การเข้าสู่เดือนรอมฎอน
จะเข้าสู่เดือนรอมาดอน ด้วยประการหนึ่งจากสองประการดังต่อไปนี้
หนึ่ง : เห็นหิลาล ( ดวงจันทร์เสี้ยว ) ในเวลากลางคืนของวันที่สามสิบ ( หมายถึงวันที่ยี่สิบเก้าค่ำลง ) ของเดือนชะบาน ทั้งนี้โดยมีพยานที่มีคุณธรรมหนึ่งคนมายืนยันต่อหน้ากอดี ว่าตนได้เห็นดวงจันทร์เสี้ยวแล้ว
สอง : ครบเดือนชะบานสามสิบวัน ในกรณีที่เห็นดวงจันทร์เสี้ยวได้ลำบากเพราะมีเมฆบดบังหรือไม่มีพยานทีมีคุณธรรมมาให้การยืนยันว่าตนได้เห็นเดือนเสี้ยวแล้ว ดังนั้นให้ปล่อยเดือนชะบานไปจนครบสามสิบวัน เพราะถือว่าเป็นต้นเดิมเมื่อไม่มีอะไรมาโต้แย้งเป็นอย่างอื่น
หลักฐานในทั้งสองประการนี้ : ได้แก่คำของท่านนบี ( ซ.ล ) ที่ว่า :
ท่านทั้งหลายจงถือศิลอดเพราะเห็นเดือนเสี้ยว และจงละศิลอดเพราะเห็นเดือนเสี้ยว ดังนั้นถ้าหากมีเมฆเกิดขึ้นเหนือพวกท่าน ก็ให้พวกท่านปล่อยเดือนชะบานให้ครบสามสิบวันเถิด รายงานโดยบุคอรี ( 1810 ) และมุสลิม ( 1080 )
เล่าจากอิบนิอับบาส (ร.ฎ.) ได้กล่าวว่า มีชาวอาหรับจากชนบทคนหนึ่งมาหาท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ ( ซ.ล ) แล้วพูดขึ้นว่า แท้จริงฉันเห็นเดือนเสี้ยวของรอมฎอน ท่านกล่าวว่า เจ้าจะปฏิญาณได้ไหมว่าไม่พระเจ้าที่ถูกสักการะโดยเที่ยงแท้นอกจากอัลเลาะห์ เท่านั้น เขาตอบว่า ครับ ท่านกล่าวอีกว่า เจ้าจะปฏิญาณได้ไหมว่า มุฮำหมัดเป็นศาสนทูตของอัลเลาะห์ เขาตอบว่าได้ครับ ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ จึงกล่าวขึ้นว่า บิลานเอ๋ย เจ้าจงประกาศให้ประชาชนทราบเถิดว่า พวกเขาจงถือศีลอดในวันพรุ่งนี้ อิบนุฮิบบานกล่าวว่าเป็นฮาดิษซอเฮียะฮ์ ( มะวาริด ซอมอาน 870 ) และฮากิม ( 1/ 424 )
เมื่อเห็นเดือนเสี้ยวในเมืองหนึ่งชาวเมืองใกล้เคียงจำเป็นต้องถือศีลอดตามชาวเมืองในเมืองที่เห็นด้วย แต่ชาวเมืองที่ห่างไกลกันไม่จำเป็นต้องถือศิลอดตาม เพราะเมืองที่ใกล้กัน เช่น ดามัสกัด ฮิมด์ และฮะลับ มีสภาพเหมือนเป็นเมืองเดียวกัน ซึ่งไม่เหมือนกับเมืองที่ไกลๆ กัน เช่น ดามัสกัด ไคโร และมักกะห์
หลักที่ใช้ในการพิจารณาว่าเป็นเมืองที่ไกลกันก็คือมีมัตละอ์ (ตำแหน่งขึ้นตกของดวงอาทิตย์) ต่างกัน
หลักฐานในเรื่องดังกล่าว :
ฮาดิษ ที่มุสลิม ( 1087 ) ได้รายงานจากกุรัยบ์ ว่า :
ข้าพเจ้าได้เข้าสู่รอมฎอนขณะที่ข้าพเจ้าอยู่ในเมืองชาม ข้าพเจ้าเห็นเดือนเสี้ยวในคืนวันศุกร์ หลังจากนั้นข้าพเจ้าได้เดินทางมาที่เมืองมะดีนะห์ ในตอนปลายเดือนนั้น อิบนุอับบาส (ร.ฎ.) ได้ถามข้าพเจ้าว่า พวกท่านเห็นเดือนเสี้ยวเมื่อไหร่? ข้าพเจ้าว่า พวกเราเห็นเดือนเสี้ยวในคืนวันศุกร์ เขาถามอีกว่า ท่านเห็นมันด้วยหรือ ข้าพเจ้าตอบว่า ถูกแล้ว และประชาชนก็เห็นมัน พวกเขาได้ถือศิลอด และมุอาวียะห์ ก็ได้ถือศีลอด เขากล่าวขึ้นว่า พวกเราเห็นมันคืนวันเสาร์ ดังนั้นเราจะต้อถือศีลอดเรื่อยไปจนกว่าจะครบสามสิบวัน หรือจนกว่าเราจะเห็นมัน ฉันถามว่า ท่านยังไม่พอหรือที่มุอาวียะห์เห็นและถือศีลอด เขาตอบว่า ไม่ ดังที่กล่าวนี้ ท่านรอซูลุ้ลเลาะห์ ( ซ.ล ) ได้ใช้พวกเรา .
ผู้รู้กล่าวว่า : ในกรณีของชาวเมืองที่อยู่ไกล ที่ยังไม่จำเป็นต้องถือศีลอดนั้น ถ้าหากมีคนจากเมืองที่เห็น เดินทางไปยังเมืองที่อยู่ไกล ให้เขาถือศีลอดตามชามเมืองนั้น แม้ตัวเขาเองจะถือศิลอดครบสามสิบวันแล้วก็ตาม เพราะการที่เขาเดินทางไปยังเมืองนั้นทำให้เขากลายเป็นสมาชิกคนหนึ่งของเมืองนั้นไป ข้อบังคับที่ใช้อยู่กับชาวเมืองนั้นก็จะต้องนำมาใช้บังคับเขาด้วยเช่นกัน ส่วนคนที่เดินทางไปจากเมืองที่ยังไม่เห็นฮิลาล ไปยังเมืองที่เห็นฮิลาลกันแล้ว ให้เขาออกจากการถือศิลอดพร้อมกับชาวเมืองนั้น โดยไม่คำนึงว่าเขาจะถือศิลอดได้ยี่สิบแปดวัน เพราะเดือนนั้นอาจเป็นเดือนขาดที่มียี่สิบเก้าวัน หรือเขาถือศีลอดได้ยี่สิบเก้าวัน เพราะเดือนนั้นอาจเป็นเดือนเต็มที่มีสามสิบวัน ก็ตาม แต่ในกรณีที่เขาถือศิลอดได้เพียงยี่สิบแปดวันนั้นเขาจำเป็นต้องถือศิลอดชดใช้ (กอดออ์) อีกหนึ่งวัน เพราะเขายังถือศิลอดไม่ครบเดือนทั้งนี้เพราะเดือนอาหรับจะไม่มียี่สิบแปดวัน อย่างน้อยต้องไม่ต่ำกว่ายี่สิบเก้าวัน และอย่างมากไม่เกินสามสิบวัน
คนหนึ่งออกเดินทางจากเมืองที่กำลังเป็นอีด ไปยังเมืองหนึ่งอยู่ห่างไกลและชาวเมืองกำลังถือศีลอดกัน เขาจำเป็นต้องอดอาหาร (อิมซาก) ตลอดวันนั้น เพื่อให้สอดคล้องกับชาวเมืองนั้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น