product :

วันจันทร์ที่ 31 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

แผ่นกระเบื้องเคลือบรูปดาว

แผ่นกระเบื้องเคลือบรูปดาว




แผ่นกระเบื้องเคลือบรูปดาวสำหรับการประดับตกแต่งส่วนประกอบของอาคาร ลวดลายเป็นอักษรอาหรับ ลายพรรณพฤกษา บุคคลและสัตว์ ด้วยการใช้เทคนิค Lustre (วาดลายด้วยสีที่ผสมด้วยอ๊อกไซด์โลหะเช่น ทองแดง ดีบุก ทอง เงิน บนเคลือบ เมื่อเข้าเตาเผาเสร็จสมบูรณ์ลวดลายจะมีความแวววาวเหมือนโลหะมีค่า)

กำหนดอายุสมัยคศว. 13-14 ราชวงศ์อิลข่าน (Ilkhanid) ผลิตจากเมืองคาชาน (Kashan) ประเทศอิหร่านปัจจุบัน

จัดแสดงภายใน Museum of Islamic Art กรุงอิสตันบูล ประเทศตุรกี

หมายเหตุ : ราชวงศ์อิลข่านเป็นราชวงศ์มองโกลที่สืบทอดมาจากฮูลากู (Hulegu) หลานของเจงกิสข่าน ภายหลังผู้ปกครองได้เปลี่ยนศาสนาเป็นอิสลาม ปกครองดินแดนส่วนใหญ่ของเปอร์เซียและเอเชียกลางในช่วงคศว.13-14


ที่มา : โบราณคดีอิสลาม - Islamic Archaeology


#อารยธรรมอิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online


read more "แผ่นกระเบื้องเคลือบรูปดาว"

วันศุกร์ที่ 28 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

10 เมืองต้องห้ามพลาด บนเส้นทางสายแพรไหม


10 เมืองต้องห้ามพลาด บนเส้นทางสายแพรไหม




เส้นทางสายไหมคือเส้นทางการสายโบราณที่นักเดินทางในสมัยก่อนใช้เป็นทางนำสินค้าไปมาระหว่างทวีปเอเชียและทวีปยุโรป ทำให้เกิดมีความเจริญ รุ่งเรืองอย่างมากตลอดทาง ผู้คนที่มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์ไม่ว่าจะเป็นชาวเติร์กที่ตุรกี ชาวเปอร์เซียที่อิหร่าน หรือชนเผ่าเร่ร่อนคีร์กิซที่คีร์กิซสถานชาวมุสลิมอุยกูร์ที่นับถือศาสนาอิสลามในจีนแผ่นดินใหญ่ และชนชาติอื่นๆที่มีมีอยู่มากมายทำให้เส้นทางสายนี้ยิ่งมีความขลังและทรงคุณค่าแก่การมาเยือนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งเส้นทางสายไหมยังพาดผ่านจุดที่เคยเป็นดินแดนของการกำเนิดศาสนาสำคัญของโลกอย่างอิสลามที่มีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมตลอดเส้นทางสายนี้อย่างแยกไม่ออก ตอนนี้ผมจะขอนำเสนอ 10 เมืองน่าสนใจที่พลาดไม่ได้อย่างยิ่งตลอดทางสายนี้ครับ


1. อิสตันบูล (Istanbul) ประเทศตุรกี




เมืองหลวงของจักรวรรดิโรมันตะวันออก ที่มีชื่อเดิมว่า “คอนสแตนติโนเปิล” (Constatinople) แห่งนี้ตั้งอยู่ตรงจุดแบ่งเขตระหว่างทวีปยุโรปและเอเชียอย่างพอดิบพอดี อิสตันบูลจึงกลายเป็นชุมทางสุดท้ายที่สำคัญอย่างยิ่งกับพ่อค้าที่เดินทางรอนแรมมาจากจีน และกลายเป็นจุดเริ่มต้นอันยิ่งใหญ่สำหรับเหล่าพ่อค้าที่กำลังเสี่ยงชีวิตไปจีนเช่นเดียวกัน เมืองนี้จึงกลายเบ้าหลวมของหลายๆอารยธรรมไม่ว่าจะของศาสนาคริสต์หรืออิสลาม ดั่งจะเห็นได้จากสถาปัตยกรรมที่มีการผสมผสานของทั้งสองศาสนาในพื้นที่เดียวกันเช่น พิพิธภัณฑ์ฮาเยีย โซเฟีย (Hagia Sophia) และมัสยิดสุลต่านอาห์เหม็ด (Sultanahmet) หรือสุเหร่าสีน้ำเงินคือที่สุดแห่งสถาปัตยกรรมที่เป็นตัวแทนความเจริญรุ่งเรืองของเมืองอิสตันบูลได้เป็นอย่างดี


2. เกอเรอเม (Goreme) ประเทศตุรกี




เมืองเล็กๆแห่งนี้ เป็นที่โด่งดังไปทั่วโลกเนื่องเป็นตั้งของกลุ่มภูเขารูปทรงประหลาดที่เกิดจากการระเบิดของภูเขาไฟเมื่อหลายล้านปีก่อน ทำให้เกิดลาวาและเถ้าถุลีที่จำนวนมหาศาลกระจายไปทั่วบริเวณและทับถมกลายเป็นภูมิประเทศอันพิลึกขนาดกว้างใหญ่ไพศาล อีกทั้งผู้คนยังปรับตัวให้เข้ากับภูมิประเทศด้วยการไปเจาะภูเขาเหล่านี้ให้กลายเป็นถ้ำแล้วไปสร้างบ้านไว้ข้างใน จนถึงขนาดไปสร้างเมืองใต้ดินเลยครับ เรียกชื่อ “เกอเรเม” อาจจะยังไม่คุ้นเคย แต่ถ้าบอกว่าที่นี่คือ “คัปปาโดเกีย” รับรองเลยว่าหลายคนต้องเคยได้ยินแน่นอนครับ

กิจกรรมแสนพิเศษสำหรับเมืองนี้คือ “การนั่งบอลลูนชมพระอาทิตย์ขึ้น” ท่ามกลางดินแดนสุดอัศจรรย์แห่งนี้นี่เอง ในวันที่ท้องฟ้าเปิด เราจะเห็นมวลหมู่มหาบอลลูนกว่า 100 ลูกลอยอยู่บนท้องฟ้า


3. ทบิลิซิ (Tbilisi) ประเทศจอร์เจีย




เมืองหลวงของประเทศจอร์เจียที่มีศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์เป็นศาสนาประจำชาติ ทำให้เมืองนี้อุดมไปด้วยโบสถ์ที่สวยงามมากมาย ผิดกับเมืองอื่นๆในเส้นทางสายไหมที่มักจะเป็นมัสยิด บ้านเรือนผู้คนสร้างในสไตล์ยุโรป ด้วยความที่เคยเป็นรัฐปกครองในโซเวียตมาก่อน การมาเที่ยวที่เมืองนี้จึงถือว่าอาจจะเป็นการมาเที่ยวรัสเซียแบบย่อมๆเลยก็ได้ครับเมืองหลวงของประเทศจอร์เจียที่มีศาสนาคริสต์นิกายออร์โธดอกซ์เป็นศาสนาประจำชาติ ทำให้เมืองนี้อุดมไปด้วยโบสถ์ที่สวยงามมากมาย ผิดกับเมืองอื่นๆในเส้นทางสายไหมที่มักจะเป็นมัสยิด บ้านเรือนผู้คนสร้างในสไตล์ยุโรป ด้วยความที่เคยเป็นรัฐปกครองในโซเวียตมาก่อน การมาเที่ยวที่เมืองนี้จึงถือว่าอาจจะเป็นการมาเที่ยวรัสเซียแบบย่อมๆเลยก็ได้ครับ


4. บากู (Baku) ประเทศอาเซอร์ไบจาน




“บากู” คือเมืองหลวงของประเทศอาเซอร์ไบจาน สิ่งก่อสร้าง ถนนหนทาง และสาธารณูปโภค จำนวนมากถูกสร้างสรรค์จากผลผลิตรายได้จากน้ำมันที่เป็นรายได้หลักของประเทศ ทำให้สถาปัตยกรรมที่นี่ดูแปลกตาไปจากเมืองอื่นๆทั่วโลก ไม่ว่าจะเป็น “ตึกเปลวเพลิง”(Flames tower) ที่สร้างรูปร่างให้คล้ายกับเปลวไฟแล้วติดหลอดไฟไว้คอยส่องประกายไปทั่วเมืองยามค่ำคืน หรือศูนย์วัฒนธรรม "Heydar Aliyev" ที่สร้างขึ้นจากแนวคิดของของเหลวที่สามารถไหหลอมหลวมความหลากหลายทางวัฒนธรรมเอาไว้


5. อิสฟาฮาน (Isfahan) ประเทศอิหร่าน




"อิสฟาฮาน” คือเมืองที่ทุกคนยกมือให้ตรงกันว่าเป็นเมืองที่ “สวยที่สุด” ของประเทศอิหร่านในปัจจุบัน ไม่ใช่เพียงแค่สถาปัตยกรรมเท่านั้นที่สวย ผู้คนอัธยาศัยไมตรีก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่เพิ่มเสน่ห์ให้กับที่นี่ คนเปอร์เซียในสมัยก่อนให้ฉายาของเมืองว่า “ครึ่งหนึ่งของโลก อยู่ที่ อิสฟาฮาน” ฟังชื่อดูก็พอจะคิดตามได้ถึงความยิ่งใหญ่เหลือคณานับของเมืองหลวงแห่งอาณาจักรเปอร์เซียโบราณแห่งนี้กันแล้ว ไม่ว่าจะเป็น “จัตุรัสอิหม่าม” (Imam square) หนึ่งในจัตุรัสที่สวยที่สุดแห่งหนึ่งของโลก หรือ “มัสยิดอิหม่าน” (Imam mosque) ก็เป็นหนึ่งในเพชรน้ำเอกแห่งสถาปัตยกรรมเปอร์เซียเช่นเดียวกัน


6. อาชกาบัต (Ashgabat) ประเทศเติร์กเมนิสถาน




ถึงแม้ประเทศ “เติร์กเมนิสถาน” จะไม่ค่อยเป็นที่รู้จักของชาวโลกมากนัก แต่เมืองหลวงของดินแดนนี้ที่ชื่อว่า “อาชกาบัต” กลับเป็นที่รู้จักของ ชื่อเมืองมีความหมายว่า สถานที่ราชการทุกแห่งถูกสร้างขึ้นด้วยหินอ่อนสีขาวทั้งหมด บ้านเรือนผู้คนก็เป็นคอนโดมิเนียมสีขาวเช่นเดียวกัน ฉากหลังของเมืองคือเทือกเขาหิมะสูงเทียมฟ้าที่ให้บรรยากาศกลมกลืนกับสีของอาคารบ้านเรือนเป็นอย่างยิ่ง
ส่วนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดเห็นจะไม่พ้น อาคารทำเนียบประธานาธิบดีและศูนย์ราชการกระทรวงต่างๆที่ดูๆ ที่สวยและเนี๊ยบอย่างสุดๆ แต่ด้วยมาตรการรักษาความปลอดภัยขั้นสูงสุดก็เป็นอุปสรรคสำหรับการท่องเที่ยวเมืองนี้อยู่ไม่น้อย


7. บูคารา (Bukhara) ประเทศอุซเบกิซสถาน



อดีตชุมทางที่สำคัญบนเส้นทางสายไหม เมืองโอเอซิสที่ตั้งอยู่กลางทะเลทรายเคยเป็นจุดแวะพักของเหล่าคาราวานพ่อค้าจากทั้งสองทวีป เนื่องจากตั้งอยู่ตรงกลางระหว่างทางพอดี อีกทั้งที่นี่ยังเป็นศูนย์กลางการศึกษาของศาสนาอิสลามในเอเชียกลางอีกด้วย บ้านเรือนในเขตเมืองเก่ายังคงได้รับการอนุรักษ์ไว้ ผู้คนยังคงดำเนินชีวิตไม่แตกต่างจากอดีต เวลาเราเดินอยู่ในเมืองยังให้ความรู้สึกย้อนยุคสู่วันวาน ทำให้เมืองบูคาราแห่งนี้ไม่แตกต่างไปจากพิพิธภัณฑ์กลางแจ้งที่ยังมีลมหายใจอยู่


8. ซามาร์คันด์ (Samarkand) ประเทศอุซเบกิซสถาน




ถ้าจะเรียกเมือง “ซามาร์คันด์” ว่าเป็นเพชรน้ำเอกแห่งทางสายไหมก็ไม่ผิดนัก ประวัติศาสตร์อันยาวนานกว่าสองพันปีทำให้เมืองนี้อุดมไปด้วยกลิ่นอายโบราณ สถาปัตยกรรมของศาสนาอิสลามแห่งเอเชียกลางและความเจริญรุ่งเรืองทางการค้าบนเส้นทางสายนี้เจริญรุ่งเรืองที่สุดก็ที่เมืองนี้ สิ่งที่เรียกได้ว่าสุดยอดของสุดยอดถ้าได้มา คือ “เรจิสถาน” (Registan) ซึ่งเป็นอดีตจุดศูนย์กลางของเมือง โดยจัตุรัสจะถูกล้อมรอบด้วยมาดราซา หรือโรงเรียนสอนศาสนาทั้ง 3 ด้าน การได้มายืนอยู่ตรงกลางจัตุรัสให้ความรู้สึกไม่แตกต่างจากตอนที่ผมยืนอยู่ต่อหน้า “ทัชมาฮาล” ที่อินเดียเลยครับ


9. คัชการ์ (Kashgar) ประเทศจีน




“คัชการ์” (Kashgar) คืออีกเมืองโอเอซิสกลางทะเลทราย ตั้งอยู่ในจุดทางทิศตะวันตกที่สุดของประเทศ เป็นที่อยู่ของชาวอุยกูร์ที่มีขนบธรรมเนียมและประเพณีแตกต่างจากชาวจีนโดยทั่วไปอย่างมาก รถลาที่วิ่งไปมาอย่างอิสระบนท้องถนน คนเดินเข้ามัสยิดทุกวันศุกร์ หรือกระทั่งตลาดค้าสัตว์ที่จัดอย่างยิ่งใหญ่ในทุกๆวันอาทิตย์ของแต่ละสัปดาห์ ทำให้เมืองคัชการ์เป็นหนึ่งในเมืองที่มีชีวิตชีวามากที่สุดบนเส้นทางสายไหม และมีความแตกต่างจากเมืองหลวงปักกิ่งอย่างสุดขั้ว


10. ซีอาน (Xian) ประเทศจีน




จุดสิ้นสุดแห่งเส้นทางการเดินทางหลายหมื่นกิโลเมตรจากทวีปยุโรปมาสิ้นสุดที่ซีอาน เมืองที่มีอายุเก่าแก่หลายพันปี มายิ่งใหญ่ถึงขีดสุดในรัชสมัยของจักรพรรดิจิ๋นซีฮ่องเต้ เป็นที่ตั้งของสุสานทหารดินเผาที่ใช้แรงงานการสร้างอย่างมหาศาล หุ่นดินเผาทุกคนมีขนาดเท่าคนจริง หน้าตาไม่ซ้ำแบบกันเลย ยิ่งทำให้เมืองแห่งนี้ดูน่าเกรงขามยิ่งขึ้นไปอีก กำแพงเมืองโบราณในสมัยราชวงศ์หมิงยังคงรักษาไว้ได้อย่างสมบูรณ์แบบซึ่งเราสามารถขึ้นไปเดินหรือปั่นจักรยานบนกำแพงเมืองที่มีรูปร่างเป็นสี่เหลี่ยมจัตุรัสความยาว 16 กิโลเมตรนี้ได้อีกด้วย
ปัจจุบันทางการจีนได้ทำการปรับแต่งเมืองให้น่าเดินเที่ยวเป็นอย่างมาก ทางเดินเท้าขนาดใหญ่ ระบบรถไฟใต้ดินและรถเมล์ที่ครอบคลุม ทำให้เมืองซีอานเป็นเมืองน่าเดินทางไปเยือนอย่างมาก


ที่มา : https://pantip.com/topic/33786162



#อารยธรรมอิสลาม_Islamic_Society_Online
#ประชาชาติอิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online


read more " 10 เมืองต้องห้ามพลาด บนเส้นทางสายแพรไหม"

วันจันทร์ที่ 24 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ทัชมาฮาล : อนุสรณ์สถานแห่งความรัก และสถาปัตยกรรมเหนือกาลเวลา

ทัชมาฮาล : อนุสรณ์สถานแห่งความรัก และสถาปัตยกรรมเหนือกาลเวลา





“ความรัก” สามารถบันดาลให้เกิดสิ่งต่างๆได้ทุกสิ่ง “ทัชมาฮาล” (Taj Mahal) คือตัวอย่างของแรงบันดาลใจแรงผลักดันที่ก่อกำเนิดจากพลังแห่งความรัก จนกลายเป็นสุสานหินอ่อนที่ผู้คนยกย่องให้เป็นสถาปัตยกรรมแห่งความรักที่งดงามและยิ่งใหญ่ที่สุดแห่งหนึ่งของโลก ถูกรังสรรค์ขึ้นโดยสมเด็จพระจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิโมกุลผู้มีรักมั่นคงต่อพระมเหสีของพระองค์ที่สิ้นพระชนม์ไป

ผู้ที่สร้างตำนานความรักอันยิ่งใหญ่นี้คือ เจ้าชายขุร์รัม ชึ่งต่อมาคือ “พระเจ้าชาห์ จาฮาน” (Shah Jahan) สมเด็จพระจักรพรรดิองค์ที่ 5 ในราชวงศ์โมกุล ตามตำนานกล่าวว่า เจ้าชายขุร์รัม มีพระชนมายุ 14 พรรษา ได้พบกับ อรชุมันท์ พานุเพคุม ธิดาของรัฐมนตรี พระองค์ทรงหลงใหลและหลงรักนาง โดยหลังจากนั้น 5 ปี ในปี ค.ศ. 1612 พิธีอภิเษกจึงได้ถูกจัดขึ้น จากนั้นมาทั้งสองพระองค์ก็เป็นคู่รักที่ไม่เคยแยกจากกันเลย


ในปี ค.ศ. 1628 เจ้าชายขุร์รัมเสด็จขึ้นครองราชบังลังก์ ทรงพระนามว่า พระเจ้าชาห์ จาฮาน โดยมีพระนางอรชุมันท์ ซึ่งได้สมัญญานามว่า “มุมตัซ มาฮาล” (Mumtaz Mahal) ซึ่งแปลว่า “อัญมณีแห่งราชวัง” เป็นพระมเหสีคู่พระทัย พระนางทรงเป็นทั้งคู่คิด ที่ปรึกษา และมีส่วนในการช่วยเหลือพระสวามีในการปกครองบ้านเมืองการศึกการสงครามอีกทั้งยังทรงเป็นที่รักใคร่ของพสกนิกรทั่วหล้า ครั้นในปี ค.ศ. 1631 พระมเหสีมุมตัซ มาฮาลได้สิ้นพระชนม์ลงในอ้อมกอดของพระเจ้าชาห์ จาฮาน อย่างไม่คาดคิด หลังจากให้กำเนิดทายาทองค์ที่ 14 เพียง 1ชั่วโมงการสิ้นพระชนม์ของพระมเหสีอันเป็นที่รักที่ครองคู่กันมาถึง 18 ปีทำให้พระองค์โศกเศร้า ทุกข์ระทมอย่างแสนสาหัสอยู่นานถึง 2 ปี จึงโปรดให้สร้าง “ทัชมาฮาล” ขึ้นมาอย่างวิจิตรอลังการตามคำขอของพระนางก่อนจากไปว่า “ให้พระองค์สร้างอนุสาวรีย์ที่ฝังศพของเธอให้โลกพิศวงด้วยเถิด”





ทัชมาฮาลตั้งอยู่บริเวณ ริมฝั่งแม่น้ำยมุนา ในเมืองอัครา ประเทศอินเดีย ใช้เวลาก่อสร้างและตกแต่งนานถึง 22 ปีระหว่างปี ค.ศ.1632-1654 ทุกส่วนสร้างด้วยหินอ่อนสีขาวนวลบริสุทธิ์ ศิลาแลง ประดับลวดลายเครื่องเพชร พลอย หิน โมราและเครื่องประดับจากมิตรประเทศ ตามแบบสถาปัตยกรรมแนวโมกุลของอินเดีย และอาหรับเปอร์เซียนมุสลิม ใช้คนงานและช่างฝีมือร่วมในการก่อสร้างประมาณ 20,000 คน เป็นผลงานการออกแบบจากสถาปนิกนามว่า อุสตาด อาห์เหม็ด ลาเฮารี (Ustad Ahmad Lahauri) ซึ่งภายหลังถูกประหารชีวิตพร้อมกับนายช่างที่ร่วมกันก่อสร้าง เนื่องจาก พระเจ้าชาห์ จาฮาน ไม่ทรงปรารถนาให้นายช่างฝีมือเหล่านี้ไปออกแบบสถาปัตยกรรมใดๆ ที่สวยไปกว่าที่นี่อีก ซึ่งลักษณะสถาปัตยกรรมได้รับคำรับรองจากสถาปนิกทั่วโลกว่า สร้างขึ้นโดยถูกสัดส่วน มีความสมมาตรในทุกๆ ด้าน และวิจิตรงดงามที่สุด มีเนื้อที่ประมาณ 42 เอเคอร์ เริ่มเข้าสู่เขตทัชมาฮาลโดยผ่านประตูทางเข้าหลักขนาดใหญ่ ที่สร้างด้วยหินทรายสีแดงมีอักษรศักสิทธิ์ในคัมภีร์อัลกุรอานจารึกไว้ เมื่อผ่านพ้นกรอบประตูรูปโค้งจะพบกับลานอุทยาน สระน้ำ น้ำพุ และถนนมุ่งหน้าตรงไปสู่ตัวอาคาร ซึ่งตั้งอยู่บนลานหินอ่อนสีขาวโล่งกว้าง รอบลานหินมีราวหินอ่อนโปร่งตาเป็นที่ตั้งของมัสยิด ตัวอาคารล้อมรอบด้วยหออะซาน หรือ มินาเรต (หอสูงสำหรับร้องแจ้งเวลาทำนมาซ) ทั้ง 4 ด้าน ส่วนหัวของทัชมาฮาลนั้นมีลักษณะเป็นโดมขนาดใหญ่รูปทรงบัวตูมหรือหัวหอม “โอเนียนโดม” (Onion Dome) ภายในตกแต่งแบบอิสลาม หลักๆแล้วจะมีลายเส้นอักษรซึ่งสลักเป็นโองการต่างๆจากคำภีร์อัลกุรอาน รูปทรงเรขาคณิต และลวดลายดอกไม้ ทั้งยังมีการฝังพลอยที่มีค่าบนผนังด้วย ส่วนตรงกลางภายใต้หลังคาโดมใหญ่เบื้องหลังฉากกั้นหินอ่อนทั้งสี่ด้าน เป็นหีบพระศพจำลองของพระเจ้าชาห์ จาฮาน กับพระมเหสีมุมตัซ มาฮาลตั้งอยู่คู่กัน ส่วนพระศพจริงไม่ได้บรรจุอยู่ในหีบ หากฝังอยู่ในอุโมงค์ใต้ดินตรงกับที่วางหีบศพนั้น



หลังจากพระเจ้าชาห์ จาฮาน ต้องสูญเสียพระมเหสีอันเป็นที่รักปานดวงใจไป โศกนาฏกรรมก็ยังไม่จบแต่เพียงแค่นั้นภายหลังการก่อสร้างเสร็จสมบูรณ์ โดยสิ้นค้าใช้จ่ายในการก่อสร้างไปประมาณ 45 ล้านรูปี ราชสมบัติส่วนใหญ่ใช้ไปกับการสร้างอนุสรณ์แห่งความรักของทั้งสองพระองค์ ทำให้ต้องสูญเสียเงินมหาศาลในการสร้างความเจริญให้กับประเทศ ไม่เพียงแต่เท่านั้นพระองค์ยังจะสานฝันสร้างที่ฝังศพของตัวเองเป็นหินอ่อนสีดำล้วนไว้ ณ ฝั่งแม่น้ำตรงกันข้ามอีกด้วย แต่ในปีค.ศ. 1658 ออรังเซบ (Aurangzeb) พระโอรสองค์หนึ่งของพระเจ้าชาห์ จาฮาน ทรงเห็นว่าพระราชบิดาใช้จ่ายพระราชทรัพย์ไปมากมายมหาศาล จึงได้ชิงบัลลังก์และจับพระราชบิดาไปคุมขังในป้อมอัครา(Agra Fort) พระเจ้าชาห์ จาฮาน จึงทำได้เพียงเขย่งพระบาทมองทัชมาฮาลผ่านลูกกรงที่คุมขังทุกวันเป็นเวลานานถึง 8 ปี และสิ้นพระชนม์ลงในปี ค.ศ.1666 แม้กระทั่งยามที่พระเจ้าชาห์ จาฮาน ถึงกาลอันใกล้จะสิ้นพระชนม์ ก็ยังคงกำกระจกบานเล็กไว้ในพระหัตถ์ เพื่อที่จะได้ทอดพระเนตรเห็นภาพสะท้อนของทัชมาฮาลในยามที่พระองค์นอนสิ้นลมหายใจสุดท้ายของชีวิต พระศพของพระเจ้าชาห์ จาฮาน ได้ถูกนำมาประดิษฐานในทัชมาฮาลเคียงข้างกันกับพระศพพระมเหสีมุมตัซ มาฮาล ตลอดกาล…



ถึงแม้ทัชมาลฮาลจะถูกสร้างขึ้นจากความอาลัยรักอันแสนงดงาม แต่เบื้องหลังความวิจิตรงดงามนี้ก็แฝงไปด้วยความโหดร้าย ความทุกข์ยากทรมาน การขูดรีดภาษี หยาดเหงื่อแรงงาน และชีวิตของราษฎร แต่ถึงกระนั้นก็ตาม โลกก็ได้ให้รางวัลสำหรับความยิ่งใหญ่ครั้งนี้ ด้วยการจัดให้ทัชมาฮาลเป็น 1 ใน 7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลกยุคใหม่ ตราบมาจนถึงปัจจุบันนี้

…บางครั้งความตายอาจไม่ใช่จุดจบของทุกสิ่ง แต่อาจเป็นจุดเริ่มต้นของบางสิ่งเพื่อการคงอยู่ชั่วนิจนิรันดร…

By…..White Tofu








#อารยธรรมอิสลาม_Islamic_Society_Online
#Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "ทัชมาฮาล : อนุสรณ์สถานแห่งความรัก และสถาปัตยกรรมเหนือกาลเวลา"

วันศุกร์ที่ 21 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

รอยั๊บ ฏอยยิบ อัรดูฆอน นายกรัฐมนตรีตุรกีผู้ปกป้องชาวปาเลสไตน์

รอยั๊บ ฏอยยิบ อัรดูฆอน นายกรัฐมนตรีตุรกีผู้ปกป้องชาวปาเลสไตน์






จากเด็กชนบทธรรมดาๆ คนหนึ่ง ที่เห็นความเป็นไปอันพิกลพิการของศาสนาและความเป็นตัวตนของประเทศตนเอง ยอมที่จะละทิ้งความสะดวกสบายในโรงเรียนรัฐซึ่งถูกหยาบโลนไปด้วยระบอบของ อตาเติร์ก อันเป็นระบอบที่ทำลายอาณาจักรอิสลามแห่งสุดท้ายลงเมื่อ 70 กว่าปีก่อนนั้น (อาณาจักร อุษมานียะฮฺหรือออตโตมันมีอำนาจปกครองอยู่ในช่วง ค.ศ.1299-1923) ทำให้เด็กชายตัวเล็กๆ คนหนึ่งขอผู้เป็นบิดาให้ส่งตัวเองไปเรียนในโรงเรียนศาสนาอันไม่มีเบี้ยเลี้ยงจากรัฐบาลให้ได้หยิบจับกัน ซ้ำยังโดนจับตาจากอำนาจฝ่ายรัฐที่จ้องจะเล่นงาน จนต้องยกเลิกการเรียนการสอนอีกนั้น เด็กชายผู้นี้เลือกที่จะมาเรียนที่นี่ เพียงเพื่อหวังที่จะหลีกหนีความพิกลพิการทางศาสนาของประเทศ และจิตวิญญาณคนตุรกีสมัยนั้น เพื่อที่ว่าตนเองจะได้สัมผัสอิสลามแม้เสี้ยวเดียวในโรงเรียนซอมซ่อแห่งนั้นและในประเทศตนเองที่ไม่มีกลิ่นอายแห่งอิสลามให้ได้เชยชมแล้วก็ตาม

เด็กชาย ฏอยยิบุดดีน อัรดูฆอน เกิดในปี ค.ศ.1954 ครอบครัวของเขาอพยพมาอยู่เมืองอิสตันบูล หรือเมืองแห่งอิสลาม อดีตเมืองคอนสแตนติโนเปิล ของกษัตริย์คอนสแตนตินแห่งโรมันตะวันออก เมืองที่สุลต่านหนุ่มวัย 21 ปี มุฮัมหมัด อัลฟาติฮฺ (Sultan Muhammad Al-Fatih) ได้พิชิตมาจากโรมันเมื่อสมัยโบราณ อัรดูฆอนเติบโตมาในสังคมมุสลิมที่แยกศาสนาออกจากชีวิตประจำวัน (ระบบเซคคิวลาห์ – secularism) เบียดเรื่องศาสนาให้มิด และอุดอู้อยู่แต่ในมัสยิด ไม่ใช่แค่นั้น มุสตอฟา กามาล อตาเติร์ก (Mustafa Kemal Ataterk) ผู้ถูกยกย่องว่าเป็นบิดาแห่งตุรกีใหม่นั้น (หลังจากรับใช้ยิวโค่นอำนาจคอลีฟะฮฺอุษมานียะฮฺในปี 1924 ลงได้) ยังได้บังอาจเปลี่ยนการอะซานในตุรกีให้เป็นภาษาเติร์ก และยังสั่งใช้ไม่ให้ผู้หญิงมุสลิมใส่ฮิญาบ (ทั้งที่ตนเองก็อ้างว่าเป็นมุสลิม) ผู้ชายห้ามใส่หมวกตอรบุช (กาปีเยาะห์ชนิดหนึ่ง สีแดงเข้ม ทรงสูง สัญลักษณ์ทางอำนาจและวิถีชีวิตมุสลิมในสมัยนั้น) หมอนี่ยังได้คิดริเริ่มปฏิรูปประเทศลงเหวลึกยิ่งขึ้น ยากจะกู่กลับด้วยการให้ผู้คนคลั่งไคล้ชาตินิยม โรงเรียนทุกแห่งห้ามสอนกุรอานเป็นภาษาอาหรับ ห้ามเรียนภาษาอาหรับ ต้องใช้ภาษาเติร์กเท่านั้น และอีกมากมายแผนการชั่วที่ถูกคิดค้น

อัรดูฆอน ไปสมัครเข้าโรงเรียนชั้นซานาวีย์แห่งหนึ่ง(ระดับมัธยม) ในวันหนึ่งคุณครูได้ถามนักเรียนว่า ใครละหมาดเป็นบ้าง ช่วยออกมาแสดงให้เพื่อนๆ ดูหน้าห้องหน่อยสิ… เด็กชายอัรดูฆอน ยกมือและได้ออกมาหน้าห้อง คุณครูจึงเตรียมหนังสือพิมพ์เพื่อปูชั่วคราวให้เขาได้ละหมาด แต่อัรดูฆอนได้ปฏิเสธที่จะใช้มัน เหตุผลที่คุณครูคนนั้นเล่ามาก็คือ เพราะที่หนังสือพิมพ์นั้น มีรูปดาราผู้หญิงอยู่ นับแต่นั้น อัรดูฆอน จึงได้รับฉายาจากครูว่า “รอยั๊บ” เป็นภาษาตุรกี แปลว่า ผู้มีความเคร่ง วันนี้เราจึงได้รู้จักเขาคนนี้ในชื่อ รอยั๊บ ฏอยยิบ อัรดูฆอน (Recep Tayyip Erdogan) นายกรัฐมนตรีแห่งประเทศตุรกี

อัรดูฆอน ก้าวเข้ามาในแวดวงการเมือง เมื่อครั้งที่เขายังเป็นหนึ่งในสมาชิกพรรคเรฟะฮฺ หรือ Welfare Party พรรคการเมืองแนวคิดอิสลามพรรคแรกๆ หลังอาณาจักรอุษมานียะฮฺล่มสลายไป นั้นคือการไปอยู่กับ ศาสตราจารย์ ดร.นัจมุดดีน อัรบาฆาน* (Prof.Dr.Najmuddin(Necmettin) Erbakan) หัวหน้าพรรคผู้เป็นวิศวกรจบจากประเทศเยอรมันแต่มีอุดมการณ์แห่งอิสลามอยู่เต็มอก ท่านได้สั่งสอนเรื่องราวความยิ่งใหญ่แห่งอิสลาม อดีตอันรุ่งโรจน์ พร้อมกับประวัติการต่อสู้ของบรรพชนแห่งอิสลาม อัรดูฆอนปลื้มครูคนนี้ของเขามาก แต่นั่นก็เป็นแสงดาวแห่งความหวังเพียงชั่ววาบเท่านั้น เมื่อพลพรรคครูของเขาต้องถูกลบออกไปจากแวดวงการเมือง ด้วยน้ำมือของพวกเซคคิวลาห์ที่ยังเป็นเสียงส่วนมากในตุรกีในวันนั้น อัรดูฆอนไม่เคยลืมเรื่องราวเหล่านี้ เขาเพียรพยายามไต่เต้าวงจรสกปรกนี้ และอาสาค่อยๆเช็ดถูขจัดคราบเหล่านั้นออกจากระบบ ท่านได้รับเลือกให้เป็นนายกเทศมนตรีแห่งเมืองอิสตันบูล เมืองการค้าแห่งตุรกี ประชาชนเลือกท่าน ด้วยเหตุผลหนึ่งก็คือ อัรดูฆอน ไม่เคยมีเรื่องทุจริตปรากฏให้เห็นเลยในชีวิต

ในขณะที่ดำรงตำแหน่งเป็นนายกเทศมนตรีเมืองอิสตันบูลนั้น ในการปราศรัยครั้งหนึ่งท่านได้พูดขึ้นว่า “คนเรา จะผสมผสานกันระหว่างมุสลิมกับเซคคิวลาห์นั้นไม่ได้ ท่านจะต้องเลือกการเป็นผู้ศรัทธาเท่านั้น และทิ้งการเป็นเซคคิวลาห์ซะ” และเขาก็ได้ยกกลอนชิ้นหนึ่งของนักสู้มุสลิมคนหนึ่งของตุรกีว่า

“มัสยิดนั่นคือค่ายทหารของเรา โดมของมันคือหลุมหลบภัยของเรา ส่วนหอคอยนั้นเล่า คือดาบปลายปืนของเรา และผู้ศรัทธาในที่นั้น คือทหารหาญของเรา…”

ด้วยการดังกล่าวเช่นนี้เอง เขาจึงได้ถูกทางการจับตัว รถตำรวจล้อมรอบรถที่ของเขาถึงห้าคัน ผู้คนคับคั่งมืดฟ้ามัวดิน ต่างออกมาแสดงความไม่พอใจและเรียกร้องให้ปลดปล่อยผู้นำของเขาคนนี้ … ขณะที่ห้องสี่เหลี่ยมอันมืดมิดรอท่าอยู่ข้างหน้า อัรดูฆอน กลับออกมาพูดเพียงแค่ท่อนเดียวนั้นคือ ขอให้พวกท่าน (ประชาชน) กลับไปทำงานของท่าน ส่วนฉันก็จะทำงานของฉันเช่นกัน (แม้ต้องอยู่ในคุก) … ชั่งเป็นคำพูดที่สั้นและสะเทือนหัวใจผู้คนเสียจริงๆ เขากำลังทำงานเพื่อนำอิสลามกลับมาสู่แผ่นดินและโลกนี้อีกครั้ง และเราก็ต้องทำงานเช่นกัน ทุกคนล้วนมีภาระหน้าที่นี้ คอลีฟะตุลอัรดฺ…

ดูเหมือนอุดมการณ์อิสลามจะไม่เคยหยุดนิ่ง กระแสของมันเพิ่มความเชี่ยวกรากเสมือนคลื่นทะเลในวันพายุเข้า หนุ่มสาวตุรกีเริ่มกลับเข้าหาอิสลามมากขึ้น พวกเขาละทิ้งความเป็นชาตินิยม เชื้อชาตินิยม และความเป็นเซคคิวลาห์มากขึ้น เมื่ออัรดูฆอนก้าวมาเป็นนายกรัฐมนตรี เขาร่วมมือกับประธานาธิบดีผู้มีแนวคิดอิสลามอีกคน คือ อับดุลลอฮฺ กุล (Abdullah Gul) พวกเขาเริ่มแสดงความเป็นมุสลิมให้ประชาชนเห็นเป็นตัวอย่าง ภรรยาของพวกเขา เป็นภรรยาผู้นำมุสลิมไม่กี่คนที่สวมฮิญาบ ทั้งๆที่ในประเทศอาหรับต้นตำรับมุสลิมหรือประเทศเพื่อนบ้านของเราทางใต้ ต่างก็ไม่กินเส้นกับรสนิยมอิสลามข้อนี้มากนัก ซ้ำร้ายยังได้รู้ว่าผู้นำอาหรับหลายต่อหลายคนมีภรรยาเป็นคนต่างศาสนิก นับประสาอะไรกัน ที่จะมาปกครองมวลมุสลิมของตน ตัวอย่างที่โลกได้เห็นก็คือ งานพบปะที่ประเทศฝรั่งเศส ภรรยาของอัรดูฆอน เป็นภรรยาผู้นำประเทศคนเดียวในงานที่แต่งตัวมิดชิด ปกป้องรักษาสิทธิอันงดงามที่พระเจ้าให้เธอมา ผู้นำที่เป็นบุรุษเพศหลายคนยื่นมือเพื่อที่จะจับมือกับเธอตามธรรมเนียม แต่เธอไม่สนองตอบด้วย เป็นการแสดงออกถึงอุดมการณ์และมารยาทอันงดงามของอิสลาม ที่หาดูได้ยากเหลือเกินในโลกของผู้นำประเทศมุสลิม





วันที่ 30 มกราคม 2009 ในการประชุมเวิล์ด อีโคโนมิค ฟอรัม ที่กรุงดาวอส สวิตเซอร์แลนด์ นายกรัฐมนตรีอัรดูฆอน ถูกให้ขึ้นเวทีพร้อมกับประธานาธิบดีอิสราเอล ชีมอน เปเรส นายเปเรสได้ใช้เวลาอย่างยาวนานในการอธิบายเหตุผลที่เขาต้องทำสงครามกับฆ๊อซซะ (กาซ่า) และประเทศฟาลิสฏีน (ปาเลสไตน์) อัรดูฆอนนั่งฟังอย่างนิ่งเงียบ สีหน้าจับจ้องมองคนทางซ้ายมือของเขาอย่างขึงขัง และเขาทำให้ทั่วโลกต้องตกตะลึงเมื่อเขาขออภิปรายตอบกลับเปเรส อัรดูฆอน พูดขึ้นว่า …


…คุณเปเรส คุณน่ะแก่กว่าผม เสียงของคุณก็ดังมาก ที่คุณพูดเสียงดังก็คงเกิดจากความรู้สึกผิดที่ติดสันดานการเป็นอาชญากรสังหารมนุษย์ของคุณนั่นเอง เสียงของผมไม่อาจดังเช่นนี้ได้
เรื่องการฆาตกรรมน่ะ คุณรู้ดี และเมื่อถึงเวลาที่จะต้องฆ่า คุณก็รู้วิธีพวกนี้ดี
คุณฆ่าประชาชน (ชาวปาเลสไตน์) ผมยังจำภาพเด็กที่นอนตายอยู่บนชาดหาดได้
และผมยังจำได้ว่า อดีตผู้นำอิสราเอล 2 คนของคุณ ได้พูดสิ่งสำคัญบางอย่างให้ผมรู้ 
คุณมีนายกรัฐมนตรีผู้ที่บอกว่า เมื่อเราได้รุกเข้าไปในฟาลีสฏีนด้วยรถถัง เขารู้สึกมีความสุขยิ่งนักนอกจากนี้ ข้าพเจ้าขอประณามทุกคนที่ปรบมือเชียร์การเข่นฆ่าและก่ออาชญากรรมต่อชาวฆ๊อซซะ (กาซ่า) ที่พวกคุณพากันปรบมือสนับสนุนการเข่นฆ่าลูกเล็กเด็กแดงนั้น สำแดงให้ประจักษ์ว่าพวกคุณคือพวกที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน…




ครั้งที่เปเรสพูด มีคนสังเกตเห็นภรรยาของอัรดูฆอนร้องไห้ โดยผู้สื่อข่าวไปถามเธอหลังจากนั้น เธอกล่าวว่า ทุกอย่างที่ชายคนนั้น (เปเรส) พูด เขาโกหกทั้งนั้น และขณะที่อัรดูฆอนพูดอยู่นั้น ผู้ดำเนินรายการก็ได้พยายามขัดเขา (โดยไม่ให้เขาพูดเกินกว่า 1 นาที ขณะที่เปเรสพูดนานกว่า 25 นาที) แต่เขาก็ไม่ยอม และพูดทิ้งท้ายประโยคหนึ่งก่อนที่จะหยิบสมุดโน๊ตและประท้วงด้วยการลุกและลงเวทีประชุมไปว่า… Israelbecame a gangster state!!

อัรดูฆอน ถูกสั่งจับตายจากตำรวจลับของอิสราเอล (หน่วยมอสสาด) แต่ไม่สำเร็จ อิสราเอลมองว่า นายกรัฐมนตรีนิยมอิสลามผู้นี้ไม่เหมือนผู้นำโลกมุสลิมคนอื่นๆ ที่ว่านอนสอนง่าย หรือที่มีอุดมการณ์หน่อย ก็เป็นชาตินิยมหรือคลั่งไคล้เชื้อชาติไป ซึ่งไม่ได้มีพิษมีภัยอะไรต่อพวกยิว

ย้อนกลับไปในปี ค.ศ.1453 สุลต่าน มุฮัมหมัด อัลฟาติฮฺ วัย 21 ปี ได้ทำให้ความฝันของตนเองและสิ่งที่มวลมุสลิมทุกคนรอคอยสำเร็จ นั้นคือคำกล่าวของท่านนบี(ซ.ล.) เรา ที่ว่า กรุงคอนสแตนติโนเปิลจะถูกพิชิต และกองทหารที่พิชิตนี้ เป็นกองทหารที่ดียิ่ง… มุฮัมหมัด บิน มุร็อด ในวัยเด็กยังจำคำสอนของครูส่วนตัวของเขาได้ดี และยังจำวันวานที่ครูของเขาชอบที่จะนำมาเที่ยวชายหาดสม่ำเสมอ ครูของเขามักจะชี้ไปฝั่งแผ่นดินคอนสแตนติโนเปิล และเล่าหะดีษนบี (ซ.ล.) บทนี้อยู่เสมอๆ มุฮัมหมัดจำฝังใจและต้องการเป็นผู้นำของกองทหารหาญนั้น จากเมืองของจักรพรรดิคอนสแตนติน (คอนสแตนติโนเปิล) มาเป็นอิสตันบูล (แปลว่าเมืองแห่งอิสลาม) แรงบันดาลใจมาจากคำพูดของท่านนบี (ซ.ล.) ของพวกเรานี่ล่ะ อุษมานียะฮฺปกครองตุรกีและแผ่นดินมุสลิมทั้งมวล 600 กว่าปี จนถูกมุสตอฟา กามาล อตาเติร์ก โค่นล้มไปนั้น มาวันนี้ ชายที่ชื่อ อัรดูฆอนกำลังจะนำความยิ่งใหญ่นี้กลับมาอีกครั้งหนึ่ง

วันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2553 ในเหตุการณ์ หน่วยคอมมันโดอิสราเอลขึ้นไปถล่มเรือบรรเทาทุกข์ของคณะทำงานสิทธิมนุษยชนจากหลายประเทศที่จะขนส่งปัจจัยในการดำรงชีพที่สำคัญแก่ฆ็อซซะและชาวฟาลิสฏีนนั้น มีผู้เสียชีวิตหลายคน นายกรัฐมนตรีอัรดูฆอนแห่งตุรกี ซึ่งเป็นเจ้าภาพคณะทำงานสิทธิมนุษยชนนี้นั้น ได้ประกาศให้มีการละหมาดญะนาซะฮฺทั่วประเทศ และมีรายงานว่านำมายัตไปละหมาดที่มัสยิดสีน้ำเงินซึ่งเป็นมัสยิดที่สำคัญมากที่สุดแห่งหนึ่งของอาณาจักรอิสลามอุษมานียะฮฺ ทำไมต้องละหมาดที่นี่… อัรดูฆอนกำลังทำบางสิ่งบางอย่างเพื่อเป็นสัญลักษณ์ที่จะบอกแก่ชาวโลกโดยเฉพาะชาวมุสลิมทั้งหลายว่า ควรทำอะไร และเตรียมตัวพร้อมหรือยังกับการเดินตามอุดมการณ์แห่งนักรบมุสลิมในอดีตที่ต่อสู้กับความอยุติธรรมทั้งหลาย การต่อสู้ของผู้นำคนนี้เป็นสัญลักษณ์ใหม่ที่พวกเราต้องติดตาม และช่วยกันขอดุอาอฺเหมือนดั่งเช่นที่มุสลิมอีกหลายล้านคนกระทำ พี่น้องของเขา เรือนร่างเดียวกันของเขา อยู่ทุกหนทุกแห่งบนโลกใบนี้ เป็นภาระหน้าที่ของเราที่จะต้องทำการปลดปล่อย เพื่อที่เราจะได้เป็นมุอฺมินคนหนึ่ง ที่จะมีผลงานแสดงต่อพระเจ้าของเราในวันโลกหน้า





เราอาจจะได้ยินข่าวหรือการวิจารณ์อย่างรุนแรงต่ออัรดูฆอนและตุรกี ว่าเป็นประเทศมุสลิมที่แปลกและมีข่าวในเรื่องการสั่งห้ามใส่ฮิญาบให้ผ่านหูกันบ่อยๆ แต่ใครจะรู้บ้างว่า นายกรัฐมนตรีคนนี้กำลังต่อสู้อย่างลับๆ ด้วยอุดมการณ์อิสลามของเขา (ล่าสุด ฝ่ายบริหารการอุดมศึกษาตุรกีออกกฎใหม่ ตามคำสั่งนายกฯ เเละพรรค AKP ของเขา ให้คลุมฮิญาบเข้าเรียนได้เเล้ว (ข้อมูลวันที่ 19/10/53) ทำเอาพวกผู้พิพากษาเเนวเซคคิวลาห์ ร้อนผ่าวนั่งไม่ติดไปตามๆ กัน) เพื่อนของผู้เขียนเอง ที่ได้ไปศึกษาที่ตุรกีก็ได้เล่าว่า เพื่อนๆ หนุ่มสาวมุสลิมในตุรกีก็เริ่มจับกลุ่มสร้างฮาลากอฮฺ พูดคุยเรื่องอิสลามอย่างเข้มข้นในที่ลับ แม้แต่ตัวของที่ปรึกษานายกฯ เอง ก็บินมาบรรยายที่มหาวิทยาลัยมัรมารา อิสตันบูล มีการแจกเอกสารประกอบที่เต็มไปด้วยเนื้อหาแนวคิดการฟื้นฟูอิสลาม สิ่งเหล่านี้ถูกสนับสนุนโดยรัฐบาล ทั้งๆ ที่ศาลและตำรวจออกกฏหมายห้าม แต่นายกรัฐมนตรีกลับอนุญาต เมืองนี้อำนาจศาลและตำรวจ ยังเป็นเซคคิวลาห์นั้นอาจจะเป็นขวากหนามกีดกันการทำงานของอัรดูฆอนก็จริงอยู่ แต่เขาก็ฉลาดที่จะเลือกกระทำสิ่งต่างๆ ให้โลกได้เห็นเช่นที่เราได้รับรู้กัน เพราะจะไม่แปลกเลยหรอที่นายกรัฐมนตรีมุสลิมคนหนึ่ง ชอบที่จะนำภรรยาตนเองออกงาน (เมื่อจำเป็น) และทั้งเขาและเธอก็แสดงออกถึงความเป็นมุสลิมอย่างอิ่มเอมใจ ภรรยาของเขาใส่ฮิญาบปกปิดมิดชิด แต่ในประเทศตนเองนั้น กลับมีการห้ามใส่ฮิญาบกันเป็นปกติ… ประเทศแห่งนี้ นายกรัฐมนตรีคนนี้ และการกระทำของเขา มีอะไรหลายอย่างที่ทำให้ยิวนั้นหวาดกลัวขึ้นมาจับใจ ขณะเดียวกันก็สร้างความชุ่มชื่นแก่หัวใจมุสลิมอีกหลายล้านคนที่เบื่อหน่ายกับผู้นำมุสลิมในโลกอาหรับที่กินอยู่ฟู่ฟ่า ไม่สนใจพี่น้องตนเอง รอการลงโทษจากพระเจ้า เช่นที่คุณลุงคนหนึ่งนามว่า ฮิลมี มาดาคุร คนงานในโรงงานพลาสติก กรุงไคโร ประเทศอียิปต์ ฝากทิ้งท้ายให้พวกเราได้เอามานั่งคิดว่า

“ผู้นำอาหรับทั้งหลายควรที่จะเอานายกอัรดูฆอนเป็นแบบอย่าง คือความกล้าหาญและความจริงใจในตัวเขา… เขาไม่ไช่คนอาหรับ แต่เขาก็ได้ปกป้องชาวฟาลิสฏีนอย่างแข็งแกร่งและกล้าหาญ มากกว่าพวกผู้นำอาหรับเสียอีก ผมหวังว่าเขาจะนำระบอบคีลาฟะฮฺกลับมา”
… Gulf News

รุ่งอรุณ เเห่งอิสลาม เรียบเรียง
ตีพิมพ์ใน Halal Life Magazine ฉบับที่ 1


ที่มา : http://halallifemag.com/recep-tayyip-erdogan/


#วีรบุรุษอิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online
read more "รอยั๊บ ฏอยยิบ อัรดูฆอน นายกรัฐมนตรีตุรกีผู้ปกป้องชาวปาเลสไตน์"

วันจันทร์ที่ 17 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

อายา โซเฟีย จากมหาวิหารในคริสตศาสนาสู่มัสญิดหลวงแห่งออตโตมาน

อายา โซเฟีย จากมหาวิหารในคริสตศาสนาสู่มัสญิดหลวงแห่งออตโตมาน





ในปี ค.ศ.532 จักรพรรดิจัสติเนียนที่ 1 แห่งจักรวรรดิโรมันตะวันออก (ไบเซนไทน์) ได้ทรงสร้างมหาวิหารในคริสตศาสนาขึ้นในกรุงคอนสแตนติโนเปิ้ล ราชธานีของพระองค์ และเฉลิมนามแก่มหาวิหารอันยิ่งใหญ่นี้ว่า “อายา โซเฟีย”(اَياصُوفِيَا) ซึ่งนับเป็นเพชรน้ำเอกทางสถาปัตยกรรมของไบเซนไทน์ ที่ตั้งตระหง่านคู่กับจักรวรรดิเรื่อยมาจนถึงรัชสมัยจักรพรรดิคอนสแตนติน บาลิโอลูกัส ที่ 11 (ค.ศ.1449 – 1453) จักรพรรดิองค์สุดท้ายของจักรวรรดิไบเซนไทน์ นั่นหมายความว่า มหาวิหาร “อายา โซเฟีย” คงสถานะเป็นมหาวิหารสำคัญในทางคริสตศาสนาตลอดระยะเวลา 921 ปีด้วยกัน

ปี ค.ศ. 1453 (ฮ.ศ.857) ซุลตอน มุฮัมมัด อัลฟาติฮฺที่ 2 (ค.ศ. 1429 – 1481 / ฮ.ศ. 833 – 886) ได้ทรงนำทัพเข้าล้อมกรุงคอนสแตนติโนเปิ้ล ที่มั่นสุดท้ายของจักรวรรดิโรมันไบเซนไทน์ ขณะนั้นซุลตอนมุฮัมมัด อัลฟาติฮฺ มีพระชนมายุได้ 25 พรรษา พระองค์ใช้เวลาปิดล้อมนครแห่งนี้ 50 วัน ก็สามารถพิชิตได้ในที่สุด ตรงกับวันที่ 20 ญุมาดา อัลอูลา ฮ.ศ.857 (29 พฤษภาคม ค.ศ.1453) เมื่อซุลตอนมุฮัมมัด อัลฟาติฮฺที่ 2 ทรงนำกองทัพยาตราเข้าสู่ตัวเมืองแล้ว พระองค์ได้เสด็จเยือนวิหาร “อายา โซฟีย” และใช้ให้มุอัซซิน (ผู้ประกาศเชื้อเชิญสู่นมัสการ) ทำการอะซานในมหาวิหารแห่งนี้ เพื่อประกาศว่ามหาวิหารแห่งนี้ได้ถูกเปลี่ยนเป็นมัสยิดหลวงสำหรับชาวมุสลิมแล้ว

เมื่อเป็นเช่นนี้รูปภาพที่ประดับประดาด้วยกระเบื้องโมเสคเคลือบลายน้ำทอง ซึ่งเป็นศิลปะแบบไบเซนไทน์อันเป็นภาพตามคติความเชื่อในศาสนาคริสต์จึงถูกปูนปลาสเตอร์โบกทับ เฉพาะส่วนโถงและภายในโดมของมหาวิหาร ทั้งนี้เพื่อให้สอดคล้องกับคติความเชื่อของศาสนาอิสลาม ที่ไม่อนุมัติให้มีรูปภาพหรือรูปเคารพ มีการจัดสร้างมิฮฺรอบ (اَلْمِحْرَابُ) อันหมายถึงสถานที่บ่งบอกทิศที่ตั้งของอัลกะอฺบะห์ และเป็นที่สำหรับอิหม่ามผู้นำนมัสการขณะประกอบศาสนกิจ โดยมิฮฺรอบถูกสร้างขึ้นบริเวณส่วนกลางของปีกด้านใต้ของมหาวิหารเดิม และมีการตั้งมิมบัร (ธรรมาสน์ในการแสดงธรรมวันศุกร์และวันสำคัญทางศาสนา) เหนือเสาใหญ่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของมหาวิหาร 


ในสมัยซุลตอนมุรอด ข่าน ที่ 4 ก็มีการเขียนตัวอักษรภาษาอาหรับขนาดใหญ่อย่างงดงามลงบนแผ่นไม้ทรงกลม ซึ่งแขวนอยู่บนผนังของมัสยิด โดยเขียนพระนามของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) นามท่านศาสดา (ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะซัลลัม) และนามชื่อของบรรดาค่อลีฟะห์ผู้สืบทอดต่อจากท่านศาสดา (ศ็อลลัลลอฮฺ อะลัยฮิวะซัลลัม) ทั้ง 4 ท่าน ลวดลายการเขียนตัวอักษรภาษาอาหรับอันวิจิตรบรรจงนี้ เป็นฝีมือของท่านบิชกะญีย์ ซาดะห์ มุสตอฟา เชลบีย์ นักเขียนตัวอักษร (คอตตอต) ผู้เลื่องชื่อในยุคนั้น เฉพาะตัวอักษรอลีฟเพียงหนึ่งอักษรนั้นมีความยาวถึง 10 ศอกด้วยกัน ในรัชสมัยซุลตอนอะห์หมัด ข่าน ที่ 3 พระองค์ได้มีบัญชาให้สร้างห้องสำหรับซุลตอนใช้ปฏิบัติการนมัสการ โดยยกพื้นสูงมีเสารองรับอยู่บริเวณด้านหน้าอาคารมัสยิด ครั้นถึงรัชสมัยซุลตอนมะห์มูด ข่าน ที่ 1 ได้โปรดให้สร้างที่เก็บกักน้ำสำหรับใช้อาบน้ำละหมาด และโรงเรียนบริเวณทิศใต้ติดกับอาคารมัสยิดและห้องสำหรับเก็บหนังสือที่มีคุณค่าทางวิชาการ


ในรัชสมัยซุลตอน อับดุลมะญีด พระองค์ได้ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พี่น้องตระกูลฟุสฎีย์ ซึ่งเป็นตระกูลสถาปนิกชาวอิตาเลี่ยน ทำการบูรณะปฏิสังขรณ์อาคารมัสยิดทั้งหมด และเพิ่มขนาดความสูงของหออะซาน ทั้ง 4 เสารายล้อมอาคารมัสยิด ตลอดช่วงระยะเวลานานนับพันปีมัสยิดหลวง “อายา โซเฟีย” ได้ตั้งตระหง่านอย่างมั่นคงท้าทายกาลเวลา และต้องเผชิญกับแผ่นดินไหวซึ่งเกิดขึ้นอยู่บ่อยครั้ง และมักจะเกิดขึ้นอย่างรุนแรงในดินแดนตุรกี หออะซานของมัสยิดเสาแรกถูกสร้างขี้นในรัชสมัยซุลตอนมุฮัมมัด อัลฟาติฮฺ ส่วนที่หออะซานที่เหลือถูกสร้างในเวลาต่อมา นับแต่รัชสมัยซุลตอนสะลีม ข่าน ที่ 2 เหนือยอดโดมอันมโหฬารซึ่งอยู่กึ่งกลางอาคารมัสยิดนั้น ได้มีการประดับยอดด้วยจันทร์เสี้ยวซึ่งทำมาจากบรอนซ์ มีเส้นผ่าศูนย์กลาง 30 เมตร โดมบางแห่งก็ถูกเปลี่ยนแปลงรูปทรงตามความเหมาะสมของหลักวิศวกรรมและสถาปัตยกรรม มีการสร้างโรงเรียนขึ้นในบริเวณรอบอาคารมัสยิด และสุสานตลอดจนอาคารสำคัญๆ ขึ้นอีกหลายแห่ง

ชาวมุสลิมได้เสริมผนังของตัวอาคารมัสยิด “อายา โซเฟีย” เพิ่มเติมและสร้างเสาค้ำผนังด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ ในรัชสมัยซุลตอนมุรอด ที่ 3 หออะซานต้นที่สามและสี่ก็ถูกสร้างขึ้น พระองค์ยังได้มีบัญชาให้สร้างบ่อน้ำอีก 2 แห่งบริเวณด้านหน้าประตูของมัสยิด ซึ่งแต่ละบ่อสามารถจุน้ำได้ถึง 1,150 ลิตร เพื่อใช้ในการอาบน้ำละหมาด ภายในอาคารมัสยิดได้มีการสร้างแท่นขึ้นมา 2 แท่นด้วยกัน แท่นหนึ่งใช้สำหรับการอ่านคัมภีร์อัลกุรอ่านตลอดทั้งวัน และอีกแท่นหนึ่งใช้ทำการอะซาน นอกจากนี้ยังได้มีการหล่อรูปจันทร์เสี้ยวหุ้มด้วยทองคำบริสุทธิ์ขนาด 50 คืบ และนำไปติดตั้งแทนที่ไม้กางเขนเหนือยอดโดม ซึ่งสามารถแลเห็นได้ไกล




มัสยิด “อายา โซเฟีย” นับเป็นอาคารต้นแบบด้านสถาปัตยกรรมของตุรกีและโลกอิสลามในเวลาต่อมา ซึ่งเป็นศิลปะผสมผสานจากเค้าเดิมแบบไบเซนไทน์และอิสลาม และยังคงเป็นสถานที่ประกอบศาสนกิจสำคัญที่สุดของจักรวรรดิออตโตมานตลอดช่วงอายุขัยของจักรวรรดิ จวบจนเมื่อจักรวรรดิออตโตมานล่มสลาย มุสตอฟา ก่ามาล อาตาเติร์ก ขึ้นสู่อำนาจก็ได้ประกาศให้มิสยิดแห่งนี้เป็นพิพิธภัณฑ์สถานของนครอิสตันบูลจวบจนทุกวันนี้

======================================================================================================

ที่มา
– ตารีค อัดเดาละห์ อัลอะลียะห์ อัลอุษมานียะห์ มุฮัมมัด ฟารีด เบก์ อัลมุฮามีย์ คศ. 1983
– ตารีค อัดเดาละห์ อัลอุษมานียะห์ ดร.อะลี ฮัซซูน อัลมักตับ อัลอิสลามีย์ คศ. 1994
– อัลมุนญิด ฟิล ลุเฆาะห์ วัลอะอ์ลาม


เรียบเรียงโดย อ. อาลี เสือสมิง · ตุลาคม 23, 2009


#อารยธรรมอิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online

read more "อายา โซเฟีย จากมหาวิหารในคริสตศาสนาสู่มัสญิดหลวงแห่งออตโตมาน"

วันศุกร์ที่ 14 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

7 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "ซอลาฮุดดีน"

7 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "ซอลาฮุดดีน"




หลาย ๆ อาจจะรู้จักชายที่ชื่อ "ซอลาฮุดดีน" กันแล้วหรือที่ฝรั่งเรียกกันว่า "ซาลาดิน" แตวันนี้ผมจะมานำเสนอเรื่องที่หลาย ๆ ท่านอาจจะยังไม่รู้เกี่ยวกับชายผู้นี้ แบ่งเป็น ข้อ ๆ ไปเพื่อความสะดวกในการอ่าน

1 - ชื่อจริงของ "ซอลาฮุดดีน" มีชื่อว่า "ยูซูฟ อิบนิ อัยยูบ" ถ้าเรียกแบบฝรั่งก็คือ "โจเซฟ ลูกของ โย๊ป" (โจเซฟ = ยูซุฟ , โย๊ป = อัยยูบ)

2 - บิดาของท่าน ซอลาฮุดดีน เป็นผู้ปกครองเมือง ดามัสกัส ส่วนลุงของท่านเป็นแม่ทัพใหญ่ใน ราชวงศ์เซงกี

3 - ซอลาฮุดดีน เป็นชาวเคิร์ด สืบเชื้อสายบรรพบุรุษมาจากเมือง Dvin (ปัจจุบันอยู่ในประเทศอาร์เมเนีย)

4 - ซอลาฮุดดีนพูดได้ถึง 3 ภาษา อาหรับ เคิร์ด ตุรกี(เป็นภาษาใช้ในกองทัพ)

5 - คู่ปรับของท่านคือ กษัตริย์ริชาร์ด ที่ 1 แห่งอังกฤษ หรือที่รู้จักกันในนาม ริชาร์ดใจสิงห์

6 - ซอลาฮุดดีน เคยถูกลอบฆ่าจากกลุ่ม ฮาซซาซิน จนกระทั่งท่านยกกองทัพไปที่หน้าป้อมปราการของกลุ่ม ฮาซซานซิน และขอให้กลุ่มฮาซซาซิน ล้มเลิกความคิดนี้ซะ ไม่เช่นนั้นจะให้กองทัพทำลายป้อมปราการของกลุ่มฮาซซาซินทิ้ง

7 - ซอลาฮุดดีน เสียชีวิตจากอาการป่วยเพียงไม่กี่เดือนหลังจากที่กษัตริย์ริชาร์ดใจสิงห์เดินทางกลับอังกฤษ ซอลาฮุดดีนมีทรัพย์สมบัติที่เหลือให้กับราชวงศ์เพียงแค่ทองคำ 1 ชิ้น เงิน 40 ชิ้น ซึ่งไม่เพียงพอแม้แต่การใช้จ่ายในงานศพ

อันนี้ถือเป็นเรื่องเพียงเล็กน้อยในชีวประวัติของ ซอลาฮุดดีน ยูซุฟ อิบนิ อัยยูบ ไว้หากมีโอกาศจะเขียนประวัติตั้งแต่แรกเริ่มจนถึงวาระสุดท้ายของท่าน

เรียบเรียงโดย Ekamon Niyomrach@กลุ่มประชาชาติแห่งอิสลาม

Cr. ดาบแห่งอัลเลาะห์ แอนตี้ไซออนิสต์


read more "7 เรื่องน่ารู้เกี่ยวกับ "ซอลาฮุดดีน""

วันจันทร์ที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ชั้นฟ้าทำหน้าที่เสมือนหลังคาปกป้องโลก

ชั้นฟ้าทำหน้าที่เสมือนหลังคาปกป้องโลก


ชั้นฟ้าทำหน้าที่เสมือนหลังคาปกป้องโลก”กุรอ่านกล่าวไว้นานแล้ว นักวิทยาศาสตร์เพิ่งค้นพบ
(ดร.วินัย ดะห์ลัน)



นักวิทยาศาสตร์ในวันนี้รู้ว่านับจากผิวทะเลสูงขึ้นไปบนอากาศ โลกมีชั้นบรรยากาศห่อหุ้มอยู่เป็นชั้นๆ เริ่มจากชั้นแรกตั้งแต่ 0 ถึง 10 กิโลเมตรเป็นชั้นที่เรียกว่า “โทรโพสเฟียร์” อากาศหนาแน่นและแปรปรวน เครื่องบินหากต้องการบินในระดับที่มีแรงเสียดทานของอากาศน้อย แปรปรวนต่ำ ต้องบินให้สูงกว่าชั้นนี้ ชั้นที่สองมีชื่อว่า “สตราโทสเฟียร์” นับตั้งแต่ 10-45 กิโลเมตร เป็นชั้นที่ค่อนข้างปลอดความแปรปรวน ชั้นที่สามเรียกว่า “มีโซสเฟียร์” ตั้งแต่ 45-80 กิโลเมตร อุณหภูมิค่อนข้างต่ำ ชั้นที่สี่คือ “เทอร์โมสเฟียร์” ตั้งแต่ 80-500 กิโลเมตรจากผิวโลก อุณหภูมิกลับสูงขึ้นจาก 227-1,727 องศาเซลเซียส ชั้นที่ห้าคือ “เอ็กโซสเฟียร์” นับจาก 500 กิโลเมตรขึ้นไปจนถึง 1,000 กิโลเมตรไม่เกิน 10,000 กิโลเมตรซึ่งถือเป็นชั้นนอกสุดของชั้นบรรยากาศของโลก อุณหภูมิสูงขึ้นถึง 726 องศา



บรรยากาศห่อหุ้มโลกเป็นชั้นๆเช่นนี้ ทำหน้าที่ปกป้องโลกจากอันตรายต่างๆที่มาจากอวกาศไม่ว่าจะเป็นรังสีอันตรายหรือสะเก็ดดาวต่างๆ ที่มีเกลื่อนกลาด เมื่อผ่านเข้าสู่ชั้นบรรยากาศของโลก เศษดาวเหล่านี้ถูกเผาไหม้กลายเป็นจุลมองเห็นจากพื้นโลกในรูปของดาวตกหรือผีพุ่งใต้บรรยากาศห่อหุ้มโลกจึงทำหน้าที่เสมือนหลังคาป้องกันผิวโลกรวมทั้งสิ่งมีชีวิตเช่นมนุษย์ไม่ให้ได้รับอันตรายจากปัญหาต่างๆที่มาจากอวกาศ เรื่องนี้นักวิทยาศาสตร์ยุคใหม่รู้กันดีอยู่แล้ว

มนุษย์อาศัยอยู่บนผิวโลกมีอากาศหนาแน่น หายใจปลอดโปร่ง แต่เมื่อต้องเดินทางสูงขึ้นไปด้านบนท้องฟ้า ความรู้สึกปลอดโปร่ง หายใจโล่งจะค่อยๆหายไปจนกระทั่งเริ่มรู้สึกอึดอัดในระดับความสูง 6,000 เมตรจนถึงความสูง 8,000 เมตรมนุษย์ไม่สามารถหายใจได้แล้วเนื่องจากขาดอ็อกซิเจนกระทั่งต้องใช้เครื่องช่วยหายใจเท่านั้น ความรู้สึกอึดอัดเพราะขาดอากาศหายใจในพื้นที่สูงเช่นนี้คนอาหรับในทะเลทรายอาระเบียไม่เคยรู้จักมาก่อนเนื่องจากเทือกเขาสูงสุดของพื้นที่แถบนี้คือจะบัลเซาดาสูงเพียง 3,000 เมตรเท่านั้น ส่วนที่สูงที่สุดในโลกตะวันออกกลางคือภูเขาดามาวันด์ (Damavand) ในอิหร่านสูง 5,600 เมตร ซึ่งยังไม่เกิดอาการอึดอัดหายใจลำบาก คนในโลกอาหรับยุคเก่าจึงไม่รู้จักอาการหายใจติดขัด แต่ไฉนเรื่องเช่นนี้จึงปรากฏในอัลกุรอาน

فَمَن يُرِدِ ٱللَّهُ أَن يَهۡدِيَهُ ۥ يَشۡرَحۡ صَدۡرَهُ ۥ لِلۡإِسۡلَـٰمِ‌ۖ وَمَن يُرِدۡ أَن يُضِلَّهُ ۥ يَجۡعَلۡ صَدۡرَهُ ۥ ضَيِّقًا حَرَجً۬ا ڪَأَنَّمَا يَصَّعَّدُ فِى ٱلسَّمَآءِ‌ۚ ڪَذَٲلِكَ يَجۡعَلُ ٱللَّهُ ٱلرِّجۡسَ عَلَى ٱلَّذِينَ لَا يُؤۡمِنُونَ

“ผู้ใดที่อัลลอฮฺทรงต้องการจะแนะนำเขาก็จะทรงให้หัวอกของเขาเบิกบานเพื่ออิสลามและผู้ใดที่พระองค์ทรงต้องการจะปล่อยให้เขาหลงทางก็จะทรงให้ทรวงอกของพวกเขาแคบอึดอัด ประหนึ่งว่าเขากำลังขึ้นไปบนฟากฟ้าในทำนองนั้นแหละอัลลอฮฺจะทรงให้มีความโสมมแก่บรรดาผู้ที่ไม่ศรัทธา” อัลอันอาม 6:125

อัลกุรอานชี้ชัดว่าเมื่อมนุษย์ขึ้นสู่ฟากฟ้าย่อมเกิดภาวะอึดอัดกระทั่งหายใจไม่ออก ยิ่งไปกว่านั้นอัลกุรอานยังยืนยันด้วยว่าชั้นฟ้าที่ห่อหุ้มโลกนี้ทำหน้าที่เป็นหลังคา ลอยอยู่สูงไม่ตกลงมา ทั้งหมดคือสัญญาณที่แสดงให้เห็นถึงความยิ่งใหญ่ของอัลลอฮฺ

وَجَعَلۡنَا ٱلسَّمَآءَ سَقۡفً۬ا مَّحۡفُوظً۬ا‌ۖ وَهُمۡ عَنۡ ءَايَـٰتِہَا مُعۡرِضُونَ

“และเรา (อัลลอฮฺ) ได้ทำให้ชั้นฟ้าเป็นหลังคาถูกรักษาไว้ไม่ให้หล่นลงมา และพวกเขาก็ยังผินหลังให้สัญญาณต่างๆของมัน” อัลอัมบิยาอฺ 21:32


แหล่งที่มา
บทความ : http://www.mtoday.co.th/21528
Youtube : Miracles Of Quran


#God_Islamic_Society_Online#ปาฏิหาริย์แห่งอิสลาม_Islamic_Society_Online
#มหัศจรรย์อัลกรุอาน_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "ชั้นฟ้าทำหน้าที่เสมือนหลังคาปกป้องโลก"

วันศุกร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

ย้อนรอยประวัติศาสตร์: 1 ศตวรรษคำประกาศบัลโฟร์ – ดร.ศราวุฒิ อารีย์

ย้อนรอยประวัติศาสตร์: 1 ศตวรรษคำประกาศบัลโฟร์ – ดร.ศราวุฒิ อารีย์



“ข้าพเจ้าเห็นใจพวกยิว แต่การเห็นใจนี้ไม่ได้ทำให้ข้าพเจ้าตาบอดต่อการต้องการความยุติธรรม เสียงเรียกร้องให้มีรัฐยิวนั้นไม่ดึงดูดใจข้าพเจ้านัก ปาเลสไตน์เป็นของพวกอาหรับในความหมายเดียวกันอย่างที่ประเทศอังกฤษเป็นของชาวอังกฤษ และประเทศฝรั่งเศสเป็นของชาวฝรั่งเศส…เป็นความผิดพลาดทีเดียวที่จะเข้าไปในประเทศนั้นโดยมีปืนของอังกฤษคุ้มกันอยู่ จะกล่าวหาชาวอาหรับแม้แต่อย่างใดไม่ได้ ถ้าพวกนี้ต้องต่อสู้ต่อการรุกราน”

Mahatma Candhi,
Article in Harjan, November 12,1938

ท่ามกลางสถานการณ์ความรุนแรงในตะวันออกกลางซึ่งสะท้อนให้เห็นถึงความเกลียดชังที่นำไปสู่การเข่นฆ่าและการจองล้างจองผลาญซึ่งกันและกันไม่เว้นแต่ละวัน คงทำให้หลายต่อหลายคนอดที่จะนึกสงสัยไม่ได้ว่า ต้นเหตุความขัดแย้งระหว่างชาวอาหรับและชาวยิวนั้นมีความเป็นมาอย่างไร อะไรที่เป็นชนวนก่อให้เกิดเปลวเพลิงแห่งความเคียดแค้นที่ยังคงลุกโชนมาถึงทุกวันนี้ แม้เวลาจะผ่านไปแล้วกว่า 80 ปีก็ตาม

บางคนสรุปเป็นทฤษฎีง่าย ๆ ว่า ความอาฆาตพยาบาทระหว่างกลุ่มชนสองเผ่าพันธุ์นี้มีพื้นฐานมาจากความขัดแย้งทางศาสนา ซึ่งทำให้ยากต่อการเยียวยาแก้ไข แต่หากพิจารณาอย่างครอบคลุม โดยใช้รากฐานทางประวัติศาสตร์และความเชื่อทางศาสนาเป็นข้อมูลประกอบแล้ว จะพบว่าทฤษฎีความขัดแย้งทางศาสนาไม่น่าจะถูกต้องเสียทีเดียว

เพราะอย่างน้อยในทัศนะอิสลามถือว่า ทั้งชาวยิวและชาวคริสเตียนที่ยังคงนับถือศาสนาดั้งเดิมของตนโดยไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไร ล้วนเป็น “ชาวคัมภีร์” (People of the Book) หรือเป็นกลุ่มชนที่เชื่อในคัมภีร์ ซึ่งพระเจ้าประทานลงมาเป็นแนวทางให้แก่มนุษยชาติ ผ่านทางศาสนทูตในแต่ละยุคแต่ละสมัย ซึ่งชาวคัมภีร์เหล่านี้ย่อมได้รับการปฏิบัติด้วยความเคารพจากอิสลาม

แม้แต่ในประวัติศาสตร์อิสลามเอง หลังจากที่พิชิตนครเยรูซาเล็มได้ในศตวรรษที่ 7 ก็ปรากฏว่าผู้นำอิสลามในสมัยนั้น โดยเฉพาะ คอลีฟะฮ์ อุมัร อิบนฺ ค็อฏฏอบ ก็ได้ให้สิทธิอันเท่าเทียมแก่ชาวคริสเตียนและชาวยิว ทั้งในแง่ของการดำรงชีวิตและการประกอบพิธีกรรมทางศาสนา

เช่นเดียวกันกับวัฒนธรรมของชาวยิวในยุคก่อน ๆ ที่ไม่เคยอาฆาตมาดร้ายต่อชาวมุสลิม ยกเว้นก็แต่เฉพาะชาวยิวบางคนบางกลุ่มเท่านั้น ที่เชื่อในความเหนือกว่าทางชาติพันธุ์ของตนเอง โดยปฏิบัติต่อกลุ่มชาติพันธุ์อื่น ๆ ด้วยความมีอคติ

เพราะฉะนั้น ความเชื่อที่ว่าความเกลียดชังซึ่งกันและกันในปัจจุบันเกิดจากความขัดแย้งที่มีพื้นฐานมาจากศาสนา จึงเปรียบเสมือนม่านบังตาที่ทำให้หลายฝ่ายเกิดความท้อแท้ที่จะหาทางแก้ไขอย่างเป็นรูปธรรม

ความขัดแย้งในประเด็นปัญหาปาเลสไตน์ที่เราเห็นความเป็นไปในปัจจุบัน อาจต้องย้อนรากเหง้ากลับไปดูที่ คำแถลงการณ์บัลโฟร์ (Balfour Declaration) ซึ่งมีชื่อเรียกตามนามของรัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษสมัยนั้น คือ เซอร์ อาร์เธอร์ เจมส์ บัลโฟร์ (Sir Arthur James Balfour) คำแถลงการณ์บัลโฟร์นี้ ได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอังกฤษในเดือนตุลาคม 1917 มาถึงวันนี้ก็ครบรอบ 100 ปีพอดี

ใจความของคำแถลงการณ์ตอนสำคัญมีความว่า

“รัฐบาลแห่งพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวพิจารณาด้วยความเห็นชอบ ในการตั้งถิ่นฐานสำหรับพวกยิวขึ้นแห่งหนึ่งในประเทศปาเลสไตน์ และจะใช้ความพยายามจนสุดความสามารถที่จะอำนวยความสะดวกต่อการบรรลุถึงวัตถุประสงค์ข้อนี้ เป็นที่เข้าใจอย่างแจ้งชัดว่า จะไม่มีการปฏิบัติการใด ๆ อันเป็นผลร้ายต่อสิทธิพลเรือนและการนับถือศาสนา ของหมู่ชนที่มิใช่ชาวยิวในประเทศปาเลสไตน์ หรือสิทธิและสถานภาพทางการเมืองที่พวกยิวได้รับในประเทศอื่น”

เพื่อที่จะทำให้ผู้อ่านเข้าใจมากขึ้น และเพื่อความเป็นกลางในการนำเอาบทแถลงการณ์บัลโฟร์ข้างต้นไปวิเคราะห์ต่อไป จึงมีความจำเป็นที่เราจะต้องสืบสาวราวเรื่องเหตุการณ์สำคัญๆ ก่อนที่แถลงการณ์บัลโฟร์จะถูกประกาศและมีผลบังคับใช้ตามกฎหมาย

ความมีอยู่ว่าเมื่อราว ๆ ค.ศ. 1915 มีการติดต่อกันทางจดหมายระหว่าง เซอร์ เฮนรี่ เมคมาฮอน (Sir Henry McMahon) ข้าหลวงใหญ่อังกฤษประจำอียิปต์ กับ ชารีฟ ฮุสเซน (Sharif Hussein) ผู้ครองแคว้นฮิญาชและเป็นตัวแทนของชาวอาหรับทั้งผอง ข้อใหญ่ใจความของจดหมายระบุว่า เมคมาฮอนพยายามเกลี่ยกล่อมให้ชาวอาหรับสนับสนุนฝ่ายมหาอำนาจพันธมิตร สู้รบกับฝ่ายมหาอำนาจอักษะในสงครามโลกครั้งที่ 1 โดยสัญญาจะให้เอกราชแก่ชาวอาหรับในทุก ๆ ดินแดนหลังจากสงครามยุติลง รวมถึงปาเลสไตน์ด้วย ด้วยเหตุนี้ อังกฤษจึงได้ลงนามในข้อตกลงแองโกล-อาหรับในฤดูใบไม้ร่วงปี 1915 นั่นเอง

คำสัญญาดังกล่าวทำให้ ชารีฟ ฮุสเซน เข้าร่วมรบกับกองทัพฝ่ายพันธมิตร ขณะเดียวกัน ชาวอาหรับจากซีเรีย เลบานอน และปาเลสไตน์ ก็เข้าร่วมลุกฮือขึ้นก่อกบฎต่อต้านอาณาจักรออตโตมานที่ประกาศเข้าร่วมสงครามในนามฝ่ายอักษะ ชาวอาหรับยินดีต้อนรับกองทัพอังกฤษที่เข้ามาในปาเลสไตน์ เปรียบทหารอังกฤษเหล่านั้นเป็นเสมือนผู้มาปลดปล่อยให้พวกเขามีอิสรภาพหลังจากต้องตกอยู่ภายใต้อำนาจการปกครองของตุรกีมานานเกือบ 500 ปี

แต่แล้วชาวอาหรับก็ถูกหักหลัง เพราะไม่เพียงแต่อังกฤษจะไม่รักษาคำมั่นสัญญาเท่านั้น แต่ยังไปสนับสนุนองค์กรยิวไซออนิสต์ให้จัดตั้งรัฐยิวขึ้นในปาเลสไตน์ โดยไม่ได้ปรึกษาหารือกับชาวอาหรับเจ้าของดินแดนแต่ประการใดทั้งสิ้น อีกทั้งยังออกมาตรการต่าง ๆ ขึ้นมาใช้เพื่ออำนวยความสะดวกให้ชาวยิวได้อพยพเข้ามาในแผ่นดินปาเลสไตน์แบบไม่จำกัดจำนวน

ในเวลานั้น ประชากรของประเทศปาเลสไตน์ทั้งหมดมีอยู่ประมาณ 700,000 คน ในจำนวนนี้ร้อยละ 90 หรือประมาณ 600,000 คนเป็นชาวอาหรับมุสลิม ซึ่งครอบครองดินแดนถึงร้อยละ 90 ที่เหลืออีกร้อยละ 10 เป็นที่อยู่อาศัยของชาวยิว ซึ่งมีประชากรอยู่ประมาณ 70,000 คน

พอมาถึงปี1947 ที่รัฐยิวถูกสถาปนาขึ้นอย่างเป็นทางการ ปรากฏว่าประชากรยิวเพิ่มขึ้นถึง 600,000 คน ซึ่งนับเป็น 1 ใน 3 ของประชากรในดินแดนปาเลสไตน์ทั้งหมด หรือมีการเพิ่มขึ้นของประชากรยิวถึงร้อยละ 725 เลยทีเดียว สัดส่วนของการครอบครองที่ดินก็เปลี่ยนไปมาก อันนำไปสู่ความเสียหายทางเศรษฐกิจต่อชุมชนอาหรับท้องถิ่น ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายขององค์กรยิวไซออนิสต์ ที่ปฏิเสธการจ้างงานชาวอาหรับปาเลสไตน์

อย่างไรก็ตาม คำประกาศบัลโฟร์ไม่น่าจะมีผลบังคับใช้ในทางกฎหมายได้ด้วยเหตุผลสำคัญ 3 ประการ คือ

ประการแรก คำประกาศบัลโฟร์เป็นข้อความที่มีเนื้อหาตรงข้ามอย่างสิ้นเชิงกับการรับประกันถึงเอกราชของชาวอาหรับที่ถูกสัญญาไว้ในการติดต่อระหว่าง เมคมาฮอน กับ ฮุสเซน (McMahon – Hussein Correspondence) ซึ่ง เมคมาฮอน เองเป็นผู้เชื้อเชิญชาวอาหรับให้เข้าเป็นพันธมิตรสู้รบในสงคราม คำประกาศบัลโฟร์จึงเท่ากับเป็นการหักหลังชาวอาหรับแบบซึ่ง ๆ หน้า

ประการที่สอง แถลงการณ์บัลโฟร์ มีการร่างขึ้นภายใต้การปรึกษาหารืออย่างใกล้ชิดกับองค์กรที่มีเป้าหมายหลักในการสถาปนารัฐยิวขึ้นมาในปาเลสไตน์ โดยใช้วิธีการบังคับให้ผู้ที่มิใช่ชาวปาเลสไตน์อพยพย้ายถิ่นเข้ามาอยู่ในประเทศ ซึ่งเป็นการทำลายสิทธิของชาวปาเลสไตน์อย่างใหญ่หลวง และเป็นสิ่งตรงข้ามกับคำสัญญาของมหาอำนาจ (สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส และอังกฤษ) ก่อนที่จะได้รับชัยชนะในสงครามโลก ที่ว่าจะยึดมั่นในสิทธิขั้นพื้นฐานในการกำหนดชะตาชีวิตตนเอง (Right to Self Determination) ของประชาชนท้องถิ่นในแต่ละดินแดนที่เป็นอาณานิคมของตน

ประการที่สาม ซึ่งถือว่ามีความสำคัญอย่างยิ่งคือ แถลงการณ์บัลโฟร์มีการประกาศใช้ในขณะที่ดินแดนปาเลสไตน์ โดยทางนิตินัยแล้ว ยังคงเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรออตโตมานอยู่ ดังนั้น อังกฤษจึงไม่มีสิทธิที่จะออกคำประกาศใด ๆ มาบังคับใช้ในดินแดนที่ยังไม่ได้อยู่ในเขตปกครองของตนเอง

ที่น่าสนใจอีกอย่างหนึ่งคือ แผนการยึดครองดินแดนของขบวนการยิวไซออนิสต์ไม่ใช่ว่าจะได้รับการสนับสนุนจากชาวยิวทั่วโลก ดังจะเห็นว่าเมื่อแถลงการณ์บัลโฟร์ผ่านการเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีอังกฤษ คำแถลงการณ์นี้ถูกคัดค้านอย่างดุเดือดโดย Sir Edwin Montagu ซึ่งเป็นรัฐมนตรีต่างประเทศอังกฤษเชื้อสายยิวที่ประจำอยู่ในอินเดีย

ไม่ว่าจะอย่างไรก็ตาม ท้ายที่สุดแล้วแถลงการณ์บัลโฟร์ก็ถูกผนวกเข้าไว้ในระบอบการปกครองแบบอาณัติในปาเลสไตน์ ภายใต้อำนาจการอารักขาดูแลจากจักรวรรดินิยมอังกฤษตามมติที่ออกมาโดยองค์การสันนิบาตชาติ และจากจุดนี้เองที่พัฒนามาจนเป็นประเทศอิสราเอลในปี 1947 จนทำให้ตะวันออกกลางกลายเป็นดินแดนมิคสัญญีอย่างที่เราเห็นกันอยู่ในปัจจุบัน

บทความโดย : ดร.ศราวุฒิ อารีย์
ผู้อำนวยการศูนย์มุสลิมศึกษา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ที่มา : http://halallifemag.com/100-years-balfour-declaration/


#สารพันบทความ_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online
read more "ย้อนรอยประวัติศาสตร์: 1 ศตวรรษคำประกาศบัลโฟร์ – ดร.ศราวุฒิ อารีย์"

วันจันทร์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2560

7 วิธีดึงตุรกีกลับสู่ ‘อิสลาม’ ของประธานาธิบดีตอยยิบ แอร์โดอาน

7 วิธีดึงตุรกีกลับสู่ ‘อิสลาม’ ของประธานาธิบดีตอยยิบ แอร์โดอาน



ตุรกียุคใหม่เกิดมาจากการล่มสลายของอาณาจักรออตโตมันและระบบรัฐคอลิฟะฮ์ เคมาล อตาเติร์ก ซึ่งถือเป็นผู้ก่อตั้งประเทศตุรกีได้นำพาการปฏิรูปหลากหลายด้านที่มีผลลดทอนบทบาทของศาสนาอิสลาม โรงเรียนระบบมาดรารอซาห์ถูกยกเลิก มีการห้ามแต่งกายตามธรรมเนียมศาสนา เสียงอาซานถูกเปลี่ยนจากภาษาอาหรับเป็นภาษาตุรกี ทั้งยังเกิดกฎหมายตามครรลองโลกวิสัยอีกมากมายที่ขับเคลื่อนตุรกีมาหลายทศวรรษจนทุกวันนี้

อย่างไรก็ตาม พรรคความยุติธรรมและการพัฒนา นำโดยอดีตนายกรัฐมนตรีและประธานาธิบดีในปัจจุบัน นายรอยยิบ ตอยยิบ แอร์โดอาน (Rayip Tayyib Erdoğan) กำลังคร่ำเคร่งกับภารกิจหมุนกลับกฎหมายที่วางรากฐานไว้โดย อตาร์เติร์ก อันมีอิทธิพลมากต่อชาวตุรกี ทำให้ตุรกีกลับสู่ความเป็นอิสลามที่เข้มข้นอีกครั้ง


1. สร้างมัสยิดนับพันแห่ง

โครงการ Çamlıca Mosque Complex ที่จุคนถึง 35,000 คน กำลังอยู่ในระหว่างการก่อสร้าง

ภาพ: Ali Aksoyer/สำนักข่าว DHA อิสตันบูล

ตามรายงานของนิตยสาร The Atlantic ช่วงปี 2002-2013 มีมัสยิดที่สร้างเสร็จไปแล้วถึง 17,000 แห่งโดยรัฐบาลตุรกี และยังมีอีกหลายแห่งทั่วประเทศที่อยู่ในแผนงานปัจจุบัน ทั้งนี้มีการทุ่มเงินอย่างมหาศาลเพื่อซ่อมบำรุงมัสยิดเก่าแก่จากยุคออตโตมัน

2. เลิกแบนฮิญาบ




ฮิญาบเคยเป็นสิ่งที่ต้องห้ามในส่วนราชการ สำหรับบุคคลในอาชีพครู นักกฎหมาย สมาชิกรัฐสภา และตำแหน่งอื่นๆ ในองค์กรภาครัฐ แต่ไม่กี่ปีที่ผ่านมาพรรคยุติธรรมและการพัฒนาได้ยกเลิกคำสั่งดังกล่าวทั้งในโรงเรียนและองค์กรรัฐ จนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2015 ไอแซง กูร์จัง ได้กลายเป็นรัฐมนตรีหญิงคนแรกที่สวมฮิญาบ (ข้อมูลจาก Al Arabiya)


3. นักเรียนหลักล้านเข้าโรงเรียนศาสนา



โรงเรียนระบบอิมาม-ฮาทิป (Imam-Hatip School) ในตุรกีเป็นสถาบันประเภทอาชีวศึกษาสำหรับการเรียนการสอนศาสนา และยังเป็นสถาบันฝึกหัดสำหรับอิหม่ามที่แพร่หลายอย่างมากในตุรกี มัสยิดในตุรกีล้วนได้รับการเกื้อหนุนจากรัฐบาลและมีอิหม่ามจำนวนมากผ่านการฝึกทักษะจาก อิมาม-ฮาทิป โรงเรียนแนวนี้เกิดขึ้นหลังจากโรงเรียนระบบมาดราซาห์หมดไปจากตุรกี อันเป็นผลการปฏิรูปครั้งใหญ่ของอตาเติร์ก

ปี 2002 มีนักเรียนเข้าศึกษาในโรงเรียนระบบอิมาม-ฮาทิปจำนวน 65,000 คน ตัวเลขเติบโตไปอยู่ที่ 658,000 ในปี 2013 และเมื่อเร็วๆ นี้ นายบิลาล แอร์โดอาน (บุตรชายนายรอยยิบ ตอยยิบ แอร์โดอาน (Rayip Tayyib Erdoğan) ) หัวหอกในการขยายจำนวนของโรงเรียนอิมาม-ฮาทิป ได้ประกาศว่าตัวเลขนักเรียน ณ ปัจจุบันถึงหนึ่งล้านคนแล้ว (ข้อมูลจาก The Turkey Analyst)


4. ให้ศาสนาเป็นวิชาบังคับ

(สำนักข่าว Agence France-Presse /Getty Images)

รัฐบาลตุรกีได้บรรจุวิชาศาสนาภาคบังคับในโรงเรียนทั่วประเทศ จึงเกิดการเรียนการสอนวิชาอย่าง “ชีวิตของศาสดามูฮัมหมัด” และ “อัลกุรอาน” (ข้อมูลจาก The Turkey Analyst)

ประธานาธิบดีตรุกี กล่าวว่า “เราต้องการสร้างเยาวชนที่ยึดมั่นในศาสนา”

“คุณคิดว่าพรรคอนุรักษ์นิยมประชาธิปไตยอย่างพรรคยุติธรรมและการพัฒนา (AK Parti) จะสร้างยุคของคนที่ปฏิเสธพระเจ้างั้นหรือ ? นั่นมันธุระของคุณ ภารกิจของคุณ ไม่ใช่ของเรา สำหรับเราจะสร้างคนรุ่นใหม่ที่เป็นประชาธิปไตยและมีหัวอนุรักษ์ ที่เชิดชูค่านิยมและหลักการของชาติ”


5. เด็กเล็กเรียนกุรอานได้



ก่อนหน้านี้ในตุรกีเยาวชนจะต้องมีอายุอย่างต่ำ 12 ปีจึงจะสามารถเข้าชั้นเรียนวิชาอัลกุรอาน แต่รัฐบาลปัจจุบันได้ยกเลิกเกณฑ์ดังกล่าวแล้ว โดยในปี 2013 ได้เกิดโครงการมารองรับแนวคิด “กุรอานสำหรับวัยอนุบาล” ของรัฐบาล (ข้อมูลจาก The Turkey Analyst)


6. กระชับพื้นที่ขาย/โฆษณาสุรา

(ภาพ: Cihan/Ria Novosti)

ตุรกีในครรลองโลกวิสัยที่ประชากรส่วนใหญ่เป็นมุสลิมมิได้ห้ามการค้าสุรา แต่เมื่อปี 2013 พรรคความยุติธรรมและการพัฒนา ได้ผ่านพระราชบัญญัติฉบับหนึ่งที่ห้ามโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระยะ 100 เมตรจากมัสยิด หรือ โรงเรียน

ทั้งนี้ยังมีการให้เบลอภาพเครื่องดื่มมึนเมาในโทรทัศน์และภาพยนตร์ (ข้อมูลจาก Reuters) และไม่ให้มีการขายเครื่องดื่มมึนเมาในบริเวณหอพักนักศึกษา สถาบันส่งเสริมสุขภาพ สปอร์ตคลับ สถานศึกษา และปั๊มน้ำมัน และห้ามขายสุราหลังสี่ทุ่มในทุกที่ (ข้อมูลจาก Hurriyet Daily News)


7. ขยายธนาคารอิสลาม



ธนาคารระบบอิสลามในตุรกีเติบโตอย่างมากในหลายปีที่ผ่านมา โดยธนาคารของรัฐอย่าง Ziraat Islamic Bank นั้นคาดว่าจะขยายเป็น 170 สาขาในปี 2018 (ข้อมูลจาก Daily Sabah) ในการปาฐกถาเมื่อเร็วๆ นี้ ประธานาธิบดีนายรอยยิบ ตอยยิบ แอร์โดอาน (Rayip Tayyib Erdoğan) เรียกธนาคารระบบดอกเบี้ยว่าเป็นความ ‘โหดร้าย’และกล่าวถึงข้อได้เปรียบของธนาคารระบบอิสลามว่า

“หากเราต้องการก้าวกระโดดไปข้างหน้า เราจะต้องเติบโตในระบบที่ส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างแท้จริง ไม่ใช่ระบบที่โหดร้าย การเงินแบบอิสลามแตกต่างอย่างสิ้นเชิงกับระบบธนาคารในปัจจุบันในแง่ของโครงสร้างที่ใช้หลักทรัพย์หนุนหลัง การตั้งอยู่บนหลักกระจายความเสี่ยง และโครงสร้างที่ป้องกันการเก็งกำไร ผมเชื่อว่าระบบนี้จะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญของเศรษฐกิจตุรกี”

ที่มา : http://www.pataniforum.com/single.php?id=556


#สารพันบทความ_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online
read more "7 วิธีดึงตุรกีกลับสู่ ‘อิสลาม’ ของประธานาธิบดีตอยยิบ แอร์โดอาน"

บทความแนะนำ

World Clock

Featured Posts

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม โดย : Cem Nizamoglu และ Sairah Yassir-Deane ย้อนหลังไปถึงมีนาคม 2015 ข่าวเกี่ยวก...