product :

วันอาทิตย์ที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ชีวประวัติของท่านอิหม่ามอัล-เฆาะซาลียฺ

อิหม่าม อัล-เฆาะซาลียฺ

ปราชญ์แห่งจิตวิญญาณและนักวิพากษ์ปรัชญา

แผนที่นี้เป็นอาณาจักรสัลญูกที่ถือว่าเทียบระดับได้กับคิลาฟะฮฺ แต่พวกเขาเป็นแค่สุลฏอนเติร์กที่สนับสนุนวัฒนธรรมและภาษาเปอร์เซีย แผนที่นี่เป็นยุคสมัยรุ่งเรืองที่สุดของพวกสัลญูก(ก่อนจะเกิดครูเสดอีก 3 ปีต่อมา) อีหม่ามเฆาะซาลียฺอยู่ในช่วงเวลานี้








อิหม่าม อัล-เฆาะซาลียฺ เป็นผู้รู้ที่ถูกยอมรับกันอย่างกว้างขวางในฐานะเป็นหนึ่งในปราชญ์ที่ทรงอิทธิพลของโลกมุสลิม ท่านมีชีวิตอยู่ช่วงก่อนสงครามครูเสดแต่เสียชีวิตไปหลังสงครามครูเสดเล็กน้อย (ช่วงชีวิตระหว่าง ค.ศ. 1058- 1111 / ฮ.ศ. 450-505) ท่านมีชื่อเต็มว่า อบู ฮามิด มุฮัมมัด อิบนุ มุฮัมมัด อัล-เฆาะซาลียฺ เกิดในเมืองตุซ แคว้นเปอร์เซีย เป็นชาวเปอร์เซียโดยกำเนิด ท่านเป็นปราชญ์อิสลามในแนวทางของอะฮฺลิซ ซุนนะฮฺ วัล-ญะมาอะฮฺ อิงอยู่กับสำนักฟิกฮฺ ชาฟิอียฺ (ในยุคนั้นเปอร์เซียเป็นสุนนี่และถือมัซฮับชาฟิอียฺเป็นหลัก)

ท่านผ่านการศึกษามาอย่างดี หลังจากจบการศึกษาจากโรงเรียนที่มัสญิดที่เมืองตุซแล้ว ท่านได้มารับการฝึกฝนทางวิชาการที่เมืองนิชาปุรจากปราชญ์ดังในยุคนั้นคืออัลญุวียนียฺ เมื่อปี ค.ศ. 1085 อัลยุวัยนียฺเสียชีวิต ท่านจึงเดินทางออกไปยังอิสฟาฮาน (ในวัย 27 ปี) เข้าร่วมงานกับราชสำนักของนิซอมุล มุลกฺ (ศูนย์กลางระบบการปกครองของราชวงศ์สัลญูก) อิหม่าม อัล-เฆาะซาลียฺ มีความเป็นเลิศทางด้านกฎหมาย เทววิทยา และปรัชญา แม้อายุยังน้อยอยู่ แต่ด้วยความปราดเปรื่อง ท่านได้รับการแต่งตั้งเป็นอธิการที่สถาบันอัน-นิซอมียะฮฺแห่งแบกแดด ในปี ค.ศ. 1091 ซึ่งถือว่าเป็นสถาบันทางวิชาการสูงสุดในยุคทองแห่งอารยธรรมอิสลามภายใต้ราชวงศ์สัลญูก อิหม่าม อัล-เฆาะซาลียฺ ได้กลายเป็นปราชญ์ในทางนิติศาสตร์อิสลามที่มีชื่อเสียงและประสบความสำเร็จอย่างสูง

แต่ 4 ปีหลังจากนั้น (ค.ศ. 1095 ซึ่งตรงกับปีที่สันตปาปาประกาศสงครามครูเสด) อิหม่าม อัล-เฆาะซาลียฺ กลับตกอยู่ในสภาพความสับสนทางความคิดทำให้ท่านได้ตัดสินในสิ่งที่เป็นจุดเปลี่ยนชีวิตของท่านและนำไปสู่การเป็นนักฟื้นฟูที่ยิ่งใหญ่ที่สุดคนหนึ่งของประวัติศาสตร์อิสลาม นั่นคือการละทิ้งชีวิตของอาจารย์ในสถาบันชั้นสูง พร้อมกับจากนครแบกแดดไปเพื่อแสวงหาทางจิตวิญญาณนานมากกว่าทศวรรษ ท่านได้เยือนเมืองสำคัญๆ ของโลกมุสลิม ทั้งไปทำฮัจญฺที่มักกะฮฺ ไปมะดีนะฮฺ และเยรูซาเล็ม ก่อนจะย้อนกลับสู่แบกแดดในช่วงสั้นๆ แล้วกลับไปใช้ชีวิตในบ้านเกิด คือเมืองตุส และท้ายที่สุดก็ได้เสียชีวิตที่นั่นในเดือนธันวาคม ปี ค.ศ. 1111 (ฮ.ศ. 505)

งานนิพนธ์ของ อิหม่าม อัล-เฆาะซาลียฺ ในช่วงท้าย ได้กลายเป็นแนวคิดที่มีอิทธิพลไหลท่วมท้นโลกมุสลิมมานานนับศตวรรษ ส่วนหนึ่งของงานสำคัญของท่านก็คือ การวิพากษ์ปรัชญากรีกผ่านหนังสือ Tahāfut al-Falāsifah (ความไม่ปะติดปะต่อของเหล่านักปรัชญา) เป็นงานเขียนที่วิจารณ์แนวคิดของสำนักเพลโตใหม่ (neo-platonism) ในหมู่มุสลิมในช่วงคริสต์ศวรรษที่ 8 ถึง 11 ซึ่งนักปรัชญามุสลิมคนสำคัญที่นิยมในปรัชญานี้ในช่วงนั้นก็คือ อัล-ฟะรอบียฺ และ อิบนุสินา อิหม่าม อัล-เฆาะซาลียฺ ปฏิเสธแนวคิดของนักปรัชญากรีก ไม่ว่าเป็นอริสโตเติล เพลโต และคนอื่นๆ และถือว่าคนที่นำวิธีการเหล่านี้มาใช้กำลังสร้างความเสื่อมเสียให้กับสัจธรรมอิสลาม แม้ว่าท่านไม่ได้ปฏิเสธแนวคิดของกรีกในสนามวิชาการอื่นๆ ก็ตาม งานของ อิหม่าม อัล-เฆาะซาลียฺ มีอิทธิพลในการต่อต้านปรัชญาของกรีกต่อมาอีกหลายศตวรรษ

อิหม่าม อัล-เฆาะซาลียฺ ยังได้ผลิตงานวิชาการออกมาอีกมากมาย ไม่ว่าในด้านเทววิทยา นิติศาสตร์อิสลาม ตะเศาวุฟ หรือตรรกวิทยา แต่ก็ยอมรับกันว่างานเขียนที่ยิ่งใหญ่ที่สุดของท่านก็คือ ตำราสารานุกรมที่ชื่อว่า Ihya’ al-’Ulūm al-Dīn (การให้ชีวิตใหม่แก่ศาสตร์ต่างๆ ของศาสนา) ซึ่งครอบคลุมศาสตร์อิสลามต่างๆ ทั้งหมด จัดว่าเป็นตำราที่มีอิทธิพลต่อแนวคิด และการปฏิบัติของมุสลิมนับล้านๆ คนตลอดหลายศตวรรษที่ผ่านมา ตัวบทในหนังสือเล่มนี้ถูกอ้างอิงจากมุสลิมมากที่สุดรองจาก อัล-กุรอานและตำราอัล-หะดีษต่างๆ (ถือเป็นงานทีทรงอิทธิพลมากในแง่มุมนี้)

ชัยคุลอิสลาม อิบนุตัยมียะฮฺ กล่าวถึงหนังสือชุดนี้้ของท่านหลังจากได้วิจารณ์การมีหลักฐานอ่อนไว้ว่า "... ขณะเดียวกันในหนังสือนี้ก็มีถ้อยคำของบรรดาเชคศูฟียฺเป็นผู้ที่มีจิตวิญญาณเข้าถึงการรับรู้ต่อพระเจ้า (อาริฟ) และปฏิบัติอย่างยืนหยัดต่อกิจกรรรมของหัวใจ โดยที่สอดคล้องกับอัลกุรอานและซุนนะฮฺ นอกจากนี้ยังมีถ้อยคำที่เกี่ยวกับอิบาดะฮฺต่างๆ และจริยธรรมมารยาท (อะดับ) ที่สอดคล้องกับอัลกุรอานและซุนนะฮฺ เนื้อหาลักษณะนี้มีมากกว่าเนื้อหาที่จะปฏิเสธ" (มัจมูอฺ อัลฟะตาวา เล่ม 10 หน้า 551)

อิทธิพลที่สำคัญยิ่งของ อิหม่าม อัล-เฆาะซาลียฺ ก็คือการปฏิรูปแนวทางศูฟียฺ ให้ถูกกำหนดโดยบรรทัดฐานหลักของความรู้อิสลาม ท่านจะไม่ยอมรับวิธีการที่เบี่ยงเบนเว้นแต่ต้องเป็น อัต-ตะเศาวุฟ อัส-ซุนนียฺ (ตะเศาวุฟในแบบท่านนบี) นั่นคืออัล-กุรอาน และอัซ-ซุนนะฮฺ ... แม้ว่าการนำเสนอของท่านยังมีประเด็นหลายประการที่ถูกวิจารณ์ เช่น การอ่อนด้อยในวิชาอัล-ฮะดีษ ความโน้มเอียงในวิชาปรัชญามากเกินไป เป็นต้น กระนั้นก็ตาม อุลามาอฺในยุคต่อมาก็ทำการทบทวนหนังสือบางเล่มของท่านใหม่... การมีอุลามาอฺจำนวนหนึ่งได้ตรวจทานหนังสือท่าน แสดงให้เห็นถึงความดีเด่นของหนังสือที่ท่านเรียบเรียง พร้อมๆ กับความพยายามขจัดสิ่งที่ผิดพลาดออกจากงานเขียนของท่านด้วย

อิหม่าม อัล-เฆาะซาลียฺ มีชื่อเสียงเรื่องผลิตงานคุณภาพออกมาจำนวนมาก ทั้งภาษาอาหรับและเปอร์เซีย พอจะแบ่งชนิดของงานท่านได้ดังต่อไปนี้

งานด้านปรัชญาของอิหม่าม อัล-เฆาะซาลียฺ
• al-Muntakhal fi al-jadal, (The elect in Dialectics)
• Maqaṣid al-falasifah (Aims of Philosophers)
• Tahafut al-falasifa (Incoherence of philosophers).
• Miʿyar al-ʿilm fi fan al-manṭiq (Criterion of Knowledge in the Art of Logic)
• Miḥak al-naẓar fi al-manṭiq (Touchstone of Reasoning in Logic)
• al-Maḍnun bihi ʿala ghyar ahlihi (On the Soul)
• al-Qisṭas al-mustaqim (The Correct Balance)
• Maʿarij al-qudus fi madarij maʿrifat al-Nafs (Ascent to the Divine through the path of self-knowledge)

งานด้านศูฟีย์ และจริยศาสตร์ของ อิหม่าม อัล-เฆาะซาลียฺ มีหลายเล่มเขียนเป็นภาษาเปอร์เซีย
• Mizan al-ʿamal, (Criterion of Action)
• Iḥyaʾ ʿulum al-din (Revival of Islamic Knowledge)
• al-Imalaʾ ʿala Ishkalat al-Iḥyaʾ (Notes on Iḥyaʾs Questionables)
• Bidayat al-hidayah (Beginning of Guidance)
• al-ʾAraʿbin fi iṣul al-din (the Forty fundamentals of religion)
• Kimiya-ye saʿadah (Alchemy of Happiness) – Persian
• Ayah al-wald al-muḥib (O’ Beloved Son) – Persian
• Naṣiḥat al-muluk (Counseling Kings). – Persian
• Zad akhart (Provision for the hereafter)– Persian
• al-Munqidh min al-ḍalal (Rescuer from Error).
• Sir al-ʿalamian wa kashf maʾ fi al-darian (Secret of the two worlds and uncovering what is two abodes)
• Minhaj al-ʿabidin (Methodology for the Worshipers)

งานด้านเทววิทยาของ อิหม่าม อัล-เฆาะซาลียฺ
• al-Mustaẓhiri or Fadaʾih al-baṭiniyya wa faḍaʾil al-mustaẓhiriyya (Infamies of the Batinies)
• Ḥujat al-ḥaq (Proof of the Truth)
• al-Iqtiṣad fil- ʿitiqad (Median in Belief).
• al-Risala al-qudsia (The Jerusalem Epistle).
• Mufaṣil al-khilaf (Clarifer of the Disagreement)
• Qawaṣim al-baṭinyah awa jawab al-masaʾil al-ʾarbaʿ al-lati saʾalaha al-baṭiniya bi-hamadhan (Backbreakers of the Esoterics -aka- Answer to the Four Questions that the Esoterics Queried in Hamadan)
• al-Maqṣad al-ʾasna fi sharah ʾasmaʾ Allahu al-husna (The best means in explaining Allah’s Beautiful Names)
• Jawahir al-qurʾān wa duraruh (Jewels of the Qurʾān and its Pearls).
• Fayaṣl al-tafriqa bayn al-Islam wa-l-zandaqa (The Criterion of Distinction between Islam and Clandestine Unbelief)
• Mishkat al-anwar (The Niche of Light).
• Iljam al-ʿawamm ʿan ʿilm al-kalam (Warding off the Masses from Sciences of Theology)
• Al-ḥikmah fi makhluqat illah (Wisdom in God’s Creation)
• Qanun al-ta’wil (Methodology of Interpretation)

งานด้านนิติธรรมของ อิหม่าม อัล-เฆาะซาลียฺ
• al-Taʿliqa (The commentary)
• al-Mankhul min taʿliqat al-iṣul.
• al-Basiṭ (The explained)
• al-Wasiṭ fi al-mathab (The medium [digest] in the [jurisprudential] school)
• al-Wajiz fi fiqh al-imam al-shafiʿi.
• Khulaṣat al-mukhtaṣr wa naqawat al-muʿtaṣr (The nector of the summary and the clarified pulp)
• Kitab tahẓib al-uṣul (Pruning on legal theory)
• Ghayat al-ghawr fi diryat al-dawar (On the question of divorce)
• al-Mustaṣfa min ʿilm al-uṣul. (The clarified from legal theory).
• Asas al-qiyas (Foundation of analogical [reasoning]).
• Fatawy al-Ghazali (Verdicts of al-Ghazālī)

งานของ อิหม่าม อัล-เฆาะซาลียฺ บางชิ้นมีการแปลไปสู่ยุโรปตั้งแต่ยุคกลางอีกด้วย ท่านรู้จักกันดีในชื่อลาตินว่า Algazel ... เช่นเดียวกับอุลามาอฺแถวหน้าทีมีอิทธิพลล้ำลึกในโลกก็มักจะมีฉายาที่สะท้อนให้เห็น ท่านมีฉายาที่ผู้คนมักใช้เรียกนำหน้าท่านว่า "ฮัจญะตุล อิสลาม" (Hujjat al-Islam) หรือ ข้อพิสูจน์ของอิสลาม (Proof of Islam) อันหมายถึงผู้ได้พิสูจน์ให้เห็นว่าอิสลามเป็นสัจธรรมแบบไหน? และเป็นเช่นไร?

.........................................
แหล่งที่มา : Tarikh - ประวัติศาสตร์

#ปราชญ์ในนิติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
#ประวัติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น

บทความแนะนำ

World Clock

Featured Posts

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม โดย : Cem Nizamoglu และ Sairah Yassir-Deane ย้อนหลังไปถึงมีนาคม 2015 ข่าวเกี่ยวก...