product :

วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2561

รอมฎอน เดือนแห่งสุขภาพ

รอมฎอน เดือนแห่งสุขภาพ



รอมฎอน ‫كريم‬ ‫رمضان‬ 


รอมฎอน เป็นชื่อเดือนที่ 9 ในภาษาอาหรับตามปฏิทินทาง จันทรคติดั้งเดิม (ไม่มีการชดเชย) หนึ่งเดือนมีจำนวน 29-30 วัน แต่ละรอบปีก็จะนับถอยร้นขึ้นประมาณ 10-11 วันจากเดือนทางสุริยคติ ตามหลักการของศาสนาอิสลามแล้วเดือนรอมฎอนเป็น เดือนที่มีความสาคัญมาก มุสลิมทุกคนต่างรอคอยการมาเยือนของเดือนนี้ เพื่อปฏิบัติศาสนกิจที่ดีงามตามคำสั่งใช้ของพระผู้เป็นเจ้า “อัลลอฮฺซุบฮานาฮูวาตะอาลา” ศาสนกิจหนึ่งที่มุสลิมปฏิบัติใน เดือนนี้ คือ การถือศีล-อด

การถือศีล-อด ‫الصيام‬


ในศาสนาอิสลามถูกบัญญัติเป็น หลักปฏิบัติสาหรับมุสลิมทุกคนที่มีความสามารถ ยกเว้นเด็ก คนป่วย หญิงมีครรภ์หรือให้นมบุตร ผู้สูงอายุหรือคนชรา คนเดินทาง เป็นต้น ระยะเวลาของการถือศีล-อดจะเริ่มตั้งแต่ดวง อาทิตย์ขึ้นจนถึงตะวันลับขอบฟ้าของทุกวันจน ครบ 1 เดือน

นอกจากจะต้องอดอาหารและน้าแล้ว ยังต้องงดการมีเพศสัมพันธ์ การพูดจาไร้สาระ การ แสดงออกทางอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม หรืออาจจะกล่าว ได้ว่า รอมฎอนเดือนของการทำความดีควบคู่กับการทดสอบความอดทน เป้าหมายสูงสุดของการถือศีล- อด คือ การยำเกรงต่อเอกองค์อัลลอฮฺ พระองค์จะช่วยปกป้ องจิตใจมิให้กระทำในสิ่งเลวร้ายและขัดต่อศีลธรรม หากเราตั้งเจตนา (เนียต) เพื่อพระองค์เท่านั้น

ข้อแนะนาสาหรับการถือศีล-อดที่ถูกต้องและควรปฏิบัติ

  1. ผู้ที่อยู่ในข่ายของการยกเว้นด้วยภาวะความ เจ็บป่วย ไม่สบาย ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร หรืออยู่ในวัยชรา ควรต้องปรึกษาแพทย์ที่ดูแลรักษาโรคประจำตัว เพื่อเตรียมความพร้อมล่วงหน้าทั้งด้านการให้ยา ด้านอาหารโภชนาการ การออกกาลังกาย ฯลฯ ภายใต้ คำแนะนำและการดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ ไม่ควรฝืนปฏิบัติ
  2. การละศีล-อดในแต่ละวันควรทำตามแบบอย่างจริยวัตร (ซุนนะฮฺ) ท่านศาสดานบีมุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) คือ ท่านจะไม่รับประทานอาหารหนักในทันทีเมื่อได้เวลา ละศีล-อด ซึ่งท่านจะทานผลอินทผลัม 1 -3 เม็ดหรือ ผลไม้อื่นๆ ดื่มน้ำหรือนม 1 แก้ว แล้วไปละหมาด มัฆริบ (ละหมาดเวลาค่ำ) เสร็จจากละหมาดท่านจึงจะรับประทานอาหาร
  3. ซุนนะฮฺหรือแบบอย่างประการหนึ่งที่ถูกละเลยคือ ท่านนบีมุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) จะแปรงฟันโดยใช้ไม้ “ซิวาก”ทุกครั้งหลังจากทานอาหารและเมื่ออาบน้ำ ละหมาด ไม้“ซิวาก”มีลักษณะคล้ายไม้ข่อยของไทย แต่ปัจจุบันนิยมใช้แปรงสีฟันโดยไม่ใส่ยาสีฟัน (ระหว่าง ถือศีล-อด) ถ้าไม่มีไม้“ซิวาก” ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาสุขภาพช่องปาก ลดการเกิดโรคฟันผุ เหงือกอักเสบ และกลิ่นปาก
  4. อาหารละศีล-อดควรให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหาร หวานจัด เค็มจัด มันจัด หรือเผ็ดจัด ซึ่งเป็นอาหารที่ส่งผล เสียอย่างมากต่อสุขภาพร่างกาย โดยเฉพาะผู้ป่วย โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ กระเพาะหรือกรดไหลย้อน ควรงดการดื่มน้าเย็นจัด (น้าแข็ง) เพราะทำให้ เส้นเลือดในลาไส้หดตัวดูดซึมน้าและอาหารเข้าสู่กระแสเลือดได้น้อยจะทำให้รู้สึกแน่นท้องแต่ไม่หายหิว ดังนั้น แนะนำให้ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดาแทนเพราะจะดีต่อสุขภาพ ไม่ควรดื่มน้าอัดลมทุกชนิด
  5. สาหรับผู้ที่ติดบุหรี่นับเป็นโอกาสดีที่จะเลิกสูบบุหรี่หรือสิ่งเสพติดอื่นๆ ได้ง่ายและทันที นอกจากจะ เป็นผลดีต่อสุขภาพของตนเอง ครอบครัว แล้วยังจะได้รับผลบุญมากมายในเดือนรอมฎอนอันประเสริฐนี้
  6. เมื่อเริ่มอดอาหาร ร่างกายจะหาพลังงานทดแทนโดยการเข้าย่อยสลายไขมันที่สะสมไว้ ตามเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น บริเวณหน้าท้อง ใต้ ผิวหนัง ตับ ฯลฯ ทาให้เกิดอนุพันธ์คล้ายคีโตน ซึ่งทำให้เกิดอาการมึนศีรษะ คลื่นไส้ งุนงง หงุดหงิด อารมณ์รุนแรงฉุนเฉียวง่าย (โมโหหิว) วิธีระงับอารมณ์ดังกล่าวคือ การอาบน้าละหมาด ละหมาด และการหยุดพำพักในมัสยิด (อิอฺติกาฟ) อ่านอัล-กุรอ่านรวมทั้งการกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ (ซิกิรฺ) ให้มากๆ หากมีใครมาชวนทะเลาะหรือยั่วโมโห ให้บอกกับตนเองและผู้นั้น 3 ครั้งว่า“ฉันกำลังถือศีล-อด” การระงับหรือควบคุมอารมณ์ ทางจิตใจให้สงบ ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายของตนเองโดยรวมทั้งยังช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคและลดความดันโลหิตลงได้
  7. ทัศนะทางการแพทย์สมัยใหม่ยอมรับว่า การถือศีล-อดเป็น วิธีการรักษาโรคทางการแพทย์ทางเลือกวิธีหนึ่งที่ได้ผลอย่างมาก อาทิ โรคมะเร็ง เพราะเมื่อเซลล์มะเร็งขาดสารอาหารก็จะฝ่อตายไปเอง แม้กระทั่งการตรวจเลือดเพื่อหาพยาธิสภาพต่างๆ ก็จำเป็นต้องงดน้ำงดอาหารอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงจึงจะ ได้ผลถูกต้อง สาหรับผู้มีความจำเป็นต้องทานยา ปัจจุบัน เภสัชกรได้ผลิตยาที่ออกฤทธิ์นานขึ้น ทานเพียง 2 ครั้งต่อวัน แต่ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลรักษาท่าน ไม่ควรเปลี่ยนยาหรือซื้อมาทานเองโดยเด็ดขาด
  8. รอมฎอนไม่ใช่เดือนของการถ่มหรือบ้วนน้ำลาย หากแต่เราลืมแปรงฟันหลังอาหารซะฮูรฺ (อาหารรุ่งเช้า) ทำให้น้ำลายเรายังหวานอยู่จากเศษอาหารที่ตกค้างตามซอกฟัน ผู้ใหญ่มักบอกให้เราบ้วนหรือถ่มน้าลายทิ้งบ่อยๆ เพราะรู้สึกกังวลกลัวว่ากำลังทานอาหารและมีกลิ่นปากตลอดเวลา ดังนั้นจงอย่าลืมแปรงฟัน หลังทานอาหารซะฮูรฺ และเวลาอาบน้าละหมาดโดยไม่ต้องใส่ ยาสีฟัน (ขณะถือศีล) ส่วนน้ำลายในปากนั้นสามารถกลืนลงคอได้ไม่เสียศีล-อด ที่สาคัญอีกประการหนึ่งคือ ก่อนเข้าเดือนรอมฎอนควรไปพบทันตแพทย์ตรวจเช็คทำความสะอาดเหงือก และฟัน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีฟันผุหรือเหงือกอักเสบ
  9. การมีอาหารตกค้างในลำไส้ใหญ่ตลอดเวลาไม่เป็นผลดีต่อ ร่างกาย เพราะเป็นสาเหตุหนึ่งของการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่พบกันมากในทุกวันนี้ การถือศีล-อดจึงเป็นโอกาสดีที่ทาให้ลำไส้ใหญ่สะอาดขึ้น แต่ระบบขับถ่ายอาจจะแปรปรวนไปบ้าง หากมีอาการท้องผูกควรทานผักผลไม้ให้มากๆ เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร และขับถ่ายง่ายขึ้น ไม่ควรใช้ยาถ่ายหรือยาระบายโดยไม่จำเป็น
  10. ควรส่งเสริมและกระตุ้นให้เด็กๆ ฝึกถือศีล-อดเมื่ออายุ เริ่ม 6-7 ขวบโดยไม่ใช่การบังคับ ควรให้เด็กได้ซึมซับการทานอาหารซะฮูรฺ การอดน้าอดอาหารกลางวัน การทานอาหารละศีล-อดพร้อมๆ กันอย่างมีความสุข หากเด็ก หลงลืมดื่มน้ำหรือทานขนมก็ควรตักเตือนด้วยความรัก ไม่ดุด่าหรือตำหนิอย่างรุนแรง สาหรับผู้สูงอายุการขาดน้ำจะมีผลกระทบมากกว่าอาหาร ตามซุนนะฮฺท่านนบีฯ เคย อนุญาตให้อมน้าในปาก (ไม่กลืนหรือดื่ม) เพื่อลดอาการกระหายน้ำ
  11. สิ่งสาคัญของเดือนรอมฎอน คือการฝึกให้ทุกคน ไม่ว่าอยู่ในฐานะใดจะได้รับรู้ถึงภาวะความหิวโหย การขาดแคลนอาหารและน้ำซึ่งเป็นปัจจัยจำเป็นสาหรับ การดำเนินชีวิต ทำให้เกิดความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ แบ่งปันแก่ผู้ขัดสนยากจน สังคมจึงเป็นสังคมที่น่าอยู่ เพราะมีความสมบูรณ์ทั้งสุขภาพร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณอย่างแท้จริง
ทุกคราที่รอมฎอนมาเยือนเสมือนร่างกายและจิตใจ ได้รับการดูแล ซ่อมเสริมทั้งด้านสุขภาวะและ คุณธรรมจริยธรรมให้แข็งแกร่งพร้อมที่จะดาเนินชีวิตต่อไปอย่างมีความสุข หากเราเชื่อมั่นและมอบหมาย ต่อพระองค์”อัลลอฮฺซุบฮานาฮูวาตะอาลา” รอมฎอนของท่านก็จะเป็น รอมฎอน...เดือนแห่งสุขภาพ

แหล่งที่มา : https://www.slideshare.net/


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความแนะนำ

World Clock

Featured Posts

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม โดย : Cem Nizamoglu และ Sairah Yassir-Deane ย้อนหลังไปถึงมีนาคม 2015 ข่าวเกี่ยวก...