product :

วันศุกร์ที่ 10 พฤษภาคม พ.ศ. 2562

ดูเดือนหรือคำนวนดี


ดูเดือนหรือคำนวนดี




อัลลอฮ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ตรัสว่า.. "เขาเหล่านั้นจะถามเจ้าเกี่ยวกับเดือนแรกขึ้น (จันทร์เสี้ยว) จงกล่าวเถิด มันคือการกำหนดเวลาต่างๆ สำหรับมนุษย์และสำหรับประกอบพิธีหัจญ..." - อัลบะเกาะเราะฮ /189

การกำหนดวันต้นเดือนกอมารียะห์ (เดือนอิสลาม) การเข้าบวช และออกบวชนั้น ผูกพันอยู่กับการเห็นจันทร์เสี้ยว มิใช่มีจันทร์เสี้ยว หรือไม่มีจันทร์เสี้ยว

ดังนั้นหากไม่เห็นจันทร์เสี้ยว วันรุ่งขึ้นจะถือบวชไม่ได้ แม้ว่านักดาราศาสตร์ จะกล่าวว่าจันทร์เสี้ยวมีแล้ว (มีโอกาศเห็นได้แล้ว) ก็ตาม เพราะการเข้าบวชนั้นมิได้ผูกพันอยู่กับผู้รู้วิชาดาราศาสตร์ หากแต่ผูกพันอยู่กับ มีการรุ๊ยะห์ (เห็นเดือน) หรือไม่มีการรุ๊ยะห์ (ไม่เห็นเดือน)

หลักฐานเกี่ยวกับเรืองนี้ มีมากมาย ตัวอย่างเช่น ท่านนบี ศ้อลฯ กล่าวว่า.. "ท่านทั้งหลายจงถือบวชเมื่อเห็นดวงจันทร์ ท่านทั้งหลายจงออกบวชเมื่อเห็นดวงจันทร์ หากดวงจันทร์ถูกเมฆปกคลุม ก็จงนับให้ครบ 30 วัน"

ฮาดิษบทนี้ชัดเจนมาก ตรงที่ว่า "หากดวงจันทร์ถูกเมฆปกคลุม" คือมีเมฆกั้นระหว่างสายตาผู้มองกับดวงจันทร์ ก็จงนับเดือนก่อนให้มี 30 วัน แม้ว่าผู้รู้ดาราศาสตร์จะกล่าวว่า เดือนก่อนนั้นมีเพียง 29 วันก็ตาม

เพราะท่านนบี(ศล.) ไม่เคยกล่าวว่า..

- จงถือบวชในวันที่ผู้รู้ดาราศาสตร์เขาคำนวน

- จงเชื่อผู้รู้ดาราศาสตร์ เมื่อดวงจันทร์มีเมฆปกคลุม

แต่ที่ท่านนบี (ศล.) ท่านใช้นั้นคือ " ท่านทั้งหลายจงถือบวชเมื่อมีการ "รุ๊ยะห์" (เห็นดวงจันทร์) และจงออกบวชเมื่อมีการ "รุ๊ยะห์" (เห็นดวงจันทร์) แต่หากไม่มีการเห็นดวงจันทร์ ก็จงนับเดือนนั้นให้ครบ 30 วัน

โองการเกี่ยวกับการคำนวน

อัลลอฮ์ (ซ.บ) ตรัสว่า.. "พระองค์ทรงให้บังเกิดดวงตะวันทอแสงบรรเจิดจ้า และดวงจันทร์รัศมี และได้ทรงทำให้มันโคจร เพื่อพวกท่านจะได้รู้จำนวนปี และการหีซาบ (คำนวน) อัลลอฮ์ได้ให้บังเกิดสิ่งดั่งกล่าวอย่างแท้จริง.." ยูนุส / 5

ผู้ที่นำโองการอัลกุรอานบทนี้มาเป็นหลักฐานสนับสนุนทัศนะของเขากล่าวว่า อัลกุรอานโองการนี้ กล่าวถึง "หิซาบ" (คำนวน) ซึ่งก็หมายความว่า สามารถใช้ "หิซาบ" เป็นตัวกำหนดการเข้าบวช

ผมขอตอบว่า.. [ทัศนะของคุณ Suhaimi Wateh (เจ้าของบทความ)]

  1. โองการนี้มิได้เกี่ยวข้องกับเรื่องการเข้าบวชหรือออกบวชเลย หากแต่เป็นโองการที่ชี้ให้เห็นถึงการโคจรของดวงอาทิตย์ ดวงจันทร์ จึงทำให้เกิดวัน เวลา เกิดจำนวนนับ ซึ่งดังกล่าวนี้ คือสิ่งที่อัลลอฮ์ (ซ.บ) ได้กล่าวไว้ในโองการนี้ มิได้หมายความว่า ให้เข้าบวชโดยอาศัยการ "หิซาบ" (การคำนวน) 
  2. คำว่า "หิซาบ" ซึ่งมีอยู่ในโองการนี้ มิใช่หมายถึงการ "หิซาบ" (การคำนวน) ของนักดาราศาสตร์ แต่เป็นจำนวนนับ หนึ่ง, สอง, สาม, สี่ เป็นต้น จำนวนนับกับการหิซาบตามวิชาดาราศาสตร์นั้นต่างกัน กล่าวคือ ทุกคนนับ หนึ่ง, สอง, สาม กันได้ แต่ไม่ใช่ทุกคน (มีไม่กี่คน) ที่รู้วิชาดาราศาสตร์ 
  3. ไม่ว่าจะมีความรู้ในศาสตร์แขนงใดก็ตาม ก็ไม่อาจนำมาเป็นตัวกำหนดในเรื่องการเข้าบวช ออกบวชได้ เพราะเรื่องนี้ท่านนบีได้กำหนดวิธีการไว้เป็นการแน่นอนแล้ว นั้นคือ การรุ๊ยะห์

เรามาดูทัศนะของอูลามาอฺเกี่ยวกับเรื่องนี้


อีหม่ามอิบนุหะญัร อัลอัสกอลานีย์กล่าวในหนังสือ ฟัตหุลบารีย์ เล่มที่ 5 หน้า 29 กล่าวว่า.. "คณะหนึ่งได้ฟัตวาว่า แท้จริงการกำหนดเดือนนั้น โดยการ "ตัซยีร" (คำนวนการโดจรของเดือนและดวงดาว) คณะดั่งกล่าวนั่น คือ คณะ รอฟีฏีย์"



อีหม่ามนาวาวี กล่าวใในหนังสือ ชาเราะห์ มุฮัซซับ เล่มที่ 6 หน้า 270 "ใครฟัตวาว่า ให้เข้าบวชโดยใช้วิธี "หิซาบ" ถือว่าฟัตวานั้น "มัรดูด" (ไม่เป็นที่ยอมรับ)..."



ในหนังสือ อิอานะตุฏฏอลีบีน ดล่มที่ 2 หน้า 217 กล่าวว่า "ไม่อนุญาติให้ยึดถือนักคำนวน และนักดาราศาสรต์ และก็ไม่อนุญาตให้ตักลิดถือตาม ทั้งสองนั้นด้วย.."



ในหนังสืออิกนาอฺ เล่มที่ 1 หน้า 202 กล่าวว่า.. " ไม่วาญิบ ต้องเข้าบวชด้วยคำบอกกล่าวของนักดาราศาสตร์ และไม่เป็นที่อนุญาติด้วย.."



ในหนังสือ ซุบุลุ้สสลาม เล่มที่ 2 หน้าที่ 152 กล่าวว่า.. "ท่านอีหม่ามบะซีซะห์ กล่าวว่า แท้จริงการเข้าหรือออกบวช โดยการคำนวน หรือยึดถือดวงดาวนั้น คือ มัสฮับที่ "บาเฏ็ล" (ใช้ไม่ได้)



ศาสนาอิสลามไม่ได้ห้ามการคิดคำนวน ตามหลักวิชาฟาลัก (ดาราศาสตร์) แต่จะนำมาใช้เป็นการกำหนดในเรื่องเข้าบวช หรือออกบวชนั้นไม่ได้ เพราะท่านนบี บรรดาศอฮาบะห์ และอูลามาอฺมุจตะฮิด มิได้ใช้การ "หิซาบ" เป็นตัวกำหนดในเรื่องนี้ หากแต่ใช้การรุ๊ยะห์ ซึ่งนั่น คือ กฏ หรือคำบัญชาของอัลลอฮ์และร่อซูลของพระองค์







มีบางคนตั้งคำถามมาว่า... "ในสมัยนบี ชาวอาหรับไม่มีใครคำนวนตามแนวทางดาราศาสตร์เป็น แม้แต่ท่านนบี ก็คำนวนไม่เป็น เพราะเหตุนั้น ท่านนบีจึงไม่ใช้ให้เราเข้าบวชหรือออกบวชด้วยการคำนวน หากท่านนบี คำนวนเป็น ท่านนบีก็จะไม่ใช้ให้เราเข้าออกบวชด้วยการรุ๊ยะห์?


ผมขอตอบว่า...[ทัศนะของคุณ Suhaimi Wateh (เจ้าของบทความ)]

  1. ผู้ที่มีความเข้าใจแบบนั้น เขาเข้าใจว่าศาสนาอิสลามนั้น ท่านนบี (ศล) เป็นผู้กำหนดบทบัญญัติขึ้น มิใช่อัลลอฮ์ ถึงกับกล่าว่า "หากท่านบี (ศล) คำนวนเป็น แน่นอนท่านต้องใช้ให้คำนวน ความจริงศาสนา และหลักการทั้งหมดนั้นมาจากอัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ท่านนบี (ศล) มีหน้าที่เพียงเป็นผู้นำมาเผยแพร่เท่านั้น (เราทุกคนต่างรู้ดี) ดังนั้นหากอัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ต้องการให้มีการเข้าบวช หรือออกบวชโดยอาศัยการคำนวนเป็นตัวกำหนด แน่นอนอัลลอฮ์ ซุบฮานะฮูวะตะอาลา ก็ต้องใช้ให้ทุกคนเรียนรู้วิชาดาราศาสตร์ แต่พระองค์มิได้ต้องการแบบนั้น เพราะเหตุนั้นพระองค์จึงไม่บังคับให้เรียนรู้วิชาดาราศาสตร์ แต่ให้ดูจันทร์เสี้ยว เพื่อกำหนดการเข้าบวช หรือออกบวช เพราะพระองค์ทรงรู้ดีทุกสิ่งทั้งปวง
  2. หากแนวความคิด ที่ว่าให้ใช้การคำนวน เพราะยุคสมันเปลียนไป เป็นยุคที่เทคโนโลยีมีความแม่นยำ ในสมัยนบี (ศล) ไม่มีโทรทัศน์ ไม่มีอินเตอร์เน็ต ท่านนบี (ศล) จึงสั่งใช้ให้เราไปละหมาดวันศุกร์รวมกันที่มัสยิด โดยให้มายืนด้านหลังอีหม่าม และละหมาดตามอีหม่าม แต่สมัยนี้มีโทรทัศน์ มีอินเตอร์เน็ตความเร็วสูง เมื่อเป็นแบบนี้ก็ละหมาดญุมอัต (วันศุกร์) กันที่บ้านได้น่ะซิ ซึ่งเห็นทั้งภาพ การเคลือนใหว และได้ยินทั้งเสียงของอีหม่าม แม้จะอยู่ไกลถึงมักก๊ะห์ หรือมาดีนะห์ก็ตาม.. หากมุสลิมมีความเข้าใจกันในทำนองนี้ คำสอนศาสนาอิสลามต้องมลายสิ้น. 



เขาถามมาว่า : ถ้าจะยึดการดูเดือนในการเข้าบวช หรือออกบวช ก็ยึดให้มันจริงหน่อย พอเวลาแก้บวช เวลาละหมาดกลับดูปฏิทิน ซึงนักดาราศาสตร์เป็นผู้คำนวนไว้ ทำไหม ไม่ดูดวงอาทิตย์ล่ะ?

_______________


คืออย่างนี้น่ะคับ ในเรื่องเข้าบวชกับเวลาแก้บวชและเวลาละหมาดนั้น ข้อจำแหนกระหว่างทั้งสองนั้น อย่างนี้น่ะคับ...[ทัศนะของคุณ Suhaimi Wateh (เจ้าของบทความ)]

การเข้าบวชผูกพันอยู่กับ "รุ๊ยะห์" หรือ ครบ 30วัน ดังปรากฏในฮาดิษหลายๆ บท (คงไม่ต้องกล่าวแล้วน่ะ) ส่วนการเข้าเวลาละหมาดนั้น ผูกพันอยู่กับ "รู้ว่าเข้าเวลา" หรือยัง เมื่อเรารู้ว่าเข้าเวลา หรือถึงเวลาแล้ว ก็ละหมาดได้เลย ซึ่งความรู้ในเรื่องเข้าเวลาละหมาดนี้ อาจรู้ได้โดยการคำนวน การเห็น การได้ยินอาซาน ฯลฯ สรุปแล้วไม่ว่าจะรู้ได้โดยวิธีใด ก็ละหมาดได้เลย อัลลอฮ์ (ซบ) และท่านนบี (ศล) มิได้กำหนดเป็นการเจาะจงว่าต้องรู้โดยวิธีใด วิธีหนึ่งโดยเฉพาะ

ดังโองการของอัลลอฮ์ (ซบ) ที่กล่าวถึงในซูเราะห์อัลอิสรออฺ อายะห์ที่ 78 "اقم الصلاة لدلوك الشمس..." ความว่า.. "จงดำรงละหมาด เมื่อตอนที่ดวงอาทิตย์คล้อย.."

โองการนี้ชี้ให้เห็นว่า มุสลิมได้รับบัญชาให้ละหมาด เมื่อดวงอาทิตย์คล้อย ไปทางทิศตะวันตก พระองค์มิได้กล่าวว่า.. "ท่านทั้งหลายจงละหมาด เมื่อเห็นดวงอาทิตย์คล้อย

พระองค์มิได้วางเงื่อนไขว่า ต้องเห็นดวงอาทิตย์คล้อย หรือดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้า หรือดวงอาทิตย์โผล่ แต่กล่าวว่า เมื่อดวงอาทิตย์คล้อยในเวลาซุฮรี่ และเมื่อดวงอาทิตย์ลับขอบฟ้าในเวลามัฆริบ

ถ้าหากท่านนบี (ศล) ใช้ให้เราเข้าบวช เมื่อเดือนรอมฏอนปรากฏ ซึ่งไม่จำเป็นต้อง รุ๊ยะห เพียงแค่รู้ว่าเดือนรอมฏอนปรากฏแล้วก็พอ แม้จะรู้โดยการฮิซาบ (คำนวน) ก็ตาม

แต่ท่านนบี (ศล) มิได้กล่าวเช่นนั้นเฉยๆ หากแต่ผูกพันไว้กับการ "รุ๊ยะห์" และก็มิใช่จะผูกพันไว้กับ "รุ๊ยะห์" เท่านั้น แต่ยังได้ห้ามการเข้าบวช ออกบวชด้วยวิธีอื่นจากรุ๊ยะก์อีกด้วย

ท่านนบี (ศล) กล่าวว่า.. لا تصوموا حتى تروه ولاتفطروا حتى تروه : متفق عليه

คว่ามว่า : "ท่านทั้งหลายอย่าเข้าบวช จนกว่าจะเห็นจันทร์เสี้ยว (ฮิล้าล) และอย่าออดบวช (ออกอีด) จนกว่าจะเห็นจันทร์เสี้ยว" รายงานโดยอีหม่ามบุคอรีและมุสลิม

ฮาดิษบทนี้ชี้ให้เห็นว่า ห้ามเข้าบวชหรือออกบวชโดยวิธีอื่นจาก "รุ๊ยะห์"

วัลลอฮูอะลัม.

ข้อมูล และทัศนะจาก ดูเดือนหรือคำนวนดี #1, ดูเดือนหรือคำนวนดี #2, ดูเดือนหรือคำนวนดี #3

เครดิต : Suhaimi Wateh (เจ้าของบทความ)


ซึ่งในความเป็นจริงนั้นเราใช้ทั้ง "รุกยะห์" และ "ฮิซาบ" และก็ไม่ได้ปฏิเสธทางใดทางหนึ่งทั้งนั้น เพราะ อัลลอฮฺ (ซบ.) ให้ทั้ง ดวงจันทร์ และดวงอาทิตย์ มา เพื่อใช้ในการกำหนดเวลา กล่าว คือ เราใช้ดวงจันทร์ในการกำหนดเดือน และใช้ดวงอาทิตย์กำหนดเวลา (เวลาในการทำละหมาด) เราก็ยึดเอาหลักฐานจากอัลกุรอ่าน และฮาดิษ เป็นหลัก และตามด้วยญุมฮุดอุลามาอฺ ในการปฏิบัติศาสนกิจนะครับ


#นิติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
#เรื่องเล่าคติเตือนใจ_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online


read more "ดูเดือนหรือคำนวนดี"

วันจันทร์ที่ 20 สิงหาคม พ.ศ. 2561

ปัจฉิมโอวาท ของท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลอลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม

ปัจฉิมโอวาท ของท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลอลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม



ในการทำฮัจญ์ครั้งสุดท้ายของท่าน และ ณ ทุ่งอะรอฟะฮฺ มีใจความดังนี้


โอ้ ประชาชาติทั้งหลาย จงตั้งใจฟังโอวาทของฉัน เพราะฉันไม่ทราบว่าจะได้พบกับพวกท่านในโอกาสเช่นนี้อีกเมื่อใด โอ้ท่านทั้งหลายชีวิตและทรัพย์สินของท่านเป็นสิ่งต้องห้าม และเป็นสิ่งที่คนใดคนหนึ่งจะมาล่วงละเมิดมิได้ จนกว่าพวกท่านจะได้พบกับองค์พระผู้อภิบาลเสมือนกับวันที่บริสุทธิ์นี้ ท่านทราบหรือไม่ว่าวันนี้เป็นวันอะไร ? ถ้าท่านยังไม่ทราบ ฉันจะบอกกับท่านว่า วันนี้เป็นวันแห่งการชุมนุมมนุษย์ชาติครั้งสำคัญยิ่ง ท่านทราบหรือไม่ว่าเดือนนี้คือเดือนอะไร ? เดือนนี้คือเดือนประกอบคุณงามความดี ท่านทราบหรือไม่ว่าแผ่นดินนี้คือแผ่นดินอะไร ? ณ ที่นี้คือแผ่นดินฮะรอมที่ต้องงดเว้นจากการทำความชั่วทุกประการ ดังนั้น ฉันขอบอกกับท่านไว้ด้วยว่า ชีวิต ทรัพย์สิน และเกรียติยศ ศักดิ์ศรีของท่าน ท่านจะต้องธำรงรักษาไว้ด้วยความบริสุทธิ์ ยุติธรรม เหมือนดังที่เป็นอยู่ ณ วันนี้ เดือนนี้ และสถานที่นี้ และเดือนนี้เป็นเวลาต้องห้ามสำหรับพวกท่าน และเมืองแห่งนี้เป็นเมืองต้องห้ามสำหรับพวกท่านทั้งหลาย พวกท่านทั้งหลายจะต้องได้รับการสอบสวนจากพระเจ้าของพวกท่านในกิจการงานทุกอย่างที่พวกท่านได้ประพฤติ ปฏิบัติไว้

บุรุษนั้นมีสิทธิเหนือสตรี และสตรีมีสิทธิเหนือบุรุษเช่นกันในหน้าที่ ที่ได้รับมอบหมาย ดังนั้น พวกท่านจงปกป้องดูแลภรรยาของพวกท่าน ด้วยความรักความเมตตาเถิด แน่นอนใครที่ได้ปฏิบัติเช่นนั้นเท่ากับเขาได้ปกครองดูแลภรรยาของเขาเอาไว้ให้อยู่ในความพิทักษ์ อภิรักษ์ของพระผู้เป็นเจ้า พวกท่านทั้งหลายจงปกปักษ์รักษาความศรัทธา เชื่อมั่นให้คงไว้ในจิตใจของพวกท่าน และจงหลีกเลี่ยงออกห่างจากเรื่องบาปกรรม ความชั่ว ดอกเบี้ยเป็นสิ่งต้องห้ามสำหรับลูกหนี้ ให้ส่งคืนเฉพาะเงินต้นในจำนวนที่ยืมมา และเรื่องของดอกเบี้ยจะต้องถูกยกเลิกสิ้น

นับต่อแต่นี้ไป เรื่องของการอาฆาต พยาบาท และการแก้แค้นเข่นฆ่า ทดแทนกันด้วยเลือด เฉกเช่นในยุคอนารยชนเป็นเรื่องต้องห้าม การจองเวรล้างผลาญกันด้วยเลือดต้องสิ้นสุดอย่างเด็ดขาด

โอ้ อารยะชนทั้งหลาย บรรดาบ่าวทาส คนใช้ของพวกท่าน ที่อยู่ในความดูแลของพวกท่านนั้น จงเลี้ยงดูพวกเขาด้วยอาหารและเครื่องดื่มที่พวกท่านบริโภค และจงให้เสื้อผ้า เครื่องนุ่งห่มแก่พวกเขาด้วยอาภรณ์ที่พวกท่านใช้ หากพวกเขาได้กระทำในสิ่งที่เป็นความผิดพลาด ที่ท่านไม่ปรารถนาจะอภัยให้พวกเขา ก็จงแยกทางกับเขาเสีย อย่าทำร้าย ทารุณกรรม เฆี่ยนตีพวกเขา เพราะเขาต่างก็เป็นบ่าวของพระผู้บริรักษ์เช่นเดียวกับพวกเรา

โอ้ ประชาราษฎร์ทั้งหลาย มารร้ายนั้นได้หมดสิ้นซึ่งความหวังทั้งมวลที่จะได้รับการเคารพบูชาในปฐพีของพวกท่านแล้ว แต่กระนั้นก็ตามมันยังเป็นห่วงที่จะกำหนดพฤติกรรมอันต่ำต้อยของพวกท่านอยู่ เพราะฉะนั้นจงระวังมันไว้เถิดเพื่อความปลอดภัยแห่งตัวท่าน และศาสนทูตของท่าน

โอ้ ปวงชนทั้งหลายพวกท่านจงระลึกและจดจำในสิ่งที่ฉันกล่าว พวกท่านต้องระลึกอยู่เสมอว่า มุสลิมทุกคนมีสถานะภาพเป็นพี่น้องกัน พวกท่านทั้งหลายมีความเสมอภาคเท่าเทียมกัน และขอให้ทุกคนพอใจในสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ความรับผิดชอบที่เรามีอยู่เสมอหน้ากัน พวกท่านแต่ละคนล้วนเป็นประชาชาติเดียวกัน จงปกปักพิทักษ์รักษาตัวของท่านให้ห่างไกลจากความอยุติธรรมทุกกรณี ขอให้บุคคลที่อยู่ ณ ที่นี้ จงนำสิ่งที่ได้ยินจากฉันไปบอกเล่าแก่บุคคลที่เขามิได้มาอยู่ ณ ที่นี้ เพราะอาจเป็นไปได้ว่าบุคคลที่ไม่ได้รับการบอกเล่านั้น อาจจะจำจารึกได้ดีกว่าบุคคลที่ได้ยินไปจากฉันโดยตรงก็เป็นได้ และผู้ที่ได้รับความไว้วางใจ เขาจะต้องไม่ให้ผู้ที่ไว้เนื้อเชื่อใจเขาต้องประสบความผิดหวัง

โอ้ ผู้ศรัทธาทั้งหลาย หากเมื่อถึงเวลาที่ฉันต้องจากพวกท่านไปแล้ว พวกท่านจงอย่าได้หันกลับไปต่อสู้เป็นปฏิปักษ์หลั่งเลือดกัน เหมือนอย่างเช่นสมัยแห่งความงมงายและโง่เขลาเบาปัญญา ดังที่ได้ผันผ่านมา แท้จริงฉันได้มอบสิ่งหนึ่งแก่พวกท่านทั้งหลาย ซึ่งถ้าพวกท่านยึดเอาไว้อย่างมั่นคงแล้ว ท่านทั้งหลายจะไม่หลงทางออกไปสู่แนวทางที่เหลวไหลเป็นอันขาด สิ่งนั้นคือ อัล-กุรอาน และ ซุนนะฮฺ ของฉัน

โอ้ ศรัทธาชนทั้งหลาย แท้จริงพระผู้เป็นเจ้าของพวกท่านนั้นมีพระองค์เดียว ต้นตระกูลของพวกท่านสืบมาจากเชื้อสายเดียวกัน นั่นคืออาดัม และอาดัมนั้นถูกสร้างมาจากดิน แท้จริงผู้ที่ทรงเกรียติในหมู่พวกเจ้านั้นคือผู้ที่มีความยำเกรงต่ออัลลอฮฺ มากที่สุด ชนอาหรับหาใช่จะโดดเด่นกว่าชนชาติอื่น และชนชาติอื่นหาใช่จะเลอเลิศกว่าคนอาหรับไม่ นอกจากพวกเขามีความยำเกรงมากกว่ากันเท่านั้น

โอ้ มวลผู้ศรัทธาทั้งหลาย จงสดับรับฟังถ้อยวาจาของฉันให้ดี จงรู้เถิดว่ามวลมุสลิมนั้นเป็นพี่น้องกัน และจงรู้เถิดว่าบรรดามุสลิมคือภารดรภาพน้ำหนึ่งใจเดียวกัน มีสิทธิและหน้าที่ทัดเทียมกัน ท่านทั้งหลายเป็นเครือญาติกันหมด จะไม่มีอะไรเป็นของมุสลิมคนหนึ่งคนใดโดยชอบธรรม นอกจากว่าเขาผู้นั้นจะมอบให้ด้วยความเต็มใจ และอย่าให้ใครในหมู่พวกท่านกดขี่ ข่มเหงทาสหรือลิดรอนสิทธิของเขาด้วยความไม่ชอบธรรม เพราะฉะนั้นจงอย่าประพฤติ ปฏิบัติการอยุติธรรม ต่อตัวของท่านและพี่น้องของท่าน


และท่านได้อ่านโองการจากคัมภีร์อัล-กุรอานซึ่งมีใจความว่า

วันนี้ ข้า (อัลลอฮฺ) ได้ให้ศาสนาไว้แก่พวกเจ้าอย่างพร้อมสรรพ ได้มอบกรุณาธิคุณของข้าให้แก่พวกเจ้าไว้อย่างครบถ้วน และข้ายินดีเลือกสรรอิสลามให้เป็นแนวทางที่ดียิ่งสำหรับพวกเจ้า

(Al-Quran อัลมาดิอะฮฺ : 3)

ณ ทุ่งอะรอฟะฮฺ วันที่ 8 เดือนซุลฮิจญะฮฺ ฮ.ศ. 10

โอ้นะบี อัลลอฮฺนั้นเพียงพอแก่เจ้า และแก่ผู้ปฏิบัติตามเจ้าด้วย อันได้แก่ผู้ศรัทธาทั้งหลาย

(Al-Quran 8:64)

แหล่งที่มา : จากหนังสือ มุสลิม คุณอ่อนแอหรือไม่ ? คัดลอกจาก http://www.islammore.com/main/


#ปราชญ์ในนิติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
#นิติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
#วีรบุรุษอิสลาม_Islamic_Society_Online
#เรื่องเล่าคติเตือนใจ_Islamic_Society_Online
#ปาฏิหาริย์แห่งอิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "ปัจฉิมโอวาท ของท่านนบีมูฮัมหมัด ศ็อลลอลอฮุอลัยฮิวะซัลลัม"

วันเสาร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

ชีวประวัติท่านนบียูนุส

ชีวประวัติท่านนบียูนุส



ประวัติ นบียูนุส อะลัยฮิสสลาม

ศาสดายูนุส (อ.) ยังถูกเรียกขานด้วยชื่ออื่นอีกสองชื่อ คือ "ซัน-นูน" (ราชาแห่งปลา) และ "ซอฮิบิล-ฮุต" (สหายของปลา) ในคัมภีร์อัล-กุรอานได้กล่าวถึงศาสดายูนุส(อ.) ดังนี้

"และจงรำลึกถึงเรื่องราวของซันนูน (ศาสดายูนุส) เมื่อเขาจากไปด้วยความโกรธพรรคพวกของเขา แล้วเขาคิดว่าเราจะไม่ทำให้เขาได้รับความลำบาก แล้วเขาก็ร้องเรียนท่ามกลางความมืดทึบทะมึนว่า 'ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์ท่าน มหาบริสุทธิ์แห่งพระองค์ท่าน แท้จริงข้าพระองค์เป็นผู้หนึ่งในหมู่ผู้อธรรมทั้งหลาย'" (อัล-กุรอาน 21/87)

"ดังนั้น เจ้า (มุฮัมมัด) จงอดทนต่อไปเถิดต่อบัญชาของพระเจ้าของเจ้า และอย่าเป็นดั่งเช่นสหายของปลา (นะบียูนุส) ขณะที่เขาวิงวอนเขาอยู่ในสภาพที่ระทมทุกข์" (อัล-กุรอาน 68/48)

เมื่อศาสดาฮูด (อ.) ปรึกษากับท่าน และได้สั่งให้ศาสดายูนุส (อ.) ไปยังเมืองนิเนเวห์ (บาบิโลน) เพื่อเผยแพร่ศาสนาของอัลลอฮฺ นิเนเวห์ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำไทกริส เป็นเมืองหลวงของอัสซีเรีย ชาวเมืองนี้เป็นคนหยิ่งยโสและอวดดื้อถือดี พวกเขาใช้ชีวิตอยู่ในความบาป ศาสดายูนุส (อ.) พยายามสุดความสามารถที่จะเปลี่ยนแปลงพวกเขา แต่พวกเขากลับไม่สนใจรับฟังคำสอนและคำเตือนของท่านเลย

ในไม่ช้าท่านเริ่มรู้สึกเบื่อหน่าย และความอ่อนแอนของมนุษย์ก็มีอำนาจเหนือท่าน ท่านเกิดความเดือดดาล และร้องขอให้อัลลอฮฺลงโทษชาวเมืองนิเนเวห์ ท่านหมดความอดทนและออกจากเมืองนั้นโดยไม่รอฟังคำบัญชาจากอัลลอฮฺ

ศาสดายูนุส (อ.) มุ่งหน้าออกทะเลโดยลงเรือลำหนึ่ง โชคร้ายที่เรือลำนั้นต้องพบกับพายุ ลูกเรือกล่าวโทษว่าท่านเป็นตัวนำความโชคร้ายมาสู่เรือลำนั้น พวกเขาจึงตัดสินใจโยนศาสดายูนุส( อ.) ลงจากเรือ ศาสดายูนุส (อ.) จึงถูกโยนลงทะเลเพื่อความปลอดภัยของเรือ

เมื่อศาสดายูนุส (อ.) ตกลงไปในทะเลแล้ว ปลาใหญ่ตัวหนึ่งที่มีท้องใหญ่โตได้กลืนท่านลงไป ท่านตกอยู่ในอันตรายสุดขีด ท่านจึงได้สำนึกว่าท่านต้องรับทุกข์จากการละทิ้งหน้าที่ในฐานะศาสดาของท่าน แทนที่ท่านจะวิ่งหนีปัญหา ท่านต้องไว้วางใจในพลังอำนาจของอัลลอฮฺ แม้จะอยู่ในสภาวะที่ทำน่าท้อใจก็ตาม

ศาสดายูนุส (อ.) รู้สึกสำนึกเสียใจในความผิด และวิงวอนขอพรต่ออัลลอฮฺด้วยน้ำเสียงที่อ่อนน้อมถ่อมตนมากที่สุด การขออภัยโทษของท่านถูกตอบรับ และท่านถูกนำตัวมาส่งขึ้นฝั่ง ท่านได้พักอยู่ใต้ร่มเงาไม้ ในคัมภีร์อัล-กุรอานได้กล่าวถึงเหตุการณ์นี้ไว้ในโองการต่อไปนี้

"และแท้จริงยูนุสนั้นอยู่ในหมู่ผู้ที่ถูกส่งมาเป็นศาสนทูต จงรำลึก ขณะที่เขาได้หนีไปยังเรือที่บรรทุกผู้คนมาเต็มเพียบ ดังนั้น ยูนุสได้เข้าร่วมจับฉลาก แล้วเขาจึงอยู่ในหมู่ผู้ถูกพิชิต (แพ้การจับฉลาก) แล้วปลาตัวใหญ่ได้กลืนเขา และเขาสมควรที่จะถูกตำหนิ หากว่าเขามิได้เป็นคนหนึ่งในหมู่ผู้แซ่ซร้องสดุดีแล้ว แน่นอน เขาจะอยู่ในท้องปลาจวบจนกระทั่งวันฟื้นคืนชีพ แล้วเราได้เหวี่ยงเขาขึ้นบนที่โล่งริมฝั่งในสภาพที่ป่วย และเราได้ให้มีต้นไม้เลื้อย (จำพวกน้ำเต้าและบวบ) งอกเงยขึ้นปกคลุมตัวเขา และเราได้ส่งเขาไปยัง (หมู่บ้านของเขา) มีจำนวนหนึ่งแสนคนหรือเกินกว่านั้น แล้วพวกเขาก็ศรัทธา ดังนั้น เราจึงปล่อยให้พวกเขามีความสุขสำราญชั่วระยะเวลาหนึ่ง"(อัลล-กุรอาน 37/139-148)

เมื่อศาสดายูนุส (อ.) หายป่วย ท่านได้รับบัญชาได้กลับไปยังเมืองเดิมนั้นเพื่อทำภารกิจของท่านให้สำเร็จ ด้วยการทำให้ประชาชนที่นั่นเลิกใช้ชีวิตที่ปราศจากศีลธรรมครั้งนี้ ประชาชนชาวนิเนเวห์ได้กลับตัวและปฏิบัติตามคำสอนศาสดาของพวกเขา อัลลอฮฺทรงประทานความเมตตาแก่พวกเขาและพวกเขาเจริญรุ่งเรืองอย่างมากมาย พวกเขาได้รับชีวิตใหม่ที่รุ่งโรจน์แล้ว

"...เมื่อพวกเขาศรัทธา เราได้ปลดเปลื้องการลงโทษอันอัปยศจากพวกเขาในการมีชีวิตในโลกนี้ และเราได้ยืดเวลาระยะหนึ่งแก่พวกเขา" (อัล-กุรอาน 10/98)

แต่แล้ว ประชาชนชาวนิเนเวห์ก็ได้กลับไปใช้ชีวิตในแบบชั่วร้ายอีกครั้งหนึ่ง พวกเขาลุ่มหลงในการกราบไหว้บูชาเทวรูปและเสพสุราเมรัย และในที่สุดพวกเขาก็ถูกทำลายล้างโดยพวกซิเธียน ศาสดายูนุส (อ.) เสียชีวิตในเมืองนิเนเวห์ และถูกฝังอยู่ที่นั่น นักประวัติศาสตร์บางคนกล่าวว่าสุสานของท่านอยู่ในหมู่บ้านฮัลมอล ซึ่งอยู่ห่างจากเมืองเฮบรอนไปประมาณ 10 ไมล์

read more "ชีวประวัติท่านนบียูนุส"

วันพฤหัสบดีที่ 5 กรกฎาคม พ.ศ. 2561

คัมภีร์อัล-กุรอานกับคริสตชน : ภาคที่ 10

คัมภีร์อัล-กุรอานกับคริสตชน : ภาคที่ 10 “คุณลักษะของพระเจ้า, เรื่องราวของโนอาห์ และอับราฮัม”

(อาลี เสือสมิง)


คัมภีร์อัล-กุรอานได้กล่าวถึงคุณลักษณะและพระนามของเอกองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) เอาไว้โดยละเอียดและชัดเจนโดยคุณลักษณะของพระองค์นั้นบริสุทธิ์และหมดจดจากความบกพร่องทั้งปวง มีความสมบูรณ์เป็นที่สุด และมีความสมบูรณ์แห่งคุณลักษณะของพระองค์นั้นเป็นมาแต่เดิมโดยไม่มีจุดเริ่มต้น และเป็นเช่นนั้นโดยไม่มีที่สิ้นสุด ไม่มีสิ่งใดเหมือนหรือคล้ายคลึงกับคุณลักษณะของพระองค์ กล่าวคือคุณลักษณะใดๆ ก็ตามของสรรพสิ่งทั้งปวงที่พระองค์ทรงสร้างนั่นไม่ใช่คุณลักษณะของพระองค์ เพราะคุณลักษณะของพระองค์ไม่เหมือนสิ่งใดในสรรพสิ่งทั้งปวง

พระองค์ตรัสว่า :


لَيْسَ كَمِثْلِهِ شَيْءٌ وَهُوالسَّمِيعُ الْبَصِيرُ‌


ความว่า “สิ่งหนึ่งสิ่งใดไม่เหมือนพระองค์เลย และพระองค์ทรงได้ยินยิ่ง อีกทั้งทรงเห็นยิ่ง” (อัช-ชูรอ : 11)


กล่าวคือการทรงได้ยินและการทรงเห็นของพระองค์นั้นเป็นคุณลักษณะเฉพาะของพระองค์ที่ไม่มีสิ่งใดเลยที่จะคล้ายคลึงหรือเสมอเหมือน การได้ยินและการเห็นของพระองค์มิใช่คุณลักษณะของสรรพสิ่งใดๆ ที่ถูกสร้าง และการได้ยินตลอดจนการเห็นของสรรพสิ่งทั้งหลายที่ถูกสร้างนั่นก็มิใช่คุณลักษณะของพระองค์ เมื่อมิใช่ก็ย่อมไม่สามารถนำมาเปรียบหรือเทียบเคียงได้

เมื่อไม่เหมือน ไม่คล้ายคลึงก็ไม่อาจนำมาเปรียบว่าเหมือนหรือคล้ายกันได้ เพราะพระองค์คือพระผู้ทรงสร้าง และสรรพสิ่งทั้งปวงที่นอกเหนือจากพระองค์ล้วนเป็นสิ่งที่ถูกสร้าง ผู้สร้างกับสิ่งที่ถูกสร้างย่อมไม่เหมือนกัน พระองค์จึงไม่เหมือนสิ่งใด และไม่มีสิ่งใดเหมือนพระองค์ แม้คุณลักษณะหนึ่งในสิ่งที่ถูกสร้างยังไม่เหมือนกัน ยังมีความแตกต่างกัน

แล้วเหตุไฉนเล่าที่จะกล่าวว่าคุณลักษณะของพระองค์เหมือนกับคุณลักษณะของสิ่งที่ถูกสร้าง ดังนั้นสิ่งใดก็ตามที่มนุษย์ใช้จินตนาการของตนว่าสิ่งนั้นคือคุณลักษณะของพระองค์ สิ่งนั้นย่อมมิใช่คุณลักษณะของพระองค์ เพราะคุณลักษณะของพระองค์นั้นจินตนาการของมนุษย์หยั่งไม่ถึง

สิ่งที่มนุษย์คิดในจิตใจของตนว่าพระองค์เป็นเช่นนั้นเป็นเช่นนี้นั่นย่อมมิใช่คุณลักษณะของพระองค์ เพราะพระองค์ไม่ได้มีคุณลักษณะตามจินตนาการและความคิดปรุงแต่งของมนุษย์ พระองค์ไม่เหมือนสิ่งนั้นสิ่งนี้ สิ่งนี้สิ่งนั้นก็ไม่เหมือนคุณลักษณะของพระองค์ แล้วจะว่าพระองค์เป็นเช่นนั้นเป็นเช่นนี้ได้อย่างไร?

เหตุนี้ผู้ศรัทธาในพระองค์จึงเชื่อและศรัทธาในสิ่งที่พระองค์ทรงบอกให้รู้ว่าพระองค์มีคุณลักษณะใด และศรัทธาว่าคุณลักษณะที่พระองค์ทรงบอกให้รู้ผ่านการดลใจของเหล่าศาสนทูตนั้นไม่เหมือนสิ่งใด และไม่มีสิ่งใดเหมือน มนุษย์สามารถรับรู้ว่าพระองค์ทรงมีคุณลักษณะใดตามที่พระองค์ทรงบอกให้รู้ด้วยการดลใจให้เหล่าศาสนทูตของพระองค์มาประกาศให้รับรู้และศรัทธาว่าพระองค์ทรงมีคุณลักษณะนั้นๆ แต่มนุษย์ย่อมมิอาจหยั่งรู้ได้ว่าคุณลักษณะนั้นๆ เป็นอย่างไร

รู้แต่เพียงว่าไม่เหมือนสิ่งใด และไม่มีสิ่งใดเหมือนกับคุณลักษณะของพระองค์ เพราะสิ่งใดๆ ก็ตามที่มนุษย์รู้และมีจินตนาการต่อสิ่งนั้นๆ ว่ามีคุณลักษณะเป็นเช่นนั้นเป็นเช่นนี้นั่นเป็นสิ่งที่สามารถนำมาเปรียบเทียบหรือเทียบเคียงได้ว่าเหมือนหรือไม่เหมือน ใช่หรือไม่ใช่ แต่พระผู้เป็นเจ้าทรงอยู่เหนือความรู้และจินตนาการของมนุษย์ที่สุดจะหยั่งถึง มนุษย์จึงไม่สามารถนำสิ่งที่ตนไม่รู้ว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้นำไปเทียบกับสิ่งที่ตนรู้ว่าเป็นอย่างนั้นเป็นอย่างนี้ได้เลย

เมื่อไม่สามารถเปรียบเทียบได้ก็ย่อมไม่อาจที่จะพูดได้ว่าเหมือนกันหรือคล้ายกัน สิ่งที่พูดได้เพียงประการเดียวก็คือพูดตามที่พระองค์ทรงบอกให้รู้ เมื่อพระองค์ทรงบอกให้รู้ว่า พระองค์ไม่เหมือนสิ่งใดๆ เลย มนุษย์ก็จำต้องเชื่อและศรัทธาตามที่พระองค์ทรงบอกให้รู้นั้น

หากไม่เชื่อและไม่ศรัทธาตามที่พระองค์ทรงบอกให้รู้ ก็เท่ากับว่า มนุษย์กำลังก้าวล่วงไปสู่สิ่งที่ตนไม่รู้และหยั่งไม่ถึง ซึ่งนี่เป็นสภาพของบรรดาผู้ปฏิเสธพระผู้เป็นเจ้าส่วนใหญ่ที่ก้าวล่วงไปสู่สิ่งที่ตนไม่รู้ แต่ก็ดื้อรั้นและไม่ยอมรับว่าตนไม่รู้ ในที่สุดพวกเขาก็ตกเป็นเหยื่ออันโอชะของมารร้ายที่ล่อลวงไปสู่การตั้งภาคีกับพระองค์ด้วยการนำเอาการเปรียบเทียบมาใช้เพื่อสนองจินตนาการของตนโดยมีอยู่ 2 ลักษณะคือ

1. นำเอาพระผู้เป็นเจ้าไปเปรียบเทียบกับสรรพสิ่งทั้งหลายที่มนุษย์รู้และมีจินตนาการปรุงแต่งโดยกล่าวตู่ว่าพระองค์ทรงมีลักษณะเหมือนมนุษย์ที่ปกติบ้าง มนุษย์ที่ไม่เหมือนมนุษย์บ้าง เช่น มีสี่ใบหน้า มีสี่มือบ้าง มีตารอบตัวบ้าง เหมือนกับสัตว์บางชนิดที่ผสมรูปทรงเข้าด้วยกันบ้าง พวกนี้ให้คุณลักษณะของพระผู้เป็นเจ้าตามจินตนาการของตน สุดแล้วแต่ว่าจินตนาการนั้นจะเสกสรรค์ปั้นแต่งเป็นแบบไหน

ซึ่งเป็นการเปรียบกับสิ่งที่ตนรู้และมีจินตนาการแล้วก็อุปโลกว่าสิ่งที่พวกเขาสร้างขึ้นตามจินตนาการแล้วก็อุปโลกว่าสิ่งที่พวกเขาสร้างขึ้นตามจินตนาการและการเปรียบเทียบของตนว่านั่นคือพระผู้เป็นเจ้า ทั้งๆ ที่สิ่งนั้นเป็นเพียงวัตถุที่พวกเขาสร้างขึ้นมาเอง

2. นำเอาสิ่งถูกสร้างเช่น มนุษย์ เป็นต้นไปเปรียบกับพระเจ้า คือนำเอาสิ่งที่ตนเรียนรู้และเห็นไปเปรียบกับสิ่งที่ตนไม่รู้ไม่เห็น และจินตนาการไปไม่ถึง พวกนี้คือพวกที่กล่าวอ้างว่า มนุษย์ คือพระเจ้า หรือเป็นหนึ่งในพระภาคของพระเจ้า เป็นต้น

ทั้ง 2 ลักษณะเหมือนกันตรงที่เป็นการเปรียบสิ่งที่ถูกสร้างกับพระผู้ทรงสร้าง แต่ลักษณะแรกเป็นการนำเอาสิ่งที่ตนไม่รู้ และหยั่งไม่ถึงคือพระเจ้านำไปเปรียบกับสิ่งที่ตนรู้และมีจินตนาการแล้วอุปโลกนี้ว่าสิ่งนั้นเป็นพระเจ้าหรือพระเจ้ามีคุณลักษณะเช่นนั้น ส่วนลักษณะที่สองเป็นการนำเอาสิ่งที่ตนรู้อยู่แล้วว่าไม่ใช่พระเจ้า เห็นอยู่ตำตาว่าเป็นสิ่งที่ถูกสร้างจะเป็นมนุษย์หรือวัตถุก็ตามนำเอาไปเปรียบเทียบกับสิ่งที่ตนไม่รู้ และจินตนาการหยั่งไม่ถึง แล้วก็อ้างว่าเป็นพระเจ้าหรือเป็นส่วนหนึ่งของพระเจ้าโดยใช้จินตนาการของตนด้วยการแบ่งพระภาคของพระเจ้าออกเสียเพื่อนำเอาสิ่งนั้นเข้าไปเป็นส่วนหนึ่งในพระภาคของพระองค์

ทั้ง 2 ลักษณะเป็นการตั้งภาคีต่อพระผู้เป็นเจ้าด้วยกันทั้งคู่ เป็นการเปรียบเทียบแบบบนลงล่าง และล่างขึ้นบนคือเป็นไปทั้งสองทางนั้นเอง หรือจะว่าอันหนึ่งเป็นการดึงฟ้าให้ต่ำลงมาเรี่ยดิน อีกอันหนึ่งยกดินให้สูงเทียมฟ้าก็คงไม่ผิด ซึ่งผิดทั้งสองทาง เพราะฟ้าก็คือฟ้าอยู่เหนือศีรษะ ต่อให้ทำท่าหกสูงเอาเท้าขึ้นบนเอาหัวลงล่าง ฟ้าก็คือฟ้าอยู่ข้างบนนั้นแล ไม่ได้อยู่ใต้ฝ่าเท้าแต่อย่างใด ดินก็คือดินอยู่ใต้ฝ่าเท้า ต่อให้ทำท่าหกสูงเอาเท้าชี้ฟ้าเอาหัวปักดิน ดินก็คือดินอยู่ที่ข้างล่างนั้นแล ไม่ได้อยู่เหนือฝ่าเท้าแต่อย่างใด!

ฉันใดก็ฉันนั้น พระเจ้าก็คือพระเจ้าพระผู้ทรงสร้าง มนุษย์หรือวัตถุก็คือสิ่งที่ถูกสร้าง พระเจ้าจะเป็นสิ่งที่ถูกสร้างก็ไม่มีทาง สิ่งที่ถูกสร้างถูกบังเกิดจะเป็นพระเจ้าก็ไม่มีทาง มนุษย์ที่อ้างว่าพระเจ้ามีรูปร่างหน้าตาและลักษณะเช่นนั้นเช่นนี้ หรืออ้างว่าผู้ที่มีรูปร่างหน้าตาและลักษณะเช่นนั้นเช่นนี้เป็นพระเจ้าก็ไม่ต่างอะไรกับคนที่ทำท่าหกสูงและสำคัญว่าตนเหยียบผืนฟ้าได้ และแบกเอาดินไว้เหนือศีรษะตนนั่นแล

เพราะจริงๆ แล้วคนที่ทำท่าทางเช่นนั้นและสำคัญว่าตนทำสิ่งที่กล่าวอ้างก็คือคนที่ใช้มือแทนเท้าเดินบนพื้นดิน ไม่ได้เดินเหยียบฟ้า และไม่ได้แบกผืนดินเอาไว้บนหัวของตน แต่แบกน้ำหนักร่างกายของตนที่ทิ้งลงมายังมือทั้งสองข้างนั้นต่างหากเล่า และนั่นก็เป็นความผิดปกติที่ฝืนทำอยู่ได้ไม่นานดอกท้ายที่สุดแล้วก็ต้องกลับมาอยู่ในท่าปกติของมนุษย์ทั่วไปที่ใช้เท้าเดินบนดิน มีฟ้าอยู่บนหัวของตน การตั้งภาคีกับเอกองค์พระผู้เป็นเจ้าก็เช่นกันเป็นความผิดปกติและกลับตาลปัตร เป็นความเท็จเทียมที่ในที่สุดก็ต้องวิปลาสนาการไปเป็นธรรมดา

ส่วนสัจธรรมนั้นเป็นของปกติ เป็นของจริงที่มั่นคงถาวรไม่เสื่อมสูญ พระเจ้าองค์เดียวคือสัจธรรมเป็นความจริงที่มั่นคงถาวรไม่เปลี่ยนแปร แต่การตั้งภาคีทั้งสองลักษณะเป็นความเท็จเทียม เป็นความสับสน ซึ่งจำต้องสูญสลายไป ดังที่พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ตรัสว่า :


وَقُلْ جَاءَ الْحَقُّ وَزَهَقَ الْبَاطِلُ إِنَّ الْبَاطِلَ كَانَ زَهُوقًا


ความว่า : “และจงกล่าวเถิด (โอ้ศาสนทูตของอัลลอฮฺ) ว่าสัจธรรมนั้นมาแล้ว และความเท็จเทียม (การตั้งภาคี) นั้นวิปลาสไป แท้จริงความเท็จเทียมนั้นเป็นสิ่งที่วิปลาสนาการในที่สุด” (อัล-อิสรออฺ : 81)


فَذَٰلِكُمُ اللَّـهُ رَ‌بُّكُمُ الْحَقُّ فَمَاذَا بَعْدَ الْحَقِّ إِلَّا الضَّلَالُ فَأَنَّىٰ تُصْرَ‌فُونَ


ความว่า : นั้นแหละท่านทั้งหลาย อัลลอฮฺคือพระผู้อภิบาลที่แท้จริงของพวกท่าน ฉะนั้นย่อมไม่มีสิ่งใดอีกหลังความจริงแท้นอกเสียจากความหลงผิด ก็อย่างไรเล่าที่พวกเจ้าถูก (มารร้ายชักจูง) ให้ ผินออก (จากความจริงแท้นั้นสู่การตั้งภาคีและความหลงผิด)” (ยูนุส : 32)


ความจริงแท้อันประจักษ์ชัด (اَلْحقَّ الْمُبِيْنُ) ซึ่งพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงส่งท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) มายังมนุษยชาติทั้งมวลและทรงมีพระบัญชาให้ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ได้ประกาศเป็นพระวจนะของพระองค์ในคัมภีร์อัล-กุรอานคือ ความเป็นพระผู้ทรงเอกะของพระองค์และการปฏิเสธภาคีทั้งหลายไม่ว่าภาคีนั้นจะถูกให้ลักษณะเช่นใดก็ตาม

อาทิ ภาคีที่ถูกกล่าวอ้างว่าเป็นพระบุตรของพระองค์ หรือการกล่าวตู่ว่าอัล-มะสีหฺ อีซา บุตรของมัรยัม (อ.ล.) คือพระผู้เป็นเจ้า เป็นต้น อัล-กุรอานประกาศชัดเจนว่าพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ไม่มีภาคีเคียงคู่พระองค์ ไม่มีพระบุตร ไม่มีสิ่งใดหรือผู้ใดเสมอเหมือนพระองค์ ในขณะเดียวกันอัล-กุรอานก็ประกาศชัดเจนว่า อัล-มะสีหฺ อีซา บุตรมัรยัม (อ.ล.) มิใช่พระบุตรของพระองค์ แต่เป็นบ่าวผู้ภักดีที่ได้รับการเลือกให้เป็นผู้เผยพระวจนะและเป็นศาสนทูตของพระองค์

พระองค์ทรงบังเกิดอัล-มะสีหฺ อีซา (อ.ล.) ด้วยพระวาทะของพระองค์ว่า “จงเป็น” แล้วอัล-มะสีหฺ อีซา (อ.ล.) ก็เป็นขึ้นโดยไม่มีบิดา มีแต่พระนางมัรยัม (อ.ล.) ผู้เป็นมารดาเพียงฝ่ายเดียว พระองค์ทรงประทานหมายสำคัญและปาฏิหาริย์อันเป็นที่น่าอัศจรรย์แก่อัล-มะสีหฺ อีซา (อ.ล.) เพื่อเป็นหลักฐานยืนยันถึงความสัจจริงของท่านในการประกาศสาส์นของพระองค์ในหมู่วงศ์วานอิสราเอลที่กำลังห่างออกจากพระธรรมบัญญัติของพระองค์พร้อมทั้งยังทรงประทานคัมภีรื “อัล-อินญีล” ให้แก่อัล-มะสีหฺ อีซา (อ.ล.) เพื่อเป็นทางนำแก่วงศ์วานอิสราเอล

การประกาศสาส์นของพระผู้เป็นเจ้าโดย อัล-มะสีหฺ อีซา บุตร มัรยัม (อ.ล.) เป็นการสืบสานภาระกิจต่อจาก นบียะหฺยา บุตร ซะกะรียา (ยอห์น ผู้ให้รับบัพติศมา บุตร เศคาริยา) และอัล-มะสีหฺ อีซา (อ.ล.) ได้ปฏิบัติภาระกิจในการประกาศสาส์นของพระผู้เป็นเจ้าเป็นเวลา 3 ปี 3 เดือน กับอีก 3 วัน ตามที่ อัช-ชะฮฺรุสตานียฺ ระบุไว้ (อัล-มิลัล วัน-นิหัลฺ เล่มที่ 1 หน้า 209 ; ดู “พระเยซูคริสต์” ของคุณพ่อพอลล์อิเลียส หน้า 32)

และภารกิจนั้นก็ถูกสืบสานให้สำเร็จทุกประการด้วยบการประกาศสาส์นนั้นของพระผู้เป็นเจ้าโดยท่านนบีมุฮัมมมัด (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ผู้เป็นบ่าวอันประเสริฐที่อัล-มะสีหฺ อีซา (อ.ล.) ประกาศไว้แก่วงศ์วานอิสราเอล (بُشْرى عِيْس) หรือพระวิญญาณบริสุทธิ์ที่อัล-มะสีหฺ อีซา (อ.ล.) สัญญาไว้กับอัครทูตของพระองค์ว่าจะทูลขอให้แก่พวกเขาตามที่ระบุไว้ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ ฉบับของยอห์นซึ่งเราได้กล่าวโดยละเอียดถึงเรื่องนี้มาก่อนแล้ว

อาจกล่าวได้ว่า เหตุผลอันล้ำลึกประการหนึ่งที่ทำให้การประกาศสาส์นของท่าน นบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) เป็นการประกาศแก่ชาวโลกทั้งมวล โดยมิได้จำกัดอยู่เฉพาะชาวอาหรับผู้เป็นพงศ์พันธุ์ของอิชมาอีล บุตรอับราฮัม (อ.ล.) แต่ครอบคลุมมนุษยชาติทุกเผ่าพันธุ์และสีผิว ทั้งชาวอาหรับ ชาวยิว โรมัน เปอร์เซีย ฯลฯ

นั่นเป็นเพราะว่าหลักคำสอนของอัล-มะสีหฺ อีซา (อ.ล.) ได้ถูกบิดเบือนและแพร่กระจายออกไปนอกแคว้นยูเดียของวงศ์วานอิสราเอลทั้งตะวันออกและตะวันตก เหตุนี้เองมีความจำเป็นที่กลายเป็นคุณลักษณะพิเศษของการประกาศสาส์นโดยศาสนทูตสุดท้ายว่าไม่เจาะจงกับกลุ่มชนหนึ่งกลุ่มชนใด หรือดินแดนหนึ่งดินแดนใดโดยเฉพาะอีกต่อไป หากแต่เป็นคำประกาศอันเป็นสากลที่ถูกส่งออกไปจากจุดศูนย์กลางของโลก คือแคว้นอัล-หิญาซฺ แผ่ไปยังทุกทิศซึ่งอัล-กุรอานได้ระบุว่า :


وَأَرْ‌سَلْنَاكَ لِلنَّاسِ رَ‌سُولًا وَكَفَىٰ بِاللَّـهِ شَهِيدًا


ความว่า : “และเรา (อัลลอฮฺ) ได้ส่งท่าน (มุฮัมมัด) ให้เป็นศาสนทูตแก่มนุษย์ชาติและพอเพียงแล้วที่อัลลอฮฺทรงเป็นสักขีพยาน” (อัน-นิสาอฺ : 79)


وَمَا أَرْ‌سَلْنَاكَ إِلَّا رَ‌حْمَةً لِّلْعَالَمِينَ


ความว่า : “และเรามิได้ส่งท่านมานอกเสียจากเป็นความเมตตาแก่โลกทั้งผอง” (อัล-อัมบิยาอฺ : 107)


وَمَا أَرْ‌سَلْنَاكَ إِلَّا كَافَّةً لِّلنَّاسِ بَشِيرً‌ا وَنَذِيرً‌اوَلَـٰكِنَّ أَكْثَرَ‌ النَّاسِ لَا يَعْلَمُونَ


ความว่า : “และเรามิได้ส่งท่านมา (โอ้ มุฮัมมัด) เว้นเสียแต่เป็นผู้ประกาศข่าวดีและเป็นผู้ประกาศคำเตือนแก่มวลมนุษย์ทั้งปวง แต่ทว่ามนุษย์ส่วนมากนั้นพวกเขาไม่รู้” (สะบะอฺ : 28)


เมื่อวงศ์วานอิสราเอล (ชาวยิว) ได้กระจัดกระจายไปทั่วทุกแว่นแคว้นของโลกเก่า (เอเชีย , ยุโรป และอาฟริกา) และผู้ที่เชื่อในศาสนาคริสต์แบบนักบุญเปาโลได้กระจายอยู่ทั่วดินแดนของโลกเก่า โดยมีจักรวรรดิโรมันเป็นศูนย์กลาง การฟื้นฟูหลักคำสอนของพระผู้เป็นเจ้าด้วยการส่งศาสนทูตท่านสุดท้ายมาจึงต้องมีคุณลักษณะที่แตกต่างจากการประกาศสาส์นของพระผู้เป็นเจ้าในยุคก่อนๆ นับแต่ศาสนทูตนัวหฺ (โนอาห์) จวบจนศาสนทูตท่านสุดท้ายของวงศ์วานอิสราเอลคือ อัล-มะสีหฺ อีซา บุตร มัรยัม (อ.ล.) คุณลักษณะดังกล่าวนั้นคือ

1. ผู้ประกาศสาส์นสุดท้ายนั้นมิใช่ชาวยิวหรือชาวคริสต์ แต่เป็นผู้สืบเชื้อสายไปถึงอับราฮัม (อ.ล.) ผู้มีมาก่อนวงศ์วานอิสราเอล ซึ่งก็คือ ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ผู้สืบเชื้อสายถึงอิชมาอีล (อ.ล.) บุตรของอับราฮัม (อ.ล.) ที่เกิดจากนางฮาการ์ (พระนางฮะญัร) ซึ่งพระผู้เป็นเจ้าได้ทรงรับฟังและมีพันธสัญญาเอาไว้

ทั้งนี้พันธสัญญาที่ทรงกระทำไว้กับอับราฮัม (อ.ล.) ในฝ่ายของอิสอัค (อิสหาก) ซึ่งเกิดจากนางซาราห์ (พระนางซารเราะฮฺ) นั้นได้สิ้นสุดลงแล้วเมื่อลูกหลานของอิสราเอลหรือยากอบ (ยะอฺกูบ) ไม่เข้าสุหนัตตามธรรมบัญญัติของโมเสส (อ.ล.) และพันธสัญญานั้นก็ตกแก่วงศ์วานของอิชมาอีล (อ.ล.) คือชาวอาหรับที่ยังคงรักษาพันธสัญญานั้นสืบต่อมา

2. ดินแดนอันเป็นจุดเริ่มต้นของการประกาศสาส์นครั้งสุดท้ายจะต้องเป็นดินแดนที่มิใช่แคว้นยูเดียหรือดินแดนอื่นๆ แต่ต้องเป็นดินแดนที่มีความเกี่ยวพันกับอับราฮัม (อ.ล.) และอิชมาอีล (อ.ล.) บุตรชายคนหัวปีของท่าน ซึ่งก็คือ นครมักกะฮฺ อันเป็นส่วนหนึ่งของปาราน ที่มีคำพยากรณ์ระบุเอาไว้ในคำของผู้เผยพระวจนะรุ่นก่อน และที่นครมักกะฮฺนั้นคือสถานที่ตั้ง บ้านของพระเจ้า (บัยตุลลอฮฺ , เบธเอล) หลังแรกที่อับราฮัม (อ.ล.) และอิชมาอีล (อ.ล.) ได้ยกฐานบ้านแห่งนั้นขึ้นไว้ดัง อัล-กุรอานระบุว่า


مَا كَانَ إِبْرَ‌اهِيمُ يَهُودِيًّا وَلَا نَصْرَ‌انِيًّا وَلَـٰكِن كَانَ حَنِيفًا مُّسْلِمًا وَمَا كَانَ مِنَ الْمُشْرِ‌كِين


ความว่า : “อิบรอฮีม (อับราฮัม) ไม่ได้เป็นทั้งยะฮูดียฺ (ยิว) และนัศรอนียฺ (คริสตชน) แต่ทว่าอิบรอฮีมเป็นผู้ที่เลี่ยงจากความเท็จเทียมสู่ศาสนาอันเป็นสัจธรรม เป็นผู้จำนนตนต่อพระผู้เป็นเจ้า และอิบรอฮีมไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาผู้ตั้งภาคี” (อาลิ-อิมรอน : 67)


إِنَّ أَوْلَى النَّاسِ بِإِبْرَ‌اهِيمَ لَلَّذِينَ اتَّبَعُوهُ وَهَـٰذَا النَّبِيُّ وَالَّذِينَ آمَنُوا وَاللَّـهُ وَلِيُّ الْمُؤْمِنِينَ


ความว่า : “แท้จริงมนุษย์ที่สมควรที่สุดต่ออิบรอฮีมนั้นคือบรรดาผู้ที่ประพฤติตามอิบรอฮีมและนบีผู้นั้น (คือ นบีมุฮัมมัด ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ตลอดจนบรรดาผู้ศรัทธา และอัลลอฮฺทรงเป็นผู้ปกครองดูแลเหล่าศรัทธาชน” (อาลิ-อิมรอน : 68)


3. พระธรรมบัญญัติที่ศาสนทูตท่านสุดท้ายนำมาประกาศแก่มวลมนุษยชาตินั้นจะสอดคล้องกับพระธรรมบัญญัติที่เหล่าผู้เผยพระวจนะได้เคยประกาศไว้เป็นสาระธรรมเดียวกัน เพราะมาจากแหล่งเดียวกันคือ มาจากพระผู้เป็นผู้เจ้าทรงหนึ่งเดียว และพระธรรมบัญญัติสุดท้ายนี้จะประมวลสาระธรรมที่ยังไม่ถูกบิดเบือนในพระธรรมบัญญัติเดิมทั้งในคัมภีร์อัต-เตารอต และ คัมภีร์อัล-อินญีล ตลอดจนคัมภีร์พระวรสารที่พระผู้เป็นเจ้าได้เคยทรงประทานแก่บรรดาผู้เผยพระวจนะในอดีต

ขณะเดียวกันพระธรรมบัญญัติสุดท้ายนี้จะยกเลิกข้อปฏิบัติบางประการในพระธรรมบัญญัติเดิมและทดแทนด้วยข้อปฏิบัติที่ดีกว่าและมีความเหมาะสมกับสภาพของมนุษย์ในยุคสุดท้าย และมีความสมบูรณ์ครบถ้วนตลอดจนได้รับการพิทักษณ์คุ้มครองจากการบิดเบือน แต่งเติม ตัดทอน และแก้ไข เป็นธรรมบัญญัติที่ดำรงอยู่ตราบจนวันสิ้นโลก ซึ่งพระธรรมบัญญัติสุดท้ายนี้ก็คือ คัมภีร์อัล-กุรอาน ซึ่งเป็นพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าที่ทรงดลใจแก่ศาสนทูตท่านสุดท้ายผ่านทูตสวรรค์ญิบรีล (เกเบรียล) โดยการปกป้องรักษาพระธรรมบัญญัติสุดท้ายเป็นกิจของพระผู้เป็นเจ้าโดยตรง ดังที่อัล-กุรอานระบุว่า


إِنَّا نَحْنُ نَزَّلْنَا الذِّكْرَ‌ وَإِنَّا لَهُ لَحَافِظُونَ


ความว่า : “แท้จริงเรา (อัลลอฮฺ) เราเองที่เราประทานบทรำลึก (อัล-กุรอาน) ลงมา และแท้จริงเราคือผู้พิทักษ์รักษาบทรำลึกนั่นเอง” (อัล-หิจญร์ : 9)


وَإِنَّهُ لَكِتَابٌ عَزِيزٌ لَّا يَأْتِيهِ الْبَاطِلُ مِن بَيْنِ يَدَيْهِ وَلَا مِنْ خَلْفِهِ تَنزِيلٌ مِّنْ حَكِيمٍ حَمِيدٍ


ความว่า : “และแท้จริงอัล-กุรอาน (บทรำลึก) นั้นคือคัมภีร์ที่เกริกเกียรติ (มีความคงทนต่อการท้าทายและไร้เทียมทาน) ความเท็จเทียมจะไม่มาแผ้วพานคัมภีร์นั้นทั้งเบื้องหน้าและเบื้องหลัง เป็นการประทานลงมาจากพระผู้ทรงปรีชาญาณ อีกทั้งพระผู้ทรงได้รับการสดุดีพระเกียรติ

(ฟุศศิลัต : 41-42)


4. ศาสนทูตท่านสุดท้ายจะเป็นผู้เปิดเผยตามการดลใจของพระผู้เป็นเจ้าถึงเรื่องราวอันเป็นความจริงที่เกี่ยวกับประชาชาติในอดีต การกิจของเหล่าผู้เผยพระวจนะในยุคก่อน และสัจธรรมที่ถูกปิดบังอำพรางหรือถูกบิดเบือนด้วยน้ำมือของมนุษย์ โดยเฉพาะสัจธรรมที่เกี่ยวกับสถานภาพของอัล-มะสีหฺ อีซา บุตร มัรยัม (อ.ล.) ว่าท่านได้รับใช้เพื่อเรียกร้องให้แกะหลงของวงศ์วานอิสราเอลทำการกลับใจเสียใหม่ ฟื้นฟูและทำให้พระธรรมบัญญัติของพระผู้เป็นเจ้าเป็นไปด้วยความสมบูรณ์

ท่านเป็นหนึ่งจากบรรดาผู้เผยวจนะหรือศาสนทูตที่พระผู้เป็นเจ้าทรงใช้มาให้กระทำภาระกิจดังกล่าว ถึงแม้ว่าท่านจะใช้สำนวนในบางครั้งว่า “พระบุตร” แต่นั่นก็เป็นเพียงโวหารเพราะท่านมิใช่พระบุตรจริงๆ ของพระเจ้า การที่ท่านเรียกพระผู้เป็นเจ้าว่า “พระบิดา” ในบางครั้ง นั่นก็เป็นเพียงโวหาร เพราะพระเจ้าก็คือพระเจ้า มิใช่บิดาจริงๆ ตามความหมายของคำที่ถูกใช้ในเรื่องบิดาและบุตรเยี่ยงมนุษย์ เพราะพระเจ้าไม่มีคุณลักษณะเหมือนกับสิ่งที่ถูกสร้างที่มีการเกิด การปฏิสนธิ การตั้งครรภ์ การประสูติ การเจริญวัย และการมีอายุขัย

เมื่อพระผู้เป็นเจ้าทรงมีคุณลักษณะที่แตกต่างและไม่เหมือนสิ่งถูกสร้างที่มีคุณลักษณะดังที่ว่ามา พระองค์จึงไม่ถูกให้กำเนิด และพระองค์ไม่ให้กำเนิดบุตรเยี่ยงสิ่งถูกสร้างทั้งหลาย หากพระเจ้าถูกกำเนิดหรือเป็นผู้ให้กำเนิดบุตร นั่นก็ไม่ใช่พระเจ้าแต่เป็นสิ่งถูกสร้าง พระเจ้าที่แท้จริงทรงบริสุทธิ์จากสิ่งดังกล่าว และนี่ก็เป็นสิ่งที่ศาสนทูตท่านสุดท้ายได้นำมาเปิดเผยและประกาศให้มนุษยชาติได้รับรู้

เหตุนี้ภาระกิจของศาสนทูตท่านสุดท้ายจึงไม่ได้แตกต่างจากเหล่าศาสนทูตผู้เผยพระวจนะในยุคก่อนท่านเลยคือประกาศให้ผู้หลงผิดทั้งหลายให้กลับใจใหม่และกลับคืนสู่สาระธรรมเดิมแห่งพระธรรมบัญญัติที่เรียกร้องสู่พระเจ้าองค์เดียว ผู้ใดรับเอาคำประกาศนั้นเป็นความเชื่อและถือตามพระธรรมบัญญัติที่ศาสนทูตท่านสุดท้ายได้นำมาจากพระผู้เป็นเจ้า ผู้นั้นก็จะได้รับแผ่นดินสวรรค์ของพระองค์เป็นรางวัล แต่ถ้าผู้ใดแข็งขืนและดื้อแพ่ง ยืนกรานว่ามนุษย์ที่ถูกสร้างเป็นพระเจ้า หรือเป็นหนึ่งในสามภาคของพระเจ้า หรือพระเจ้าทรงเสด็จลงมาเป็นมนุษย์ ผู้นั้นก็ได้ละเมิดต่อพระองค์แล้วตามการชักจูงและล่อลวงของมารร้าย แผ่นดินสวรรค์ก็ย่อมเป็นที่ต้องห้ามสำหรับผู้นั้นในบั้นปลาย

สำหรับชาวมุสลิมผู้ศรัทธาในพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) และศรัทธาในความเป็นศาสนทูตท่านสุดท้ายของนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) พวกเขาศรัทธาต่อความเป็นศาสนทูตหรือผู้เผยพระวจนะของอัลมะสีหฺ อีซา บุตร มัรยัม (อ.ล.) และศรัทธาต่อคัมภีร์อินญีลที่พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงประทานแก่ท่าน ซึ่งมิใช่อินญีลหรือไบเบิ้ล (พระคริสตธรรมคัมภีร์ใหม่) ที่ถูกเขียนด้วยมือของมนุษย์

ในขณะเดียวกันมุสลิมผู้ศรัทธาก็มิได้ปฏิเสธคำสอนที่ถูกเขียนด้วยมือมนุษย์อันเป็นคำสอนที่สอดคล้องกับหลักคำสอนของอิสลามในคัมภีร์อัล-กุรอาน และในวจนะของท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ซึ่งเป็นคำสอนที่ยืนยันในเอกานุภาพของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) และหลักจริยธรรม ส่วนคำสอนที่ค้านกับหลักแห่งเอกานุภาพของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) นั้นมุสลิมจะปฏิเสธโดยสิ้นเชิง เพราะนั่นเป็นคำสอนที่ถูกบิดเบือนจากสัจธรรมอันเป็นสากลที่เหล่าศาสนทูตและบรรดาผู้เผยพระวจนะได้ประกาศเรียกร้องผู้คนเอาไว้นับแต่อดีต โดยคัมภีร์อัล-กุรอานที่ถูกประทานให้แก่ท่านนบี มุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) จะวิพากษ์คำสอนที่ถูกบิดเบือนนั้นและหักล้างคำสอนนั้นด้วยสัจธรรมและวิทยปัญญา

ส่วนเรื่องราวที่ถูกระบุไว้ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ซึ่งเกี่ยวกับรายละเอียดข้อปลีกย่อยของบุคคล สถานที่ และเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์นั้นมุสลิมผู้ศรัทธาจะไม่ปฏิเสธและไม่ยอมรับแต่จะรับฟังหรือถ่ายทอดบอกเล่าเพื่อเป็นส่วนประกอบในการอธิบายหรือเติมเต็มข้อมูลที่ถ่ายทอดเท่านั้น ซึ่งสิ่งนี้เป็นวิถีของอัล-กุรอานที่จะมุ่งเน้นนื้อหาและสาระธรรมอันเป็นหลักใหญ่ใจความมากกว่าที่จะให้ความสำคัญต่อรายละเอียดข้อปลีกย่อยที่ไม่ใช่สาระสำคัญ

เพราะชาวมุสลิมศรัทธาว่าคัมภีร์อัล-กุรอานได้ประมวลสัจธรรมและสาระธรรมของคัมภีร์ก่อนๆ เอาไว้ครบถ้วนสมบูรณ์แล้ว และอัล-กุรอานก็เป็นทางนำที่เที่ยงตรงและพอเพียงแล้วในการชี้นำพวกเขาสู่การเข้าถึงสัจธรรมของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) เนื้อหาของอัล-กุรอานได้ประมวลหลักมูลฐานสำคัญเอาไว้เช่นเดียวกับคัมภีร์ในยุคก่อน คือ

1.หลักศรัทธา (อัล-อะกีดะฮฺ) ที่ว่าด้วยเอกานุภาพของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) คุณลักษณะและพระนามของพระองค์ เรื่องราวของเหล่าทูตสวรรค์ (มะลาอิกะฮฺ) เรื่องของมารร้ายและอมนุษย์ (ญิณ) บรรดาคัมภีร์และพระวาสาร (อัศ-ศุหุฟ) , ความเชื่อในวันสิ้นโลกและชีวิตหลังความตาย การฟื้นคืนชีพ การพิพากษา นรก และสวรรค์ เป็นต้น

2.หลักนิติธรรมและจริยธรรม (อัช-ชะรีอะฮฺ วัล อัคล๊าก) ซึ่งให้รายละเอียดเกี่ยวกับการนมัสการ การบริจาคทาน การถือศีลอด การประกอบพิธีหัจญ์ เรื่องราวที่เกี่ยวกับศาสนกิจทั่วไป และกฏหมายลักษณะต่างๆ ตลอดจนจริยธรรมและการขัดเกลาจิตวิญญาณ เป็นต้น

3.หลักคำสอนในเชิงประวัติศาสตร์และเรื่องราวของประชาชาติในยุคก่อนอันเป็นอนุสติและแบบอย่าง (เกาะเศาะศุล อัมบิยาอฺ วัล อุมัม) สำหรับผู้ศรัทธา ซึ่งเป็นเรื่องราวนับแต่ปฐมกาล การกำเนิดมนุษย์ เรื่องราวของอาดำ (อ.ล.) เรื่องการประกาศสาส์นของบรรดาศาสนทูตในยุคอดีตตั้งแต่ นูหฺ (โนอาห์) จนถึงยุคของศาสนทูตท่านสุดท้าย การปฏิเสธดื้อแพ่งและจุดจบของประชาชาติที่ท้าทายพระผู้เป็นเจ้า เรื่องราวของวงศ์วานอิสราเอลซึ่งมีเนื้อหามากที่สุดในส่วนนี้ก็ว่าได้ เป็นต้น

คัมภีร์อัล-กุรอานได้ระบุถึงกลุ่มชนต่างๆ ในอดีตและอยู่ร่วมสมัยช่วงเวลาแห่งการประทานคัมภีร์อัล-กุรอาน เช่น กลุ่มที่ปฏิเสธการมีของพระผู้เป็นเจ้า กลุ่มที่ตั้งภาคีต่อพระองค์ด้วยการบูชาดวงดาว (พวกศอบิอะฮฺ) บูชาทูตสวรรค์ (มะลาอิกะฮฺ) บูชาดวงตะวัน (พวกพลเมืองในอาณาจักรสะบะอฺ) และพวกที่บูชารูปเคารพและเทพเจ้า กลุ่มชาวคัมภีร์อันหมายถึงชาวยิวและชาวคริสต์ เป็นต้น ทั้งนี้คัมภีร์อัล-กุรอานได้นำเสนอความเชื่อของกลุ่มต่างๆ และวิพากษ์หักล้างด้วยสัจธรรมและวิทยปัญญา

ในขณะที่พระคริสตธรรมคัมภีร์เก่า (ภาคพันธสัญญาเดิม) กล่าวโจมตีการออกนอนกลู่นอกทางของวงศ์วานอิสราเอลที่บูชารูปโคหรือหันไปบูชารูปเคารพและเทพเจ้าบะอัลและอิชทารูต จนเป็นเหตุให้ได้รับความพิโรธจากพระผู้เป็นเจ้า คัมภีร์อัล-กุรอานก็วิพากษ์และหักล้างความเชื่อที่เบี่ยงเบนของชาวอาหรับและนำเสนอเรื่องราวของวงศ์วานอิสราเอลที่ละทิ้งพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวแล้วหันไปเชื่อในรูปเคารพและเทพเจ้าของชนชาติอื่นที่อยู่ใกล้เคียงในดินแดนปาเลสไตน์เช่นกัน

เมื่อพระคริสตธรรมคัมภีร์เก่า (ภาคพันธสัญญาเดิม) กล่าวถึงการสร้างจักรวาล การกำเนิดอาดัม (อ.ล.) เรื่องราวบุตร 2 คนของอาดัม (อ.ล.) เรื่องราวการประกาศสาส์นของโนอาห์ เรื่องน้ำท่วมโลก เรื่องราวของอับราฮัม (อ.ล.) และบรรดาผู้เผยพระวจนะที่เป็นลูกหลานของท่าน เช่น อิชมาอีล อิศอัค ยากอบ โยเซฟ โมเสส อารอน โยชูวา ซามูเอล ซาอูล ดาวิด ซาโลมอน และบรรดาผู้เผยพระวจนะในยุคถัดมาจวบจนเศคาริยาห์ แต่พระคริสตธรรมคัมภีร์เก่าก็ไม่มีเรื่องราวของผู้เผยพระวจนะอีก 2 ท่านคือ ยอห์นผู้ให้รับบัพติศมาเรื่องราวของมารีย์ และอัล-มะสีหฺ อีซา (อ.ล.)

คัมภีร์อัล-กุรอานได้ประมวลถึงเรื่องราวทั้งหมดที่กล่าวมาอย่างครบถ้วนสมบูรณ์ จนอาจกล่าวได้ว่า หากเรื่องราวทั้งหมดที่กล่าวมาไม่มีในพระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้งสองเล่มนั้น หรือถูกบิดเบือนไปจากเดิมแล้ว คัมภีร์อัล-กุรอานก็ได้ถ่ายทอดเรื่องราวทั้งหมดเอาไว้อย่างครบถ้วนสมบูรณ์แล้วในด้านเนื้อหาและสาระธรรมทั้งหมด สัจธรรมของพระผู้เป็นเจ้าได้รับการพิทักษ์รักษาไว้ด้วยคัมภีร์อัล-กุรอานอย่างสมบูรณ์โดยไม่มีข้อบกพร่องใดๆ เลย

ดังที่อัล-กุรอานได้ระบุว่า


الم اللَّـهُ لَا إِلَـٰهَ إِلَّا هُوَ الْحَيُّ الْقَيُّومُ نَزَّلَ عَلَيْكَ الْكِتَابَ بِالْحَقِّ مُصَدِّقًا لِّمَا بَيْنَ يَدَيْهِ وَأَنزَلَ التَّوْرَ‌اةَ وَالْإِنجِيلَ مِن قَبْلُ هُدًى لِّلنَّاسِ وَأَنزَلَ الْفُرْ‌قَانَ


ความว่า : “อะลีฟ ลาม มีม , อัลลอฮฺนั้นไม่มีพระผู้เป็นเจ้าที่ถูกเคารพสักการะโดยเที่ยงแท้นอกจากพระองค์พระผู้ทรงพระชนม์ชีพ พระผู้ทรงดำรงอยู่ในการอภิบาลทุกสรรพสิ่ง พระองค์ได้ทรงประทานคัมภีร์ (อัล-กุรอาน) ลงมาเหนือท่าน (มุฮัมมัด) ด้วยสัจธรรมโดยคัมภีร์นั้นมายืนยันความจริงให้แก่คัมภีร์ที่ทรงประทานลงมาก่อนหน้าคัมภีร์นั้น และพระองค์ได้ทรงประทานคัมภีร์เตารอต และอินญีล ลงมาก่อนหน้า (คัมภีร์นั้น –อัลกุรอาน-) เพื่อเป็นทางนำแก่มนุษย์และพระองค์ทรงประทานคัมภีร์อัลกุรอานลงมาอันเป็นคัมภีร์ที่จำแนกออกระหว่างสัจธรรมกับความเท็จเทียม” (อาลิ-อิมรอน : 1-4)


สิ่งใดทีเป็นสัจธรรมและความเป็นจริงซึ่งรอดพ้นจากการถูกบิดเบือนหรือการทำให้ผิดเพี้ยนไปจากเดิม คัมภีร์อัล-กุรอานก็ได้ยืนยันถึงสัจธรรมและความจริงในคัมภีร์เหล่านั้นที่มีมาก่อนในอดีต คัมภีร์อัล-กุรอานได้จำแนกและแจกแจงอย่างแจ่มชัดว่าอะไรเป็นสัจธรรม อะไรเป็นความเท็จเทียม อะไรที่ถูกต้อง อะไรที่ผิดเพี้ยน

เมื่อมนุษย์อาจหาญทดลองพระผู้เป็นเจ้าด้วยการบิดเบือนพระธรรมบัญญัติและพระวจนะของพระองค์ คัมภีร์อัล-กุรอานก็จะเปิดเผยให้เป็นที่ประจักษ์ว่า สิ่งใดเป็นความจริงดั้งเดิมและสิ่งใดเป็นความเท็จเทียมที่ถูกบิดเบือน และต่อจากนี้ไปเราจะได้เรียนรู้ถึงสิ่งที่อัล-กุรอานได้จำแนกและเปิดเผยเอาไว้ดังนี้

1.พระผู้เป็นเจ้าพระผู้ทรงเที่ยงแท้นั้นมีพระองค์เดียวเท่านั้น

อัล-กุรอาน :


وَاسْأَلْ مَنْ أَرْ‌سَلْنَا مِن قَبْلِكَ مِن رُّ‌سُلِنَا أَجَعَلْنَا مِن دُونِ الرَّ‌حْمَـٰنِ آلِهَةً يُعْبَدُونَ


ความว่า : “และท่านจงถาม (โอ้ มุฮัมมัด) ผู้ที่เรา (อัลลอฮฺ) ได้ส่งมาก่อนหน้าท่านจากบรรดาศาสนทูตของเราว่า เราได้กำหนดรับรองอื่นจากพระผู้ทรงกรุณาให้เป็นพระเจ้าที่ถูกเคารพสักการะกระนั้นหรือ!” (อัซซุครุฟ :45)


وَمَا مِنْ إِلَـٰهٍ إِلَّا إِلَـٰهٌ وَاحِدٌ


ความว่า ; ไม่มีพระเจ้าเว้นเสียแต่พระเจ้าองค์เดียว” (อัล-มาอิดะฮฺ : 73)


أَإِلَـٰهٌ مَّعَ اللَّـهِ


ความว่า : “มีพระเจ้าองค์อื่นพร้อมกับอัลลอฮฺกระนั้นหรือ” (อัล-นัมลฺ : 60)


إِنَّمَا إِلَـٰهُكُمُ اللَّـهُ الَّذِي لَا إِلَـٰهَ إِلَّا هُوَ


ความว่า : “อันที่จริงพระผู้เป็นเจ้าของสูเจ้าทั้งหลาย คืออัลลอฮฺ พระผู้ทรงไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากพระองค์เท่านั้น” (ฏอฮา : 98)


พระบัญญัติในคัมภีร์อัล-กุรอานมากมายที่ได้ระบุไว้อย่างชัดเจนว่า พระผู้เป็นเจ้านั้นมีหนึ่งเดียวไม่มีพระเจ้าอื่นเคียงคู่อยู่กับพระองค์ และไม่มีพระเจ้าที่แท้จริงนอกจากพระองค์เท่านั้น ความชัดเจนในเรื่องเอกานุภาพของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ตามที่ระบุในคัมภีร์อัล-กุรอานจึงเป็นสิ่งที่อัล-กุรอานได้ยืนยันและเปิดเผยแก่มนุษยชาติ เป็นหลักแห่งสาระธรรมที่เข้าใจง่าย เที่ยงตรง ไม่มีความสับสนหรือความคลุมเครือใดๆ

ความเชื่อในพระเจ้าองค์เดียวสำหรับผู้ศรัทธาเป็นสิ่งที่มั่นคงและถือเป็นหลักยึดเหนี่ยวทางจิตวิญญาณซึ่งจะทำให้พวกเขามีความสงบทางจิตใจ และมุ่งประพฤติตนเพื่อพระผู้เป็นเจ้าองค์เดียวเท่านั้น ซึ่งหลักสาระธรรมนี้สอดคล้องกับคำของผู้เผยพระวจนะในอดีตทั้งปวง

ส่วนหนึ่งจากพระธรรมบัญญัติเดิม ได้แก่

“อย่ามีพระเจ้าอื่นใดนอกเหนือจากเรา อย่าทำรูปเคารพสำหรับตนเป็นรูปสิ่งใดซึ่งมีอยู่ในฟ้าเบื้องบน หรือบนแผ่นดินเบื้องล่าง หรือในน้ำใต้แผ่นดิน อย่ากราบไหว้หรือปรนนิบัติรูปเหล่านั้น เพราะเราคือพระเจ้าของเจ้า…..” (อพยพ 20 : 3-5)

“โอ คนอิสราเอล จงฟังเถิด พระเยโฮวาห์ พระเจ้าของเราทั้งหลายเป็นพระเจ้าเดียวกัน พวกท่านจงรักพระเยโฮวาห์พระเจ้าของท่านด้วยสุดจิตสุดใจและสิ้นสุดกำลังของท่าน…” (เฉลยธรรมบัญญัต 6 : 4-5)

“ข้าแต่พระเจ้า ฉะนั้นพระองค์ทรงยิ่งใหญ่ ไม่มีใดๆ เหมือนพระองค์ ไม่มีพระเจ้านอกจากเหนือพระองค์ ตามที่หูของข้าพระองค์ทั้งหลายได้ยินมา…” (2 ซามูเอล 7 : 22)

“ไม่มีผู้ใดเทียบเทียมพระองค์” (สดุดี 40 : 5)

“ข้าแต่พระองค์ผู้เป็นเจ้า ในบรรดาพระไม่มีผู้ใดเหมือนพระองค์ และไม่มีกิจการใดๆ เหมือนพระราชกิจของพระองค์ ข้าแต่พระผู้เป็นเจ้า บรรดาประชาชาติที่พระองค์ทรงสร้าง จะมากราบลงต่อพระองค์และจะเทิดทูนพระนามของพระองค์ เพราะพระองค์ใหญ่ยิ่ง และทรงกระทำการอัศจรรย์ พระองค์แต่องค์เดียวทรงเป็นพระเจ้า…” (สดุดี 86 : 8-10)

“เรา เราคือพระเจ้าและนอกจากเราไม่มีพระเจ้าผู้ช่วยให้รอด เราแจ้งให้ทราบและช่วยให้รอดและเล่าให้ฟัง และก็ไม่มีพระเจ้าอื่นในหมู่พวกเจ้า และเจ้าทั้งหลายเป็นพยานของเรา…” (อิสยาห์ 43 : 11-12)

“พระเจ้าจอมโยธา ตรัสดังนี้ว่า “เราเป็นผู้ต้นและเราเป็นผู้ปลาย นอกจากเราแล้วไม่มีพระเจ้า…” (อิสยาห์ 44 : 6)

“มีพระเจ้านอกเหนือเราหรือ เออ ไม่มีพระศิลา เราไม่รู้จัก” (อิสยาห์ 44 : 8)

“เราคือพระเจ้า ผู้ทรงสร้างสิ่งสารพัด ผู้ทรงขึงฟ้าสวรรค์แต่ลำพัง ผู้ทรงกางแผ่นดินโลก ผู้ใดอยู่กับเราเล่า” (อิสยาห์ 44 : 24)

“เราคือพระเจ้า และไม่มีอื่นใดอีก” (อิสยาห์ 44 : 18)

“ไม่ใช่เราหรือ คือ พระเจ้า นอกจากเราไม่มีพระเจ้าอื่นเลย” (อิสยาห์ 45 : 21)

“…พระองค์เดียวได้ทรงสร้างเรามิใช่หรือ….” (มาลาคี 2 : 10)

และส่วนหนึ่งจากพระคริสตธรรมคัมภีร์ใหม่ เช่น

“พระเยซูจึงตรัสตอบว่า “อ้ายซาตานจงไปเสียให้พ้น เพราะพระคัมภีร์มีเขียนไว้ว่า” จงกราบนมัสการพระองค์ผู้เป็นพระเจ้าของท่าน และปรนนิบัติพระองค์แต่ผู้เดียว”…” (มัทธิว 4 : 10)

“ฝ่ายพระเยซูตรัสตอบมารว่า : มีพระคัมภีร์เขียนไว้ว่า จงกราบนมัสการพระองค์พระผู้เป็นเจ้าของท่านและปรนนิบัติพระองค์แต่ผู้เดียว” (ลูกา 4 : 8)

“และอย่าเรียกผู้ใดในโลกว่าเป็นบิดา เพราะท่านมีพระบิดาแต่ผู้เดียว คือ ผู้ที่ทรงสถิตในสวรรค์” (มัทธิว 23 : 9)

“พระเยซูจึงตรัสตอบคนนั้นว่า “ธรรมบัญญัติเอกนั้นคือว่า โอ ชนอิสราเอล จงฟังเถิด พระเจ้าของเราทั้งหลายทรงเป็นพระเจ้าเดียว และพวกท่านจงรักพระเจ้าด้วยสุดจิตสุดใจของท่าน ด้วยสุดความคิด และด้วยสิ้นสุดกำลังของท่าน…ฝ่ายธรรมาจารย์คนนั้นทูลว่า “ดีแล้วอาจารย์เจ้าข้า ท่านกล่าวถูกจริงว่าพระเจ้ามีแต่พระองค์เดียว และนอกจากพระองค์แล้วพระเจ้าอื่นไม่มีเลย” (มาระโก 12 : 29 , 32)

“พระเยซูตรัสถามคนนั้นว่า “ท่านเรียกเราว่าประเสริฐทำไม ไม่มีใครประเสริฐ เว้นแต่พระเจ้าองค์เดียว” (ลูกา 18 : 19)

เป็นต้น

2.พระผู้เป็นเจ้าทรงหนึ่งเดียวนั้น ทรงสร้างทุกสรรพสิ่งด้วยมหิทธานุภาพของพระองค์

พระคริสตธรรมคัมภีร์เก่า

“พระเจ้าทอดพระเนตรสิ่งทั้งปวงที่พระองค์ทรงสร้างไว้ ทรงเห็นว่าดีนัก มีเวลาเย็นและเวลาเช้า เป็นวันที่หก” (ปฐมกาล 1 : 31)

“ฟ้าและแผ่นดิน และบริวารทั้งสิ้น ที่มีอยู่ในนั้น พระเจ้าทรงสร้างสำเร็จดังนี้แหละ” (ปฐมกาล 2 : 1)

“พระองค์ทรงสร้างมนุษย์ขึ้น และได้ทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง” (ปฐมกาล 1 : 27)

พระคริสตธรรมคัมภีร์ใหม่

“พระองค์ตรัสตอบเขาว่า “พวกท่านไม่ได้อ่านหรือว่า พระผู้สร้างมนุษย์แต่เดิม ได้ทรงสร้างให้เป็นชายและหญิง” (มัทธิว 19 : 4)

“ตั้งแต่เดิมสร้างโลก พระองค์ได้ทรงสร้างมนุษย์ให้เป็นชายและหญิง” (มาระโก 10 : 6)

“ฝ่ายมนุษย์ก็เหลือกำลังที่จะทำได้ แต่ไม่เหลือกำลังของพระเจ้า เพราะว่าพระเจ้าทรงกระทำให้สำเร็จได้ทุกสิ่ง”

คัมภีร์อัล-กุรอาน


ذَٰلِكُمُ اللَّـهُ رَ‌بُّكُمْ لَا إِلَـٰهَ إِلَّا هُوَ خَالِقُ كُلِّ شَيْءٍ فَاعْبُدُوهُ


ความว่า : นั่นแหละ ท่านทั้งหลาย อัลลอฮฺคือพระผู้อภิบาลของพวกท่าน ไม่มีพระเจ้าอื่นเลยนอกจากพระองค์ พระองค์คือพระผู้ทรงสร้างทุกสรรพสิ่ง ฉะนั้นพวกท่านจงเคารพสักการะพระองค์เถิด” (อัล-อันอาม : 102)


قُلِ اللَّـهُ خَالِقُ كُلِّ شَيْءٍ وَهُوَ الْوَاحِدُ الْقَهَّارُ‌


ความว่า : “(โอ้ มุฮัมมัด) จงกล่าวเถิด อัลลอฮฺคือพระผู้ทรงสร้างทุกสรรพสิ่ง และพระองค์ นั้นหนึ่งเดียวพระผู้ทรงจอมโยธา” (อัร-เราะอฺดุ : 16)


إِنَّ رَ‌بَّكُمُ اللَّـهُ الَّذِي خَلَقَ السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْ‌ضَ فِي سِتَّةِ أَيَّامٍ ثُمَّ اسْتَوَىٰ عَلَى الْعَرْ‌شِ يُغْشِي اللَّيْلَ النَّهَارَ‌ يَطْلُبُهُ حَثِيثًا وَالشَّمْسَ وَالْقَمَرَ‌ وَالنُّجُومَ مُسَخَّرَ‌اتٍ بِأَمْرِ‌هِ أَلَا لَهُ الْخَلْقُ وَالْأَمْرُ‌ تَبَارَ‌كَ اللَّـهُ رَ‌بُّ الْعَالَمِينَ


ความว่า : “แท้จริงพระผู้อภิบาลของพวกท่านคืออัลลอฮฺ พระผู้ทรงสร้างชั้นฟ้าและผืนแผ่นดินใน 6 วัน แล้วพระองค์ทรงอยู่เหนือบัลลังค์ พระองค์ทำให้กลางคืนปกคลุมกลางวัน และทรงสร้างดวงตะวัน ดวงจันทร์และดวงดาวให้เป็นไปตามพระบัญชาควบคุมเป็นของพระองค์ อัลลอฮฺพระผู้อภิบาลแห่งสากลจักรวาลทรงพระสิริยิ่ง” (อัล-อะอฺร็อฟ : 54)


يَا أَيُّهَا النَّاسُ إِنَّا خَلَقْنَاكُم مِّن ذَكَرٍ‌ وَأُنثَىٰ وَجَعَلْنَاكُمْ شُعُوبًا وَقَبَائِلَ لِتَعَارَ‌فُوا إِنَّ أَكْرَ‌مَكُمْ عِندَ اللَّـهِ أَتْقَاكُمْ إِنَّ اللَّـهَ عَلِيمٌ خَبِيرٌ‌


ความว่า : “โอ้ มนุษยชาติ แท้จริงเราได้สร้างพวกเจ้าจากชายและหญิง และเราได้บันดาลให้พวกเจ้าเป็นชาติพันธุ์และเผ่าพันธุ์ (หลากหลาย) เพื่อพวกเจ้าจะได้ทำความรู้จักซึ่งกันและกัน แท้จริงผู้มีเกียรติที่สุดในพวกเจ้า ณ องค์อัลลอฮฺคือผู้ที่ยำเกรงต่อพระองค์ที่สุดในพวกเจ้า แท้จริงอัลลอฮฺทรงรอบรู้ยิ่ง ทรงทราบสิ่งสารพัด” (อัล-หุยุรอต : 13)


وَمَا كَانَ اللَّـهُ لِيُعْجِزَهُ مِن شَيْءٍ فِي السَّمَاوَاتِ وَلَا فِي الْأَرْ‌ضِ إِنَّهُ كَانَ عَلِيمًا قَدِيرً‌ا


ความว่า : “และพระองค์อัลลอฮฺนั้นไม่มีสิ่งใดเลยในชั้นฟ้าและแผ่นดินที่เกินกำลังของพระองค์ แท้จริงพระองค์ทรงเป็นผู้รอบรู้ยิ่ง ผู้ทรงมหิทธานุภาพยิ่ง” (ฟาฏิร : 44)


بَلَىٰ وَهُوَ الْخَلَّاقُ الْعَلِيمُ إِنَّمَا أَمْرُ‌هُ إِذَا أَرَ‌ادَ شَيْئًا أَن يَقُولَ لَهُ كُن فَيَكُونُ


ความว่า : “ไม่เลย! พระองค์ทรงเป็นพระผู้ทรงสร้างอย่างที่สุด ทรงรอบรู้ที่สุด อันที่จริงการกิจของพระองค์นั้น เมื่อพระองค์ทรงมีพระประสงค์สิ่งใดแล้ว พระองค์เพียงตรัสแก่สิ่งนั้นว่า “จงเป็น” แล้วสิ่งนั้นก็เป็นขึ้น” (ยาสีน : 81-82)


*ข้อสังเกต

หากเปรียบเทียบเนื้อหาและความชัดเจนตลอดจำนวนของการกล่าวเน้นถึงเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้า การสรรสร้างสรรพสิ่งทั้งหลาย และการระบุถึงคุณลักษณะของพระองค์ จะพบว่าในคัมภีร์อัล-กุรอานมีสิ่งดังกล่าวอย่างครบครัน เฉพาะเรื่องการสรรสร้างของพระองค์นั้นมีจำนวนมากมายเหลือเกินที่อัล-กุรอานได้นำเสนอและเปิดเผย แต่ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้ง 2 เล่มนั้นจะเป็นประโยคแทรกเสียมาก

ในพระธรรมบัญญัติเก่าจะเน้นเรื่องราวเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เป็นส่วนใหญ่ ถ้อยคำที่ระบุถึงพระผู้เป็นเจ้าก็จะมุ่งเน้นถึงพระเยโฮวาห์ในลักษณะของพระเจ้าแห่งชนชาติอิสราเอล พระเจ้าจอมโยธา พระเจ้าผู้เป็นพระศิลาของข้าพระองค์ ส่วนคัมภีร์ของผู้เผยพระวจนะก็จะเป็นนิมิตเกี่ยวกับเรื่องราวที่พระเจ้าจะลงโทษบ้าง จะทำลายล้างศัตรูของอิสราเอลบ้าง เป็นพันธสัญญาบ้าง และบ่อยครั้งที่ใช้สำนวนในเชิงอรรถที่ต้องตีความซึ่งสุ่มเสี่ยงและไม่ชัดเจน

ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ใหม่ก็เป็นเรื่องราวพระกิจจานุกิจของพระเยซูคริสต์ นานๆ จะมีคำแทรกที่พูดเกี่ยวกับพระผู้เป็นเจ้าแต่ก็ถูกลิดรอนด้วยสำนวนเชิงอรรถและโวหารที่สุ่มเสี่ยงได้เช่นกัน บางทีก็เป็นคำที่ใช้สลับกันไป เช่น บุตรมนุษย์ บุตรพระเจ้า อธิษฐานต่อพระเจ้า พระบิดาของเรา พระเยซูคริสต์องค์พระผู้เป็นเจ้าของเรา ซึ่งในที่สุดแล้วก็ก่อให้เกิดความเชื่อที่ค้านกับหลักเอกานุภาพ และเกิดความสับสนและขัดแย้งกันในเรื่องความเป็นหนึ่งเดียวของพระผู้เป็นเจ้าและคุณลักษณะของพระองค์

เหตุนี้ คัมภีร์อัล-กุรอานจึงได้นำเสนอและเปิดเผยอย่างตรงไปตรงมาและชัดเจนจนไม่มีความกำกวมและความสงสัยใดๆ เกี่ยวกับเอกานุภาพของพระผู้เป็นเจ้าและคุณลักษณะของพระองค์อาจกล่าวได้ว่า หากมนุษย์ประสงค์จะแสวงหาพระผู้เป็นเจ้าที่แท้จริง เขาจะไม่พบคุณลักษณะที่ชัดเจนของพระองค์ได้เลย นอกจากมุ่งสู่คัมภีร์อัล-กุรอานเท่านั้น ซึ่งสิ่งนี้มิใช่เรื่องแปลกเพราะคัมภีร์อัล-กุรอานเป็นพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้า มิใช่สิ่งที่มนุษย์เขียนขึ้นนั่นเอง

3.พระผู้เป็นเจ้าหนึ่งเดียวพระองค์นั้นทรงชี้นำมวลมนุษย์ด้วยการส่งบรรดาผู้เผยพระวจนะและเหล่าศาสนทูตมาประกาศเรียกร้องให้มนุษย์กลับใจใหม่และยำเกรงพระองค์

พระคริสตธรรมคัมภีร์ ได้กล่าวถึงเรื่องราวของบรรดาผู้เผยพระวจนะในอดีตโดยเน้นถึงประวัติของผู้เผยพระวจนะมากกว่าที่จะระบุถึงสิ่งที่บรรดาผู้เผยพระวจนะประกาศเรียกร้องให้ผู้คนกลับใจและหันมาศรัทธา แต่เมื่อกล่าวถึงคำของผู้เผยพระวจนะก็จะเป็นการใช้สำนวนว่า “พระเจ้าตรัสว่า…” , “พระเจ้าตรัสดังนี้…” , “เพราะพระเจ้าตรัสดังนี้ว่า…”

โดยเฉพาะในพระธรรมบัญญัติเก่าจะเป็นเรื่องราวที่พระเจ้าตรัสถึงชนชาติอิสราเอล โดยใช้ให้ผู้เผยพระวจนะนำเรื่องราวมาบอก ซึ่งมีทั้งนิมิตที่ผู้เผยพระวจนะได้เห็น คำพยากรณ์ถึงการลงโทษของพระเจ้า เรื่องเกี่ยวกับการล่มจมของกรุงเยรูซาเล็มและอาณาจักรต่างๆ การประณามของพระเจ้าที่มีต่อคนชั่ว เป็นต้น

ส่วนในพระคริสตธรรมคัมภีร์ใหม่ จะเป็นการอ้างข้อความจากพระธรรมบัญญัติเดิม ซึ่งเป็นคำของผู้เผยพระวจนะที่เป็นคำพยากรณ์ในอดีตถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นในยุคสมัยของพระเยซูคริสต์ เช่น การกำเนิดของพระเยซูคริสต์ (มัทธิว 1 : 22-23) สถานที่บังเกิดของพระเยซูคริสต์ (มัทธิว 2 : 5-6) การลี้ภัยไปยังอียิปต์ (มัทธิว 2 : 15) การประกาศของยอห์นผู้ให้รับบัพติศมา (มัทธิว 3 : 3) การเริ่มพระราชกิจจานุกิจของพระเยซู (มัทธิว 4 : 14 – 16)

การรักษาผู้คนของพระเยซูคริสต์ (มัทธิว 8 : 17) ผู้รับใช้ที่ทรงเลือก (มัทธิว 12 : 17-21) ที่นาซาเร็ธเขาไม่รับพระเยซู (มัทธิว 13 : 57) เป็นต้น โดยมักจะใช้สำนวนว่า : “เพื่อจะสำเร็จตามพระวจนะซึ่งตรัสไว้โดย…” , “เพื่อจะให้เป็นไปตามคำของผู้เผยพระวจนะ…..ว่า” , “ด้วยมีคำคำเขียนในพระคัมภีร์ว่า…” เป็นต้น ซึ่งดูเหมือนว่าการอ้างคำพยากรณ์ของผู้เผยพระวจนะมาประกอบเหตุการณ์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นกับพระเยซูคริสต์มิได้มุ่งสิ่งใดเป็นสาระสำคัญ นอกเสียจากเพื่อชี้ให้เห็นว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นทั้งหมดในแต่ละครั้งนั้น “เพื่อจะสำเร็จตามที่ผู้เผยพระวจนะได้เขียนไว้” หรือไม่ก็เป็นการอ้างคำของผู้เผยพระวจนะหรือข้อความในพระธรรมบัญญัติเก่าเพื่ออธิบายประกอบในสิ่งที่สอนเท่านั้น

หากเราจะนำเอาเรื่องราวของผู้เผยพระวจนะที่ปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์เดิมมาเป็นกรณีศึกษาหนึ่งหรือสองท่านก็จะเห็นวิธีการนำเสนอดังนี้

เรื่องราวของโนอาห์

โนอาห์หรือท่านนบีนูหฺ (อ.ล.) มีเรื่องราวของท่านปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์เดิม ฉบับปฐมกาล ตั้งแต่พระธรรมบัญญัติที่ 5 : 28 ถึงพระธรรมบัญญัติที่ 10 : 32 เริ่มกล่าวถึงเชื้อสายของท่าน บิดาของท่านและบุตรของท่าน ความชั่วช้าของมนุษยชาติ แล้วระบุว่า “แต่โนอาห์เป็นที่โปรดปรานในสายพระเนตรพระเจ้า” (ปฐมกาล 6 : 8)

พระคัมภีร์ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าโนอาห์เป็นผู้เผยพระวจนะ ต่อจากนั้นก็กล่าวถึงการต่อนาวาของโนอาห์ ระบุคำตรัสของพระเจ้าที่มีต่อโนอาห์ในเรื่องนี้ แล้วกล่าวถึงน้ำท่วมโลก พูดในรายละเอียดว่าขณะนั้นโนอาห์มีอายุเท่าใด มีใครและสัตว์อะไรบ้างถูกนำลงเรือ น้ำท่วมโลกอยู่กี่วัน หลังจากนั้นก็พูดถึงเหตุการณ์เมื่อน้ำลด พระเจ้าตรัสกับโนอาห์ และทรงกระทำพันธสัญญากับโนอาห์ และก็จบลงด้วยเรื่องโนอาห์กับบุตร

โดยพูดว่า โนอาห์เป็นชาวไร่และทำสวนองุ่น โนอาห์ดื่มเหล้าองุ่นเมาแล้วนอนเปลือยกาย บุตรชายของท่านกระทำให้ท่านไม่พอใจ เมื่อสร่างเมาก็สาปแช่ง บุตรของฮามคือคานาอันให้เป็นทาสแสนเลวของพี่น้อง และอวยพรให้แก่เชมและยาเฟท แล้วก็พูดถึงอายุของท่านก็เป็นอันจบ นี่คือเรื่องราวของโนอาห์ที่ปรากฏในพระคริสตธรรมคัมภีร์เดิม ส่วนในพระคริสตธรรมคัมภีร์ใหม่ก็มีการอ้างถึงโนอาห์แต่ไม่มีรายละเอียดอันใด

คำถามก็คือว่า แล้วโนอาห์ท่านสอนอะไรเอาไว้บ้าง ท่านปฏิบัติภาระกิจในการประกาศพระวจนะของพระเจ้ากับกลุ่มชนของท่านเอาไว้อย่างไร และอะไรเป็นสิ่งที่ทำให้ท่านเป็นที่โปรดปรานในสายพระเนตรของพระเจ้า คำตอบก็คือ เราไม่อาจจะรู้ได้ถึงสิ่งดังกล่าวเลย นอกจากเรื่องที่คัมภีร์เขียนเอาไว้เท่านั้น ทีนี้ลองมาพิจารณาดูถึงสิ่งที่คัมภีร์อัล-กุรอานได้นำเสนอและเปิดเผยเอาไว้เกี่ยวกับการประกาศศาสนาของโนอาห์ ซึ่งชาวมุสลิมเรียกท่านว่า นบีนูหฺ (อ.ล.) ซึ่งสิ่งที่ปรากฏในคัมภีร์อัล-กุรอานนี้ไม่มีอย่างแน่นอนในคัมภีร์ของคริสตชนทั้งเก่าและใหม่!

เรื่องราวของนบีนูหฺ (อ.ล.) ในคัมภีร์อัล-กุรอาน

ชื่อของท่านนบีนูฮหฺ (อ.ล.) ถูกกล่าวไว้ในคัมภีร์อัล-กุรอานจำนวน 33 ครั้ง และบท (สูเราะฮฺ) ที่ 71 จากจำนวน 114 บทเป็นบทที่ชื่อว่า “นูหฺ” และคัมภีร์อัล-กุรอานระบุชัดเจนว่า นูหฺ หรือ โนอาห์ คือศาสนทูตท่านหนึ่งของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ที่ถูกส่งไปยังกลุ่มชนของท่าน


إِنَّا أَرْ‌سَلْنَا نُوحًا إِلَىٰ قَوْمِهِ أَنْ أَنذِرْ‌ قَوْمَكَ مِن قَبْلِ أَن يَأْتِيَهُمْ عَذَابٌ أَلِيمٌ قَالَ يَا قَوْمِ إِنِّي لَكُمْ نَذِيرٌ‌ مُّبِينٌ أَنِ اعْبُدُوا اللَّـهَ وَاتَّقُوهُ وَأَطِيعُونِ يَغْفِرْ‌ لَكُم مِّن ذُنُوبِكُمْ وَيُؤَخِّرْ‌كُمْ إِلَىٰ أَجَلٍ مُّسَمًّى إِنَّ أَجَلَ اللَّـهِ إِذَا جَاءَ لَا يُؤَخَّرُ‌ لَوْ كُنتُمْ تَعْلَمُونَ


ความว่า “แท้จริงเรา (อัลลอฮฺ) ได้ส่งนูห์ให้เป็นศาสนทูตไปยังกลุ่มชนของเขา (เราสั่งเขาว่า) เจ้าจงตักเตือนกลุ่มชนของเจ้าก่อนที่การลงทัณฑ์อันเจ็บแสบจะมายังพวกเขา * นูหฺกล่าวว่า โอ้กลุ่มชนของฉัน แท้จริงฉันเป็นผู้ตักเตือนที่แจ้งชัดสำหรับพวกท่าน*

คือพวกท่านจงเคารพสักการะต่ออัลลอฮฺ จงยำเกรงพระองค์ และจงเชื่อฟังฉัน อัลลอฮฺจะทรงอภัยให้แก่พวกท่านจากบาปของพวกท่าน และพระองค์จะทรงประวิงเวลาของพวกท่านให้ล่าออกไปจนถึงอายุขัยที่ถูกกำหนดไว้ แท้จริงกำหนดเวลาของอัลลอฮฺนั้นเมื่อมาแล้วจะไม่ถูกทำให้ยืดออกไปหากพวกท่านรู้” (นัวหฺ : 1-4)


قَالَ رَ‌بِّ إِنِّي دَعَوْتُ قَوْمِي لَيْلًا وَنَهَارً‌ا فَلَمْ يَزِدْهُمْ دُعَائِي إِلَّا فِرَ‌ارً‌ا وَإِنِّي كُلَّمَا دَعَوْتُهُمْ لِتَغْفِرَ‌ لَهُمْ جَعَلُوا أَصَابِعَهُمْ فِي آذَانِهِمْ وَاسْتَغْشَوْا ثِيَابَهُمْ وَأَصَرُّ‌وا وَاسْتَكْبَرُ‌وا اسْتِكْبَارً‌ا ثُمَّ إِنِّي دَعَوْتُهُمْ جِهَارً‌ا ثُمَّ إِنِّي أَعْلَنتُ لَهُمْ وَأَسْرَ‌رْ‌تُ لَهُمْ إِسْرَ‌ارً‌ا فَقُلْتُ اسْتَغْفِرُ‌وا رَ‌بَّكُمْ إِنَّهُ كَانَ غَفَّارً‌ايُرْ‌سِلِ السَّمَاءَ عَلَيْكُم مِّدْرَ‌ارً‌ا وَيُمْدِدْكُم بِأَمْوَالٍ وَبَنِينَ وَيَجْعَل لَّكُمْ جَنَّاتٍ وَيَجْعَل لَّكُمْ أَنْهَارً‌ا


ความว่า : เขา (นูหฺ) กล่าวว่า โอ พระผู้อภิบาลของข้าพระองค์ แท้จริงข้าพระองค์เรียกร้องกลุ่มชนของข้าพระองค์ทั้งยามค่ำคืนและกลางวัน *แล้วการเรียกร้องของข้าพระองค์ก็ไม่ได้เพิ่มสิ่งใดแก่พวกเขานอกเสียจากการเตลิดหนี* และแท้จริงข้าพระองค์นั้นทุกคราที่ข้าพระองค์เรียกร้องพวกเขาเพื่อพระองค์จะได้ทรงยกบาปแก่พวกเขา พวกเขาก็เอานิ้วมืออุดรูหูของพวกเขา เอาผ้าผ่อนของพวกเขาปกคลุมศีรษะเสียมิดชิด พวกเขายืนกรานและกระทำการหยิ่งยะโสโอหังยิ่งนัก 

ต่อมาแน่แท้ข้าพระองค์ได้เรียกร้องพวกเขาอย่างโจ่งแจ้งแล้วต่อมาข้าพระองค์ก็ประกาศชัดเจนแก่พวกเขา และทำเป็นการลับแก่พวกเขาอย่างมิดชิด แล้วข้าพระองค์กล่าวว่า พวกท่านจงขอลุแก่โทษต่อพระผู้อภิบาลของพวกท่านเถิด แท้จริงพระองค์ทรงเป็นพระผู้อภัยยิ่ง พระองค์จะทรงประทานฟ้าให้ส่งสายฝนอันชุกลงมาเหนือพวกท่าน และพระองค์จะทรงหยิบยื่นแก่พวกท่านด้วยทรัพย์สฤงคารและลูกหลาน และพระองค์จะทรงบันดาลเรือกสวนให้แก่พวกท่าน และจะทรงบันดาลแม่น้ำลำธารแก่พวกท่าน

(นูหฺ : 5-12)


وَلَقَدْ أَرْ‌سَلْنَا نُوحًا إِلَىٰ قَوْمِهِ فَقَالَ يَا قَوْمِ اعْبُدُوا اللَّـهَ مَا لَكُم مِّنْ إِلَـٰهٍ غَيْرُ‌هُ أَفَلَا تَتَّقُونَ ﴿٢٣﴾ فَقَالَ الْمَلَأُ الَّذِينَ كَفَرُ‌وا مِن قَوْمِهِ مَا هَـٰذَا إِلَّا بَشَرٌ‌ مِّثْلُكُمْ يُرِ‌يدُ أَن يَتَفَضَّلَ عَلَيْكُمْ وَلَوْ شَاءَ اللَّـهُ لَأَنزَلَ مَلَائِكَةً مَّا سَمِعْنَا بِهَـٰذَا فِي آبَائِنَا الْأَوَّلِينَ ﴿٢٤﴾ إِنْ هُوَ إِلَّا رَ‌جُلٌ بِهِ جِنَّةٌ فَتَرَ‌بَّصُوا بِهِ حَتَّىٰ حِينٍ ﴿٢٥﴾ قَالَ رَ‌بِّ انصُرْ‌نِي بِمَا كَذَّبُونِ ﴿٢٦﴾ فَأَوْحَيْنَا إِلَيْهِ أَنِ اصْنَعِ الْفُلْكَ بِأَعْيُنِنَا وَوَحْيِنَا فَإِذَا جَاءَ أَمْرُ‌نَا وَفَارَ‌ التَّنُّورُ‌ ۙ فَاسْلُكْ فِيهَا مِن كُلٍّ زَوْجَيْنِ اثْنَيْنِ وَأَهْلَكَ إِلَّا مَن سَبَقَ عَلَيْهِ الْقَوْلُ مِنْهُمْ ۖ وَلَا تُخَاطِبْنِي فِي الَّذِينَ ظَلَمُوا ۖ إِنَّهُم مُّغْرَ‌قُونَ ﴿٢٧﴾إِذَا اسْتَوَيْتَ أَنتَ وَمَن مَّعَكَ عَلَى الْفُلْكِ فَقُلِ الْحَمْدُ لِلَّـهِ الَّذِي نَجَّانَا مِنَ الْقَوْمِ الظَّالِمِينَ ﴿٢٨﴾ وَقُل رَّ‌بِّ أَنزِلْنِي مُنزَلًا مُّبَارَ‌كًا وَأَنتَ خَيْرُ‌ الْمُنزِلِينَ ﴿٢٩﴾ إِنَّ فِي ذَٰلِكَ لَآيَاتٍ وَإِن كُنَّا لَمُبْتَلِينَ


ความว่า : “และแน่แท้เรา (อัลลอฮฺ) ได้ส่งนูหฺให้เป็นศาสนทูตไปยังกลุ่มชนของเขา แล้วนูหฺก็กล่าวว่า : โอ กลุ่มชนของฉัน พวกท่านจงเคารพสักการะต่ออัลลอฮฺเถิด ไม่มีพระเจ้าอื่นสำหรับพวกท่านนอกจากรพระองค์ ฉะนั้นพวกท่านจะไม่ยำเกรงกระนั้นหรือ บรรดาคนสำคัญซึ่งพวกเขาปฏิเสธจากกลุ่มชนของนูหฺก็กล่าวว่า ผู้นั้นมิใช่ใครนอกจากเป็นมนุษย์ธรรมดาเหมือนพวกท่านนั่นแหละ เขาต้องการเป็นคนสำคัญเหนือพวกท่าน และหากอัลลอฮฺประสงค์แล้ว พระองค์จะส่งบรรดาทูตสวรรค์ลงมา พวกเราไม่เคยได้ยินเรื่องนี้ในหมู่บรรพชนรุ่นแรกของเราเลย เขามิใช่ใครนอกจากเป็นชายที่มีความวิกลจริต

ฉะนั้นพวกท่านจงรอคอยดูเขาจนถึงขณะหนึ่งเถิด นูหฺกล่าวว่า : โอ พระผู้อภิบาลของข้าพระองค์ ขอทรงช่วยข้าพระองค์ให้ได้รับชัยเนื่องด้วยสิ่งที่พวกเขาปฏิเสธข้าพระองค์ด้วยเทอญ แล้วเราได้ดลใจแก่นูหฺว่า “เจ้าจงต่อนาวาด้วยการดูแลและการดลใจของเรา ครั้นเมื่อคำสั่งในการลงทัณฑ์ของเราได้มาแล้ว และเตาปิ้งขนมปังมีน่ำพวยพุ่งออกมา เจ้าก็จงนำแต่ละคู่ทั้งเพศผู้เพศเมียและครอบครัวของเจ้าเข้าโดยสารในนาวานั้น

ยกเว้นผู้ที่มีลิขิตให้วิบัติแก่เขาจากพวกนั้น และเจ้าอย่าได้พูดกับข้าถึงบรรดาผู้ที่อธรรม แท้จริงพวกนั้นต้องจมน้ำตาย แล้วเมื่อเจ้า ตัวเจ้าและผู้ที่อยู่พร้อมกับเจ้าได้อยู่บนนาวาแล้ว ก็จงกล่าวว่า : มวลการสรรเสริญเป็นสิทธิของอัลลอฮฺ พระผู้ทรงบันดาลให้เราพ้นภัยจากกลุ่มชนผู้อธรรม และจงกล่าวว่า โอ พระผู้อภิบาลของข้าพระองค์ ขอทรงให้ข้าพระองค์ลงยังสถานที่ลงอันจำเริญ และพระองค์ทรงเป็นผู้ที่บันดาลให้ลงซึ่งดีที่สุด แท้จริงในเรื่องดังกล่าวย่อมเป็นเครื่องหมายที่ให้อนุสติ และแน่แท้เรา (อัลลอฮฺ) เป็นผู้ทดสอบ (ปวงบ่าวของเรา)

(อัล-มุอฺมินูน : 23-30)


ข้อความจากคัมภีร์ อัล-กุรอานที่เปิดเผยเรื่องราวของนูหฺ (อ.ล.) หรือโนอาห์ยังมีอีกมาก เพียงเท่าที่เรายกตัวอย่างมานี้ก็ย่อมเพียงพอที่จะทำให้ประจักษ์เห็นถึงความแตกต่างระหว่างคัมภีร์อัล-กุรอานกับพระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้งสองเล่ม ซึ่งผู้มีปัญญาก็ย่อมรับรู้ได้ว่า คัมภีร์อัล-กุรอานไม่ได้ลอกเลียนถ้อยความจากคัมภีร์ทั้ง 2 เล่มนั้น อย่างที่ผู้มีอคติบางคนกล่าวอ้าง เพราะท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) เป็นผู้ที่อ่านไม่ออกและเขียนไม่ได้ แต่ท่านรับการดลใจจากพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) พระผู้ทรงประทานอัล-กุรอานลงมาเพื่อเปิดเผยเรื่องราวในอดีตกาลที่แม้แต่พระคริสตธรรมคัมภีร์เองก็ไม่ได้เขียนเรื่องราวเหล่านั้นเอาไว้

ชาวมุสลิมผู้ศรัทธาในคัมภีร์อัล-กุรอานจึงรู้จักเรื่องราวของท่านนบีนูหฺ (อ.ล.) หรือโนอาห์ได้เป็นอย่างดีว่าท่านได้สอนอะไรเอาไว้แก่กลุ่มชนของท่านซึ่งเป็นสาระธรรมที่สำคัญยิ่งกว่าการรู้ถึงรายละเอียดข้อปลีกย่อยเกี่ยวกับขนาดของเรือ มีสัตว์อะไรบ้างที่ถูกนำลงเรือ เพราะการรู้ถึงรายละเอียดดังกล่าวมิใช่สาระธรรมที่ให้อนุสติอันใดสำหรับผู้ศรัทธา อีกทั้งการนำเสนอถึงคำสั่งสอนเรียกร้องของท่านนบีนูหฺ (อ.ล.) หรือโนอาห์ย่อมเป็นการแสดงให้เห็นถึงบุคลิกภาพของท่านซึ่งถือเป็นแบบที่เหล่าศรัทธาชนจำเป็นจะต้องถือตามและยึดเอาเป็นแบบอย่าง

ซึ่งต่างจากการรู้ถึงรายละเอียดที่ว่า ท่านมีบุตรกี่คน ตอนน้ำท่วมท่านอายุเท่าไหร่ น้ำท่วมโลกอยู่กี่วัน แล้วตอนน้ำลดท่านท่านทำอะไรต่อจากนั้น สิ่งเหล่านี้มิใช่สาระธรรมและมิได้ให้ประโยชน์อันใดในการถือตาม มิหนำซ้ำเรื่องราวที่พระคัมภีร์เก่าลงท้ายเรื่องของโนอาห์ที่สาปแช่งลูกหลานของฮาม คือ คนคานาอันก็ไม่ได้แสดงภาพอันน่าประทับใจต่อบุคลิกภาพของท่านเลยแม้แต่น้อย เพราะเป็นการทำลายสถานภาพอันงดงามของผู้ที่ได้ชื่อว่าเป็นผู้ที่ได้รับความโปรดปรานในสายพระเนตรของพระเจ้า

โนอาห์ตามที่พระคัมภีร์เขียนเอาไว้ เป็นคนที่เมาเหล้าองุ่น เมาจนโป๊เปลือย บุตรชายคนสุดท้องไปเห็นเข้าจึงไปบอกพี่ชาย 2 คนถึงสภาพของบิดาซึ่งกลายเป็นความผิดใหญ่หลวงที่ตกไปถึงคนคานาอันที่ไม่รู้เรื่องด้วยและถูกสาปแช่งให้กลายเป็นทาสแสนเลวของพี่น้อง นี่คือภาพของโนอาห์ในชีวิตบั้นปลายที่พระคัมภีร์นำเสนอไว้ อันเป็นเรื่องที่แตกต่างราวฟ้ากับดินในสิ่งที่คัมภีร์อัล-กุรอานได้เปิดเผยไว้ดังพระวจนะที่ระบุว่า :


إِنَّهُ كَانَ عَبْدًا شَكُورً‌ا


ความว่า : “แท้จริงเขา (นูหฺ) เป็นบ่าวผู้รู้คุณยิ่ง” (อัล-อิสรออฺ : 3)


إِنَّ اللَّـهَ اصْطَفَىٰ آدَمَ وَنُوحًا وَآلَ إِبْرَ‌اهِيمَ وَآلَ عِمْرَ‌انَ عَلَى الْعَالَمِينَ


ความว่า “แท้จริง อัลลอฮฺทรงเลือกสรรอาดัมและนูหฺ ตลอดจนวงศ์วานของอิบรอฮีมและวงศ์วานของอิมรอนเหนือโลกทั้งผอง” (อาลิ-อิมรอน : 33)


สำหรับชาวมุสลิมผู้ศรัทธาแล้ว นูหฺ (อ.ล.) หรือโนอาห์คือบ่าวผู้ที่รู้คุณยิ่งต่อความโปรดปรานของพระผู้เป็นเจ้าที่มีต่อท่าน คือศาสนทูตผู้เผยพระวจนะของพระเจ้าผู้ได้รับการเลือกสรรและยกย่องให้มีความชอบธรรมเหนือโลกทั้งผอง คือหนึ่งในบรรดาศาสนทูตผู้มีความเด็ดเดี่ยวและความเชื่อมั่นในการประกาศสาส์นของพระผู้เป็นเจ้าซึ่งมุสลิมต้องศรัทธาและถือเอาเป็นแบบอย่างในการดำเนินตามวิถีของท่านและมุสลิมผู้ศรัทธาไม่เชื่อในสิ่งที่คัมภีร์เก่าได้ระบุเอาไว้ในชีวิตบั้นปลายของท่านเพราะนั่นเป็นสิ่งที่ถูกบิดเบือนโดยน้ำมือของมนุษย์ที่มีอคติต่อชาติพันธุ์อื่นโดยเฉพาะชาวคานาอันที่เป็นปรปักษ์กับชาวยิวซึ่งเข้ามายึดครองแผ่นดินของชาวคานาอันหรือชาวปาเลสไตน์นั่นเอง

เรื่องราวของอับราฮัมในพระคริสตธรรมคัมภีร์

ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ระบุเรื่องราวของอับราฮัมในบทปฐมกาล 11:27 เรื่องเชื้อสายของเทราห์ กล่าวถึงครอบครัวของอับราฮัม (อับราม) เมืองเกิดและดินแดนที่ท่านโยกย้ายไป ต่อมาพระคัมภีร์กล่าวถึงการที่พระเจ้าทรงเรียกอับรามดินแดนแห่งพันธสัญญา การเข้าสู่อียิปต์ อับรามแยกกับโลฏ (นบีลูฏ) การรบกันของเหล่ากษัตริย์ เรื่องราวของเมลคี เซเดคกับอับราม การทำพันธสัญญาของพระเจ้ากับอับรามเรื่องราวของฮาการ์กับอิชมาเอล พิธีเข้าสุหนัตอันเป็นสัญลักษณ์แห่งพันธสัญญา

เรื่องคำสัญญาถึงการกำเนิดของอิสอัค (นบีอิสหาก) เรื่องของเมืองโสโดมและเมือง โกโมราห์ถูกทำลาย กำเนิดของคนโมอับและคนอัมโมน อับราฮัมกับอบีเมเลค กำเนิดอิสอัค ฮาการ์และอิชมาเอลถูกขับไล่ พันธสัญญาระหว่างอับราฮัมกับอาบีเมเลค เรื่องอับราฮัมรับพระบัญชาให้ถวายอิสอัค เรื่องเชื้อสายของนาโฮร์ มรณกรรมของนางซาราห์ เรื่องหาภรรยาให้แก่อิสอัค เชื้อสายของอับราฮัมฝ่ายนางเคทูราห์ มรณกรรมและการฝังศพอับราฮัม (ปฐมกาล 25:11)

เรื่องราวทั้งหมดพระคัมภีร์เก่าเขียนในเชิงประวัติบุคคลคืออับราฮัมและผู้เกี่ยวข้องตลอดอายุขัยของท่านอับราฮัมเป็นบุรุษผู้มีความสำคัญเป็นที่สุด แต่พระคัมภีร์ก็ไม่ได้ระบุชัดเจนว่าท่านเป็นผู้เผยพระวจนะหรือศาสนทูตของพระผู้เป็นเจ้า และที่สำคัญพระคัมภีร์ไม่ได้นำเสนอคำสอนของอับราฮัมว่าท่านได้สอนอะไรไว้บ้าง โดยเฉพาะเหตุการณ์ก่อนที่ท่านจะโยกย้ายครอบครัวมาสู่ดินแดนคานาอัน หากเราถามคริสตชนว่า ขอให้ท่านเล่าถึงคำเทศนาสั่งสอนหรือการเผยพระวจนะของพระเจ้าที่อับราฮัมได้กระทำกิจเอาไว้ตามที่พระคริสตธรรมคัมภีร์กล่าว ทั้งนี้เพื่อเราจะได้นำมาปฏิบัติและยึดถือตามมรรคาของท่าน

ข้อเรียกร้องนี้ขอให้คริสตชนจงนำมาแจ้งแก่เราเถิด! ท่านผู้อ่านคิดว่าคริสตชนจะนำถ้อยคำของอับราฮัมที่เรียกร้องผู้คนในสมัยของท่านนำมาเสนอได้หรือไม่? คำตอบนี้ คริสตชนรู้ดีอยู่แก่ใจว่าได้หรือไม่ได้! ถ้าไม่แน่ใจก็ขอให้คริสตชนกลับไปอ่านเรื่องราวของอับราอัมในพระคริสตธรรมคัมภีร์เก่า บทปฐมกาลพระธรรมบัญญัติที่ 11:27 จนถึง 25:11 ลองอ่านทบทวนและค้นหาดู “จงอ่านช้าๆ อ่านบ่อยๆ อ่านด้วยใจอธิษฐาน” อย่างที่เขาบอก เพื่อท่านผู้เป็นคริสตชนจะได้คำตอบในเรื่องนี้ หากพระเจ้าทรงประสงค์

เรื่องราวของอิบรอฮีม (อ.ล.) หรืออับราฮัม ในคัมภีร์อัล-กุรอาน

นามชื่อของ “อิบรอฮีม” หรือที่ชาวคริสต์เรียกว่า อับราฮัม ถูกกล่าวไว้ในคัมภีร์อัล-กุรอาน 69 ครั้ง และบท (สูเราะฮฺ) ลำดับที่ 14 ในคัมภีร์อัล-กุรอานมีชื่อว่า บทอิบรอฮีม นามชื่อของนบี อิบรอฮีม (อ.ล.) เป็นนามของบุคคลสำคัญที่ชาวมุสลิมทุกคนจะเอ่ยชื่อของท่านพร้อมกับชื่อของนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ในการนมัสการต่อพระเจ้า (ละหมาด) ทุกวัน อย่างน้อยวันละ 5 ครั้ง

ในคำรำลึกยามเช้าและยามเย็นบทหนึ่งชาวมุสลิมจะกล่าวตามที่ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) สอนเอาไว้ว่า “เรามีชีวิตในตอนเช้า (หรือตอนเย็น) บนมรรคาแห่งบิดาของเราอิบรอฮีม ผู้บริสุทธิ์ในความเชื่อและยอมจำนนต่อพระผู้เป็นเจ้า และอิบรอฮีมมิใช่ผู้หนึ่งจากกลุ่มชนผู้ตั้งภาคี”

ศาสนกิจที่สำคัญที่สุดสำหรับชาวมุสลิมคือการบำเพ็ญหัจญ์ ณ นครมักกะฮ์ คือการรำลึกถึงเรื่องราวที่เกิดขึ้นกับศาสนทูตผู้นี้และบุตรชายคนหัวปีและภรรยาของท่าน คือ อิชมาแอลและนางฮาการ์ (นบีอิสมาอีล (อ.ล.) และพระนางฮาญัร) บุคคลทั้งสองซึ่งถูกระบุในพระคริสตธรรมคัมภีร์ว่าถูกขับไล่ และเรื่องราวของบุคคลทั้งสองถูกลบเลือนไปจากความทรงจำของชาวยิวและชาวคริสต์

ยิ่งเมื่อสถานภาพของบุคคลทั้งสองถูกอธิบายด้วยถ้อยคำของเปาโลด้วยแล้ว บุคคลทั้งสองก็แทบไม่เหลือค่าอันใดอีกเลยในสายตาของคริสตชน เพราะเปาโลกล่าวว่า : … ”อับราฮัมมีบุตรสองคน คนหนึ่งเกิดจากหญิงทาส อีกคนหนึ่งเกิดจากหญิงที่เป็นไท บุตรที่เกิดจากหญิงทาสนั้นก็เกิดตามธรรมดา แต่ส่วนบุตรที่เกิดจากหญิงที่เป็นไทยนั้น เกิดตามพระสัญญา…เหตุฉะนั้นพี่น้องทั้งหลาย เราไม่ใช่บุตรของหญิงทาส แต่เป็นบุตรของหญิงที่เป็นไท” (กาลาเทีย 4:22-31)

สำหรับชาวมุสลิมผู้ศรัทธาแล้ว วงศ์วานของอิบรอฮีมคือ อิชมาเอล (อิสมาอีล) อิสอัค (อิสหาก) ยากอบ (ยะอฺกูบ) พระนางซาราห์ (ซารเราะฮฺ) และนางฮาการ์ (พระนางฮาญัร) ล้วนเป็นบุคคลที่ชาวมุสลิมผู้ศรัทธาให้การเคารพยกย่องและถือว่าทั้งหมดเป็นทาสผู้จงรักภักดีของพระเจ้าทั้งสิ้น และความเป็นทาสผู้จงรักภักดีนี้สำหรับชาวมุสลิมแล้วถือเป็นความประเสริฐสูงสุด และผู้ที่ได้รับฐานันดรอันสูงสุดนั้นก็คือ นบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ผู้เป็นทาสรับใช้ที่จงรักภักดีต่อพระผู้เป็นเจ้าเช่นเดียวกับบรรพบุรุษของท่านคือ นบีอิบรอฮีม (อ.ล.) และวงศ์วานของท่าน

ทีนี้เราลองมาอ่านคัมภีรอัล-กุรอานดูสิว่า พูดถึงเรื่องราวของอิบรอฮีม (อ.ล.) หรืออับราฮัมและเปิดเผยถึงคำประกาศเรียกร้องของท่านไว้อย่างไรบ้าง ซึ่งจำนองย้ำว่าสิ่งที่จะยกตัวอย่างต่อไปนี้ไม่มีในพระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้ง 2 เล่ม


وَمَن يَرْ‌غَبُ عَن مِّلَّةِ إِبْرَ‌اهِيمَ إِلَّا مَن سَفِهَ نَفْسَهُ وَلَقَدِ اصْطَفَيْنَاهُ فِي الدُّنْيَا وَإِنَّهُ فِي الْآخِرَ‌ةِ لَمِنَ الصَّالِحِينَ إِذْ قَالَ لَهُ رَ‌بُّهُ أَسْلِمْ قَالَ أَسْلَمْتُ لِرَ‌بِّ الْعَالَمِينَ وَوَصَّىٰ بِهَا إِبْرَ‌اهِيمُ بَنِيهِ وَيَعْقُوبُ يَا بَنِيَّ إِنَّ اللَّـهَ اصْطَفَىٰ لَكُمُ الدِّينَ فَلَا تَمُوتُنَّ إِلَّا وَأَنتُم مُّسْلِمُونَ


ความว่า : “หาได้มีผู้ที่ผินออก (โดยไม่ใยดี) จากมรรคาของอิบรอฮีมนอกเสียจากผู้ที่ดูแคลนและทำให้ตัวเองไร้ค่า และแน่แท้เรา (อัลลอฮฺ) ได้เลือกเขา (อิบรอฮีม) ในโลกนี้ และแท้จริงในโลกหน้านั้นเขาเป็นส่วนหนึ่งจากบรรดาผู้ชอบธรรม

กล่าวคือขณะที่พระผู้อภิบาลของเขาตรัสแก่เขาว่า : เจ้าจงยอมมอบตนโดยดุษฎี เขากล่าวว่า : ข้าพระองค์ยอมมอบตนโดยดุษฎีแล้วต่อพระผู้อภิบาลแห่งสากลโลก และอิบรอฮีมตลอดจนยะอฺกูบ (ยากอบ) ได้กำชับสั่งเสียด้วยสิ่งนั้นกับลูกหลานของตนว่า : โอ ลูกๆ ขอข้าเอ๋ย แท้จริงอัลลอฮฺทรงเลือกศาสนาแห่งการมอบตน (อิสลาม) แก่พวกเจ้าเอาไว้แล้ว ฉะนั้นพวกเจ้าจะต้องไม่สิ้นชีวิตลงเว้นเสียแต่ในสภาพที่พวกเจ้ายอมมอบตนโดยดุษฎี

(อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 130-132)


وَإِبْرَ‌اهِيمَ إِذْ قَالَ لِقَوْمِهِ اعْبُدُوا اللَّـهَ وَاتَّقُوهُ ذَٰلِكُمْ خَيْرٌ‌ لَّكُمْ إِن كُنتُمْ تَعْلَمُونَ إِنَّمَا تَعْبُدُونَ مِن دُونِ اللَّـهِ أَوْثَانًا وَتَخْلُقُونَ إِفْكًا إِنَّ الَّذِينَ تَعْبُدُونَ مِن دُونِ اللَّـهِ لَا يَمْلِكُونَ لَكُمْ رِ‌زْقًا فَابْتَغُوا عِندَ اللَّـهِ الرِّ‌زْقَ وَاعْبُدُوهُ وَاشْكُرُ‌وا لَهُ إِلَيْهِ تُرْ‌جَعُونَ


ความว่า : และ (แน่แท้เราได้ส่ง) อิบรอฮีม (ให้เป็นศาสนทูต) กล่าวคือ อิบรอฮีมได้กล่าวแก่กลุ่มชนของเขาว่า : พวกท่านจงเคารพสักการะอัลลอฮฺและจงยำเกรงพระองค์ นั่นนะท่านทั้งหลายคือสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับพวกท่านหากพวกท่านรู้

อันที่จริงพวกท่านกราบไหว้บรรดารูปเคารพอันเป็นอื่นจากอัลลอฮฺ และพวกท่านก็สร้างมันขึ้นเป็นรูปแกะสลักโดยความเท็จเทียม แท้จริงบรรดาสิ่งที่พวกท่านกราบไหว้อื่นจากอัลลอฮฺนั้น พวกมันไม่ได้ครอบครองปัจจัยยังชีพอันใดแก่พวกท่าน ฉะนั้นพวกท่านจงแสวงหาปัจจัยยังชีพ ณ พระองค์อัลลอฮฺ จงเคารพกราบไหว้พระองค์และจงสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณของพระองค์ ยังพระองค์นั้นพวกท่านจะต้องถูกนำกลับไป

(อัล-อังกะบูต : 16-17)


นี่เป็นเพียงพระวจนะตัวอย่างในคัมภีร์อัล-กุรอาน ซึ่งกล่าวถึงเรื่องราวของนบีอิบรอฮีม (อ.ล.) หรือ อับราฮัม และถ้อยคำของท่านในการประกาศเรียกร้องกลุ่มชนของท่านตามที่พระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.) ทรงดลใจแก่ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) และในอัล-กุรอานได้ระบุเรื่องราวของท่านอันเป็นสาระธรรมและแบบฉบับอันงดงามในการที่ชาวมุสลิมผู้ศรัทธาจะได้เรียนรู้และนำไปปฏิบัติตาม ซึ่งปรากฏในบท อัล-บะเกาะเราะฮฺ , บทอาลิ-อิมรอน , บทอัน-นิสาอฺ , บทอัน-อันอาม , บาทอัต-เตาบะฮฺ , บทฮูด , บทยูสุฟ , บทอิบรอฮีม , บทอัล-หิจญฺร์ , บทอัน-นะหฺลุ , บทมัรยัม , บทอัล-อัมบิยาอฺ , บทอัล-หัจญ์ , บทอัช-ชุอะรออฺ , บทอัล-อังกะบูต , บทอัล-อะหฺซาบฺ ฯลฯ

โดยในแต่ละบทจะกล่าวถึงแง่มุมต่างๆ ที่เกี่ยวกับท่าน เช่น คุณลักษณะที่เป็นความประเสริฐของท่าน การประกาศเรียกร้อง และการโต้ตอบกับบรรดาผู้ปฏิเสธพระเจ้า และฐานันดรอันสูงส่งของท่านและวงศ์วานของท่าน เป็นต้น ซึ่งเรื่องราวในแง่มุมต่างๆ ของท่านที่อัล-กุรอานได้นำเสนอและเปิดเผยเอาไว้ไม่มีปรากฏอยู่ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ทั้ง 2 เล่ม โดยเฉพาะการกิจที่ท่านได้กระทำกับบุตรชายคนหัวปีของท่านคือ นบีอิสมาอีล (อ.ล.) หรืออิชมาอีลในการยกรากฐานบ้านของพระผู้เป็นเจ้าเพื่อให้เป็นสถานที่ในการเคารพสักการะต่อพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว และสถานที่ซึ่งเกี่ยวข้องกับการบำเพ็ญหัจญ์ของชาวมุสลิมอันมีที่มาจากครอบครัวของท่าน

สิ่งที่คัมภีร์อัล-กุรอานได้เปิดเผยข้อเท็จจริงซึ่งแตกต่างจากสิ่งที่พระคริสตธรรมคัมภีร์เก่าเขียนเอาไว้ก็คือ บุตรชายของท่านซึ่งรับพระบัญชาให้เชือดถวายคืออิชมาเอล มิใช่ อิสอัค อย่างที่พระคัมภีร์เขียนและชาวยิวก็เชื่อตามนั้น และอิชมาเอลก็เป็นบุตรของท่านนบีอิบรอฮีม (อ.ล.) หรือ อับราฮัมที่ได้เคยวิงวอนขอต่อพระผู้เป็นเจ้าให้ทรงประทานบุตรที่ชอบธรรมแก่ท่าน แล้วพระองค์ก็ทรงแจ้งข่าวประเสริฐว่าท่านนบีอิบรอฮีม (อ.ล.) จะได้บุตรชายผู้มีความสุขุมคัมภีรภาพและมีสติปัญญาที่หนักแน่นมั่นคง อิชมาเอลหรือนบีอิสมาแอล (อ.ล.) จึงเป็นบุตรแห่งพระสัญญาของพระผู้เป็นเจ้าเช่นเดียวกับ อิสอัค หรือนบีอิสหาก (อ.ล.)

และนางฮาการ์ (พระนางฮาญัร) ผู้ให้กำเนิดอิชมาอีลเป็นบุตรหัวปีให้แก่อับราฮัมนั้น ในพระคริสตธรรมคัมภีร์ก็ไม่ได้ระบุว่านางเป็นทาส แต่ระบุว่า ฝ่ายนางซาราย (ซาราห์) ภรรยาของอับราม (อับราฮัม) ไม่มีบุตรให้ท่าน นางมีหญิงคนใช้ชาวอียิปต์คนหนึ่งชื่อ ฮาการ์ นางซารายจึงพูดกับอับรามว่า “ดูเถิด พระเจ้าไม่ทรงโปรดให้ฉันมีบุตร ขอจงเข้าไปหาคนใช้ของฉันเถิด บางทีฉันจะได้บุตรโดยนางนั้น” อับรามก็ฟังเสียงนางซาราย เมื่ออับรามอยู่ในแคว้นคานาอันได้สิบปีแล้ว นางซารายภรรยาก็ยกฮาการ์คนอียิปต์หญิงคนใช้ของตนให้เป็นภรรยาของอับรามสามีของนาง” (ปฐมกาล 16 : 1-3)

หากความเป็นหญิงรับใช้ของนางฮาการ์ทำให้นางไม่มีสิทธิในความเป็นภรรยาแล้วทำไมพระคัมภีร์จึงระบุว่านางซารายยกนางฮาการ์ให้เป็นภรรยาของอับราม และหากบุตรที่เกิดจากนางฮาการ์ไม่มีสิทธิอันชอบธรรมในความเป็นบุตรของอับราม แล้วเหตุไฉนนางซารายจึงพูดว่า “บางทีฉันจะได้บุตรโดยนางนั้น” กับอับรามผู้เป็นสามี และหากความเป็นหญิงรับใช้ของนางฮาการ์ทำให้อิชมาเอลหมดความชอบธรรมในการเป็นบุตรของอับรามที่มีสิทธิรับมรดกเพราะเป็นบุตรที่เกิดจากหญิงรับใช้ และผู้ที่มีสิทธิรับมรดกคือ อิสอัค ผู้ที่เกิดจากนางซาราย (ซาราห์) ผู้เป็นไท

แล้วชาวยิวกับคริสตชนจะว่าอย่างไรกับลูกชายของยากอบ (นบียะอฺกูบ) ที่เกิดจากนางศิลปาห์สาวใช้ของลาบันผู้เป็นลุงที่ยกศิลปาห์ให้เป็นสาวใช้ของนางเลอาห์ภรรยาคนแรกซึ่งยากอบชิงชัง และลูกชายของยากอบที่เกิดจากนางบิลฮาห์สาวใช้ของลาบันที่ยกบิลฮาห์ให้เป็นสาวใช้ของนางราเชล น้องสาวของเลอาห์และเป็นผู้ที่ยากอบรักชอบ เหตุไฉนพวกเขาซึ่งมี 12 คน จึงถือเป็นบุตรผู้สืบเชื้อสายและพันธสัญญาจากอับราฮัมและอิสอัคเล่า! (ดู ปฐมกาล 29 :1-30)

นางเลอาห์มีบุตรให้แก่ยากอบดังนี้ รูเบน (เป็นบุตรหัวปีของยากอบ) สิเมโอน เลวี ยูดาห์ อิสสาคาร์ และเศบูลูน ฝ่ายนางราเชลมีบุตรชายชื่อ โยเซฟ และ เบนยามิน บุตรชายของบิลฮาห์สาวใช้ของราเชลที่ยกให้เป็นภรรยาของยากอบชื่อ ดาน และ นัฟทาลี ส่วนนางศิลปาห์สาวใช้ของเลอาห์ที่ยกให้เป็นภรรยาของยากอบชื่อ กาด และ อาเชอร์ คนเหล่านี้เป็นบุตรของยากอบ เกิดที่ปัดดานอารัม และเป็นต้นตระกูลของวงศ์วานอิสราเอล (คือยากอบ) ทั้ง 12 ตระกูล (ดู ปฐมกาล 29 : 31-35 , 30 : 1-5 , 35 : 22-26)

เมื่อนางศิลปาห์และนางบิลฮาห์ผู้เป็นหญิงรับใช้ของนางเลอาห์และราเชล ได้รับสิทธิในความเป็นภรรยาของยากอบ แล้วเหตุไฉน นางฮาการ์หญิงรับใช้ของนางซาราย (ซาราห์) จึงไม่ได้รับสิทธิการเป็นภรรยาของอับราฮัมเล่า เมื่อ ดาน นัฟทาลี กาด และ อาเชอร์ ได้รับสิทธิในความเป็นบุตรของยากอบและเป็นต้นตระกูลของวงศ์วานอิสราเอลใน 12 ตระกูล แล้วเหตุไฉน อิชมาเอลจึงไม่ได้รับสิทธิในการเป็นบุตรคนหัวปีของอับราฮัมด้วยเล่า?

การเรียกขานนางฮาการ์และอิชมาเอลว่าเป็นทาสหญิงและบุตรชายของทาสหญิงเป็นคำพูดของนางซาราห์ ขณะที่นางเห็นอิสมาเอลเล่นกับอิสอัคผู้เป็นน้องชายต่างมารดา แล้วนางซาราห์ก็ใช้ให้อับราฮัมไล่สองแม่ลูกนั้นไป “เพราะว่าบุตรชายของทาสหญิงคนนี้จะเป็นผู้รับมรดกร่วมกับอิสอัคบุตรชายของฉันไม่ได้” (ปฐมกาล 21 : 8-10) นั่นมิใช่คำตรัสของพระเจ้า แต่สิ่งที่พระคัมภีร์เก่าระบุก็คือ อับราฮัมกลุ้มใจ เพราะเรื่องบุตรชายของท่าน

พระเจ้าจึงตรัสกับอับราฮัมว่า : อย่ากลุ้มใจเพราะเรื่องเด็กนั้น และทาสหญิงของเจ้า ซาราห์ขออะไรก็จงยอมตามที่นางขอเถิด เพราะชื่อของเจ้าจะสืบต่อไปทางเชื้อสายอิสอัค ส่วนบุตรชายของทาสหญิงนั้น เราจะกระทำให้เป็นชนชาติหนึ่งด้วย เพราะเขาเป็นพงศ์พันธุ์ของเจ้า (ปฐมกาล 21 : 11-13) พระคัมภีร์มิได้ปฏิเสธการเป็นบุตรผู้สืบพงศ์พันธุ์ของอับราฮัมจากอิชมาเอล เมื่ออับราฮัมสิ้นใจ พระคัมภีร์เขียนไว้ว่า อิสอัคและอิชมาเอลบุตรชายของอับราฮัมก็ฝังท่านไว้ในถ้ำมัคเปลาห์ (ปฐมกาล 25 : 7-9)

เมื่ออิชมาเอลเป็นพงศ์พันธุ์ของอับราฮัมและเป็นบุตรคนหัวปี พระคัมภีร์ก็ยืนยันสิทธิของบุตรคนหัวปีไว้ในเรื่องการรับมรดกตามกฏหมายเรื่องบุตรหัวปี ในเฉลยธรรมบัญญัติ 21 : 15-17 อีกทั้งสิ่งที่พระคัมภีร์เขียนไว้ว่า เพราะชื่อของเจ้าจะสืบต่อไปทางเชื้อสายของอิสอัค นั่นก็ถูกแต่ชื่อของอับราฮัมก็สืบต่อไปทางเชื้อสายของอิชมาเอลด้วยเช่นกัน และพันธสัญญาที่พระเจ้าทรงประทานให้แก่อับราฮัมก็เป็นพันธสัญญาที่อิชมาเอลและลูกหลานของท่านได้รับเช่นกัน

พระคัมภีร์เก่าระบุว่า อิสอัค คือบุตรชายของอับราฮัมที่รับพระบัญชาให้ถวายโดยใช้ถ้อยคำว่า “จงพาบุตรของเจ้าคือ อิสอัค บุตรคนเดียวของเจ้าผู้ที่เจ้ารัก ไปยังแคว้นโมริยาห์ และถวายเขาที่นั่นเป็นเครื่องเผาบูชา บนภูเขาลูกหนึ่งซึ่งเราจะบอกแก่เจ้า” (ปฐมกาล 22 : 1-2) ต่อมาพระคัมภีร์เขียนอีกว่า “ทูตสวรรค์ว่า : อย่าแตะต้องเด็กนั้นหรือกระทำอะไรกับเขาเลย เพราะบัดนี้เรารู้แล้วว่าเจ้ายำเกรงต่อพระเจ้า ด้วยเห็นว่าเจ้ามิได้หวงบุตรชายของเจ้า แต่ยอมถวายบุตรคนเดียวของเจ้าให้เรา” (ปฐมกาล 22 : 12)

พระเจ้าตรัสว่า : เราปฏิญาณในนามของเราว่าเพราะเจ้ากระทำอย่างนี้และมิได้หวงบุตรชายของเจ้า คือบุตรขายคนเดียวของเจ้า” (ปฐมกาล 22 : 16) ความจริงก็คือว่าบุตรชายคนเดียวของเจ้า มิใช่ อิสอัค แต่เป็น อิชมาเอล ตราบใดที่อิชมาเอลเป็นบุตรชายของอับราฮัมและเป็นบุตรหัวปีของอับราฮัม อิสอัคก็ย่อมมิใช่บุตรคนเดียวของอับราฮัม อิชมาเอลเป็นพี่ชายต่างมารดาของอิสอัค แต่เกิดก่อนอิสอัค เพราะพระคัมภีร์เขียนไว้ว่า : เมื่อนางฮาการ์คลอดอิชมาเอลให้แก่อับรามนั้น อายุอับรามได้แปดสิบหก (86 ปี) (ปฐมกาล 16 : 16)

และเมื่อวันที่อับรามเข้าสุหนัตนั้นมีอายุเก้าสิบเก้าปี อิชมาเอลเข้าสุหนัตพร้อมอับรามผู้เป็นบิดาในวันเดียวกันขณะนั้นอิชมาเอลมีอายุสิบสามปี (ปฐมกาล 17 : 24-25) และอับราฮัมมีอายุหนึ่งร้อยปีเมื่ออิสอัคบุตรชายเกิดแก่ท่าน (ปฐมกาล 21 : 5) นั่นแสดงว่าอิชมาเอลมีอายุมากกว่าอิสอัคน้องชายถึง 14 ปี ดังนั้นตลอดช่วงเวลา 13 ปีก่อนเกิดอิสอัค อิชมาเอลจึงเป็นบุตรชายคนเดียวของอับราฮัม แต่เมื่อมีอิสอัคแล้วอิชมาเอลก็มิใช่บุตรชายคนเดียวของอับราฮัมอีกต่อไป แต่เป็นบุตรหัวปี

ส่วนอิสอัคนั้นไม่เคยมีวันใดเลยที่ท่านจะถูกเรียกว่าบุตรชายคนเดียวของอับราฮัม ตราบใดที่อิชมาเอลยังมีชีวิตอยู่ นี่คือข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น แต่แน่นอนชาวยิวและคริสตชนก็คงยืนกรานในความเชื่อที่ว่า อิสอัคคือบุตรชายคนเดียวของอับราฮัมที่มีพระบัญชาจากพระเจ้าให้เชือดถวายเพื่อลองใจอับราฮัม ซึ่งเมื่อเลือกที่จะเชื่อเช่นนั้น ก็ต้องยอมรับด้วยว่าข้อความในพระคัมภีร์ขัดกับข้อเท็จจริงและความสมเหตุสมผล

สำหรับชาวมุสลิมผู้ศรัทธาแล้วพวกเขามิได้เชื่อในสิ่งที่พระคัมภีร์เก่าเขียนเอาไว้เพราะนั่นเป็นสิ่งที่มนุษย์เขียนขึ้นด้วยมือของพวกเขาและกล่าวอ้างว่ามาจากพระเจ้า แต่มุสลิมเชื่อและศรัทธาในพระวจนะของพระเจ้าที่ทรงดลใจให้แก่ท่านนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) และเปิดเผยเอาไว้ในคัมภีร์อัล-กุรอานว่า


وَقَالَ إِنِّي ذَاهِبٌ إِلَىٰ رَ‌بِّي سَيَهْدِينِ رَ‌بِّ هَبْ لِي مِنَ الصَّالِحِينَ فَبَشَّرْ‌نَاهُ بِغُلَامٍ حَلِيمٍ فَلَمَّا بَلَغَ مَعَهُ السَّعْيَ قَالَ يَا بُنَيَّ إِنِّي أَرَ‌ىٰ فِي الْمَنَامِ أَنِّي أَذْبَحُكَ فَانظُرْ‌ مَاذَا تَرَ‌ىٰ قَالَ يَا أَبَتِ افْعَلْ مَا تُؤْمَرُ‌ سَتَجِدُنِي إِن شَاءَ اللَّـهُ مِنَ الصَّابِرِ‌ينَفَلَمَّا أَسْلَمَا وَتَلَّهُ لِلْجَبِينِ وَنَادَيْنَاهُ أَن يَا إِبْرَ‌اهِيمُ قَدْ صَدَّقْتَ الرُّ‌ؤْيَا إِنَّا كَذَٰلِكَ نَجْزِي الْمُحْسِنِينَ إِنَّ هَـٰذَا لَهُوَ الْبَلَاءُ الْمُبِينُ وَفَدَيْنَاهُ بِذِبْحٍ عَظِيمٍ وَتَرَ‌كْنَا عَلَيْهِ فِي الْآخِرِ‌ينَ سَلَامٌ عَلَىٰ إِبْرَ‌اهِيمَ كَذَٰلِكَ نَجْزِي الْمُحْسِنِينَ إِنَّهُ مِنْ عِبَادِنَا الْمُؤْمِنِينَ وَبَشَّرْ‌نَاهُ بِإِسْحَاقَ نَبِيًّا مِّنَ الصَّالِحِينَ


ความว่า : “และเขา (อิบรอฮีม) กล่าวว่า : แท้จริงฉันมุ่งไปยังพระผู้อภิบาลของฉัน พระองค์จะทรงนำทางให้แก่ฉัน * โอ พระผู้อภิบาลของข้าพระองค์ ขอทรงประทานแก่ข้าพระองค์จากบรรดาผู้ชอบธรรม * แล้วเราได้แจ้งข่าวดีแก่เขาด้วยบุตรชายผู้มีความสุขุมคัมภีรภาพ (อิสมาอีล)

*ครั้นเมื่อบุตรนั้นบรรลุสู่วัยที่จะกระทำกิจพร้อมกับเขา (ผู้เป็นบิดา) แล้วอิบรอฮีมกล่าวว่า : โอ ลูกพ่อ แท้จริงพ่อได้ฝันเห็นว่าแน่แท้พ่อกำลังจะเชือดเจ้า ฉะนั้นลูกพ่อจงดูเอาเถิดว่าสิ่งใดที่เจ้าเห็น เขา (อิสมาอีล) กล่าวว่า : โอ พ่อจ๋า ขอให้พ่อจงกระทำตามสิ่งที่พ่อถูกบัญชาเถิด หากพระองค์อัลลอฮฺทรงประสงค์ พ่อจะได้พบว่าลูกของพ่อเป็นหนึ่งจากเหล่าผู้มีขันติธรรม

* ครั้นเมื่อสองพ่อลูกได้ยอมพร้อมใจและรับพระบัญชาโดยดุษฎีแล้วและอิบรอฮีมได้จับอิสมาอีลลงคว่ำหน้ากับพื้นตรงปลายขมับด้านข้าง * และเราได้เรียกเขาว่า โอ อิบรอฮีมเอ๋ย แน่แท้เจ้าได้กระทำให้ความฝันนั้นเป็นจริงแล้ว แท้จริงเรา เช่นนั้นแหละเราจะตอบแทนบรรดาผู้ประพฤติตนอยู่ในธรรม

* แท้จริงสิ่งนี้คือการทดสอบที่ชัดแจ้ง * และเราได้ไถ่ชีวิตเขา (อิสมาอีล) ด้วยแกะอันสำคัญนัก ซึ่งจะถูกเชือดถวาย* และเราได้ละไว้ซึ่งการเชือดสัตว์พลีนั้นในหมู่ชนรุ่นหลัง (คือการเชือดสัตว์พลีในหมู่ชาวมุสลิม) * ศานติจงมีแด่อิบรอฮีม * เช่นนั้นแหละเราจะตอบแทนบรรดาผู้ประพฤติตนอยู่ในธรรม * แท้จริงอิบรอฮีมเป็นหนึ่งจากปวงบ่าวผู้ศรัทธาของเรา * และเราได้บอกข่าวดีแก่อิบรอฮีมด้วยอิสหากผู้เป็นนบีคนหนึ่งจากบรรดาผู้ชอบธรรม*

(อัศ-ศอฟฟาต : 99-112)


คัมภีร์อัล-กุรอานมิได้ออกชื่อนบีอิสมาอีล (อ.ล.) หรือ อิชมาเอล เอาไว้ในพระวจนะที่กล่าวมาแต่การลำดับเรื่องเป็นสิ่งที่บ่งชี้อย่างชัดเจนว่าบุตรชายของนบีอิบรอฮีม (อ.ล.) หรือ อับราฮัมที่พระผู้เป็นเจ้าทรงบัญชาผ่านการนิมิตให้ท่านเชือดถวายนั้นคือ นบีอิสมาอีล (อ.ล.) เพราะเมื่อจบเรื่องการเชือดถวายแล้ว อัล-กุรอานก็ระบุถึงเรื่องราวของนบีอิสหาก (อ.ล.) หรือ อิสอัค ในลำดับต่อมา ซึ่งบ่งชัดเจนว่าเป็นบุตรชายคนละคนกัน และการเชือดถวายนี้เป็นการทดลองทั้งฝ่ายบิดาผู้มีบุตรชายคนเดียว และฝ่ายบุตรชายคนเดียวที่ยอมปฏิบัติตามพระบัญชาของพระผู้เป็นเจ้าที่มีถึงบิดาด้วยหัวใจที่หนักแน่นมั่นคง เหตุนี้ อัล-กุรอานจึงระบุคุณลักษณะของอิบรอฮีม (อ.ล.) ผู้เป็นบิดา และอิสมาอีล (อ.ล.) ผู้เป็นบุตรด้วยคุณลักษณะเดียวกันว่า


إِنَّ إِبْرَ‌اهِيمَ لَأَوَّاهٌ حَلِيمٌ


ความว่า : “แท้จริงอิบรอฮีมนั้นคือผู้ที่เจ็บปวดใจ (เนื่องจากความยำเกรงและยอมสละบุตรชายของตนเพื่อถวายแด่อัลลอฮฺ) ยิ่งนัก อีกทั้งมีความสุขุมคัมภีรภาพ (ด้วยหัวใจที่หนักแน่นมั่นคง)” (อัต-เตาบะฮฺ : 114)


إِنَّ إِبْرَ‌اهِيمَ لَحَلِيمٌ أَوَّاهٌ مُّنِيبٌ


ความว่า : “แท้จริงอิบรอฮีมนั้นคือผู้มีความสุขุมคัมภีรภาพ มีความเจ็บปวดใจเนื่องจากความยำเกรงพระเจ้า เป็นผู้กลับตนสู่พระองค์” (ฮูด : 75)


فَبَشَّرْ‌نَاهُ بِغُلَامٍ حَلِيمٍ


ความว่า “แล้วเราได้แจ้งข่าวดีแก่อิบรอฮีม ถึงบุตรชายผู้มีความสุขุมคัมภีรภาพ (คือ อิสมาอีล) (อัศ-ศอฟฟาต : 101)


สำหรับชาวมุสลิมแล้ว การที่พวกเขาเชื่อว่าบุตรชายของนบีอิบรอฮีม (อ.ล.) ที่ถูกเชือดถวายนั้นคือ อิสมาอีล (อ.ล.) หรือ อิชมาเอล มิใช่ อิสหาก (อ.ล.) หรือ อิสอัค นั่นมิได้หมายความว่า อิสมาอีล (อ.ล.) มีความประเสริฐเหนือกว่าอิสหาก (อ.ล.) หรือคนหนึ่งมีความสูงส่งกว่าอีกคนหนึ่งอย่างที่พวกยิวมีความเชื่อ เพราะชาวมุสลิมไม่แบ่งแยกบรรดาศาสนทูตของพระองค์อัลลอฮฺ (ซ.บ.)


لَا نُفَرِّ‌قُ بَيْنَ أَحَدٍ مِّن رُّ‌سُلِهِ


ความว่า “เราจะไม่แบ่งแยกระหว่างผู้หนึ่งผู้ใดจากเหล่าศาสนทูตของพระองค์” (อัล-บะเกาะเราะฮฺ : 285)


เพราะอิสหาก (อ.ล.) หรือ อิสอัคก็คือศาสนทูตของพระเจ้าดังที่อัล-กุรอานระบุไว้อย่างชัดเจนว่า


نَبِيًّا مِّنَ الصَّالِحِيْنَ


ความว่า “(เขาคืออิสหาก) เป็นนบีท่านหนึ่งจากบรรดาผู้ชอบธรรม” (อัศ-ศอฟฟาต : 112)


และอิสมาอีล (อ.ล.) หรือ อิชมาเอลก็คือศาสนทูตของพระเจ้าเช่นกันดังที่อัล-กุรอานระบุว่า


كَانَ صَادِقَ الْوَعْدِ وَكَانَ رَ‌سُولًا نَّبِيًّا


ความว่า “เขา (อิสมาอีล) เป็นผู้รักษาสัญญาด้วยความซื่อสัตย์ และเขาเป็นศาสนทูตผู้เผยพระวจนะ” (มัรยัม : 54)


เมื่อบุคคลทั้งสองคือศาสนทูตผู้เผยพระวจนะของพระเจ้าตามที่อัล-กุรอานระบุเอาไว้ มุสลิมผู้ศรัทธาก็ย่อมมิอาจแบ่งแยกผู้หนึ่งผู้ใดได้เลยจากเหล่าศาสนทูตและบรรดาผู้เผยพระวจนะของพระเจ้า สิ่งที่มุสลิมผู้ศรัทธามีความเชื่อและจำต้องประกาศอย่างเปิดเผยก็คือสิ่งที่อัล-กุรอานระบุว่า :


قُلْ آمَنَّا بِاللَّـهِ وَمَا أُنزِلَ عَلَيْنَا وَمَا أُنزِلَ عَلَىٰ إِبْرَ‌اهِيمَ وَإِسْمَاعِيلَ وَإِسْحَاقَ وَيَعْقُوبَ وَالْأَسْبَاطِ وَمَا أُوتِيَ مُوسَىٰ وَعِيسَىٰ وَالنَّبِيُّونَ مِن رَّ‌بِّهِمْ لَا نُفَرِّ‌قُ بَيْنَ أَحَدٍ مِّنْهُمْ وَنَحْنُ لَهُ مُسْلِمُونَ


ความว่า จงกล่าวเถิด (โอ ศาสนทูตของอัลลอฮฺ) ว่าเราศรัทธาต่อพระองค์อัลลอฮฺ และศรัทธาต่อสิ่งที่ถูกประทานลงมาเหนือเรา และสิ่งที่ถูกประทานลงมาเหนืออิบรอฮีม อิสมาอีล อิสหาก ยะอฺกูบ และบรรดาลูกหลานของยะอฺกูบ และศรัทธาต่อสิ่งที่มูซา อีซา และบรรดาผู้เผยพระวจนะจาก พระเจ้าของพวกเขาได้ถูกนำมา เราจะไม่แบ่งแยกระหว่างผู้หนึ่งผู้ใดจากพวกเขาเหล่านั้น และเราคือผู้ยอมจำนนต่อพระองค์” (อาลิ-อิมรอน :84)


โอ คริสตชนทั้งหลาย นี่คือสัจธรรมอันเป็นความจริงซึ่งนบีมุฮัมมัด (ศ็อลลัลลอฮฺอะลัยฮิวะซัลลัม) ศาสนทูตท่านสุดท้ายผู้ที่พระคริสตธรรมคัมภีร์เรียกขานว่า “พระผู้ช่วย” (ยอห์น 14 : 15) ที่พระเยซูคริสต์ทรงสัญญาไว้ว่าจะทูลขอพระบิดา เมื่อพระผู้ช่วยนั้นเสด็จลงมาแล้วจะทรงสอนท่านทั้งหลายทุกสิ่ง (ยอห์น 14 : 26) จะทรงกระทำให้โลกรู้แจ้งในเรื่องความผิดความชอบธรรม และการพิพากษา (ยอห์น 16 : 8) และจะนำท่านทั้งหลายไปสู่ความจริงทั้งมวล

เพราะพระองค์จะไม่ตรัสโดยพละการ แต่พระองค์จะตรัส สิ่งที่พระองค์ได้ยิน และพระองค์จะทรงแจ้งให้ท่านทั้งหลายรู้ถึงสิ่งเหล่านั้นที่จะเกิดขึ้น (ยอห์น 16: 13) และองค์พระผู้ช่วย ที่พระเยซูคริสต์ทรงสัญญาไว้กับพวกท่านทั้งหลายนั้นมาแล้ว และได้เปิดเผยความจริงทั้งมวลตามสิ่งที่พระองค์ได้ยินนั่นคือพระวจนะของพระผู้เป็นเจ้าในคัมภีร์อัล-กุรอานนั่นเอง

ฝ่ายเราผู้เชื่อและศรัทธาในอัล-มะสีหฺ อีซา บุตรมัรยัม (อ.ล.) และเหล่าศาสนทูตทั้งปวงได้รับความจริงนั้นแล้วด้วยความวางใจในองค์พระผู้เป็นเจ้าพระผู้ทรงเป็นพระเจ้าแห่งสากลจักรวาล แล้วพวกท่านทั้งหลายเล่า ไฉนจึงไม่ยอมรับในสัญญาที่อัล-มะสีหฺ อีซา (อ.ล.) หรือพระเยซูคริสต์ได้ประกาศไว้ หากพวกท่านไม่ยอมรับในสัญญานั้นก็ขอจงเป็นพยานแก่ฝ่ายเราด้วยว่า เราเป็นผู้ที่ยอมจำนนต่อพระผู้เป็นเจ้าและรับในคำสัญญานั้นแล้ว


رَبَّنَاآمَنَّا بماأنزلْتَ واتَّبَعْنَا الرسولَ فَا كْتُبْنَا مع الشاهدين


“โอ พระผู้อภิบาลแห่งเรา เราศรัทธาแล้วต่อสิ่งที่พระองค์ทรงประทานลงมา และเราได้ถือปฏิบัติตามศาสนทูตนั้นแล้ว 
ดังนั้นขอพระองค์ทรงบันทึกให้เราอยู่พร้อมกับบรรดาผู้เป็นสักขีพยานทั้งปวงด้วยเทอญ”


read more "คัมภีร์อัล-กุรอานกับคริสตชน : ภาคที่ 10"

บทความแนะนำ

World Clock

Featured Posts

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม โดย : Cem Nizamoglu และ Sairah Yassir-Deane ย้อนหลังไปถึงมีนาคม 2015 ข่าวเกี่ยวก...