ความรู้่เรื่องตัจญ์วีดเบื้องต้น
ตัจญ์วีดคืออะไร ?
ตัจญ์วีดคือ…
ตัจญ์วีด หรือศิลปะในการอ่านอัลกุรอาน เป็นวิชาอัลกุรอานสาขาหนึ่ง เป็นวิชาเกี่ยวกับการออกเสียงเมื่ออัลกุรอาน
เมื่ออ่านอัลกุรอาน มุสลิมจะ ฝึกฝนและเฟ้นหาผู้ที่มีน้ำเสียงที่ไพเราะ เพื่อให้การอ่านวจนะของพระเจ้าเป็นไปแบบที่สวยงามและสมบูรณ์ที่สุด เพื่อรักษาอัลกุรอานอยู่ในใจของพวกเขาอยู่ตลอดเวลา อัลกุรอานเองได้สั่งให้มุสลิมอ่านอัลกุรอานเสียงอันไพเราะ พร้อมทั้งจะต้องทำตัวให้สะอาดในทั้งร่างกายและจิตใจในขณะที่อ่านกุรอานรวม ทั้งระมัดระวังในการอ่าน وَرَتِّلِ الْقُرْآنَ تَرْتِيلا {และเธอจงอ่านอัลกุรอานเป็นท่วงทำนองอย่างช้า ๆ} (มุซัมมิล:4)
เป้า หมายหลักของการส่งเสริมให้มีการอ่านกุรอานนอกจากเพื่อจะเป็นการ สร้างความพึงพอพระทัยให้กับอัลลอหฺแล้ว การอ่านกุรอานยังเป็นการส่งเสริมให้ผู้อ่านได้ปฏิบัติตามสิ่งที่ตนได้อ่าน อีกด้วย ทั้งนี้การอ่านอัลกุรอานก็มีบทบาทในการสร้างสังคมมุสลิมให้มีเอกภาพด้วย
รูป แบบของการอ่านกุรอานถูกกล่าวไว้ในฮะดีษมากมาย ซึ่งมีรายงายจำนวนมากกล่าวว่า ท่านศาสดาจะอ่านกุรอานด้วยเสียงอันไพเราะ ท่านจะหยุดทุกครั้งเมื่ออ่านจบแต่ละโองการ และท่านจะอ่านคำแต่ละคำในอัลกุรอานโดยการลากเสียงเพื่อให้เกิดความไพเราะ และในหมู่บรรดาสาวกของท่านศาสดา อะบูมูซา อัลอัชอะรีย์ เป็นผู้ที่อ่านกุรอานได้ไพเราะที่สุด
ตามรายงานฮะดีษระบุ ว่า อัลกุรอานจะต้องถูกอ่านด้วยเสียงอันไพเราะและไม่ใช่เป็นทำนองแบบเสียงคร่ำ ครวญ เสียงของการอ่านกุรอานจะต้องเป็นในรูปแบบที่จะสร้างความยำเกรงให้เกิดขึ้นใน หัวใจของผู้ฟัง ดังที่อัลกุรอานได้กล่าวไว้ว่า وَإِذَا قُرِئَ الْقُرْآنُ فَاسْتَمِعُوا لَهُ وَأَنْصِتُوا لَعَلَّكُمْ تُرْحَمُونَ {เมื่ออัลกุรอานถูกอ่าน พวกเธอจงสดับตรับฟัง และจงนิ่งเงียบ เพื่อพวกเธอจะได้รับความเมตตา} (อัลอะอ์รอฟ:204)
การอ่านอัลกุรอานถูกเรียกว่าเป็น การอิบาดะหฺ ที่ต้องใช้ศิลปะมากที่สุดในการอิบาดะหฺทั้งหมด ด้วยเหตุนี้เองในสมัยท่านศาสดา (ศ) การอ่านจึงถูกเรียกว่า “อิบาดะหฺที่แฝงด้วยศิลปะ”
[ข้อมูลจาก : http://www.siamic.com/siamicpedia/index.php?title=ตัจญ์วีด ]
__________________________________________________________
องค์ประกอบของการศึกษาตัจญ์วีด
การเรียนรู้เรื่องตัจญ์วีดมีส่วนประกอบด้วยกัน 5 ประการ- ฮุรุฟ (พยัญชนะอาหรับ) คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับชื่อ คุณลักษณะ และแหล่งออกเสียง
- มัด (จังหวะการอ่าน) คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับการอ่านหุกุมมัดที่ยาว 2, 5 และ 6 จังหวะ
- หุกุม (หลักการอ่าน) คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับหุกุมอิซฮัร หุกุมอิดฆอม เป็นต้น
- วากอฟวาซอล (การหยุด – การต่อ) เรียนรู้เกี่ยวกับวิธีการ และสัญลักษณ์
- ฆอริบ (คุณลักษณะพิเศษ) คือ การเรียนรู้เกี่ยวกับ คำที่มีหุกุมเฉพาะ และคำที่ต้องระมัดระวัง
ความสำคัญของการศึกษาตัจญ์วีด
ความสำคัญของการเรียนตัจญ์วีดมีดังนี้
- อิมามอัซ-ซัมซู บิน อัล-ญาสารีกล่าวว่า “อัล กุรอานเป็นวาญิบ จะต้องอ่านด้วยตัจญ์วีด เป็นบาปสำหรับผู้อ่านที่ไม่อ่านตามหลักตัจญ์วีด และวิธีการเช่นนี้ที่มันถูกประทานมายังพวกเรา”
- อัลลามะฮฺ เชค อับดุลบากี อัล-มาลากีกล่าวว่า “แท้ จริง บรรดาอุลามาอฺมีมติเอกฉันท์ว่า การอ่านอัลกุรอานแบบทำนองเหมือนนักร้องนั้น จนถึงมีการเพิ่มหรือลดเครื่องหมายสระ การอ่านสลับยาว-สั้น การออกเสียงผิดเพี้ยนไปจากเดิม ผู้อ่านอัลกุรอานดังกล่าวถือว่าฮาราม เป็นฟาซิก ส่วนผู้ฟังถือว่า ฮารามเช่นกัน”
- มัซฮับชาฟีอี มีทัศนะเกี่ยวกับการเรียนตัจญ์วีดว่า “การ ดูแล การอ่านอัลกุรอานนั้น คือ การอ่านตามหลักตัจญ์วีดอันเป็นที่ยอมรับของผู้รู้กีรออัต ถือว่าเป็นสิ่งวาญิบ โดยไม่มีข้อคลางแคลงใจ และการอ่านเป็นอย่างอื่นถือว่า ฮารอมและน่ารังเกียจ”
- ท่านเชคมูฮัมหมัด อัล-ฮุซัยนีกล่าวว่า “คำ ที่ว่า การอ่านตามคุณลักษณะที่ได้รับมาจาก บรรดาอิมามกีรออัต ถือเป็นคำสั่งที่ชัดเจน ที่กล่าวถึง การอ่านอัลกุรอานที่ยังไม่สมบูรณ์ หากเพียงอ่านจากคัมภีร์ตามลำพัง โดยไม่ได้ฟังการอ่านจากปากของผู้รู้”
__________________________________________________________
บทบัญญัติของการศึกษาตัจญ์วีด
บทบัญญัติในการเรียนรู้เรื่องตัจญ์วีดมีดังต่อไปนี้
การเรียนตัจวีด เป็น ฟัรฏูกิฟายะฮฺ ในชุมชนหนึ่ง จะต้องมีผู้เรียนตัจวีดจนเข้าใจอย่างน้อย 1 คน
การอ่าน เป็น ฟัรฏูอีน ผู้อ่านทุกคนจำเป็นต้องอ่านให้ถูกต้องตามหลักตัจวีด
__________________________________________________________
จุดมุ่งหมายของการศึกษาตัจญ์วีด
- เพื่อป้องกันลิ้นจากความผิดพลาดในการออกเสียง เวลาอ่านกุรอาน
- เพื่อให้อ่านอัลกุรอานตามที่ท่านนบีมูฮัมหมัดได้สอนไว้
- แสวงหาความโปรดปราณจากอัลลอฮฺ และผลตอบแทนในโลกนี้
__________________________________________________________
การอ่านอัลกุรอานให้น่าฟัง
การอ่านอัลกุนอานให้น่าฟัง หรือให้อยู่ในสำเนียงอาหรับ มีส่วนประกอบด้วยกัน 5 ประการ
- ต้องเรียนรู้ เเละฝึกให้ลมหายใจยาวเป็นอย่างดี (تحسين النفس)
- ต้องเรียนรู้ที่เกิดเสียงของมนุษย์เป็นอย่างดี (تحسين الصوت)
- ต้องเรียนรู้วิชาตัจญ์วีดเป็นอย่างดี (تحسين التجويد)
- ต้องเรียนรู้วิชาทำนองอาหรับเป็นอย่างดี (تحسين الغناء)
- ต้องปฏิบัติเป็นประจำให้ถูกต้อง (تحسين العمل)
Islamic Society Online
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น