product :

วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ดูเดือนหรือคำนวนดี


ดูเดือนหรือคำนวนดี




อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า.. "เขาเหล่านั้นจะถามเจ้าเกี่ยวกับเดือนแรกขึ้น (จันทร์เสี้ยว) จงกล่าวเถิด มันคือการกำหนดเวลาต่างๆ สำหรับมนุษย์และสำหรับประกอบพิธีหัจญ..." - อัลบะเกาะเราะฮ /189

การกำหนดวันต้นเดือนกอมารียะห์ (เดือนอิสลาม) การเข้าบวช และออกบวชนั้น ผูกพันอยู่กับการเห็นจันทร์เสี้ยว มิใช่มีจันทร์เสี้ยว หรือไม่มีจันทร์เสี้ยว

ดังนั้นหากไม่เห็นจันทร์เสี้ยว วันรุ่งขึ้นจะถือบวชไม่ได้ แม้ว่านักดาราศาสตร์ จะกล่าวว่าจันทร์เสี้ยวมีแล้ว (มีโอกาศเห็นได้แล้ว) ก็ตาม เพราะการเข้าบวชนั้นมิได้ผูกพันอยู่กับผู้รู้วิชาดาราศาสตร์ หากแต่ผูกพันอยู่กับ มีการรุ๊ยะห์ (เห็นเดือน) หรือไม่มีการรุ๊ยะห์ (ไม่เห็นเดือน)

หลักฐานเกี่ยวกับเรืองนี้ มีมากมาย ตัวอย่างเช่น ท่านนบี ศ้อลฯ กล่าวว่า.. "ท่านทั้งหลายจงถือบวชเมื่อเห็นดวงจันทร์ ท่านทั้งหลายจงออกบวชเมื่อเห็นดวงจันทร์ หากดวงจันทร์ถูกเมฆปกคลุม ก็จงนับให้ครบ 30 วัน"

ฮาดิษบทนี้ชัดเจนมาก ตรงที่ว่า "หากดวงจันทร์ถูกเมฆปกคลุม" คือมีเมฆกั้นระหว่างสายตาผู้มองกับดวงจันทร์ ก็จงนับเดือนก่อนให้มี 30 วัน แม้ว่าผู้รู้ดาราศาสตร์จะกล่าวว่า เดือนก่อนนั้นมีเพียง 29 วันก็ตาม

เพราะท่านนบี(ศล.) ไม่เคยกล่าวว่า..

- จงถือบวชในวันที่ผู้รู้ดาราศาสตร์เขาคำนวน

- จงเชื่อผู้รู้ดาราศาสตร์ เมื่อดวงจันทร์มีเมฆปกคลุม

แต่ที่ท่านนบี (ศล.) ท่านใช้นั้นคือ " ท่านทั้งหลายจงถือบวชเมื่อมีการ "รุ๊ยะห์" (เห็นดวงจันทร์) และจงออกบวชเมื่อมีการ "รุ๊ยะห์" (เห็นดวงจันทร์) แต่หากไม่มีการเห็นดวงจันทร์ ก็จงนับเดือนนั้นให้ครบ 30 วัน

โองการเกี่ยวกับการคำนวน

อัลลอฮ์ (ซ.บ) ตรัสว่า.. "พระองค์ทรงให้บังเกิดดวงตะวันทอแสงบรรเจิดจ้า และดวงจันทร์รัศมี และได้ทรงทำให้มันโคจร เพื่อพวกท่านจะได้รู้จำนวนปี และการหีซาบ (คำนวน) อัลลอฮ์ได้ให้บังเกิดสิ่งดั่งกล่าวอย่างแท้จริง.." ยูนุส / 5

ผู้ที่นำโองการอัลกุรอานบทนี้มาเป็นหลักฐานสนับสนุนทัศนะของเขากล่าวว่า อัลกุรอานโองการนี้ กล่าวถึง "หิซาบ" (คำนวน) ซึ่งก็หมายความว่า สามารถใช้ "หิซาบ" เป็นตัวกำหนดการเข้าบวช

ผมขอตอบว่า.. [ทัศนะของคุณ Suhaimi Wateh (เจ้าของบทความ)]

  1. โองการนี้มิได้เกี่ยวข้องกับเรื่องการเข้าบวชหรือออกบวชเลย หากแต่เป็นโองการที่ชี้ให้เห็นถึงการโคจรของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ จึงทำให้เกิดวัน เวลา เกิดจำนวนนับ ซึ่งดังกล่าวนี้ คือสิ่งที่อัลลอฮ์ (ซ.บ) ได้กล่าวไว้ในโองการนี้ มิได้หมายความว่า ให้เข้าบวชโดยอาศัยการ "หิซาบ" (การคำนวน) 
  2. คำว่า "หิซาบ" ซึ่งมีอยู่ในโองการนี้ มิใช่หมายถึงการ "หิซาบ" (การคำนวน) ของนักดาราศาสตร์ แต่เป็นจำนวนนับ หนึ่ง, สอง, สาม, สี่ เป็นต้น จำนวนนับกับการหิซาบตามวิชาดาราศาสตร์นั้นต่างกัน กล่าวคือ ทุกคนนับ หนึ่ง, สอง, สาม กันได้ แต่ไม่ใช่ทุกคน (มีไม่กี่คน) ที่รู้วิชาดาราศาสตร์ 
  3. ไม่ว่าจะมีความรู้ในศาสตร์แขนงใดก็ตาม ก็ไม่อาจนำมาเป็นตัวกำหนดในเรื่องการเข้าบวช ออกบวชได้ เพราะเรื่องนี้ท่านนบีได้กำหนดวิธีการไว้เป็นการแน่นอนแล้ว นั้นคือ การรุ๊ยะห์

เรามาดูทัศนะของอูลามาอฺเกี่ยวกับเรื่องนี้


อีหม่ามอิบนุหะญัร อัลอัสกอลานีย์กล่าวในหนังสือ ฟัตหุลบารีย์ เล่มที่ 5 หน้า 29 กล่าวว่า.. "คณะหนึ่งได้ฟัตวาว่า แท้จริงการกำหนดเดือนนั้น โดยการ "ตัซยีร" (คำนวนการโดจรของเดือนและดวงดาว) คณะดั่งกล่าวนั่น คือ คณะ รอฟีฏีย์"



อีหม่ามนาวาวี กล่าวใในหนังสือ ชาเราะห์ มุฮัซซับ เล่มที่ 6 หน้า 270 "ใครฟัตวาว่า ให้เข้าบวชโดยใช้วิธี "หิซาบ" ถือว่าฟัตวานั้น "มัรดูด" (ไม่เป็นที่ยอมรับ)..."



ในหนังสือ อิอานะตุฏฏอลีบีน ดล่มที่ 2 หน้า 217 กล่าวว่า "ไม่อนุญาติให้ยึดถือนักคำนวน และนักดาราศาสรต์ และก็ไม่อนุญาตให้ตักลิดถือตาม ทั้งสองนั้นด้วย.."



ในหนังสืออิกนาอฺ เล่มที่ 1 หน้า 202 กล่าวว่า.. " ไม่วาญิบ ต้องเข้าบวชด้วยคำบอกกล่าวของนักดาราศาสตร์ และไม่เป็นที่อนุญาติด้วย.."



ในหนังสือ ซุบุลุ้สสลาม เล่มที่ 2 หน้าที่ 152 กล่าวว่า.. "ท่านอีหม่ามบะซีซะห์ กล่าวว่า แท้จริงการเข้าหรือออกบวช โดยการคำนวน หรือยึดถือดวงดาวนั้น คือ มัสฮับที่ "บาเฏ็ล" (ใช้ไม่ได้)



ศาสนาอิสลามไม่ได้ห้ามการคิดคำนวน ตามหลักวิชาฟาลัก (ดาราศาสตร์) แต่จะนำมาใช้เป็นการกำหนดในเรื่องเข้าบวช หรือออกบวชนั้นไม่ได้ เพราะท่านนบี บรรดาศอฮาบะห์ และอูลามาอฺมุจตะฮิด มิได้ใช้การ "หิซาบ" เป็นตัวกำหนดในเรื่องนี้ หากแต่ใช้การรุ๊ยะห์ ซึ่งนั่น คือ กฏ หรือคำบัญชาของอัลลอฮ์และร่อซูลของพระองค์







มีบางคนตั้งคำถามมาว่า... "ในสมัยนบี ชาวอาหรับไม่มีใครคำนวนตามแนวทางดาราศาสตร์เป็น แม้แต่ท่านนบี ก็คำนวนไม่เป็น เพราะเหตุนั้น ท่านนบีจึงไม่ใช้ให้เราเข้าบวชหรือออกบวชด้วยการคำนวน หากท่านนบี คำนวนเป็น ท่านนบีก็จะไม่ใช้ให้เราเข้าออกบวชด้วยการรุ๊ยะห์?


ผมขอตอบว่า...[ทัศนะของคุณ Suhaimi Wateh (เจ้าของบทความ)]

  1. ผู้ที่มีความเข้าใจแบบนั้น เขาเข้าใจว่าศาสนาอิสลามนั้น ท่านนบี (ศล) เป็นผู้กำหนดบทบัญญัติขึ้น มิใช่อัลลอฮ์ ถึงกับกล่าว่า "หากท่านบี (ศล) คำนวนเป็น แน่นอนท่านต้องใช้ให้คำนวน ความจริงศาสนา และหลักการทั้งหมดนั้นมาจากอัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ท่านนบี (ศล) มีหน้าที่เพียงเป็นผู้นำมาเผยแพร่เท่านั้น (เราทุกคนต่างรู้ดี) ดังนั้นหากอัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ต้องการให้มีการเข้าบวช หรือออกบวชโดยอาศัยการคำนวนเป็นตัวกำหนด แน่นอนอัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ก็ต้องใช้ให้ทุกคนเรียนรู้วิชาดาราศาสตร์ แต่พระองค์มิได้ต้องการแบบนั้น เพราะเหตุนั้นพระองค์จึงไม่บังคับให้เรียนรู้วิชาดาราศาสตร์ แต่ให้ดูจันทร์เสี้ยว เพื่อกำหนดการเข้าบวช หรือออกบวช เพราะพระองค์ทรงรู้ดีทุกสิ่งทั้งปวง
  2. หากแนวความคิด ที่ว่าให้ใช้การคำนวน เพราะยุคสมันเปลียนไป เป็นยุคที่เทคโนโลยีมีความแม่นยำ ในสมัยนบี (ศล) ไม่มีโทรทัศน์ ไม่มีอินเตอร์เน็ต ท่านนบี (ศล) จึงสั่งใช้ให้เราไปละหมาดวันศุกร์รวมกันที่มัสยิด โดยให้มายืนด้านหลังอีหม่าม และละหมาดตามอีหม่าม แต่สมัยนี้มีโทรทัศน์ มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เมื่อเป็นแบบนี้ก็ละหมาดญุมอัต (วันศุกร์) กันที่บ้านได้น่ะซิ ซึ่งเห็นทั้งภาพ การเคลือนใหว และได้ยินทั้งเสียงของอีหม่าม แม้จะอยู่ไกลถึงมักก๊ะห์ หรือมาดีนะห์ก็ตาม.. หากมุสลิมมีความเข้าใจกันในทำนองนี้ คำสอนศาสนาอิสลามต้องมลายสิ้น. 



เขาถามมาว่า : ถ้าจะยึดการดูเดือนในการเข้าบวช หรือออกบวช ก็ยึดให้มันจริงหน่อย พอเวลาแก้บวช เวลาละหมาดกลับดูปฏิทิน ซึงนักดาราศาสตร์เป็นผู้คำนวนไว้ ทำไหม ไม่ดูดวงอาทิตย์ล่ะ?

_______________


คืออย่างนี้น่ะคับ ในเรื่องเข้าบวชกับเวลาแก้บวชและเวลาละหมาดนั้น ข้อจำแหนกระหว่างทั้งสองนั้น อย่างนี้น่ะคับ...[ทัศนะของคุณ Suhaimi Wateh (เจ้าของบทความ)]

การเข้าบวชผูกพันอยู่กับ "รุ๊ยะห์" หรือ ครบ 30วัน ดังปรากฏในฮาดิษหลายๆ บท (คงไม่ต้องกล่าวแล้วน่ะ) ส่วนการเข้าเวลาละหมาดนั้น ผูกพันอยู่กับ "รู้ว่าเข้าเวลา" หรือยัง เมื่อเรารู้ว่าเข้าเวลา หรือถึงเวลาแล้ว ก็ละหมาดได้เลย ซึ่งความรู้ในเรื่องเข้าเวลาละหมาดนี้ อาจรู้ได้โดยการคำนวน การเห็น การได้ยินอาซาน ฯลฯ สรุปแล้วไม่ว่าจะรู้ได้โดยวิธีใด ก็ละหมาดได้เลย อัลลอฮ์ (ซบ) และท่านนบี (ศล) มิได้กำหนดเป็นการเจาะจงว่าต้องรู้โดยวิธีใด วิธีหนึ่งโดยเฉพาะ

ดังโองการของอัลลอฮ์ (ซบ) ที่กล่าวถึงในซูเราะห์อัลอิสรออฺ อายะห์ที่ 78 "اقم الصلاة لدلوك الشمس..." ความว่า.. "จงดำรงละหมาด เมื่อตอนที่ดวงอาทิตย์คล้อย.."

โองการนี้ชี้ให้เห็นว่า มุสลิมได้รับบัญชาให้ละหมาด เมื่อดวงอาทิตย์คล้อย ไปทางทิศตะวันตก พระองค์มิได้กล่าวว่า.. "ท่านทั้งหลายจงละหมาด เมื่อเห็นดวงอาทิตย์คล้อย

พระองค์มิได้วางเงื่อนไขว่า ต้องเห็นดวงอาทิตย์คล้อย หรือดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า หรือดวงอาทิตย์โผล่ แต่กล่าวว่า เมื่อดวงอาทิตย์คล้อยในเวลาซุฮรี่ และเมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าในเวลามัฆริบ

ถ้าหากท่านนบี (ศล) ใช้ให้เราเข้าบวช เมื่อเดือนรอมฏอนปรากฏ ซึ่งไม่จำเป็นต้อง รุ๊ยะห เพียงแค่รู้ว่าเดือนรอมฏอนปรากฏแล้วก็พอ แม้จะรู้โดยการฮิซาบ (คำนวน) ก็ตาม

แต่ท่านนบี (ศล) มิได้กล่าวเช่นนั้นเฉยๆ หากแต่ผูกพันไว้กับการ "รุ๊ยะห์" และก็มิใช่จะผูกพันไว้กับ "รุ๊ยะห์" เท่านั้น แต่ยังได้ห้ามการเข้าบวช ออกบวชด้วยวิธีอื่นจากรุ๊ยะก์อีกด้วย

ท่านนบี (ศล) กล่าวว่า.. لا تصوموا حتى تروه ولاتفطروا حتى تروه : متفق عليه

คว่ามว่า : "ท่านทั้งหลายอย่าเข้าบวช จนกว่าจะเห็นจันทร์เสี้ยว (ฮิล้าล) และอย่าออดบวช (ออกอีด) จนกว่าจะเห็นจันทร์เสี้ยว" รายงานโดยอีหม่ามบุคอรีและมุสลิม

ฮาดิษบทนี้ชี้ให้เห็นว่า ห้ามเข้าบวชหรือออกบวชโดยวิธีอื่นจาก "รุ๊ยะห์"

วัลลอฮูอะลัม.

ข้อมูล และทัศนะจาก ดูเดือนหรือคำนวนดี #1, ดูเดือนหรือคำนวนดี #2, ดูเดือนหรือคำนวนดี #3

เครดิต : Suhaimi Wateh (เจ้าของบทความ)


ซึ่งในความเป็นจริงนั้นเราใช้ทั้ง "รุกยะห์" และ "ฮิซาบ" และก็ไม่ได้ปฏิเสธทางใดทางหนึ่งทั้งนั้น เพราะ อัลลอฮฺ (ซบ.) ให้ทั้ง ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ มา เพื่อใช้ในการกำหนดเวลา กล่าว คือ เราใช้ดวงจันทร์ในการกำหนดเดือน และใช้ดวงอาทิตย์กำหนดเวลา (เวลาในการทำละหมาด) เราก็ยึดเอาหลักฐานจากอัลกุรอ่าน และฮาดิษ เป็นหลัก และตามด้วยญุมฮุดอุลามาอฺ ในการปฏิบัติศาสนกิจนะครับ


#นิติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
#เรื่องเล่าคติเตือนใจ_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความแนะนำ

World Clock

Featured Posts

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม โดย : Cem Nizamoglu และ Sairah Yassir-Deane ย้อนหลังไปถึงมีนาคม 2015 ข่าวเกี่ยวก...