เหตุผลที่ไม่ร่วมปีใหม่! และข้อฉุกคิด (นานาทัศนคติ)
มุมมองของอิสลามต่อวันปีใหม่
การกล่าวคำอวยพรแสดงความยินดีแก่กาเฟรในวันสำคัญต่างๆ ของพวกเขา เช่น วันคริสต์มาส ,วันวาเลนไทน์ เป็นต้น หุก่มว่าอย่างไร ?? ชี้ขาดโดย สถาบันดารุลอิฟตาอฺ แห่งประเทศอียิปต์
ศาสนาอิสลามนั้น ส่งเสริมให้มุสลิมทำความดีและให้มีความเสมอภาคซึ่งกันและกัน ต่อผู้ที่ไม่ใช่มุสลิม จากบรรดาผู้ที่ไม่ได้ถูกต่อต้านในศาสนาของพวกเขา เช่นนั้นแหละ คือ ความต้องการที่จะให้เกิดขึ้นซึ่งความดีงามต่อบรรดาสิ่งที่ถูกสร้างทั้งหมด และเช่นเดียวกัน คือ ต้องการที่จะให้มนุษย์ได้พูดจาซึ่งกันและกันด้วยคำพูดที่ดีงาม ดังนั้น การติดต่อสัมพันธ์กัน ,การให้ของฝากกัน ,การเยี่ยมเยียนกัน และการกล่าวคำอวยพรแก่ผู้ที่มิใช้มุสลิมนั้น ถือว่าเป็นสิ่งต่างๆ ที่ดีงามยิ่ง
และด้วยเหตุนี้เอง จึงถือว่า อนุญาตให้กล่าวแสดงความยินดีแก่ผู้ที่มิใช่มุสลิม ในวันสำคัญต่างๆ ของพวกเขา ด้วยถ้อยคำที่ไม่ขัดแย้งกับหลักอะกีดะฮฺ (หลักการยึดมั่น) ของอิสลาม ซึ่งท่านรสูล (ซ.ล.) เคยรับของกำนัลจากผู้ที่มิใช่มุสลิม มีรายงานจากหะดีษเศาะหี๊ยะฮฺที่ให้ประโยชน์ในระดับขั้นมะวาติร (เชื่อถือได้อย่างแน่นอน) ว่า แท้จริงท่านรสูล (ซ.ล.) ได้รับของกำนัลจากผู้ที่มิใช่มุสลิม คือ ของกำนัลจากมะกูกัส อะซีม (ผู้นำชาวคริสเตียนแห่งไบแซนไตน์ ชาวอียิปต์) และได้มีรายงานมาจากท่านอะลีย์ บิน อะบีฏอลิบ (ร.ด.) กล่าวว่า ..
“พระจักรพรรดิ แห่งเปอร์เซีย ได้มอบของกำนัลแก่ท่านรสูล (ซ.ล.) ดังนั้น ท่านก็ได้รับมันเอาไว้ และจักรพรรดิแห่งโรมันได้มอบของกำนัลให้แก่ท่านรสูล (ซ.ล.) ดังนั้น ท่านก็ได้รับไว้ และบรรดากษัตริย์ต่างๆ ก็ได้มอบของกำนัล ให้แก่ท่านรสูล (ซ.ล.) แล้วท่านรสูล (ซ.ล.) ก็ได้รับของกำนัลจากบรรดากษัตริย์เหล่านั้น” (บันทึกโดย ท่านอิมามอัต-ติรมีซีย์ และท่านอิมามอะห์มัด)
แท้จริงปวงปราชญ์แห่งอิสลามได้ทำความเข้าใจกับหะดีษนี้ว่า แท้จริงการรับของกำนัลจากผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมนั้น ถือว่าเป็นเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้กระทำ เพราะมันเข้าอยู่ในเรื่องของความดีงาม และแท้จริงมันคือ แบบฉบับจากท่านนบี (ซ.ล.)
ท่านอัซ-ซารอคซีย์ ได้กล่าวหลังจากที่ได้พูดถึงการให้ของกำนัลของท่านรสูล (ซ.ล.) แก่มุชริกีนว่า : การให้ของกำนัลแก่คนอื่นนั้น ถือเป็นมารยาทที่ดีงาม และท่านรสูล (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า ..
“ฉันได้ถูกส่งมาให้แก่ประชาชาติทั้งหลาย เพื่อเป็นแบบฉบับที่ดีงาม”
ดังนั้น ทำให้เราทราบว่าแท้จริงนี้เป็นสิ่งที่ดีงามในสิทธิของบรรดามุสลิมและสิทธิของบรรดามุชริกีนทั้งหมด.
ดู ตำรา شرح السير الكبير โดย ท่านอิมามอัซ-ซารอคซีย์ เล่มที่ 1 หน้าที่ 96
ทุกสิ่งที่กล่าวมาจากอายะฮฺอัล-กุรอาน จากสุนนะฮฺของท่านรสูล (ซ.ล.) จากความเห็นของปราชญ์อิสลาม เรามีความเห็นว่า แท้จริงการกล่าวอวยพรแสดงความยินดีแก่กาเฟรนั้น ถือว่า เป็นหนึ่งในมารยาทที่ดีงาม ในการเชื่อมความสัมพันธ์กันระหว่างมุสลิมกับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมในทุกๆ สภาพการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการไปเยี่ยมเยียนกัน ,การปลอบใจกัน ,การอวยพรแสดงความยินดีกัน ,การให้ของฝากกัน ,การรับของฝากกัน, การเลี้ยงอาหารกัน และอื่นๆ อีกมากมายจากสิ่งที่ดีๆ แท้จริงสิ่งนี้คือ หนึ่งในรูปแบบของการเรียกร้องเชิญชวนไปสู่แนวทางแห่งอัลลอฮฺ ตะอาลา ด้วยกับมารยาที่ดีงาม
ฟัตวาโดย สถาบันชี้ขาดปัญหาศาสนา ดารุลอิฟตาอฺ แห่งประเทศอียิปต์ บทว่าด้วย "เรื่องทั่วไป"
“พระจักรพรรดิ แห่งเปอร์เซีย ได้มอบของกำนัลแก่ท่านรสูล (ซ.ล.) ดังนั้น ท่านก็ได้รับมันเอาไว้ และจักรพรรดิแห่งโรมันได้มอบของกำนัลให้แก่ท่านรสูล (ซ.ล.) ดังนั้น ท่านก็ได้รับไว้ และบรรดากษัตริย์ต่างๆ ก็ได้มอบของกำนัล ให้แก่ท่านรสูล (ซ.ล.) แล้วท่านรสูล (ซ.ล.) ก็ได้รับของกำนัลจากบรรดากษัตริย์เหล่านั้น” (บันทึกโดย ท่านอิมามอัต-ติรมีซีย์ และท่านอิมามอะห์มัด)
แท้จริงปวงปราชญ์แห่งอิสลามได้ทำความเข้าใจกับหะดีษนี้ว่า แท้จริงการรับของกำนัลจากผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมนั้น ถือว่าเป็นเป็นสิ่งที่ส่งเสริมให้กระทำ เพราะมันเข้าอยู่ในเรื่องของความดีงาม และแท้จริงมันคือ แบบฉบับจากท่านนบี (ซ.ล.)
ท่านอัซ-ซารอคซีย์ ได้กล่าวหลังจากที่ได้พูดถึงการให้ของกำนัลของท่านรสูล (ซ.ล.) แก่มุชริกีนว่า : การให้ของกำนัลแก่คนอื่นนั้น ถือเป็นมารยาทที่ดีงาม และท่านรสูล (ซ.ล.) ได้กล่าวว่า ..
بعثت لأتمم مكارم الأخلاق
“ฉันได้ถูกส่งมาให้แก่ประชาชาติทั้งหลาย เพื่อเป็นแบบฉบับที่ดีงาม”
ดังนั้น ทำให้เราทราบว่าแท้จริงนี้เป็นสิ่งที่ดีงามในสิทธิของบรรดามุสลิมและสิทธิของบรรดามุชริกีนทั้งหมด.
ดู ตำรา شرح السير الكبير โดย ท่านอิมามอัซ-ซารอคซีย์ เล่มที่ 1 หน้าที่ 96
ทุกสิ่งที่กล่าวมาจากอายะฮฺอัล-กุรอาน จากสุนนะฮฺของท่านรสูล (ซ.ล.) จากความเห็นของปราชญ์อิสลาม เรามีความเห็นว่า แท้จริงการกล่าวอวยพรแสดงความยินดีแก่กาเฟรนั้น ถือว่า เป็นหนึ่งในมารยาทที่ดีงาม ในการเชื่อมความสัมพันธ์กันระหว่างมุสลิมกับผู้ที่ไม่ใช่มุสลิมในทุกๆ สภาพการณ์ ไม่ว่าจะเป็นการไปเยี่ยมเยียนกัน ,การปลอบใจกัน ,การอวยพรแสดงความยินดีกัน ,การให้ของฝากกัน ,การรับของฝากกัน, การเลี้ยงอาหารกัน และอื่นๆ อีกมากมายจากสิ่งที่ดีๆ แท้จริงสิ่งนี้คือ หนึ่งในรูปแบบของการเรียกร้องเชิญชวนไปสู่แนวทางแห่งอัลลอฮฺ ตะอาลา ด้วยกับมารยาที่ดีงาม
ฟัตวาโดย สถาบันชี้ขาดปัญหาศาสนา ดารุลอิฟตาอฺ แห่งประเทศอียิปต์ บทว่าด้วย "เรื่องทั่วไป"
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น