หมายถึง บุคคลผู้เป็นมนุษย์ซึ่งจะมาภายหลังพระเยซูคริสต์เพื่อบอกมวลมนุษย์ถึงหลักคำสอนของพระผู้เป็นเจ้า คำๆ นี้ปรากฏอยู่เอกสารายงานการประชุมร่วมยิวและคริสตชนกับสมเด็จพระสันตประปา บาโนว่าที่ 12 เมื่อปี ค.ศ. 1400 โดยระบุว่าคำๆ นี้เป็นส่วนหนึ่งจากนามชื่อของ พระเมสสิอาห์ ซึ่งโมเสส (มูซา) สัญญาไว้ถึงการมาของพระองค์ มัทธิว เฮนรี่ย์กล่าวว่า : คำว่า อัล-มุอัซซียฺ (ในภาษาอาหรับ) เป็นหนึ่งในบรรดานามชื่อของพระเมสสิอาห์ที่รู้กันในหมู่ชาวยิวว่า “มะนาฮีม” (مناهيم) (อรรถกถาพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ ยอห์น ; มัทธิว เฮนรี่ย์ หน้า 308 เล่มที่ 3 พิมพ์เมื่อ 1968 อียิปต์)

คุณพ่อ มัดธาย อัล-มิสกีน กล่าวว่า : คำกรีก (ซึ่งแปลเป็นภาษาอาหรับว่า อัล-มุอัซซียฺ) โบราณนี้ประกอบขึ้นจาก 2 ส่วนคือคำว่า “พารา” หมายถึง ควบคู่, ประจำอยู่ และคำว่า “กลีโตส” หมายถึง การเรียกร้องอันบรรเจิด (พารอกลีต : พระวิญญาณบริสุทธิ์ในวิถีชีวิตของผู้คน หน้า 11 พิมพ์เมื่อ1973 อียิปต์)

ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ใหม่ ฉบับแปลภาษากรีกคำว่า Parakletos ซึ่งหมายถึงทนายหรือผู้ที่ปกป้องสิทธิของผู้อื่น บางฉบับก็แปลเป็น Admirable หมายถึงผู้ที่น่าพิศวง หรือ Gloriflied หมายถึง ผู้ที่ให้เกียรติ ส่วนคำว่า Counselor (Counsellor) เป็นคำละติน

ทั้งนี้คำว่า Paraklytos (παρακλητοs) บางทีก็ออกเสียงเป็น Periklytos (περlκλντοs) คือตัวอักษรที่ใส่สระต่างกัน ซึ่งพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับภาษากรีกมักจะใช้ทั้งสองคำ หรือใช้แทนกัน ส่วนในภาษาอังกฤษเขียนว่า “Paraclete” ซึ่งคำๆ นี้โดยรากศัพท์ตรงกับคำว่า “มุฮัมมัด” (محمد) หรือคำว่า “อะหฺมัด” (أحمد) ในภาษาอาหรับ (Hastings, OP ., Cit ., p.14)

ภาษาที่ใช้ในสมัยพระเยซูคริสต์คือภาษา “อาราเมอิก” และภาษาของคัมภีร์ในยุคแรกที่บันทึกเรื่องราวของพระเยซูคริสต์ก็เป็นภาษา อาราเมอิก แต่ต้นฉบับภาษาอาราเมอิกได้สูญหายไปแล้วภายหลังการถ่ายภาษาเป็นภาษากรีก (การแปลพระคริสตธรรมคัมภีร์และกิจการของอัครทูต หน้า 7-9 พิมพ์ที่เบรุต โรงพิมพ์คาทอลิค 1964) ในภาษาสุรยานียะฮฺ (ซีเรียโบราณ) เรียกคำที่เป็นนามขององค์พระผู้ช่วยว่า “อัลมุนหะมันนา” ซึ่งถ่ายเป็นคำกรีกว่า “พารอกลีตุส” ตรงกับภาษาอาหรับว่า “มุฮัมมัด” (สีเราะฮฺ อิบนิ ฮิชามฺ พิมพ์ที่อียิปต์ 1937 หน้า 251 เล่มที่ 1)

อย่างไรก็ตามเมื่อชาวคริสต์ได้แปลพระคริสตธรรมคัมภีร์เป็นภาษาอาหรับมีการแปลคำๆ นี้ (อัล-มุนหะมันนา) แตกต่างกัน เช่น

– พารอกลีต (بَارَقْلِيْط)

– ฟารอกลีต (فَارقَليْط) – (ฉบับโรม 1591, ฉบับพิมพ์โปรประกันดา 1671, ฉบับพิมพ์ของ ดีร โยฮันน่า อัศ-ศอบิฆฺ 1776) –

– อัล-มุอัซซียฺ (المعزى) (ใน อัล-มัชริก 1912)

– อัล-มุหามียฺ (المحامي) เป็นต้น ส่วนในฉบับแปลภาษาอังกฤษรุ่นเก่า แปลว่า (Advocate) N.E.B Comforter ส่วนในฉบับแปลเป็นภาษาฝรั่งเศสยังคงใช้คำกรีกในการแปลคือ

B.J, Bouyer : Le Iveme Evangile ,

Le paraclet บ้างก็แปลว่า

Le dafenseur : Pirot และ Le cnsdatur : Crampon

ส่วนคุณพ่อ ออสธีย์ กล่าวว่า Le Defenseur แล้วกล่าวตอนท้ายของหน้าว่า On bien Defenseur, Intercesseut, Consolateur ทั้งนี้เพราะคำๆ นี้บ่งถึงความหมายทั้งหมดแต่ก็มีความเหมาะสมแตกต่างกันไป (อ้างแล้ว หน้า 61-62) ดร.บาทหลวง เอ.บี. แซมสัน กล่าวว่า คำว่า อัล-มุอัซซียฺ มิใช่เป็นการถ่ายภาษาที่ละเอียดเอาเสียมากๆ” (พระวิญญาณบริสุทธิ์ ; ดร.เอบี แซมสัน แปลเป็นภาษาอาหรับโดย โยเซฟ สตีฟาน, อัมมาน)

ดังนั้น คำว่า พารอกลีต หรือ พีรอกลีต ถึงแม้ว่าจะออกเสียงต่างกัน ต่างก็บ่งถึงผู้เผยพระวจนะท่านสุดท้ายคือนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) เพราะถ้าออกเสียงว่า พีรอกลีต ก็จะตรงกับชื่อในภาษาอาหรับว่า “อะหฺมัด” แต่ถ้าออกเสียงเป็น พารอกลีต ก็จะหมายถึงคุณลักษณะของพระองค์อยู่ดี

ทีนี้เรามาพิจารณาถึงบรรดาคุณลักษณะซึ่งพระเยซูคริสต์ได้กล่าวถึง “พารอกลีต” ดูสิว่า คำๆ นี้ตรงกับบุคคลผู้เป็นมนุษย์หรือเป็นพระวิญญาณแห่งฟากฟ้า หรือตรงกับศาสนทูตของอิสลามหรือว่าหมายถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์ ซึ่งเป็นพระเจ้าตามความเชื่อของคริสตชน

สิ่งหนึ่งที่ต้องคำนึงเสียก่อนก็คือ การสนทนาของพระเยซูคริสต์กับบรรดาอัครทูตของพระองค์มิได้หมายถึงการโต้ตอบคำพูดกับพวกเขาเท่านั้น แต่ยังหมายรวมถึงบรรดาผู้ที่เชื่อในพระเยซูคริสต์ทั้งหมดโดยรวมอีกด้วย และสำหรับประเด็นที่จะกล่าวถึงนี้เป็นการอธิบายเพิ่มเติมจาก 7 ประเด็นที่กล่าวมาแล้วซึ่งสามารถย้อนกลับไปทบทวนดูได้

-1. “ถ้าท่านทั้งหลายรักเรา ท่านก็จะประพฤติตามบัญญัติของเรา” (ยอห์น 14 : 15) นี่เป็นการพูดเป็นนัยว่า ถ้าหากเหล่าสาวกและคริสตชนรักและเชื่อในพระองค์ก็จะต้องปฏิบัติตามและเชื่อในสิ่งที่พระองค์ทรงบอกถึงองค์พระผู้ช่วยนั้น คือผู้มีนามว่า อะหฺมัด (พารอกลีต) นั่นบ่งเป็นนัยว่าพวกเขาอาจจะปฏิเสธและไม่เชื่อในองค์พระผู้ช่วยที่จะเสด็จมา แต่ถ้าองค์พระผู้ช่วยหมายถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์ พวกเขาก็ย่อมไม่ปฏิเสธอยู่แล้ว

เพราะพระคริสตธรรมคัมภีร์บันทึกไว้ว่า : ครั้นพระองค์ตรัสดังนั้นแล้ว จึงทรงระบายลมหายใจออกเหนือเขา ตรัสกับเขาว่า “จงรับพระวิญญาณบริสุทธิ์เถิด” (ยอห์น 20 : 22) เมื่อพวกเขารับพระวิญญาณบริสุทธิ์แล้วก็ย่อมไม่มีความจำเป็นต้องย้ำเตือนในการตามบัญญัติของพระองค์อีกเพราะพวกเขารับพระวิญญาณบริสุทธิ์ไว้แล้วก่อนที่พระเยซูคริสต์จะเสด็จไปหาพระบิดาเสียอีก

-2. “เพื่อจะได้อยู่กับท่านตลอดไป” (ยอห์น 14 : 16) หมายความว่า พระธรรมบัญญัติที่องค์พระผู้ช่วยนำมาแจ้งแก่โลกจะอยู่กับพวกเขาและชนรุ่นหลัง พวกเขาที่เชื่อในพระเยซูคริสต์และพระผู้เป็นเจ้าจวบจนวันอวสานของโลก ถ้าองค์พระผู้ช่วยหมายถึงพระวิญญาณบริสุทธิ์ของพระเจ้าแล้วไซร้ ก็องค์พระเยซูคริสต์นั้นคือพระเป็นเจ้าคือพระวิญญาณบริสุทธิ์ตามความเชื่อของชาวคริสต์มิใช่หรือ? พระองค์จะขึ้นไปยังสวรรค์และเสด็จลงมาเพื่ออยู่กับพวกเขาอีกทำไม?

อะไรเป็นเหตุปัจจัยว่าพระองค์จะเสด็จขึ้นไปและลงมาในนามของผู้อื่น ในเมื่อพระผู้เป็นเจ้าทรงอยู่กับมนุษย์ทั้งก่อนหน้าพระเยซูคริสต์และภายหลังพระองค์นับตั้งแต่การบังเกิดมนุษย์คนแรกคือ อาดัม และไม่มีที่สิ้นสุด

-3. “คือพระวิญญาณแห่งความจริง ซึ่งโลกรับไว้ไม่ได้ เพราะแลไม่เห็นและไม่รู้จักพระองค์ แต่ท่านทั้งหลายรู้จักพระองค์…” (ยอห์น 14 : 17)

หมายความว่า องค์พระผู้ช่วยจะนำสาส์นแห่งความจริงจากพระผู้เป็นเจ้ามา พระองค์จะทำให้พวกท่านและชนรุ่นหลังพวกท่านได้รู้ความจริง ชาวยิวและผู้คนในโลกต่างก็เบี่ยงเบนออกจากความจริง และหันไปเชื่อในความเชื่อของฝ่ายมนุษย์ที่ต่างก็อ้างว่าตนอยู่บนความจริง

แต่ความจริงแท้อยู่กับองค์พระผู้ช่วยผู้เผยพระวจนะนี้ ซึ่งโลกรับไว้ไม่ได้ เพราะโลกในช่วงก่อนการเสด็จมาขององค์พระผู้ช่วยตกอยู่ในความชั่วและความเสื่อม พวกเขาจึงรับความจริงจากพระเจ้าไม่ได้ แต่พวกท่านและผู้ที่เชื่อในยุคหลังพวกท่านจะรู้จักองค์พระผู้ช่วยด้วยคำพูดของพระเยซูคริสต์นี้และสิ่งที่พระองค์ทรงบอกไว้แก่พวกท่านมาก่อนแล้ว

คุณลักษณะเช่นนี้ไม่สอดคล้องกับพระวิญญาณบริสุทธิ์คือพระผู้เป็นเจ้า เพราะโลกรู้จักพระเจ้ามากกว่าที่จะรู้จักองค์พระผู้ช่วย แต่พวกท่านจะรู้จักพระองค์ผู้จะเสด็จมาในภายหลังนั้นเพราะพระเยซูคริสต์ได้บอกเอาไว้แล้ว และหากพระผู้ช่วยคือพระวิญญาณแห่งความจริงหมายถึงพระเยซูคริสต์แล้วไซร้ แล้วพวกเขาคือโลกจะไม่แลเห็นและไม่รู้จักพระองค์ได้อย่างไรกัน ทั้งๆ ที่พวกเขาเห็นพระองค์และรู้จักพระองค์ว่าเป็นผู้ใด?

พระเยซูได้เสด็จไปทั่วแคว้นกาลีลี ทรงสั่งสอนในธรรมศาลาของเขา ทรงประกาศข่าวประเสริฐเรื่องแผ่นดินของพระเจ้า และทรงรักษาโรคภัยไข้เจ็บของชาวเมืองให้หาย” (มัทธิว 4 : 23)

เมื่อพระองค์เสด็จลงจากภูเขาแล้ว คนเป็นอันมากได้ติดตามพระองค์ไป” (มัทธิว 8 : 1)

ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้ง 4 ฉบับต่างก็บันทึกเรื่องราวและเหตุการณ์ของพระเยซูที่พระองค์สั่งสอนประชาชนและรักษาพวกเขาจากโรคภัยไข้เจ็บ พระองค์ทรงอยู่ร่วมกับเหล่าสาวกของพระองค์ ตอบโต้พวกธรรมาจารย์ พวกฟาริสี และมีการจับกุมพระองค์ ฯลฯ หากพระองค์คือพระวิญญาณบริสุทธิ์พวกเขาก็ย่อมไม่เห็นพระองค์และไม่รู้จักพระองค์ เพราะไม่มีใครเคยเห็นพระเจ้าเลย (ยอห์น 1 : 18)

-4. “ท่านทั้งหลายรู้จักพระองค์ เพราะพระองค์ทรงสถิตอยู่กับท่าน และจะประทับอยู่ในท่าน” (ยอห์น 14 : 17) คำว่า “สถิตอยู่กับท่าน” ไม่ตรงกับพระวิญญาณบริสุทธิ์ เพราะพระวิญญาณบริสุทธิ์ยังไม่ได้ลงมา ถ้าหากว่าพระวิญญาณบริสุทธิ์สถิตอยู่กับพวกเขาแล้ว เพราะเหตุใดพระเยซูคริสต์จึงต้องสัญญากับพวกเขาถึงการเสด็จลงมาของพระวิญญาณบริสุทธิ์ยังพวกเขาด้วย? และถ้าพระวิญญาณบริสุทธิ์สถิตอยู่กับพวกเขาแล้ว ทำไมพระองค์จึงต้องทูลขอพระบิดาให้ส่งพระวิญญาณบริสุทธิ์เพื่อให้ลงมาอีก!

เพราะถ้าเราไม่ไป องค์พระผู้ช่วยก็จะไม่เสด็จมาหาท่าน” (ยอห์น 16 : 7)

ประโยคนี้ชัดเจนที่สุดในการหักล้างคำกล่าวของชาวคริสต์ในเรื่องการเสด็จลงมาของพระวิญญาณบริสุทธิ์และประโยคที่ว่า “และจะประทับอยู่ในท่าน” (and will be in you) (ยอห์น 14 : 17) ย่อมบ่งถึงเรื่องในอนาคต การสถิตอยู่ก็เช่นกันแต่ที่ประโยคนี้ใช้สำนวนบ่งถึงเวลาปัจจุบันก็เพราะเป็นเรื่องที่ต้องเกิดขึ้นอย่างแน่นอนนั่นเอง!

-5. “เพราะเรามิได้กล่าวตามใจเราเอง แต่ซึ่งเรากล่าวและพูดนั้นพระบิดาทรงใช้เรา พระองค์นั้นได้ทรงบัญชาให้แก่เรา”(ยอห์น 12 : 49) ประโยคนี้ยืนยันว่าองค์พระผู้ช่วยผู้เป็นมนุษย์ที่จะเผยพระวจนะนั้นย่อมเสด็จมาแน่นอนเพราะเป็นสิ่งที่พระเจ้าทรงมีพระบัญชา ก็ไม่จำเป็นต้องย้ำในเรื่องนี้ และประโยคนี้ก็ยืนยันว่าพระเยซูคริสต์คือผู้เผยพระวจนะมิใช่พระเจ้า! และประโยคนี้ก็เป็นคำพูดที่พระเยซูคริสต์ที่แจ้งไว้ก่อนแล้ว

ครั้นพอพระองค์กล่าวถึงการเสด็จมาขององค์พระผู้ช่วยพระองค์ก็ย้ำว่า “และคำซึ่งท่านได้ยินนี้ ไม่ใช่คำของเรา แต่เป็นพระวจนะของพระบิดาผู้ทรงใช้เรามา” (ยอห์น 14 : 24) นี่เป็นประโยคที่ให้ความหมายชัดเจนว่าพระเยซูคริสต์คือผู้เผยพระวจนะของพระเจ้า พระองค์มิใช่พระเจ้า (พระบิดา) และพระองค์มิใช่พระวิญญาณบริสุทธิ์แต่อย่างใด?

-6. “เราได้กล่าวคำเหล่านี้แก่ท่านทั้งหลายเมื่อเรายังอยู่กับจะทรงใช้มาในนามของเรานั้นจะทรงสอนท่านทั้งหลายทุกสิ่งและจะให้ท่านระลึกถึงทุกสิ่งที่เราได้กล่าวไว้แก่ท่านแล้ว” (ยอห์น 14 : 25-26) ณ จุดนี้ เราจะพบว่าการทำหน้าที่เป็นผู้เผยพระวจนะ และสาส์นของพระเจ้าสำหรับพระเยซูคริสต์จะสิ้นสุดลงด้วยการเสด็จมาขององค์พระผู้ช่วย พระเยซูคริสต์จึงย้ำเตือนพวกเขาให้รอคอยผู้สอนอีกคนหนึ่ง

และบอกให้พวกเขาทราบว่า ผู้เผยพระวจนะนี้จะถูกส่งมาจากพระเป็นเจ้าตามคำทูลขอของพระเยซู ซึ่งจำเป็นต้องให้เกียรติแก่ผู้ที่จะเสด็จมานั้น เพราะผู้ที่จะเสด็จมานั้นคือคำทูลขอของผู้เป็นนายและอาจารย์ของพวกเขา และการเสด็จมาของผู้เผยพระวจนะผู้นี้ซึ่งมาในนามของพระเยซูคริสต์จึงเป็นสิ่งจำเป็นที่เหล่าผู้เชื่อในพระเยซูคริสต์ต้องยอมรับหลักคำสอนและเข้าสู่วิถีทางแห่งการเรียกร้องของผู้เผยพระวจนะผู้นี้

เพราะพระองค์จะให้เกียรติแก่พระเยซูคริสต์ และคำสอนที่แท้จริงของพระเยซูคริสต์และประกาศความบริสุทธิ์ของพระเยซูคริสต์และพระมารดาของพระองค์จากคำกล่าวหาของชาวยิว “จะทรงสอนท่านทั้งหลายทุกสิ่ง” นี่หมายความว่าพวกเขาจำเป็นต้องละทิ้งสิ่งเดิมและยึดถือสิ่งที่ผู้เผยพระวจนะจะสอนพวกเขาด้วยพระธรรมบัญญัติใหม่ “และจะให้ท่านระลึกถึงทุกสิ่งที่เราได้กล่าวไว้แก่ท่านแล้ว

นี่บ่งชี้พวกเขาจะลืมคำสอนเป็นอันมาก ที่พระเยซูคริสต์ได้เคยกล่าวไว้แก่พวกเขา เมื่อผู้เผยพระวจนะได้เสด็จมาท่านจะเป็นผู้สอนและผู้เตือนให้รำลึก ซึ่ง 2 คุณลักษณะนี้ไม่สอดคล้องกับพระวิญญาณบริสุทธิ์ เพราะพระวิญญาณบริสุทธิ์จะไม่สอนและไม่พูดแต่กระจายอยู่เหนือเหล่าอัครทูตทำให้พวกเขาตั้งต้นพูดภาษาอื่นๆ ตามที่พระวิญญาณทรงโปรดให้พูด (ดู กิจการของอัครทูต 2 : 1-4) หมายความว่า อัครทูตเหล่านั้นเป็นผู้พูดโดยพระวิญญาณมิได้พูดโดยตรงแต่อย่างใด!

-7. “และบัดนี้เราได้บอกท่านทั้งหลาย ก่อนที่เหตุการณ์นั้นจะเกิดขึ้นเพื่อว่า เมื่อเหตุการณ์นั้นเกิดขึ้นแล้วท่านทั้งหลายจะได้เชื่อ” (ยอห์น 15 : 29) ประโยคนี้บ่งถึงการให้เกียรติและความสำคัญยิ่งขององค์พระผู้ช่วยที่จะเสด็จมา เพราะถ้าหากพวกเขารู้ว่าพระองค์จะมาเพื่อสิ่งใด? และรู้ว่าในคำสอนของพระองค์มีความสะดวกง่ายดาย พวกเขาย่อมยินดีต่อการมาของพระองค์เป็นที่สุด

และประโยคนี้ก็ไม่สอดคล้องกับพระวิญญาณบริสุทธิ์ในเรื่องการศรัทธาต่อพระวิญญาณนั้น เพราะพระวิญญาณของพระเจ้านี้ก็คือองค์พระเยซูคริสต์เองตามความเชื่อของชาวคริสต์นิกาย ออธอดอกซ์ ซึ่งพวกเขาเชื่ออยู่แล้ว แต่สอดคล้องกับผู้เผยพระวจนะและพระธรรมบัญญัติที่พระเยซูคริสต์ทรงย้ำให้พวกเขาเชื่อเมื่อผู้นั้นเสด็จมา

-8. “เมื่อองค์พระผู้ช่วยที่เราจะใช้มาจากพระบิดาหาท่านทั้งหลาย คือพระวิญญาณแห่งความจริงผู้ทรงมาจากพระบิดานั้นได้เสด็จมาแล้ว พระองค์ก็จะทรงเป็นพยานให้แก่เรา

และพวกท่านทั้งหลายก็จะเป็นพยานด้วย เพราะว่าท่านได้อยู่กับเราตั้งแต่แรกแล้ว” (ยอห์น 15 : 26-27)

ประโยคนี้ไม่สอดคล้องกับพระวิญญาณบริสุทธิ์ เพราะพระเจ้าย่อมไม่ส่งพระเจ้าที่เป็นเหมือนพระองค์มา ความหมายของประโยคคือ “พารอกลีต” (อะหฺมัด) จะมาจากพระบิดาเพียงพระองค์เดียว คือจะถูกส่งมาจากพระเจ้าเป็นเจ้าเท่านั้น และพระเยซูคริสต์ก็จะทูลต่อพระองค์ให้ส่งท่านผู้นี้มา

และพารอกลีต (อะหฺมัด) ผู้นี้จะเป็นพยานให้แก่พระเยซูคริสต์ในความเป็นผู้เผยพระวจนะของพระองค์ตลอดจนความเป็นบ่าวที่ได้รับความพอพระทัยจากพระองค์ผู้ทรงส่งพระเยซูคริสต์มา และนี่เป็นหมายสำคัญเพื่อให้ผู้ที่เชื่อในพระเยซูคริสต์รู้ถึงความสัจจริงของพารอกลีต (อะหฺมัด)

กล่าวคือ หากพารอกลีตยืนยันถึงความประเสริฐของพระเยซูคริสต์ ความเป็นผู้เผยพระวจนะของพระเยซูคริสต์และความบริสุทธิ์ของพระมารดาพระองค์ พารอกลีตก็ย่อมเป็นผู้ที่สัจจริง แต่ถ้าภายหลังพระเยซูคริสต์มีผู้อ้างตนว่าเป็นผู้เผยพระวจนะแต่ไม่เป็นพยานถึงสถานภาพที่แท้จริงของพระเยซูคริสต์คือความเป็นมนุษย์ผู้รับใช้พระเจ้ามาเผยพระวจนะและเป็นผู้ที่พระเจ้าทรงสำแดงฤทธานุภาพในการสร้างของพระองค์ให้พระเยซูคริสต์ถือกำเนิดโดยไม่มีบิดาซึ่งสถานภาพของพระเยซูคริสต์กลายเป็นความสุดโต่ง 2 ด้าน

ด้านหนึ่งยกพระองค์ขึ้นเป็นพระเจ้า หรือเป็นพระบุตร หรือเป็นหนึ่งในพระภาคทั้ง 3 ภาค กับอีกด้านหนึ่งปฏิเสธและกล่าวหาพระองค์และพระมารดาของพระองค์ องค์พระผู้ช่วยจะเสด็จมายืนยันสถานภาพที่แท้จริงซึ่งไม่ใช่ 2 ด้านนั้น แต่เป็นทางสายกลางที่สอดคล้องกับพระธรรมบัญญัติของพระเจ้าที่ว่า พระเจ้าหนึ่งเดียวและพระองค์ทรงเลือกสรรมนุษย์ให้เผยพระวจนะของพระองค์ ถ้าผู้อ้างการเผยพระวจนะไม่ยืนยันเช่นนี้ก็ถือว่าผู้นั้นเป็นผู้เผยพระวจนะเท็จ!

และการเป็นพยานยืนยันนี้ไม่ได้เกิดขึ้นจากพระวิญญาณบริสุทธิ์ขณะที่เสด็จลงมา เพราะพระวิญญาณบริสุทธิ์ไม่ได้กระทำสิ่งใดมากไปกว่าการทำให้เหล่าอัครทูตพูดภาษาต่างๆ ได้เท่านั้นตามที่ระบุในพระคริสตธรรมคัมภีร์ กิจการของอัครทูต 2 : 4 และบรรดาสานุศิษย์ของพระเยซูคริสต์ในเวลานั้นก็รู้จักพระเยซูคริสต์เป็นอย่างดี จึงไม่มีความจำเป็นที่พระวิญญาณบริสุทธิ์จะเสด็จมาเป็นพยานแก่พระองค์เพราะพระบิดาคือพระผู้เป็นเจ้าทรงเป็นพยานแก่พระเยซูคริสต์อยู่แล้ว“และพระบิดาผู้ทรงใช้เรามา พระองค์เองก็ได้ทรงเป็นพยานให้แก่เรา ท่านทั้งหลายไม่เคยได้ยินพระสุรเสียงของพระองค์ และไม่เคยเห็นรูปร่างของพระองค์ และท่านทั้งหลายไม่มีพระดำรัสของพระองค์อยู่ในตัวท่าน…” (ยอห์น 5 : 37-38)

-9. “เมื่อพระองค์นั้นเสด็จมาแล้ว พระองค์จะทรงกระทำให้โลกรู้แจ้งในความผิด ความชอบธรรม และการพิพากษา”(ยอห์น 16 : 8) หมายความว่า เมื่อองค์พระผู้ช่วยเสด็จมาพระองค์จะตำหนิโลกด้วยการทำให้พวกเขาจนปัญญาที่จะคัดค้านพระองค์ โลกหมายถึง “ชาวยิวและประชาชาติทั้งหลาย” (มัทธิว เฮนรี่ อรรถกถาพระคริสตธรรมคัมภีร์ฉบับยอห์น เล่มที่ 4 หน้า 17)

ประเด็นอยู่ที่ว่า พระวิญญาณบริสุทธิ์เมื่อเสด็จลงมาตามคำอ้างนั้นได้ตำหนิโลกคือชาวยิวและประชาชาติหรือไม่? แน่นอนพระวิญญาณบริสุทธิ์มิได้เอ่ยถ้อยคำใดๆ เลยจากปากของพระวิญญาณบริสุทธิ์ แต่เมื่อผู้เผยพระวจนะท่านสุดท้ายได้เสด็จมาพระองค์ได้ตำหนิโลกทั้งผอง ตำหนิชาวยิวที่บิดเบือนคัมภีร์และพระธรรมบัญญัติของพระเจ้า และตำหนิชาวคริสต์เช่นกันที่พวกเขาบิดเบือนคำสอนของพระเยซูคริสต์ ตลอดจนตำหนิบรรดาผู้เคารพกราบไหว้รูปเจว็ดและนำสิ่งถูกสร้างมาตั้งภาคีเทียบพระเจ้าและการตำหนิขององค์พระผู้ช่วยที่จะเสด็จมานั้นมุ่งประเด็นเฉพาะใน 3 เรื่องตามที่พระเยซูคริสต์แจ้งไว้คือ ความผิด ความชอบธรรม และการพิพากษา

ในเรื่องความผิดนั้น คือเพราะเขาไม่วางใจในเรา” (ยอห์น 16 : 9) ประโยคนี้ไม่สอดคล้องกับพระวิญญาณบริสุทธิ์เพราะบรรดาสานุศิษย์ของพระเยซูขณะที่พระวิญญาณบริสุทธิ์เสด็จมาตามคำอ้างของพวกเขานั้น พวกเขาเชื่อและศรัทธาต่อพระเยซูคริสต์แล้ว หากแต่สอดคล้องกับผู้เผยพระวจนะท่านสุดท้ายซึ่งพระองค์ทรงตำหนิชาวยิวที่พวกเขาไม่ศรัทธาต่อการเป็นผู้ประกาศสาส์นของพระเยซูคริสต์ และตำหนิชนกุล่มอื่นที่มิใช่ชาวยิวซึ่งพวกเขานำเอาคุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้ามาใส่ให้กับพระเยซูคริสต์ ตลอดจนพวกที่ไม่เชื่อในสาส์นของพระเจ้าหรือพวกที่ปฏิเสธพระเจ้าอีกด้วย

ในเรื่องความชอบธรรมนั้น คือเพราะเราไปหาพระบิดา และท่านทั้งหลายจะไม่เห็นเราอีก” (ยอห์น 16 : 10) ในพระคริสตธรรมเดิมฉบับดาเนียล ระบุถึงทูตสวรรค์กาเบรียลในนิมิตของดาเนียลกล่าวพยากรณ์เรื่องเจ็ดสิบสัปตะว่า “เพื่อนำความชอบธรรมนิรันดร์เข้ามาเพื่อประทับตราทั้งนิมิตและคำของผู้เผยพระวจนะไว้” (ดาเนียล 9 : 24) คำพยากรณ์นี้ระบุถึงศาสนทูตท่านสุดท้ายผู้เป็นตราประทับของสาส์นแห่งพระผู้เป็นเจ้าและเป็นความชอบธรรมนิรันดร์

ดังนั้นพระเยซูคริสต์จึงกล่าวว่า ผู้เผยพระวจนะสุดท้ายนี้เมื่อมายังโลกก็จะกล่าวตำหนิโลกที่ปฏิเสธท่าน เพราะท่านคือความชอบธรรม นิรันดร์ที่พวกเขารอคอยและคัมภีร์ทั้งหลายก็บ่งชี้ถึงการมาของท่าน ประโยคที่พระเยซูคริสต์กล่าวว่า “เพราะเราไปหาพระบิดาและท่านทั้งหลายจะไม่เห็นเราอีก” เพราะพระเยซูมิใช่ความชอบนิรันดร์ แต่เป็นผู้เผยพระวจนะอีกคนหนึ่ง

ในเรื่องการพิพากษานั้นคือ เพราะเจ้าโลกนี้ถูกพิพากษาแล้ว” (ยอห์น 16:11) คำว่า “เจ้าโลกนี้” (the prince of this world) ชาวคริสต์อธิบายว่าหมายถึง ซาตาน (ชัยฏอน – อิบลีส)

มัธทิว เฮนรี่ย์กล่าวว่า : ซาตาน (อิบลีส) คือเจ้าโลกนี้ได้ถูกพิพากษา เพราะเป็นที่ชัดเจนแล้วว่า ซาตานเป็นผู้ที่ทำให้หลงทาง และเป็นผู้ทำลายล้างที่ยิ่งใหญ่ เหตุนั้นมันจึงถูกพิพากษา และการพิพากษาได้เริ่มขึ้นเพียงบางส่วน กล่าวคือ มันถูกขับไล่ออกจากโลกที่เคารพบูชาเจว็ด ขณะที่คำสอนของมันถูกทำให้หยุดนิ่งและแท่นบูชาของมันถูกละทิ้ง” (อ้างแล้ว หน้า 21)

นี่หมายความว่า ผู้เผยพระวจนะท่านสุดท้ายจะตำหนิโลกที่ไม่ศรัทธาต่อพระองค์ในขณะที่คำสอนของพระองค์เปิดโปงวิถีทางและคำสั่งใช้ของซาตานตลอดจนพิพากษาซาตานถึงจุดจบของมัน

-10. “พระองค์จะทรงให้เราได้รับเกียรติ เพราะว่าพระองค์จะทรงเอาสิ่งที่เป็นของเรามาสำแดงแก่ท่านทั้งหลาย” (ยอห์น 16 : 14) หมายความเมื่อผู้เผยพระวจนะท่านสุดท้ายได้เสด็จมาพระองค์จะให้เกียรติความเป็นผู้ประกาศสาส์นและยอมรับถึงความประเสริฐของพระเยซูคริสต์ ดังนั้นพวกท่านจงอย่าดูแคลนความเป็นผู้เผยพระวจนะของผู้ที่มาภายหลังพระเยซูคริสต์แต่จงยอมรับและให้เกียรติแก่ผู้เผยพระวจนะนั้นเหมือนอย่างที่เขาให้เกียรติพระเยซูคริสต์

ทั้งหมดที่กล่าวมาย่อมยืนยันว่าพระเยซูคริสต์หรืออัล-มะสีหฺ อีซา บุตร มัรยัม (อ.ล.) ได้ประกาศถึงการมาของศาสนทูตท่านสุดท้ายคือ นบี มุฮัมมัด (ศ้อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ผู้ซึ่งมีนามอีกว่า “อะหฺมัด” คือผู้ที่สรรเสริญพระผู้เป็นเจ้าเป็นที่สุดดังที่คัมภีร์อัล-กุรอานได้ระบุว่า


وَمُبَشِّرًا بِرَسُولٍ يَأْتِي مِن بَعْدِي اسْمُهُ أَحْمَدُ


ความว่า “และแจ้งข่าวดีถึงศาสนทูตหนึ่งที่จะมาภายหลังฉัน (อีซา บุตร มัรยัม) นามของศาสนทูตนั้นคือ อะหฺมัด” (อัศ–ศอฟ อายะฮฺที่ 6)


5. การแจ้งข่าวประเสริฐของพระเยซูคริสต์ถึงศาสนทูตท่านสุดท้ายตามที่ปรากฏในส่วนอื่นของพระคริสตธรรมคัมภีร์

5.1 พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับ มัทธิว

“พระเยซูตรัสกับเขาว่า “ท่านทั้งหลายยังไม่ได้อ่านในพระคัมภีร์หรือ ซึ่งว่า

ศิลาซึ่งช่างก่อได้ทอดทิ้งเสีย

ยังได้เป็นศิลามุมเอกแล้ว

การนี้เป็นมาจากพระเจ้า

เป็นการมหัศจรรย์ประจักษ์ตาเรา

เหตุฉะนั้นเราบอกท่านว่า แผ่นดินของพระเจ้าต้องเอาไปจากท่าน ยกให้แก่ชนชาติหนึ่งซึ่งจะกระทำให้ผลเจริญสมกับแผ่นดินนั้น

ผู้ใดล้มทับศิลานี้ ผู้นั้นจะต้องแตกหักไป แต่ศิลานั้นจะตกทับผู้ใด ผู้นั้นจะแหลกละเอียดไป

(มัทธิว 21 : 42-44)

“ศิลา” ที่ถูกกล่าวนี้คือท่านนบี มุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ดังปรากฏในเศาะฮีหฺ อัล-บุคอรียฺ และมุสลิม รายงานจากอบูฮุรอยเราะฮฺ (ร.ฎ.) และญาบิร อิบนุ อับดิลลาฮฺ (ร.ฎ.) แท้จริงท่านนบี มุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า


แท้จริงอุปมาตัวฉันและอุปมาบรรดาผู้เผยพระวจนะก่อนหน้าฉัน อุปมัยดั่งชายผู้หนึ่งได้สร้างบ้านหลังหนึ่ง เขาทำมันอย่างสวยงามและทำให้บ้านนั้นงดงามยกเว้นตำแหน่งของศิลา (อิฐ) จากมุมหนึ่ง (ที่ถูกทิ้งไว้โดยไม่ได้ก่อให้เสร็จ) ผู้คนก็เริ่มวนเวียนรอบศิลานั้นและแสดงความฉงนต่อศิลานั้นและพลางกล่าวว่า : เหตุใดหนอ ศิลาจึงมิถูกวาง? ท่านนบี (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) กล่าวว่า : ฉันนั้นคือศิลานั้นและฉันคือตราประทับ (ผู้เผยพระวจนะท้ายสุด) ของบรรดาผู้เผยพระวจนะ


สังเกตประโยคที่ว่า “ผู้คนก็เริ่มเดินวนเวียนรอบศิลานั้น และแสดงความฉงนต่อศิลานั้น” กับประโยคในพระคริสตธรรมคัมภีร์ที่ว่า “เป็นการมหัศจรรย์ประจักษ์ตาเรา” และสังเกตประโยคที่ว่า “แผ่นดินของพระเจ้าจะต้องเอาไปจากท่านยกให้แก่ชนชาติหนึ่ง…” แล้วพิจารณาที่อัล-กุรอานกล่าวถึงดังนี้ว่า :


وَلَقَدْ كَتَبْنَا فِي الزَّبُورِ مِن بَعْدِ الذِّكْرِ أَنَّ الْأَرْضَ يَرِثُهَا عِبَادِيَ الصَّالِحُونَ


ความว่า “และแน่แท้เราได้บันทึกไว้ในคัมภีร์อัซซะบู๊ร (ของนบีดาวูด-ดาวิด) ภายหลังจากอัซซิกร์ (คัมภีร์เตารอต) ว่า แท้จริงแผ่นดินนั้นบรรดาบ่าวของข้าที่ประพฤติการดี (คือทำให้เกิดผลเจริญสมกับแผ่นดินนั้น) จะได้รับสืบทอดแผ่นดินนั้นเป็นมรดก) (อัล-อัมบิยาอฺ อายะฮฺที่ 105)


และพระดำรัสในอัล-กุรอานที่ว่า :


وَعَدَ اللَّـهُ الَّذِينَ آمَنُوا مِنكُمْ وَعَمِلُوا الصَّالِحَاتِ لَيَسْتَخْلِفَنَّهُمْ فِي الْأَرْضِ كَمَا اسْتَخْلَفَ الَّذِينَ مِن قَبْلِهِمْ وَلَيُمَكِّنَنَّ لَهُمْ دِينَهُمُ الَّذِي ارْتَضَىٰ لَهُمْ وَلَيُبَدِّلَنَّهُم مِّن بَعْدِ خَوْفِهِمْ أَمْنًا ۚ يَعْبُدُونَنِي لَا يُشْرِكُونَ بِي شَيْئًا


ความว่า : อัลลอฮฺทรงสัญญาบรรดาผู้ศรัทธาจากหมู่สูเจ้าและประพฤติการงานที่ดีว่าพระองค์จะให้พวกเขาได้สืบทอดในแผ่นดินนั้นเหมือนอย่างที่พระองค์เคยให้บรรดาผู้ซึ่งอยู่ก่อนหน้าพวกเขาได้สืบทอดมาแล้ว และพระองค์จะให้ศาสนาของพวกเขาซึ่งพระองค์พอพระทัยแก่พวกเขาเป็นที่มั่นคงแก่พวกเขา และพระองค์จะทรงเปลี่ยนพวกเขาภายหลังความหวาดกลัวของพวกเขาให้เป็นความปลอดภัย พวกเขาจะเคารพสักการะต่อข้าโดยพวกเขาจะไม่นำสิ่งใดมาตั้งภาคีต่อข้า” (อัน-นูร อายะฮฺที่ 55)


แล้วย้อนกลับไปอ่านพระคริสตธรรมคัมภีร์ซึ่งระบุว่า :

เราบอกท่านทั้งหลายว่า คนเป็นอันมากจะมาจากทิศตะวันออกและทิศตะวันตก จะมาร่วมสำรับกับอับราฮัม และอิสอัคและยาโคบในแผ่นดินสวรรค์ แต่ชาวแผ่นดินนั้นจะต้องถูกขับไล่ไสส่งออกไปในที่มืด ที่นั่นจะมีเสียงร้องไห้ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน” (มัทธิว 8 : 11-12)

นี่คือการแจ้งข่าวดีของพระเยซูคริสต์ที่บ่งชี้ถึงการปรากฏขึ้นของประชาชาติอิสลามซึ่งมาจากทิศตะวันออกและทิศตะวันตก ประชาชาตินี้จะได้รับความพึงพอพระทัย ณ องค์พระผู้เป็นเจ้าพร้อมกับบรรดาผู้ที่พระองค์ทรงประทานความโปรดปรานแก่พวกเขาทั้งบรรดาผู้เผยพระวจนะ บรรดาผู้มีความสัจจริง บรรดาผู้ได้รับมรณะสักขีและเหล่าผู้ประพฤติสิ่งที่ชอบธรรม พวกเขาเหล่านี้ล้วนเป็นกัลยาณชน

สิ่งที่พระเยซูคริสต์ได้บอกกล่าวนี้มิได้หมายถึงชาวยิวหรือชาวคริสต์เพราะพวกเขาเป็นผู้ที่พระเยซูคริสต์โต้ตอบอยู่ในขณะนั้น และพวกเขาก็ถูกกันออกไปจากนัยของประโยคที่ระบุว่า “แผ่นดินของพระเจ้าจะต้องเอาไปจากท่าน ยกให้แก่ชนชาติหนึ่ง…” และประโยคที่ว่า “แต่ชาวแผ่นดินนั้นจะต้องถูกขับไล่ไสส่งออกไปในที่มืด” คือทั้งชาวยิวและชาวคริสต์ที่เป็นชาวแผ่นดินต้องแตกกระซ่านกระเซ็นออกไปยังดินแดนต่างๆ ของผู้คนที่ไม่เชื่อในพระธรรมบัญญัติของพระเจ้าและถูกกระทำต่างๆ นาๆ และถูกบีบคั้นจนมีสภาพที่ไม่ต่างอะไรกับผู้ที่ขบเขี้ยวเคี้ยวฟันของตน

5.2 พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับของลูกา

เมื่อท่านทั้งหลายจะเห็นอับราฮัม อิสอัค และยาโคบ และบรรดาผู้เผยพระวจนะในแผ่นดินของพระเจ้า แต่ตัวท่านเองถูกขับไล่ไสส่งออกไปภายนอก ที่นั่นจะมีการร้องไห้ขบเขี้ยวเคี้ยวฟัน จะมีคนมาจากทิศตะวันออก ทิศตะวันตก ทิศเหนือ ทิศใต้ จะมาร่วมสำรับในแผ่นดินของพระเจ้า และดูเถิดจะมีผู้ที่เป็นคนสุดท้ายกลับมาเป็นคนต้นและผู้ที่เป็นคนต้นกลับเป็นคนสุดท้าย” (ลูกา 13 : 28-30)

หมายถึง เรื่องราวของ อับราฮัม อิสอัค ยาโคบ และบรรดาผู้เผยพระวจนะจะถูกนำมาตีแผ่ให้ได้รู้ได้เห็นอีกครั้งในแผ่นดินของพระเจ้าโดยการประกาศสาส์นของพระเจ้าผ่านผู้มาเป็นคนสุดท้าย คือท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ประชาชาติของนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) จะแผ่ออกไปทุกสารทิศ แล้วต่อมาพวกเขาก็จะมุ่งหน้าสู่แผ่นดินของพระเจ้าและสืบทอดแผ่นดินนี้(ปาเลสไตน์) จากผู้คนในยุคก่อนพวกเขาที่จะกระจัดกระจายกันไปด้วยการถูกขับออกจากที่นั่นไปอยู่ในที่พลัดถิ่นซึ่งหมายถึงชาวยิวนั่นเอง!

5.3 พระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับยอห์น

พระเยซูตรัสกับนางว่า (คือหญิงชาวสะมาเรีย) หญิงเอ๋ย เชื่อเราเถิด คงมีวันหนึ่งที่พวกเจ้ามิได้ไหว้นมัสการพระบิดาเฉพาะที่ภูเขานี้หรือที่เยรูซาเล็ม” (ยอห์น 4 : 21)

แต่วาระนั้นใกล้เข้ามาแล้ว และบัดนี้ก็ถึงแล้ว คือเมื่อผู้ที่นมัสการอย่างถูกต้องจะนมัสการพระบิดาด้วยจิตวิญญาณและความจริง…” (ยอห์น 4 : 23)

ข้อความข้างต้นนี้บ่งถึงการปรากฏขึ้นของศาสนาใหม่และศูนย์กลางของศาสนานี้จะเปลี่ยนจากเยรูซาเล็มไปสู่ดินแดนใหม่นั่น คือ นครมักกะฮฺ อันเป็นที่ตั้งของอัล-กะอฺบะฮฺ และบรรดาผู้ที่นมัสการพระผู้เป็นเจ้าอย่างแท้จริงและถูกต้องก็คือ ประชาชาติของนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม)

คัมภีร์อัล-กุรอานได้ระบุถึงเรื่องการเปลี่ยน ชุมทิศ (กิบละฮฺ) ไว้ในบท อัล-บะเกาะเราะฮฺและทิ้งท้ายเรื่องนี้ว่า


وَإِنَّ الَّذِينَ أُوتُوا الْكِتَابَ لَيَعْلَمُونَ أَنَّهُ الْحَقُّ مِن رَّبِّهِمْ ۗ وَمَا اللَّـهُ بِغَافِلٍ عَمَّا يَعْمَلُونَ


ความว่า “และแท้จริงบรรดาผู้ที่ถูกประทานคัมภีร์ให้ (ชาวยิวและคริสต์) ย่อมรู้ดีว่าแท้จริงนั่น (การเปลี่ยนชุมทิศ) คือความจริงจากพระผู้อภิบาลของพวกเขา และอัลลอฮฺมิทรงหลงลืมจากสิ่งที่พวกเขาได้ประพฤติกัน” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ อายะฮฺที่ 144)


องค์พระผู้ช่วย” ซึ่งเป็นคำทูลขอของพระเยซูคริสต์นั้นได้เสด็จมาแล้วพร้อมด้วยความชอบธรรมอันเป็นนิรันดร์ตามที่ผู้เผยพระวจนะดาเนียลได้พยากรณ์

องค์พระผู้ช่วย” ซึ่งไม่ตรัสโดยพลการแต่จะตรัสตามที่ได้ยิน พระองค์ทรงพิพากษาจอมมาร ยอยกเกียรติของพระเยซูคริสต์และพระมารดาตามความสัจจริงและพระองค์ทรงเรียกร้องผู้คนสู่การภักดีในพระผู้เป็นเจ้าหนึ่งเดียว พระนามของพระผู้เป็นเจ้าทรงเกริกเกียรติและเกรียงไกรด้วยคำประกาศของพระองค์ องค์พระผู้ช่วยนี้เสด็จมาแล้ว

องค์พระผู้ช่วย” ผู้เป็นศิลาเอกชิ้นสุดท้ายได้ถูกส่งมาแล้ว โอ้ผองชนชาวคริสต์ เหตุไฉนพวกท่านจึงไม่ยอมรับพระองค์ ทั้งๆ ที่พระองค์ทรงเป็นพยานแก่พระเยซูคริสต์ และในนามของพระองค์ หากพวกท่านเชื่อในพระเยซูคริสต์ด้วยความสัจจริงแล้วไซร้ ขอท่านทั้งหลายจงตรึกตรองและใคร่ครวญเถิด หากไม่เป็นเช่นนั้นแล้ว “องค์พระผู้ช่วย” ที่พระเยซูคริสต์ทรงสัญญาว่าจะเป็นประโยชน์แก่พวกท่านก็จะเป็นพยานยืนยันต่อหน้าองค์พระเป็นเจ้าผู้ทรงจะพิพากษาเราและท่านทั้งหลายว่า พระองค์ได้กระทำกิจตามสัญญาที่พระเยซูคริสต์ทรงทูลเอาไว้แล้วทุกประการ

แต่พวกท่านไม่สนองตอบและไม่รับพระองค์ไว้ในความเชื่อ แล้วพวกท่านจะพบความรอดได้อย่างไร?

read more "คัมภีร์อัล-กุรอานกับคริสตชน : ภาคที่ 4"

บทความแนะนำ

World Clock

Featured Posts

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม โดย : Cem Nizamoglu และ Sairah Yassir-Deane ย้อนหลังไปถึงมีนาคม 2015 ข่าวเกี่ยวก...