กฎหมายอิสลามเบื้องต้น : กฎหมายอาญาว่าด้วยเรื่องการละทิ้งการละหมาด
(อาลี เสือสมิง)
ความสำคัญของการละหมาด
การละหมาด (อัศ-ศ่อลาฮฺ) ถือเป็นเครื่องสำแดงความเป็นอิสลามอันดับแรกในวิถีชีวิตของชนมุสลิม ดังนั้นเมื่อมุสลิมละทิ้งการละหมาด ก็เท่ากับว่ามุสลิมผู้นั้นกำลังนำพาตนเองไปสู่การปฏิเสธ (กุฟร์) ซึ่งท่านนบีฯ (صلى الله عليه وسلم) ได้กล่าวว่า : إِنَّ بَيْنَ الَّرجُلِ و بَيْنَ الشِّرْكِ وَالْكُفِر تَركَ الصَّلاَ ةِ “แท้จริงระหว่างบุคคลและระหว่างการตั้งภาคีกับการปฏิเสธนั้นคือการละทิ้งการละหมาด” (รายงานโดยมุสลิม -82-)
ข้อชี้ขาดผู้ละทิ้งการละหมาด
ผู้ละทิ้งการละหมาดมี 2 ประเภท คือ
บทลงโทษผู้ละทิ้งการละหมาด
ผู้ละทิ้งการละหมาดจะถูกใช้ให้สำนึกผิดและกลับตัว (เตาบะฮฺ) และทำการละหมาด แต่ถ้าหากเขายืนกรานที่จะละทิ้งการละหมาดก็จะต้องถูกลงโทษประหารชีวิต ถึงแม้จะเป็นการละหมาดเพียงเวลาเดียวก็ตาม ทั้งนี้มีหลักฐานจากอัลหะดีษระบุว่า :
“ฉันได้ถูกบัญชาให้รณรงค์กับผู้คนทั้งหลายจนกว่าพวกเขาจะปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าองค์ใดนอกจากอัลลอฮฺ และแท้จริงมุฮัมมัดคือศาสนทูตของอัลลอฮฺ และจนกว่าพวกเขาจะดำรงการละหมาดและจ่ายซะกาต ดังนั้นเมื่อพวกเขาได้กระทำสิ่งดังกล่าวแล้ว พวกเขาก็ได้ปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของพวกเขาจากฉันแล้วเว้นเสียแต่ด้วยสิทธิแห่งอิสลาม และการพิพากษาพวกเขาเป็นกิจของอัลลอฮฺ”
(รายงานโดยบุคอรี -25-/มุสลิม -22-)
ผลที่เกิดขึ้นจากการลงโทษ
ผู้ที่ละทิ้งการละหมาดอันเนื่องจากเกียจคร้านเมื่อเขาถูกประหารชีวิตตามโทษานุโทษแล้ว ก็ให้ปฏิบัติกับศพของเขาเช่นเดียวกับชาวมุสลิมทั่วไปในเรื่องการจัดการศพและการลงโทษประหารชีวิตกับผู้กระทำผิดไม่มีผลแต่อย่างใดในเรื่องความสัมพันธ์ทางเครือญาติ โดยญาติมีสิทธิสืบมรดกของเขาได้ และข้อกำหนดว่าด้วยการสมรสก็ยังคงดำเนินอยู่สำหรับภรรยาของเขา ไม่ว่าจะเป็นการตั้งกำหนดเวลาครองตน (อิดดะฮฺ) และการไว้ทุกข์ให้แก่สามี
การละหมาด (อัศ-ศ่อลาฮฺ) ถือเป็นเครื่องสำแดงความเป็นอิสลามอันดับแรกในวิถีชีวิตของชนมุสลิม ดังนั้นเมื่อมุสลิมละทิ้งการละหมาด ก็เท่ากับว่ามุสลิมผู้นั้นกำลังนำพาตนเองไปสู่การปฏิเสธ (กุฟร์) ซึ่งท่านนบีฯ (صلى الله عليه وسلم) ได้กล่าวว่า : إِنَّ بَيْنَ الَّرجُلِ و بَيْنَ الشِّرْكِ وَالْكُفِر تَركَ الصَّلاَ ةِ “แท้จริงระหว่างบุคคลและระหว่างการตั้งภาคีกับการปฏิเสธนั้นคือการละทิ้งการละหมาด” (รายงานโดยมุสลิม -82-)
ลักษณะอาญาและบทลงโทษในกฎหมายอิสลาม : การละทิ้งการละหมาด
ผู้ละทิ้งการละหมาดมี 2 ประเภท คือ
- บุคคลที่ละทิ้งการละหมาด โดยไม่เชื่อว่าการละหมาดเป็นสิ่งจำเป็น (วาญิบ) หรือเห็นว่าการละหมาดเป็นสิ่งที่ไม่สำคัญ บุคคลผู้นั้นถือเป็นผู้ตกศาสนา (มุรตัด) หรือสิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิมแล้ว
- บุคคลที่ละทิ้งการละหมาดโดยเชื่อว่าการละหมาดเป็นสิ่งจำเป็น (วาญิบ) แต่ละทิ้งเนื่องจากความเกียจคร้าน เป็นต้น บุคคลผู้นี้ถือเป็นผู้ประพฤติผิดบาปใหญ่และเป็นคนเลว (ฟาซิก)
บทลงโทษผู้ละทิ้งการละหมาด
ผู้ละทิ้งการละหมาดจะถูกใช้ให้สำนึกผิดและกลับตัว (เตาบะฮฺ) และทำการละหมาด แต่ถ้าหากเขายืนกรานที่จะละทิ้งการละหมาดก็จะต้องถูกลงโทษประหารชีวิต ถึงแม้จะเป็นการละหมาดเพียงเวลาเดียวก็ตาม ทั้งนี้มีหลักฐานจากอัลหะดีษระบุว่า :
أمِرْتُ أَنْ أُقَاتِلَ النَّاسَ حَتّى يَشْهَدُوْاأَنْ لاَإِلهَ إلا الله وأنَّ محمدً ارَسُولُ اللهِ ،
ويُقِيْمُواالصَّلاَةَ ويُؤْتُواالزَّكَاةَ ، فإذافَعَلُوْاذٰلِكَ عَصَمُوْامِنِّىْ دِمَاؤَهُمْ
وأَموالَهُمْ إِلاَّبِحَقِّ الإِسْلاَمِ ، وحِسَابُهُمْ عَلَى اللهِ
“ฉันได้ถูกบัญชาให้รณรงค์กับผู้คนทั้งหลายจนกว่าพวกเขาจะปฏิญาณว่าไม่มีพระเจ้าองค์ใดนอกจากอัลลอฮฺ และแท้จริงมุฮัมมัดคือศาสนทูตของอัลลอฮฺ และจนกว่าพวกเขาจะดำรงการละหมาดและจ่ายซะกาต ดังนั้นเมื่อพวกเขาได้กระทำสิ่งดังกล่าวแล้ว พวกเขาก็ได้ปกป้องชีวิตและทรัพย์สินของพวกเขาจากฉันแล้วเว้นเสียแต่ด้วยสิทธิแห่งอิสลาม และการพิพากษาพวกเขาเป็นกิจของอัลลอฮฺ”
(รายงานโดยบุคอรี -25-/มุสลิม -22-)
ผลที่เกิดขึ้นจากการลงโทษ
ผู้ที่ละทิ้งการละหมาดอันเนื่องจากเกียจคร้านเมื่อเขาถูกประหารชีวิตตามโทษานุโทษแล้ว ก็ให้ปฏิบัติกับศพของเขาเช่นเดียวกับชาวมุสลิมทั่วไปในเรื่องการจัดการศพและการลงโทษประหารชีวิตกับผู้กระทำผิดไม่มีผลแต่อย่างใดในเรื่องความสัมพันธ์ทางเครือญาติ โดยญาติมีสิทธิสืบมรดกของเขาได้ และข้อกำหนดว่าด้วยการสมรสก็ยังคงดำเนินอยู่สำหรับภรรยาของเขา ไม่ว่าจะเป็นการตั้งกำหนดเวลาครองตน (อิดดะฮฺ) และการไว้ทุกข์ให้แก่สามี
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น