product :

วันจันทร์ที่ 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ผลวิจัยทางการแพทย์กับการลุกขึ้นมาละหมาดในยามค่ำคืน

ผลวิจัยทางการแพทย์กับการลุกขึ้นมาละหมาดในยามค่ำคืน (ละหมาดตะฮัจญุด)


......โลกตะลึง! แพทย์เผยผลวิจัยการลุกขึ้นละหมาดตะฮัจญุด การละหมาด ส่งผลต่อระบบของร่างกายและจิตใจมากมาย โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การละหมาดในยามค่ำคืน เพราะได้มีการยืนยันจากนักวิชาการชาวอเมริกันในหนังสือ “ลักษณะลำดับการทดลองกับสิ่งที่ซ่อนเร้นในการรักษาแบบธรรมชาติ” ซึ่งถูกตีพิมพ์ในปี 1993 ว่า :

- “การลุกจากที่นอนในยามค่ำคืนและเคลื่อนไหวเพียงเล็กน้อยภายในบ้าน และยืนขึ้นในลักษณะของการออกกำลังกายเบา ๆ ถูหรือลูบปลายนิ้วด้วยกับน้ำ และหายใจลึก ๆ ถือว่าเป็นประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพ” จากการพิจารณาประโยชน์เบื้องต้นพบว่า คำยืนยันดังกล่าวมีความคล้ายคลึงกันอย่างมากกับการเคลื่อนไหวในการอาบน้ำละหมาดและการละหมาดในยามค่ำคืน เพราะแท้จริงท่านศาสดามูฮัมหมัดได้ยืนยันเรื่องนี้มามากกว่า 1430 ปีแล้วว่า : “จำเป็นแก่พวกท่านที่จะลุกขึ้นมา (เพื่อทำละหมาด) ในยามค่ำคืน (ตะฮัจญุด) เพราะแท้จริงมันเป็นอุปนิสัยของบรรดาผู้ประพฤติดีในยุคก่อนพวกท่าน เป็นการทำให้ใกล้ชิดอัลลอฮ์ เป็นสิ่งห้ามปรามจากการกระทำความผิด และเป็นการลบล้างความชั่วร้ายต่าง ๆ อีกทั้งยังเป็นการขับไล่โรคภัยออกจากร่างกาย” (บันทึกโดย อิหม่ามอะห์หมัด ติรมิซี บัยฮากี และฮาเก็ม)

- จากวิธีการละหมาดในยามค่ำคืนที่สามารถขับไล่โรคภัยออกจากร่างกายได้นั้น ได้มีการยืนยันว่า “การลุกขึ้นมาในยามค่ำคืน (เพื่อทำละหมาด) นั้น จะนำไปสู่การลดการกระจายฮอร์โมนต่อมหมวกไต

- โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ก่อนจะตื่นนอนหลายชั่วโมง ตรงกับช่วงเวลาซุโฮร์ (ช่วง 1 ใน 3 สุดท้ายของยามค่ำคืน) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งจากการรักษาระดับน้ำตาลในเลือดมิให้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นการป้องกันมิให้เกิดอันตรายต่อผู้เป็นโรคเบาหวาน

- และเช่นเดียวกัน การตื่นขึ้นมาในยามค่ำคืนจะช่วยลดความดันโลหิตสูงที่ขึ้นอย่างรวดเร็วได้ ป้องกันมิให้เกิดการเป็นลมเนื่องจากเส้นโลหิตในสมองแตกหัวใจล้มเหลวเฉียบพลัน ป้องกันการแข็งตัวของเลือดในเส้นเลือดใหญ่ ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้เกิดการไหลเวียนช้าในขณะนอนหลับ ป้องกันการหายใจลำบากเนื่องจากการไหลเวียนกลับของเลือดใน เส้นเลือดใหญ่จากศีรษะล่าช้า

- และการละหมาดในยามค่ำคืน ยังทำให้ดีขึ้นกับผู้ป่วยไขข้ออักเสบ ไม่ว่าจะเป็นโรครูมาติซึ่มหรืออื่น ๆ ซึ่งการเคลื่อนไหวเบา ๆ และการลูบถูด้วยกับน้ำขณะอาบน้ำละหมาดจะช่วยให้อาการนี้ดีขึ้น”

*** สำหรับมุสลิมที่ละหมาดตะฮัจญุดเป็นประจำ จะได้รับภาคผลหรือความประเสริฐดังต่อไปนี้

....ได้รับการคุ้มครองจากอัลเลาะห์และจะปรากฏร่องรอยแห่งการภักดีบนในหน้าของเขา

... ใบหน้าของเขาเปล่งแสงขาวนวลในวันพิพากษา

...ได้รับความสะดวกง่ายดายในการสบสวนเขาในวันแห่งการสอบสวน

...ผ่านซิรฏ้อลมุสตากีม เหมือนฟ้าแลบ

...ได้รับสมุดบันทึกความประพฤติด้วยมือขวา

(การละหมาดตะฮัดยุด มีกี่รอกาอัต)

......การละหมาดตะฮัจญุด ต้องกระทำหลังจากละหมาดอิชา และจำเป็นต้องเข้านอนก่อน เวลาของการ ละหมาดตะฮัจญุด คือ ระหว่างหลังละหมาดอิชา เรื่อยไปจนถึงรุ่งเช้า ที่ดีที่สุด (เวลาที่ประเสริฐที่สุด) ให้กระทำหลังเที่ยงคืนไปแล้ว หรือหลังเที่ยงคืนในชั่วโมงสุดท้ายประมาณตีสาม วิธีการละหมาดตะฮัจญุด กระทำหลังจากเวลา 12.00 กลางคืน โดย 2 รอกาอัต หนึ่งสลาม

.....รอกาอะฮ์ที่แท้จริงไม่ได้กำหนดไว้ ละหมาดนี้เต็มไปด้วยคุณค่ามากมาย และที่พิเศษยิ่งคือการ ถูกตอบรับดุอาจากอัลลอฮ์ พูดอะไรเป็นไปตามปาก หัวใจและความคิด มีความสงบนิ่ง ได้รับความง่ายดายในกิจการงาน ได้ริสกีง่าย คนให้เกรียติ ไม่เกิดการทำความเสียหายแก่มนุษย์ไปยังเขา (ส่วนหนึ่งของคุณค่าและอีกมากมายที่ซ่อนเร้นไว้)

.....และทีดีเลิศที่สุดคือ การกระทำหลังจากตื่นนอน และเวลาหลังจากเที่ยงคืน เหนียตละหมาดตะฮัจญุด أُصلّي سُنَّةَ الْتَهَجُّدِ رَكْعَتَيْنِ لِلّهِ تَعَالَى กล่าวเนียต (ข้าพเจ้าเจตนาละหมาดตะฮัจญุด 2 รอกาอะห์เพื่ออัลลอฮ์)

......* รอกาอัตที่ 1 : หลังจากฟาติฮะห์ อ่านซูเราะห์กุลยา

......* รอกาอัตที่ 2 : หลังจากฟาติฮะห์ อ่านซูเราะห์กุลฮู

.....นอกจากการเนียต และข้อกำหนด (ที่จำเป็นข้างต้นแล้ว) การปฏิบัติอย่างอื่นก็เหมือนกับการละหมาดตามปกตินั่นเอง


read more "ผลวิจัยทางการแพทย์กับการลุกขึ้นมาละหมาดในยามค่ำคืน"

วันศุกร์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

เปิดภาพ มัสยิดเก่าในแอลจีเรียบูรณะเสร็จพร้อมเปิดใช้งานแล้ว

เปิดภาพ มัสยิดเก่าในแอลจีเรียบูรณะเสร็จพร้อมเปิดใช้งานแล้ว




อำเภอคัสบะฮ์ (Casbah district) ในนครแอลเจียร์ เมืองหลวงของประเทศแอลจีเรีย เป็นแหล่งสำคัญที่ได้รับการขึ้นบัญชีมรดกโลกโดยยูเนสโก (UNESCO) ใกล้ๆ กันคือ มัสยิด Ketchaoua Mosque ซึ่งครั้งหนึ่งในอดีตเคยเป็นมหาวิหารในศาสนาคริสต์ เมื่อครั้งที่แอลจีเรียตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส

หลังจากการปิดปรับปรุง บูรณะอย่างยาวนานเกือบ 10 ปี บัดนี้ หอคอย และซุ้มประตูที่สง่างามถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อรับบทบาทใหม่ ในฐานะมัสยิดที่พร้อมจะเปิดประตูต้อนรับศรัทธาชนเป็นครั้งแรก โดยรัฐบาลตุรกีเป็นผู้ออกเงินในการบูรณะ





ในสมัยที่สัญลักษณ์ของออตโตมานมีอิทธิพลแผ่ขยาย สถานที่แห่งนี้เป็นที่รู้จักในฐานะมหาวิหารโรมันแคธอลิคนักบุญฟิลิปเป้ (Roman Catholic Saint Philippe Cathedral) มานานกว่า 100 ปี หลังจากที่ฝรั่งเศสครอบครองแอลจีเรีย จนเปลี่ยนกลับมาเป็นมัสยิดเมื่อแอลจีเรียได้รับเอกราชด้วยการนองเลือด ในปี 1962 มัสยิดปิดตัวลงในปี 2008 หลังจากถูกกาลเวลาทำลายล้าง และยังมาโดนภัยธรรมชาติจากแผ่นดินไหวจนพังเสียหาย


ก่อนบูรณะ

ยังมีข้อถกเถียงกันถึง วันเดือนปี ที่มัสยิดแห่งนี้ถูกสร้างขึ้นเป็นครั้งแรก แต่หลักฐานอ้างอิงที่เชื่อถือได้ล่าสุด ระบุว่า อาจจะสร้างขึ้นราวปี ค.ศ.1612 (พ.ศ.2155) ในช่วงปลายศตวรรษที่ 18 ฮัสซัน ปาชาร์ สุลต่านออตโตมานที่ปกครองพื้นที่นี้ ได้เปลี่ยนแปลงพื้นที่รอบๆ จนหมด และตั้งให้มัสยิดนี้เป็นมัสยิดหลวงประจำเมือง หลังจากนั้นประมาณ 40 ปี เกิดสงคราม และฝรั่งเศสเข้ามายึดครองเมืองไว้ทั้งหมด หลังจากนั้นในปี 1832 ฝรั่งเศสเปลี่ยนมัสยิดนี้ให้เป็นวิหารในศาสนาคริสต์


ใบไม้สีทองชี้กิบลัต

ในการบูรณะซ่อมแซมครั้งนี้ มีการคงสภาพเดิมไว้เป็นส่วนมาก แม้แต่มิมบัรที่สร้างใน ปี 1794 ก็ถูกบูรณะและนำกลับมาติดตั้ง รวมทั้งรูปใบไม้ที่ใช้เป็นเครื่องชี้ทิศกิบลัต ก็ได้รับการทาสีเป็นสีทองเหมือนเดิม หออะซานที่ถูกผุพังไป ก็มีการนำหินทีละก้อนจากทางตะวันตกของประเทศ มาสร้างขึ้นใหม่ให้เหมือนเดิม ส่วนห้องโถงละหมาดสามารถจุคนได้ประมาณ 1,200 คน และนับเป็นครั้งแรกที่มีการจัดพื้นที่สำหรับสตรีในมัสยิดแห่งนี้ด้วย

ที่มา: www.middle-east.online.com
.
Cr. สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์
.
#อารยธรรมอิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online
read more "เปิดภาพ มัสยิดเก่าในแอลจีเรียบูรณะเสร็จพร้อมเปิดใช้งานแล้ว"

วันจันทร์ที่ 22 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

คาน อัสอัด ปาชา (Khan As'ad Pasha)

คาน อัสอัด ปาชา (Khan As'ad Pasha)




คาน อัสอัด ปาชา (Khan As'ad Pasha) ตั้งอยู่ในเขตเมืองเก่าของกรุงดามัสกัส สร้างขึ้นในปีค.ศ.1751 เพื่อเป็นที่พักกองคาราวาน (คาน หรือ คาราวานซาราย - Caravanserai) ตั้งชื่อตาม อัสอัด ปาชา อัล-อะซ็อม ข้าหลวงปกครองดามัสกัสในสมัยราชวงศ์อุษมานียะฮ์ (ออตโตมัน) โดยที่ตัวคานนั้นมีลานกว้างขนาดใหญ่ตรงกลาง ล้อมรอบด้วยอาคารสองชั้น มีหลังคาโคม ประกอบด้วยห้องต่างๆ โดยมีการแบ่งสัดส่วนชั้นล่างใช้สำหรับเก็บสินค้า ส่วนชั้นบนนั้นเป็นห้องพักของพ่อค้านักเดินทาง คาน อัสอัด ปาชา มีเอกลักษณ์ด้วยการตกแต่งด้วยหินสลับสีดำ-ขาว และถือว่าเป็นหนึ่งในคานที่ใหญ่ที่สุดของดามัสกัส
.
อ้างอิงภาพ : http://islamic-arts.org/wp-content/uploads/2011/10/asadpashakhan.jpg
.
ที่มา : โบราณคดีอิสลาม - lslamic Archaeology
.
Cr. ดาบแห่งอัลเลาะห์ แอนตี้ไซออนิสต์
.
#อารยธรรมอิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online
read more "คาน อัสอัด ปาชา (Khan As'ad Pasha)"

วันศุกร์ที่ 19 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ภาษาอาหรับคาดเป็น 1 ใน 5 ภาษา ที่คนอังกฤษจะต้องรู้ในอนาคต

รู้ยัง!! ภาษาอาหรับคาดเป็น 1 ใน 5 ภาษา ที่คนอังกฤษจะต้องรู้ในอนาคต

(สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์)




ผลการวิจัย ‘Languages for the Future – ภาษาสำหรับอนาคต’ จัดทำโดย British Council เปิดเผยว่า ในอนาคตหลังจากที่อังกฤษออกจากการเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเรียบร้อยแล้ว ชาวอังกฤษมีความจำเป็นต้องศึกษาภาษาที่สำคัญเพิ่มเติมจากภาษาแม่ของตัวเอง นั่นคือ ภาษาอาหรับ สเปน แมนดาริน (จีนกลาง) ฝรั่งเศส และเยอรมัน รายงานยังระบุว่า ชาวอังกฤษเพียง 1 ใน 3 ที่สามารถสื่อสารในภาษาอื่นๆ อันเนื่องมาจากการสอนภาษาอื่นในโรงเรียนไม่ได้รับการสนับสนุน และว่า อังกฤษควรจะเปลี่ยนแปลงนโยบายในการพัฒนาการสอนภาษาในประเทศได้แล้ว

รายงานของบริทิช เคาน์ซิล ยังระบุว่า 5 ภาษาแรกดังกล่าว มีความสำคัญกับความมั่งคั่งของอังกฤษหลัง Brexit (คือการออกจากสมาชิกสหภาพยุโรป) หลังการวิเคราะห์ปัจจัยทางเศรษฐกิจ การเมือง ภูมิศาสตร์ วัฒนธรรมและการศึกษาในวงกว้าง ส่วนอีก 5 ภาษาที่มีความสำคัญรองลงมา คือ อิตาลี ดัทช์ โปรตุเกส ญี่ปุ่น และรัสเซีย

ไม่เฉพาะการเปิดไม่กว้างให้เรียนภาษาอื่นๆ เพราะแม้แต่ภาษาอังกฤษเองก็ยังเผชิญกับความตกต่ำ ตัวเลขอย่างเป็นทางการของ Joint Council for Qualifications (สภาความร่วมมือในการรับรองคุณภาพ) ระบุว่า นักเรียนในอังกฤษ เวลส์ และไอร์แลนด์เหนือ ที่สอบวัดระดับภาษาในปีที่ผ่านมา มีคุณภาพลดลง 7.3 % และในระดับ A ลดลง 1%

ในขณะที่การเชื่อมต่อทั่วโลกมีความสำคัญยิ่งขึ้นกว่าเดิม เป็นเรื่องน่าห่วงที่ว่า อังกฤษกำลังประสบกับปัญหาการขาดแคลนภาษา ซึ่งการขาดทักษะในด้านภาษาอังกฤษในปัจจุบัน มีผลทำให้การดำเนินงานทางการค้าระหว่างประเทศของอังกฤษถดถอยลง โดยอาจจะสูญเสียรายได้เกือบ 50 พันล้านปอนด์ต่อปีเลยทีเดียว
.
ที่มา: www.english.alarabiya.net

Cr. สำนักข่าวมุสลิมไทยโพสต์

#สารพันบทความ_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online
read more "ภาษาอาหรับคาดเป็น 1 ใน 5 ภาษา ที่คนอังกฤษจะต้องรู้ในอนาคต"

วันจันทร์ที่ 15 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ความเป็นพี่น้องกันในอิสลาม

ความเป็นพี่น้องกันในอิสลาม

--------------------------
ชัยคฺ ยูสุฟ อัล เกาะเราะฎอวียฺ




อันที่จริงอิสลามได้เสนอนิยามความเป็นพี่น้องที่ไม่มีใครเหมือน ในอิสลามแต่ละคนประกอบกันเป็นภราดรภาพหนึ่งเดียว ไม่มีใครอยู่นอกกรอบของภารดรภาพนี้ อิสลามกำหนดอย่างชัดเจนว่าความมั่งคั่ง ตำแหน่ง ชาติตระกูล หรือสถานะทางสังคมมิได้เป็นเหตุผลที่จะสร้างความรู้สึกหยิ่งยโสหรือความเหนือกว่าผู้อื่น ในอิสลามผู้ปกครองและผู้ที่อยู่ใต้ปกครองถูกเชื่อมภายใต้ภราดรภาพเดียวกัน มีหะดีษต้นหนึ่ง กล่าวว่า “ผู้ปกครองที่ดีที่สุดของพวกท่านคือผู้ที่พวกท่านรักพวกเขาแล้วพวกเขาก็รักพวกท่าน คือผู้ที่พวกท่านให้เกียรติพวกเขาแล้วพวกเขาก็ให้เกียรติพวกท่าน ผู้ปกครองที่เลวที่สุดของพวกท่านคือผู้ที่พวกท่านรังเกียจพวกเขาแล้วพวกเขาก็รังเกียจพวกท่าน คือผู้ที่พวกท่านต่อว่าพวกเขาแล้วพวกเขาก็ต่อว่าพวกท่าน” (รายงานโดย มุสลิม)

คนรับใช้คนหนึ่งเขาก็คือพี่น้องของนายเขา ข้อผูกมัดของความเป็นเจ้านายและความเป็นบ่าวไม่สามารถเปลี่ยนแปลงความจริงข้อนี้ ในหะดีษต้นหนึ่งรายงานว่า “ผู้รับใช้ของพวกท่านคือพี่น้องของพวกท่าน อัลลอฮฺทรงจัดให้พวกเขาอยู่ภายใต้การควบคุมของพวกท่าน ถ้าพระองค์จะทรงทำให้พวกท่านอยู่ภายใต้การควบคุมของพวกเขาพระองค์ก็ทำได้ ฉะนั้นใครก็ตามที่มีพี่น้องอยู่ภายใต้การควบคุมของเขา ก็ให้เขารับประทานอาหารอที่เหมือนๆกัน ให้เขาสวมเสื้อผ้าที่เหมือนกัน อย่าได้มอบภาระหน้าที่การงานที่หนักเกินความสามารถของพวกเขา ถ้าการงานเกิดความยุ่งยากด้วยเหตุผลบางประการ ก็จงยื่นมือช่วยเหลือพวกเขา (รายงานโดยบุคอรีและมุสลิม)

ในอิสลาม คนยากจนและคนรวย นายจ้างและลูกจ้าง เจ้าของที่ดินและคนเช่าทั้งหมดล้วนเป็นพี่น้องกัน อิสลามมิได้มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆกับความขัดแย้งทางสังคมหรือการแบ่งแยกทางชนชั้น อิสลามมิมีสิ่งใดที่เรียกว่าระบบชนชั้น เหมือนกับกรณีที่เกิดขึ้นท่ามกลางยุคกลางของยุโรปที่ระบบดังกล่าวถูกวางอยู่บนประเพณี ข้อกำหนดและกฎเกณฑ์ในการปกครอง จนกระทั่งถึงยุคสมัยของเราที่ระบบนี้ยังคงมีแพร่หลายในหลายประเทศ

อิสลามมิได้ปฏิเสธความมั่งคั่ง แต่อิสลามยืนยันที่จะต่อต้านระบบชนชั้นทางสังคมที่ให้อภิสิทธ์แก่คนรวย อิสลามได้เน้นย้ำถึงข้อเท็จจริงในความเท่าเทียมกันของมนุษย์ ความร่ำรวยนั้นขึ้นอยู่ความพลิกพลันของชีวิตและมันมีขึ้นมีลง อิสลามได้ให้ข่าวดีแก่บรรดาผู้ที่ยากจนว่าในความยากลำบากย่อมมีความผ่อนคลาย และหลังเมฆหมอกย่อมมีแสงเรืองรอง ดังที่อัลลอฮฺ ตะอาลา กล่าวว่า “ฉะนั้นแท้จริงหลังจากความยากลำบากก็จะมีความง่าย” (อัลอันชิรอหฺ 5)

ในอิสลาม ประตูถูกเปิดไว้สำหรับบุคคลใดก็ตามที่มีความสามารถที่จะเป็นผู้รู้อิสลาม อิสลามมิได้ทำให้ผู้รู้เป็นอย่างพระหรือนักบวช พวกเขาแตกต่างจากระบบพระหรือนักบวชอย่างสิ้นเชิง การเป็นผู้รู้หมายถึงการมีหน้าที่ที่จะต้องชี้นำผู้คนและสอนหลักการสอนศาสนาแก่พวกเขา ดังที่อัลลอฮฺได้กล่าวกับท่านนะบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม ว่า “ดังนั้นเจ้าจงตักเตือน เพราะแท้จริงเจ้าเป็นเพียงผู้ตักเตือนเท่านั้น เจ้ามิใช่มีอำนาจเหนือพวกเขา” อัลฆอซิยะฮฺ 21-22

ฉะนั้นมันเป็นเรื่องปกติที่ผู้รู้อิสลามซึ่งดำเนินตามแนวทางของท่านนะบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮุ อะลัยฮิ วะซัลลัม พวกเขาจึงไม่ได้เป็นทั้งผู้คุมนักโทษและทรราช พวกเขาเป็นเพียงแค่ผู้ตักเตือนและผู้นำทางเท่านั้น

Cr. Shaykh Yusuf al-Qaradawi

#สารพันบทความ_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online
read more "ความเป็นพี่น้องกันในอิสลาม"

วันศุกร์ที่ 12 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

พระคัมภีร์กุรอานว่าด้วยสมองส่วนหน้าของมนุษย์

พระคัมภีร์กุรอานว่าด้วยสมองส่วนหน้าของมนุษย์

""""""""""
พระผู้เป็นเจ้าทรงตรัสไว้ในพระคัมภีร์กุรอานถึงคนผู้หนึ่งในกลุ่มของผู้ไร้ความศรัทธาในศาสนาโดยสิ้นเชิง เข้ามาขัดขวางพระมูหะหมัด ไม่ให้ทำละหมาดในวิหารกาบา (Kaaba):

มิใช่เช่นนั้น ถ้าเขายังไม่หยุดยั้ง เราจะจิกเขาที่ขม่อมอย่างแน่นอน ขม่อมที่โกหกที่ประพฤติชั่ว! (พระคัมภีร์กุลอาน, 96:15-16)

ทำไมพระคัมภีร์กุรอานจึงได้อธิบายบริเวณศรีษะส่วนหน้าว่าเปรียบเสมือนส่วนที่เต็มไปด้วยบาปและความตลบตะแลง ทำไมพระคัมภีร์กุรอานจึงไม่กล่าวว่าบุคคลนั้นเต็มไปด้วยบาปและความตลบตะแลง มีความสัมพันธ์กันอย่างไรระหว่างบริเวณศรีษะส่วนหน้ากับบาปกรรมและความตลบตะแลง?

ถ้าเรามองเข้าไปในกระโหลกศีรษะส่วนหน้า เราจะพบบริเวณสมองส่วนหน้า (ดูรูปที่ 12) วิชาว่าด้วยสรีระวิทยาบอกกับเราว่าบริเวณนี้มีหน้าที่อะไรบ้าง ในหนังสือที่ชื่อว่า Essentials of Anatomy & Physiology ได้กล่าวถึงบริเวณนี้ไว้ว่า “แรงบันดาลใจและการคาดการณ์ล่วงหน้าในการวางแผนและการสั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหวนั้น เกิดจากกลีบสมองส่วนหน้า ซึ่งเป็นบริเวณที่อยู่ด้านหน้าสุด และเป็นบริเวณศูนย์รวมของเยื่อหุ้มสมอง...”1 “ในตำราเล่มนั้นยังกล่าวอีกว่า “เนื่องจากว่าบริเวณที่อยู่ด้านหน้าสุดนี้มีส่วนเกี่ยวข้องกับการสร้างแรงบันดาลใจ จึงมีการคิดกันว่าบริเวณส่วนนี้เป็นศูนย์กลางที่ก่อให้เกิดความรุนแรง....”2

ดังนั้นบริเวณของสมองส่วนหน้านี้จึงมีหน้าที่วางแผน สร้างแรงจูงใจ และริเริ่มให้เกิดการกระทำดีหรือชั่ว อีกทั้งยังทำหน้าที่ในการโป้ปดมดเท็จและบอกเล่าความจริง ดังนั้น จึงจะเหมาะสมกว่าหากอธิบายว่าบริเวณศรีษะส่วนหน้านั้นเปรียบเสมือนส่วนที่เต็มไปด้วยบาปและความตลบตะแลง เมื่อมีผู้ใดโกหกหรือกระทำสิ่งที่เป็นบาป อย่างที่พระคัมภีร์กุรอานได้กล่าวไว้ว่า “naseyah (บริเวณส่วนหน้าของศีรษะ) ที่เต็มไปด้วยความตลบตะแลงและบาปกรรม!”

นักวิทยาศาสตร์เพิ่งจะค้นพบการทำหน้าที่ต่างๆ ของบริเวณสมองส่วนหน้าเมื่อหกสิบปีที่ผ่านมานี่เอง โดยศาสตราจารย์ Keith L. Moore.3
""""""""



*** รูป :บริเวณสั่งการของเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้าซีกซ้าย บริเวณด้านหน้าจะอยู่ตรงด้านหน้าเยื่อหุ้มสมองส่วนหน้า (Essentials of Anatomy & Physiology ของ Seeley และคณะ หน้า 210) (คลิกที่รูปภาพเพื่อขยายใหญ่)
.
เชิงอรรถ:
.
(1)Essentials of Anatomy & Physiology ของ Seeley และคณะ หน้า 211 และดูที่ The Human Nervous System ของ Noback และคณะ หน้า 410-411. Back from footnote (1)
.
(2)Essentials of Anatomy & Physiology ของ Seeley และคณะ หน้า 211. Back from footnote (2)


(3)Al-Ejaz al-Elmy fee al-Naseyah (ปาฏิหาริย์ในทางวิทยาศาสตร์บริเวณศรีษะส่วนหน้า) ของ Moore และคณะ หน้า 41. Back from footnote (3)
.
Cr. ศาสนาอิสลาม - الإسلام
.
#สารพันบทความ_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online
read more "พระคัมภีร์กุรอานว่าด้วยสมองส่วนหน้าของมนุษย์"

วันจันทร์ที่ 8 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

ถ้าคุณรู้!! คุณจะสุญุดนานขึ้นแน่นอน"

ถ้าคุณรู้!! คุณจะสุญุดนานขึ้นแน่นอน"


"ทำไมอัลลอฮฺให้เรา " สุ ญู ด " ในช่วงเวลาละหมาด ?.?"

การสูยูดเกี่ยวข้องกับอวัยวะ 5 ส่วนที่ต้องสัมผัสกับพื้นดิน คือหน้าผาก จมูก ฝ่ามือทั้งสองข้าง หัวเข่า และปลายนิ้วเท้าทั้งสองข้าง

สูยูดคือ การนอบนัอมถ่อมตน สรรเสริญต่อองค์อัเลาะห์ และเป็นการขอพรต่ออัลเลาะ รวมทั้งขจัดความทนงตน หยิ่งยโส ลืมตัว และอื่นๆ




Dr. FIDELMA ท่านได้เข้ารับอิสลาม เนื่องจากท่านได้ทราบถึงประโยชน์ของการสูยูดที่ส่งผลต่อสุขภาพ จากผลการวิจัยท่านได้พบว่า มีเส้นประสาทในสมองบางเส้นที่เลือดไม่สูบฉีด
"แต่ถ้าหากเราสูยูดเลือดจะทำการสูบฉีด แต่เส้นประสาทเหล่านี้แค่ต้องการการสูบฉีดของเลือดในบางเวลาเท่านั้น " ก็คือ ในชวงเวลาละหมาดที่ศาสนาอิสลามถูกกำหนดไว้ (เวลารุ่งอรุณ Subuh. ตอนเที่ยง dzuhur. บ่าย ashar เย็น maqrib หัวค่ำ Isya)

SubhanAllah
...ฉะนั้น ใครที่ไม่ละหมาด เลือดจะไม่สูบฉีดไปเลี้ยงเส้นประสาท จนกระทั่งสมองของเขาไม่ทำงานตามปกติ

นี่คือหนึ่งคำชี้แนะสำหรับผู้คนในสังคมปัจจุบันนี้ที่ไม่ทำการละหมาด เพราะว่าสมองนั้นตำแหน่งของมันอยู่ด้านบนของหัวใจ
ดังนั้น prof hembing ได้กล่าวไว้ว่า หัวใจสามารถกระตุ้นให้เลือดสูบฉีดไปยังสมองได้เพียง ยี่สิบเปอร์ดเซ็นต์ ฉะนั้นตัวช่วยให้เลือดสูบฉีดอย่างดีนั้นคือ "การสูยูดนานๆ "

เรืองนี้สอดคล้องกันกับคำสอนของท่านนบีมูฮัมหมัด ซ.ล ที่ให้เราสูยูดนานๆในรอกาอัตสุดท้าย ประโยชน์ของการสูยูดนานๆนี้

- เพื่อให้หายจากอาการมึนศรีษะ
- ไมเกรน
- ผ่อนคลายสมอง
- เพิ่มไหวพริบ
- ควบคุมระบบหายใจ
- กระชับมดลูก ปรับตำแหน่งลูกในท้องให้ถูกตำแหน่ง เป็นต้น

และที่น่าทึ่งกว่านั้นคือ หากเราสังเกตุจะเห็นว่าลักษณะของเส้นประสาทในสมองของเรานั้นมีลักษณะคล้ายกับคนกำลังสูยูด นั้นเอง

ที่มา www.halalthailand.com

Cr. Islamic Way Of Life l เส้นทางชีวิตที่สันติ

#สารพันบทความ_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online
read more "ถ้าคุณรู้!! คุณจะสุญุดนานขึ้นแน่นอน""

วันศุกร์ที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

มุสลิมในนิวเม็กซิโกตั้งโต๊ะเสวนาในตลาดเช้า กลบกระแสต่อต้านอิสลาม

มุสลิมในนิวเม็กซิโกตั้งโต๊ะเสวนาในตลาดเช้า กลบกระแสต่อต้านอิสลาม




แม้ว่าชาวมุสลิมตะวันตกส่วนใหญ่เลือกที่จะถอนตัวออกจากสังคมเพื่อความอยู่รอดปลอดภัย ท่ามกลางกระแสต่อต้านอิสลามหรือ Islamophobia ที่แผ่ซ่านไปทั่วทุกมุมโลกในปัจจุบัน แต่สำหรับมุสลิมในนิวเม็กซิโกพวกเขากลับเลือกที่จะทำในสิ่งที่ตรงข้าม นั่นคือการเผชิญหน้าและมีส่วนร่วมในสังคมให้มากขึ้นกว่าเดิม

จิตอาสากลุ่มเล็กๆจากศูนย์กลางอิสลามในเมือง Las Cruces ซึ่งเป็นแหล่งรวมพลชาวมุสลิมแห่งเดียวของเมือง ได้สละเวลาประมาณ 5 ชั่วโมงในช่วงเช้าของวันหยุด เพื่อเปิดบู้ธเล็กๆที่มีชื่อว่า “know Islam” (มารู้จักอิสลาม) ในตลาดเกษตรกรซึ่งเป็นที่รู้จักของเมือง ท่ามกลางผักผลไม้ ของกิน และผู้คนจากหลากหลายกลุ่มชนที่เดินขวักไขว่ไปมา




ภายในบู้ธมีเก้าอี้เล็กๆ เพียงไม่กี่ตัว พร้อมอัลกุรอานและใบปลิวเกี่ยวกับอิสลามวางไว้บนโต๊ะ เพื่อแจกให้กับขาจรที่สนใจอยากแลกเปลี่ยนความคิดเห็นหรือมีข้อสงสัยใดๆ เกี่ยวกับอิสลาม

Mustafa Azimi ซึ่งเป็นหนึ่งในอาสาสมัครเล่าว่า อันที่จริงเขาสามารถเลือกที่จะนั่งพักผ่อนสบายๆ อยู่ที่บ้านในวันหยุดเช่นนี้ แต่เขาชอบที่จะทำอะไรบางอย่างให้เกิดประโยชน์แก่สังคมมากกว่า

Las Cruces เป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดเป็นอันดับสองของรัฐนิวเม็กซิโก สหรัฐอเมริกา เป็นเมืองอากาศร้อนที่มีประชากรกว่าครึ่งถือสัญชาติสเปน ที่นี่มีชาวมุสลิมเพียง 500 คน โดยประมาณและส่วนใหญ่เป็นนักเรียนแลกเปลี่ยนของมหาวิทยาลัยรัฐนิวเม็กซิโก

ทุกครั้งที่ละหมาดวันศุกร์จะมีการสลับกันรับหน้าที่อ่านคุฏบะห์ (ปาฐกถาบรรยายธรรมประจำสัปดาห์) เนื่องจากไม่มีอีหม่าม (ผู้นำศาสนา) เป็นกิจจะลักษณะเหมือนทั่วไป

เนื่องจากเริ่มมองเห็นถึงการเปลี่ยนแปลงของนโยบายทางการเมืองในประเทศเมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมา กอปรกับเล็งเห็นว่าสังคมมีความเข้าใจผิดเกี่ยวกับศาสนาอิสลามอยู่มาก ชาวมุสลิมใน Las Cruces จึงเกิดไอเดียให้มีการตั้งโต๊ะประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ชุมชน จึงจัดบู้ธในตลาดยามเช้าของวันหยุดให้กับคนเดินถนนทั่วไปขึ้นมา

ผู้คนส่วนใหญ่ที่เดินเข้ามาทักทายล้วนเป็นมิตร บ้างก็มีคำถามข้อสงสัยเกี่ยวกับความเชื่อของชาวมุสลิมโดยเฉพาะประเด็นความรุนแรง บ้างก็เข้ามาพูดคุยเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น บ้างก็มาให้กำลังใจและขอโทษแทนสังคมส่วนใหญ่เกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้นกับชาวมุสลิม

แม้บางครั้งจะมีที่ตะโกนจากไกลๆ เหมือนไม่ค่อยพอใจชาวมุสลิมอยู่บ้าง แต่ Hussain ซึ่งเป็นอาสาสมัครคนหนึ่งของโครงการก็มองว่า “เราได้เห็นปฏิกิริยาหลากหลายแตกต่างกันไป นั่นเป็นเพราะทั้งสองฝ่ายรู้สึกว่าพวกเขาต้องการบอกให้เราได้รู้ในสิ่งที่พวกเขารู้สึก”




Hussain กล่าวต่อด้วยว่า “สิ่งที่ได้จากการเปิดบู้ธนี้ไม่ใช่ประเด็นที่ว่าจะมีคนเข้ามาหาเรามากน้อยแค่ไหน แต่มันช่วยทำให้พวกเรารู้สึกดี โดยเฉพาะช่วงหลังการเลือกตั้ง ที่พวกเราได้ยินกันแต่วาทกรรมแย่ๆ เกี่ยวกับอิสลามแทบทุกที่ การได้เป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมและสังคมแบบนี้มันจึงช่วยให้ผมรู้สึกดีขึ้นมากจริงๆ”

ที่มา : http://wapo.st/2AaYEMS

Cr. Halal Life Magazine

#ประชาชาติอิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online
read more "มุสลิมในนิวเม็กซิโกตั้งโต๊ะเสวนาในตลาดเช้า กลบกระแสต่อต้านอิสลาม"

วันจันทร์ที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2560

เมืองเก่าในยุคสมัยอิสลาม

เมืองเก่าในยุคสมัยอิสลาม


ทราบไหมครับว่า อัล-กอฮิเราะฮ์ หรือ ไคโร เมืองหลวงของประเทศอียิปต์มีเมืองเก่าในยุคสมัยอิสลามซ้อนกันอยู่ถึง 4 เมือง!

มาเกริ่นกันสักนิดนึงก่อนนะครับ เอาในช่วงเวลาของการกำเนิดของอิสลามในคาบสมุทรอารเบียในคริสต์ศตวรรษที่ 7 เป็นช่วงเวลาที่มหาอำนาจใหญ่ 2 ค่าย คือ จักรวรรดิโรมันตะวันออก (ไบแซนไทน์) และจักรวรรดิเปอร์เซียซาสซานียะฮ์ กำลังขับเคี่ยวกันมีอำนาจเหนือตะวันออกใกล้ทั้งในบริเวณเอเชียน้อย แคว้นซีเรียและอียิปต์ เมืองหลวงของอียิปต์ในขณะนั้นคือ "อเล็กซานเดรีย" เพชรเม็ดงามซึ่งจักรวรรดิโรมันได้สืบทอดมาจากราชวงศ์ปโตเลมี ซึ่งในสงครามครั้งนี้ถูกเปอร์เซียเข้ายึดครองในปี ค.ศ.619 แต่โรมันก็สามารถยึดกลับคืนมาได้ในสิบปีต่อมา ในการปกครองอียิปต์ของโรมันนั้นทางกรุงคอนสแตนติโนเปิลได้ส่งสังฆราชกรีกออธอด็อกซ์ไซรัส (Cyrus of Alexandria คนนี้สันนิษฐานว่าคือคนเดียวกับ มุเกากิส ซึ่งบันทึกไว้ในประวัติศาสตร์อิสลาม) ซึ่งทำหน้าที่เป็นข้าหลวงปกครองอียิปต์ แต่ก็มีความไม่ลงรอยกับชาวอียิปต์ส่วนใหญ่ ซึ่งยึดถือศาสนาคริสต์แบบโมโนฟีไซต์หรือคอปติกด้วย

ในช่วงสมัยต้นของอิสลาม มุสลิมต้องเผชิญหน้ากับกองทัพโรมันหลายต่อหลายครั้ง แต่ในที่สุดก็สามารถพิชิตแคว้นซีเรียได้ในสมัยของคอลีฟะฮ์ท่านที่ 2 คือท่านอุมัร อิบนุ ค็อฏฏ็อบ (Umar ibn al-Khattab) หนึ่งในแม่ทัพที่มีชื่อเสียงโด่งดังมากๆของฝ่ายมุสลิมคือ คอลิด อิบนุ วะลีด (Khalid ibn al-Walid ผู้มีฉายา ซัยฟุลลอฮ์ - ดาบของพระเจ้า) ได้รับชัยชนะครั้งสำคัญที่แม่น้ำยัรมู๊ก (ที่พรมแดนซีเรีย-จอร์แดน) นอกจากนั้นยังมี อัมร์ อิบนุ อัลอาศ (Amr ibn al-Aas) เป็นแม่ทัพนำกองทัพจำนวนสี่พันนายมุ่งหน้าสู่อียิปต์ซึ่งเป็นแคว้นสำคัญของโรมัน หลังจากชัยชนะที่เฮลิโอโปลิส (Heliopolis) และป้อมบาบิโลน (Babylon Fort) แล้ว อัมร์ก็นำกองทัพเข้าปิดล้อมอเล็กซานเดรีย เมืองหลวงของอียิปต์ซึ่งปราศจากการป้องกันใดๆยกเว้นกำแพงอันแน่นหนาและกองกำลังเพียงหยิบมือ หลังการปิดล้อมยาวนาน 14 เดือน ในปลายปี ค.ศ.641 โรมันจึงยอมถอนกำลังและยกเมืองให้แก่มุสลิมในที่สุด ชาวอียิปต์นั้นต้อนรับชาวมุสลิมให้เป็นผู้ปกครองซึ่งให้อิสระในการนับถือศาสนามากกว่าชาวโรมัน และบางส่วนก็ได้หันมารับศาสนาอิสลามด้วย นี่เองเป็นปัจจัยหนึ่งที่ช่วยให้เกิดเสถียรภาพและพัฒนาอียิปต์ให้รุดหน้าไปอย่างรวดเร็ว

ตอนแรกนั้น มุสลิมต้องการที่จะใช้อเล็กซานเดรียเป็นที่ตั้งของเมืองหลวงเพราะเป็นเมืองเอกและเพียบพร้อมในหลายๆ ด้าน แต่ได้ถูกทัดทานไว้โดยคอลีฟะฮ์อุมัร เนื่องจากความที่เป็นเมืองท่า จึงไม่ปลอดภัยนักเพราะถ้าหากโรมันไบแซนไทน์ซึ่งเป็นเจ้าแห่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียนในขณะนั้นส่งกองเรือรบเข้ามาโจมตี มุสลิมก็ไม่มีกำลังทหารมากพอที่จะคุ้มกัน ซึ่งจะทำให้เสียเมืองไปได้โดยง่าย อีกทั้งอเล็กซานเดรียก็อยู่ห่างจากเมืองหลวงของรัฐอิสลามคือ มะดีนะฮ์ ในคาบสมุทรอารเบีย การช่วยเหลือสนับสนุนคงจะเป็นไปได้ยากเช่นกัน





อัมร์ อิบนุ อัลอาศจึงได้เสาะหาทำเลใหม่ จนกระทั้งพบกับบริเวณที่ตั้งเดิมของค่ายทหารมุสลิมขณะปิดล้อมป้อมบาบิโลนของโรมันที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำไนล์ ที่นั่นเอง เมืองอัล-ฟุสฏ็อต (Al-Fustat) ซึ่งชื่อหมายถึง "กระโจมค่าย" ก็ถูกสถาปนาขึ้นเป็นเมืองอิสลามแห่งแรกของแอฟริกาในปี ค.ศ.641 ด้วยจุดยุทธศาสตร์และการคมนาคมที่ดีเยี่ยมอยู่ตรงกลางที่จะสามารถเชื่อมต่อระหว่างอียิปต์ตอนบนและตอนล่างรวมถึงอารเบียได้ "มัสยิด" เป็นอาคารหลังแรกที่ถูกสร้างขึ้น (มัสยิดหลังนี้ภายหลังตั้งชื่อตามแม่ทัพอัมร์ อิบนุ อัลอาศ นั่นเอง) บ้านเรือนค่อยๆถูกก่อสร้างขึ้นรอบๆ มัสยิดที่เป็นศูนย์กลาง ทำให้นึกถึงภาพของนครมะดีนะฮ์ของ ท่านนบีมุฮัมมัด(ซ.ล.) ซึ่งมีมัสยิดเป็นศูนย์กลางของชุมชม เป็นศูนย์รวมจิตใจและการบริหารงานต่างๆ เป็นพื้นฐานและต้นแบบให้กับการวางผังเมืองแบบอิสลามตลอดมาทุกยุคสมัย อัล-ฟุสฏ็อตก็เริ่มเจริญด้วยเศรษฐกิจที่เฟื่องฟูและก้าวขึ้นเป็นเมืองหลักในแคว้นอียิปต์แทนที่อเล็กซานเดรียจนถึงตลอดยุคสมัยราชวงศ์อุมัยยะฮ์ (Umayyad) และยังมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง อีกทั้งถูกใช้เป็นฐานในการพิชิตเมืองอื่นๆ ในแอฟริกาเหนือด้วย จนกระทั้งเมืองก็อยรอวานในตูนีเซียถูกก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ.670

เมื่อการปกครองของราชวงศ์อุมัยยะฮ์ในซีเรียถูกทำลายลงจากการปฏิวัติโดยพวกอับบาสิยะฮ์ (Abbasid) ในปีค.ศ.750 อียิปต์ซึ่งเดิมยังคงสนับสนุนพวกอุมัยยะฮ์ก็ถูกผนวกเข้ามาอยู่ในอาณัติของราชวงศ์ใหม่ซึ่งมีศูนย์กลางอยู่ที่แบกแดดในอิรัก ไม่นานนักพวกอับบาสิยะฮ์เองก็เริ่มวางแผนพัฒนาเมืองขึ้นมาใหม่ เนื่องด้วยอัล-ฟุสฏ็อตในเวลานั้นมีความคับแคบ เมืองใหม่นี้ถูกเรียกว่า "อัล-อัสกัร" (Al-Askar) สร้างห่างไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของอัล-ฟุสฏ็อตไปเพียงเล็กน้อย มีการสร้างมัสยิดอัล-อัสกัร เป็นศูนย์กลางของเมือง และดารุลอิมาเราะฮ์ (Dar al-Imarah) ซึ่งคือศูนย์กลางการบริหารราชการซึ่งเป็นที่อยู่ของเจ้าเมืองขึ้นมาใหม่ (ต่อมาถูกทำลายทำให้ปัจจุบันไม่หลงเหลือหลักฐานของเมืองอัล-อัสกัรปรากฏอยู่แล้ว)

ในปี ค.ศ. 868 อะหมัด อิบนุ ตูลูน (Ahmad ibn Tulun) ทาสชาวเติร์กซึ่งถูกแต่งตั้งโดยคอลีฟะฮ์ราชวงศ์อับบาสิยะฮ์ให้เป็นข้าหลวงปกครองอียิปต์ได้ประกาศแข็งเมืองเป็นเอกเทศจากรัฐบาลกลางที่แบกแดด อีกทั้งยังตั้งราชวงศ์ของตนเองขึ้น (ราชวงศ์ตูลูนียะฮ์) เพื่อเป็นการแสดงถึงการแยกตัวอย่างชัดเจนและเล็งเห็นถึงพื้นที่ที่แออัดของ อัล-ฟุสฏ็อต และอัล-อัสกัร ซึ่งไม่สามารถรองรับประชากรและกองทัพที่เพิ่มขึ้นได้ อิบนุ ตูลูน ได้สถาปนาเมืองแห่งใหม่ "อัล-ก็อฏฏอเอี๊ยะห์" (Al-Qatta'i) ขึ้นไปทางเหนือ และเช่นเดียวกับการก่อตั้งผังเมืองแบบอิสลาม "มัสยิด" ถูกเลือกให้เป็นศูนย์กลาง มัสยิดอิบนุ ตูลูน ซึ่งมีความเรียบง่ายแต่ใหญ่โตและมีหออะซานที่มีเอกลักษณ์ซึ่งสันนิษฐานว่าได้รับอิทธิพลบางส่วนมาจากหออะซานมัลวียะฮ์ทรงก้นหอยที่มัสยิดใหญ่แห่งซะมัรรอ (Great Mosque of Samarra) นอกจากนี้ยังมีการสร้างวังขนาดใหญ่ ระบบท่อส่งน้ำและสนามแข่งม้า ฯลฯ (สันนิษฐานว่าได้อิทธิพลจากการสร้างเมืองซะมัรรอในอิรัก ซึ่งอิบนุ ตูลูนเองก็เคยอาศัยอยู่) ราชวงศ์ของเขาสืบต่อมาในเวลาไม่นานนักเพราะผู้ปกครองคนต่อๆ มาอ่อนแอ ทำให้ราชวงศ์อับบาสิยะฮ์สามารถส่งกองทัพกลับมายึดอียิปต์คืนได้ในปีค.ศ.905 และทำลายเมืองอัล-ก็อฏฏอเอี๊ยะห์ยกเว้นแต่มีเพียงมัสยิดเท่านั้นที่ยังคงเป็นหลักฐานสำคัญและยังคงรูปแบบดั้งเดิมที่ยังคงหลงเหลือมาจนถึงปัจจุบัน

การปรากฏตัวของราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ์ (Fatimid) ซึ่งอ้างการสืบสายเลือดของท่านหญิงฟาฏิมะฮ์ อัซซะฮ์รอ บุตรสาวของท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) ในแคว้นตูนิสทางตะวันตก ก่อให้เกิดคลื่นลูกใหม่ในประวัติศาสตร์อิสลาม พวกฟาฏิมียะฮ์นั้นถือแนวทางชีอะฮ์อิสมาอิลียะฮ์ ซึ่งแตกต่างจากมุสลิมในอียิปต์และคาบสมุทรอาหรับซึ่งถือแนวทางซุนนี พวกเขาสถาปนาตนเองขึ้นเป็นคอลีฟะฮ์และ "อิหม่าม" โดยไม่ยอมรับสถานะผู้นำประชาชาติมุสลิมยกเว้นต้องมาจากวงศ์วานของ ท่านนบีมุฮัมมัด (ซ.ล.) เท่านั้น ความต้องการเผยแพร่แนวคิดชีอะห์ผลักดันให้พวกเขาต้องเข้ายึดอียิปต์ซึ่งเป็นดินแดนที่สำคัญเป็นอันดับแรก คอลีฟะฮ์อัลมุอิซ ลิดีนนิลละฮ์ (Al-Muizz li-Din Allah) ส่งกองทัพฟาฏิมียะฮ์นำโดยแม่ทัพ เญาฮัร อัซซิกิลลี (Jawhar as-Siqilli) เข้ายึดอียิปต์ได้ในปี ค.ศ.696 จากผู้ปกครองวงศ์บะนู อิคชิด (Ikhshidid) ซึ่งแต่งตั้งโดยคอลีฟะฮ์อับบาสิยะฮ์ เญาฮัร ได้ก่อตั้งเมืองใหม่ซึ่งรู้จักกันในนาม "อัล-กอฮิเราะฮ์" (Al-Qahirah) เมืองแห่งชัยชนะ (ที่เราคุ้นหูว่า ไคโร มาจากคำนี่แหละครับ) โดยที่ตั้งเมืองใหม่แห่งนี้อยู่ทางทิศเหนือของเมืองเก่าทั้งสามเมือก่อนหน้านี้ สิ่งที่ราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ์ทำคือ การจัดสรรการใช้พื้นที่โดยส่วนที่เป็นเมืองใหม่ อัล-กอฮิเราะฮ์ มีการก่อสร้างกำแพงเมืองล้อมรอบเพื่อป้องบริเวณที่อยู่อาศัยของคอลีฟะฮ์ ผู้ปกครองและหน่วยราชการต่างๆ มีมัสยิดที่สำคัญ อันได้แก่มัสยิดอัล-อัซฮัร (Al-Azhar Mosque ซึ่งเป็นที่ตั้งของหนึ่งในมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในโลก) และมัสยิดอัล-ฮากิม (Al-Hakim Mosque สร้างทีหลัง) ฯลฯ ส่วนที่เป็นเมืองเก่าอัล-ฟุสฏ็อต เป็นส่วนของชุมชนเมือง ที่อาศัยของประชาชนธรรมดา แต่ยังคงมีความสำคัญในแง่เศรษฐกิจเนื่องด้วยยังคงเป็นศูนย์กลางการค้าขาย

ในช่วงท้ายของคริสต์ศตวรรษที่ 11 ในสมัยของคอลีฟะฮ์อัล-มุสตันซิร แห่งราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ์ (Al-Mustansir)ได้ออกคำสั่งให้อัครเสนาบดี บัดรุลญะมาลีย์ (Badr al-Jamali) เสริมความแข็งแรง สร้างส่วนขยายกำแพงและประตูเมืองขึ้นด้วยหินสลัก ซึ่งยังคงปรากฏมาจนถึงปัจจุบัน (เช่นประตูเมืองบาบ อัล-ฟุตูฮ์ และบาบ อัล-ซุวัยละฮ์ ฯลฯ) ทั้งนี้เพื่อป้องกันภัยอันตรายจากทหารรับจ้างชาวเติร์กและนักรบครูเสดที่คุกคามอำนาจของราชวงศ์ ในปี ค.ศ.1168 อัครเสนาบดีชะวัร (Shawar) ได้สั่งให้เผาทำลายเมืองอัล-ฟุสฏ็อตเพื่อไม่ให้ตกอยู่ในมือของนักรบครูเสด





จนต่อมาเมื่อเศาะลาฮุดดีน อัยยูบีย์ (Salah al-Din Ayyubi ซาลาดิน) แม่ทัพผู้เกรียงไกรของชาวมุสลิมได้โค่นล้มราชวงศ์ฟาฏิมียะฮ์ อีกทั้งได้สถาปนาแนวทางซุนนีขึ้นมาในอียิปต์อีกครั้ง เขาสามารถรวมเอาอียิปต์และซีเรียเข้าไว้ด้วยกัน มีชัยชนะเหนือนักรบครูเสดและกอบกู้เยรูซาเล็มมาอยู่ในการดูแลของชาวมุสลิมในที่สุด ในสมัยราชวงศ์อัยยูบียะฮ์ (Ayyubid) ของเขาได้สร้างกำแพงรวบเอาเมืองทั้ง หมดเข้าเป็นเมืองเดียวกันทั้งหมดและเปิดส่วนที่เคยจำกัดเพียงผู้ปกครองให้เป็นที่สาธารณะ ส่วนศูนย์การปกครองย้ายไปอยู่ที่ป้อมปราการ (Cairo Citadel) เชิงเขาอัล-มุก็อฏฏัม (Al-Muqattam Hills) ตั้งอยู่ระหว่างทางตะวันออกของเมืองในปี ค.ศ.1176 ดังทีกล่าวว่า "ด้วยกำแพงทำให้เราสามารถรวมเอาเมืองทั้งสอง (หมายถึงอัล-กอฮิเราะฮ์ และ อัล-ฟุสฏ็อต) เข้าไว้ด้วยกันเป็นหนึ่ง ซึ่งนั่นทำให้สามารถใช้เพียงกองทัพเดียวป้องกันมันทั้งคู่ได้..."

หนึ่งสู่เหล่า รวมเราเป็นหนึ่ง...

และนี่คือเรื่องราวคร่าวๆของเมืองทั้ง 4 ที่เป็นรากฐานกับเมืองหลวงของอียิปต์ในยุคสมัยต่อๆ มาจนถึงปัจจุบันนั่นเองครับ
....

จากภาพ : แผนที่แสดงตำแหน่งของเมือง อัล-ฟุสฏ็อต (Al-Fustat), อัล-อัสกัร (Al-Askar), อัล-ก็อฏฏอเอี๊ยะฮ์ (Al-Qatta'i) และอัล-กอฮิเราะฮ์ (Al-Qahirah)

อ้างอิงภาพ : http://www.allcrusades.com/CASTLES/EGYPT/Cairo/Citadel/Text/citadel_txt_1.html

ที่มา : โบราณคดีอิสลาม - lslamic Archaeology

Cr. ดาบแห่งอัลเลาะห์ แอนตี้ไซออนิสต์

#ประวัติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online

Islamic Society Online
read more "เมืองเก่าในยุคสมัยอิสลาม"

บทความแนะนำ

World Clock

Featured Posts

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม โดย : Cem Nizamoglu และ Sairah Yassir-Deane ย้อนหลังไปถึงมีนาคม 2015 ข่าวเกี่ยวก...