product :

วันจันทร์ที่ 30 เมษายน พ.ศ. 2561

คำแปลบทละหมาด

คำแปลบทละหมาด

 

กล่าวตักบีร

اَللهُ أَكْبَرُ

อัลลอฮุอักบัร "อัลเลาะฮ์ทรงยิ่งใหญ่"

ดุอาอ์อิฟติตาห์

اَللهُ أَكْبَرُ كَبِيْراً وَالْحَمْدُ ِللهِ كَثِيْراَ وَسُبْحَانَ اللهِ بُكْرَةً وَأَصِيْلاً وَجَّهْتُ وَجْهِيَ لِلَّذِيْ فَطَرَ السَّموَاتِ وَالأَرْضِ حَنِيْفاً مُسْلِماً وَمَا أَنَا مِنَ الْمُشْرِكِيْنَ إِنَّ صَلَاتِيْ وَنُسُكِيْ وَمَحْيَايَ وَمَمَاتِيْ ِللهِ رَبِّ الْعَالَمِيْنَ لَا شَرِيْكَ لَهُ وَبِذَلِكَ أُمِرْتُ وَأَنَا مِنَ الْمُسْلِمِيْنَ

"อัลเลาะฮ์ผู้ทรงเกรียงไกรอย่างแท้จริง และมวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลเลาะฮ์ ซึ่งเป็นการสรรเสริญอย่างมากมาย และกล่าวสดุดีมหาบริสุทธิ์แด่องค์อัลเลาะฮ์ทั้งยามเช้าและยามเย็น ฉันได้ผินใบหน้าของฉัน สู่พระองค์ผู้ทรงสร้างบรรดาฟากฟ้าและแผ่นดิน ในสภาพผู้หันเหออกจากศาสนาที่เหลวไหลสู่ศาสนาที่เที่ยงธรรม ในสภาพผู้ยอมจำนน โดยที่ฉันมิใช่เป็นส่วนหนึ่งจากกลุ่มชนผู้ตั้งภาคี แท้จริงการละหมาดของฉัน ศาสนกิจของฉัน การมีชีวิตของฉัน และการตายของฉันนั้น เป็นกรรมสิทธิ์ของอัลเลาะฮ์ ผู้อภิบาลแห่งสากลโลก ไม่มีภาคีใด ๆ สำหรับพระองค์ และด้วยสิ่งดังกล่าวนี้ ฉันได้ถูกบัญชาใช้ โดยที่ฉันเป็นส่วนหนึ่งกลุ่มชนจากผู้ที่ยอมจำนน"

อัลฟาติฮะฮ์

أَعُوْذُ بِاللهِ مِنَ الشَّيْطَانِ الرَّجِيْمِ

ข้าพเจ้าของความคุ้มครองด้วยพระองค์ จากชัยฏอนที่ถูกสาปแช่ง

بِسْمِ اللهِ الرَّحْمنِ الرَّحِيمِِ

1. ในพระนามแห่งอัลเลาะฮ์ผู้ทรงยิ่งในความเมตตาทรงยิ่งในความกรุณา

الْحَمْدُ للّهِ رَبِّ الْعَالَمِينَ

2. มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของอัลเลาะฮ์ผู้ทรงอภิบาลโลกทั้งหลาย

الرَّحْمـنِ الرَّحِيمِ

3. ผู้ทรงยิ่งในความเมตตา ผู้ทรงยิ่งในความกรุณา

مَالِكِ يَوْمِ الدِّينِ

4. ผู้ทรงสิทธิอำนาจในวันตอบแทน

إِيَّاكَ نَعْبُدُ وإِيَّاكَ نَسْتَعِينُ

5. เฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราขอนมัสการและเฉพาะพระองค์เท่านั้นที่เราขอความช่วยเหลือ

اهدِنَــــا الصِّرَاطَ المُستَقِيمَ

6. โปรดชี้นำเราสู่แนวทางอันเที่ยวตรงเถิด

صِرَاطَ الَّذِينَ أَنعَمتَ عَلَيهِمْ غَيرِ المَغضُوبِ عَلَيهِمْ وَلاَ الضَّالِّينَ

7. แนวทางของบรรดาผู้ที่พระองค์ได้ทรงโปรดปรานแก่พวกเขา มิใช่แนวทางของพวกที่ถูกโกรธกริ้ว และมิใช่ (แนวทางของ) พวกที่หลงผิด"

أَمِيْن

อามีน : พระองค์โปรดทรงตอบรับเถิด

اَللهُ أَكْبَرُ

อัลลอฮุอักบัร : อัลเลาะฮ์ทรงยิ่งใหญ่

سُبْحَانَ رَبِّيَ الْعِظِيْمِ وَبِحَمْدِهِ

ซุบฮานะร๊อบบิยัลอะซีมวะบีฮัมดิฮิฺ : มหาบริสุทธิ์แด่ผู้อภิบาลของฉันผู้ทรงยิ่งใหญ่ และด้วยการสรรเสริญพระองค์นั้น (ข้าพเจ้าทำการสดุดี)

سَمِعَ اللهُ لِمَنْ حَمِدَهُ

ซะมิอัลลอฮุลิมันฮัมมิดะฮ์ : อัลเลาะฮ์ทรงได้ยิน ผู้ทำการสรรเสริญต่อพระองค์

رَبَّنَا وَلَكَ الْحَمْدُ

ร๊อบบะนาวะละกัลฮัมดุ : ข้าแด่องค์อภิบาลแห่งเรา และมวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของพระองค์

ดุอากุนูต
:
اَللَّهُمّ إِهْدِنِيْ فِيْمَنْ هَدَيْتَ وَعَافِنِيْ فِيْمَنْ عَافَيْتَ وَتَوَلَّنِيْ فِيْمَنْ تَوَلَّيْتَ وَبَارِكْ لِيْ فِيْمَا أَعْطَيْتَ وَقِنِيْ شَرَّ مَا قَضَيْتَ إِنَّكَ تَقْضِيْ وَلَا يُقْضَي عَلَيْكَ وَإِنَّهُ لِا يَذِلُّ مَنْ وَالَيْتَ وَلاَ يَعِزُّ مَنْ عَادَيْتَ تَبَارَكَ رَبَّنَا وَتَعَالَيْتَ فَلَكَ الْحَمْدُ عَلَي مَا قَضَيْتَ أَسْتَغْفِرُكَ وَأَتُوْبُ إِلَيْكَ وَصَلَّي اللهُ عَليَ مُحَمَّدٍ وَعَليَ أَلِه ِوَصَحْبِهِ وَسَلَّمَ

"ข้าแด่อัลเลาะฮ์ได้โปรดชี้นำฉันให้อยู่ในกลุ่มของบรรดาบุคคลที่ท่านได้ชี้นำ และได้โปรดให้ฉันได้รับความสุข อยู่ในกลุ่มของผู้ที่ท่านได้ให้ความสุข ได้โปรดให้ความช่วยเหลือแก่ข้าพเจ้าพร้อมกับผู้ที่พระองค์ได้ให้ความช่วยเหลือ ได้โปรดให้ความเพิ่มพูนแก่ข้าพเจ้าในสิ่งที่พระองค์ได้ประทานให้ ได้โปรดคุ้มครองข้าพเจ้าให้พ้นจากความชั่วร้ายของสิ่งที่พระองค์ได้กำหนดไว้ เพราะความจริงพระองค์เป็นผู้กำหนด ไม่มีใครกำหนดให้พระองค์ได้ และความจริงบุคคลที่พระองค์ช่วยเหลือจะไม่ตกต่ำ และบุคคลที่ท่านโกรธกริ้วจะไม่มีเกียรติ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้าของเรา คุณความดีของพระองค์เพิ่มพูน และเกียรติของพระองค์สูงส่ง มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิ์ของพระองค์ ในสิ่งที่พระองค์ได้กำหนดให้เป็นไป เราขออภัยโทษต่อพระองค์ ข้าแด่อัลเลาะฮ์ องค์อภิบาลของเรา และเราขอกลับตัวคืนสู่พระองค์ท่าน ขออัลเลาะฮ์ได้ทรงประทานความเมตตา และความสันติแก่ผู้นำของเรา คือ มุฮัมมัด แก่วงศ์วาน และบรรดาสาวกของท่านด้วยเถิด"


اَللهُ أَكْبَرُ

อัลลอฮุอักบัร : อัลเลาะฮ์ทรงยิ่งใหญ่

سُبْحَانَ رَبِّيَ الْأَعْليَ وَبِحَمْدِهِ

ซุบฮานะร๊อบบิยัลอะอฺลาวะบิฮัมดิฮิฺ : มหาบริสุทธิ์แด่ผู้อภิบาลของฉันผู้ทรงสูงส่งยิ่งและด้วยการสรรเสริญพระองค์นั้น(ข้าพเจ้าทำการสดุดี)

اَللهُ أَكْبَرُ

อัลลอฮุอักบัร : อัลเลาะฮ์ทรงยิ่งใหญ่

นั่งระหว่างสองซูยุด

رَبِّ إغْفِرْ لِيْ وَأرْحَمْنِيْ وَاجْبُرْنِيْ وَأرْفَعْنِيْ وَأرْزُقْنِيْ وَاهْدِنِيْ وَأعْفُ عَنِّيْ

"ข้าแด่ผู้อภิบาลของฉัน โปรดทรงอภัยแก่ฉัน โปรดทรงเมตตาฉัน โปรดทรงให้เพียงพอแก่ฉัน โปรดทรงยกฐานันดรแก่ฉัน โปรดทรงประทานปัจจัยยังชีพแก่ฉัน โปรดทรงชี้นำฉัน และโปรดทรงปกป้องฉัน(จากบะลอของโลกนี้และโลกหน้า)"

اَللهُ أَكْبَرُ

อัลลอฮุอักบัร : อัลเลาะฮ์ทรงยิ่งใหญ่

อัตตะชะฮุด
:
اَلتَّحِيَّاتُ الْمُبَارَكَاتُ الصَّلَوَاتُ الطَّيِّبَاتُ ِللهِ اَلسَّلَامُ عَلَيْكَ أَيُّهَا النَّبِيُّ وَرَحْمَةُ اللهِ وَبَرَكَاتُهُ اَلسَّلَامُ عَلَيْنَا وَعَليَ عِبَادِ اللهِ الصَّالِحِيْنَ أَشْهَدُ أَنَّ لَا إِلَهَ إِلاَّ اللهُ وَأَشْهَدُ أَنَّ مُحَمُّداً رَسُوْلُ اللهِ

"คำคารวะต่าง ๆ ที่มีมงคลและละหมาดต่าง ๆ ที่ดีนั้น เป็นสิทธิ์แด่อัลเลาะฮ์ ขอความสันติของมีแด่ท่าน โอ้ ท่านผู้เป็นนบี รวมทั้งความเมตตาของอัลเลาะฮ์ และความเพิ่มพูนของพระองค์ ขอความสันติจงมีแด่เรา แด่บ่าวของอัลเลาะฮ์ที่มีคุณธรรม ข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่า แท้จริงไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่ถูกกราบไว้โดยเที่ยงแท้เว้นแต่อัลเลาะฮ์ และข้าพเจ้าขอปฏิญาณว่า แท้จริงมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลเลาะฮ์"

ซอลาวาต
:
اَللَّهُمَّ صَلِّ عَليَ مُحَمَّدٍ وَعَليَ أَلِ مُحَمَّدٍ كَمَا صَلَّيْتَ عَليَ إِبْرَاهِيْمَ وَعَليَ أَلِ إِبْرَاهِيْمَ وَبَارِكْ عَليَ مُحَمَّدٍ وَعَليَ أَلِ مُحَمَّدٍ كَمَا بَارَكْتَ عَليَ إِبْرَاهِيْمَ وَعَليَ أَلِ إِبْرَاهِيْمَ فِى الْعَالَمِيْنَ إِنَّكَ حَمِيْدٌ مَجِيْدٌ

ข้าแด่อัลเลาะฮ์ ได้โปรดประทานความเมตตาพร้อมด้วยความยกย่องแก่มุฮำมัด แก่วงศ์วานของมุฮัมมัด เหมือนกับที่พระองค์ได้ประทานความเมตตาพร้อมด้วยความยกย่องแก่อิบรอฮีม และแก่วงศ์วานของอิบรอฮีม , และได้โปรดประทานความเพิ่มพูนแก่มุฮัมมัดและแก่วงศ์วานของมุฮัมมัดเหมือนกับที่พระองค์ได้ประทานความเพิ่มพูนแก่อิบรอฮีมและวงศ์วานของอิบรอฮีมในสากลโลก แน่แท้พระองค์นั้นควรแก่การสรรเสริญและให้เกียรติ"

اَلسَّلَامُ عَلَيْكُمْ وَرَحْمَةُ اللهِ

อัสลามุอะลัยกุ้มวะเราะห์มะตุลลอฮ์ : ขอความสันติจงมีแด่พวกท่าน และความเมตตาของอัลเลาะฮ์ (ก็จงประสบแด่พวกท่าน)


แหล่งที่มา : Al - Ameen





read more "คำแปลบทละหมาด "

วันอาทิตย์ที่ 29 เมษายน พ.ศ. 2561

ชีวประวัติของท่านอิหม่าม อบูฮะนีฟะฮฺ

อิหม่าม อบูฮะนีฟะฮฺ




ในช่วงศตวรรษที่สอง และสามแห่งปีฮิจญ์เราะฮฺศักราช ได้กำเนิดสถาบันหรือสำนักศึกษาวิชาการอิสลามด้านนิติศาสตร์ (มะซาฮิบ ฟิกฮียะฮฺ) อย่างมากมาย แต่ละสำนักมีวิธีการประยุกต์หรือหลักการศึกษานิติศาสตร์ที่แตกต่างกันไป ในบรรดาสำนักศึกษานิติศาสตร์ที่เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางและแพร่หลายทั่วโลก คือ สำนักศึกษาที่ก่อตั้งโดย อิมามอบูฮะนีฟะฮฺ ณ เมืองกูฟะฮฺ ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในนามของสำนัก “อะฮฺลุล เราะยี” หรือสำนักคิดนิยม

1. ชื่อและวงศ์ตระกูล


ท่านมีชื่อว่า นุอฺมาน บิน ซาบิต บิน ซูฏีย์ อัลกูฟีย์ ปู่ของท่าน ซูฏีย์ เป็นชาวกรุงคาบูลที่อพยพไปยังเมืองกูฟะฮฺ เกิดที่เมืองกูฟะฮฺในปีฮิจญ์เราะฮฺที่ 80 และเสียชีวิตที่เมืองบัฆดาด ในปีฮิจญ์เราะฮฺที่ 150 เมื่ออายุได้ 70 ปี มีอาชีพเป็นพ่อค้าไหม ท่านมีชีวิตอยู่ในรุ่นของอัตบาอุตตาบิอีน ซึ่งทันอยู่ร่วมสมัยกับบรรดาเศาะฮาบะฮฺรุ่นเล็กหลายท่าน และตอนเด็กๆ ท่านเคยเห็น ท่านอนัส บิน มาลิก (ร.ฎ.) ในช่วงที่ท่านอนัสเดินทางไปยังเมืองกูฟะฮฺ

2. อาจารย์และสานุศิษย์


ท่านได้รับการประสาทความรู้จากบรรดาอุละมาอฺตาบิอีนที่ทรงคุณวุฒิมากมาย อาทิเช่น หัมมาด บิน อบีสุลัยมาน สะลิมะฮฺ บิน กุหัยล์ อามิร อัชชะอฺบีย์ อิกริมะฮฺ อะฏออฺ เกาะตาดะฮฺ อัซซุฮฺรีย์ นาฟิอฺ เมาลา อิบนิอุมัร เป็นต้น ส่วนบรรดาศานุศิษย์ที่มีบทบาทในการเผยแผ่แนวคิดหรือมัซฺฮับของท่านได้แก่

  1. กอฎีย์ อบูยูสุฟ (113 – 182 ฮ.ศ.) ซึ่งนับได้ว่าเป็นศิษย์เอกของท่านและมีบทบาทอย่างมากในการเผยแผ่แนวคิดของ ท่านโดยเฉพาะหลังจากที่ท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นกอฎีย์แห่งราชวงค์อัลอับบาซียะฮฺ
  2. มุหัมมัด บิน หะสัน อัชชัยบานีย์ (132 – 189 ฮ.ศ.) ซึ่งทันศึกษากับอิมามอบูฮะนีฟะฮฺช่วงหนึ่ง และศึกษากับอบูยูสุฟ ท่านเป็นคนที่เริ่มแรกเขียนหนังสือนิติศาสตร์ตามแนวทางของสำนักศึกษาของอิมามอบูฮะนีฟะฮฺและเผยแผ่มัน
  3. ซุฟัร บิน อัลฮุซัยล์ (110 – 158 ฮ.ศ.)
  4. อัลหะสัน บิน ซิยาด อัลลุลุอีย์ (133 – 204 ฮ.ศ.)

3. ความรู้เกี่ยวกับนิติศาสตร์และคำชม


  1. อิบนุมุบาร็อก กล่าวว่า “ฉันไม่เคยเห็นใครมีความรู้เหมือนในด้านนิติศาสตร์กับอบูฮะนีฟะฮฺ
  2. ยะหฺยา อัลก็อฏฏอน กล่าวว่า “ฉันไม่ได้โกหกต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) ฉันไม่เคยได้ยินแนวคิดของผู้ใดที่ดีกว่าอบูฮะนีฟะฮฺ
  3. อิมามชาฟิอีย์ กล่าวว่า “ผู้ใดที่ต้องการจะมีความรู้ที่แตกฉานในด้านนิติศาสตร์ เขาต้องพึ่งพา (แนวคิดของ) อบูฮะนีฟะฮฺ
  4. สุฟยาน อัษเษารีย์ กล่าวว่า “อบูฮะนีฟะฮฺเป็นผู้ที่ปราดเปรื่องด้านนิติศาสตร์ที่สุดในสมัยท่าน

4. การทรมานท่านอิหม่าม อบูฮะนีฟะฮฺ


อิหม่าม อบูฮะนีฟะฮฺ ดำรงชีวิตอยู่ใน 2 ยุค สมัยของราชวงค์อัลอุมะวียะฮฺ และสมัยของราชวงค์อัลอับบาซียะฮฺ เมื่อยะซีด อิบนฺ อุมัรในสมัยของราชวงค์อัลอุมะวียะฮฺขึ้นปกครองอิรัก ท่านได้เสนอให้อิหม่าม อบูฮะนีฟะฮฺ ทำหน้าที่เป็นผู้พิพากษาแห่งนครกูฟะฮฺ แต่ท่านอิหม่าม อบูฮะนีฟะฮฺ ปฏิเสธที่จะรับข้อเสนอดังกล่าว อันเนื่องมาจากท่านไม่พอใจต่อการปกครองของราชวงค์นี้ ผลการปฏิเสธดังกล่าวทำให้ยะซีดได้สั่งให้ลงโทษท่านโดยการทรมานท่านอิหม่ามด้วยการเฆี่ยนตีด้วยแซ่วันละ 10 ครั้ง จนครบ 110 ครั้ง ถึงแม้ว่าท่านอิหม่าม อบูฮะนีฟะฮฺ ถูกเฆี่ยนตีท่านก็ยังปฏิเสธที่จะรับตำแหน่งดังกล่าวที่คอลีฟะฮฺได้เสนอให้ท่าน จนกระทั่งในเวลาต่อมายะซีดก็ให้ปล่อยตัวท่านให้เป็นอิสระ อิบนุมุบาร็อก กล่าวว่า “พวกเจ้าจำได้ไหม ผู้ชายที่มีการหยิบยื่นความสุขสบายทางโลกให้แก่เขาแต่เขากลับหนีห่างจากมัน” ชุรัยก์ อันนะเคาะอีย์ กล่าวว่า “อบูฮะนีฟะฮฺเป็นคนที่เงียบ ชอบครุ่นคิดอยู่เสมอ ไม่ค่อยพูดจากับคนอื่น

หลังจากนั้นไม่นานนักยะซีดมีปรารถนาให้ท่านดำรงตำแหน่งใดตำแหน่งหนึ่งในสำนักหรือในการปกครองของตนให้ได้ จึงเสนอให้ท่านรับตำแหน่งเป็นผู้ดูแลรับผิดชอบกองทุนทรัพย์สิน แต่อิหม่าม อบูฮะนีฟะฮฺ ก็ปฏิเสธอีก และท่านเห็นว่าหากท่านดำรงชีวิตอยู่ในอิรักต่อไป ท่านคงไม่มีความปลอดภัย ท่านก็เลยตัดสินใจอพยพไปสู่นครมักกะฮฺ เพื่อทำการสอนที่นั้น วิชาที่ท่านสอนก็คือวิชาหะดีษและวิชาฟิกฮฺ โดยท่านได้ใช้เวลาในการเผยแผ่วิชาความรู้ที่นั้นเป็นเวลา 6 ปี ด้วยกัน

เมื่อเกิดการเปลี่ยนแปลงการปกครองในอิรัก อำนาจการปกครองได้เปลี่ยนจากราชวงค์อัลอุมะวียะฮฺเป็นราชวงค์อัลอับบาซียะฮฺ คอลีฟะฮฺองค์ใหม่ที่ขึ้นครองอำนาจคือ อบูญะฟัร อัลมันซูร คอลีฟะฮฺอบูยะฟัร ก็พยายามให้ท่านระบายความรู้สึกต่างๆ อบูฮะนีฟะฮฺ ก็ได้แสดงความรู้สึก และความคิดเห็นของท่านในการปกครองของคอลีฟะฮฺองค์นี้ โดยท่านได้วิพากษ์วิจารณ์งานบริหารด้านต่างๆ การแสดงความเห็นอย่างตรงไปตรงมาของอิหม่าม อบูฮะนีฟะฮฺ สร้างความไม่พอใจแก่คอลีฟะฮฺอบูญะฟัรเป็นอย่างมาก ในที่สุดคอลีฟะฮฺอบูญะฟัรก็ได้ใช้วิธีเดียวกันกับคอลีฟะฮฺในราชวงค์ก่อน โดยได้นําตัวอิหม่าม อบูฮะนีฟะฮฺ จากนครกูฟะฮฺไปยังนครแบกแดดแล้วเสนอตำแหน่งผู้พิพากษาให้แต่ท่านปฏิเสธ ด้วยเหตุดัวกล่าว คอลีฟะฮฺอบูญะฟัรทรงสั่งให้ลงโทษอิหม่าม อบูฮะนีฟะฮฺ ด้วยการคุมขังท่านไว้โดยไม่มีกำหนดจนกระทั้งสิ้นชีพ

5. กฏเกณท์ในการวิเคราะห์หลักนิติศาสตร์


ท่านเอิหม่าม อบูฮะนีฟะฮฺ ป็นผู้ที่ได้รับมรดกด้านแนวคิดของสำนักคิดหรือสถาบันการศึกษาอิสลามแห่งเมืองกูฟะฮฺ ซึ่งมีการวางกฏเกณท์หรือหลักการศึกษาและวิเคราะห์หลักนิติศาสตร์อิสลาม ดังนี้ คือ

1. อาศัย อัลกุรอาน สุนนะฮฺ และทัศนะของบรรดาเศาะหาบะฮฺ ในการให้คำชี้ขาดด้านนิติศาสตร์เป็นหลักตามลำดับท่านกล่าวว่า “ฉันจะปฏิบัติตามอัลกุรอาน ตราบใดที่ฉันพบว่ามีระบุอยู่ในนั้น หากไม่แล้วฉันก็จะปฏิบัติตามที่ระบุอยู่ในสุนนะฮฺ หากฉันไม่พบอยู่ในทั้งสอง ฉันก็จะปฏิบัติตามทัศนะของบรรดาเศาะหาบะฮฺ ฉันจะเลือกเอาทัศนะที่ฉันพอใจและเห็นด้วยและจะทิ้งทัศนะอื่นๆ ที่ตรงข้าม ฉันจะไม่มองข้ามทัศนะของพวกเขาเหล่านั้น และหันไปเอาทัศนะของคนอื่นเป็นอันขาด แต่เมื่อมีทัศนะด้านนิติศาสตร์ที่มาจากอิบรอฮิม อันนะเคาะอีย์ อัชชะอฺบีย์ อิบนุสีรีน อะอฺฏออฺ สะอีด บิน มุสัยยับ ฉัน (จะไม่ปฏิบัติตามพวกเขา แต่) จะพยายามวิเคราะห์และแสดงความคิดเห็นเสมือนกับที่พวกเขาได้กระทำไว้” มีคนถามท่านว่า “เมื่อคำพูดของท่านเกิดค้านกับอัลกุรอาน แล้วจะทำอย่างไร” ท่านตอบว่า “พวกเจ้าจงละทิ้งคำพูดของฉัน” มีคนถามอีกว่า “แล้วถ้าคำพูดของท่านค้านกับสุนนะฮฺล๋ะ” ท่านตอบว่า “พวกเจ้าจงละทิ้งคำพูดของฉันเสีย” มีคนถามอีกว่า “แล้วถ้าคำพูดของท่านค้านกับทัศนะของบรรดาเศาะหาบะฮฺล๋ะ” ท่านตอบว่า “จงละทิ้งคำพูดของฉันเสีย

2. เคาะบัรวาหิดตามทัศนะของอิหม่าม อบูฮะนีฟะฮฺ เคาะบัรวาหิด หมายถึง หะดีษที่มีสายรายงานที่ไม่ถึงระดับมุตะวาติร อิหม่าม อบูฮะนีฟะฮฺ ได้วางข้อแม้ต่างๆ ในการรับเอาเคาะบัรวาหิด เพื่อการวิเคราะห์ฮูก่มหรือหลักนิติศาสตร์ดังนี้คือ

  • ต้องไม่ค้านกับการปฏิบัติของนักรายงาน หมายความว่า หากเนื้อหาของเคาะบัรวาหิดส่วนใดเกิดค้านกับการปฏิบัติของนักรายงานเคาะบัร ดังกล่าวก็ให้ยึดตามการปฏิบัติของนักรายงานนั้นไม่ใช่ปฏิบัติตามเคาะบัรที่ได้รายงานไว้ เพราะหากเขาไม่รู้ถึงจุดบกพร่องของเคาะบัรที่ได้รายงานไว้ แน่นอนเขาก็ต้องปฏิบัติตามนั้น
  • ต้องไม่เกี่ยวกับเรื่องที่ทุกคนจำเป็นต้องรู้ เพราะความจำเป็นดังกล่าวทำให้เป็นที่รู้จักกันในหมู่ชนและมีการรายงานที่มากมายอย่างแน่นอน ดังนั้นเมื่อมีเคาะบัรวาหิดเกี่ยวกับสิ่งดังกล่าวจึงถือว่าเป็นเหตุผลหนึ่ง ที่ทำให้รายงานนั้นบกพร่อง
  • ต้องไม่ค้านกับหลักการเปรียบเทียบ (กียาส) และนักรายงานเคาะบัรวาหิดต้องเป็นคนที่แตกฉานในด้านนิติศาสตร์ เมื่อใดที่เคาะบัรวาหิดเพียบพร้อมด้วยข้อแม้ทั้งสามดังกล่าว จึงจะสามารถยึดไว้เป็นหลักในการวิเคราะห์เพื่อให้คำชี้ขาดในด้านนิติศาสตร์ได้ ถึงแม้ว่าจะมีสายรายงานที่อ่อนก็ตาม และรายงานดังกล่าวจะมีน้ำหนักมากกว่ากิยาส และนี่คือบุคลิกเฉพาะของแนวคิด หรือวิธีการวิเคราะห์ด้านนิติศาสตร์ของมัซฮับฮะนาฟีย์ ซึ่งจะให้ความสำคัญกับหะดีษที่มีสายรายงานที่อ่อนมากกว่ากิยาส

3. การเปิดกว้างในเรื่องของกิยาส ในบรรดาหลักการวิเคราะห์นิติศาสตร์ของอิหม่าม อบูฮะนีฟะฮฺ คือท่านจะยึดเอาหลักการเปรียบเทียบหรือกิยาสมาเป็นบรรทัดฐานในการวิเคราะห์นิติศาสตร์อย่างกว้างขวาง เว้นแต่เรื่องที่เกี่ยวกับฮูดูดหรืออาญา และการชดเชยหรือกัฟฟาเราะฮฺ กล่าวกันว่าเหตุที่เป็นเช่นนั้น เพราะอิหม่าม อบูฮะนีฟะฮฺ เป็นคนที่ศึกษาและรายงานหะดีษน้อยกว่าคนอื่นเป็นอย่างมาก ถ้าจะเทียบกับบรรดาอิหม่ามคนอื่นๆ ประจวบกับความมัธยัสและท่าทีที่แข็งกร้าวในการรับหะดีษของท่านอันสืบเนื่อง มาจากการแพร่สะพัดของการโป้ปดในเมืองอิรักตอนนั้น

4. การเปิดกว้างในเรื่องของอิสติหฺสาน อิสติหฺสาน (การพิจารณาเห็นชอบด้วยในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง โดยปัญญาเป็นบรรทัดฐาน) เป็นอีกวิธีหนึ่งในการวิเคราะห์และแสดงมติในด้านนิติศาสตร์อิสลามที่อิหม่าม อบูฮะนีฟะฮฺ ใช้อย่างกว้างขวางและมากกว่าหลักการกิยาสอีก เพราะทุกครั้งที่ท่านพบว่ามีอะซารฺหรือมีรายงานจากเศาะหาบะฮฺคนใดคนหนึ่ง ปฏิบัติในสิ่งที่ไม่มีระบุในอัลกุรอาน และหะดีษ ท่านก็จะยึดถืออะซารฺนั้นเป็นบรรทัดฐานในการตัดสิน หรือคำชี้ขาดด้านบัญญัติศาสนาทันทีพร้อมกับทิ้งกิยาส

5. การใช้หลักการหลีกเลี่ยง(หิยัล) หลักการหิยัลหรือการหาช่องโหว่ของบัญญัติศาสนาเพื่อหลีกเลี่ยงจากความคับแคบ ของฮูก่ม หรือยกเลิก หรือเปลี่ยนจากฮูก่มหนึ่ง สู่อีกฮูก่มหนึ่ง ที่เบากว่า เป็นต้น เป็นอีกหลักการหนึ่งที่อิหม่าม อบูฮะนีฟะฮฺ นำมาใช้ ซึ่งอุละมาอฺส่วนใหญ่ต่างไม่เห็นด้วยและตอบโต้อย่างแข็งขัน อาทิเช่น อัลบุคอรีย์ซึ่งท่านได้ใส่เรื่อง หิยัล ในหนังสือเศาะหีหฺของท่านเพื่อโต้คนที่ใช้หลักการหิยัลนี้

6. การแพร่สะพัดของมัซฮับฮานาฟีย์ มัซฮับฮานาฟีย์ เป็นมัซฮับที่แพร่สะพัดไปทั่วหล้าและปัจจุบันมัซฮับฮานาฟีย์ เป็นมัซฮับที่มีมุสลิมยึดเป็นแนวทางมากที่สุด ซึ่งจะกระจัดกระจายตามประเทศอิรัก ซีเรีย เลบานอน อินเดีย ปากีสถาน อัฟฆานิสถาน ตุรกี อัลบาเนีย ประเทศแถบอ่าวบัคข่าน กูกอซฺ และแถบอัฟริกาเป็นบางส่วน

7. หนังสือนิติศาสตร์ตามมัซฮับหะนะฟีย์ หนังสือนิติศาสตร์ หรือฟิกฮิที่ใช้เป็นบรรทัดฐานในการอ้างอิงของมัซฮับฮานาฟีย์สามารถแบ่งได้ดังนี้

  1. หนังสืออุศูลมัซฮับ มีทั้งหมด 6 เล่มซึ่งล้วนเป็นข้อเขียนของท่านมุหัมมัด บิน หะสัน อัชชัยบานีย์ ทั้งสิ้น ได้แก่หนังสือ อัลมับสูฏ อัซซิยาดาต อัลญามิอุศเศาะฆีรฺ อัสสัยรุศเศาะฆีรฺ อัลญามิอุลกะบีรฺ และอัสสัยรุลกะบีรฺ ต่อมา อัลหากิมอัชชะฮีดได้รวบรวมหนังสือทั้ง 6 เล่มไว้ในหนังสือของท่านที่มี ชื่อว่า อัลกาฟีย์ ซึ่งกลายเป็นหนังสือที่มุอฺตะมัดหรือน่าเชื่อถือที่สุดของมัซฮับฮานาฟีย์
  2. หนังสือที่มุอฺตะมัดหรือเป็นที่น่าเชื่อถือในการอิงมัซฮับ ที่สำคัญๆได้แก่ 1. อัลมับสูฏ ของ อัลสิร็อคสีย์ ซึ่งเป็นการชัรหฺหรืออธิบายขยายความหนังสืออัลกาฟีย์ 2.มุคตะศ็อร อัฏเฏาะหาวีย์ 3. มุคตะศ็อร อัลกิเราะคีย์
  3. หนังสือแม่บท หรือมุตูนที่มุอฺตะมัด ได้แก่ 1. วิกอยะตุรริวายะฮฺ ฟี มะสาอิลิลฮิดายะฮฺ ของ ตาญุชชะรีอะฮฺ อัลอับบาดีย์ หรือป็นที่รู้จักกันในนาม อัลวิกอยะฮฺ 2. มุคตะศ็อรฺอัลกุดูรีย์ 3. กันซุดดะกออิก ของ อบุลบะเราะกาต อันนะสะฟีย์
  4. หนังสือที่ให้ความสำคัญด้านหลักฐานและทัศนะเปรียบเทียบ ได้แก่ 1. บะดาอิอุศเศาะนาอิอฺ ของ อัลกาสานีย์ 2. ฟัตหุลเกาะดีร ของ อิบนุลฮัมมาม 3. อัลลุบบาบ ฟิลญัมอิ บัยนัสสุนนะฮฺ วัลกิตาบ ของ อัลค็อซฺเราะญีย์ 4. นัศบุรรอยะฮฺ ฟีตัครีจ อะหาดีษุลฮิดายะฮฺ ของ ซัยละอีย์

8. ศัพท์เทคนิคที่ใช้ในหนังสือมัซฮับหะนะฟีย์

  • อัลอะอิมมะฮฺ อัลอัรบะอะฮฺ หมายถึง อบูฮะนีฟะฮฺ มาลิก ชาฟิอีย์ อะหมัด
  • อะอิมมะตุนา อัษษะลาษะฮฺ หมายถึง อบูฮะนีฟะฮฺ อบูยูซุฟ และมุหัมมัด
  • อัชชัยคอน หมายถึง อบูฮะนีฟะฮฺ และอบูยูสุฟ
  • อัฏเฏาะเราะฟัยนฺ หมายถึง อบูฮะนีฟะฮฺ และมุหัมมัด
  • อัศศอหิบาน หมายถึง อบูยูสุฟ และมุหัมมัด
  • อัศศ็อดรุลเอาวัล หมายถึง เศาะหาบะฮฺ ตาบิอีน และอัตบาอุตตาบิอีน
  • อัสสะลัฟ หมายถึง บรรดาฟุเกาะฮาอฺมัซฮับฮานาฟีย์รุ่นแรกจนถึงมุหัมมัด บิน หะสัน
  • อัลเคาะลัฟ หมายถึง บรรดาฟุเกาะฮาอฺมัซฮับฮานาฟีย์หลังจากมุหัมมัดจนถึง ชัมชุลอะอิมมะฮฺอัลหํลวานีย์
  • อัลมุตะอัคคิรุน หมายถึง บรรดาฟุเกาะฮาอฺมัซฮับฮานาฟีย์หลังจากชัมชุลอะอิมมะฮฺอัลหํลวานีย์ จนถึง หะฟิซุดดีน อัลบุคอรีย์
  • อัลอุสต๊าส หมายถึง อับดุลลอฮฺ บิน มุหัมมัด อัสสุบุซฺมูนีย์
  • บุรฮานุลอิสลาม หมายถึง เราะฎียุดดีน อัสสิร็อคสีย์
  • บุรฮานุลอะอิมมะฮฺ หมายถึง อับดุลอะซีซ บิน มาซัฮฺ ซึ้งบางครั้งจะเรียกว่า “อัศศ้อดรุลกะบีร”
  • ตาญุชชะรีอะฮฺ หมายถึง มะหมูด บิน มุหัมมัด
  • ชัมชุลชะรีอะฮฺ หมายถึง อัสสิร็อคสีย์
  • ฟัครุลอิสลาม หมายถึง อะลี บิน มุหัมมัด อัลบัซดะวีย์


#ปราชญ์ในนิติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online

read more "ชีวประวัติของท่านอิหม่าม อบูฮะนีฟะฮฺ"

วันเสาร์ที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2561

ชีวประวัติท่านนบีอิสมาเเอล

ชีวประวัติท่านนบีอิสมาเเอล



ประวัติ นบีอิสมาเเอล อะลัยฮิสสลาม

วันหนึ่ง อิบรอฮีมได้ตื่นขึ้นมาและบอกนางฮาญัรฺภรรยาของเขาให้เตรียมตัวพร้อมที่จะนำลูกออกเดินทางไกล หลังจากนั้นสองสามวัน อิบรอฮีมกับนางฮาญัรฺพร้อมอิสมาอีลลูกน้อยที่ยังไม่อดนมก็เริ่มออกเดินทาง

อิบรอฮีมได้เดินทางผ่านดินแดนที่เป็นถิ่นเพาะปลูก ทะเลทรายและภูเขาจนกระทั่งมาถึงทะเลทรายแห่งคาบสมุทรอารเบียและได้มาถึงหุบเขาแห่งหนึ่งที่ปราศจากต้นไม้ ผลไม้ อาหารและน้ำ หุบเขาแห่งนี้ไม่มีสัญญาญแห่งชีวิตให้เห็น หลังจากอิบรอฮีมได้ช่วยภรรยาและลูกลงจากเนินเขาแล้ว เขาก็ทิ้งอาหาร
และน้ำที่แทบจะไม่พอสำหรับประทังชีวิตได้สองวันไว้ให้แก่ภรรยาและลูก หลังจากนั้นก็หันหลังให้และเดินจากไป นางฮาญัรฺจึงรีบวิ่งตามเขาไปพร้อมกับถามว่า “อิบรอฮีม ท่านจะไปไหนท่านจะทิ้งเราไว้ในหุบเขาที่กันดารนี้หรือ ?

อิบรอฮีมไม่ตอบนาง แต่ยังคงเดินต่อไป นางจึงร้องถามแล้วถามอีก แต่อิบรอฮีมก็ยังนิ่งเงียบ ในที่สุด นางก็เข้าใจว่าเขาไม่ได้คิดที่จะทำสิ่งนี้ด้วยตัวของเขาเองนางตระหนักดีว่าอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้ทรงบัญชาเขาให้ทำเช่นนั้น นางได้ถามเขาว่า “อัลลอฮฺได้ทรงบัญชาท่านให้ทำเช่นนี้ใช่ไหม ?” อิบรอฮีมตอบว่า “ใช่” ดังนั้น นางฮาญัรฺจึงได้ตอบว่า “ถ้าเช่นนั้น เราจะไม่สูญเสียอะไร เนื่องจากอัลลอฮฺผู้ทรงบัญชาท่านทรงอยู่กับเรา

อิบรอฮีมได้วิงวอนต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) ว่า : “ข้าแต่พระผู้อภิบาล ฉันได้ตั้งรกรากถิ่นฐานให้ลูกหลานของฉันบางคนในหุบเขาอันกันดารใกล้บ้านอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ (ก๊ะอฺบ๊ะฮฺที่นครมักก๊ะฮฺ) ข้าแต่พระผู้อภิบาลของเรา ฉันทำสิ่งนี้ก็ด้วยหวังว่าพวกเขาจะได้ดำรงละหมาดที่นั่น ดังนั้น โปรดหันหัวใจของผู้คนไปยังพวกเขาด้วยเถิด และโปรดประทานผลไม้เป็นอาหารแก่พวกเขาด้วยเถิดเพื่อพวกเขาจะได้เป็นผู้กตัญญู ข้าแก่พระผู้อภิบาลของเรา พระองค์ทรงรู้ดีถึงสิ่งที่เราซ่อนเร้นและเปิดเผย และไม่มีสิ่งใดทั้งในชั้นฟ้าและแผ่นดินนี้จะซ่อนเร้นไปจากพระองค์ได้” (กุรอาน 14:37-38)

อิบนุอับบาสได้เล่าว่า“ผู้หญิงคนแรกที่ใช้สายหนังรัดเอวก็คือแม่ของอิสมาอีล นางใช้มันเพื่อที่จะซ่อนร่องรอยของนางจากซาเราะฮฺ อิบรอฮีมได้นำนางและอิสมาอีลไปยังสถานที่แห่งหนึ่งใกล้ก๊ะอฺบ๊ะฮฺใต้ต้นไม้ตรงจุดที่เป็นบ่อน้ำซัมซัมซึ่งเป็นสถานที่ที่สูงที่สุดในมัสยิด ในตอนนั้น มักก๊ะฮฺยังไม่มีผู้คนและไม่มีน้ำ ดังนั้น อิบรอฮีมจึงให้ภรรยาและลูกนั่งอยู่ที่นั่นและได้วางถุงหนังใส่อินทผลัมถุงหนึ่งกับถุงใส่น้ำเล็กๆอีกถุงหนึ่งและเดินกลับบ้าน แม่ของอิสมาอีลได้เดินตามเขาไปและกล่าวว่าอิบรอฮีมท่านจะไปไหน ท่านจะทิ้งเราไว้ที่หุบเขาที่ไม่มีผู้คนที่เราจะอยู่ด้วยไม่มีอะไรเลยกระนั้นหรือ ?นางได้ถามทบทวนอยู่เช่นนี้หลายครั้ง แต่เขาก็ไม่ได้หันไปหานาง ดังนั้น นางจึงถามเขาว่าอัลลอฮฺได้บัญชาให้ท่านทำเช่นนี้ใช่ไหม ? เขากล่าวว่าใช่” นางจึงได้กล่าวว่าถ้าเช่นนั้น อัลลอฮฺไม่ทรงทิ้งเรากล่าวจบ นางก็หันกลับทันทีโดยที่อิบรอฮีมก็เดินหน้าต่อไป เมื่อมาถึงบริเวณที่เรียกว่าซานียะฮฺซึ่งเป็นสถานที่ที่ไม่มีใครมองเห็นเขาแล้วอิบรอฮีมก็หันหน้ามายังทิศทางก๊ะอฺบ๊ะฮฺและยกมือทั้งสองขึ้นพร้อมกับวิงวอนว่า :ข้าแต่พระผู้อภิบาล ฉันได้ตั้งรกรากและถิ่นฐานให้ลูกหลานของฉันบางคนในหุบเขาอันกันดารใกล้บ้านอันศักดิ์สิทธิ์ของพระองค์ (ก๊ะอฺบ๊ะฮฺที่นครมักก๊ะฮฺ) ข้าแต่พระผู้อภิบาลของเรา ฉันทำสิ่งนี้ก็ด้วยหวังว่าพวกเขาจะได้ดำรงละหมาดที่นั่น ดังนั้น โปรดหันหัวใจของผู้คนไปยังพวกเขาด้วยเถิด และโปรดประทานผลไม้เป็นอาหารแก่พวกเขาด้วยเถิดเพื่อเขาจะได้เป็นผู้กตัญญู” (กุรอาน 14:37)

คำบอกเล่าของอิบนุอับบาสได้กล่าวต่อไปว่า : “แม่ของอิสมาอีลยังคงให้นมลูกน้อยของนางต่อไปและนางได้ดื่มน้ำที่นางมีอยู่ เมื่อน้ำในถุงหนังหมด ทั้งนางและลูกของนางก็เริ่มกระหายน้ำ นางจึงได้มองไปที่อิสมาอีลลูกน้อยของนางด้วยความกังวล หลังจากนั้น นางก็จากลูกน้อยของนางไปเพราะนางไม่อาจทนดูลูกของนางได้นางได้พบว่าภูเขาอัศเศาะฟาเป็นภูเขาที่อยู่ใกล้ที่สุด นางได้ไปยืนอยู่ที่นั่นและสอดสายตามองไปยังหุบเขาอย่างใจจดใจจ่อเผื่อว่าจะเห็นใครบางคน แต่นางก็ไม่เห็นใคร ดังนั้น นางจึงได้ลงมาจากหุบเขา นางก็ได้รวบเสื้อคลุมของนางและวิ่งไปในหุบเขาเหมือนคนสิ้นหวังและว้าวุ่น จนกระทั่งนางได้ผ่านหุบเขาไปถึงภูเขาอัลมัรวะฮฺ นางได้ขึ้นไปบนภูเขาและเริ่มสอดส่ายสายตาโดยหวังว่าจะเห็นใครบางคน แต่นางก็ไม่เห็นใคร นางได้วิ่งไปวิ่งมาระหว่างภูเขาเตี้ยๆ ทั้งสองนี้ถึง 7 เที่ยวด้วยกัน


ท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า : “นี่คือที่มาของการปฏิบัติพิธีที่เรียกว่า “สะอีย์” หรือการเดินทางของผู้คนระหว่างเนินเขาเศาะฟา และมัรวะฮฺระหว่างพิธีทำฮัจญ์ เมื่อนางได้มาถึงหุบเขามัรวะฮฺ (เป็นครั้งสุดท้าย) นางได้ยินเสียงอะไรอย่างหนึ่ง นางจึงนิ่งเงียบและนิ่งฟังอย่างใจจดใจจ่อ นางได้ยินเสียงนั้นอีกและได้กล่าวกับตัวเองว่า ‘โอ (ไม่ว่าท่านจะเป็นใครก็ตาม) ท่านได้ทำให้ฉันได้ยินเสียงของท่าน ท่านมีอะไรที่จะช่วยฉันหรือ ?’ และนางได้เห็นมลาอิก๊ะฮฺองค์หนึ่งตรงบริเวณบ่อน้ำซัมซัมกำลังขุดทรายด้วยส้นเท้า (บางรายงานกล่าวว่าด้วยปีก) จนกระทั่งน้ำไหลออกมาจากที่ตรงนั้น นางจึงได้เริ่มทำอะไรบางอย่างที่เหมือนกับภาชนะรอบมันและใช้มือกอบน้ำใส่ถุงหนังไว้และน้ำยังคงไหลออกมาหลังจากที่นางได้ตักมันไว้บ้างแล้ว
ท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) ได้กล่าวต่อว่า : “ขออัลลอฮฺได้ประทานความเมตตาแก่แม่ของอิสมาอีล ถ้าหากนางปล่อยให้ซัมซัม (ไหลออกมาโดยไม่พยายามควบคุมมันไว้หรือนางไม่ตักเอาน้ำมาใส่ถุงหนังของนาง) ซัมซัมก็อาจจะไหลออกมาท่วมบนผืนดิน

ท่านนบี (ซ.ล.) ได้กล่าวต่ออีกว่า : “หลังจากนั้น นางได้ดื่มน้ำและให้นมลูกของนางมลาอิก๊ะฮฺได้กล่าวแก่นางว่า ‘ไม่ต้องกลัวว่าจะถูกทอดทิ้งเพราะนี่คือบ้านของอัลลอฮฺซึ่งจะถูกสร้างจากเด็กคนนี้และพ่อของเขา และอัลลอฮฺไม่เคยทิ้งคนของพระองค์’ก๊ะอฺบ๊ะฮฺในตอนนั้นอยู่บนเนินสูงแห่งหนึ่งคล้ายกับเนินเขา แต่ต่อมาก็ถูกกระแสน้ำพัดเกลี่ยทรายออกไปจนกลายเป็นที่ราบ”

“นางได้อาศัยอยู่ที่นั่นจนกระทั่งได้มีคนจากเผ่าญุรฮุมหรือครอบครัวจากญุรฮุมผ่านมาเห็นนางและลูกขณะที่พวกเขาผ่านมาทางกาดะอ์ คนพวกนี้มาถึงตอนล่างของมักก๊ะฮฺและเห็นนกตัวหนึ่งซึ่งนิสัยชอบบินวนรอบน้ำและจะไม่ไปไหน ดังนั้น คนพวกนี้จึงได้กล่าวว่า ‘นกตัวนี้จะต้องบินรอบน้ำถึงแม้เราจะรู้ว่าไม่มีน้ำในหุบเขาแห่งนี้’ หลังจากนั้น พวกเขาก็ส่งคนมาค้นหาแหล่งน้ำ เมื่อรู้ว่ามีน้ำอยู่ คนพวกนี้ทั้งหมดก็มุ่งหน้าไปยังแหล่งน้ำ ในตอนนั้น แม่ของอิสมาอีลกำลังนั่งอยู่ใกล้น้ำ คนพวกนั้นจึงได้ถามนางว่า “นางจะให้เราอยู่ด้วยได้ไหม ?” นางได้ตอบว่า “ได้ แต่พวกท่านไม่มีสิทธิ์ที่จะเป็นเจ้าของน้ำนะ” พวกเขาเหล่านั้นก็ตกลง แม่อิสมาอีลดีใจกับทุกสิ่งที่เกิดขึ้นเพราะนางชอบที่จะอยู่ร่วมกับผู้คน ดังนั้น คนเหล่านั้นจึงตั้งหลักแหล่งอยู่ที่นั่น และต่อมาก็ได้ไปนำครอบครัวของตนมาจนบางครอบครัวได้กลายเป็นคนกลุ่มใหญ่อยู่ที่นั่น อิสมาอีลได้เติบโตขึ้นมาและได้เรียนภาษาอาหรับจากคนเหล่านี้และด้วยคุณธรรมความดีของอิสมาอีลทำให้ผู้คนรักและยกย่องเขาเป็นอย่างมาก เมื่อเขาย่างเข้าสู่วัยหนุ่มผู้คนก็ได้จัดการให้เขาแต่งงานกับผู้หญิงในหมู่พวกเขา

ท่านนบีมุฮัมมัดได้กล่าวต่อไปว่า : “หลังจากแม่ของอิสมาอีลได้เสียชีวิตไปและหลังที่อิสมาอีลแต่งงานแล้ว อิบรอฮีมได้กลับมาอีกครั้งหนึ่งเพื่อที่จะเยี่ยมครอบครัวของเขาที่เขาได้ทิ้งไว้ แต่เขาก็ไม่พบอิสมาอีลที่นั่น เมื่อเขาถามภรรยาของอิสมาอีล นางได้ตอบว่า ‘เขาออกไปทำมาหากิน’ ดังนั้น อิบรอฮีมจึงได้ถามถึงเรื่องความเป็นอยู่ของพวกเขา นางจึงได้บ่นว่า ‘เรามีชีวิตอัตคัดขัดสน’ อิบรอฮีมได้กล่าวว่า ‘เมื่อสามีของนางกลับมา จงฝากคำทักทายของฉันถึงเขาด้วยและบอกให้เปลี่ยนธรณีประตูบ้านของเขาเสียใหม่’

เมื่ออิสมาอีลกลับมา เขารู้สึกเหมือนว่ามีอะไรบางอย่างผิดปกติ ดังนั้น เขาจึงได้ถามภรรยาของเขาว่า ‘มีใครมาเยี่ยมบ้านเราหรือเปล่า ?’ นางได้ตอบว่า ‘ มีคนแก่รูปร่างอย่างนั้นอย่างนี้ได้มาหาและเขาได้ถามถึงสภาพความเป็นอยู่ของเราและฉันก็ได้บอกว่าเรามีชีวิตอยู่อย่างลำบากยากจน’ เมื่อได้ยินเช่นนั้น อิสมาอีลจึงได้กล่าวว่า ‘เขาแนะนำอะไรเธอบ้างไหม ?’ เธอตอบว่า ‘ใช่เขาบอกฉันให้ฝากคำทักทายถึงท่านและให้บอกท่านเปลี่ยนธรณีประตูบ้านใหม่’ อิสมาอีลจึงกล่าว่า ‘นั่นแหละพ่อฉันเอง และเขาได้สั่งฉันให้หย่าเธอ เธอกลับไปหาครอบครัวของเธอได้แล้ว’ ดังนั้น อิสมาอีลจึงได้หย่าเธอและแต่งงานกับผู้หญิงคนใหม่จากคนในเผ่าของผู้หญิงคนนั้น (กล่าวคือในเผ่าญุรฮุม)

หลังจากนั้น อิบรอฮีมก็อยู่ห่างจากพวกเขาเป็นระยะเวลาหนึ่ง และต่อมาก็ได้กลับมาเยี่ยมพวกเขาอีก แต่ไม่พบอิสมาอีล ดังนั้น เขาจึงได้ไปหาภรรยาของอิสมาอีลและถามนางเกี่ยวกับอิสมาอีล นางได้กล่าวว่า ‘เขาออกไปทำมาหากิน’ อิบรอฮีมจึงได้ถามนางว่า เป็นอย่างไรบ้างล่ะ ?’ ทั้งนี้เพื่อต้องการจะทราบเกี่ยวกับการเป็นอยู่ของพวกเขา นางได้ตอบว่า ‘เรากินดีอยู่ดี’ (กล่าวคือมีทุกสิ่งอย่างสมบูรณ์) หลังจากนั้น นางก็ขอบคุณอัลลอฮฺ อิบรอฮีมได้กล่าวว่า ‘นางกินอาหารประเภทไหน ?’ นางได้ตอบว่า ‘เนื้อ’ อิบรอฮีมจึงถามต่อว่า ‘แล้วนางดื่มอะไร ?’ นางตอบว่า ‘น้ำ’ อิบรอฮีมจึงได้กล่าวว่า ‘โอ้ อัลลอฮฺ โปรดประทานความจำเริญให้แก่เนื้อและน้ำด้วยเถิด’

ท่านนบีมุฮัมมัดยังได้กล่าวเพิ่มเติมอีกว่า : “ในตอนนั้น พวกเขาไม่มีข้าว และถ้าหากพวกเขามี อิบรอฮีมน่าจะวิงวอนต่ออัลลอฮฺให้ประทานความจำเริญแก่ข้าวด้วยถ้าใครมีแต่เพียงสองสิ่งนี้เป็นปัจจัยยังชีพของเขา สุภาพและจิตใจของเขาก็จะได้รับผลในทางที่ไม่ดีเว้นเสียแต่ว่าเขาจะอยู่ในมักก๊ะฮฺ

ท่านนบีมุฮัมมัดได้กล่าวว่า : “ดังนั้น อิบรอฮีมจึงได้กล่าวแก่ภรรยาของอิสมาอีลว่า ‘เมื่อสามีของนางมา จงบอกกล่าวคำทักทายของฉันถึงเขาด้วยและบอกเขาให้รักษาทางเข้าประตูของเขาไว้’ เมื่ออิสมาอีลกลับมา เขาได้ถามภรรยาของเขาว่า ‘มีใครมาเยี่ยมเธอหรือ ?’ นางได้ตอบว่า ‘ใช่ คนมีอายุรูปร่างหน้าตาดีได้มาหาฉัน’ และนางได้กล่าวชมเขาพร้อมกับเล่าว่า ‘เขาได้ถามฉันถึงท่านและฉันก็ได้บอกเขาไป เขาถามเรื่องความเป็นอยู่ของเราและฉันได้บอกเขาไปว่าเรามีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดี’อิสมาอีลได้ถามนางว่า ‘เขาบอกฉัน ให้กล่าวคำทักทายถึงท่านและสั่งให้ท่านรักษาทางเข้าบ้านไว้’ เมื่อได้ยินเช่นนั้น อิสมาอีลได้กล่าวตอบว่า ‘นั่นแหละพ่อฉัน และเธอคือธรณีประตู เขาได้สั่งฉันให้ดูแลรักษาเธอไว้กับฉัน’

“หลังจากนั้น อิบรอฮีมก็อยู่ห่างจากพวกเขาสักระยะหนึ่งเท่าที่อัลลอฮฺทรงประสงค์และต่อมาก็กลับมาเยี่ยมพวกเขาอีก ครั้งนี้เขาได้เห็นอิสมาอีลอยู่ใต้ต้นไม้ต้นหนึ่งใกล้ซัมซัมและกำลังเหลาลูกธนูอยู่ เมื่ออิสมาอีลเห็นพ่อ เขาลุกขึ้นมาต้อนรับและทักทายกันด้วยความสนิทสนมเยี่ยงพ่อลูกกัน อิบรอฮีมได้กล่าวว่า ‘อิสมาอีล อัลลอฮฺได้ออกคำสั่งกับพ่ออย่างหนึ่ง’ อิสมาอีลจึงได้กล่าวว่า ‘ทำตามที่พระเจ้าของพ่อสั่งเถิด’ อิบรอฮีมจึงถามว่า ‘เจ้าจะช่วยพ่อไหมล่ะ ?’ อิสมาอีลตอบ ‘ฉันจะช่วยพ่อ’ อิบรอฮีมกล่าวว่า ‘อัลลอฮฺได้สั่งให้พ่อสร้างบ้านขึ้นหลังหนึ่งที่นี่’ แล้วก็ชี้ไปยังเนินทรายที่สูงกว่าที่ดินที่อยู่รอบๆ

“หลังจากนั้น ทั้งสองก็ได้ช่วยกันวางรากฐานของบ้าน (กล่าวคือก๊ะอฺบ๊ะฮฺ) โดยอิสมาอีลได้ไปนำเอาหินมาในขณะที่อิบรอฮีมเป็นคนนำหินไปสร้างบ้าน เมื่อกำแพงเนินสูงขึ้น อิบรอฮีมได้ขึ้นไปยืนบนกำแพงโดยอิสมาอีลได้ส่งหินให้พ่อเพื่อทำการสร้างต่อไป ในขณะที่อิสมาอีลส่งก้อนหินให้พ่อ ทั้งสองได้กล่าวว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลของเรา โปรดรับการงานจากเรา แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้” (กุรอาน 2:127)

อิบนุอับบาสได้เล่าแตกต่างไปจากนี้เล็กน้อยว่า “เมื่ออิบรอฮีมมีความขัดแย้งกับภรรยาของเขา (เพราะความอิจฉานางฮาญัรฺแม่ของอิสรออีล) เขาได้นำอิสมาอีลและนางฮาญัรฺออกจากบ้านไปโดยมีถุงหนังที่มีน้ำติดไปเพียงเล็กน้อย นางฮาญัรฺจะดื่มน้ำจากถุงหนังเพื่อนางจะได้มีน้ำนมเพิ่มขึ้นสำหรับทารก เมื่ออิบรอฮีมได้มาถึงมักก๊ะฮฺ เขาได้ให้นางนั่งใต้ต้นไม้ต้นหนึ่งและกลับบ้านทันที แม่อิสมาอีลได้วิ่งตามเขาและเมื่อมาถึงกาดะอ์ นางได้เรียกเขาจากด้านหลังและกล่าวว่า ‘อิบรอฮีม ท่านจะทิ้งไว้กับใคร ?’ เขาตอบว่า ‘(ฉันทิ้งไว้)กับอัลลอฮฺ’ นางได้กล่าวว่า ‘ฉันพอใจที่จะอยู่กับอัลลอฮฺ’ หลังจากนั้น นางก็หันกลับไปยังสถานที่ของนางและเริ่มดื่มน้ำจากถุงหนังซึ่งทำให้น้ำนมของนางเพิ่มขึ้นสำหรับลูกของนาง

เมื่อน้ำหมด นางได้กล่าวกับตัวเองว่า : ‘ออกไปดูซิ เผื่อจะเห็นใครบางคน’ นางได้ลงมาจากเนินเขาอัศเศาะฟาและมองไปรอบๆโดยหวังว่าจะเห็นใครบางคน แต่ก็ไม่เห็น เมื่อนางได้ลงมายังหุบเขา นางได้วิ่งไปจนกระทั่งถึงภูเขาอัลมัรฺวะฮฺ นางได้วิ่งไปวิ่งมา (ระหว่างภูเขาสองลูกนี้)หลายครั้ง หลังจากนั้น นางก็ได้กล่าวกับตัวเองว่า ‘ไปดูซิลูกเป็นอย่างไร’ เมื่อนางได้ไปเห็นลูกอยู่ในสภาพกำลังจะตาย นางไม่สามารถทนเฝ้าดูลูกตัวเองอยู่ในสภาพนั้นได้ นางจึงได้กล่าวกับตัวเองว่า ‘ถ้าฉันไปดู ฉันอาจจะพบใครบางคนก็ได้’ หลังนั้น นางก็วิ่งขึ้นไปบนภูเขาอัศเศาะฟาและมองหาผู้คนอยู่เป็นเวลานาน แต่ก็ไม่พบใคร นางได้วิ่งไปวิ่งมาระหว่างเนินเขาอัศเศาะฟาและอัลมัรฺวะฮฺถึง 7 เที่ยว นางได้กล่าวกับตัวเองว่า ‘น่าจะกลับไปดูลูกว่าเป็นอย่างไรบ้างดีกว่า’ ทันใดนั้น นางก็ได้ยินเสียงหนึ่งและนางได้กล่าวกับเสียงประหลาดนั้นว่า ‘กรุณาช่วยเราด้วยเถิดถ้าท่านสามารถให้ความช่วยเหลือเราได้’ เสียงนั้นเป็นเสียงของญิบรีลนั่นเอง ญิบรีลได้ใช้ส้นเท้ากระทืบลงไปบนแผ่นดินอย่างนี้ (อิบนุอับบาสใช้ส้นเท้าของตนเองกระทืบลงไปเพื่อแสดงให้เห็น) และหลังจากนั้นก็มีน้ำพุ่งออกมา แม่ของอิสมาอีลประหลาดใจมากและเริ่มขุดหลุม

อบูอัลกอซิม (กล่าวคือท่านนบีมุฮัมมัด) ได้กล่าวว่า “ถ้าน้ำปล่อยน้ำ (ให้ไหลตามธรรมชาติโดยไม่เข้าไปแทรกแซง) มันก็จะไหลไปบนพื้นผิวโลก”

อิบนุบาสได้เล่าต่อไปว่า “แม่ของอิสมาอีลได้ดื่มน้ำนั้นและน้ำนมของนางก็มีมากขึ้นสำหรับลูกของนาง หลังจากนั้น ได้มีคนจากเผ่าญุรฮุมเห็นนกบางตัวในขณะที่เดินทางผ่านมาทางกลางหุบเขาและรู้แปลกใจ พวกเขาจึงกล่าวว่า‘นกจะอยู่ก็แต่ในที่ที่มีน้ำเท่านั้น’ หลังจากนั้น พวกเขาก็ส่งคนไปค้นหาน้ำ เมื่อพบว่ามีน้ำ พวกเขาทั้งหมดก็ไปหานางและได้กล่าวว่า ‘โอ้แม่ของอิสมาอีล นางจะให้เราอยู่กับนาง (หรือตั้งถิ่นฐานอยู่กับนาง) ได้ไหม ?’ (ดังนั้น พวกเขาจึงได้อยู่ที่นั่น)

ต่อมาลูกชายของนางก็เข้าสู่วัยหนุ่มและได้แต่งงานกับผู้หญิงคนหนึ่งจากพวกเขา หลังจากนั้น อิบรอฮีมก็มีความคิดเกิดขึ้นซึ่งเขาได้เปิดเผยให้นางซาเราะฮฺภรรยาของเขาได้รู้ ‘ฉันต้องการที่จะไปเยี่ยมครอบครัวของฉันที่ฉันทิ้งไว้ที่มักก๊ะฮฺ’ เมื่อไปยังที่นั่น เขาได้ทักทายภรรยาของอิสมาอีลและถามว่า ‘อิสมาอีลอยู่ไหน ?’นางได้ตอบว่า ‘เขาไปล่าสัตว์’ อิบรอฮีมจึงได้กล่าวกับนางว่า‘เมื่อเขากลับมาบอกเขาให้เปลี่ยนธรณีประตูใหม่’ เมื่ออิสมาอีลกลับมา นางได้บอกเขาตามที่ได้ถูกบอกมา ดังนั้น อิสมาอีลจึงบอกนางว่า ‘เธอคือธรณีประตู ดังนั้น จงกลับไปยังครอบครัวของเธอ (นั่นคือ เธอถูกหย่าแล้ว)’

หลังจากนั้น อิบรอฮีมก็คิดถึงการกลับมาเยี่ยมครอบครัวของเขาซึ่งเขาทิ้งไว้ที่มักก๊ะฮฺอีกและเขาได้บอกนางซาเราะฮฺถึงเจตนารมณ์ของเขา อิบรอฮีมได้ไปยังบ้านของอิสมาอีลและได้ถามว่า ‘อิสมาอีลอยู่ที่ไหน ?’ ภรรยาของอิสมาอีลตอบว่า ‘เขาไปล่าสัตว์’ และกล่าวว่า ‘ท่านอยู่กับเราสักพักและกินหรือดื่มอะไรก่อนไหม ?’ อิบรอฮีมได้ถามว่า ‘เธอกินและดื่มอะไร ?’นางได้ตอบว่า ‘อาหารของเราก็คือเนื้อและน้ำ’ เขาจึงได้กล่าวว่า ‘โอ้ อัลลอฮฺ โปรดประทานความจำเริญแก่อาหารและเครื่องดื่มของพวกเขาด้วยเถิด’

อบูอัลกอซิม กล่าวคือท่านนบีมุฮัมมัดได้กล่าวว่า“เพราะคำวิงวอนของอิบรอฮีมจึงมีความจำเริญมากมายหลายอย่าง (ในมักก๊ะฮฺ)”

อิบนุอับบาสได้กล่าวต่อไปว่า “อีกครั้งหนึ่งที่อิบรอฮีมคิดจะมาเยี่ยมครอบครัวของเขาที่เขาได้ทิ้งไว้ในมักก๊ะฮฺ ดังนั้น เขาจึงได้บอกนางซาเราะฮฺถึงการตัดสินใจของเขา หลังจากนั้น เขาก็ได้ออกเดินทางและไปพบอิสมาอีลอยู่ข้างหลังบ่อน้ำซัมซัมกำลังดัดลูกธนูอยู่ เขาได้กล่าวว่า ‘อิสมาอีล พระเจ้าของเจ้าได้สั่งพ่อให้สร้างบ้านขึ้นมาหลังหนึ่งเพื่อพระองค์’ อิสมาอีลได้กล่าวว่า‘จงเชื่อพระเจ้าของพ่อเถิด’ อิบรอฮีมจึงกล่าวว่า ‘อัลลอฮฺยังได้ทรงสั่งพ่ออีกว่าเจ้าจะต้องช่วยพ่อทำงานนี้ด้วย’ อิสมาอีลได้กล่าวว่า ‘ถ้าเช่นนั้นฉันจะช่วย’ ดังนั้น ทั้งสองจึงลุกขึ้นและอิบรอฮีมได้เริ่มสร้างก๊ะอฺบ๊ะฮฺในขณะที่อิสมาอีลออกไปหาหินมาให้และทั้งสองคนได้กล่าวว่า โอ้ พระผู้อภิบาลของเรา โปรดรับการงานจากเรา แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้รอบรู้” (กุรอาน 2:127)

เมื่ออาคารสูงขึ้นและคนแก่อย่างอิบรอฮีมไม่สามารถยกก้อนหินขึ้นไปยังที่ขึ้นได้ เขาได้ยืนอยู่บนก้อนหินแห่งอัลมะกอมโดยอิสมาอีลยังส่งหินให้และทั้งสองได้กล่าวว่า “โอ้ พระผู้อภิบาลของเรา โปรดรับการงานจากเรา แท้จริงพระองค์เป็นผู้ทรงได้ยิน ผู้ทรงรอบรู้

อัลลอฮฺได้ทรงบอกเราให้รู้สึกความรักที่อิบรอฮีมมีต่อลูกชายของเขาว่า “และเขาได้กล่าวว่า (หลังจากที่รอดพ้นจากไฟ) ว่า ‘ฉันจะไปหาพระผู้อภิบาลของฉัน พระองค์จะทรงนำทางฉัน โอ้พระผู้อภิบาลของฉัน โปรดประทานบุตรที่จะเป็นคนดีแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด’ ดังนั้น เราได้แจ้งข่าวดีแก่เขาถึงเรื่องลูกชายที่มีความขันติคนหนึ่ง และเมื่อลูกของเขาเติบโตขึ้นถึงวัยที่จะทำงานกับเขา เขาได้กล่าวแก่ลูกชายว่า ‘ลูกรัก พ่อได้ฝันเห็นว่าพ่อกำลังเชือดเจ้า บอกพ่อหน่อยซิว่าเจ้าคิดอย่างไร ?’เขากล่าวว่า ‘พ่อครับ พ่อจงทำตามที่ได้ถูกบัญชาเถิดหากอัลลอฮฺทรงประสงค์แล้ว พ่อจะพบว่าฉันเป็นหนึ่งในบรรดาผู้อดทน’ดังนั้น เมื่อทั้งสองยอมจำนน (ต่อพระประสงค์ของพระองค์) แล้ว อิบรอฮีมก็ได้ให้ลูกชายของเขานั่งก้มหัวลงกับพื้น และเราได้เรียกเขา ‘อิบรอฮีมเจ้าได้ปฏิบัติตามความฝันแล้ว เช่นนั้นแหละที่เราได้ตอบแทนบรรดา ผู้ทำความดี แท้จริงแล้ว นี่คือการทดสอบอันชัดเจน’ และเราได้ไถ่ลูกชายของเขาสำหรับการพลีอันยิ่งใหญ่ และเราได้ทิ้ง (การรำลึกที่ดี)ไว้สำหรับเขาในหมู่ชนรุ่นหลัง ศานติแก่อิบรอฮีม เช่นนั้นแหละที่เราตอบแทนบรรดาผู้ทำความดี แท้จริง เขาเป็นบ่าวผู้ศรัทธาของเราคนหนึ่ง’ ” (กุรอาน 37:99-111)

เมื่อเวลาผ่านไป วันหนึ่ง อิบรอฮีมนั่งอยู่นอกกระโจมที่พักของเขา นึกถึงอิสมาอีลลูกชายของเขาและการพลีถวายครั้งเพื่ออัลลอฮฺ หัวใจของเขาเต็มไปด้วยความกลัวและความรักอัลลอฮฺอันเนื่องมาจากความโปรดปรานอันสุดคณานับของพระองค์ น้ำตาไหลพรากออกมาจากตาของเขาและยิ่งทำให้เขานึกถึงอิสมาอีล

ในขณะเดียวกัน มลาอิก๊ะฮฺสามองค์ก็ลงมายังโลก นั่นคือ ญิบรีล อิสรอฟิลและมิกาอีล มลาอิก๊ะฮฺเหล่านี้ได้ปรากฏตัวในรูปของมนุษย์และทักทายอิบรอฮีม อิบรอฮีมได้ลุกขึ้นและต้อนรับมลาอิก๊ะฮฺเหล่านั้นและพาเข้าไปในกระโจมที่พักโดยคิดว่าว่ามลาอิก๊ะฮฺเหล่านั้นเป็นคนแปลกหน้าและเป็นแขกของเขา เขาได้เชิญให้ผู้มาเยือนเหล่านั้นและดูแลให้แน่ใจว่าแขกของเขาได้รับความสะดวกสบาย หลังจากนั้น เขาก็ขอตัวไปหาคนในครอบครัวของเขา

ซาเราะฮฺภรรยาของเขาได้ลุกขึ้นเมื่อเขาได้เข้ามา ตอนนั้นนางแก่จนผมเป็นสีขาวแล้ว อิบรอฮีมได้บอกกับนางว่า “เรามีผู้แปลกหน้าสามคนในบ้าน” นางจึงถามว่า “พวกเขาเป็นใคร ?” เขาได้ตอบว่า “ฉันก็ไม่รู้จักพวกเขาเหมือนกัน” และเขาได้ถามนางว่า “เรามีอาหารอะไรบ้าง ?” นางจึงตอบว่า “แกะครึ่งตัว” เขาจึงกล่าวว่า “ครึ่งตัวเองหรือ ถ้าอย่างนั้น เชือดลูกวัวอ้วนหนึ่งตัวให้พวกเขา พวกเขาเป็นคนแปลกหน้าและเป็นแขก

หลังจากนั้น คนรับใช้ได้ย่างเนื้อและนำมาให้ อิบรอฮีมจึงเชื้อเชิญมลาอิก๊ะฮฺให้กินอาหารและเขาได้เริ่มกินก่อนเพื่อที่จะให้ผู้มาเยือนกินตาม แต่เมื่อเขาชำเลืองมองแขกเพื่อให้แน่ใจว่าแขกกินอาหาร เขาก็สังเกตว่าไม่มีแขกคนใดแตะต้องอาหารเลย เขาจึงได้พูดกับแขกว่า “พวกท่านไม่กินสักหน่อยหรือ ?” แล้วเขาก็กลับไปกินต่อ แต่เมื่อเขามองไปที่แขกของเขาก็ยังไม่กินอาหารไม่มีใครเอื้อมมือออกมาแตะต้องด้วยซ้ำ เขาจึงรู้สึกกลัวขึ้นมา

แต่อย่างไรก็ตาม บรรดามลาอิก๊ะฮฺก็รู้ถึงความคิดภายในของเขาและมลาอิก๊ะฮฺองค์หนึ่งกล่าวว่า “อย่ากลัวไปเลย” อิบรอฮีมเงยหน้าของเขาขึ้นและตอบว่า “ความจริงแล้ว ฉันกลัว ฉันขอให้พวกท่านกินอาหาร แต่พวกท่านไม่ยื่นมือออกมาแตะอาหารเลย พวกท่านมีเจตนาร้ายต่อฉันหรือเปล่า ?

หนึ่งในบรรดามลาอิก๊ะฮฺจึงยิ้มและกล่าวว่า “เราไม่กิน เราเป็นมลาอิก๊ะฮฺของอัลลอฮฺ” หลังจากนั้น มลาอิก๊ะฮฺองค์หนึ่งก็หันไปยังภรรยาของเขาและแจ้งข่าวดีให้ทราบเกี่ยวกับลูกชายชื่ออิสฮาก (อิชอัค)

อัลลอฮฺได้ทรงเปิดเผยให้ทราบว่า “และบรรดารอซูลของเราได้มายังอิบรอฮีมพร้อมกับข่าวดี พวกเขากล่าวว่า ‘ขอความสันติจงมีแด่ท่าน’ อิบรอฮีมได้ตอบว่า ‘สันติจงมีแด่ท่าน’ และหลังจากนั้นไม่นาน เขาก็ได้นำเอาลูกวัว ย่างออกมาให้พวกเขาแต่เมื่อเขาเห็นว่าพวกเขาไม่ยื่นมือมายังอาหาร เขาก็ชักไม่ไว้ใจและรู้สึกกลัวพวกเขาขึ้นมาในใจ พวกเขาจึงกล่าวว่า ‘อย่าได้กลัวอะไรเลยเพราะเราได้ถูกส่งมายังผู้คนของลูฏ’และภรรยาของเขาได้ยืนอยู่ตรงนั้นด้วย พอได้ยินเรื่องนี้ นางก็หัวเราะแล้วเราได้บอกนางถึงข่าวดีถึงเรื่องอิสฮาก และหลังจากอิสฮากก็คือยะกู๊บ

นางได้กล่าว (ด้วยความประหลาดใจ) ว่า‘โอ้ ยุ่งละสิ ฉันจะมีลูกได้อย่างไรในเมื่อฉันแก่หง่อม ปูนนี้แล้ว และสามีของฉันเองก็แก่ด้วยเช่นกัน ? เป็นเรื่องแปลกจริงๆ พวกเขาจึงกล่าวว่า ‘นางแปลกใจต่อคำบัญชาของอัลลอฮฺกระนั้นหรือ ? โอ้ ครอบครัวของอิบรอฮีม ความเมตตาและความจำเริญของอัลลอฮฺจงมีแด่ท่าน แท้จริงอัลลอฮฺเป็นผู้ที่ควรได้รับการสรรเสริญและผู้ทรงได้รับการเทิดทูน’”(กุรอาน 11:69-73)

แหล่งที่มา : ชีวประวัตินบี 25 ศาสดา


#ประวัติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
#เรื่องเล่าคติเตือนใจ_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "ชีวประวัติท่านนบีอิสมาเเอล"

วันศุกร์ที่ 27 เมษายน พ.ศ. 2561

7 วิธีกับการต้อนรับรอมฏอน

7 วิธีกับการต้อนรับรอมฏอน



วิธีที่ 1 แสดงความปลื้มใจเนื่องในโอกาสต้อนรับเดือนรอมฎอน


ต้อนรับเดือนรอมฎอนด้วยการแสดงความยินดีและปลื้มใจ เช่นที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวเมื่อใกล้เดือนรอมฎอนว่า “เดือนรอมฎอนมายังพวกท่านแล้ว เดือนรอมฎอนเป็นเดือนอันมีความจำเริญยิ่ง อัลลอฮฺทรงบัญญัติให้พวกท่านถือศีลอดในเดือนนี้ ประตูต่างๆ ของสวรรค์จะถูกเปิด และประตูต่างๆ ของนรกจะถูกปิด” (บันทึกโดยอิมามอะหมัด)

บรรดาอัสสะละฟุศศอและฮฺจะแสดงความดีใจและเอาใจใส่กับการต้อนรับเดือนรอมฎอน เพราะเป็นสัญลักษณ์ของผู้ศรัทธา ที่จะปิติยินดีเมื่อมีโอกาสกระทำความดี อันเป็นหนทางสู่ความเมตตาของ อัลลอฮฺ (ซ.บ.)

แต่สำหรับผู้ที่อีมานอ่อนแอ รักใคร่ความชั่ว ย่อมเสียใจเมื่อเข้าสู่เดือนรอมฎอน เป็นอุปสรรคมิให้กระทำความชั่วและขัดขวางความสุขของตน คนกลุ่มนี้จำเป็นต้องปรับจิตใจ ขัดเกลาอารมณ์ใฝ่ต่ำ และตระหนักในโอกาสอันยิ่งใหญ่ที่พระองค์ทรงประทานมาในเดือนรอมฎอน เพื่อแสวงหาความอภัยโทษ และฉวยโอกาสนี้ในการเปลี่ยนแปลงชีวิตตนเองให้อยู่ภายใต้ร่มเงาของอิสลาม

วิธีที่ 2 ขอบคุณและตั้งใจทำความดีในเดือนรอมฎอน


อิมามนะวะวียฺกล่าวว่า พึงทราบเถิดว่าเป็นสิ่งที่ชอบให้ทุกคนกระทำเมื่อได้รับความโปรดปรานจาก อัลลอฮฺ (ซ.บ.) คือ สุญูดเพื่อขอบคุณหรือสรรเสริญพระองค์ การที่เราได้รับโอกาสถือศีลอดในเดือนรอมฎอนอีกครั้งหนึ่ง ถือเป็นความโปรดปรานอันยิ่งใหญ่ที่ควรขอบคุณอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ด้วยการปฏิบัติตัวให้เหมาะสมกับเนียอฺมะฮฺนี้ สำรวมตนทั้งคำพูดและการกระทำ ดังมีรายงานจากอบีฮุรอยเราะฮฺ ว่า ท่านร่อซูลุลลอฮฺ ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “ผู้ใดไม่ละเว้นการพูดเท็จและการกระทำที่เป็นเท็จ อัลลอฮฺก็ไม่ทรงประสงค์การอดอาหารและเครื่องดื่มของเขา” (บันทึกโดยอัลบุคอรียฺ)

มุสลิมบางคนยังไม่เข้าใจเป้าหมายแห่งการถือศีลอดที่แท้จริง จึงจำเป็นที่เขาจะต้องพยายามทำความเข้าใจเดือนรอมฎอนให้มากที่สุด เพื่อปรับปรุงอุปนิสัยและมารยาทของตน ให้สอดคล้องกับเป้าหมายของเดือนอันประเสริฐนี้

การตั้งใจกระทำความดีในเดือนรอมฎอน หาใช่เพียงการคิดฝันหรือความหวังอย่างเดียวไม่ แต่ต้องมีการวางแผนอย่างละเอียด และเตรียมมานะ (อะซีมัต) ให้เข้มข้น เพื่อให้มีความพร้อมสำหรับเดือนรอมฎอน ชาวอาคิเราะฮฺจะวางแผนเพื่อโลกหน้า ดังเช่นที่ชาวดุนยามักวางแผนเพื่อโลกนี้ ตัวอย่างในการวางแผนสำหรับเดือนรอมฎอน คือ การจัดตารางทำอิบาดะฮฺ และจัดการบริหารเวลาในเดือนนี้อย่างมีระบบ
ผู้ศรัทธาควรต้อนรับเดือนรอมฎอนด้วยการ ทำสัญญากับอัลลอฮฺ ให้พระองค์ทรงโปรดเอื้ออำนวยให้เราสามารถปฏิบัติอิบาดะฮฺอย่างจริงใจ และปฏิบัติตามคำมั่นสัญญานี้ด้วยความบริสุทธิ์ใจ เพราะพระองค์ทรงสัญญาไว้ความว่า “ดังนั้น หากพวกเขาจริงใจต่ออัลลอฮฺแล้ว ก็จะเป็นการดีแก่พวกเขา
และท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม เคยพูดกับซอฮาบะฮฺท่านหนึ่งว่า “ถ้าหากท่านจริงใจต่ออัลลอฮฺ อัลลอฮฺจึงจะจริงจังต่อท่าน

วิธีที่ 3 วิงวอน (ดุอาอฺ)


ท่านอนัสอิบนุมาลิก ได้รายงานว่า เมื่อถึงเดือนรอยับแล้ว ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม จะกล่าวว่า

اللَّهُمَّ بَارِكْ لَنَا فِيْ رَجَبَ وَشَعْبَانَ وَبَلِّغْنَا رَمَضَانَ

โอ้อัลลอฮฺ ขอให้เรามีความจำเริญในเดือนรอยับและเดือนชะอฺบาน และขอให้เราบรรลุสู่เดือนรอมฎอน
(บันทึกโดยอะหมัดและฏ๊อบรอนียฺ)

บรรดาอัสสะละฟุศศอลิหฺมักวิงวอนเป็นเวลาหลายเดือน เพื่อให้บรรลุถึงเดือนรอมฎอน และวิงวอนเพื่อให้อัลลอฮฺทรงตอบรับความดีงามที่ได้กระทำไว้ในเดือนรอมฎอนที่แล้ว และเมื่อมุสลิมเห็นจันทร์เสี้ยวของเดือนรอมฎอน เป็นซุนนะฮฺให้กล่าวดุอาอฺ

ดุอาอฺเห็นจันทร์เสี้ยวของต้นเดือน

اللهُ أَكْبَرُ . اللَّهُمَّ أَهِلَّهُ عَلَيْنَا بِالأَمْنِ وَالإِيْمَانِ وَالسَّلامَةِ
وَالإِسْلامِ وَالتَّوْفِيْقِ لِمَا تُحِبُّ وَتَرْضَى رَبِّيْ وَرَبُّكَ اللهُ . رواه الترمذي والدارمي وصححه ابن حبان

ความว่า : อัลลอฮฺทรงเกรียงไกร โอ้อัลลอฮฺ ขอให้ (จันทร์เสี้ยวนี้) ปรากฏต่อเราด้วยความสวัสดิภาพ ความศรัทธา ความปลอดภัย อิสลาม และทางนำในสิ่งที่พระองค์ทรงโปรดและพอพระทัย พระผู้อภิบาลของฉันและท่านคืออัลลอฮฺ
(บันทึกโดยติรมิซียฺและดาริมียฺ อิบนิฮิบบานกล่าวว่าศ่อเฮียะฮฺ)

วิธีที่ 4 กลับเนื้อกลับตัว (เตาบัต)


ควรต้อนรับเดือนรอมฎอนด้วยการตั้งใจออกห่างและละทิ้งความผิดทุกชนิด พร้อมทั้งกลับเนื้อกลับตัวอย่างบริสุทธิ์ใจ เพราะบรรดาผู้ศรัทธามีหน้าที่ต้องเตาบัต (กลับเนื้อกลับตัว) ทุกเวลา เมื่อถึงเดือนรอมฎอนจึงถือเป็นโอกาสทอง อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ตรัสไว้ความว่า “และพวกเจ้าทั้งหลายจงขอลุแก่โทษต่ออัลลอฮฺเถิด โอ้บรรดาผู้ศรัทธาเอ๋ย เพื่อพวกเจ้าจะได้รับชัยชนะ” (อันนูร 31)

เดือนรอมฎอนเป็นโอกาสดีที่จะเริ่มชีวิตใหม่อันขาวบริสุทธิ์และปราศจากมลทิน โดยตั้งใจคืนดีกับ
  • อัลลอฮฺ โดยปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นบ่าวของพระองค์
  • ร่อซูลของอัลลอฮฺ โดยปฏิบัติหน้าที่ในฐานะเป็นผู้ยืนหยัดในแนวทางของท่าน
  • ครอบครัว สังคม และสิ่งแวดล้อม ให้ชีวิตทั้งปวงขึ้นอยู่กับพระบัญชาของอัลลอฮฺ (ซ.บ.)
ชีวิตเช่นนี้ย่อมมีความสุขและประสบความสำเร็จแน่นอน

วิธีที่ 5 ศึกษาวิธีถือศีลอดตามบัญญัติอิสลาม


ต้อนรับเดือนรอมฎอนด้วยการแสวงหาความรู้เกี่ยวกับการถือศีลอด และปัญหาที่อาจเกิดขึ้นในเดือนรอมฎอน เพื่อเป็นการเตรียมตัวปฏิบัติอิบาดะฮฺอย่างถูกต้อง เราถูกใช้ให้ถามผู้รู้ในสิ่งที่เราไม่รู้ ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของทุกคนที่ต้องเอาใจใส่ความรู้ในเรื่องนี้ อย่าถือว่าเป็นเรื่องเล็ก เพราะผลกระทบจากการไม่รู้หลักการของการถือศีลอด อาจทำให้สูญเสียซึ่งผลบุญที่เรามุ่งมั่นแสวงหาอย่างขะมักเขม้น จึงทำให้พวกเราขาดทุนโดยไม่รู้สึกตัว

เป็นที่ปรากฏในสังคมอย่างมากมาย คือบุคคลที่กระทำความผิดโดยไม่รู้ หรือรู้แต่ไม่รอบคอบ จึงทำให้มีข้อบกพร่องมากมายในการปฏิบัติศาสนกิจ

วิธีที่ 6 เผยแผ่ความดีงามและคุณธรรมแห่งเดือนรอมฎอน


ในการรายงานของท่านอบูฮุรอยเราะฮฺ จากท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม กล่าวว่า “เมื่อถึงคืนแรกของเดือนรอมฎอน บรรดาชัยฏอนและผู้นำของมันจะถูกล่ามโซ่ และบรรดาประตูแห่งนรกจะถูกปิด โดยไม่มีประตูใดๆ ของมันจะถูกเปิด และบรรดาประตูแห่งสวรรค์จะถูกเปิด โดยไม่มีประตูใดๆ ของมันจะถูกปิด และผู้เรียกร้องจะกล่าวว่า โอ้ผู้ปรารถนาความดี จงมาเถิด โอ้ผู้ปรารถนาความชั่ว จงยุติเถิด และในทุกคืนอัลลอฮฺทรงปล่อยผู้คนจากนรก
(บันทึกโดยอิบนุคุซัยมะฮฺ)

ผู้ศรัทธาต้องต้อนรับเดือนรอมฎอนด้วย การเตรียมตัวเผยแผ่ความดีงามและคุณธรรมแห่งเดือนรอมฎอน ให้คนใกล้เคียงมีส่วนร่วมในการทำความดี เช่น เชิญชวนละหมาดมัสยิดทุกเวลา ละหมาดตะรอเวียะฮฺทุกคืน บริจาคทานทุกวัน อ่านอัลกุรอานให้มาก ระงับอารมณ์ให้หนักแน่น จัดบรรยายหรือนะศีหะฮฺสั้น ๆ สำหรับครอบครัว ญาติมิตร และเพื่อนฝูง ซึ่งจะสร้างบรรยากาศอันสวยงามในสังคมของเรา

วิธีที่ 7 ปลุกจิตสำนึกต่อความทุกข์ของประชาชาติอิสลาม


ผู้ศรัทธาควรต้อนรับเดือนรอมฎอนด้วยจิตสำนึกที่มีความห่วงใยต่ออนาคตของประชาชาติอิสลามทั้งมวล เพราะวันนี้สังคมมุสลิมทุกท้องที่อยู่ในสภาพที่น่าเป็นห่วงมาก มุสลิมทุกคนต้องรู้สึกรับผิดชอบระดับหนึ่งต่อหน้าที่แก้ไขปัญหาในสังคม เราต้องตระหนักว่าเดือนรอมฎอนเป็นเดือนแห่งความห่วงใยต่อพี่น้องมุสลิมทั้งปวง ดังที่ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม สอนว่า มุสลิมกับมุสลิมเปรียบเสมือนเรือนร่างเดียวกันหรืออาคารเดียวกัน

ในเดือนรอมฎอน ท่านนบี ศ็อลลัลลอฮุอะลัยฮิวะซัลลัม ประสบชัยชนะในสงครามบะดัร ซึ่งเป็นสงครามยิ่งใหญ่ที่พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงจำแนกระหว่างสัจธรรมและความเท็จ จึงเป็นบทเรียนที่ยอดเยี่ยมสำหรับเดือนรอมฎอนที่มีเป้าหมายยิ่งใหญ่กว่าเพียงงดอาหารหรือเครื่องดื่ม เป็นเคล็ดลับที่ต้องฟื้นฟูขึ้นในจิตใจพี่น้องมุสลิม อันเป็นวิถีทางในการเสริมสร้างบุคลิกภาพให้เข้มแข็ง เพื่อสามารถเผชิญกับอุปสรรคต่าง ๆ


แหล่งที่มา : เพจ อ่านวันละนิด จิตแจ่มใส โดย ลาลาโต


#เรื่องเล่าคติเตือนใจ_Islamic_Society_Online
#นานาทัศนคติ_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "7 วิธีกับการต้อนรับรอมฏอน"

วันพฤหัสบดีที่ 26 เมษายน พ.ศ. 2561

วีรสตรีแห่งมนุษยธรรม

วีรสตรีแห่งมนุษยธรรม



โดอา อัลซาเมล (Doaa Al-Zamel) ภาพประกอบจาก http://www.unhcr.org/5475d4626.html

เมื่อปลายปี 2014 เราอาจได้ยินข่าวการจมเรือผู้ลี้ภัยจากอัฟริกาและตะวันออกกลางในทะเลเมดิเตอเรเนียนโดยกลุ่มนักค้ามนุษย์ เหตุการณ์ในครั้งนั้นมีผู้รอดชีวิต 11 คนจากจำนวนผู้อพยพทั้งหมด 500 คนที่โดยสารกันมาอย่างแออัดในเรือขนาดเล็ก แต่เราอาจจะไม่เคยรับรู้เลยว่าเหตุการณ์ครั้งนั้นได้สร้างวีรสตรีผู้เป็นที่กล่าวขวัญกันอย่างกว้างขวางถึงความกล้าหาญและความมีมนุษยธรรมของเธอ

เรื่องราวที่ว่านี้เป็นเกิดขึ้นกับโดอา อัลซาเมล (Doaa Al-Zamel) สาวน้อยชาวซีเรียวัย 19 ปีที่ต้องหนีภัยสงครามในซีเรียและความลำบากในค่ายผู้อพยพของอียิปต์ที่เธอใช้เป็นที่ลี้ภัยมาแล้วกว่า 3 ปี โดอาตัดสินใจเดินทางออกจากค่ายผู้ลี้ภัยในอียิปต์เพราะเธอเห็นแล้วว่าหากใช้ชีวิตอยู่ที่นั่นต่อไปเธอคงเป็นคนไร้อนาคตอย่างแน่นอน เพราะสงครามในซีเรียก็ไม่มีท่าทีจะสิ้นสุด และสภาพของค่ายผู้อพยพในอียิปต์ก็ทำให้ชีวิตของเธอมีแต่ย่ำแย่ลงไปทุกวัน โดอากับบัซเซ็มคู่หมั้นของเธอตัดสินใจจ่ายเงินให้กับเรือที่ขนส่งผู้ลี้ภัยไปยังยุโรป แม้ทั้งสองจะเคยได้ยินความเลวร้ายของขบวนการค้ามนุษย์ที่อาศัยทำมาหากินอยู่กับผู้ลี้ภัย ในที่สุดทั้งสองก็ได้เดินทางมาในเรือลำหนึ่งที่บรรทุกผู้อพยพจากชาติต่าง ๆ ในอัฟริกาและตะวันออกกลางอีกประมาณ 500 ชีวิตที่อัดแน่นกันมาเต็มลำเรือเพื่อลี้ภัยไปยังประเทศในยุโรป

แต่แล้วเรือของโดอาก็ถูกจมลงอย่างโหดเหี้ยมโดยพวกนักค้ามนุษย์ที่ลักลอบพาพวกเขาข้ามฝั่ง โดอาเล่าว่าขณะที่พวกเขาจมเรือของผู้อพยพนั้นพวกนักค้ามนุษย์เหล่านั้นหัวเราะกันอย่างขบขันและสนุกสนาน แต่โดอาโชคดีที่สามารถคว้าห่วงยางชูชีพแบบเด็กเล่นไว้ได้ เธอจึงใช้อุปกรณ์เพียงชิ้นเดียวนี้เป็นทียึดเกาะเพื่อเอาชีวิตรอดในขณะที่เธอว่ายน้ำไม่เป็นและอยู่ในสภาวะขวัญผวา แต่ในไม่ช้าโดอาก็ต้องเผชิญหน้ากับความตายของเพื่อนร่วมลำเรือที่ลอยคออยู่รอบข้างและค่อย ๆ ทั้งตัวลงสู่มหาสมุทรไปทีละคนสองคน โดยหนึ่งในนั้นคือคู่หมั้นของเธอซึ่งกำลังพยุงตัวอยู่ในน้ำข้าง ๆ เธอและกำลังจะหมดแรงลงในไม่ช้า

วินาทีสำคัญมาถึงเมื่อพ่อของมาลิกทารกน้อยอายุ 9 เดือนขอให้โดอาช่วยรับเด็กน้อยไว้ในห่วงชูชีพเล็ก ๆ ของเธอเพราะเขากำลังจะหมดแรง โดอารับมาลิกไว้ในอ้อมกอดของเธอด้วยความเต็มใจ

แต่แล้ววินาทีที่เจ็บปวดที่สุดก็มาถึงเมื่อบัซเซ็มคู่หมั้นของเธอหมดแรงที่จะลอยตัวต่อไปและในที่สุดเขาก็ต้องกล่าวคำอำลาเธอก่อนจะจมดิ่งลงสู่ก้นบึ้งมหาสมุทรไปต่อหน้าต่อตา

แล้วโดอาก็ต้องเผชิญกับวินาทีสำคัญอีกครั้งเมื่อแม่ของมาซาเด็กน้อยวัย 1 ขวบครึ่งขอให้โดอาช่วยรับลูกสาวของเธอไว้ก่อนที่เธอจะหมดแรงจมน้ำไปอีกคน นับจากวินาทีนั้นโดอารู้ว่าสิ่งที่เธอพอจะทำได้มีเพียงการช่วยประคับประคองทั้งสองชีวิตไว้ในห่วงชูชีพเล็ก ๆ ที่เธออาศัยเอาชีวิตรอด เธอพยายามปลอบโยนเด็กทั้งสอง ร้องเพลง และอ่านถ้อยคำจากอัลกุรอานให้พวกเขาฟัง

แต่แล้ววินาทีสำคัญก็มาถึงอีกครั้งเมื่อแม่ของเด็กชายอายุ 4 ขวบคนหนึ่งขอให้โดอาช่วยรับเด็กน้อยไว้ในห่วงชูชีพเดียวกับเธอก่อนที่เธอจะจมน้ำไปอีกคน แต่ไม่นานนักเด็กน้อยคนนั้นกลับสิ้นชีวิตลงทำให้โดอาจำใจต้องปล่อยหนูน้อยคนนั้นลงน้ำไป เหลือเพียงเธอและอีกสองชีวิตน้อย ๆ ที่รายรอบไปด้วยซากศพที่มีสภาพขึ้นอืดน่ากลัวลอยอยู่รอบข้าง

และแล้วปาฏิหารย์ก็เกิดขึ้น ในค่ำคืนของวันที่สี่ที่โดอาและเด็กน้อยทั้งสองพยายามเอาชีวิตรอดอยู่ในห่วงชูชีพเล็กๆโดยปราศจากน้ำและอาหารก็มีเรือสินค้าลำหนึ่งของกรีกได้พบพวกเขาและพยายามช่วยชีวิตพวกเขาไว้ แต่โดอาก็ต้องรับรู้ข่าวร้ายว่าเด็กน้อยมาลิกได้จากเธอไปเสียแล้วหลังจากได้รับการช่วยเหลือได้ไม่นาน มีเพียงหนูน้อยมาซาเท่านั้นที่รอดชีวิตราวปาฏิหารย์

ทำไมคนที่กำลังจะตาย ตื่นตระหนก และไม่มีหนทางแม้จะช่วยเหลือตนเองถึงยังพยายามช่วยเหลืออีกสามชีวิตให้รอด ทำไมคนที่ต้องทิ้งบ้านเรือนของพวกเขาทั้งๆที่ไม่เต็มใจด้วยเหตุแห่งภัยสงครามซึ่งเกินกำลังที่พวกเขาจะหลีกเลี่ยง กลับได้รับการเหลียวแลจากเพื่อนมนุษย์ด้วยกันเพียงน้อยนิด ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านของซึเรียกำลังแบกรับภาระผู้อพยพที่หนีภัยสงครามกว่าครึ่งค่อนประเทศ ทำไมโลกที่ร่ำรวยกว่า ที่มีความเจริญรุ่งเรืองกว่าในทุกด้านถึงยินดีที่จะปล่อยให้เพื่อนมนุษย์ต้องเผชิญหน้ากับภัยสงครามเพียงลำพังโดยไม่ได้ยื่นมือเข้าไปช่วยเหลือ เหล่านี้คือคำถามที่ Melissa Fleming โฆษกของ UNHCR พยายามชี้ชวนให้เพื่อนมนุษย์ได้คิดตาม และช่วยกันแก้ปัญหาในสิ่งที่เราพอจะทำได้

รับฟังเรื่องราวของสาวน้อยโดอาจากคำบอกเล่าของ Melissa Fleming ได้ที่ https://www.youtube.com/watch?v=c00zfzk4gdg

อ่านเรื่องราวเพิ่มเติมได้ที่ http://www.unhcr.org/5475d4626.html

แหล่งที่มา : https://ssuraiya1.wordpress.com/


#วีรสตรีแห่งอิสลาม_Islamic_Society_Online
#ประชาชาติอิสลาม_Islamic_Society_Online
#เรื่องเล่าคติเตือนใจ_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "วีรสตรีแห่งมนุษยธรรม"

วันพุธที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2561

มุสลิมในศิลปวัฒนธรรมไทย

มุสลิมในศิลปวัฒนธรรมไทย


(โดย อาจารย์ อาลี เสือสมิง)


ส่วนหนึ่งจากการบรรยายพิเศษ “บทบาทโรงเรียนเอกชนสอนศาสนาและสถาบันปอเนาะในการสร้างสันติสุขชายแดนใต้” โดย อาจารย์ อาลี เสือสมิง



#บรรยายศาสนธรรม_Islamic_Society_Online
#ประวัติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
#อารยธรรมอิสลาม_Islamic_Society_Online
#นานาทัศนคติ_Islamic_Society_Online
#เรื่องเล่าคติเตือนใจ_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "มุสลิมในศิลปวัฒนธรรมไทย "

วันอังคารที่ 24 เมษายน พ.ศ. 2561

คนสุดท้ายที่จะได้เข้าสวรรค์

คนสุดท้ายที่จะได้เข้าสวรรค์



อับดุลลอฮฺ อิบนิมัสอูด รายงานว่า ท่านรอซูล (ซ.ล) ได้กล่าวว่า..

คนสุดท้ายที่จะได้เข้าสวรรค์ ก็คือผู้ชายคนนึง ที่เดินล้มลุกคลุกคลาน โดยไฟนรกจะตามเผาผลาญเขาจนใหม้เกรียม และเมื่อเขาผ่านพ้นไปได้เขาจะหันหลังมอง แล้วกล่าวว่า... ความจำเริญยิ่งแด่พระองค์ ผู้ทรงให้ฉันผ่านพ้นเจ้ามาได้ พระองค์อัลเลาะฮ์ทรงประทานให้แก่ฉัน โดยพระองค์มิได้ประทานแก่ผู้ใดก่อนหน้านี้ หรือหลังจากนี้ แล้วเขาได้มองเห็นต้นไม้ต้นนึง เขาจึงกล่าวว่า.... 

โอ้องค์อภิบาลของฉัน ขอให้ฉันได้เข้าใกล้ต้นไม่ต้นนั้นด้วยเถิด เพื่อฉันจะได้อาศัยร่มเงาของมัน และดื่มน้ำจากลำต้นของมัน 

ดังนั้นพระองค์อัลเลาะฮฺ จึงกล่าวว่า....

โอ้ลูกหลานของอาดัมเอ๋ย ถ้าข้าให้ตามที่เจ้าร้องขอ แล้วเจ้าจะยังขออะไรอีกใหม ?? 

เขากล่าวว่า.... ไม่ครับ โอ้องค์อภิบาล

และเขาให้สัญญาแก่พระองค์ว่าจะไม่ขออะไรอีกนอกจากนี้
องค์อภิบาลของเขาก็ทรงรับการร้องขอของเขา
ฉะนั้นเขาถูกนำมาใกล้ต้นไม้ ซึ่งเขาได้อาศัยร่มเงา และดื่มน้ำจากลำต้นของมัน

ต่อมาต้นไม้อีกต้นนึง ถูกทำให้ปรากฎขึ้นต่อหน้าเขา ซึ่งต้นไม้ต้นนี้สวยงามกว่าต้นแรก เขาจึงกล่าวว่า...

โอ้องค์อภิบาลของฉัน โปรดให้ฉันได้เข้าใกล้ต้นไม่ต้นนั้นด้วยเถิด เพื่อฉันจะได้อาศัยร่มเงาของมัน และดื่มน้ำจากลำต้นของมัน และฉันจะไม่ขออะไรไปมากกว่านี้อีกแล้ว 

พระองค์ทรงกล่าวว่า...

โอ้ลูกหลานอาดัมเอ๋ย เจ้าไม่ใด้ให้สัญญาหรอกหรือว่าจะไม่ขออะไรอีก ?

พระองค์ถามเขาว่า... ถ้าข้าให้เจ้าเข้าใกล้ต้นใม้นี้แล้ว เจ้ายังจะขอสิ่งอื่นนอกเหนือจากนี้อีกใหม ?
แล้วเขาให้สัญญาแก่พระองค์ว่าจะไม่ขออะไรไปมากกว่านี้แล้ว
ดั้งนั้นองค์อภิบาลของเขาก็ทรงรับการร้องขอของเขา
เขาจึงถูกนำมาใกล้ต้นไม้ และได้อาศัยร่มเงาของมัน และดื่มน้ำจากลำต้นของมัน

ต่อมาต้นไม้ต้นนึงใกล้ประตูสวรรค์ถูกทำให้ปรากฏแก่เขา ซึ่งมันสวยกว่าสองต้นแรก เขาจึงกล่าวว่า.....
โอ้พระองค์อภิบาลของข้า โปรดให้ฉันได้เข้าใกล้ต้นไม่ต้นนั้นด้วยเถิด เพื่อฉันจะได้อาศัยร่มเงาของมัน และดื่มน้ำจากลำต้นของมัน และฉันจะไม่ขอสิ่งอื่นนอกจากนี้อีกแล้ว

พระองค์กล่าวแก่เขาว่า...

โอ้ลูกหลานอาดัมเอ๋ย เจ้าไม่ใด้ให้สัญญาแก่ข้ารอกหรือว่าจะไม่ขออะไรอีกแล้ว ?

เขาตอบว่า...

ใช่ครับ แต่หากฉันได้สิ่งนี้แล้วฉันจะไม่ขออย่างอื่นอีก

และองค์อภิบาลของเขาก็ทรงรับการร้องขอของเขา
ดังนั้นเขาจึงถูกนำมาใกล้ต้นไม้นั้น และเมื่อเขาได้เข้าใกล้ต้นใม้นั้น เขาก็ได้ยินเสียงของชาวสวรรค์ (ทำให้เขาอยากที่จะเข้าไปข้างในสวรรค์) เขาจึงกล่าวว่า... 

พระองค์ทรงแกล้งฉันกระนั้นหรือ โอ้องค์อภิบาลแห่งโลกทั้งหลาย

และเขาก็กล่าวว่า.....
 
โอ้องค์อภิบาลของข้า ได้โปรดให้ฉันเข้าไปข้างสวรรค์ในด้วยเถิด

รายงานมาถึงตรงนี้ อิบนิมัสอู๊ด ก็หัวเราะ แล้วถามคนรอบข้างว่า..

พวกเจ้าไม่ถามรึว่าฉันหัวเราะทำไม 

พวกเขาถามว่า.. เพราะเหตใดเล่าที่ทำให้ท่านหัวเราะ ?

เขากล่าวว่า... เข่นนี้และ พอท่านรอซูล (ซ.ล) กล่าวถึงตรงนี้ท่านก็หัวเราะ แล้วเศาะฮาบะฮฺถามว่า... ท่านหัวเราะเพราะเหตใดหรือท่านศาสนทูตของอัลเลาะฮฺ ?

ท่านตอบว่า... ท่านเห็นองค์อภิบาลแห่งโลกทั้งหลายได้หัวเราะในขณะที่เขากล่าวว่า... "พระองค์ทรงแกล้งฉันกระนั้นหรือ โอ้องค์อภิบาลแห่งโลกทั้งหลาย"

ดังนั้นพระองค์ทรงกล่าวว่า..

" ข้ามีอำนาจที่จะทำในสิ่งที่ข้าประสงค์ "

และพระองค์กล่าวแก่เขาว่า...

เจ้าจะพอใจใหม ถ้าข้าให้โลกดุนยานี้กับเจ้าและอีกเท่าตัว.

วัลลอฮฺอะลัม

Cr. Faith Islam.


#God_Islamic_Society_Online
#ปาฏิหาริย์แห่งอิสลาม_Islamic_Society_Online
#เรื่องเล่าคติเตือนใจ_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "คนสุดท้ายที่จะได้เข้าสวรรค์"

วันจันทร์ที่ 23 เมษายน พ.ศ. 2561

รอมฎอน เดือนแห่งสุขภาพ

รอมฎอน เดือนแห่งสุขภาพ



รอมฎอน ‫كريم‬ ‫رمضان‬ 


รอมฎอน เป็นชื่อเดือนที่ 9 ในภาษาอาหรับตามปฏิทินทาง จันทรคติดั้งเดิม (ไม่มีการชดเชย) หนึ่งเดือนมีจำนวน 29-30 วัน แต่ละรอบปีก็จะนับถอยร้นขึ้นประมาณ 10-11 วันจากเดือนทางสุริยคติ ตามหลักการของศาสนาอิสลามแล้วเดือนรอมฎอนเป็น เดือนที่มีความสาคัญมาก มุสลิมทุกคนต่างรอคอยการมาเยือนของเดือนนี้ เพื่อปฏิบัติศาสนกิจที่ดีงามตามคำสั่งใช้ของพระผู้เป็นเจ้า “อัลลอฮฺซุบฮานาฮูวาตะอาลา” ศาสนกิจหนึ่งที่มุสลิมปฏิบัติใน เดือนนี้ คือ การถือศีล-อด

การถือศีล-อด ‫الصيام‬


ในศาสนาอิสลามถูกบัญญัติเป็น หลักปฏิบัติสาหรับมุสลิมทุกคนที่มีความสามารถ ยกเว้นเด็ก คนป่วย หญิงมีครรภ์หรือให้นมบุตร ผู้สูงอายุหรือคนชรา คนเดินทาง เป็นต้น ระยะเวลาของการถือศีล-อดจะเริ่มตั้งแต่ดวง อาทิตย์ขึ้นจนถึงตะวันลับขอบฟ้าของทุกวันจน ครบ 1 เดือน

นอกจากจะต้องอดอาหารและน้าแล้ว ยังต้องงดการมีเพศสัมพันธ์ การพูดจาไร้สาระ การ แสดงออกทางอารมณ์ที่ไม่เหมาะสม หรืออาจจะกล่าว ได้ว่า รอมฎอนเดือนของการทำความดีควบคู่กับการทดสอบความอดทน เป้าหมายสูงสุดของการถือศีล- อด คือ การยำเกรงต่อเอกองค์อัลลอฮฺ พระองค์จะช่วยปกป้ องจิตใจมิให้กระทำในสิ่งเลวร้ายและขัดต่อศีลธรรม หากเราตั้งเจตนา (เนียต) เพื่อพระองค์เท่านั้น

ข้อแนะนาสาหรับการถือศีล-อดที่ถูกต้องและควรปฏิบัติ

  1. ผู้ที่อยู่ในข่ายของการยกเว้นด้วยภาวะความ เจ็บป่วย ไม่สบาย ตั้งครรภ์หรือให้นมบุตร หรืออยู่ในวัยชรา ควรต้องปรึกษาแพทย์ที่ดูแลรักษาโรคประจำตัว เพื่อเตรียมความพร้อมล่วงหน้าทั้งด้านการให้ยา ด้านอาหารโภชนาการ การออกกาลังกาย ฯลฯ ภายใต้ คำแนะนำและการดูแลอย่างใกล้ชิดของแพทย์ ไม่ควรฝืนปฏิบัติ
  2. การละศีล-อดในแต่ละวันควรทำตามแบบอย่างจริยวัตร (ซุนนะฮฺ) ท่านศาสดานบีมุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) คือ ท่านจะไม่รับประทานอาหารหนักในทันทีเมื่อได้เวลา ละศีล-อด ซึ่งท่านจะทานผลอินทผลัม 1 -3 เม็ดหรือ ผลไม้อื่นๆ ดื่มน้ำหรือนม 1 แก้ว แล้วไปละหมาด มัฆริบ (ละหมาดเวลาค่ำ) เสร็จจากละหมาดท่านจึงจะรับประทานอาหาร
  3. ซุนนะฮฺหรือแบบอย่างประการหนึ่งที่ถูกละเลยคือ ท่านนบีมุฮัมหมัด (ศ็อลฯ) จะแปรงฟันโดยใช้ไม้ “ซิวาก”ทุกครั้งหลังจากทานอาหารและเมื่ออาบน้ำ ละหมาด ไม้“ซิวาก”มีลักษณะคล้ายไม้ข่อยของไทย แต่ปัจจุบันนิยมใช้แปรงสีฟันโดยไม่ใส่ยาสีฟัน (ระหว่าง ถือศีล-อด) ถ้าไม่มีไม้“ซิวาก” ทั้งนี้เพื่อเป็นการรักษาสุขภาพช่องปาก ลดการเกิดโรคฟันผุ เหงือกอักเสบ และกลิ่นปาก
  4. อาหารละศีล-อดควรให้ครบ 5 หมู่ หลีกเลี่ยงอาหาร หวานจัด เค็มจัด มันจัด หรือเผ็ดจัด ซึ่งเป็นอาหารที่ส่งผล เสียอย่างมากต่อสุขภาพร่างกาย โดยเฉพาะผู้ป่วย โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง หัวใจ กระเพาะหรือกรดไหลย้อน ควรงดการดื่มน้าเย็นจัด (น้าแข็ง) เพราะทำให้ เส้นเลือดในลาไส้หดตัวดูดซึมน้าและอาหารเข้าสู่กระแสเลือดได้น้อยจะทำให้รู้สึกแน่นท้องแต่ไม่หายหิว ดังนั้น แนะนำให้ดื่มน้ำอุ่นหรือน้ำธรรมดาแทนเพราะจะดีต่อสุขภาพ ไม่ควรดื่มน้าอัดลมทุกชนิด
  5. สาหรับผู้ที่ติดบุหรี่นับเป็นโอกาสดีที่จะเลิกสูบบุหรี่หรือสิ่งเสพติดอื่นๆ ได้ง่ายและทันที นอกจากจะ เป็นผลดีต่อสุขภาพของตนเอง ครอบครัว แล้วยังจะได้รับผลบุญมากมายในเดือนรอมฎอนอันประเสริฐนี้
  6. เมื่อเริ่มอดอาหาร ร่างกายจะหาพลังงานทดแทนโดยการเข้าย่อยสลายไขมันที่สะสมไว้ ตามเนื้อเยื่อต่างๆ เช่น บริเวณหน้าท้อง ใต้ ผิวหนัง ตับ ฯลฯ ทาให้เกิดอนุพันธ์คล้ายคีโตน ซึ่งทำให้เกิดอาการมึนศีรษะ คลื่นไส้ งุนงง หงุดหงิด อารมณ์รุนแรงฉุนเฉียวง่าย (โมโหหิว) วิธีระงับอารมณ์ดังกล่าวคือ การอาบน้าละหมาด ละหมาด และการหยุดพำพักในมัสยิด (อิอฺติกาฟ) อ่านอัล-กุรอ่านรวมทั้งการกล่าวรำลึกถึงอัลลอฮฺ (ซิกิรฺ) ให้มากๆ หากมีใครมาชวนทะเลาะหรือยั่วโมโห ให้บอกกับตนเองและผู้นั้น 3 ครั้งว่า“ฉันกำลังถือศีล-อด” การระงับหรือควบคุมอารมณ์ ทางจิตใจให้สงบ ส่งผลดีต่อสุขภาพร่างกายของตนเองโดยรวมทั้งยังช่วยเพิ่มภูมิต้านทานโรคและลดความดันโลหิตลงได้
  7. ทัศนะทางการแพทย์สมัยใหม่ยอมรับว่า การถือศีล-อดเป็น วิธีการรักษาโรคทางการแพทย์ทางเลือกวิธีหนึ่งที่ได้ผลอย่างมาก อาทิ โรคมะเร็ง เพราะเมื่อเซลล์มะเร็งขาดสารอาหารก็จะฝ่อตายไปเอง แม้กระทั่งการตรวจเลือดเพื่อหาพยาธิสภาพต่างๆ ก็จำเป็นต้องงดน้ำงดอาหารอย่างน้อย 6-8 ชั่วโมงจึงจะ ได้ผลถูกต้อง สาหรับผู้มีความจำเป็นต้องทานยา ปัจจุบัน เภสัชกรได้ผลิตยาที่ออกฤทธิ์นานขึ้น ทานเพียง 2 ครั้งต่อวัน แต่ควรปรึกษาแพทย์ที่ดูแลรักษาท่าน ไม่ควรเปลี่ยนยาหรือซื้อมาทานเองโดยเด็ดขาด
  8. รอมฎอนไม่ใช่เดือนของการถ่มหรือบ้วนน้ำลาย หากแต่เราลืมแปรงฟันหลังอาหารซะฮูรฺ (อาหารรุ่งเช้า) ทำให้น้ำลายเรายังหวานอยู่จากเศษอาหารที่ตกค้างตามซอกฟัน ผู้ใหญ่มักบอกให้เราบ้วนหรือถ่มน้าลายทิ้งบ่อยๆ เพราะรู้สึกกังวลกลัวว่ากำลังทานอาหารและมีกลิ่นปากตลอดเวลา ดังนั้นจงอย่าลืมแปรงฟัน หลังทานอาหารซะฮูรฺ และเวลาอาบน้าละหมาดโดยไม่ต้องใส่ ยาสีฟัน (ขณะถือศีล) ส่วนน้ำลายในปากนั้นสามารถกลืนลงคอได้ไม่เสียศีล-อด ที่สาคัญอีกประการหนึ่งคือ ก่อนเข้าเดือนรอมฎอนควรไปพบทันตแพทย์ตรวจเช็คทำความสะอาดเหงือก และฟัน เพื่อให้แน่ใจว่าไม่มีฟันผุหรือเหงือกอักเสบ
  9. การมีอาหารตกค้างในลำไส้ใหญ่ตลอดเวลาไม่เป็นผลดีต่อ ร่างกาย เพราะเป็นสาเหตุหนึ่งของการเป็นโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ที่พบกันมากในทุกวันนี้ การถือศีล-อดจึงเป็นโอกาสดีที่ทาให้ลำไส้ใหญ่สะอาดขึ้น แต่ระบบขับถ่ายอาจจะแปรปรวนไปบ้าง หากมีอาการท้องผูกควรทานผักผลไม้ให้มากๆ เพื่อช่วยในการย่อยอาหาร และขับถ่ายง่ายขึ้น ไม่ควรใช้ยาถ่ายหรือยาระบายโดยไม่จำเป็น
  10. ควรส่งเสริมและกระตุ้นให้เด็กๆ ฝึกถือศีล-อดเมื่ออายุ เริ่ม 6-7 ขวบโดยไม่ใช่การบังคับ ควรให้เด็กได้ซึมซับการทานอาหารซะฮูรฺ การอดน้าอดอาหารกลางวัน การทานอาหารละศีล-อดพร้อมๆ กันอย่างมีความสุข หากเด็ก หลงลืมดื่มน้ำหรือทานขนมก็ควรตักเตือนด้วยความรัก ไม่ดุด่าหรือตำหนิอย่างรุนแรง สาหรับผู้สูงอายุการขาดน้ำจะมีผลกระทบมากกว่าอาหาร ตามซุนนะฮฺท่านนบีฯ เคย อนุญาตให้อมน้าในปาก (ไม่กลืนหรือดื่ม) เพื่อลดอาการกระหายน้ำ
  11. สิ่งสาคัญของเดือนรอมฎอน คือการฝึกให้ทุกคน ไม่ว่าอยู่ในฐานะใดจะได้รับรู้ถึงภาวะความหิวโหย การขาดแคลนอาหารและน้ำซึ่งเป็นปัจจัยจำเป็นสาหรับ การดำเนินชีวิต ทำให้เกิดความเข้าใจ เห็นอกเห็นใจ แบ่งปันแก่ผู้ขัดสนยากจน สังคมจึงเป็นสังคมที่น่าอยู่ เพราะมีความสมบูรณ์ทั้งสุขภาพร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณอย่างแท้จริง
ทุกคราที่รอมฎอนมาเยือนเสมือนร่างกายและจิตใจ ได้รับการดูแล ซ่อมเสริมทั้งด้านสุขภาวะและ คุณธรรมจริยธรรมให้แข็งแกร่งพร้อมที่จะดาเนินชีวิตต่อไปอย่างมีความสุข หากเราเชื่อมั่นและมอบหมาย ต่อพระองค์”อัลลอฮฺซุบฮานาฮูวาตะอาลา” รอมฎอนของท่านก็จะเป็น รอมฎอน...เดือนแห่งสุขภาพ

แหล่งที่มา : https://www.slideshare.net/


read more "รอมฎอน เดือนแห่งสุขภาพ"

วันอาทิตย์ที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2561

ดุอาอฺในเดือนรอมฎอน

ดุอาอฺในเดือนรอมฎอน



1. ดุอาอฺละศีลอด


ذَهَبَ الظَمَأُ وَابْتَلَّتِ العُرُوقُ وَثَبَتَ الأَجْرُ إِن شَاءَ اللهُ

คำอ่าน "ซะฮะบัซ เซาะมะอุ วับตัลละติลอุรูก วะษะบาตัลอัจญ์รุ อินชาอัลลอฮฺ"

ความหมาย "ความกระหายได้หมดไปแล้ว เส้นโลหิตก็เปียกชื้น ผลบุญก็ได้รับแล้ว ด้วยความประสงค์ของอัลลอฮฺ"

2. ดุอาอฺแก่ผู้เชิญ (ให้อาหาร) ละศีลอด


أَفْطَرَ عِنْدَكُمُ الصَّائِمُوْنَ وَأَكَلَ طَعَامَكُمُ الأَبْرَاْرَ وَصَلَّتْ عَلَيْكُمُ الْمَلاَئِكَةُ

คำอ่าน "อัฟเฏาะเราะ อินดากุมุสศออีมูน วะอะกะละ เฏาะอามะกุมุล อับร้อร วะศ็อลลัต อะลัยกุมมุล มะลาอิกะฮฺ"

ความหมาย "เหล่าผู้ถือบวชได้ละศีลอดกับท่าน เหล่าผู้ประเสริฐได้ทานอาหารของท่าน และบรรดามลาอิกะฮฺได้ขอพรให้ท่านแล้ว"

3. ดุอาอฺคืน ลัยละตุล ก็อดรฺ


اللَّهُمَّ إِنَّكَ عَفُوٌّ تُحِبُّ الْعَفْوَ فَاعْفُ عَنِّيْ

คำอ่าน "อัลลอฮุมมะ อินนะกะ อะฟุวฺว่น ตุฮิบบุลอัฟวะ ฟะอฺฟุอันนี"

ความหมาย "โอ้ผู้อภิบาลของเรา แท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้อภัยยิ่งและพระองค์ทรงรักการให้อภัย ดังนั้นขอได้โปรดประทานอภัยแก่ข้าพระองค์ด้วยเถิด"

4. ดุอาเมื่อมีคนมาด่าทอ


إِنِّي صَائِمٌ، إِنِّي صَائِمٌ

คำอ่าน “ อินนี ศออิมุ่น , อินนี ศออิมุ่น

ความหมาย “แท้จริง ฉันกำลังถือศีลอด, แท้จริง ฉันกำลังถือศีลอด

5. ดุอาที่ดีที่สุด (ซัยยิดุลอิสติฆฟารฺ)


اَللَّهُمَّ أَنْتَ رَبِّي، لاَ إِلَهَ إِلاَّ أَنْتَ، خَلَقْتَنِي وَأَنَا عَبْدُكَ، وَأَنَا عَلَى عَهْدِكَ وَوَعْدِكَ مَا اسْتَطَعْتُ ، أَعُوْذُ بِكَ مِنْ شَرِّ مَا صَنَعْتُ، أَبُوْءُ لَكَ بِنِعْمَتِكَ عَلَيَّ، وَأَبُوْءُ بِذَنْبِي فَاغْفِرْ لِي، فَإِنَّهُ لاَ يَغْفِرُ الذُّنُوْبَ إِلاَّ أَنْتَ

คำอ่าน “ อัลลอฮุม อันตะร็อบบี, ลาอิลาฮะอิลละอันตะ เคาะลักตะนี วะอะนาอับดุกะ, วะอะนาอะลาอะฮฺดิกะ วะวะอฺดิกะ มัสตะเฏาะอฺตุ อะอูซุบิกะ มินชัรริมาเศาะนะอฺตุ, อะบูอุละกะบินิอฺมะติกะอะลัยยะ วะอะบูอุ บิซัมบี ฟัฆฺฟิรฺลี ฟะอินนะฮู ลายัฆฺฟิรุซุนูบะ อิลลาอันตะ

ความหมาย “ โอ้อัลลอฮฺ พระองค์คือพระเจ้าของข้า ไม่มีพระเจ้าอื่นใดที่แท้จริงนอกจากพระองค์เท่านั้น พระองค์ได้สร้างข้าขึ้นมา และข้าก็เป็นบ่าวของพระองค์แต่เพียงผู้เดียว และข้ายอมรับกับสัญญาของพระองค์ทั้งที่ดี(สวรรค์)และที่ชั่ว(นรก) ในสิ่งที่ข้าได้พยายามแล้ว ข้าขอให้พระองค์ได้โปรดขจัดสิ่งที่ไม่ดีจากการกระทำของข้า ข้าจะกลับไปหาพระองค์ด้วยความโปรดปรานของพระองค์ที่ได้ทรงประทานให้แก่ข้า และด้วยบาปของข้าที่ได้ก่อมันไว้ ดังนั้นขอให้พระองค์ทรงอภัยโทษให้แก่ข้าด้วยเถิด เพราะแท้ที่จริงแล้วไม่มีผู้ใดที่สามารถจะให้อภัยโทษได้ นอกจากพระองค์เท่านั้น

6. ดุอาอฺทั่วไป


اللَّهُمَّ إِنِّيْ أَسْأَلُكَ الْهُدَى وَالتُّقَى وَالْعَفَافَ وَالْغِنَى

คำอ่าน "อัลลอฮุมมะ อินนี อัซอะลุกัลฮูดา วัตตูกอว์ วัลอะฟาฟ วัลฆินา"

ความหมาย "โอ้องค์อภิบาลของเรา ข้าพระองค์ขอการชี้นำ การยำเกรง ความบริสุทธิ์จากตัณหา และความรู้สึกพอเพียง"

اللَّهُمَّ مَغْفِرَتُكَ أَوْسَعُ مِنْ ذُنُوْبِيْ وَرَحْمَتُكَ أَرْجَى عِنْدِيْ مِنْ عَمَلِيْ

คำอ่าน "อัลลอฮุมมะ มัฆฟิเราะตุกะ เอาสะอฺ มินซุนูบี วะเราะหฺมะตุกะ อัรญา อินดี มินอะมะลี"

ความหมาย "โอ้องค์อภิบาลของเรา การอภัยของพระองค์ยิ่งใหญ่กว่าบาปของข้าพระองค์นัก ความเมตตาของพระองค์ คือสิ่งที่ข้าพระองค์หวังมากกว่าการงานที่ข้าพระองค์ได้ทำเสียอีก"

اللَّهُمَّ آتِ نَفْسِيْ تَقْوَاهَا وَزَكِّهَا أَنْتَ خَيْرُ مَنْ زَكَّاهَا أَنْتَ وَلِيُّهَا وَمَوْلاَهَا

คำอ่าน "อัลลอฮุมมะ อาตินัฟซี ตักวาฮา วะซักกิฮา อันตะ ค็อยรุ มัน ซักกาฮา อันตะ วะลิยฺยุฮา วะเมาลาฮา"

ความหมาย "โอ้องค์อภิบาลของเรา ได้โปรดประทานความยำเกรงให้แก่จิตของข้า และขอพระองค์ทรงล้างมันให้บริสุทธิ์ เพราะพระองค์คือผู้ที่ดีที่สุดที่ชะล้างมันให้สะอาด พระองค์เป็นเจ้าและผู้อภิบาลมัน"

Cr. Muham Mas Dawood


#เรื่องเล่าคติเตือนใจ_Islamic_Society_Online
#นิติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "ดุอาอฺในเดือนรอมฎอน"

วันเสาร์ที่ 21 เมษายน พ.ศ. 2561

ชีวประวัติท่านนบีลูฏ

ชีวประวัติท่านนบีลูฏ


ประวัติ นบีลูฏ อะลัยฮิสสลาม

นบีอิบรอฮีมได้ออกจากอียิปต์พร้อมกับลูฏหลานชาย ซึ่งต่อมาได้เดินทางต่อไปยังเมืองสะดูม (โซดอม) ที่อยู่บนฝั่งตะวันตกของทะเลตาย

เมืองนี้เต็มไปด้วยความชั่วช้า ผู้คนในเมืองคอยดักปล้นอยู่ข้างทางและฆ่านักเดินทาง ความชั่วอีกอย่างหนึ่งที่เป็นเรื่องปกติของคนในเมืองนี้ก็คือการที่ผู้ชายมีความสัมพันธ์ทางเพศกับผู้ชายด้วยกันแทนที่กับมีความสัมพันธ์กับผู้หญิงการกระทำอันเลวทรามผิดธรรมชาติต่อมาได้เป็นที่รู้จักกันในคำว่า “รักร่วมเพศ” (โซโดมี ตามชื่อเมือง) และเป็นการกระทำกันอย่างเปิดเผยโดยไม่มีความละอาย

ในช่วงเวลาที่อาชญากรรมความชั่วและบาปประเภทนี้กำลังแพร่หลายนี่เองที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้ดลใจให้นบีลูฏเรียกร้องผู้คนให้ละทิ้งพฤติกรรมอันน่าขยะแขยงดังกล่าวของพวกเขา แต่ชาวเมืองได้จมดิ่งอยู่กับผิดศีลธรรมจนพวกเขาไม่ยอมฟังคำเรียกร้องของนบีลูฏ พวกเขาปฏิเสธที่จะฟัง แม้นบีลูฏจะเตือนพวกเขาถึงการลงโทษของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ก็ตาม ไม่เพียงแต่เท่านั้น พวกเขายังขู่ที่จะขับไล่เขาออกจากเมืองด้วยถ้าหากเขายังขืนเผยแพร่อยู่ต่อไป

อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้ทรงออกเผยให้เราทราบว่า : “หมู่ชนของลูฏก็ปฏิเสธบรรดารอซูล จงนึกถึงเมื่อ ตอนที่พี่น้องคนหนึ่งของเขาคือลูฏได้กล่าวแก่พวกเขาว่า‘พวกท่านไม่กลัวหรือ? แท้จริง ฉันเป็นรอซูลคนหนึ่งที่ซื่อสัตย์ไว้ใจได้ยังพวกท่าน ดังนั้น จงเกรงกลัว อัลลอฮฺ และจงเชื่อฟังฉัน ฉันมิได้ขอสิ่งตอบแทนใดๆจากพวกท่าน ในการทำหน้าที่นี้ เพราะรางวัลของฉันอยู่ที่พระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก พวกท่านเข้าหาผู้ชายจากที่มีอยู่ในโลกนี้ทั้งหมด และทิ้งที่พระผู้อภิบาล ของพวกท่านได้สร้างขึ้นมาให้เป็นภรรยาของพวกท่านกระนั้นหรือ ? พวกท่านนี่เป็นผู้ฝาฝืนขอบเขตทุกอย่าง’พวกเขากล่าวว่า ‘นี่ ลูฏ ถ้าท่านไม่หยุด ท่านจะถูกรวมอยู่กับพวกที่จะถูกขับไล่ออกไปจากเมืองของพวกเรา’ เขากล่าวว่า‘ฉันขยะแขยงการกระทำของพวกท่านจริงๆ ข้าแต่พระผู้อภิบาล โปรดทรงช่วยฉันและคนของฉันให้พ้นจากความชั่วที่คนพวกนี้ได้กระทำด้วยเถิด’ แล้วเราก็ได้ช่วยเขาและคนของเขาทั้งหมดให้ปลอดภัย ยกเว้นหญิงแก่คนหนึ่งที่ยังคงอยู่ข้างหลัง” (กุรอาน 26:160-171)

การกระทำของผู้คนทำให้นบีลูฏรู้สึกเสียใจมาก คำเล่าลือถึงความเลวร้ายของชาวเมืองนี้แพร่ไปทั่วแผ่นดินในขณะที่ลูฏได้ต่อสู้กับชาวเมือง หลายปีผ่านไปนบีลูฏยังคงปฏิบัติภารกิจของเขา แต่ก็ไม่เกิดผลใดๆ ไม่มีใครตอบสนองคำเรียกร้องของเขาและเชื่อเขา ยกเว้นสมาชิกบางคนในครอบครัวของเขาเท่านั้น แม้แต่ภรรยาของเขาก็ยังเป็นผู้ปฏิเสธ

อัลลอฮฺได้ทรงประกาศว่า : “อัลลอฮฺทรงยกเอาภรรยาของนูฮฺและลูฏขึ้มาเป็นตัวอย่างสำหรับบรรดาผู้ปฏิเสธ พวกนางแต่งงานกับบ่าวผู้ดีงามทั้งสองของเรา แต่นางทั้งสองได้ทรยศต่อสามีของนาง และเขาทั้งสองไม่สามารถช่วยอะไรนางจากอัลลอฮฺได้ ทั้งสองได้ถูกกล่าวว่า ‘จงเข้าไปในไฟนรกพร้อมกับคนอื่นๆที่จะเข้าไปในนั้นเถิด’” (กุรอาน 66:10)

ถ้าหากว่าบ้านคือสถานที่ที่สะดวกสบายและเป็นสถานที่พักผ่อน นบีลูฏก็ไม่พบอะไรเลยในบ้านของเขา เพราะต้องทนทุข์ภายในและภายนอกของเขาชีวิตของเขายังถูกทรมานและเจ็บปวดอย่างมากแต่เขาก็ยังคงอดทนและมั่นคงต่อคนของเขา หลายปีผ่านไปโดยที่ยังไม่มีใครเชื่อเขา ไม่เพียงแต่เท่านั้นพวกเขายังดูถูกคำสอนของเขาและถากถางท้าทายเขาด้วยว่า :“จงนำเอาการลงโทษของอัลลอฮฺมาสิ ถ้าหากท่านพูดจริง” (กุรอาน 29:29)

ด้วยความสิ้นหวัง นบีลูฏจึงได้วิงวอนต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) ให้ประทานชัยชนะแก่เขาและให้พระองค์ทำลายความเสื่อมเสียให้หมดทั้งสิ้น ดังนั้น มลาอิก๊ะฮฺจึงได้ออกมาจากบ้านของนบีอิบรอฮีมและมุ่งหน้าสู่เมืองโซดอม พวกเขามาถึงกำแพงเมืองในตอนเย็น คนแรกที่มองเห็นมลาอิก๊ะฮฺในร่างกายมนุษย์ทั้งสามคือลูกสาวของนบีลูฏที่กำลังนั่งตักน้ำอยู่ข้างแม่น้ำ เมื่อเธอเงยหน้าขึ้นมาเห็นคนทั้งสาม เธอต้องตกตะลึงเพราะเธอไม่เคยเห็นคนที่รูปร่างหน้าตาดีอย่างนี้มาก่อนบนโลก

หนึ่งในชายทั้งสามได้ถามเธอว่า “สาวน้อย มีที่พักสักแห่งไหม?” ด้วยการรู้นิสัยใจคอของคนในเมือง เธอได้ตอบว่า “จงอยู่ที่นี่ก่อนและจงอย่าเข้าเมืองจนว่าฉันจะบอกให้พ่อของฉันได้รู้และกลับมา” หลังจากนั้น เธอก็ทิ้งเหยือกน้ำไว้และรีบวิ่งกลับบ้านทันที

พ่อ” เธอตะโกนร้องเสียงดัง “มีผู้ชายหนุ่มสามคนต้องการพบพ่อที่ประตูเมืองฉันไม่เคยเห็นหน้าของพวกเขามาก่อนเลย

ด้วยความรู้สึกวิตก นบีลูฏรีบวิ่งไปยังผู้มาเยือน เขาได้ถามคนเหล่านั้นว่ามาจากไหนและจะไปไหน
พวกเขาไม่ตอบคำถามของนบีลูฏ แต่กับถามว่าเขาจะต้อนรับพวกเขาได้ไหม นบีลูฏได้เริ่มพูดกับพวกเขา และพยายามเน้นให้พวกเขาได้รู้ถึงลักษณะนิสัยของผู้คนของเขา นบีลูฏรู้สึกไม่สบายใจเป็นอย่างมาก เขาต้องการที่จะทำให้แขกของเขาเชื่อในสิ่งที่เขาพูดว่าอย่าได้เข้าไปค้างคืนที่นั่นโดยไม่ได้รบเร้าคนเหล่านั้น แต่ขณะเดียวกันเขาก็ต้องการที่จะให้การต้อนรับแขกแปลกหน้าด้วยความอบอุ่นตามที่ควรจะต้องให้แก่ผู้มาเยือน แต่ความพยายามของเขาไม่สามารถทำให้แขกของเขาเข้าใจถึงสถานการณ์อันน่ากลัวได้ ในที่สุด เขาก็ขอร้องให้แขกของเขาคอยจนกระทั่งถึงเวลากลางคืนเสียก่อน เพราะจะได้ไม่มีใครเห็นพวกเขา


เมื่อถึงเวลากลางคืน นบีลูฏก็นำแขกของเขาไปยังบ้านของเขา ตอนนั้นไม่มีใครรู้ว่าพวกเขาอยู่ที่นั่น อย่างไรก็ตาม เมื่อภรรยาของลูฏเห็นคนเหล่านั้น นางก็แอบออกจากบ้านอย่างเงียบๆ โดยที่ไม่มีใครสังเกต นางรีบไปหาคนของนางอย่างรวดเร็วพร้อมกับบอกข่าวเรื่องของผู้แปลกหน้า ไม่นานหนัก ข่าวนั้นแพร่ออกไปเหมือนกับไฟไหม้ป่า ผู้คนก็รีบมายังบ้านของลูฏด้วยความตื่นเต้น นบีลูฏประหลาดใจเป็นอย่างมากที่ผู้คนรู้ถึงเรื่องแขกของเขา และเขาแปลกใจว่าใครเป็นคนที่บอกคนเหล่านั้นในที่สุด เมื่อเขาไม่เห็นภรรยาของเขาอยู่ในบ้าน เขาก็รู้ชัดขึ้นมาทันทีและมันทำให้เขารู้สึกเศร้าใจมากยิ่งขึ้น

เมื่อนบีลูฏเห็นฝูงชนเข้ามาใกล้บ้านเขา เขาได้ปิดประตู แต่ผู้คนก็ยังคงทุบประตูอยู่ เขาได้อ้อนวอนผู้คนให้ปล่อยผู้มาเยือนไว้ตามลำพังและให้เกรงกลัวการลงโทษของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) เขาบอกผู้คนเหล่านั้นให้กลับไปเสพสุขกับภรรยาของพวกเขาเพราะนั่นเป็นสิ่งที่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงอนุมัติ

ผู้คนของนบีลูฏได้คอยอยู่จนกระทั่วเขาพูดจบ แต่เมื่อเขาพูดจบแล้ว ผู้คนทั้งหลายก็หัวเราะกันอย่างสนุกสนาน ด้วยความมัวเมาในตัณหาจนตาบอด พวกเขาพังประตูเข้ามา นบีลูฏสึกโกรธมาก แต่เขาก็ไม่มีกำลังที่จะไปต่อต้านคนที่รุนแรงเหล่านี้ เขาไม่สามารถป้องกันการล่วงละเมิดต่อแขกของเขา แต่เขาก็ยังคงยืนหยัดขอร้องฝูงชนอยู่ต่อไป

ในช่วงเวลาอันน่ากลัวนั้น เขาอยากที่มีพลังผลักผู้คนออกไปจากแขกของเขา เมื่อแขกของนบีลูฏเห็นเขาช่วยตัวเองไม่ได้ พวกเขาจึงได้กล่าวว่า “ไม่ต้องกังวลหรือตกใจ ลูฏ เพราะเราคือมลาอิก๊ะฮฺ และพวกคนเหล่านี้จะทำร้ายท่านไม่ได้

เมื่อได้ยินเช่นนั้น ผู้คนก็ตกใจกลัวและหนีออกไปจากบ้านของนบีลูฏพร้อมกับคำขู่อาฆาต มลาอิก๊ะฮฺได้เตือนนบีลูฏให้ออกจากบ้านของเขาก่อนที่ดวงอาทิตย์จะขึ้นและให้นำคนในครอบครัวของเขาทั้งหมดไปด้วยยกเว้นภรรยาของเขา

อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้ออกคำสั่งมาแล้วว่าเมืองโซดอมจะต้องถูกทำลาย ดังนั้น แผ่นดินไหวจึงเกิดขึ้นทำให้เมืองโซดอมต้องสั่นสะเทือนเหมือนกับมีอำนาจอันทรงพลังยกเมืองทั้งเมืองขึ้น และโยนมันลงมาอย่างแรงในคราวเดียว หลังจากนั้น พายุหินก็ตกลงมาบนเมือง ทุกคนและทุกสิ่งได้ถูกทำลายรวมทั้งภรรยาของนบีลูฏด้วย

อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้ทรงเล่าเรื่องนี้ให้เราได้ทราบว่า “แล้วจงบอกพวกเขาถึงเรื่องราวของแขกของอิบรอฮีม เมื่อพวกเขา ได้มายังเขา พวกเขาได้กล่าวว่า ‘สันติมีแด่ท่าน’ แต่เขาได้ตอบว่า ‘เรากลัวพวกท่าน’ พวกเขาจึงกล่าวว่า ‘จงอย่ากลัวเราเลย เราจะแจ้งข่าวดีแก่ท่านถึงเรื่องเด็กที่มีความฉลาดหลักแหลมคนหนึ่ง’ อิบรอฮีมกล่าวว่า ‘พวกท่าน มาบอกข่าวดีว่าฉันจะมีลูกในตอนที่ฉันอยู่ในวัยชราอย่างนี้กระนั้น หรือ? ข่าวดีอะไรกันที่พวกท่านบอกฉัน’ พวกเขากล่าวว่า ‘เราแจ้งข่าวดีกับท่านจริงๆ ดังนั้น ท่านจงอย่าเป็นผู้สิ้นหวัง’อิบรอฮีมได้ตอบว่า ‘จะมีก็แต่คนหลงผิดเท่านั้นที่สิ้นหวังในความเมตตาของพระผู้อภิบาลของเขา’ แล้วเขาก็ถามพวกเขาว่า ‘พวกท่านได้ถูกส่งมาด้วยเหตุอันใดหรือ?’พวกเขากล่าวว่า ‘เราถูกส่งมายังหมู่ชนผู้ทำผิด ยกเว้นครอบครัวของลูฏ เราจะช่วยพวกเขาทั้งหมด ยกเว้นภรรยาของเขาที่ได้ถูกกำหนดไว้แล้ว ว่าจะยังคงอยู่กับบรรดาผู้ที่อยู่ข้างหลัง’ หลังจากนั้น เมื่อบรรดาทูตเหล่านี้ได้มายังบ้านของลูฏ เขากล่าวว่า ‘พวกท่านดูเหมือนคนแปลกหน้า’ พวกเขากล่าวว่า ‘มิได้ เรามาหา ท่านด้วยเรื่องที่ผู้คนเหล่านี้สงสัย เราขอบอกความจริงแก่ท่านว่าเรามาหาท่านพร้อมกับความจริง (ข่าวการทำลายชนชาติของท่าน) ดังนั้น ท่านกับครอบครัวของท่านจงเดินทางออกไปในยามสุดท้ายของกลางคืน และตัวของท่านเองควรจะตามหลังพวกเขา และจงอย่าให้ใครในหมู่พวกท่านหันกลับมามองข้างหลัง แต่จงมุ่งตรงไปตามที่พวกท่านถูกบัญชา’ และเราได้แจ้งเขาถึงคำบัญชาของเราว่าพวกเขาจะถูกทำลายอย่างเด็ดขาด

ภายในยามเช้านี้ และชาวเมืองได้วิ่งกรูกันมาอย่างสนุกสนานยังบ้านของลูฏ เขากล่าวว่า ‘คนเหล่านี้คือแขกของฉัน ดังนั้น ขอจงอย่าทำให้ฉันต้องเสียเกียรติเลย จงเกรงกลัวอัลลอฮฺ และจงอย่าทำให้ฉันต้องอับอายขายหน้า’ พวกเขา ตอบว่า ‘เราไม่ได้ห้ามท่านต้อนรับ (หรือคุ้มครอง) คนแปลกหน้าจากเรามิใช่หรือ?’ ลูฏกล่าวว่า ‘นี่ (ผู้หญิงในชาติ) คือลูกสาวของฉัน (ที่จะแต่งงานได้อย่างถูกต้อง) ถ้าหากท่านต้องการ’ขอสาบานด้วยชีวิตของเจ้า (โอ้ มุฮัมมัด) ในเวลานั้น พวกเขาตกอยู่ใต้ อารมณ์ใฝ่ต่ำอย่างหน้ามืดตามัว ในที่สุด การระเบิดอย่างรุนแรงก็เกิดขึ้นแก่พวกเขาในยามเช้า เราได้พลิกเมืองนั้นคว่ำลงและได้กระหน่ำ พวกเขาด้วยหินเผาที่ตกมาดุจห่าฝน แท้จริง ในเรื่องราวนี้สัญญาณ หลายอย่างแก่คนที่มีความเข้าใจ และดินแดนที่ถูกทำลายนี้ก็ยังคงอยู่ บนเส้นทางสัญจร (จากมักก๊ะฮฺถึงซีเรีย) แท้จริง ในนั้นมีสัญญาณสำหรับ บรรดาผู้ศรัทธา” (กุรอาน 15:51-77) 

อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ได้ทรงกล่าวว่า: “แล้วเราก็ได้ช่วยเขาและคนของเขาทั้งหมด ให้ปล่อยภัย ยกเว้นหญิงแก่คนหนึ่งที่อยู่ในหมู่ผู้อยู่ข้างหลัง หลังจากนั้น เราก็ได้ทำลายคนอื่นที่เหลือทั้งหมด และเราได้ให้ฝนอันน่าสะพรึงกลัว ตกลงมายังหมู่คนที่ถูกตักเตือน แท้จริง ในนั้นมีสัญญาณหนึ่ง แต่พวกเขาส่วนใหญ่ไม่ศรัทธา และแท้จริง พระผู้อภิบาลของเจ้าเป็นผู้ทรงอำนาจผู้ทรงเมตตาเสมอ” (กุอาน 26:170-175)

ผู้คนของนบีลูฏได้ถูกทำลายจบสิ้นไปแล้ว เมืองและชื่อของพวกเขาได้ถูกลบออกจากแผ่นดิน และพวกเขาถูกทำให้สูญสิ้นไปจากความทรงจำ

หลังจากนั้น นบีลูฏได้ไปหานบีอิบรอฮีม และเมื่อเขาเล่าเรื่องราวของคนของเขาให้นบีอิบรอฮีมฟัง เขาก็แปลกใจที่รู้ว่านบีอิรอฮีมรู้เรื่องนี้แล้ว แต่อย่างไรก็ตามนบีลูฏก็ยังคงเชิญชวนผู้คนไปสู่อัลลอฮฺ (ซ.บ.) เหมือนกับนบีอิบรอฮีมผู้อดทน ผู้ที่หันไปหาอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ด้วยการขออภัย และทั้งสองคนยังคงยึดมั่นในภารกิจของพวกเขาต่อไป
read more "ชีวประวัติท่านนบีลูฏ"

บทความแนะนำ

World Clock

Featured Posts

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม โดย : Cem Nizamoglu และ Sairah Yassir-Deane ย้อนหลังไปถึงมีนาคม 2015 ข่าวเกี่ยวก...