product :

วันจันทร์ที่ 17 เมษายน พ.ศ. 2560

สถาปัตยกรรมอิสลามสมัยราชวงศ์อุมัยยาฮ์ (ค.ศ.661-750) : Muslim Architecture under the Umayyad Patronage (661-751 AD)

สถาปัตยกรรมอิสลามสมัยราชวงศ์อุมัยยาฮ์ (ค.ศ.661-750)
Muslim Architecture under the Umayyad Patronage (661-751 AD)


โดมออฟเดอะร็อค (Dome of the Rock) หรือมัสยิดอัล-ซอครอฮ
ในอาณาบริเวณมัสยิดอัล-อักซอ กรุงเยรูซาเล็ม ปาเลสไตน์
อุมัยยาฮ์เป็นราชวงศ์แห่งแรกสุดของอิสลาม มีกรุงดามัสกัส ซีเรีย เป็นเมืองหลวง แม้ราชวงศ์นี้ยืนยาวเพียง 90 ปี แต่ก็ได้สร้างสร้างสรรค์ศิลปะและสถาปัตยกรรมไว้ให้โลกใบนี้ไว้ไม่น้อย


ภายใต้การนำของคอลีฟะฮ์ราชวงศ์อุมัยยาฮ์ อิสลามได้แผ่ขยายไปสู่ดินแดนส่วนใหญ่ที่เป็นโลกมุสลิมในปัจจุบัน และเมื่อถึงกลางศตวรรษที่ 8 อาณาจักรคอลีฟะฮ์มุสลิมก็กินดินแดนจากดามัสกัสไปด้านตะวันออกถึงเมืองทัชเคนท์ (อุซเบกิสถาน) และด้านตะวันตกถึงเทือกเขาพีเรนีส (กั้นระหว่างสเปนกับฝรั่งเศส) สเปนและโปรตุเกสได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของจักรวรรดิมุสลิม


นอกเหนือจากการขยายดินแดนแล้ว ราชวงศ์อุมัยยาฮ์ยังโดดเด่นด้านการจัดการบริหารองค์กร, การค้า, และจัดทำเหรียญทองเพื่อใช้ในการแลกเปลี่ยนสินค้าเป็นครั้งแรก


ในด้านศิลปะนั้นเล่า อุมัยยาฮ์ได้สร้างสรรค์ผลงานสถาปัตยกรรมชิ้นเอกของโลกไว้ 2 ชิ้นคือ ‘โดมออฟเดอะร็อค’ (Dome of the Rock หรือมัสยิดอัล-ซอครอฮ ตั้งอยู่ในอาณาบริเวณมัสยิดอัล-อักซอ ที่กรุงเยรูซาเล็ม ปาเลสไตน์) และมัสยิดดามัสกัส


บทความชิ้นนี้จะกล่าวถึงมัสยิดทั้งสองแห่งนี้ นวัตกรรมใหม่ๆ ทางสถาปัตยกรรม และงานศิลปะที่รังสรรค์ขึ้นมาเป็นเพชรน้ำงามของโลกอิสลาม

ภูมิหลัง


หลังจากท่านอาลี (Ali ค.ศ.599-660) คอลีฟะฮ์คนที่สี่ของอิสลามเสียชีวิตลง มุอาวียา (Muawiyah I ค.ศ.602-680) ก็ขึ้นครองบัลลังก์เป็นคอลีฟะฮ์หรือกาหลิบ และเริ่มต้นยุคของราชวงศ์อุมัยยาฮ์


ยุคนี้มีชื่อเสียงโดดเด่นด้านความสำเร็จทางสถาปัตยกรรม แม้ช่วงแรกของการก่อตั้งราชวงศ์จะมีศึกภายในอาณาจักรเองระหว่างอุมัยยาฮ์กับผู้ที่ภักดีต่อท่านอาลี แต่หลังจากนั้นแล้วบ้านเมืองก็คืนกลับสู่ความสงบสุข และยังผนวกดินแดนอิรัก อิหร่าน ซีเรีย เข้าใต้ร่มธงอิสลาม ทำให้เกิดการพัฒนาผลงานศิลปะและสถาปัตยกรรม เห็นได้จากทั้งอาคารศาสนาและอาคารทั่วไป


และการพัฒนาทางสถาปัตยกรรมมัสยิดที่สำคัญที่สุดของโลกมุสลิม ซึ่งเป็นรากฐานให้กับนวัตกรรมการก่อสร้างมัสยิดเวลาต่อมา ก็ต้องให้เครดิตกับราชวงศ์อุมัยยาฮ์ในยุคนี้เอง


ปีค.ศ.673 กาหลิบมุอาวียาเริ่มก่อสร้างมินาเร่ หรือหออะซาน ขึ้นมาเป็นครั้งแรกของโลกอิสลาม คือในการขยายมัสยิดอามีรอิบนุอัล-อาซ (‘Amr ibn al-‘As ค.ศ.583-664 แม่ทัพผู้นำทัพมุสลิมเข้ายึดครองอียิปต์ได้ในปี 640) ที่อียิปต์ มัสยิดหลังนี้ก่อสร้างครั้งแรกสุดในปี 641-642 ต่อมาในสมัยกาหลิบมุอาวียาก็มีการก่อสร้างหออะซานขึ้นมาทั้งสี่มุม Creswell (1958, p14) ให้ความเห็นว่า นวัตกรรมชิ้นนี้เป็นการเลียนแบบสถาปัตยกรรมของชาวคริสต์ในซีเรีย เขาระบุว่า มุสลิมยุคแรกๆ ของดามัสกัสละหมาดกันในวิหารร้างของชาวคริสต์ชื่อ ‘โบสถ์เซนต์จอห์นเดอะแบบติสท์’ ซึ่งตรงมุมทั้งสี่ของโบสถ์เป็นโครงยื่นนูนออกมา ชาวมุสลิมก็เลยปีนขึ้นไปบนนั้นเพื่ออะซานเรียกคนมาละหมาด และก็กลายเป็นแรงบันดาลใจให้มีการก่อสร้างหออะซานขึ้นมา (ตัวอย่างเช่น Briggs, 1924, & Creswell, 1926) ส่วนสมมติฐานอื่นๆ ของกำเนิดหออะซานก็คือ อิทธิพลจากประภาคารของฟาโรห์ (Mitchell, et al., 1973)


มัสยิดดามัสกัส (สร้างปี 706-715) มีนวัตกรรมอื่นๆ ที่ราชวงศ์อุมัยยาฮ์ได้ริเริ่มให้มีขึ้นมาอีกคือ โค้งซุ้มหินรอบๆ ลานมัสยิด ซึ่งประกอบไปด้วยโค้งรูปเกือกม้า และที่นี่เองเป็นที่แรกของโลกที่โค้งรูปเกือกม้าได้ถือกำเนิดขึ้นมา ซึ่งประจักษ์พยานที่เห็นนี้ได้ลบล้างข้ออ้างของนักวิชาการบางรายที่บอกว่าชาวมุสลิมได้รับอิทธิพลโค้งรูปเกือกม้ามาจากชาววิซิโกธ สเปน (Briggs, 1924, p.42 ซึ่งเป็นข้ออ้างที่ตลกมากๆ อย่าลืมว่าชาวมุสลิมมัวร์เพิ่งไปยึดสเปนและโปรตุเกสได้ในปี 711 และโปรดอ่านความเห็นของ เซอร์คริสโตเฟอร์ เรน ยอดสถาปนิกอังกฤษ: ‘เราเรียกลักษณะของสถาปัตยกรรมแบบนี้ว่า ‘กอธิค’ ทั้งๆ ที่ชาวโกธ (Goth) เป็นผู้ทำลายมากกว่าผู้สร้างสรรค์ ผมคิดว่าด้วยเหตุและผลแล้วเราต้องเรียกว่า ‘สไตล์ซาราเซ็นนิก’ ต่างหาก เพราะคนเหล่านั้น (ชาวโกธ) มิได้สนใจศิลปะหรือการศึกษาแต่อย่างใด’)


โค้งมัลติฟอยล์ (multifoil โค้งหยักๆ เป็นรูปกลีบดอกไม้สวยๆ) ก็เริ่มรังสรรค์ขึ้นมาครั้งแรกโดยสถาปนิกมุสลิมที่มัสยิดอุมัยยาฮ์เช่นกัน ซึ่งก่อสร้างขึ้นมาในหออะซาน ต่อมาโค้งชนิดนี้ถ่ายทอดไปสู่ส่วนต่างๆ ของโลกมุสลิม ก่อนจะข้ามไปสู่ยุโรปซึ่งได้ใช้กันอย่างแพร่หลายในโบสถ์และอาคารทั่วไป


นวัตกรรมอีกอย่างหนึ่งของสถาปัตยกรรมอิสลามสมัยราชวงศ์อุมัยยาฮ์ก็คือโดมเหนือจุดตัดบริเวณโถงกลางด้านหน้ามิห์ราบ โปรดรู้ไว้ด้วยว่าลักษณะเด่นของสถาปัตยกรรมนี้ซึ่งในเวลาต่อมาเห็นได้ทั่วไปในโบสถ์คริสต์ เริ่มใช้เป็นครั้งแรกในมัสยิดอุมัยยาฮ์นี่เอง และก็ได้กลายเป็นลักษณะเด่นของมัสยิดในยุคหลัง ๆ ยิ่งไปกว่านั้น อิบนุ คอลดูน (1967) ยังบอกว่า การริเริ่มใช้ maqsura ก็เกิดขึ้นโดยสถาปนิกมุสลิมในสมัยอุมัยยาฮ์เช่นกัน โดยมุอาวียาได้ให้สร้าง maqsura เป็นห้องหรือช่องที่แยกออกมาจากมิห์ราบเพื่อเป็นที่ส่วนตัวของพระองค์


ต่อมาเมื่ออัล-วาลีด (Al-Walid I ค.ศ.668-715 ครองราชย์ค.ศ.705-715) ได้ขึ้นครองราชย์เป็นกาหลิบ พระองค์ก็ได้ให้บูรณะมัสยิดนาบาวีหรือมัสยิดท่านศาสนฑูตที่เมืองมาดีนาเสียใหม่ เพราะหลังเก่ามีขนาดเล็กเกินไม่เพียงพอกับจำนวนผู้ศรัทธาที่มีเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว ช่วงค.ศ.707-709 อัล-วาลีดขยายมัสยิดนาบาวี สร้างหออะซานสี่มุม สร้างมิห์ราบขึ้นมาตรงกลางของผนังด้านทิศกิบลัต ที่มาของมิห์ราบมีคนสันนิษฐานแตกต่างกันไปมากมาย ส่วนใหญ่บอกว่ามาจากรูปแบบของมุขตะวันออกในสถาปัตยกรรมคริสเตียน ส่วนในอิสลาม มิห์ราบกลายมาเป็นสัญลักษณ์ของช่องเล็กๆ ที่มีรัศมีพระเจ้าส่องสว่างด้านหน้าผู้ศรัทธา ช่วยให้ผู้ศรัทธารู้สึกสงบและมีสมาธิระหว่างละหมาด หน้าที่อีกอย่างหนึ่งของมิห์ราบก็คือเป็นสัญลักษณ์ชี้บอกทิศกิบลัตหรือทิศของนครเมกกะ

โดมออฟเดอะร็อค


จากจารึกบนอาคาร เราพบว่าโดมออฟเดอะร็อคถูกก่อสร้างขึ้นช่วงปีค.ศ.691-692 ในรัชสมัยกาหลิบอับดุลมาลิก (Abd al-Malik ค.ศ.646-705) มัสยิดหลังนี้ตั้งอยู่ใจกลางอัลฮะรอม อัชชารีฟ และสร้างครอบ ‘ซอครอฮ’ หรือที่ชาวไทยมุสลิมเรียกว่า ‘หินลอย’ ซึ่งเป็นบริเวณที่ท่านศาสนฑูตมุฮัมมัด (ขอความสันติสุขจงมีแด่ท่าน) ได้ขึ้นสู่สวรรค์ไปกับฑูตสวรรค์ยิบรีล (เกเบรียล) ในเหตุการณ์มิอ์ราจเพื่อรับบัญชาจากพระเจ้า


การที่กาหลิบอับดุลมาลิกสร้างโดมออฟเดดอะร็อคครอบหินลอยเอาไว้ก็เพราะต้องการแข่งกับอิบนุซูบีร (Ibn Zubayr ค.ศ.624-692 เป็นหลานตาของท่านอบูบักร์ คอลีฟะฮ์คนแรกของอิสลาม) ในการอุทิศให้กับอิสลาม โดยก่อนหน้านี้ในช่วงปี 683-692 อิบนุซูบีรได้บูรณะอัล-กะบะฮ์ที่เมกกะ


ในขณะที่มีนักเขียนบางราย (Grabar, 1959) อ้างว่า การที่กาหลิบอับดุลมาลิกก่อสร้างโดมออฟเดอะร็อคก็เพื่อเป็นสัญลักษณ์แห่งชัยชนะของอิสลามเหนือศาสนาอื่นโดยเฉพาะจูดายและคริสตศาสนา แต่ข้ออ้างนี้น่าสงสัย เพราะจริงๆ แล้วมัสยิดหลังนี้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยคอลีฟะฮ์อุมัร (Umar ค.ศ.581-644 เป็นคอลีฟะฮ์ค.ศ.634-644) คอลีฟะฮ์คนที่สองของอิสลาม หลังจากมุสลิมได้เข้ายึดครองกรุงเยรูซาเล็ม


อีกความเห็นหนึ่งที่ระบุถึงแรงบันดาลใจของกาหลิบอับดุลมาลิกก็คือ พระองค์ต้องการสร้างความอลังการให้กับอาณาบริเวณมัสยิดอัล-อักซอดังที่ได้ระบุไว้ในอัล-กุรอาน


(อาณาบริเวณมัสยิดอัล-อักซอมีมัสยิดสองหลังคือ 1) มัสยิดอัล-อักซอ ตั้งอยู่ด้านล่าง เป็นที่ละหมาดของผู้ชาย กำแพงด้านหนึ่งของตรงนี้เป็นสิ่งเดียวที่เหลืออยู่ของวิหารกษัตริย์โซโลมอนหรือนบีสุไลมานซึ่งก็คือ ‘กำแพงร้องไห้’ ของชาวยิว และ 2) มัสยิดอัล-ซอครอฮที่ครอบหินลอยไว้ ตั้งอยู่บนเนินสูงสุด เป็นที่ละหมาดสำหรับผู้หญิง มัสยิดหลังนี้สร้างได้วิจิตรพิศดารมากๆ และสาวๆ ปาเลสไตน์ก็สวยสุดๆ – ผู้แปล)


ความมหัศจรรย์ของอาคารหลังนี้เห็นได้หลายระดับ ทั้งรูปแบบเรขาคณิตของผังและการยกระดับ, ความสัมพันธ์ระหว่างโดม โค้ง เสาหิน ทั้งหมดมีสัดส่วนที่สอดรับกลมกลืนกันและเป็นหนึ่งเดียวกัน ถูกเน้นด้วยการตกแต่งอย่างหรูหราด้วยหินอ่อนประดับหลากสีและโมเสคหลายสีสัน ผนังด้านนอกเป็นหินอ่อนทรงสี่เหลี่ยม เหนือขึ้นไปเป็นกระเบื้องเตอร์กิชที่จักรวรรดิออตโตมานนำมาเสริมเข้าไปในในปีค.ศ.1554 เพิ่มเสน่ห์ทั้งสีสันและรูปแบบที่สวยงามจับตา


ความงามของโดมออฟเดอะร็อคเป็นที่เลื่องลือไปทั่วโลกและท้าทายอคติที่มีต่อสถาปัตยกรรมมุสลิมยิ่งนัก



มัสยิดดามัสกัส


อาคารอีกหลังหนึ่งที่บ่งบอกถึงความรุ่งโรจน์ด้านสถาปัตยกรรมของราชวงศ์อุมัยยาฮ์ก็คือ มัสยิดดามัสกัส เรื่องราวเบื้องหลังการก่อสร้างมัสยิดหลังนี้แสดงให้เห็นถึงความใจกว้างของชาวมุสลิมที่มีต่อศาสนาอื่นโดยเฉพาะคริสตศาสนาและจูดาย


หลังจากอิสลามขยายสู่ดามัสกัส ชาวมุสลิมจำเป็นต้องเปลี่ยนวิหารร้างของคริสเตียนที่ชื่อว่า ‘จอห์นเดอะแบบติสท์’ ให้เป็นมัสยิด กาหลิบอัล-วาลีดได้ซื้อที่ดินผืนนี้จากชาวคริสต์ก่อนจะเปลี่ยนให้เป็นมัสยิดกลางของกรุงดามัสกัส มัสยิดมีรูปร่างสี่เหลี่ยมมุมฉาก ตัวอาคารหันหน้าไปทางทิศกิบลัต


ด้านทิศกิบลัตหรือด้านทิศใต้จะมีทางเดินข้างสามแถวขนานกันเป็นแนวจากทิศตะวันออกไปยังทิศตะวันตก และแบ่งกันตรงกลางโดยทางเดินกลางเหนือขึ้นไปมีโดมอยู่ตรงกลาง (สี่เหลี่ยมจัตุรัส) ห้องโถงเปิดไปยังลานกว้างด้วย riwaq เดี่ยว และใช้ศิลปะตกแต่งลวดลายพันธุ์ไม้รวมกับทัศนียภาพปกคลุมด้านหน้ามัสยิดและโค้งซุ้ม การตกแต่งรูปแบบดังกล่าวก็พบในโดมออฟเดอะร็อคชี้ให้เห็นว่าในมัสยิดทั้งสองแห่งได้รับอิทธิพลจากซีเรียมากกว่าที่จะได้รับอิทธิพลไบเซนไทน์ดังที่นักประวัติศาสตร์ตะวันตกมักอ้างเสมอ

พระราชวังอุมมัยยาฮ์



กาหลิบและสมาชิกราชวงศ์อุมมัยยาฮ์พำนักในพระราชวังที่สร้างเพื่อเอื้ออำนวยกับงานอดิเรกอย่างการล่าสัตว์และสวนขนาดใหญ่ ทางราชสำนักจึงสร้างป้อมปราการหลายชุดใช้กำแพงอย่างหนา มีเครื่องอำนวยความสะดวกทุกอย่างเพื่อสนองตอบชีวิตหรูหราในราชสำนัก ในบรรดาวังเล็กๆ น้อยๆ เหล่านี้ประกอบด้วย กัซร์ อัมรา (Qasr Amra จอร์แดน ราวปี 715), กัซร์ อัล-การานาฮ์ (Qasr al-Kharanah จอร์แดน ปี 711), คิร์บีตัลมัฟจัร (Khirbet al-Mafjar จอร์แดน ปี 743-744), และมาชัตตา (Meshatta ปี 750 ตอนอุมัยยาฮ์ล่มสลาย วังหลังนี้ยังสร้างไม่เสร็จ)


ในพระราชวังเหล่านี้ ราชวงศ์อุมัยยาฮ์ได้แสดงให้เห็นถึงอัจฉริยภาพด้านสถาปัตยกรรมและการตกแต่ง ในด้านการออกแบบ วังเหล่านี้ประกอบด้วยห้องโถงขนาดใหญ่ ห้องอาบน้ำ ที่พักของชายและหญิง มัสยิด อุทยาน และสวน ซึ่งเหล่านี้ได้สะท้อนให้เห็นถึงมาตรฐานการใช้ชีวิตที่หรูหราและอำนาจทางการทหาร (Mitchel et al. 1978) โครงสร้างของวังเหล่านี้แสดงให้เห็นถึงการใช้ระบบเพดานโค้งที่ปรานีต มีโดมและเพดานโค้งประทุน (เช่นที่ กัซร์อัมรา)


ด้านการตกแต่ง วังเหล่านี้ตกแต่งด้วยรูปแบบที่สวยงามเก๋ไก๋ที่สุดตั้งแต่ใช้พื้นโมเสคไปจนถึงผนังที่ประดับประดาด้วยกระเบื้องที่ใช้ลวดลายเรขาคณิตและพันธุ์พฤกษา

บทสรุป


ภายใต้การปกครองของราชวงศ์อุมัยยาฮ์ อิสลามได้แผ่ขยายออกไปกว้างใหญ่ไพศาลนัก สร้างความร่ำรวยมั่งคั่งและรุ่งเรืองให้กับอาณาจักรอย่างมหาศาล ซึ่งเป็นผลให้ก่อเกิดศิลปะและสถาปัตยกรรมรูปแบบใหม่ๆ ในยุคสมัยนี้ การก่อสร้างมัสยิดได้มีรูปแบบและลักษณะต่างๆ ที่ทำหน้าที่ต่างกันเช่น หออะซาน มิห์ราบ Maksurah และโดม ส่วนศิลปะการตกแต่งก็ค่อยๆ พัฒนาตามมา

แปลโดย ลานา อัมรีล

ที่มา : Muslim Architecture under the Umayyad Patronage (661-751 AD). Foundation for Science Technology and Civilization (FSTC Limited): UK. January 2002.

Website : http://www.knowislamthailand.org 

#ประวัติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
#อารยธรรมอิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "สถาปัตยกรรมอิสลามสมัยราชวงศ์อุมัยยาฮ์ (ค.ศ.661-750) : Muslim Architecture under the Umayyad Patronage (661-751 AD)"

วันศุกร์ที่ 14 เมษายน พ.ศ. 2560

เศาะลาฮุดดีน อัล อัยยูบียฺ (Saladin)

เศาะลาฮุดดีน อัล อัยยูบียฺ (Saladin)




เศาะลาฮุดดีน อัล อัยยูบียฺ

วีรบุรุษผู้ปลดปล่อยเยรูซาเล็ม(ค.ศ. 1137 -1193)
(อบุล อิซซฺ เรียบเรียง)

เศาะ ลาฮุดดีนมีชื่อเต็มว่า เศาะลาฮฺ อัด-ดีน ยูซุฟ อิบนุอัยยูบ เรียกในอีกชื่อหนึ่งว่า อัลมาลิก อันนาศิรฺ เศาะลาฮฺ อัด-ดีน ยูซุฟ เป็นสุลต่านปกครองอียิปต์ ซีเรีย เยเมน และปาเลสไตน์เป็นผู้ก่อตั้งราชวงค์อัยยูบี เป็นบุคคลสำคัญในการต่อต้านพวกครูเสดจนสามารถจนสามารถปลดปล่อยเยรูซาเล็มจาก การปกครองของพวกแฟรงก์ และนำความพ่ายแพ้ครั้งสำคัญให้แก่คริสเตียนในสงครามครูเสดครั้งที่สามด้วย ความอัจฉริยภาพที่มีอยู่ในตัวท่าน

เศาะลาฮุดดีนมาจากครอบครัวชาวเคิร์ดที่มีเกียรติ ในคืนที่ท่านเกิดนั้นบิดาของท่านคือนัจญมุดดีน อัยยูบ ได้พาครอบครัวอพยพไปยังเมืองฮะลัป (Aleppo) ซึ่ง ขณะนั้นมีนูรุดดีนซังกีมุสลิมเชื้อสายเติร์กเป็นผู้ปกครองดินแดนทางตอนเหนือ ของซีเรีย ท่านใช้ชีวิตในวัยเด็กที่บะอัลบักและดามัสกัส ชีวิตในวัยเด็กส่วนใหญ่ใช้เวลาหมดไปกับการศึกษาวิชาการศาสนาโดยเรียนวิชาการ ด้านการทหารอยู่บ้าง ท่านทำงานครั้งแรกด้วยการเข้าร่วมทัพกับลุงของท่าน อะซาดุดดีน ชิรฺกุฮฺซึ่งเป็นแม่ทัพคนสำคัญของอามีรฺ นูรุดดีน ซังกี เมื่อครั้งที่ชิรฺกูฮนำกองทัพเข้าสู่อียิปต์ตามคำร้องของเคาะลีฟะฮฺ อัลอาฏิดที่อยู่ในอียิปต์เพื่อต่อต้านพวกครูเสดที่บุกเข้ามาและจัดการกับชา วุรฺอุปราชของอียิปต์ ที่ร่วมมือกับพวกครูเสดดังกล่าว เมื่อชิรฺกุฮฺยกทัพไปถึงชานเมืองพวกครูเสดจึงล่าถอยออกไป จากนั้นเคาะลีฟะฮฺได้สำเร็จโทษชาวุรและแต่งตั้งชิรฺกุฮฺเป็นอุปราชแทน หลังจากนั้นเพียงสองเดือนชิรฺกุฮฺซึ่งเป็นลุงของเศาะลาฮุดดีนก็เสียชีวิตลง ตำแหน่งอุปราชจึงตกเป็นของเศาะลาฮุดดีนแทน โดยมีนามตามตำแหน่งว่า อัลมาลิกอันนาศิรขณะนั้นท่านมีอายุเพียง 31 ปี




ในปีค.ศ. 1171 ท่านได้ยกเลิกตำแหน่งเคาะลีฟะฮฺแห่งราชวงศ์ฟาติมิยะฮฺซึ่งเป็นชีอะฮฺ และได้นำแนวทางซุนนะฮฺโดยเริ่มจากการปลดผู้พิพากษาชีอะฮฺออกจากตำแหน่งแล้ว แต่งตั้งผู้ที่ยึดมั่นในแนวทางซุนนะฮฺ และได้จัดตั้งโรงเรียนต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่สอนตามแนวมัซฮับชาฟิอีย์ทั้งใน อียิปต์ เยรูซาเล็มและดามัสกัส ถึงแม้จะมีอำนาจสูงสุดในอียิปต์แต่ท่านก็ยังคงยอมอยู่ภายใต้อำนาจของนูรุดดีน จนกระทั่งอามีรฺนูรุดดีนเสียชีวิตในปีค.ศ.1174 เศาะลาฮุดดีนจึงรวบซีเรียมาอยู่ในอำนาจเพื่อคุมเชิงพวกคริสเตียนใน เอธิโอเปียไม่ให้มายุ่งเกี่ยวกับพวกครูเสด แต่ท่านยังคงยอมรับในอำนาจการปกครองเคาะลีฟะฮฺแห่งอับบาสิยะฮฺ ช่วงนี้ท่านจึงกลายเป็นสุลต่านและรวบรวมมุสลิมที่อยู่ในซีเรีย ปาเลสไตน์ อียิปต์ และอัลญะซีเราะฮฺ (ตอนเหนือของอิรัก) ให้เป็นหนึ่งเดียว ชื่อเสียงของท่านเริ่มเป็นที่รู้จักในฐานะที่เป็นนักรบที่กล้าหาญ เฉลียวฉลาดมีความยุติธรรม โอบอ้อมอารีในการปฏิบัติแก่ผู้แพ้ เป็นที่ยกย่องแม้แต่ศัตรูจนถึงขนาดที่ว่าพวกค็อปติก (คริสเตียนออทอดอกซ์ใน อียิปต์) เอารูปวาดของเศาะลาฮุดดีนวางไว้ที่แท่นบูชาในโบสถ์ ท่านเป็นคนที่มุ่งมั่นในการญิฮาด เป็นคนอุปถัมภ์วิทยาการ และส่งเสริมอุลามาอ์ให้สร้างสถานศึกษา มัสญิดตลอดจนสร้างโรงพยาบาล ส่งเสริมการเขียนหนังสือโดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเด็นที่เกี่ยวข้องกับการญิฮาด ท่านพยายามที่จะสร้างอาณาจักรในแบบเดียวกับที่บรรพชนในศตวรรษแรกๆ ของอิสลาม ได้สร้างไว้ซึ่งปกครองดินแดนอันกว้างใหญ่

ท่านปรับปรุงกองทัพโดยสร้างความเป็นอันหนึ่งอันเดียวกันและความมีระเบียบวินัยมากกว่าการจ้างคนใหม่ๆ หรือสร้างเทคนิคใหม่ๆ ในวันที่ 4 กรกฎาคม ค.ศ. 1187 ด้วยจิตวิญญาณอันยอดเยี่ยมของเหล่าทหารของเศาะลาฮุดดีน และการวาง กลอุบายอันชาญฉลาดของท่านทำให้กองทัพคริสเตียนตกอยู่ในกับดักและ ความหิวกระหายจนสามารถจัดการกับพวกเขาที่สมรภูมิฮิตตินได้อย่างเบ็ดเสร็จ ผลจากสงครามครั้งนี้ทำให้ชื่อของท่านเป็นที่หวาดกลัวแก่พวกครูเสด พวกเขาถือว่าไม่เป็นความละอายที่จะยอมอ่อนข้อต่อท่าน จากนั้นเมืองอักกา เบรุต ซีดอน นาซาเรท กีซาเรีย นับลุส โตรอน ยัฟฟา อัสโกลอนต้องยอมแพ้แก่มุสลิมภายในเวลาเพียงสามเดือน




ความสำเร็จอันยิ่งใหญ่ของท่านกับความพ่ายแพ้ครั้งสำคัญของคริสเตียนเกิดขึ้นอีกครั้งหนึ่งในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1187 เมื่อบัยตุลมักดิศ (เยรูซาเล็ม) ต้องยอมแพ้แก่กองทัพของสุลต่านหลังจากต้องตกอยู่ในกำมือของพวกแฟรงก์เป็นระยะเวลา 88 ปีนับจากการยึดครองในสมัยสงครามครูเสดครั้งที่ 1 เศาะลาฮุดดีนปฏิบัติต่อเชลยเป็นอย่างดี ท่านได้ปล่อยเชลยจำนวนมากที่ไม่สามารถหาเงินมาไถ่ตัวได้ และยังใช้เงินส่วนตัวไถ่พวกเชลยเหล่านี้ โดยไม่มีการสังหารเชลยแต่อย่างใด ภาพที่ท่านและกองทัพมุสลิมแสดงต่อพวกครูเสดตรงข้ามอย่างสิ้นเชิงกับที่พวกเขาเหล่านี้ได้เคยสับมุสลิม แหวะหัวใจเด็ก ฟันขาเหวี่ยงไปในอากาศ บังคับให้มุสลิมกระโดดจากที่สูง ในสมัยที่พวกเขายึดเยรูซาเล็มช่วงสงครามครูเสดครั้งที่ 1 เวลานั้นมุสลิมถูกสับจนเลือดไหลนองท่วมหัวเข่าม้าของพวกเขา

การยึดเยรูซาเล็มกลับคืนมาของเศาะลาฮุดดีนได้ทำให้พวกครูเสดในยุโรปรวมตัวกันอีกครั้งเพื่อจะยึดเยรูซาเล็มคืน อันเป็นการประกาศสงครามครูเสดครั้งที่สาม กองทัพครูเสดครั้งนี้มีผู้นำคือกษัตริย์ริชาร์ด (ใจสิงห์) แห่งอังกฤษ กษัตริย์ฟิลิป ออกัสตัส แห่งฝรั่งเศส และกษัตริย์เฟดเดอริค บาร์บาโรซซ่าแห่งเยอรมันเป็นผู้นำ แต่ปรากฏว่ากษัตริย์เฟดเดอริคจมน้ำตายขณะข้ามแม่น้ำสายหนึ่ง กองทัพเยอรมันจึงไม่มีโอกาสสู้รบกับมุสลิม อย่างไรก็ตามกองทัพทั้งสองฝ่ายได้ทำสัญญาสงบศึก ณ เมืองร็อมละฮฺ ในวันที่ 2 พฤษจิกายน ค.ศ. 1192 โดยชายฝั่งใกล้เมืองอักกาและบริเวณโดยรอบตกเป็นของพวกครูเสด และเศาะลาฮุดดีนยินยอมให้คริสเตียนเดินทางไปสู่เยรูซาเล็ม โดยมีเงื่อนไขว่าต้องไม่นำอาวุธเข้าไป สัญญาฉบับนี้เป็นการสิ้นสุดสงครามครูเสดครั้งที่สาม




เมื่อสงครามยุติลง เศาะลาฮุดดีนได้ยกกองทัพไปตรวจเมืองต่างๆ และซ่อมแซมสิ่งที่เสียหาย และได้กลับมาพักกับครอบครัวที่นครดามัสกัส หลังจากที่ใช้ชีวิตส่วนใหญ่อยู่บนหลังม้าท่านก็ได้จากโลกนี้ไปในวันที่ 4 มีนาคม ค.ศ. 1193 สหายของท่านพบว่าผู้ปกครองของมุสลิมที่ยิ่งใหญ่และมีใจเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ได้ทิ้งทรัพย์สินไว้เพียงเล็กน้อยเท่านั้น ไม่พอแม้แต่จะใช้เพื่อจัดการกับศพของตัวท่าน
...............................

นายฆอซาฟี มะดอหะ
จากเว็บไซต์ fityah

…หลังจากนั้น ครอบครัวของเศาะลาฮุดดีนก็ยังปกครองอียิปต์และแผ่นดินใกล้เคียงต่อไปอีกไม่นานและในที่สุดก็ถูกพวกมัมลู้กเข้ามายึดอำนาจต่อใน ค.ศ.1250

ช่วงวาระสุดท้ายของสุดยอดแม่ทัพแห่งจักรภพอิสลาม ศอลาฮุดดีน อัล-อัยยูบีย์




#ประวัติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "เศาะลาฮุดดีน อัล อัยยูบียฺ (Saladin)"

วันจันทร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2560

การผ่าตัดศพ เพื่อการศึกษาเป็นที่อนุญาตหรือไม่ในอิสลาม?

การผ่าตัดศพ เพื่อการศึกษาเป็นที่อนุญาตหรือไม่ในอิสลาม?




การผ่าตัดศพ เพื่อการศึกษาเป็นที่อนุญาตหรือไม่ในอิสลาม?

การชันสูตรศพ หมายถึง การตรวจศพว่าผู้ตายเป็นใคร ตายเพราะเหตุใด พฤติกรรมแห่งการตายเป็นอย่างไร และเมื่อมีความจำเป็นเพื่อพบเหตุของการตาย เจ้าพนักงานผู้ทำการชันสูตรพลิกศพมีอำนาจสั่งให้ผ่าศพและแยกธาตุได้หรือจะ ส่งทั้งศพ หรือบางส่วนไปยังแพทย์หรือพนักงานแยกธาตุของรัฐก็ได้ (ป.วิ.อาญา มาตรา 151)

ถ้าฝังศพแล้ว กฎหมายให้อำนาจแก่เจ้าพนักงานผู้ทำการชันสูตรพลิกศพ จัดให้ขุดศพขึ้นเพื่อตรวจดูได้ เว้นแต่จะเห็นว่าไม่จำเป็นหรือจะเป็นอันตรายแก่อนามัยของประชาชน (ป.วิ.อาญา มาตรา 153)

ถาม : การผ่าตัดศพ เพื่อการศึกษาเป็นที่อนุญาตหรือไม่ในอิสลาม?

ตอบ : เหนืออื่นใดอิสลามให้ความระมัดระวังแก่บุคคลเป็นอย่างมากไม่ว่าผู้นั้นจะมีชีวิตหรือตาย, ดังที่ท่านศาสนทูตมุฮัมมัด (ซล.) ได้เน้นย้ำไว้ว่า “อย่าได้หักมัน เพราะการหักกระดูกแม้แต่เจ้าของกระดูกจะตายไปแล้วก็เหมือนกับการหักมันในขณะที่เขายังมีชีวิตอยู่” (รายงานโดยมาลิก, อิบนุมาญะฮฺ และอบูดาวุด)

สำหรับการผ่าตัดศพเพื่อวัตถุประสงค์ทางการแพทย์นั้น โดยความจริงแล้วไม่มีบทบัญญัติทางศาสนาโดยตรงในเรื่องนี้ ยังเป็นประเด็นที่เห็นต่างกันในหมู่นักวิชาการมุสลิม

แต่ทั้งนี้ จากกฏระเบียบทางด้านนิติศาสตร์อิสลาม (ชารีอะฮฺ) ที่กล่าวว่า ความจำเป็นทำให้เกิดการยกเว้น” และมีอีกกฏหนึ่งที่คอยควบคุมอยู่เช่นกันคือ “ความจำเป็นนั้นต้องคิดแล้วว่าเป็นความจำเป็นจริงๆ”

ด้วยเหตุนี้ นักวิชาการส่วนใหญ่จึงให้ความเห็นว่า เป็นที่อนุญาตให้ผ่าตัดร่างของผู้ตายเพื่อวัตถุประสงค์ในการศึกษาทางด้านการแพทย์

เพื่อรู้ถึงการทำงานและองค์ประกอบของร่างกายมนุษย์
และมีกฏพื้นฐานในชารีอะฮฺอีกว่า อะไรที่จำเป็นเพื่อทำให้หน้าที่ครบถ้วนก็เป็นหน้าที่โดยตัวของมันเอง

และเนื่องจากมันเป็นหน้าที่ที่แพทย์ (รวมถึง นศ.แพทย์และสาขาอืนๆที่เกี่ยวข้อง) จะต้องให้การรักษาผู้คนและเขาจะต้องให้การผ่าตัดเมื่อจำเป็น ดังนั้น การจะทำหน้าที่เหล่านี้ได้ก็จำเป็นที่จะต้องศึกษาสรีระของมนุษย์และเพื่อวัตถุประสงค์ดังกล่าว การผ่าศพก็จะต้องทำเมื่อมีความจำเป็น

อย่างไรก็ตาม เป็นเรื่องสำคัญที่การนำศพนั้นไปผ่าตัดจะต้องได้รับการยินยอมจากผู้ตายหรือญาติของผู้ตาย ถ้าหากผู้ตายไม่มีญาติและ/หรือร่างนั้นไม่มีญาติ ศพของผู้นั้นก็สามารถนำมาใช้เพื่อการผ่าตัดได้ โดยการขออนุญาติจากเจ้าหน้าที่ทางกฏหมายในท้องถิ่น

“วัลลอฮุอะหฺลัม”

Ref. จากหนังสือ “ทุกคำถาม อิสลามมีคำตอบ” เล่มที่ 2

รวบรวมโดย อ.บรรจง บินกาซัน – Banjong Binkason


#นิติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "การผ่าตัดศพ เพื่อการศึกษาเป็นที่อนุญาตหรือไม่ในอิสลาม?"

วันพุธที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2560

ชีวิตก่อนตาย และที่อยู่หลังความตาย

ชีวิตก่อนตาย และที่อยู่หลังความตาย




ที่มา : Alisuasaming Channel
เผยแพร่เมื่อ 10 ก.พ. 2016
งานมัสยิดกามาลุ้ลอีมาน (ปากคลองทับช้าง) 



read more "ชีวิตก่อนตาย และที่อยู่หลังความตาย"

วันจันทร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2560

บทความแนะนำ

World Clock

Featured Posts

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม โดย : Cem Nizamoglu และ Sairah Yassir-Deane ย้อนหลังไปถึงมีนาคม 2015 ข่าวเกี่ยวก...