product :

วันจันทร์ที่ 28 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เลือกคู่ครอง "เพื่ออัลลอฮ์"

เลือกคู่ครอง "เพื่ออัลลอฮ์"



".. ทำไมไม่แต่งงาน .." .. ท่านอัยยู๊บ(นัจมุดดีน) ผู้ดูแลป้อมตักรีด(เมืองหนึ่งในประเทศอิรัก)ในยุคประมาณเกือบ 900 ปีที่แล้ว ทั้งๆที่ท่านเป็นผู้มีความสามารถ มีตำแหน่งสูง แต่ท่านยังครองตัวเป็นโสด ไม่แต่งงาน

ท่านปฏิเสธที่จะแต่งงานกับลูกสาวของเจ้าปกครองแคว้น ลูกสาวของรัฐมนตรี และลูกสาวของผู้สูงศักดิ์ในยุคนั้น ทั้งๆที่พวกนางทั้งสวย รวยและสูงศักดิ์

.. น้องชายของท่านรู้สึกสงสัยเรื่องดังกล่าวมาก จึงถามพี่ชายว่า "ทำไมพี่ถึงไม่แต่งงานเสียทีครับ"
.. พี่ชายตอบว่า "พี่อยากได้คนที่เข้ามาในชีวิตแล้ว ทำให้พี่ดีขึ้น"
.. น้องถามว่า "บรรดาสตรีที่พี่ปฏิเสธพวกนาง ไม่ทำให้ชีวิตพี่ดีขึ้นได้หรือ แล้วพี่ต้องการผู้หญิงแบบไหนครับ"
.. พี่ชายตอบว่า "พวกนางไม่น่าทำให้ชีวิตพี่ดีขึ้น พี่อยากได้สตรีดีๆที่จะพาพี่ไปสวรรค์ของอัลเลาะฮฺ สตรีที่ดูแลลูกของพี่ให้เป็นนักรบผู้เก่งกาจ เพื่อเขาจะนำพามุสลิมทวงมัสยิดอัลอักซอคืนจากพวกไม้กางเขน" (ยุคนั้นมัสยิดอัลอักซอตกอยู่ในการครอบครองของพวกไม้กางเขน)

หัวใจของอัยยู๊บ เปี่ยมไปด้วยความปรารถนาสวรรค์และความต้องการให้มัสยิดอัลอักซอหวนคืนสู่การปกครองโดยมุสลิม แม้แต่เรื่องการเลือกคู่ครอง หัวใจของเขาจึงวางเงื่อนไขว่า เธอคนนั้นต้องเป็นคนดี นำพาครอบครัวสู่สวรรค์ และจะต้องเลี้ยงลูกให้เป็นนักรบที่มีอีหม่านและมีความเก่งกาจ เพื่อจะนำพามุสลิมสู่ความเกรียงไกร

.. น้องชายจึงถามต่ออีกว่า "แล้วพี่จะไปหาสตรีแบบนั้นได้ที่ไหนเล่า"
.. พี่ชายตอบว่า "ผู้ใดมีความบริสุทธิ์ใจต่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) อัลลอฮฺ (ซ.บ.) จะทรงประทานสิ่งที่เขาต้องการแก่ผู้นั้น"
จนกระทั่งถึงวันหนึ่ง ท่านอัยยู๊บเข้าไปศึกษาฟังศาสนาจากเชคท่านหนึ่่งที่มัสยิดในเมืองตักรีด ขณะนั้นมีเสียงสตรีคนหนึ่งเรียกท่านเชคเพื่อคุยธุระ ท่านเชคก็ไปคุยกับนาง เขาได้ยินเสียงทั้งสองคุยกันว่า

.. เชคพูดว่า "ทำไมเธอจึงตอบปฏิเสธผู้ชายที่ฉันส่งตัวไปสู่ขอเธอล่ะ เขาไม่ดีตรงไหนหรือ"
.. นางตอบว่า "แม้ว่าเขาจะหน้าตาดีและเป็นผู้มีเกียรติสูงในสังคม แต่เขาคงไม่ทำให้ฉันดีขึ้น"
.. เชคจึงถามนางว่า "แล้วเธอชอบผู้ชายแบบไหนหรือ ฉันจัดการเรื่องนี้ให้เธอได้"
.. นางตอบว่า "ฉันชอบผู้ชายดีๆที่จะพาฉันไปสวรรค์ของอัลลอฮฺ (ซ.บ.)  ผู้ชายที่ดูแลลูกของฉันให้เป็นนักรบผู้เก่งกาจ เพื่อเขาจะนำพามุสลิมทวงมัสยิดอัลอักซอคืนจากพวกไม้กางเขน" พูดจบนางก็เดินออกไป
.. ท่านอัยยู๊บได้ยินเช่นนั้น ถึงกับตกใจ เพราะสิ่งที่นางพูดคือสิ่งเดียวกันกับที่เขาตอบน้องชายไป ท่านไม่รอช้า ท่านรีบเดินไปหาเชคบอกกับเขาว่า "ฉันต้องการแต่งงานกับนาง"
.. ท่านเชคจึงบอกเขาว่า "นางเป็นคนจนมากๆ นะ"
.. ท่านอัยยู๊บจึงบอกเชคว่า "ฉันชอบสตรีดีๆที่จะพาฉันไปสวรรค์ของอัลลอฮฺ (ซ.บ.)  สตรีที่ดูแลลูกของฉันให้เป็นนักรบผู้เก่งกาจ เพื่อเขาจะนำพามุสลิมทวงมัสยิดอัลอักซอคืนจากพวกไม้กางเขน"
ที่สุดเขาได้แต่งงานกับนาง เพราะเขามีเจตนาที่ดี ที่บริสุทธิ์เพื่อ อัลลอฮฺ (ซ.บ.) พระองค์จึงทรงเลือกนางให้กับเขา และทรงเลือกเขาให้กับนาง
ต่อมานางมีบุตรชายคนหนึ่ง บุตรที่โลกทั้งโลกรู้จักเขาเป็นอย่างดี บุตรที่โลกอิสลามและโลกทั้งมวลจดจำชื่อของเขาไปอีกนานเท่านาน บุตรชายของเขาและนาง คือ ท่านศ่อลาฮุดดีน อัลอัยยูบี้ ผู้ปลดปล่อยปาเลสไตน์และมัสยิดอัลอักซอให้พ้นจากเงื้อมมือของพวกไม้กางเขน ทำให้มวลมุสลิมทำละหมาดและทำอิบาดะฮฺในนั้นได้อย่างอิสระเสรี ในวันที่ 2 ตุลาคม ค.ศ. 1187 ซึ่งทำให้การยึดครองของพวกไม้กางเขนเป็นเวลา 88 ปีต้องสิ้นสุดลง

.. นี่คือเจตนารมณ์อันมั่นคงของทั้งสอง สำหรับการแต่งงาน "เขาทั้งสองต้องการคู่ครองที่ดีงาม นำพากันและกันสู่สวรรค์ของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ต้องการผู้เลี้ยงดูบุตรเพื่อเป็นผู้มีอีหม่านและเป็นนักรบ เพื่อปลดแอกมุสลิมให้พ้นจากการกดขี่ข่มเหงของศัตรู" ... พวกเราหล่ะ ที่ตกลงแต่งงานกับอีกฝ่ายหนึ่ง มีเป้าหมายหรือเพราะเหตุอันใด ..." อย่าให้ "รัก" มาบดบังความเป็นคนดีและเป้าหมายดีๆ นะครับ "... ตั้งเจตนาให้ดีๆและให้บริสุทธิ์ใจเพื่ออัลลอฮฺ (ซ.บ.) จากนั้นพระองค์จะทรงดูแลจัดการให้อย่างลงตัว..อินชาอัลลอฮฺ


ที่มา : Tarkan Khan


#สารพันบทความ_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "เลือกคู่ครอง "เพื่ออัลลอฮ์""

วันศุกร์ที่ 25 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ประวัติศาสตร์อิสลาม : ประวัติอิสลามในช่วง 1300 ปีใน 3 นาที

ประวัติศาสตร์อิสลาม : ประวัติอิสลามในช่วง 1300 ปีใน 3 นาที





ประวัติศาสตร์อิสลาม : ประวัติอิสลามในช่วง 1300 ปีใน 3 นาที


การเพิ่มขึ้นและการล่มสลายของจักรวรรดิมุสลิมในตะวันออกกลางในช่วง 1300 ปีนับจากช่วงต้นทศวรรษ 600 ถึงทศวรรษที่ 1900


#ประวัติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "ประวัติศาสตร์อิสลาม : ประวัติอิสลามในช่วง 1300 ปีใน 3 นาที"

วันจันทร์ที่ 21 สิงหาคม พ.ศ. 2560

มลาอิกะฮ์

มลาอิกะฮ์



คำว่า "มลาอิกะฮ์" มีรากศัพท์มาจากภาษาอาหรับว่า "มะละกะ" หมายถึง การปกครอง การมีอำนาจ โดยถูกสร้างมาจากรัศมี (นูร) มีจำนวนมากมาย ไม่มีใครรู้จำนวนได้นอกจากอัลลอฮฺ (ซ.บ.) มลาอิกะฮฺไม่มีเพศ ไม่บริโภค และไม่ดื่ม มะลาอิกะฮฺเป็นบ่าวที่ปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮฺ ไม่บิดพริ้ว ไม่ฝ่าฝืนคำสั่ง

ไม่มีความคิดที่จะเลือกทำอะไรหรือทำสิ่งใดโดยลำพังได้ เพราะมลาอิกะฮ์มีหน้าที่ปฏิบัติตามคำสั่งของอัลลอฮ์เพียงอย่างเดียว มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นมะลาอิกะฮฺในสภาพเดิมได้ เว้นแต่บรรดานบีเท่านั้น เพราะมลาอิกะฮ์เป็นร่างที่ละเอียดอ่อน เหมือนที่มนุษย์ไม่สามารถมองเห็นลมได้ ทั้ง ๆ ที่ลมสามารถพัดใบไม้ไหวได้ แต่มนุษย์สามารถมองเห็นมะลาอิกะฮฺได้ในลักษณะจำแลง กล่าวคือ เมื่อมลาอิกะฮ์ได้จำแลงร่างให้เป็นมนุษย์

มะลาอิกะฮฺ 10 ท่าน ที่มุสลิมทุกคนควรทราบชื่อ
  1. ญิบรีล (นามูส, รูหูลกุดุส และรูหุลอะมีน) เป็นผู้นำในบรรดามะลาอิกะฮฺทั้งหลาย และเป็นผู้นำวะฮฺยูจากอัลลอฮฺ (ซ.บ.)ไปยังบรรดานบีและเราะซูล
  2. มีกาอีล เป็นผู้ควบคุมระบบสุริยจักรวาล และนำปัจจัยยังชีพ (ริชกี) มาให้แก่บรรดามัคลูกทั้งหลาย
  3. อิซรออีล (มะลิกุลเมาตฺ) ทำหน้าที่ ถอดวิญญาณมัคลูกตามเวลาที่กำหนดไว้
  4. อิสรอฟีล เป่าแตร(ศูรฺ) เมื่อถึงกำหนดวันสิ้นโลก (วันกิยามะฮฺ) และวันฟื้นคืนชีพ
  5. รอกีบ ผู้บันทึกอันมีเกียรติ อยู่ประจำข้างซ้ายและข้างขวาของมนุษย์ บันทึกความดี ความชั่วของมนุษย์
  6. อะตีด ผู้บันทึกอันมีเกียรติ อยู่ประจำข้างซ้ายและข้างขวาของมนุษย์ บันทึกความดี ความชั่วของมนุษย์
  7. มุนกัรฺ ทำหน้าที่ สอบสวนคนตายในสุสาน (กุโบรฺ)
  8. นะกีรฺ ทำหน้าที่ สอบสวนคนตายในสุสาน
  9. ริฎวาน คอยดูแลและเฝ้าประตูสวรรค์
  10. มาลิก (ซะบานียะฮฺ) คอยดูแลและเฝ้าประตูนรก
มลาอิกะฮ์ท่านอื่น ๆ

นอกจากนี้อัลกุรอานระบุอีกว่า มีมลาอิกะฮ์จำนวนหนึ่งที่แบกหามพระบัลลังก์ของอัลลอฮฺ (ซ.บ.) ซึ่งอัลกุรอานไม่ได้ระบุว่าในปัจจุบันมีจำนวนเท่าไหร่ แต่ระบุว่า ในวันอาคิเราะฮฺ มะลาอิกะฮฺผู้แบกบัลลังก์มีจำนวน 8 ตน นอกจากนั้นยังมีมลาอิกะฮ์อีกมากมายที่ห้อมล้อมพระบัลลังก์ คอยสรรเสริญสดุดีพระองค์และวิงวอนขอให้อัลลอฮฺทรงอภัยให้แก่บรรดาศรัทธาชนผู้สำนึกผิด

อัลกุรอานได้เล่าเรื่องของมะลาอิกะฮฺที่ลงมาบอกข่าวดีแก่นบีอิบรอฮีม นบีซะกะรียา และมัรยัมมารดานบีอีซา และมลาอิกะฮ์ที่มาบอกให้ลูฏออกจากเมืองก่อนที่ดวงอาทิตย์จะขึ้น เนื่องจากว่าเมืองโซโดมกำลังจะถูกทำลาย

นอกจากนี้อัลลอฮฺยังได้ทรงส่งมะลาอิกะฮฺลงมาในนครบาบิโลน เพื่อเป็นข้อทดสอบสำหรับมนุษย์ในเรื่องไสยศาสตร์

การศรัทธาต่อบรรดามลาอิกะฮ์

อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงสร้างมลาอิกะฮ์ จากรัศมี ปฏิบัติและเชื่อฟังตามคำบัญชาของพระองค์ ภักดี และซื่อสัตย์ ต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) เพียงพระองค์เดียว อัลลอฮ (ซ.บ.) ทรงตรัสว่า

*(20) وَلَهُ مَن فِي السَّمَاوَاتِ وَالْأَرْضِ وَمَنْ عِندَهُ لَا يَسْتَكْبِرُونَ عَنْ عِبَادَتِهِ وَلَا يَسْتَحْسِرُونَ (19)* يُسَبِّحُونَ اللَّيْلَ وَالنَّهَارَ لَا يَفْتُرُونَ 

(19-20 الأنبياء)

"และผู้ที่อยู่ ณ ที่พระองค์ (มลาอิกะฮ์) พวกเขาจะไม่ลำพองตนในการเคารพภักดีพระองค์ และพวกเขาจะไม่เหนื่อยหน่าย พวกเขาจะแซ่ซร้องสดุดีพระองค์ ในเวลากลางคืนและเวลากลางวัน โดยไม่ขาดระยะ" ( อัลอันบิยาอ์ 19- 20)

มลาอิกะฮ์ มีจำนวนมากเท่าไหร่นั้น ไม่มีใครรู้ได้นอกจากอัลลอฮ์ เท่านั้น ได้มีหลักฐานกล่าวไว้ในหนังสือหะดีษบุคอรี-มุสลิม จากหะดีษของท่านอนัสร่อดิยัลลอฮุอันฮุ ในประวัติของเมี๊ยะรอจ (การเข้าเฝ้าอัลลอฮ์ระหว่างบัยติ้ลมัคดิษและบัยติ้ลอิซซะฮ์ )

(( أن النبي صلى الله عليه وسلم رفع له البيت المعمور في السماء يصلي فيه كل يوم سبعون ألف ملك إذا خرجوا لم يعودوا إليه آخر ماعليهم ))

ท่านนะบี (ซ.ล.) ถูกเชิญขึ้นสู่บัยตุ้ลมะมูร ((กะอฺบะฮฺ ที่มวลมลาอิกะฮ์ใช้ตอวาฟ )) ในชั้นฟ้า ทุกวันมีมลาอิกะฮิ 70,000 ท่านทำการละหมาด เมื่อพวกเขาได้ออกจากที่นั้นพวกเขาจะไม่หวนคืนกลับมาอีกนั้นถือว่าเป็นครั้งสุดท้ายที่เป็นวาญิบเหนือพวกเขา

การศรัทธาต่อบรรดามลาอิกะฮ์ประกอบไปด้วย 4 ประการ


๑. ศรัทธาถึงการมีอยู่ ของมลาอิกะฮ์

๒. ศรัทธาต่อมลาอิกะฮ์ ที่ได้บอกไว้ในอัลกุรอานและฮะดิษ และที่ไม่ได้กล่าวไว้

๓. ศรัทธาต่อบรรดามลาอิกะฮ์ ที่ทราบถึงคุณลักษณะ และที่ไม่ทราบ เช่น ลักษณะท่านญิบรีล

قد أخبر النبي صلى الله عليه وسلم أنه رأى جبريل - عليه السلام - على صفته التي خلق عليها وله ستمائة جناح قد سد الأفق .

ท่านนะบี (ซ.ล.) ได้เล่าว่าแท้จริงท่านได้เห็น ญิบรีล อะลัยฮิสลาม ในลักษณะหนึ่งซึ่งถูกสร้างมาในลักษณะนั้นมี 600 ปีก จรดขอบฟ้า

มลาอิกะฮ์ สามารถจำแลงร่างตามคำสั่งของอัลลอฮ์ เมื่อครั้งที่พระองค์ได้ส่งญิบรีลไปยังพระนางมัรยัม โดยจำแลงร่างเหมือนมนุษย์ และในขณะที่มลาอิกะฮ์ได้มาหาท่านนะบี (ซ.ล.) ในขณะนั่งอยู่ร่วมกับบรรดาศอฮาบะฮ์ของท่าน มีผู้ชายแข็งแรงใส่เสื้อสีขาวสะอาด ผมสีดำ ไม่มีร่องรอยของการเดินทาง ในหมู่ศอฮาบะฮ์ไม่มีใครเคยเห็นมาก่อน ชายผู้นั้นได้นั่งลงข้างท่านนะบี (ซ.ล.) โดยเอาหัวเข่าทั้งสองชิดหัวเข่าของท่าน และวางฝ่ามือทั้งสองไว้บนน่องของท่าน ชายผู้นั้นได้ถามท่านเกี่ยวกับ อัล อิสลาม การศรัทธา จริยธรรม วันกิยามะฮ์ และสัญญาณวันกิยามะฮ์ ท่านนะบี (ซ.ล.) ได้ตอบคำถามชายผู้นั้นไป หลังจากนั้นท่านนะบี (ซ.ล.) ได้ถามบรรดาศอฮาบะฮ์ว่า รู้ไหมชายผู้นั้นคือใคร บรรดาศอฮาบะฮ์ตอบว่า อัลลอฮ์รู้และเราะซูลของอัลลฮ์เท่านั้นที่รู้ ท่านะบี (ซ.ล.) จึงตอบว่า นี่คือ ญิบรีล (มลาอิกะฮ์) เขาได้มาหาและสอนเรื่องศาสนาให้กับพวกท่าน 

(รายงานโดย มุสลิม)

เช่นเดียวกันเหล่าบรรดามลาอิกะฮ์ที่อัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทรงส่งไปยังท่านนะบีอิบรอฮีม และท่านนะบีลูต อลัยฮิสลาม ในลักษณะเป็นผู้ชาย

๔. ศรัทธาต่อมลาอิกะฮ์ ในหน้าที่ และคำสั่งของอัลลอฮ์ (ซ.บ.) เช่น การกล่าวสรรเสริญสดุดี และการภักดีต่ออัลลอฮ์ (ซ.บ.) ทั้งกลางวัน กลางคืน


ที่มา : ดาบแห่งอัลเลาะห์ แอนตี้ไซออนิสต์



#ปาฏิหาริย์แห่งอิสลาม_Islamic_Society_Online
#ประวัติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online


read more "มลาอิกะฮ์"

วันศุกร์ที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ไม้ซิว๊าก ซุนนะห์ที่ถูกละเลย

ไม้ซิว๊าก ซุนนะห์ที่ถูกละเลย




ด้วยพระนามของอัลลอฮ์ผู้ทรงเมตตาผู้ทรงปราณีเสมอ

ตุวัยลิบุ้ลอิลมฺ แปลเรียบเรียง

หนึ่งในซุนนะห์ที่มีความสำคัญและถือเป็นซุนนะห์มุอักกะดะห์(ซุนนะห์ที่นบีส่งเสริมและทำเป็นประจำ) ถึงขนาดชาวสลัฟบางท่านถือว่าเป็นวายิบ นั่นคือ การใช้ไม้สิว๊าก แต่ซุนนะห์นี้กลับถูกละเลยไป และฮะดิษที่เกี่ยวกับเรื่องนี้มีมาก ซึ่งเราจะได้อ่านไปพร้อมๆกัน อินชาอัลลอฮ์

ท่านร่อซู้ลศ็อลลั้ลลอฮุอลัยฮิวะซั้ลลัมกล่าวว่า :
“ไม้ซิว๊ากนั้น ทำความสะอาดช่องปาก และเป็นที่พึงพอใจสำหรับผู้อภิบาล”

(รายงานโดย อิหม่ามนาซาอีย์ เชค อัลบานีย์ให้สถานะห์ฮะดิษนี้ว่าศอเฮี๊ยะ)

การใช้ไม้ซิว๊ากนั้น สามารถใช้ได้ตลอดเวลาเนื่องมาจากฮะดิษที่กล่าวไว้โดยรวมข้างต้น และเวลาที่ถือเป็นซุนนะห์ที่ท่านนบีศ็อลลัลลอฮุอลัยฮิวะซั้ลลัม ส่งเสริมให้ใช้ไม้สิว๊าก และท่านนบีเองได้ใช้มัน คือ

1. ขณะอาบน้ำละหมาดและเวลาละหมาด โดยท่านนบีศ็อลลั้ลลอฮุอลัยฮิวะซั้ลลัม กล่าวว่า :
“ถ้าหากไม่เป็นการที่ฉันได้สร้างภาระแก่ประชาชาติของฉันแล้วละก็ ฉันก็จะสั่งพวกเขาให้ใช้ไม้สิว๊าก ในทุกๆเวลาละหมาด”
(รายงานโดยบุคอรีย์และมุสลิม)

และบางสายรายงานท่านนบีกล่าวว่า :
“ถ้าหากไม่เป็นการที่ฉันได้สร้างภาระแก่ประชาชาติของฉันแล้วละก็ฉันก็จะสั่งพวกเขาให้อาบน้ำละหมาดทุกๆเวลาละหมาดพร้อมกับใช้ไม้ซิว๊ากทุกๆการอาบน้ำละหมาดด้วย”
(รายงานโดยท่าน ฏอยาลุซีย์ ในมุสนัดของท่าน)

2. เมื่ออ่านอัลกุรอ่าน ดังที่มีรายงานจากท่านนบีศ็อลลั้ลลอฮุอลัยฮิวะซั้ลลัมว่า : “แท้จริงเมื่อบ่าวแปรงฟัน(ด้วยไม้สิว๊าก) หลังจากนั้น เขาได้ยืนขึ้นละหมาด มลาอิกะห์ก็จะยืนอยู่ข้างหลังเขาแล้วคอยฟังการอ่านของเขา แล้วมลาอิกะห์ก็จะเข้าไปใกล้เขา -หรือคำพูดที่คล้ายกันนี้- จนกระทั่งมลาอิกะอฺท่านนั้นได้วางปากของเขาบนปากของบ่าวคนนั้น และไม่มีอัลกุรอ่านอายะห์ใดที่ออกมาจากปากของเขานอกเสียจากว่ามันจะอยู่ภายใน(ออกผ่าน)มลาอิกะห์ท่านนั้นด้วย ดังนั้นแล้วพวกท่านจงทำความสะอาดช่องปากของพวกท่านเพื่ออัลกุรอ่านเถิด”
(รายงานโดย ท่าน บัซซาร และท่านฮัยซะมี่ย์ได้กล่าวว่า ผู้รายงานฮะดิษเชื่อถือได้ และท่านอิบนุมุบาร็อกได้รายงานไว้ในหนังสือ “อัซซุหฺด” และเชคอัลบานีย์ได้รายงานมันไว้ในหนังสือ “อัศศอฮีฮะย์” ใต้ฮะดิษหมายเลข 1213 และสายรายงานดี)

3. ขณะตื่นนอนเนื่องจากท่านฮุซัยฟะ บิน ยะมานได้รายงานว่า”ท่านนบีศ็อลลั้ลลอฮุอลัยฮิวะซั้ลลัมเมื่อท่านได้ลุกขึ้นในยามค่ำคืนท่านได้ถูปากของท่านด้วยกับไม้ซิว๊าก”
(รายงานโดยบุคอรีย์และมุสลิม)

4. เมื่อขณะเข้าบ้าน ดังที่มีรายงานจากท่านหญิงอาอิชะอฺรอดิยั้ลลอฮุอันฮา โดยท่านหญิงถูกถามว่า :”สิ่งใดที่ท่านร่อซู้ลศ็อลลั้ลลอฮุอลัยฮิวะซั้ลลัมได้เริ่มกระทำเมื่อขณะที่ท่านเข้าบ้าน”
ท่านหญิงอาอิชะอฺ รอดิยั้ลลอฮุอันฮา ตอบว่า : “เมื่อท่านร่อซู้ลได้เข้าบ้านท่านเริ่มต้นด้วยกับใช้ไม้ซิว๊าก”
(รายงานโดย มุสลิม)

5.เมื่อขณะรู้สึกว่ากลิ่นปากเราได้เปลี่ยนแปลงไป ไม่ว่าจะเปลี่ยนไปเนื่องจากการกินอาหารที่ทำให้มีกลิ่นปาก หรือขณะหิวกระหายมาเป็นเวลานาน ก็ตาม

ท่าน อิหม่าม อิบนุ ก็อยยิม อัลเญาซียะห์ รอฮิมะฮุ้ลลอฮ ได้กล่าวว่า “ประโยชน์ต่างๆของไม้สิว๊าก คือ :

1.ทำให้ปากหอม

2.ทำให้เหงือกแข็งแรง

3.ขจัดเสมหะได้

4.ทำให้สายตาชัดเจนขึ้น

5.ขจัดฟันผุ

6.บำรุงกระเพาะอาหาร

7.ทำให้เสียงสดใสขึ้น

8.ช่วยในการย่อยอาหาร

9.ปัดเป่าความง่วงนอนไปได้

10.ช่วยส่งเสริมในการอ่าน

11.ช่วยให้มีความกระฉับกระเฉงในการละหมาด

12.ช่วยให้มีชีวิตชีวาในการระลึกถึงอัลลอฮ

13.ทำให้ผู้อภิบาลทรงพอพระทัย

14.ทำให้มลาอิกะอฺประทับใจ

15.ทำให้(ได้รับ)ความดีต่างๆมากมาย“

(“ซาดุ้ล มะอาดดฺ” เล่ม 4 หน้าที่ 323)

เมื่อเราได้อ่านฮะดิษต่างๆที่ชี้ถึงความประเสริฐและการใช้ไม้สิว๊ากของท่านนบีศ็อลลั้ลลอฮุอลัยฮิวะซั้ลลัมและรวมถึงประโยชน์ของการใช้ “ไม้สิว๊าก” ดังที่ท่านอิหม่ามอิบนุ้ลก็อยยิมกล่าวไว้ ในฐานะผู้ศรัทธาสมควรอย่างยิ่งที่จะดำเนินตามบุคคลที่รักมากที่สุด ศ็อลลั้ลลอฮุอลัยฮิวะซั้ลลัม เพราะจะได้ทั้งสุขภาพในช่องปากดีขึ้น และเป็นการอิบาดะห์ไปในตัวพร้อมกันอีกด้วย และการใช้ไม้สิว๊าก ไม่ใช่เป็นเอกลักษณ์ของมุสลิมกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งหากแต่การใช้ไม้สิว๊ากคือ เอกลักษณ์ของมุสลิมทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นมุสลิมีน หรือ มุสลิมะห์ก็ตาม

มาทำให้ตัวเราเคยชินกับการปฏิบัติตามซุนนะห์กันเถอะไม่ว่าจะเป็นซุนนะห์ในเรื่องใดก็ตาม ดังที่ท่านเชคศอและฮฺ เฟาซาน ฮะฟิเศาะฮุ้ลลอฮ ได้แนะนำเอาไว้ว่า :
“จงทำให้ตัวคุณเคยชินกับการปฏิบัติตามซุนนะห์เถิด เพราะในการปฏิบัติตามซุนนะห์นั้น มีความบารอกัต(ความจำเริญ)อยู่”
(“ชัรฮฺ กิตาบ อิฆอซะติ้ลละฮฺฟาน” 1/11/1436)

ข้อควรระวัง : สำหรับคนที่เห็นผู้ที่ใช้ไม้สิว๊ากแล้วรู้สึกรังเกียจ รู้สึกขยะแขยง หรือ รู้สึกไม่ชอบ หรือ ล้อเล่นล้อเลียน ควรระวังไว้ เพราะหากการรังเกียจและการล้อเล่นของท่านเป็นไปที่ตัวบุคคลที่ใช้ไม้สิว๊าก สิ่งนี้ฮะรอม แต่ถ้าหากความรู้สึกไม่ชอบของท่านเป็นไปเพราะ “รังเกียจส่วนตัวในการใช้ไม้สิว๊าก” สิ่งนี้ร้ายแรงยิ่งกว่า เพราะสิ่งนี้ คือหนึ่งในสิ่งที่ทำให้สิ้นสภาพจากการเป็นมุสลิมได้ นั่นก็คือ การรังเกียจสิ่งที่ท่านร่อซู้ลศ็อลลั้ลลอฮ์ นำมา ดังที่ท่าน ชัยคุ้ลอิสลาม อัลมุญัดดิด มูฮำหมัด บินอับดุลวะฮาบ รอฮิมะฮุ้ลลอฮ ได้กล่าวไว้ใน “นะวากิดุ้ล อิสลาม” ข้อที่ 5 และ 6ว่า :

“ผู้ใดที่รังเกียจ หรือเกลียดชังสิ่งหนึ่งสิ่งใดที่ท่านร่อซู้ลศ็อลลั้ลลอฮุอลัยฮิวะซั้ลลัมนำมา แม้ว่าเขาจะปฏิบัติมันก็ตาม เขาได้ปฏิเสธศรัทธาแล้ว ตามมติเอกฉันท์ และหลักฐาน คือ คำตรัสของอัลลอฮตะอาลาที่ว่า :

“ทั้งนี้เพราะว่า พวกเขาเกลียดชังสิ่งที่อัลลอฮ.ทรงประทานลงมา พระองค์จึงทรงทำให้การงานของพวกเขาไร้ผล”
(ซูเราะห์ มูฮำหมัด อายะห์ที่ 9)

“ใครก็ตามที่เย้ยหยัน ล้อเลียนสิ่งหนึ่งสิ่งใดจากศาสนาของอัลลอฮทั้งในเรื่องผลบุญ หรือในเรื่อง การลงโทษ เขาได้ปฏิเสธศรัทธาแล้ว “

และหลักฐานคือ คำตรัสของอัลลอฮตะอาลาที่ว่า :
“จงกล่าวเถิด (มุฮัมมัด) ว่าต่ออัลลอฮ์ และบรรดาโองการของพระองค์และร่อซูลของพระองค์กระนั้นหรือที่พวกท่านเย้ยหยันกัน ?”
“พวกท่านอย่าแก้ตัวเลย แท้จริงพวกท่านได้ปฏิเสธศรัทธาแล้ว หลังจากการมีศรัทธาของพวกท่าน”

(ซูเราะห์ อัตเตาบะห์ อายะห์ที่ 65-66)

พวกเราทุกคนควรระวังเรื่องนี้ให้ดีๆอย่าทำเป็นรังเกียจ หรือ ล้อเล่นกับศาสนาเป็นอันขาดเพราะชาวสลัฟฟุศศอและฮฺได้สำทับเตือนเรื่องนี้ไว้อย่างมาก

ดังที่ท่านอิหม่ามอัลกุรตุบี่ย์ รอฮิมะฮุ้ลลอฮได้กล่าวว่า :
“ขออัลลอฮทรงเมตตาแก่ชาวสลัฟุศศอและห์ แท้จริงพวกเขาได้เอาจริงเอาจังในการสั่งเสียแก่ทุกคนที่มีสติปัญญาไตร่ตรอง โดยพวกเขาได้กล่าวว่า : “แม้ว่าท่านจะล้อเล่นกับสิ่งใดก็ตามแต่ระวังการที่ท่านจะล้อเล่นกับศาสนาของท่านให้ดีเถิด”

(“อัลญามิอฺ ลิอะฮกามมิ้ลกุรอ่าน” เล่มที่ 10 หน้าที่ 399)

อัสลามุอาลัยกะ/วัลอฮุอะลัม


ที่มา///และแหล่งข้อมูลอ้างอิง
http://www.islammore.com/view/4271



#สารพันบทความ_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online


read more "ไม้ซิว๊าก ซุนนะห์ที่ถูกละเลย"

วันจันทร์ที่ 14 สิงหาคม พ.ศ. 2560

ประวัตินบีซอและห์ และกลุ่มชนษะมูดที่ถูกทำลาย

ประวัตินบีซอและห์ และกลุ่มชนษะมูดที่ถูกทำลาย



ประวัตินบีซอและห์ แบบย่อเข้าใจง่าย

ชาวอาดที่ทรงพลัง หยิ่งทะนงโอหัง ประสบกับความเสียหาย ยับเยินหลังจาก ลมพายุกระหน่ำลงมาอย่างแรง หลังจากที่กลุ่มคนเหล่านี้สูญหายหมดไปแล้ว จึงเกิดประชาชนใหม่ขึ้นมาชื่อว่า “ษะมูด ”

พวกนี้อาศัยในที่แห่งหนึ่งชื่อว่า “ฮิจญ์ร” ซึ่งตั้งอยู่ระหว่าง ฮิญาซ กับ ชาม จนถึง วาดิลกุรอ บริเวณนี้มีความอุดมสมบูรณ์มาก เป็นบริเวณที่ ชุ่มชื่นด้วยน้ำตลอดทั้งปี พื้นที่เกษตรของพวกเขามีความอุดมสมบูรณ์ เขียวชอุ่ม มีผลไม้ไม่เคยขาดตลอดปี พวกเขาจมปลักอยู่ในความสุขสำราญ ผลผลิตทางการเกษตร มีมากมายจนกินไม่หมดตลอดปี พวกเขาอาศัยอยู่ในบ้านที่ ใหญ่โต คฤหาสน์ที่สูง สร้างจากหินอย่างสวยงาม ภูเขา ถ้ำ พวกเขาขุด เพื่อทำบ้านที่อยู่อาศัย และ สลักหิน ที่อยู่อาศัยของพวกเขาอย่างสวยงดงาม โดยมีห้องเรียงรายเป็นระเบียบเรียบร้อย มีห้องโถงอย่างกว้างขวาง ลานหินของพวกเขา ปลูกหญ้า และ ต้นไม้เขียวขจี และช่างร่มรื่นแน่แท้ ภูเขา และ ถ้ำ พวกเขาสร้างมาเป็นที่พำพัก ในช่วงฤดูหนาว ส่วนในช่วงฤดูร้อน พวกเขาจะออกมาอาศัยในบริเวณที่ราบ โดยสรุปแล้วพวกเขามีชีวิตอยู่อย่างสุขสบาย และแล้วเวลาก็ผ่านไป รุ่นแล้วรุ่นแล้ว พวกเขามีชีวิตอยู่ในความสุขสบาย ทรัพย์สินของพวกเขามีมากมาย แทบจะใช้ไม่หมด ด้วยทรัพย์สมบัติของพวกเขามากมายนั้น จึงทำให้พวกเขาหลงลืมจากการรำลึกถึงอัลลอฮ หลงลืมความสัจจริง พวกเขาสร้างเจว็ดแล้วกราบไหว้บูชา

ขณะที่ ชาวษะมูด จมอยู่ท่ามความหลงอยู่นั้น อัลลอฮ์ได้ส่งรอซูลท่านหนึ่งมา เพื่อนำพาพวกเขาให้หลุดพ้นจากความหลงและนำไปสู่ความสูงส่ง รอซูลท่านนั้นชื่อว่า ซอและห์ เป็น บุตรของอาบิด ซอและห์ เป็นชายหนุ่ม ที่มีนิสัยใจคอที่งดงาม ซื่อสัตย์สุจริต แต่มีฐานะยากจน เขารู้สึกกลุ้มใจ ที่เห็นประชาชนกราบไหว้และบูชารูปปั้น รู้สึกผิดหวัง ที่พวกเขามักจะกระทำความโหดเหี้ยม พูดจามดเท็จ และกระทำทารุณแก่ผู้ที่อ่อนแอกว่า ในที่สุดเขาจึงตัดสินใจที่จะอยู่เงียบๆ คนเดียว เพื่อตัวเขาจะได้ห่างไกลจากการกระทำชั่วร้าย ความลุ่มหลง และแล้วเขาจึงเดินทางไปอยู่ท้ายหมู่บ้าน เพื่อหาความสงบทางจิตใจ และประกอบอิบาดะห์ต่ออัลลอฮ์

หลังจากเขาประกอบอิบาดะห์อยู่สักระยะหนึ่ง เขาได้รับการแต่งตั้ง จากอัลลอฮ์ ให้เป็นนบี สำหรับประชาชาติของเขา พระองค์ได้สั่งให้ นบีซอและห์ ออกไปเพื่อเชิญชวนประชาชนให้มีความศรัทธาต่ออัลลอฮ์ในความจริงและความสูงส่งของพระองค์ ทันทีที่ได้รับคำบัญชาจากอัลลอฮ นบีซอและห์จึงออกไปเชิญชวนประชาชนโดยกล่าวว่า

“ โอ้ประชาชาติของข้า ! แท้จริงแล้ว ข้าได้รับการบัญชาจากพระผู้เป็นเจ้า ให้เชิญชวนพวกท่านกระทำอิบาดะห์ต่อพระองค์เพียงผู้เดียว ”

หลังจากที่ประชาชนได้ฟังคำเชิญชวนของท่านแล้ว พวกเขาจึงฉงนสงสัย จึงเอ่ยถามว่า

“ ผู้ใดเล่ามีบัญชาเจ้าให้มาหาพวกเรา โอ้ซอและห์ ? ”

ซอและห์จึงตอบว่า “ อัลลอฮ์ พระผู้เป็นเจ้าของข้าได้บัญชาให้มาบอกแก่พวกเจ้า เพื่อละทิ้งความหลง และนำพวกเจ้าไปสู่หนทางที่เที่ยงแท้ ”

หลังจากที่ฟังคำตอบของนบีซอและห์แล้ว พวกเขาจึงหัวเราะเยาะชอบใจ บางส่วนจึงพูดว่า

“ โอ้ซอและห์ มันอีกนานที่เราจะตามเจ้า ทางที่ดีเจ้าจงกลับไปทำ อิบาดะห์ที่พักของเจ้าจะดีกว่า ”

ประชาชนไม่ยอมฟังคำเชิญชวนของนบีซอและห์ พวกเขายังคงทำตามอารมณ์ของพวกเขา ในการกราบไหว้รูปปั้น และยังคงทำความชั่วเช่นเดิม แต่ในฐานะเป็นรอซูล คนหนึ่ง ท่านจึงเป็นคนที่มีความสงบเยือกเย็นอดทน และยังคงออกไปเชิญชวนประชาชาติของท่านอย่างสม่ำเสมอ ที่ไหนที่พวกเขารวมตัวกัน ท่านก็จะไปเชิญชวนเสมอ

“ โอ้ประชาชาติของข้า ! พวกเจ้าจะต้องกราบไหว้อัลลอฮ์ จงละทิ้งจากการกราบไหว้บูชาเจว็ด พวกเจ้าจะกราบไหว้สิ่งอื่นไม่ได้นอกจากพระองค์ผู้เดียว จงรำลึกถึงความโปรดปรานทั้งหลาย ที่พระองค์ประทานให้แก่พวกเจ้า พวกเจ้ามีชีวิตอย่างสุขสบาย กระทั่งสามารถสร้างคฤหาสน์ที่สวยงามตระการตา ความโปรดปรานทั้งหลายนั้นมาจากพระองค์ พวกเจ้าจะต้องขออภัยโทษต่อพระองค์ในความผิดทุกอย่างที่กระทำไป ”

จากวันเป็นเดือน จากเดือนเป็นปี นบีซอและห์ มิเคยเบื่อหน่ายที่จะเชิญชวนประชาชาติของท่าน ให้กระทำความภักดีต่ออัลลอฮ ในบรรดาพวกเขานั้น มีบางส่วนที่เชื่อถือในคำเชิญชวนของ นบีซอและห์ จากนั้นพวกเขาจึงร่วมกันเชิญชวนประชาชนให้กราบไหว้อัลลอฮ และละทิ้งการบูชารูป โดยส่วนใหญ่แล้ว เป็นคนยากคนจน คนมีฐานะ ต่ำต้อยที่ยอมรับคำเชิญชวนของท่านอย่างเต็มใจ แต่ผู้หลักผู้ใหญ่ คนรวย และคนที่มีชื่อเสียง ต่างคัดค้านถึงที่สุด ด้วยความเย่อหยิ่งพวกเขาพูดว่า

“ โอ้ซอและห์ ! เจ้าจะมาให้พวกเราละทิ้งการกราบไหว้บูชารูปนั้น ทั้ง ๆ ที่ปู่ย่าตายายเรากระทำมาตั้งแต่ไหนแต่ไรแล้ว ”

นบีซอและห์จึงพูดว่า “ รูปปั้นที่พวกเจ้าอุปโลกน์ให้เป็นพระเจ้านั้นไม่สามารถทำอะไรใด ๆ แก่พวกเจ้าได้หรอก มันไม่สามารถให้คุณประโยชน์แก่พวกเจ้า และไม่สามารถให้โทษแก่พวกเจ้าได้เช่นกันด้วย แล้วพวกเจ้ากราบไหว้มันได้อย่างไร พวกเจ้าไม่ได้คิดบ้างดอกหรือ ?

พวกที่ปฏิเสธก็ยังคงดื้อดึง แต่ผู้ที่ได้รับทางนำ กลับยอมรับอย่างง่ายดาย พวกที่ปฏิเสธจึงพูดว่า

“ แต่ก่อนนั้นพวกเราเคารพเจ้าว่าเป็นคนดี แต่บัดนี้เรารู้สึกผิดหวังเหลือเกิน กับจุดยืนที่โง่เง่าของเจ้า เราจะละทิ้งพระเจ้าที่ปู่ย่าตายายของเรากราบไหว้บูชาดอกหรือ หรือว่าเจ้าบ้าไปแล้วกระมัง โอซอและห์ ”

ซอและห์จึงพูดว่า “ ท่านทั้งหลาย ! ข้าไม่ได้บ้า ข้าเชิญชวนพวกท่านไปสู่หนทางที่เที่ยงธรรม คือพวกท่านทั้งหลายจงกราบไหว้อัลลอฮ ทำไมเล่าพวกเจ้ายังคงชักช้าอยู่อีกหล่ะ ทั้ง ๆ ที่คนฉลาดคนอื่น ๆ เขาเชื่อใน อัลลอฮและตามฉันแล้ว ”

หลังจากที่พวกเขาเห็นว่า คนที่ตามนบีซอและห์ยิ่งมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น พวกเขาพูดกันว่า

“ ใช่ ! สมาชิกของ ซอและห์ ยิ่งเพิ่มมากขึ้น พวกเขาได้ละทิ้ง บรรดาพระเจ้าของเรา หากเราไม่ทำอะไรสักอย่างแล้ว ศาสนาของเราต้องเสียงหายแน่นอน ”

บางคนพูดว่า“ อิทธิพลของซอและห์นับวันยิ่งได้รับการต้อนรับจากประชาชน ชื่อของเขาเป็นที่รู้จักมากขึ้น หากเรายังปล่อยให้สถานการณ์เช่นนี้ดำเนินอยู่ล่ะก็ ทำให้พวกเราย่ำแย่แน่ ”

บางส่วนพูดว่า “ ซอและห์เขาแกล้งหามวลชน เพราะเขาอยากจะมีชื่อเสียง เขาเป็นคนพูดจามดเท็จ ”

มีคำพูดและข้อเสนอมากมายที่ถูกเสนอขึ้นมา พวกเขามีมติร่วมกันที่จะคัดค้าน นบีซอและห์ อย่างถึงที่สุด นับแต่วันนั้นเป็นต้นมา เมื่อใดที่พวกเขาพบกับสมาชิกของ นบีซอห์และห์ ที่พยายามจะเชิญชวนพวกเขา

พวกเขาจึงพูดว่า “ ทำไมมันช่างง่ายดายเหลือเกินที่ทำให้พวกเจ้าต้องตามซอและห์ ? ”

สหายของนบีซอและห์ จึงตอบว่า “ เพราะซอและห์เขาเชิญชวนพวกเราไปสู่สัจธรรม และ ห้ามพวกเราจากการกระทำที่เราเห็นว่าเป็นสิ่งที่ไม่ถูกต้อง ”

พวกเขาจึงพูดเย้ยหยัน“ พวกเจ้ารู้ได้อย่างไรว่า ซอและห์นั้นเป็นตัวแทนจากอัลลอฮ์ ”

บรรดาผู้ศรัทธา จึงตอบว่า “ ใช่แล้ว ! เขาเป็นตัวแทนของอัลลอฮ์ เราศรัทธาในตัวเขา ”

พวกผู้ปฏิเสธจึงพูดว่า

“ เราจะไม่เชื่อเด็ดขาดกับสิ่งที่พวกเจ้าศรัทธา พวกเจ้าคิดหรือ ทุกคำพูดที่ซอและห์พูดออกมานั้น เป็นความจริงทุกประการ ? เป็นไปได้หรือที่เขาพูดว่า มีพระเจ้าที่ชุบชีวิตใหม่ หลังจากที่เราตายไป พระองค์จะทรงตอบแทนการกระทำทุกอย่างของเรา ทำดีก็จะตอบแทนด้วยความดี ทำชั่วก็จะตอบแทนด้วยความชั่ว พวกเจ้าอย่าได้เชื่อเลย กับคำพูดของเขา หลังจากตายไป เราจะไม่มีชีวิตอีกแล้ว ซอและห์เขาเป็นบ้าไปแล้ว ”

นบีซอและห์ ยังคงออกไปเชิญชวนประชาชนอย่างต่อเนื่อง แม้ว่าท่านจะถูกเย้ยหยัน เกลียดชัง และถูกดุด่าว่าร้ายปานใดก็ตาม แต่ท่านก็ยังคงเชิญชวนอย่างไม่ลดละ ครั้งหนึ่งผู้หลักผู้ใหญ่ได้ให้ข้อเสนอพิเศษ

โดยพูดว่า “ โอ้ ! ซอและห์ เจ้าต้องการตำแหน่งบ้างไหม เกียรติยศและศักดิ์ศรีหรือความร่ำรวย ? ”

นบีซอและตอบอย่างชัดแจ้งว่า “ ข้าเชิญชวนพวกเจ้าสู่อัลลอฮ์ ” มิใช่เพื่อตำแหน่งหรือเกียรติยศและศักดิ์ศรีหรอก ”

แต่หลังจากตำแหน่งดังกล่าวไม่เป็นผล พวกเขาจึงใส่ร้ายป้ายสีโดยพูดว่า

“ ที่แท้เจ้านี่เป็นพวกมายากล เจ้าก็เป็นมนุษย์ เหมือนพวกเรา หากเจ้าเป็นตัวแทนจากพระเจ้าจริง ๆ แล้ว ไหนล่ะหลักฐาน ! ”

นบีซอและห์จึงถามว่า “ เจ้าต้องการหลักฐานอะไรที่จะให้ข้าแสดงให้รู้ว่า ข้าเป็นตัวแทนของอัลลอฮจริง ? ”

พวกเขาจึงพูดว่า “ จงทำอูฐตัวใหญ่ตัวหนึ่งให้มีขนสีแดง มีขอบตาสีดำ และ มีน้ำหนักที่ประชาชนในเมืองนี้กินแล้วไม่รู้จักหมด ”

ซอและห์จึงพูดว่า “ ได้ ตกลง ข้าจะขอจากอัลลอฮ์ ให้เห็นชอบกับคำขอของพวกเจ้า ”

เพื่อให้ได้ตามคำขอของประชาชาติของท่าน นบี ซอและห์ จึงขอดุอาจากอัลลอฮ์ เพื่อให้พระองค์ทรงประทานอูฐตามที่พวกเขาต้องการ อัลลอฮ์ แจ้งให้ นบีซอและห์ บอกให้ประชาชนมารวมตัวกัน ที่บริเวณโขดหินขนาดใหญ่ บริเวณชานเมือง หลังจากนั้น พวกเขาต่างคน ต่างก็เดินไปที่บริเวณโขดหินดังกล่าว หลังจากที่พวกเขาเดินมาถึงบริเวณดังกล่าวไม่นาน ทันใดนั้นมีอูฐตัวหนึ่งออกมาจากก้อนหิน ต่อหน้าพวกเขา พวกเขาต่างคนก็ตะลึงงันอย่างไม่เชื่อสายตา

ในบรรดาพวกเขาจึงอุทานว่า

“ จริงหรือ ที่อูฐตัวนั้น นำมาโดย นบี ซอและห์ จากพระเจ้าของเขา ให้มาเป็นหลักฐาน ? จริงหรือซอและเป็นตัวแทนของพระเจ้า ? ”

เมื่อพวกเขาได้เห็นเหตุการณ์ ผิดธรรมชาติเช่นนี้ จึงมีจำนวนหลายคนที่ศรัทธา แต่พวกเขาส่วนใหญ่ยังคงปฏิเสธและพูดว่า “ ซอและห์เป็นนักเล่นกลที่เยี่ยมยอด ”

นบี ซอและห์ จึงพูดว่า

“ นี่แหล่ะอูฐของพระเจ้าประทานมา เพื่อเป็นหลักฐานแก่พวกเจ้า ปล่อยให้มันกินตามความพอใจของมัน พวกเจ้าจงอย่าได้รบกวนหรือทำร้ายมัน จงปล่อยให้มันดื่มน้ำเป็นเวลาหนึ่งวัน และพวกเจ้าหนึ่งวันสลับกัน หากพวกเจ้ารบกวนมันแล้ว จงคอยอาเพศจากพระเจ้าจะลงมายังพวกเจ้า ”

ประชาชน ต่างคนต่างก็พูดคุยกัน ในเรื่องอูฐ อย่างไม่ขาดสาย พวกเขาปล่อยให้มันมีชีวิตอย่างอิสระ พวกเขาตระเตรียมน้ำ ให้หนึ่งวันสำหรับอูฐ และ หนึ่งวันสำหรับชาวษะมูด คนยากคนจนต่างกันก็มีความสุขที่ได้ดื่มนมจากอูฐ อย่างอิ่มหนำสำราญใจ

คนหนึ่งจากพวกเขาพูดว่า

“ ใช่แล้ว ซอและห์เป็นตัวแทนของอัลลอฮ เขาสามารถประจักษ์พยาน เพื่อบ่งบอกถึงความจริงทั้งหมด เราไม่สามารถหักล้างเหตุผลของเขาได้ ”

สมาชิกของ นบีซอและห์ นับวันยิ่งเพิ่มจำนวนมากขึ้น ผู้ที่ร่ำรวยมีความอิจฉาต่อ นบีซอและห์ ที่เห็นสมาชิกของเขา เพิ่มมากขึ้นทุกวัน นับวันเขายิ่งได้รับเกียรติจากสมาชิกของเขา

พวกเขาจึงหารือกันว่า “ เราปล่อยให้ซอและห์มีอิทธิพลเช่นนี้ต่อไปไม่ได้อีกแล้ว เราต้องหาวิธีกำจัดเขา ”

บรรดาแกนนำของพวกบูชาเจว็ดได้แก่ ซุมา บินอัมร์ บินลาบิด กับบาบ และช่างมีชื่อว่า รอบบาน บินสะก็อร และพรรคพวกออกมาพบกันประชาชนโดยพูดว่า

“ พวกเจ้าดูสิ อูฐตัวนั้นได้มาสร้างความวุ่นวายแก่พวกเจ้าแล้ว สัตว์เลี้ยงของพวกเจ้าวิ่งหนีเข้าป่า ปล่อยให้อูฐของ ซอและห์ เที่ยวกินอย่างอิสระ ทำไมพวกเจ้าไม่คิดทำอะไรบ้างหล่ะ ? ”

สมุนของพวกเขาพูดว่า“ จริงตามที่ท่านพูด สัตว์เลี้ยงของเราผอมแห้งไปหมดแล้ว แล้วอะไรล่ะที่เราต้องทำต่อไป ? ”

พวกที่คอยยุแหย่นั้นเสนอข้อคิดว่า “ ต้องฆ่าสัตว์ตัวนั้นเสีย ”

พวกเขาจึงถามพลัน“ แล้วเราจะฆ่าอูฐของพระเจ้าได้อย่างไรหล่ะ ฆ่ามันไปแล้วผลของมันย่อมไม่ดีแน่ ”

อัลลอฮ์ทรงประทานวะฮีย์มายัง นบีซอและห์ แจ้งให้ทราบถึงแผนการณ์ของประชาชาติของท่าน จากนั้นท่านจึงไปหาประชาชาติของท่านเพื่อให้การตักเตือน

“ โอ้ประชาชาติของข้า ! พวกเจ้า จงอย่าได้ทำตามอารมณ์ของตัวเอง อีกหน่อยพวกเจ้าจะต้องเสียใจ จงขออภัยโทษจากอัลลอฮ หวังว่าพระองค์จะโปรดปรานพวกเจ้า ”

ผู้ศรัทธาจึงตอบว่า “ เราจะไม่รบกวนหรือทำร้ายอูฐตัวนั้นแน่นอนโอ้นบีซอและห์ ”

นบีซอและห์จึงอธิบายว่า “ มีคนที่คอยยุแหย่ให้ฆ่ามัน อีกหน่อยจะมีคนที่จะฆ่ามัน คนผู้นั้นมีผิวลายๆ ”

บรรดาผู้ศรัทธาให้สัญญาว่าจะคอยดูแลมันเป็นอย่างดี และจะจัดการกับผู้ใดที่มาฆ่าอูฐตัวนั้น ”

ทารกที่มีผิวเป็นลายๆ ได้ถือกำเนิดในตระกูลนักรบชาวอ๊าดที่แข็งแกร่ง ทันที่ออกจากครรภ์มารดา หมอตำแยอุทานขึ้นว่า “ เด็กคนนี้แหละที่ซอและห์เคยเล่าไว้ ” ทารกที่มีผิวเป็นลายๆ นั้นถูกตั้งชื่อว่า กุดูร ประชาชนไม่กล้าเปิดปากที่พูดคุยเรื่อง เด็กแปลกคนนี้ ต่างคนก็เอาแต่กระซิบกันเท่านั้น ไม่กล้าพูดคุยอย่างเปิดเผย เพราะกลัวปู่ทั้งสองคนของเขา เพราะคนทั้งสองเป็นนักรบที่เหี้ยมโหด และได้รับเกียรติจากสังคม หลายปีผ่านไป เด็กนั้นได้เติบโตเป็นชายหนุ่มที่มีร่างกายที่แข็งแกร่งเป็นมัดๆ มีนิสัยที่โหดเหี้ยม ไม่มีผู้ใดเลยที่กล้าต่อกรกับเขา เขามีชีวิตอย่างอิสระและได้รับการยกย่องจากประชาชน ทุกการกระทำของเขา ไม่มีผู้ใดเลย ที่กล้าขัดขวางและห้ามปราม เพื่อนๆ อีกจำนวนแปดคนที่ไล่เลี่ยของเขา ก็มีนิสัยใจคอเหมือนกับเขา ไม่มีผิด พวกเขาเป็นที่หวาดกลัว และ เกรงขามของประชาชน ครอบครัวของคนเหล่านี้มักจะคอยยุแหย่ให้ทำร้าย นบีซอและห์ และ สหายอยู่ตลอดเวลา เลือดหนุ่มของเขาพุ่งกระฉูด อยากจะทำความชั่วตลอดเวลา ภายใต้การนำของชายหนุ่มผู้นี้ จึงได้จัดชุดไล่ล่าอูฐ ด้วยความรู้สึกทระนง

ชายหนุ่มทั้งแปดคนจึงตัดสินใจว่า

“ เราจะปล่อยให้อูฐของซอและห์อยู่อย่างสบายต่อไปไม่ได้อีกแล้ว เราจะต้องช่วยกันฆ่าอูฐของซอและห์พร้อมๆ กัน ”

หนึ่งในจำนวนพวกเขาพูดว่า “ ญาติพี่น้องของซอและห์จะต้องล้างแค้นพวกเราแน่ ”

เพื่อนอีกคนหนึ่งพูดว่า “ เรื่องนั้นง่ายนิดเดียว เราก็ลงมือฆ่าในเวลากลางคืน เราฆ่าอูฐมันก่อน จากนั้นเราค่อยจัดการกับซอและห์ ”

ชายหนุ่มทั้งแปดคน ยิ่งมีความมั่นใจสูงขึ้น บิดามารดาของพวกเขาบางส่วนได้ตักเตือนว่า อย่าได้ฆ่าอูฐตัวนั้นเลย แต่บัดนี้ดูแล้วแทบจะไม่มีผลอีกต่อไป ไม่มีผู้ใดที่สามารถหักห้ามความตั้งใจของพวกเขาเลย พวกเขาวางแผนว่า ผู้ใดจะเป็นคนลงมือฆ่าอูฐ ? พวกเขาถามกันเอง แม้ว่าเป็นชายหนุ่มที่ทรงพลัง และมีความมั่นใจในความสามารถสูง แต่ความกลัวก็ยิ่งเข้ามาสะกิดหัวใจ ด้วยเหตุนี้เพื่อให้เกิดความมั่นใจในครั้งนี้

เหล่าสตรีของพวกเขาจึง พูดท้าทายว่า “ ไม่มีบ้างหรือนักรบของพวกเราที่กล้าฆ่าอูฐตัวนั้น ? เร็ว กำจัดอูฐ และ ซอและห์ให้สิ้นซากไป พวกเราจะคอยให้กำลังใจ ”

ขณะที่เขากำลังสนทนาอยู่นั้น มีสตรีผู้หนึ่งลุกขึ้น เขาเป็นสตรีที่มีความคลั่งไคล้กับการกราบไหว้บูชาเจว็ด เขาเดินเข้ามาใกล้กับกุดัร บิน ซาลิฟ หัวหน้ากลุ่ม

พลางพูดว่า “ โอ้กุดัรบุตรของข้า , บุตรสาวคนสุดท้องที่มีความงดงามของแม่นั้น แม่จะยกให้เจ้า หากเจ้ายอมที่จะฆ่าอูฐตัวนั้น ”

ทิ่ริมฝีปากของกุดัรปรากฏรอยยิ้ม เขาจึงพูดว่า “ แม่เอ๋ย ! ลูกพร้อมที่จะออกไปฆ่าซอและห์และอูฐของมัน ”

หญิงแก่ผู้นั้นยิ้มร่าเมื่อได้ยินคำพูดของชายหนุ่มผู้นั้น หญิงแก่ผู้นี้เป็นคนที่มีจิตใจเคียดแค้น กระทั่งเขายอมที่จะยกให้ลูกสาวของตัวเองให้เผื่อปกป้องเจว็ดของพวกเขา ทันใดนั้นมีหญิงหม้ายคนหนึ่ง ชื่อว่า โซดุก ลุกขึ้นพูดกับลูกพี่ลูกน้องของเขาที่ชื่อว่า มุสัดดะ เพื่อนของกุดัรว่า “ พี่จ๋า น้องและทรัพย์สินทั้งหมดของน้องจะยกให้เป็นของพี่ทั้งหมด หากพี่ยอมที่จะฆ่าอูฐตัวนั้น ”

มุสัดดะ จึงพูดว่า “ เพื่อน้อง พี่ยอมที่จะฆ่าอูฐตัวนั้น ”

ผู้หญิงจำนวนหลายคนที่ออกมาอย่างเปี่ยมด้วยความหวัง โดยได้เดิมพัน ด้วยตัวและทรัพย์สินของพวกเขา หวังเพื่อปกป้องเจว็ดที่พวกเขากราบไหว้บูชา แต่เมื่อบรรดาชายฉกรรจ์ได้มองไปยังสาวสวยเหล่านั้นแล้ว ทำให้พวกเขายิ่งมีกำลังใจและแล้วในที่สุดพวกเขา จึงตัดสินใจครั้งสุดท้ายที่จะฆ่าอูฐที่มาทำความยุ่งยากแก่พวกเขา

วันที่พวกเขากำหนดที่จะลงมือฆ่าอูฐก็มาถึง บรรดาชายฉกรรจ์ได้เตรีมพร้อม เพื่อฆ่าอูฐตัวใหญ่ผิดปกติตัวนั้น แต่ด้วยคนจำนวนมากที่มามุงดูและให้กำลังใจ จึงทำให้ชายฉกรรจ์เหล่านั้นไม่รู้สึกกลัวอีกต่อไป เสียงร้องโห่ดังสนั่น พวกเขาออกไปหาอูฐตัวนั้น ประชาชนจำนวนมากโห่ร้องให้กำลังใจพวกเขา กุดัรเดินนำหน้าชายฉกรรจ์อย่างทระนง พร้อมคันธนูที่พาดบ่า

ขณะนั้นอูฐกำลังดื่มน้ำ นักรบเหล่านั้นก้าวอย่างเข้มแข็ง พวกเขาได้เข้าไปห้อมล้อมอูฐตัวนั้น คนหนึ่งในจำนวนนั้นก้าวออกมา เพื่อจะฆ่าอูฐ แต่ทันใดนั้นชายฉกรรจ์ผู้นั้นเกิดอาการสั่นเทา หน้าซีด และแขนขาของเขาสั่นเทา คันธนูในมือหล่นลงมากับพื้นและเขาต้องถอยหลัง

“ เชอะ ไอ้ขี้ขลาดตาขาว !”

เพื่อนอีกคนพูดออก พลันตัวเองก็ก้าวออกมาอย่างกล้าหาญ เขาพกคันธนูพร้อมที่จะปล่อยลูกธนูออกไปฆ่าอูฐอย่างคล่องแคล่ว แต่ทันใดนั้น ตัวเขาสั่นและข้อทุกส่วนของเขาสั่นอย่างควบคุมไม่ได้ คันธนูของเขาหล่นจากมือ และเขาต้องถอยหลังอีกเช่นกัน ประชาชนที่ดูเหตุการณ์นั้นต้องฉงนสงสัยเป็นอย่างมาก เพื่อนอีกหลายคนรู้สึกโกรธ ทันใดนั้น มุสัดดะ จึงก้าวออกมา เขายิงธนูไปสู่เป้าหมายทันที ส่วนกุดัร ก็ยิ่งธนูซ้ำอีก ลูกธนูพุ่งออกไปถูกที่ขาของอูฐและล้มลงไปกับพื้น ทันทีอูฐร้องครวญอย่างเจ็บสาหัส เมื่อได้ทีแล้ว กูดัรจึงรีบตระครุบ และ เชื่อดอูฐที่กำลังดิ้นทุรนทุราย ประชาชนที่อยู่ในเหตุการณ์นั้นต่างก็ดีใจและแสดงความยินดีกับความสำเร็จของพวกเขาที่ฆ่าอูฐได้

ในบรรดาพวกเขาพูดออกมาเย้ยหยัน“ ไหนล่ะซอและห์ เรียกเขามา ให้เขาเอาอาเพศตามที่เขาได้สัญญาไว้ ! ”

อูฐตัวนั้นมีลูกอยู่ตัวหนึ่ง ทันทีที่แม่ของมันล้มลง มันจึงกระโดดวิ่งหนีไปทางภูเขา และ บรรดาชายฉกรรจ์เหล่านั้นจึงรีบวิ่งเพื่อจับมัน

เรื่องราวการฆ่าอูฐตัวนั้นมาถึงหูของนบีซอและห์ ท่านจึงออกไปพบกับประชาชนของเขา คนแก่จำนวนหนึ่งได้มาหา นบีซอและห์และพูดว่า “ ทำอย่างไรได้ , พวกเราไม่รู้ว่าเด็กพวกนั้นได้จัดการกับอูฐตัวนั้นไปแล้ว ”

นบีซอและห์ตอบว่า “ จงจับลูกอูฐและเลี้ยงมันให้ดี หวังว่าโทษที่อัลลอฮจะลงโทษแก่พวกเจ้าจะได้เบาบางลง ”

ประชาชนส่วนหนึ่งพยายามที่จะปกป้องลูกอูฐตัวนั้น แต่พวกชายฉกรรจ์ที่ชั่วร้ายได้ฆ่ามันไปแล้ว

ทันทีที่ นบีซอและห์ ทราบ จึงพูดว่า

“ พวกเจ้าจงมีความสุขสำราญเป็นเวลาสามวัน , นั้นเป็นสัญญาที่ชัดแจ้ง ในจำนวนสามวันนั้น วันหนึ่งสีหน้าของพวกเขาจะซีดเซียว วันที่สองหน้าพวกเขาจะแดงก่ำ และ วันที่สามใบหน้าจะดำคล้ำ และหลังจากนั้นไปโทษทัณฑ์ของอัลลอฮจะลงมายังพวกเจ้า ”

จากนั้น นบีซอและห์ได้เดินทางออกไป บรรดาชายฉกรรจ์เหล่านั้นโห่ร้องอย่างสะใจ !บรรดาชายฉกรรจ์เหล่านั้นต่างดีอกดีใจ พวกเขาช่วยกันแบกลูกอูฐไปไว้ใกล้ ๆ กับแม่อูฐจากนั้นพวกเขาก็แล่หนัง และสับ เนื้ออูฐ อย่าเมามัน

หนึ่งในบรรดาพวกเขาพูดว่า “ เอะ ! ซอและห์ช่างเก่งเหลือเกินที่คาดการณ์ว่าอาเพศจะประสบกับพวกเราอีกสามวันข้างหน้า ”

บางคนพูดว่า “ บัดนี้อูฐของเขาก็ถูกฆ่าแล้ว ไหนล่ะ อำนาจของเขา ? ”

พวกเขาพูดเย้ยหยัน นบีซอและห์ มากมาย จากนั้นพวกเขาได้วางแผนจะเอาชีวิต นบีซอและห์ โดยวางแผนที่จะเดินทางไกล แต่ที่จริงแล้วพวกเขากำลังซุ่มเพื่อจะหาโอกาส ฆ่า นบี ซอและห์ และ ครอบครัว ก่อนที่พวกเขาจะออกไป ซุ่ม จึงพูดว่า

“ จงคอยดูแผนของเราต่อไป ! อีกไม่นาน ซอและห์ และ ครอบครัว จะต้องตายด้วยฝีมือของเรา เขาจะต้องมีสภาพอย่างอูฐของเขา ”

ขณะที่พวกเขากำลังดักซุ่มในหลืบหินที่เป็นช่องสลับซับซ้อนอยู่ไม่ไกล จากศาลเจว็ดของพวกเขานั้น ทันใดนั้นก้อนหินขนาดมหึมาก็ ถล่มลงมาทับพวกเขาตายอนาถ โดยไม่ทันที่พวกเขาจะทำอะไร วันรุ่งขึ้นประชาชนที่รู้ถึงแผนฆ่าซอและห์ พวกเขาจึงออกไป เพื่อจะไปดูศพของ นบีซอและห์ และ ครอบครัวของเขา แต่พวกเขาต้องตกใจอย่างที่สุด เมื่อศพที่พวกเขาพบเห็นนั้นมิใช่เป็น ศพของนบีซอและห์ แต่กลับเป็นศพของชายฉกรรจ์ ในวันนั้นใบหน้าของผู้ปฏิเสธชีดเซียว เสมือนถูกทาด้วยขมิ้น ต่างคนต่างสงสัยเมื่อเห็นใบหน้าของเพื่อน

พวกเขาถามกันเอง “ จริงตามคำเตือนของซอและห์หรือ ?! เราจะประสบกับอะไรอีกสามวันข้างหน้า ”

พวกเขาเอาแต่นั่งกลุ้มใจทั้งวัน คำถามมากมายที่ผุดอยู่ในหัวสมองของพวกเขา ต่างก็รู้สึกผิดหวัง บ้างก็ร้องไห้อย่างสะอึกสะอื้น บ้างก็ร้องไห้นึกถึงอาเพศที่จะเกิดกับตัวเอง แต่ก็ช่วยอะไรไม่ได้อีกแล้ว หนึ่งวันผ่านไป พวกเขาเศร้าใจเสียใจอย่างเหลือคณา วันที่สองก็เยือนมา ใบหน้าของพวกเขา จากสีเหลืองซีดเปลี่ยนเป็นสีแดงคล้ำ จิตใจของพวกเขายิ่งตีบขึ้น ลูกตาบวม แต่การร้องไห้ของเขา ไม่ผลอะไรอีกต่อไปแล้ว มันสายเกินแก้ นอกจากแต่คอยวินาทีแห่งการตัดสินเท่านั้น

วันที่สองผ่านไป วันที่สามก็เยือนมาอีก สีหน้าของเขาดำคล้ำอย่างกระทันหันเสมือนเป็น ตอตะโก ดวงตาของพวกเขาลุกวาวอย่างเหลือคณา จากนั้นพายุโหมกระหน่ำ ฟ้าผ่าอย่างบ้าคลั่ง ทันใดนั้นเสียงกระหื่มทั่วทุกหัวระแหง ชาวษะมูดที่หยิ่งทะนงนั้นไม่สามารถไหวเคลื่อน ได้อีกต่อไปแล้ว ต่างคนต่างล้มลงเสมือนท่อนไม้ถูกพายุถาโถมจมล้มไม่เคลื่อนไหว บ้านและที่อาศัยรวมทั้งคฤหาสห์ที่ใหญ่โตมโหฬารของพวกเขาพังทลายยับเยิน

นบีซอและห์และบรรดาสาวกของท่านทุกคนปลอดภัยจากเหตุการณ์ที่น่าสะพึงกลัว ครั้งนั้น ท่านได้หันมามองประชาชาติของท่านที่สลายไปนั้น และได้กล่าวว่า

“ โอ้ประชาชาติของฉัน ! ฉันได้ตักเตือนครั้งแล้วครั้งเล่า หากพวกเจ้ายังไม่เชื่อฟัง และคงอยู่ในความหลงผิดแล้ว พวกเจ้าจะไม่มีวันปลอดภัย ในความฟุ่มเฟือย และ ความสำราญได้เลย ฉันได้บอก ให้พวกเจ้าภักดีต่ออัลลอฮ แต่แล้วพวกเจ้าก็ยังกระด้าง และยังคงกระทำอธรรมบนหน้าแผ่นดินอีก ”

“ โอ้ประชาชาติของฉัน ! แท้จริงแล้วฉันได้ส่งสาส์นของพระผู้เป็นเจ้ามายังพวกเจ้าแล้ว พร้อมยังได้ให้คำตักเตือนต่างๆ นานา แต่แล้วพวกเจ้าก็กลับเกลียดชังผู้ที่คอยให้คำตักเตือนพวกเจ้า ! ”

หลักจากที่บรรดาผู้ปฏิเสธได้ล่มสลายไปพร้อมกับบ้านเมืองของเขาแล้ว นบีซอและห์ พร้อมกับผู้ติดตามท่าน จึงได้โยกย้ายไปอาศัยในบริเวณที่แห่งหนึ่งชื่อว่า อัล – รามัลละห์ ในปาเลสไตน์ พวกเขาอพยพไปเพื่อไปตั้งถิ่นฐานใหม่


ที่มา: www.islammore.com


#ประวัติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online



read more "ประวัตินบีซอและห์ และกลุ่มชนษะมูดที่ถูกทำลาย"

วันศุกร์ที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2560

เหตุใดจึงไม่มีนักวิชาการมุสลิมในประเทศไทย

เหตุใดจึงไม่มีนักวิชาการมุสลิมในประเทศไทย

ผู้เขียน:มุสลิม วงศาวิศิษฏ์กุล



เมื่อต้นปี 2559 อาจารย์นิธิ เอียวศรีวงศ์ได้เขียนอภิปรายลงในมติชนสุดสัปดาห์เรื่อง “ต่อต้านอิสลามในภาคเหนือตอนบน” โดยตอนหนึ่งระบุว่า “แทบจะหาชนชั้นนำ (ด้านวิชาการ) ที่เป็นมุสลิมในภาคเหนือตอนบนไม่ได้เลย”[1] ผมอยากจะชวนผู้อ่านคิดต่อว่าไม่ใช่เพียงแค่ภาคเหนือตอนบนเท่านั้นที่ขาดนักวิชาการมุสลิมที่เป็นที่ยอมรับของสังคมแต่สังคมวิชาการไทยโดยรวมก็มีนักวิชาการมุสลิมไม่มากที่เป็นที่ยอมรับของสังคมทั่วไปเช่นกัน จากการสำรวจข้อมูลของ Pew Forum ประชากรมุสลิมไทยในประเทศไทยมีอยู่ราวๆ ร้อยละ 5 ของประชากรทั้งประเทศ[2] แต่ผมขอประเมินโดยคร่าวๆ ว่าสัดส่วนของนักวิชาการมุสลิมที่เป็นที่ยอมรับในประเทศไทยยังห่างไกลจากจำนวนตัวเลขดังกล่าวในวงการวิชาการไทย[3] อีกทั้งนักวิชาการมุสลิมจำนวนไม่มากที่เป็นที่ยอมรับของสังคมไทยก็กระจุกตัวอยู่ในกรุงเทพฯ เป็นส่วนใหญ่[4]หลายท่านแสดงตนว่าเป็นมุสลิม อาทิเช่น ศ.ดร. ชัยวัฒน์ สถาอานันท์ (ม.ธรรมศาสตร์) ศ.ดร.อิมรอน มะลูลีม (ม.เกษตรศาสตร์) ศ.ดร.จรัญ มะลูลีม (ม.ธรรมศาสตร์) ศ.ดร.อิศรา ศานติศาสตร์ (จุฬาลงกรณ์ฯ) รศ.ดร. วินัย ดะห์ลัน (จุฬาลงกรณ์ฯ) รศ.ดร.ปกรณ์ ปรียากร (นิด้า) รศ.ดร.อารง สุทธาศาสน์ (จุฬาลงกรณ์ฯ) และดร.ศราวุฒิ อารีย์ (จุฬาลงกรณ์ฯ) เป็นต้น นี้คือตัวอย่างของนักวิชาการที่เชี่ยวชาญและมีผลงานเป็นที่ประจักษ์ในสาขาวิชาของตัวเอง หลายท่านอาจจะอยากทักท้วงผมว่าสังคมมุสลิมก็มีนักวิชาการอีกมากมายที่ทำหน้าที่สอนศาสนาและวิชาสามัญทั้งในเมืองหลวงและในภาคใต้ ถ้าท่านผู้อ่านเป็นคนหนึ่งที่คิดอย่างนั้น ผมเห็นด้วยกับท่าน สังคมมุสลิมไม่ได้ขาดนักบรรยายศาสนาหากแต่เป็นสังคมที่ขาด “นักวิชาการ” ที่ทำหน้าที่และมีคุณสมบัติของความเป็นวิชาการตามมาตรฐานสากล ในบทความนี้ผมจะลองเสนอคำอภิปรายว่าเหตุใดเราจึงขาด “นักวิชาการมุสลิม” ในประเทศไทย

ผมขอเริ่มต้นด้วยการอภิปรายเรื่องการแยกแยะระหว่างการทำงานวิชาการกับการทำงานศาสนา (หรือที่เรียกว่า “ดะวะฮ์”)[5] เป็นลำดับแรก คุณสมบัติที่สำคัญประการหนึ่งของการทำงานวิชาการตามมาตรฐานสากลคือการสำเร็จการศึกษาในระดับปริญญาเอก อาจารย์ผมท่านหนึ่งเคยสอนไว้ว่าอย่างน้อยที่สุดการทำวิจัยในระดับป.เอกมีเป้าหมายเพื่อฝึกฝนให้ผู้เรียนสามารถออกไปทำวิจัยได้ด้วยตัวเองและถูกต้องตามหลักวิชาการ ในทางกลับกัน การทำงานดะวะฮ์มิได้กำหนดคุณวุฒิที่ตายตัว ผู้ที่ทำงานดังกล่าวซึ่งไม่จำเป็นต้องจบการศึกษาระดับสูงและไม่จำเป็นต้องเชี่ยวชาญเฉพาะด้านก็สามารถสวมวิญญาณการทำงานดะวะฮ์ได้ แต่ถ้าให้ดีก็ควรจบการศึกษาด้านศาสนาเพื่อจะได้เผยแพร่คำสอนและสัจธรรมได้อย่างถูกต้อง (ตารางที่ 1 สรุปคุณสมบัติพื้นฐานที่แตกต่างกันระหว่างการทำงานในสองอาณาบริเวณดังกล่าว)

ตารางที่ 1คุณสมบัติพื้นฐานระหว่างการทำงานดะวะฮ์และวิชาการในปัจจุบัน

นอกจากนั้น การทำงานดะวะฮ์ไม่จำเป็นต้องใช้ทักษะการเขียนเป็นสำคัญ แต่สิ่งที่สำคัญคือทักษะการพูดและการบรรยายที่จะทำให้ข้อความที่ต้องการสื่อไปถึงผู้ฟังได้อย่างถูกต้องและน่าเชื่อถือ ในทางกลับกัน การทำงานวิชาการต้องการทักษะการเขียนมากกว่าทักษะการพูด ที่สำคัญ ในการวัดระดับการมีอารยธรรมของสังคมตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน เราไม่ได้วัดกันที่คำถามว่าสังคมไหนมีผลผลิตของการบรรยายมากกว่ากันแต่ในทางตรงกันข้ามดัชนีของการมีอารยธรรมและความก้าวหน้าของสังคมนั้นเราวัดกันที่ศิลปะงานเขียนและผลผลิตของสิ่งตีพิมพ์ที่มาจากทักษะการเขียน ดัชนีตัวนี้เราใช้กันมาตั้งแต่อารยธรรมโบราณจนถึงสังคมสมัยใหม่ อีกทั้งปัจจัยดังกล่าวยังทำให้เกิดการสร้างรัฐชาติสมัยใหม่ที่มีอุดมการณ์ชาตินิยมเดียวกันอีกด้วย[6] ดังนั้น กล่าวได้ว่า สังคมที่มีอารยธรรมคือสังคมที่อ่านออกเขียนได้และมีผลงานเป็นสิ่งตีพิมพ์ที่จับต้องได้ มิใช่สังคมที่ผู้คนแข่งกันบรรยายโดยไม่มีงานเขียนออกมาสู่สังคม ด้วยเหตุนี้ หากปลายทางคือการสร้างสังคมแห่งความรู้แล้ว สังคมมุสลิมในประเทศไทยก็ยังติดอยู่ในกับดักพื้นฐานอย่างหนึ่งที่แก้ไม่ง่าย นั่นคือ ปัญหาการทำงานดะวะฮ์ที่ละเลยงานวิชาการตามมาตรฐานสากล[7]

อย่างไรก็ดี แม้ว่าเราควรแยกแยะระหว่างการทำงานวิชาการและงานดะวะฮ์เพื่อให้เห็นภาพของทั้งสองอาณาบริเวณได้ชัดเจนมากขึ้นแต่งานทั้งสองก็หาได้แยกออกจากกันอย่างสิ้นเชิงไม่ (โปรดดูรูปภาพที่ 1) ที่กล่าวมาข้างต้นมิได้หมายความว่านักวิชาการไม่สามารถสวมจิตวิญญาณการทำงานดะวะฮ์ได้ และหาใช่ว่าคนที่ทำงานดะวะฮ์จะไม่สามารถเข้ามาสู่เส้นทางการเป็นนักวิชาการตามมาตรฐานสากลได้ สังคมมุสลิมมีตัวอย่างที่น่าชื่นชมจากทั้งสองด้าน อาทิเช่น งานเขียนจากฝ่ายทำงานดะวะฮ์ที่ตรงตามหลักวิชาการสากลของอาจารย์ดิเรก กุลสิริสวัสดิ์ อาจารย์มุรีด ทิมะเสน อาจารย์อาลี เสือสมิง อาจารย์อารีฟีน แสงวิมาน อาจารย์บรรจง บินกาซัน และดร. วิสุทธิ์ บิลล่าเต๊ะ เป็นต้น ตัวอย่างอีกด้านหนึ่งคืออาจารย์ที่ทำงานในมหาวิทยาลัยและเชี่ยวชาญเฉพาะด้านแต่สวมจิตวิญญาณทำงานศาสนาไปด้วย เช่น ผศ.ดร.หะซัน หมัดหมาน ผศ.ดร.อิสมาอีลลุตฟี จะปะกียา ผศ.ดร.ชัยรัตน์ ศิริพัธนะ ดร.ปรีดา ประพฤติชอบ ผศ.ดร. มูฮัมหมัดอิลยาส หญ้าปรัง ดร. อัมพร หมาดเด็น อาจารย์อาฎิล ศิริพัธนะ และงานเขียนของอาจารย์ท่านอื่นๆ ที่คณะอิสลามศึกษา มอ.ปัตตานี เป็นต้น อย่างไรก็ดีการที่อาจารย์จากทั้งสองสายสามารถยืนอยู่บนพื้นที่ทับซ้อนของลักษณะงานทั้งสองประเภทได้และเป็นที่ยอมรับในระดับหนึ่งนั้นเนื่องจากพวกเขาสามารถเติมเต็มคุณสมบัติพื้นฐานของอาณาบริเวณทั้งสองสายได้ แต่กระนั้น ตารางที่ 1 ชี้ให้เห็นว่าคุณสมบัติของงานดะวะฮ์ที่เกี่ยวกับทักษะพื้นฐาน วิชาชีพ กรอบเวลาในการเรียน กระบวนการผลิตความรู้และคุณวุฒินั้นมีความยืดหยุ่นมากกว่า ในทางกลับกันข้อจำกัดสำหรับการเป็นนักวิชาการนั้น (ดูเหมือน) มีความเข้มงวดมากกว่างานด้านดะวะฮ์ ด้วยเหตุนี้อาจกล่าวได้ว่ามันไม่ง่ายสำหรับนักการศาสนาที่จะเป็นนักวิชาการในความหมายดังกล่าว


กล่าวได้ว่า ปัญหาพื้นฐานอีกประการของนักวิชาการมุสลิมคือไม่มีงานเขียนตามหลักวิชาการสากลออกสู่สังคมวิชาการมากพอ ผมเคยได้ยินอาจารย์หลายท่านที่ทำงานในมหาวิทยาลัยของรัฐระบายความอึดอัดใจให้ฟังอยู่หลายครั้งว่า สังคมมุสลิมเรามีอาจารย์ที่เน้นแต่การบรรยายแต่ไม่มีงานเขียนเป็นที่ประจักษ์ ผมค่อนข้างเห็นด้วยแต่ไม่ค่อยแน่ใจว่าส่วนใหญ่เป็นอย่างนั้นจริงๆ หรือไม่และอยากจะชวนท่านผู้อ่านลองสำรวจดูงานเขียนของอาจารย์ที่มีงานบรรยายเต็มสัปดาห์ว่าเขามีงานเขียนอะไรเป็นชิ้นเป็นอันบ้างที่ถูกต้องตามหลักวิชาการสากล หากจะขยับให้มากกว่านั้น ท่านลองสำรวจดูว่าในจำนวนงานเขียนของอาจารย์มุสลิมไทย (ยกเว้นอาจารย์ที่เอ่ยนามไปข้างต้นและที่อยู่ในวงการวิชาการกระแสหลักแล้ว) มีงานเขียนชิ้นไหนบ้างที่เป็นที่ยอมรับของสังคมวิชาการไทยโดยรวม อาจเป็นไปได้ว่าสังคมมุสลิมเป็นสังคมที่ผลิตงานกันเอง อ่านกันเองและอวยกันเอง อาจารย์จากมหาวิทยาลัยรามคำแหงท่านหนึ่งสะท้อนให้ข้าพเจ้าฟังว่า เราจะเอาอะไรมากกับการถกเถียงของคนที่อ่านหนังสือน้อย (หมายถึงบัณฑิตที่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีและตีตนเป็นผู้รู้)[8] และไม่มีงานเขียนทางวิชาการให้เรามานั่งอ่านและคิดต่อ งานบรรยายมักมีลักษณะพูดแล้วก็จบแต่งานเขียนมันจะคงอยู่กับเราต่อไป เราจึงสามารถรับมรดกทางความคิดของนักปราชญ์ในอดีตและมาปรับพัฒนาเพื่อใช้ในยุคของเราได้ แต่ปัญหาของสังคมวิชาการมุสลิมในประเทศไทยในปัจจุบันคือการขาดนักวิชาการที่มี “งานเขียน” และได้รับการยอมรับตามมาตรฐานสากล

อย่างไรก็ดี การเป็นนักวิชาการไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ใช่เพียงเพราะเขาต้องมีทักษะการเขียนและมีผลงานเป็นที่ยอมรับเท่านั้น แต่จะมีใครมานั่งเล่าเรียน ฝึกเขียนและฝึกทำวิจัยเพียงเพื่อฝึกฝนตนให้กลายเป็นนักวิชาการที่มีคุณภาพจนกระทั่งอายุ 30 ปีโดยที่ไม่ทำงานหาเลี้ยงชีพ! คุณอาจจะโชคดีหน่อยถ้าสามารถจบป.เอกก่อนอายุ 30 ปีแต่ผมอยากจะชวนผู้อ่านลองนึกภาพตาม หากนายฟูลานจบป.ตรีในอายุ 22 ปีแล้วเข้าทำงานที่เงินเดือน 15,000 บาท (ถ้าให้ดีหน่อยก็ทำงานในมาเลเซียซึ่งมีเงินเดือนเริ่มต้นอยู่ที่ประมาณ 3,500 ริงกิต หรือประมาณสามหมื่นกว่าบาท) เมื่ออายุ 30 ปีเขาจะมีประสบการณ์ทำงาน 8 ปี ในตอนนั้นเขาสามารถสร้างฐานะและตั้งตัวได้แล้ว มีทั้งบ้าน รถและครอบครัว ถ้าเขาเป็นข้าราชการเขาก็มีสวัสดิการของรัฐเป็นทุนเพิ่มแต่ถ้าเขาทำงานเอกชนเขาก็น่าจะมีรายได้ไม่น่าต่ำกว่าสี่หมื่นบาทต่อเดือน ในทางกลับกัน สำหรับคนที่อยากเป็นนักวิชาการและมีรากฐานมาจากครอบครัวชาวบ้านธรรมดา เมื่ออายุ 30 ปีเขายังไม่มีอะไรเป็นหลักประกันในชีวิตได้เลยในขณะที่เพื่อนรุ่นราคราวเดียวกับเขาสามารถสร้างหลักปักฐานเป็นที่เรียบร้อยแล้ว อีกทั้งเมื่อเขาจบป.เอกมาแล้วก็หาใช่ว่าเขาสามารถเป็นนักวิชาการที่มีคุณภาพได้โดยทันที หากแต่เขาต้องสามารถผลิตงานเขียนที่สะเทือนวงการวิชาการได้เขาจึงจะได้เป็นที่ยอมรับในเวลาอันสั้น

ในปัจจุบันอัตราจ้างงานของมหาวิทยาลัยมีแนวโน้มที่จะลดลงเรื่อยๆ อีกทั้งภาระงานและสวัสดิการสำหรับพนักงานของมหาวิทยาลัยก็ไม่ได้ทำให้เกิดแรงจูงใจในการเป็นนักวิชาการ ที่กล่าวมาข้างต้นทำให้ผู้เขียนสงสัยว่า ถ้าอย่างนั้นแล้วอะไรเป็นปัจจัยที่จะทำให้คนรุ่นใหม่สนใจที่จะเป็น “นักวิชาการ” กันมากขึ้น ที่ตั้งคำถามแบบนี้ไม่ได้ต้องการคำตอบแต่ต้องการชี้ให้เห็นว่าระหว่างทางของการฝึกฝนไปสู่การเป็นนักวิชาการนั้นหลายคนต้องเจอกับการล้มลุกคลุกคลาน (ไม่ว่าจะเป็นเรื่องความเข้าใจทฤษฏีต่างๆ ปัญหาการเงิน ปัญหาสุขภาพ(จิต) การตัดขาดจากสังคม ปัญหาครอบครัว เป็นต้น) ในการสร้างตนให้เป็นนักวิชาการที่มีคุณภาพ หลายคนล้มเลิกและออกจากเส้นทางสายวิชาการ[9] ปัจจัยภายนอกและภายในทั้งหมดที่กล่าวมาจึงเป็นอุปสรรคที่ไม่เอื้อให้เกิดการสร้างนักวิชาการมืออาชีพในสังคมมุสลิมและสังคมทั่วไป

โดยสรุป บทความนี้อภิปรายเกี่ยวกับความแตกต่างระหว่างการทำงานวิชาการและการทำงานดะวะฮ์เพื่อตอบคำถามว่าเหตุใดจึงไม่มีนักวิชาการมุสลิมในประเทศไทย เนื่องจากการทำงานวิชาการต้องการทักษะการเขียนและการทำงานวิจัยต้องใช้เวลานานในการฝึกฝน อีกทั้งยังมีอุปสรรคระหว่างทางอีกมากมายไม่ว่าจะเป็นเรื่องความมั่นคงทางการเงิน ปัญหาครอบครัว ปัญหาสุขภาพ การขาดแรงจูงใจ และความยากในการเรียนในสาขาเฉพาะด้าน ดังนั้นเส้นทางการทำงานดะวะฮ์/นอกสายวิชาการดูจะเป็นสิ่งที่น่าจะสนใจและยืดหยุ่นมากกว่าสำหรับบัณฑิตและมุสลิมส่วนใหญ่ นอกจากนั้นนักวิชาการศาสนาที่สาละวนอยู่กับงานดะวะฮ์จำเป็นต้องให้ความสำคัญการอ่านและการบรรยายแต่ไม่จำเป็นต้องเน้นการฝึกอบรมในการทำวิจัยอย่างเป็นระบบ การทำงานดะวะฮ์ของมุสลิมจึงอาจถูกเข้าใจ (ผิด) ได้ว่าเป็นการทำงานวิชาการไปในตัว อย่างไรก็ดี แม้ว่างานดะวะฮ์และงานวิชาการไม่ใช่อันหนึ่งอันเดียวกันก็จริงแต่ทั้งสองส่วนมีพื้นที่ทับซ้อนกัน ผู้ที่เป็นนักวิชาการอาจจะทำหน้าที่ดะวะฮ์ไปด้วยก็ได้และสำหรับนักดะวะฮ์ก็เช่นกันหากเขาทั้งสองมีคุณสมบัติของทั้งสองสายงาน แต่กระนั้นส่วนใหญ่ของผู้ที่กำหนดตนเป็นนักบรรยายจึงไม่น่าจะใช่นักวิชาการในความหมายตามมาตรฐานสากล ด้วยเหตุนี้สังคมมุสลิมจึงมีนักบรรยายจำนวนมากแต่ขาดนักวิชาการที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เป็นที่ยอมรับของสังคมไทยโดยรวม ด้วยประการฉะนี้เราจึงไม่มีนักวิชาการมุสลิมในประเทศไทยอย่างเพียงพอ และถ้าหากการวิเคราะห์ของผมผิดจากความเป็นจริงอยู่มากแล้ว สังคมมุสลิมก็น่าจะเป็นสังคมที่อุดมด้วยภูมิปัญญาสมัยใหม่และสามารถรับมือกับความสุดโต่งทางศาสนาและการหวาดกลัวอิสลามได้อย่างไม่ยากเย็น


เอกสารอ้างอิงที่เกี่ยวข้อง

Anderson, Benedict. Imagined Communities: Reflections on the Origin and Spread of Nationalism, Revised Edition. Revised edition. London ; New York: Verso, 2006.

Azad, Hasan. “‘เหตุใดจึงไม่มีนักปรัชญามุสลิม?’” Translated by บรรณาธิการปาตานีฟอรั่ม. pataniforum, November 3, 2017. http://www.pataniforum.com/single.php?id=673.

Gellner, Ernest. Nations and Nationalism. Cornell University Press, 2008.

“Ernest Gellner.” Nationalism Studies (blog), October 9, 2013. https://nationalismstudies.wordpress.com/2013/10/09/ernest-gellner-2/.

Hutchinson, John, and Anthony D. Smith, eds. Nationalism. Oxford: Oxford University Press, 1994.

Pew Research Center. “Table: Muslim Population by Country.” Pew Research Center’s Religion & Public Life Project (blog), January 27, 2011. http://www.pewforum.org/2011/01/27/table-muslim-population-by-country/.

Pipat Pasutarnchat. “อ่าน ‘วิชาการในฐานะอาชีพ’ ของมักซ์ เวเบอร์ ตอนที่ 1.” Academia. Accessed November 12, 2017. https://www.academia.edu/7017885/อ_าน_วิชาการในฐานะอาชีพ_ของมักซ_เวเบอร_ตอนที_1

Raymond Scupin. “Muslim Intellectuals in Thailand: Exercises in Reform and Moderation,” n.d. https://www.researchgate.net/profile/Raymond_Scupin/publication/301298989_Muslim_Intellectuals_in_Thailand_Exercises_in_Reform_and_Moderation/links/57110bc108aeff315b9f7255/Muslim-Intellectuals-in-Thailand-Exercises-in-Reform-and-Moderation.

นิธิ เอียวศรีวงศ์. “ต่อต้านอิสลามในภาคเหนือตอนบน โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์.” มติชนออนไลน์ (blog), February 15, 2016. https://www.matichon.co.th/news/38007.

มุสลิม วงศาวิศิษฎ์กุล. “มองสังคมมุสลิมไทยผ่าน Postmodern.” pataniforum, April 22, 2015. http://www.pataniforum.com/single.php?id=505.

ยาสมิน ซัตตาร์, อันวาร์ กอมะ, and เอกรินทร์ ต่วนศิริ. “ถอดความสรุปหัวข้อ ความสำคัญของการคิดเชิงวิพากษ์สำหรับสังคมมุสลิมทั้งในตะวันตกและตะวันออก ปาฐกถาโดย ฎอริค รอมาฎอน.” Patani Forum, April 15, 2015. http://www.pataniforum.com/single.php?id=504.

สำนักข่าวอิศรา. “วิกฤต..‘พนักงานมหา’ลัย’ วิกฤต..อุดมศึกษาของประเทศ??” สำนักข่าวอิศรา, July 29, 2012. https://www.isranews.org/thaireform-doc-education/15667-qq-.html.

ธเนศน์ นุ่นมัน. “มหา’ลัยล้น ห้องเรียนร้าง วิกฤตอุดมศึกษาไทย.” Post Today, 2559. https://www.posttoday.com/analysis/report/427241.

อารี จำปากลาย, ธีรนงค์ สกุลศรี, and อาซิส ประสิทธิหิมะ. “มุสลิมในประเทศไทย : ชายขอบหรือเพียงแค่แตกต่าง?” In ประชากรและสังคม 2555: ประชากรชายขอบและความเป็นธรรมในสังคมไทย, edited by กุลภา วจนสาระ and กฤตยา อาชวนิจกุล, พิมพ์ครั้งที่ 1. เอกสารทางวิชาการ/สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, หมายเลข 395. นครปฐม: สำนักพิมพ์ประชากรและสังคม สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555.



--------------------------------------------------------------------------------------

[1] โปรดดู นิธิ เอียวศรีวงศ์. “ต่อต้านอิสลามในภาคเหนือตอนบน โดย นิธิ เอียวศรีวงศ์.” มติชนออนไลน์ (blog), February 15, 2016. https://www.matichon.co.th/news/38007.


[2] โปรดดู Pew Research Center. “Table: Muslim Population by Country.” Pew Research Center’s Religion & Public Life Project (blog), January 27, 2011. http://www.pewforum.org/2011/01/27/table-muslim-population-by-country/. ดูข้อมูลจากแหล่งอื่นได้ที่ อารี จำปากลาย, ธีรนงค์ สกุลศรี, และ อาซิส ประสิทธิหิมะ. “มุสลิมในประเทศไทย : ชายขอบหรือเพียงแค่แตกต่าง?” ใน ประชากรและสังคม 2555: ประชากรชายขอบและความเป็นธรรมในสังคมไทย, บรรณาธิการโดย กุลภา วจนสาระ และ กฤตยา อาชวนิจกุล, พิมพ์ครั้งที่ 1. เอกสารทางวิชาการ/สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, หมายเลข 395. นครปฐม: สำนักพิมพ์ประชากรและสังคม สถาบันวิจัยประชากรและสังคม มหาวิทยาลัยมหิดล, 2555.


[3] ตัวอย่าง ถ้าหากมีนักวิชาการมุสลิมจำนวนร้อยละ 0.5 ของนักวิชาการจำนวน 5 หมื่นคนทั่วประเทศแล้ว ดังนั้นนักวิชาการมุสลิมที่เป็นที่ยอมรับของสังคมควรมีจำนวน 250 คน หรือหากคำนวณในอัตราร้อยละ 0.2 แล้วเราจะได้ตัวเลข 100 คน


[4] โปรดดูเพิ่มเติมที่ Raymond Scupin. “Muslim Intellectuals in Thailand: Exercises in Reform and Moderation,” n.d. https://www.researchgate.net/profile/Raymond_Scupin/publication/301298989_Muslim_Intellectuals_in_Thailand_Exercises_in_Reform_and_Moderation/links/57110bc108aeff315b9f7255/Muslim-Intellectuals-in-Thailand-Exercises-in-Reform-and-Moderation.


[5] ในความหมายกว้างๆ การดะวะฮ์หมายถึงการเชิญชวนไปสู่อิสลามซึ่งเป็นงานที่เผยแพร่สัจธรรมคำสอนและหลักการของศาสนาอิสลามให้กับสังคม เป็นงานที่มีเกียรติและได้ผลบุญ


[6] โปรดดูบทบาทและความเชื่อมโยงของ print capitalism, high culture, standardized education, และ nationalism เพิ่มเติมได้ที่ Hutchinson, John, and Anthony D. Smith, eds. Nationalism. Oxford: Oxford University Press, 1994. pp. 55-69.


[7] หลักวิชาการสากลในแง่นี้หมายถึงการเขียนงานที่ผ่านมาตรฐานการตรวจสอบจากผู้ทรงวุฒิ (peer review) หรือเป็นงานที่มีการอ้างอิงตามหลักวิชาการและมีเหตุมีผลในการอภิปรายและยกตัวอย่าง โปรดดูงานเขียนของอาจารย์ที่ผู้เขียนเอ่ยนามข้างต้นเป็นตัวอย่าง


[8] อาจารย์ท่านดังกล่าวเคยปรารภให้ผู้เขียนฟังว่า นักวิชาการ (และคนที่ทำงานดะวะฮ์) ไม่ควรจบแค่ป.ตรีเพราะในระดับป.ตรีเราอ่านหนังสือกันไม่กี่เล่ม บางวิชาบังคับให้อ่านแค่เล่มหรือสองเล่มเท่านั้น เมื่อเปรียบเทียบกับการเรียนในระดับที่สูงขึ้นไปแล้ว แม้เราเรียนในหัวข้อเดียวกันแต่ผู้เรียนในระดับบัณฑิตศึกษาต้องอ่านหนังสือที่หลากหลายเป็นจำนวนมากมิใช่แค่สำหรับกระบวนวิชาที่เรียนเพียงเท่านั้นแต่สำหรับหัวข้อที่เรียนแต่ละสัปดาห์อีกด้วย ด้วยเหตุนี้ระดับความเข้าใจและความคิดความอ่านของบัณฑิตในระดับต่างๆ จึง (น่าจะ) ไม่เท่ากัน


[9] สภาพดังกล่าวดูเหมือนจะมีส่วนคล้ายกันมากกับสังคมวิชาการในเยอรมนีในยุคของ Max Weber (เสียชีวิตใน ศ. 1920) ผู้ที่กล่าวว่า “ชีวิตทางวิชาการนั้นจึงเป็นการเดิมพันอันบ้าคลั่ง ถ้านักวิชาการรุ่นใหม่นั้นมาขอคำแนะนำผมเกี่ยวกับการสมัครเข้ามาสอน ผมก็ไม่ได้มีหน้าที่ใดๆ ทั้งสิ้นในการให้กำลังใจเขา” ดูทัศนะของ Weber เพิ่มเติมได้ที่ Pipat Pasutarnchat. “อ่าน ‘วิชาการในฐานะอาชีพ’ ของมักซ์ เวเบอร์ ตอนที่ 1. หน้า 6” Academia. Accessed November 12, 2017. https://www.academia.edu/7017885/อ_าน_วิชาการในฐานะอาชีพ_ของมักซ_เวเบอร_ตอนที_1



ที่มา : http://www.pataniforum.com/single.php?id=713


#สารพันบทความ_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online


read more "เหตุใดจึงไม่มีนักวิชาการมุสลิมในประเทศไทย"

วันจันทร์ที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2560

การแตกสลายของโลกมุสลิม

การแตกสลายของโลกมุสลิม

(บรรจง บินกาซัน)



ก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 7 อาณาจักรโรมันไบแซนตินและอาณาจักรเปอร์เซียเป็นสองมหาอำนาจที่แย่งชิงความเป็นใหญ่อยู่เหนือคาบสมุทรอาหรับมานานนับร้อยปี แต่หลังจากนบีมุฮัมมัดสถาปนารัฐอิสลามแห่งมะดีนะฮฺขึ้นได้ไม่นาน อาณาจักรเปอร์เซียและดินแดนที่เรียกว่า “อัชชาม” ซึ่งประกอบด้วยซีเรีย จอร์แดนและปาเลสไตน์ของอาณาจักรโรมันไบแซนตินก็ตกเป็นของมุสลิม

ถึงแม้จะมีความขัดแย้งภายในระหว่างตระกูลผู้ปกครอง แต่อาณาจักรอิสลามก็ขยายตัวออกไปทางตอนเหนือของอาฟริกา ข้ามช่องแคบญิบรอลตาเข้าไปรุ่งเรืองเป็นอีกอาณาจักรหนึ่งซึ่งเรียกกันว่า “อัลอันดะลุส” ในคาบสมุทรไอบีเรีย(สเปนปัจจุบัน) อาณาจักรอัลอันดะลุสเจริญรุ่งเรืองอยู่ในช่วงศตวรรษที่ 8-15 และเป็นแหล่งต้นน้ำของยุคฟื้นฟูศิลปะวิทยาการในยุโรป

อย่างไรก็ตาม ทุกสิ่งที่มีขึ้นก็ย่อมมีลงเป็นธรรมดาเมื่อถึงวาระ ในที่สุด เมื่อชาติคริสเตียนรวมตัวกันกลับมายึดสเปน อาณาจักรอัลอันดะลุสก็ถึงคราวล่มสลายใน ค.ศ.1492 ในการยึดสเปนกลับคืนครั้งนั้น ชาวยิวและชาวมุสลิมได้ถูกกำหนดให้มีทางเลือกสามทาง คือ ออกไปจากสเปน หรือไม่ก็เป็นคริสเตียน หรือไม่ก็ตาย

ส่วนในทางตะวันออก เมืองแบกแดดที่เป็นศูนย์กลางความเจริญของอาณาจักรอิสลามได้ถูกพวกมองโกลภายใต้การนำของฮูลากู ข่านทำลายใน ค.ศ.1258 แต่หลังจากนั้น พวกเติร์กซึ่งเป็นชนชาติเร่ร่อนในคาบสมุทรอนาโตเลียก็ได้ขึ้นมามีอำนาจและตั้งอาณาจักรออตโตมานเติร์กขึ้นมาโดยใช้กฎหมายอิสลามเป็นธรรมนูญในการปกครองจนกระทั่งถึงต้นศตวรรษที่ 20

ในตอนปลายสมัยของอาณาจักรออตโตมาน ตัวแทนชาวยิวที่กระจัดกระจายกันอยู่ตามส่วนต่างของโลกประมาณ 200 คนได้นัดประชุมกันที่เมืองบาเซิล สวิตเซอร์แลนด์ ใน ค.ศ.1897 และได้มีมติก่อตั้งขบวนการไซออนิสต์ขึ้นเพื่อเป็นเครื่องมือในการก่อตั้งอาณาจักรอิสราเอลขึ้นมาอีกครั้งหนึ่งในแผ่นดินปาลเลสไตน์เพื่อให้เป็นประเทศของชาวยิวโดยเฉพาะ เริ่มแรก ตัวแทนชาวยิวได้วิ่งเต้นขอให้รัฐบาลอังกฤษช่วยหาดินแดนที่จะใช้ก่อตั้งประเทศสำหรับชาวยิวก่อน แต่เมื่อรัฐบาลอังกฤษเสนอประเทศอูแกนดาให้ ตัวแทนชาวยิวได้ปฏิเสธ

เนื่องจากปาเลสไตน์เป็นดินแดนที่อยู่ในการปกครองของอาณาจักรออตโตมาน นายธีโอดอร์ เฮอร์เซิล หัวหน้าขบวนการไซออนิสต์จึงได้เข้าพบสุลต่านอับดุลฮามิดแห่งอาณาจักรออตโตมานเพื่อขอซื้อดินแดนปาเลสไตน์


ในหนังสือที่มีชื่อว่า “The Diaries of Theodor Herzl” (อนุทินของธีโอดอร์ เฮอร์เซิล) ซึ่งตีพิมพ์ในกรุงเทลอาวีฟ ค.ศ.1934 สุลต่านอับดุล ฮามิดแห่งตุรกีได้ให้เหรียญอันหนึ่งแก่ธีโอดอร์ เฮอร์เซิลเป็นของขวัญใน ค.ศ.1902 พร้อมกับจดหมายฉบับหนึ่งซึ่งกล่าวว่า :

“แจ้ง ดร.เฮอร์เซิลให้เลิกล้มความพยายามทั้งหลายเกี่ยวกับการจัดตั้งรัฐยิวในปาเลสไตน์เสียเถิด ถ้าอาณาจักรออตโตมานแตกสลายเมื่อใดก็เมื่อนั้นแหละที่ยิวจะได้ปาเลสไตน์”

หลังจากนั้นไม่นาน อาณาจักรออตโตมานเติร์กก็แตกสลายเมื่อสุลต่านแห่งอาณาจักรออตโตมานเข้าร่วมเป็นฝ่ายเดียวกับเยอรมันในสงครามโลกครั้งที่ 1 เมื่อแพ้สงคราม อังกฤษและฝรั่งเศสที่เป็นผู้นำฝ่ายพันธมิตรก็เข้ามาเฉือนแผ่นดินของอาณาจักรออตโตมานออกเป็นประเทศต่างๆ จนอาณาจักรออตโตมานที่ครั้งหนึ่งเคยปกครองดินแดนในสามทวีปเหลือพื้นที่เพียงประเทศตุรกีในปัจจุบัน การปกครองโดยกฎหมายอิสลามที่ดำเนินมานับพันปีได้สิ้นสุดลงใน ค.ศ.1924 มิเพียงเท่านั้น รัฐธรรมนูญใหม่ของสาธารณรัฐตุรกียังถือว่ากิจกรรมใดๆ ที่เกี่ยวข้องกับอิสลามถือเป็นสิ่งต้องห้ามด้วย

นับแต่นั้นมา ประเทศมุสลิมเกิดใหม่ก็มีระบบการเมืองและระบบเศรษฐกิจแปลกใหม่ที่หลากหลายเข้ามาใช้ตามความต้องการของชาติมหาอำนาจที่เข้ามาปกครองแทนระบบอิสลาม เช่น จอร์แดนและซาอุดิอาระเบียปกครองด้วยระบอบกษัตริย์ อียิปต์ ซีเรียและอิรักปกครองแบบสังคมนิยมอาหรับ เป็นต้น


ในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 ซึ่งเป็นช่วงที่ชาติมหาอำนาจเข้ามามีอิทธิพลและปกครองชาติมุสลิมนี้เอง ปรากฏว่าสภาพความเสื่อมทรามทางศีลธรรมได้แพร่กระจายในโลกมุสลิมอย่างที่ไม่เคยปรากฏมาก่อน ด้วยเหตุนี้ นักกิจกรรม นักวิชาการและผู้นำทางศาสนาหลายคนที่มองเห็นกับดักแห่งความหายนะจากวัฒนธรรมวัตถุนิยมแบบตะวันตกจึงได้ออกมาวิพากษ์วิจารณ์และเคลื่อนไหวเรียกร้องให้มุสลิมในประเทศต่างๆหันกลับไปสู่อิสลามอีกครั้งหนึ่งเพื่อฟื้นฟูศีลธรรมให้กลับคืนมาสู่วิถีชีวิต

นักเคลื่อนไหวบางคนสามารถก่อตั้งองค์กรขนาดใหญ่ของตนขึ้นมาในประเทศมุสลิมบางประเทศเพื่อเรียกร้องการปกครองแบบอิสลาม เช่น อิควาน อัลมุสลิมูน (ภราดรภาพมุสลิม) ในอียิปต์ แต่ก็ต้องถูกกวาดล้างทำลายแม้จะเดินเข้าสู่อำนาจการปกครองโดยการเลือกตั้งตามวิถีประชาธิปไตยที่ชาติตะวันตกต้องการก็ตาม เช่นเดียวกับในตุรกีและประเทศอื่นๆ

วันนี้ ประชาชาติมุสลิมตระหนักแล้วว่าประชาธิปไตยมิได้เป็นระบอบการปกครองที่ชาติมหาอำนาจต้องการแต่อย่างใด ถ้าวิถีประชาธิปไตยนั้นนำมาซึ่งอำนาจรัฐที่ขัดผลประโยชน์ของชาติมหาอำนาจ ระบอบการปกครองที่ชาติมหาอำนาจตะวันตกต้องการคือการปกครองระบอบอะไรก็ได้ที่รักษาผลประโยชน์ของตน


Cr. Banjong Binkason


#ประวัติศาสตร์อิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online




read more "การแตกสลายของโลกมุสลิม"

วันศุกร์ที่ 4 สิงหาคม พ.ศ. 2560

Mustafa Dawa ชายผู้อาสาขุดหลุมฝังศพผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย

Mustafa Dawa ชายผู้อาสาขุดหลุมฝังศพผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย





“เลบอส” คือเกาะเล็กๆ ของประเทศกรีซ ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของทะเลอีเจียนฝั่งตรงข้ามกับประเทศตุรกี ในอดีตที่นี่เคยเป็นแหล่งท่องเที่ยวขึ้นชื่อ แต่ปัจจุบันกลับกลายเป็นขุมนรกบนความงดงาม นับตั้งแต่เกิดวิกฤติผู้ลี้ภัยที่ผู้อพยพหลั่งไหลหนีตายเข้ามาบนเกาะนี้ในช่วงหลายปีที่ผ่านมา

การช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมจากผู้คนที่อาศัยอยู่บนเกาะนี้ มักได้รับการกล่าวขานว่าคือที่สุดของการเป็นฮีโร่ ฮีโร่ผู้ซึ่งพยายามต่อสู้กับความหายนะและคอยยื่นมือช่วยเหลือผู้อพยพที่รอดชีวิตมาได้จนถึงฝั่ง

ย้อนกลับไปในอดีตเมื่อวิกฤติดังกล่าวได้เริ่มต้นในปี 2015 ผู้คนต่างพากันช่วยเหลือกลุ่มผู้ลี้ภัยตามชายหาดต่างๆ ครั้งนั้นมีชาวประมงท้องถิ่นคนหนึ่งได้ช่วยเหลือผู้ลี้ภัยนับสิบที่ต้องลอยแพแขวนชีวิตอยู่กลางทะเลให้รอดพ้นจากความตายและความโศกเศร้า และในเดือนสิงหาคมของปีเดียวกันนั้น ทางองค์การสหประชาชาติและองค์กรเอกชนอื่นๆ จึงได้เริ่มยื่นมือเข้ามาช่วยเหลือและก่อตั้งศูนย์บรรเทาเพื่อช่วยเหลือผู้ลี้ภัย ณ ที่นั้นเป็นต้นมา แต่อย่างไรก็ตามจำนวนผู้อพยพก็ยังคงเพิ่มมากขึ้นมาโดยตลอด แม้ทางสหภาพยุโรปได้พยายามเจรจากับทางตุรกีและขู่เข็ญบังคับให้โยกย้ายผู้ลี้ภัยออกจากพื้นที่แล้วก็ตาม กระนั้นก็ยังมีผู้คนอยู่อีกจำนวนมากที่พยายามข้ามน้ำข้ามทะเลเพื่อเข้ามายังชายฝั่งของเกาะแห่งนี้

เมื่อกาลเวลาผ่านไปค่ายผู้ลี้ภัยก็เริ่มแออัดมากขึ้น ในขณะที่ทรัพยากรเพื่อประทังชีวิตก็เริ่มลดลง ผู้คนตกอยู่ในภาวะโศกเศร้ากันเป็นจำนวนมาก ความตายจึงเป็นสิ่งปกติที่เกิดขึ้นในทุกวี่วันด้วยสาเหตุนานัปการ บางคนที่รอดชีวิตจากทะเลได้ก็ต้องมาจบชีวิตกับพิษก๊าซคาร์บอนมอนอกไซด์ที่เกิดจากอุปกรณ์ทำความร้อนที่พวกเขาใช้มันเพื่อให้ความอบอุ่นในเต๊นท์ที่พักอันหนาวเหน็บ บ้างก็จบชีวิตด้วยเหตุไฟไหม้ที่เกิดจากแก๊สหุงต้มขณะประกอบอาหาร บ้างก็ตายเพราะความเหน็บหนาว บางรายจบชีวิตด้วยการฆ่าตัวตายก็มี

Mustafa Dawa คือบัณฑิตหนุ่มด้านอิสลามศึกษาชาวอียิปต์ที่ย้ายมาอาศัยอยู่ในประเทศกรีซเพื่อศึกษาด้านวรรณกรรมกรีกเมื่อหลายปีก่อน เช่นเดียวกับอาสาสมัครคนอื่นๆ Dawa เป็นคนหนึ่งที่ต้องการเข้าไปมีส่วนร่วมในการบรรเทาทุกข์ให้กับผู้ลี้ภัย เขาอาสาเป็นล่ามแปลภาษาให้กับกลุ่มผู้รอดชีวิตเหล่านั้น วันหนึ่งขณะที่เขากำลังช่วยเหลือชายชาวซีเรียคนหนึ่งค้นหาสมาชิกในครอบครัว เมื่อตรงไปยังโรงพยาบาลเขากลับพบว่าที่นั่นมีศพผู้เสียชีวิตนอนตายไร้ญาติเป็นจำนวนมากถึง 45 ศพ ตั้งแต่วันนั้นเป็นต้นมา Dawa จึงรู้สึกว่าเขาต้องทำอะไรบางอย่างกับสิ่งที่เขาเห็น และเนื่องจากสุสานคริสต์นั้นไม่มีพื้นที่ว่างพอ เขาจึงจำเป็นต้องรอนานถึงหนึ่งเดือนเพื่อที่จะได้มาซึ่งที่ดินว่างเปล่าหนึ่งแปลงเพื่อจัดการฝังศพเหล่านั้นให้ถูกต้องตามหลักการของศาสนาอิสลาม

แม้ Dawa จะเรียนจบทางด้านอิสลามศึกษาจากมหาวิทยาลัย Al-Zhar ในประเทศอียิปต์ แต่กระนั้นเขาก็ไม่เคยจับต้องศพที่ใดมาก่อนในชีวิต เขาอธิบายให้ฟังว่า “ตามหลักการของอิสลามแล้ว พิธีกรรมฝังศพผู้ตายถือเป็นสิ่งที่มุสลิมทุกคน ต้องรับผิดชอบร่วมกัน และหากไม่มีการจัดการใดๆ จากใครเลย มุสลิมทุกคนจะต้องร่วมรับผิดชอบต่อมลทินที่จะเกิดขึ้น” ความรู้สึกของการเป็นส่วนหนึ่งและความรู้สึกว่าตนเองกำลังอยู่ในตำแหน่งที่ต้องรับผิดชอบนั้นได้ชี้นำให้ Dawa สามารถปฏิบัติทุกกระบวนท่าของการจัดการศพด้วยตนเอง เขาอาบน้ำศพและจัดวางตำแหน่งศพบนโต๊ะสีขาว ห่อศพด้วยผ้าสีขาวและละหมาดให้ศพ ท่ามกลางพื้นที่ว่างเปล่าห้อมล้อมด้วยต้นมะกอกอันเดียวดาย

“พวกเขาเหล่านี้คือคนพลัดถิ่น คือคนที่ควรจะมีโอกาสเสียชีวิตบนแผ่นดินบ้านเกิดของตนเอง ในซีเรีย ในอิรัก หรือในอัฟกานิสถาน แต่พวกเขากลับต้องมาตายในสภาพที่ไร้เกียรติกลางทะเลอันหนาวเหน็บ ฉันจึงยืนอยู่ที่นี่เพื่อทำหน้าที่คืนเกียรติที่พวกเขาพึงมี แม้มันจะน้อยนิดเพียงใดก็ตาม” Dawa กล่าว

หลุมศพนับสิบในบริเวณที่ Dawa ฝังศพนั้นถูกจารึกไว้เพียงไม่ทราบชื่อสกุล สิ่งที่เขียนกำกับไว้ก็มีเพียงแต่อายุโดยคร่าวๆ ของผู้ตาย บริเวณที่พบศพ และหมายเลขตัวอย่างดีเอ็นเอเพื่ออำนวยความสะดวกในกรณีที่มีการเรียกร้องให้มีการชันสูตรศพจากญาติผู้ตาย ในจำนวนอายุที่เขียนกำกับไว้บนแผ่นจารึกหน้าหลุมฝังศพนั้นมีตั้งแต่อายุ 3 ปี 7 ปี และ 12 ปี หนึ่งในนั้นเป็นศพที่เจอในสภาพไร้ศีรษะ

ระหว่างที่เขาระบายถึงความอัดอั้นและผิดหวังต่อเงื่อนไขทางการเมืองและการทหารที่เป็นเหตุให้เกิดวิกฤติผู้ลี้ภัยเหล่านั้น Dawa ได้พยายามดึงจุดสนใจของตัวเองไปยังสิ่งที่จำเป็นมากกว่าในตอนนี้ “เราจำเป็นต้องอดทนให้มาก ณ ตอนนี้ และยังไงฉันก็เชื่อว่าในที่สุดมันจะต้องมีแสงสว่างจุดประกายขึ้นมาจากความอยุติธรรมเหล่านั้น” เขาพูดให้ฟังขณะที่รถแทรกเตอร์เกลี่ยดินกำลังทำการขยายพื้นที่สุสานด้วยการถอนต้นมะกอกออกไป เพื่อเพิ่มพื้นที่ให้กับอีกหลายศพที่กำลังจะเข้ามาจากอีกหนึ่งโศกนาฏกรรมเรืออับปางที่เพิ่งคร่าชีวิตผู้คนอีกครั้งเมื่อไม่นานมานี้

เรื่องราวทั้งหมดนี้ถูกนำมาบอกกล่าวเพิ่มเติมจากอีกด้านของสถานการณ์ความขัดแย้งในซีเรีย เพื่อให้หลายคนได้รับรู้ถึงความคิดริเริ่มและการทุ่มเทของชายคนหนึ่งที่ไม่เคยคิดฝันว่าตนจะต้องเป็นคนขุดหลุมฝังศพมาก่อนในชีวิตนี้ ชายคนหนึ่งซึ่งเป็นมนุษย์คนสุดท้ายที่ได้มีโอกาสปฏิสัมพันธ์กับเหยื่อผู้เคราะห์ร้ายก่อนที่พวกเขาเหล่านั้นจะถูกส่งลงไปนอนนิ่งใต้ผืนดิน ทั้งหมดที่เขาทำ เขาเพียงแค่ตระหนักว่าเขาต้องทำมัน และเขาก็อาสารับผิดชอบสิ่งเหล่านั้นโดยไม่รีรอให้มีใครมาร้องขอความช่วยเหลือแต่อย่างใด


แปลและเรียบเรียงโดย : Andalas Farr

ที่มา : Mustafa Dawa – The Muslim Grave Digger Putting the Souls of Refugees to Rest



Cr. http://halallifemag.com/mustafa-dawa/


#สารพันบทความ_Islamic_Society_Online
#ประชาชาติอิสลาม_Islamic_Society_Online
Islamic Society Online

read more "Mustafa Dawa ชายผู้อาสาขุดหลุมฝังศพผู้ลี้ภัยชาวซีเรีย"

บทความแนะนำ

World Clock

Featured Posts

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม

เรื่องราวของสองอารยธรรม : อารยธรรมของชาวไวกิ้งและมุสลิม โดย : Cem Nizamoglu และ Sairah Yassir-Deane ย้อนหลังไปถึงมีนาคม 2015 ข่าวเกี่ยวก...