มุสลิมโรฮิงยา แห่งอาณาจักรอาระกัน ประวัติศาสตร์ที่พม่ารับไม่ได้
เหรียญกษาปณ์ ที่ทำขึ้นใน ศตวรรษที่ 16 และภาพเขียนเกี่ยวกับอาณาจักรอาระกันดังในบทความ เป็นหลักฐานยืนยันว่า อาณาจักรอาระกัน นับตั้งแต่ศตวรรษที่ 14 (ค.ศ.1345) อยู่ภายใต้การปกครองของอิสลาม มาจนกระทั่งศตวรรษที่ 18 (ค.ศ.1784)
ทั้งนี้อิสลามแพร่หลายในเขตอาระกัน มาตั้งแต่ศตวรรษ ที่ 9 ( ค.ศ.877) ในยุคสมัยของคอลีฟะฮ์ฮารูน อัรรอชีด แห่งราชวงศ์อับบาซียะฮ์
มีการเล่าขานกันว่า ดินแดนอาระกันเคยเป็นแหล่งแวะพักของท่านสะอัด บินอบูวักกอศ ซอฮาบะฮ์ผู้ใหญ่ ขณะเดินทางไปดะวะฮ์ยังประเทศจีน
ชนชาติหนึ่งของโลกที่นับถือศาสนาอิสลาม 100 % คือชาวโรฮิงยาในอาณาจักรอาระกัน
ความพ่ายแพ้ต่อพม่าในปี ค.ศ.1784 และการถูกยึดครองโดยอังกฤษ ในปี ค.ศ.1824 จนถึงการแบ่งปันดินแเดนบางส่วนให้พม่าในปี ค.ศ.1948 และบางส่วนให้แก่อินเดียซึ่งต่อมากลายมาเป็นปากีสถานตะวันออก ในปี ค.ศ. 1947 จนสู่การเป็นบังกลาเทศในปี 1971 ท่าเรือใหญ่สุดในเมืองจิตรตะกอง เคยเป็นส่วนหนึ่งของโรโฮิงยามาก่อน
อนุสาวรีย์จอมพลวิลเลี่ยม โจเซฟ สลิม นายทหารในกองทัพบริติชอินเดีย ที่ตั้งอยู่ที่กรุงลอนดอน ตรงข้ามกับสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ถนน 10 ดาวนิ่ง ที่อนุสาวรีย์มีการแกะสลักรัฐต่างๆที่อยู่ภายใต้การปกครองของจอมพลวิลเลี่ยมนี้ หนึ่งในนั้นคืออาณาจักรอาระกัน ที่แยกต่างหากจากพม่า
ทั้งนี้จอมพลวิลเลี่ยมเคยได้รับการแต่งตั้งเป็นจอมทัพคนที่ 14 ของพม่า (ค.ศ.1943-45) และผู้ว่าการใหญ่ประจำออสเตรเลีย (ค.ศ.1952-60)
ชาวโรฮิงยาจึงเป็นชนพื้นเมืองเดิมในรัฐอาระกัน นับถือศาสนาอิสลามและสถาปนารัฐอิสลามขึ้นมารัฐหนึ่งในหน้าประวัติศาสตร์
เพื่อการลบล้างประวัติศาสตร์นี้ สื่อพม่าจึงไม่ใช้คำว่า “โรฮิงยา” แต่จะเรียกว่า พวกเขาเป็น “ชาวเบงกาลี” แทน ส่วนคำว่า “อาระกัน” ถูกแทนด้วยคำว่า “ระขิ่น/ยะไข่” เมืองหลวงเปลี่ยนจาก “อักยับ” เป็น “ซิตวี”
มัสยิดอายุนับร้อยๆปี รวมถึงร้านค้าของมุสลิมถูกเผา ถูกปิด หรือถูกยึด คนมุสลิมจะไม่ได้รับอนุญาตให้อยู่ในเมืองสิตวีเด็ดขาด
ใครว่ามุสลิมเชื้อสายอื่นในพม่าไม่ถูกกดขี่ ?
ในเดือนมีนาคม 2013 ที่เขตมักติลา มัณทะเลย์ ตอนกลางของพม่า 5 มัสยิด และร้านค้าของมุสลิมจำนวนมากถูกเผา มีมุสลิมเสียชีวิตราว 20 คน พวกเขาเหล่านี้ไม่ใช่ชาวโรฮิงยา แต่เป็นมุสลิมพม่า ข่าวนี้ถูกปิดเงียบ
ตั้งแต่ปี 2005 รัฐบาลพม่าห้ามสร้างมัสยิดใหม่ ห้ามซ่อมแซมหรือขยายมัสยิดเก่า ทั่วประเทศ
ข่าวนี้มีใครทราบบ้าง
การกล่าวหาว่าชาวโรฮิงยามาจากที่อื่น หรือกล่าวว่าที่พวกเขาถูกกดขี่เพราะไม่ได้เป็นชาวพม่า หรือกล่าวหาว่าพวกเขาสร้างความวุ่นวาย จึงเป็นความบอดไบ้ไม่รู้ประวัติศาสตร์
มีบางฝ่ายเขียนประวัติศาสตร์โรฮิงยาว่าพวกเขาเป็นชาวเบงกาลี
จะเป็นไปได้อย่างไรที่ชาวโรฮิงยาที่อาศัยอยู่ในดินแดนนี้มานับพันปีจะมาจากประเทศที่เพิ่งมีขึ้นในปี 1971 เท่านั้น
การใส่ร้ายป้ายสีมุสลิมโรฮิงยาอย่างเลื่อนลอยไร้หลักฐาน ที่ปรากฏตามสื่อต่างๆขณะนี้ เป็นเพียงการโฆษณาชวนเชื่อลักษณะหนึ่งของรัฐบาลพม่าที่ใช้เป็นข้ออ้างในการทารุณกรรมต่อชาวโรฮิงยา หลังจากที่ได้ดำเนินการมานานหลายปีในการลบล้างประวัติศาสตร์อิสลามในอาณาจักรอาระกัน ซึ่งขณะนี้ก็ได้ฟื้นคืนชีพคำโกหกหลอกลวงนี้ขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งเพื่อที่จะบอกว่าพวกเขาสมควรโดนกระทำดังในปัจจุบัน
บทความแปลจาก http://www.harakahdaily.net/
ที่มาของเนื้อหา:เพจศาสนาอิสลาม – الإسلام
#อารยธรรมอิสลาม_Islamic_Society_Online
#ประชาชาติอิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น