product :

วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

เปิดภาพ มัสยิดเก่าในแอลจีเรียบูรณะเสร็จพร้อมเปิดใช้งานแล้ว

เปิดภาพ มัสยิดเก่าในแอลจีเรียบูรณะเสร็จพร้อมเปิดใช้งานแล้ว




อำเภอคัสบะฮ์ (Casbah district) ในนครแอลเจียร์ เมืองหลวงของประเทศแอลจีเรีย เป็นแหล่งสำคัญที่ได้รับการขึ้นบัญชีมรดกโลกโดยยูเนสโก (UNESCO) ใกล้ๆ กันคือ มัสยิด Ketchaoua Mosque ซึ่งครั้งหนึ่งในอดีตเคยเป็นมหาวิหารในศาสนาคริสต์ เมื่อครั้งที่แอลจีเรียตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส

หลังจากการปิดปรับปรุง บูรณะอย่างยาวนานเกือบ 10 ปี บัดนี้ หอคอย และซุ้มประตูที่สง่างามถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อรับบทบาทใหม่ ในฐานะมัสยิดที่พร้อมจะเปิดประตูต้อนรับศรัทธาชนเป็นครั้งแรก โดยรัฐบาลตุรกีเป็นผู้ออกเงินในการบูรณะ





ในสมัยที่สัญลักษณ์ของออตโตมานมีอิทธิพลแผ่ขยาย สถานที่แห่งนี้เป็นที่รู้จักในฐานะมหาวิหารโรมันแคธอลิคนักบุญฟิลิปเป้ (Roman Catholic Saint Philippe Cathedral) มานานกว่า 100 ปี หลังจากที่ฝรั่งเศสครอบครองแอลจีเรีย จนเปลี่ยนกลับมาเป็นมัสยิดเมื่อแอลจีเรียได้รับเอกราชด้วยการนองเลือด ในปี 1962 มัสยิดปิดตัวลงในปี 2008 หลังจากถูกกาลเวลาทำลายล้าง และยังมาโดนภัยธรรมชาติจากแผ่นดินไหวจนพังเสียหาย


ก่อนบูรณะ

ยังมีข้อถกเถียงกันถึง วันเดือนปี ที่มัสยิดแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรก แต่หลักฐานอ้างอิงที่เชื่อถือได้ล่าสุด ระบุว่า อาจจะสร้างขึ้นราวปี ค.ศ.1612 (พ.ศ.2155) ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ฮัสซัน ปาชาร์ สุลต่านออตโตมานที่ปกครองพื้นที่นี้ ได้เปลี่ยนแปลงพื้นที่รอบๆ จนหมด และตั้งให้มัสยิดนี้เป็นมัสยิดหลวงประจำเมือง หลังจากนั้นประมาณ 40 ปี เกิดสงคราม และฝรั่งเศสเข้ามายึดครองเมืองไว้ทั้งหมด หลังจากนั้นในปี 1832 ฝรั่งเศสเปลี่ยนมัสยิดนี้ให้เป็นวิหารในศาสนาคริสต์


ใบไม้สีทองชี้กิบลัต

ในการบูรณะซ่อมแซมครั้งนี้ มีการคงสภาพเดิมไว้เป็นส่วนมาก แม้แต่มิมบัรที่สร้างใน ปี 1794 ก็ถูกบูรณะและนำกลับมาติดตั้ง รวมทั้งรูปใบไม้ที่ใช้เป็นเครื่องชี้ทิศกิบลัต ก็ได้รับการทาสีเป็นสีทองเหมือนเดิม หออะซานที่ถูกผุพังไป ก็มีการนำหินทีละก้อนจากทางตะวันตกของประเทศ มาสร้างขึ้นใหม่ให้เหมือนเดิม ส่วนห้องโถงละหมาดสามารถจุคนได้ประมาณ 1,200 คน และนับเป็นครั้งแรกที่มีการจัดพื้นที่สำหรับสตรีในมัสยิดแห่งนี้ด้วย

ที่มา: www.middle-east.online.com
.
Cr. สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์
.
#อารยธรรมอิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความแนะนำ

World Clock

Featured Posts

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม โดย : Cem Nizamoglu และ Sairah Yassir-Deane ย้อนหลังไปถึงมีนาคม 2015 ข่าวเกี่ยวก...